ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1057
ตอบกลับ: 9
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

>>>พระเจ้าชัยวรมัน ที่ 7 รุ่น 3 (108 ปี ชาตกาล)<<<

[คัดลอกลิงก์]
                                                                                                                                                        
                                         ในอดีต...หลวงปู่ชื่นได้จัดสร้าง  องค์พ่อชัยวรมันที่ 7 (พิธีชัยมหานาถ) จนสร้างประสปการณ์  จนเป็นที่กล่าวถึงในหมู่สานุศิษย์ (รุ่นเก๋าๆ) ถึงอำนาจอิทธิคุณอันยิ่งใหญ่  เป็นที่ต้องการของสานุศิษย์  และเป็นวัตถุมงคลที่หาได้ยากยิ่ง  ที่ผ่านมา...หลายๆที่   หลายๆท่าน  พยายามจัดสร้างตามหลวงปู่ชื่น  แต่ก็ไม่มีท่านใดทำได้เสมอเหมือน  สมัยหลวงปู่ชื่นท่านยังดำรงค์ขันธ์อยู่  ท่านก็ยังพก รูปหล่อองค์พ่อชัยวรมันที่ 7 ติดตัวไปด้วยเสมอๆ (ปัจจุบันองค์นี้ก็ยังเก็บรักษาอยู่ที่  อาจารย์สรายุทธ) หลวงปู่ชื่นได้กล่าวว่า วัตถุมงคลชุดนี้ถ้าใครได้บูชาแล้วปราถนาสิ่งใดจะสัมฤทธิ์ผลเร็ว  มีความอุดมสมบูรณ์ ไม่อดอยากมีโชคลาภ มีแต่สิ่งดีๆเข้ามาในชีวิต  มีอำนาจยศฐาบรรดาศักดิ์ เกียรติยศ มีชัยชนะทั้งปวง นับว่ามีพุทธคุณครอบจักวาลเลยก็ว่าได้ครับ



                 โดยมีมวสารสำคัญคือผงอาถรรพณ์ของราชวงศ์วรมันสรรพสิทธิ์ ของพระเจ้าชัยวรมันมหาราชที่ 7 แห่งอาณาจักรบายน ผงนี้เป็นผงที่นำมาจากหินศิลาอาถรรพณ์ที่ขุดได้จากปราสาทบายน ซึ่งลงอาถรรพณ์ราชาเวทไว้ในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน   ในพิธีราชาภิเษกวัตถุมงคล รุ่นชัยมหานาถนี้ครูบาอาจารย์ที่ร่วมอธิฐานฤทธิ์ได้เล่านิมิตที่เห็นตรงกันหลายท่าน วัตถุมงคลรุ่น ชัยมหานาถสำเร็จ ด้วยพระมหาบรมเดชานุภาพ มหิธฤทธิ์ อันยิ่งใหญ่ไพศาลของพระเจ้าศรีชัยวรมันมหาราช ใครมีให้มั่นบูชาอย่าคิดว่าเป็นของใหม่แม้นแต่ ครูบาอาจารย์ที่มา ร่วม พิธีถึงกับการันตีถึงความแรงความขลังในพิธีนี้  หลังจากเสร็จพิธีราชาภิเษก หลายเกจิอาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก  อันมี  หลวงปู่ชื่น วัดตาอี  หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด  หลวงปู่ธรรมรังษี วัดพระพุทธบาทพนมดิน  หลวงปู่ธีร์ วัดจันทราวาส  ต่างเล่าตรงกันว่า

                 ได้เล่านิมิตว่าเห็นพญานาคราช4องค์พ่นน้ำสู่กองวัตถุมงคลตลอดเวลา  หลังจากนั้นพระเจ้าชัยวรมันมหาราชที่ ๗ ลงมาปลุกเสกและอวยชัยให้ด้วย   พระองค์ได้เสด็จมาพร้อมมเหสีเอก 2 พระองค์ และทหารเอกคู่พระองค์       เสด็จมาในปรัมพิธีทรงนำพระขรรค์ไปจี้ลงสู่กองวัตถุมงคล   จนเปล่งประกายไปทั่วปรัมพิธีพร้อมกับมีทวยเทพครูบาอาจารย์ได้โปรยดอกไม้ทิพย์  เข้าสู่วัตถุมงคลบ้างก็ประพรมน้ำมนต์    หลังจากผู้นำวัตถุมงคลชุด นี้ไปบูชาก็ประจักษ์แจ้งถึงอิทธิคุณ มีโชคลาภ เป็นเมตตามหานิยม    ขจัดปัญหาอุปสรรคบันดาลความร่มเย็นเป็นสุขเจริญรุ่งเรือง เป็นตบะเดชะมหาอำนาจ  คุ้มครองป้องกันภยันตรายทั้งปวง ขจัดปัดเป่า ป้องกัน ถ่ายถอน สิ่งชั่วร้าย อำนาจของคุณไสยและเสนียดจัญไรทั้งปวง เป็นดั่งอำนาจของพระพุทธคุณและ เทพเทวาปกป้องคุ้มครองอยู่ตลอดเวลา  เป็นสุดยอดวัตถุมงคลที่น่าสะสมเป็นอย่างยิ่ง

              มนต์อาถรรพ์เวทย์…เป็นมนต์บรมครูชั้นสูงที่พุทธและพรหมณ์ผูกขึ้นถวายแด่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นคาถาสำหรับชาติกษัตริย์ ให้เป็นให้เหนือคาถาทั้งปวง  จนมีบารมียิ่งใหญ่แผ่ไพศาลไปทั้ง 3 โลก  เป็นอมตะสืบถึงปัจจุบัน  เมื่อครั้งเกิดไฟสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธ์ในเขมร  ตำหรับตำราหนังสือจะถูกเผาทิ้งหมด  หลวงปู่ดี สุวรรณดี(อาจารย์ของหลวงปู่ชื่น) ท่านได้นำตำราอาถรรพ์เวทย์นี้ออกมาได้.จากราชวัง   ท่านบำเพ็ญภาวนาอยู่เขาพนมกุเลน  หลวงปู่ชื่นท่านธุดงค์ไปเจอหลวงปู่ดี. ด้วยบุญบารมีของหลวงปู่ชื่น    ท่านจึงได้รับการสืบทอดวิชาอาถรรพ์เวทย์จากหลวงปู่ดี  พระอมตะลึกลับที่มีอายุยืนยาวกว่า 170

“รู้จริง ทำจริง จึงจะเป็นของจริง”

             และมาในปี พ.ศ.2556 อาจารย์สรายุทธได้จัดสร้างพระเจ้าชัยวรมัน รุ่น 2  ขึ้น โดยรวบรวมมวลสารเก่าของหลวงปู่ชื่น และชนวนยันต์ศักดิ์สิทธิ์ จากคณาจารย์ ต่างๆ ที่ท่านเมตตาช่วยจารลงในแผ่นชนวนให้อีกมากมาย  ด้วยการออกแบบ  พุทธศิลปที่สวยงามอีกทั้งนเข้าพิธีที่เข้มแข็งอีกหลายวาระ
          จัดพิธีบวงสรวงเทวาภิเษก ตามตำรับโบราณ อันเชิญบารมีขององค์พ่อชัยวรมันที่ 7 อย่างเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นได้นำไปให้เกจิอาจารย์สายเขมรโบราณ  เมตตาอธิฐานจิตปลุกเสกอีกหลายท่าน ถือเป็นรูปหล่อพระเจ้าชัยวรมันอีกรุ่นหนึ่งที่จัดสร้างได้เข้มขลังยิ่งนัก  เนื้อพิเศษต่างๆเหล่าสานุศิษย์ต่างก็ติดตามเก็บเข้ามาบูชาติดตัว  จนหมดไปอย่างรวดเร็ว  ซึ่งสานุศิษย์ที่รับไปบูชาต่างก็ได้รับประสปการณ์กันไปถ้วนหน้า


              ในปีนี้   ปีพ.ศ.2567 อาจารย์สรายุทธได้จัดสร้างพระเจ้าชัยวรมันขึ้นอีกครั้ง เป็นรุ่นที่ 3 (108 ปีชาตกาล) ด้วยการหล่อแบบโบราณให้คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ และดูแล้วเข้มขลัง ขององค์พ่อสุริยะชัยวรมันที่ 7 อีกทั้งมวลสารที่นำมาอุดใต้ฐานก็สุดยอดหลายประการ  มีทั้งมวลสารใหม่และเก่าที่อาจารย์สรายุทธได้เสาะแสวงหาจากที่ต่างๆมาอีกมากมาย

พิธีปลุกเสก  เป็นวันที่ดีมาก ไม่ใช่เสาร์ 5 ทั่วไป..........มีนัยสำคัญที่จะอธิบายไม่หมดหลายประการ
แค่ เสาร์ 5 อย่างเดียวก็สุดยอดแล้ว     แต่วันนี้ตำแหน่งของดวงดาวหลายดวง ยังเรียกว่าสุดยอดอีกด้วย
เวลา 21:39 วัน 13 เมษายน 2567  ตรงกับวันสงกรานต์  ปีใหม่ของไทย    ดวงอาทิตย์ วรโคตรนวางค์  คือ เขัมแข็งมาก อยู่ราศีมีน ดีด้านอำนาจ ชื่อเสียง
ดาวเสาร์ ดาวแห่งความเป็นบึกแผ่น มั่นคง ความอดทน ได้ตำแหน่งเกษตร คือแข็วแกร่ง แล้วได้โคตรนวางค์ แข็งแรงสองเท่า  ในวันเสาร์ 5  คือ คงทนถาวร มั่นคงเป็นอย่างมาก     ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวสำคัญ ดาวแห่งครูบาอาจารย์ ดาวแห่งการเติบโต ความเจริญ ได้ราชาโชค โยคกับดาวเสาร์  เรียกว่า ยิ่งใหญ่สมราชา
ดาวศุกร์ ดาวเกี่ยวกับความสุขทางโลก  เงินทอง ได้ตำแหน่วอุจจ์ คือ พลังเข้มมาก  และอยู่กับดาวพุธ เป็นคู่ธาตุ เพิ่มความแข็งแรงและราหูอยู่ตำแหน่งราศีมีน อยู่ในตำแหน่งดี เพราะเป็นตำแหน่งครู นักบวช  เป็นเจ้าพ่อนักเลง ออกบวชเรียนหนังสือ ทำให้จากราหูเกเร เป็นราหูเรียบร้อยขึ้น เจ้าเล่ห์แต่มีคุณธรรม
เรียกว่า วันนี้พิธีต้องสุดๆ

ค่อยมาต่อคับ








               


ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
จาก 5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-5-26 14:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                                                                                                                                                        
                                     และมาในปีนี้   ปีพ.ศ.2567 อาจารย์สรายุทธได้จัดสร้างพระเจ้าชัยวรมันขึ้น โดยรวบรวมมวลสารเก่าของหลวงปู่ชื่น และชนวนยันต์ศักดิ์สิทธิ์ จากคณาจารย์ ต่างๆ ที่ท่านเมตตาช่วยจารลงในผ่นชนวนให้อีก  อาทิเช่น
แผ่นยันต์ 108

1. พระยันต์ ชื่อ พระพุทธคุณ 7 พระยันต์ มีคุณหาที่สุดมิได้ 7
2. พระยันต์ ชื่อ ปทุมจักร์ 5 พระยันต์ มีพระคุณประเสริฐวิเศษนัก 5
3. พระยันต์ ชื่อ ไตรสรณาคม 5 พระยันต์ มีคุณอันประเสริฐ 5
4. พระยันต์ ชื่อ สุกิติมา 2 พระยันต์ เป็นเมตตามหานิยม 2
5. พระยันต์ ชื่อ พระรัตนตรัย 1 พระยันต์ เป็นอุดมมงคล 1
6. พระยันต์ ชื่อ มงกุฏพระเจ้า 1 พระยันต์ เสริมสร้างสวัสดิมงคล 1
7. พระยันต์ ชื่อ บารมี 30 ทิศ 1 พระยันต์ เสริมสร้างตะบะเดชะ 1
8. พระยันต์ ชื่อ โสฬสมงคล 1 พระยันต์ เป็นมหามงคล 1
9. พระยันต์ ชื่อ จตุโร 1 พระยันต์ ทำให้บังเกิดทรัพย์ 1
10. พระยันต์ ชื่อ พระพุทธเจ้า 28 พระยันต์ กันสรรพอาวุธ และภัยต่างๆ 28 พระองค์ 28
11. พระยันต์ ชื่อ นวภา 23 พระยันต์ กันอมนุษย์ สัตว์ร้าย เขี้ยวงา กันเสนียด ชนะความ 23
12. พระยันต์ ชื่อ จักรสิรโลก 9 พระยันต์ เข้าสู่สงครามแคล้วคลาดคมอาวุธประเสริฐนัก 9
13. พระยันต์ ชื่อ ภควัมบดี 5 พระยันต์ ป้องกันสรรพอาวุธทั้งปวง 5
14. พระยันต์ ชื่อ พระนรา 5 พระยันต์ กันภัยต่างๆ 5
15. พระยันต์ ชื่อ ปถมังพระเจ้า 5 พระยันต์ แคล้วคลาดคมอาวุธทั้งปวง 5
16. พระยันต์ ชื่อ องครักษ์ 4 พระยันต์ คุ้มภยันอันตรายทั้ง 4 ทิศ 4
17. พระยันต์ ชื่อ จตุราวิยสัจ 2 พระยันต์ ” นะบังไตรภพ – นะบังเมฆา – นะสะท้านดินไหว – นะกำจัด – นะปิด – นะปิดอากาศ – นะล้อม 2
18. พระยันต์ ชื่อ นวโลกุตรธรรม 1 พระยันต์ กันสรรพโรค 1
19. พระยันต์ ชื่อ ฆเฏสิ 1 พระยันต์ กันโจรภัยทั้งปวง 1
20. พระยันต์ ชื่อ ชฏามหาพรหม 1 พระยันต์ คุ้มภัยทั้งปวง 1
21.พระยันต์ ชื่อ  ยันต์ 8 ทิศ มหาอุต 1
22.พระยันต์ ชื่อ  ยันต์  มะอะอุ 1
23.พระยันต์ ชื่อ ยันต์  พญานาคราช 1

นะ 14
1.นะบังสมุทร์
2.นะนาคบาศก์
3.นะวชิราวุธ
4.นะหนุ
5.นะกำจาย
6.นะปรีชาทุกทิศ
7.นะครอบจักรวาล
8.นะบังไตรภพ
9.นะบังเมฆา
10.นะสะท้านดินไหว
11.นะกำจัด
12.นะปิด
13.นะปิดอากาศ
14.นะล้อม

และมวลสารเก่าหลวงปู่ชื่น  อาทิเช่น   ช่อรูปหล่อพระเจ้าชัยวรมัน รุ่นชัยมหานาถ รุ่นแรกของหลวงปู่ชื่น และ ช่อรูปหล่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 รุ่น 2 ของอาจารย์สรายุทธ  อีกทั้ง ช่อองค์พระนารายณ์  ช่อองค์พ่อปู่ศรีสุธรรมนาคราช และ ชนวน นวโลหะ ,  เบญจโลหะ , สัตโลหะ , สำฤทธิ์ จากคณาจารย์ต่างๆ  สานุศิษย์  ที่นำมาร่วมพิธีอีกมากมาย

ส่วนมวลสารที่ใช้อุดใต้ฐานได้แก่
-ผงโสฬสมหาพรหม
-ผง 12 นักษัตร
-ผงมหาจักรพรรดิ
-ผงราชวงค์ชัยวรมันสรรพสิทธิ
-ผงพระพุทธเจ้าชุบตัวจินดามนต์
-ผงที่ใช้ผอกตะกรุดหนุดดวง (สุดยอดมวลสารในเรื่องหนุนดวง)
-ผงมวลสารจากดินแดนศักดิ์สิทธิ์ 5 ประเทศ
-ผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์จากปราสาทต่างๆ อาทิ ปราสาทนครวัด นครธม นครชุม นาคพัน เขากุเลน ฯลฯ
-ผงไม้เสาโบสถ์ หลวงปู่หล้า วาจาสิทธิ์
-ผงวิเศษที่บรรจุไว้บนยอดเขาเทพนิมิตร
ที่หลวงพ่อตาเดียวท่านมานิมิตรบอกให้หลวงพ่อเคนท่านนำมาผสมสร้างพระเครื่อง
-ผงวิเศษ หลวงปู่คง (อาจารย์ของขุนแผน)
-ผงแร่ หลวงปู่สรวง
-สีผึ้งเก่าของหลวงปู่ชื่น และ ของอาจารย์สรายุทธ อีกกว่า 20 ชนิด








       ค่อยมาต่อตับ         

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
จาก 6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-5-26 14:14 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                                                                                                                                                        
                        มะกล่ำดำ ( มะกล่ำราหู )



               มะกล่ำดำถือเป็นของมงคลหายากทนสิทธิ์ที่มีมาแต่ตำราโบราณ โดยมะกล่ำปรกติ มะกล่ำจะมีสีแดงดำ เรียกมะกล่ำตาหนู จะเกิดเป็นมะกล่ำดำขึ้นมาซักเม็ดนึงนั้นยากมาก ถือเป็นของทนสิทธิ์ หายากสิทธิการิยะ ท่านจะกล่าวอุปเทห์มะกล่ำดำไว้ว่า ถ้าผู้ไดพบลูกมะกล่ำดำ ให้ชำระตัวเสียให้บริสุทธิ์ จึงค่อยไปเก็บ นำมาทำลูกประคำ ร้อยด้วยไหมเบญจพรรณ ทำเป็นลูกประคำ อุปเทห์ฝอยใช้ลูกประคำนี้มีอานุภาพ มากมายหลายนัก เมื่อจะทำลูกประคำท่านให้เอาแป้งหอม น้ำมันหอม กระแจะ ธูปเทียน ดอกไม้เมี่ยงหมาก บายศรีสำรับหนึ่ง ผู้ใดได้ทำลูกประคำสายนี้ ถึงแม้ว่าผู้นั้นเป็นคนถ่อยย่อมมีคนช่วยเหลือ ถ้าจะถึงคราวจะตกทุกข์ได้ยาก ก็มิรู้ยากเลย ถึงศัตรูจะคิดร้ายก็มิสามารถจะทำอันตรายได้เลย ถ้าใครคิดร้ายผู้นั้นก็ย่อมบรรลัยเอง ลูกประคำนี้อยู่ในเรือนผู้ใด ถึงผู้ร้ายจะเข้าปล้นมันมาสักเท่าไรเผอิญไห้เห็นคนที่เรือนเรามากเท่านั้นแล ถ้าจะมิไห้เห็นเรือนเรา ไห้เอาลูกประคำพวงนี้ชุบน้ำ เอาน้ำนั้นไปประพรหมทั้งแปดทิศ มันมามิพบเลย ถึงจะเที่ยวหาทั้งคืนยันรุ่งก็มิพบ ถ้าจะแข่งโคควายมิไห้แพ้แก่เขา ให้เอาน้ำชุบนี้มาประพรมตัวอื่นวิ่งมิทันแล ถ้าจะแข่งเรือไห้เอาลูกประคำห่อผ้า เอาเชือกผู้รัดหัวเรือนไว้ ถ้าเรือเขาจะหลีกขึ้นไปไห้ผ่อนเชือกปล่อยไห้ผ้านั้นราน้ำไว้ เรือเขามันเรือเราเลย

                มะกล่ำดำชุดนี้ผ่านการปลุกเสกแล้ว



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
จาก 7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-5-26 14:18 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
แบบฝังตะกรุดหัวใจอาถรรพ์พระเจ้าแผ่นดิน




นะโม 3 จบ
ชะยะ ชะยะ วะระมัตตะ
โพติสะโต ปุตะโรนะโมเยอ สะมุฮะคะโต สัมมา สัมพุทเธนะ ชะยะวรมัตตะโช โพติสะโต วรมัตตะ โชติ เสด็จพ่อศรีราชาเวทย์ ประสิทธิ ภะวันตุเม (7 จบ)



ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-3-22 12:06 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
                                                                                                                                                        
                        
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (เขมร: ជ័យវរ្ម័នទី៧)








เป็นกษัตริย์ของอาณาจักรเขมรที่ยิ่งใหญ่ (พ.ศ. 1724 - พ.ศ. 1762) ในบริเวณที่เป็นประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน
เป็นพระโอรสของพระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2 (ครองราชย์ พ.ศ. 1693 - พ.ศ. 1703) และพระนางศรี ชยราชจุฑามณี
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นที่รู้จักในฐานะผู้สถาปนานครธม นครหลวงแห่งสุดท้ายของอาณาจักรเขมร
ในประเทศกัมพูชายังมีสระน้ำแห่งหนึ่งที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงใช้เป็นประจำอีกด้วย

พระราชประวัติ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ประสูติเมื่อประมาณ พ.ศ. 1663 หรือ พ.ศ. 1668 พระนามเดิมคือเจ้าชายวรมัน ทรงเสกสมรสตั้งแต่ทรงพระเยาว์กับเจ้าหญิงชัยราชเทวี สตรีที่มีบทบาทและอิทธิพลสำคัญที่สุดเหนือพระองค์ รวมทั้งโน้มนำให้พระองค์หันมานับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน
ราว พ.ศ. 1720 – 1721 พระเจ้าชัยอินทรวรมันแห่งอาณาจักรจามปา ทรงนำทัพจามบุกเข้าโจมตียโศธรปุระ กองทัพเรือจามบุกเข้าถึงโตนเลสาบ เผาเมือง และปล้นสะดมสมบัติกลับไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งจับพระเจ้าตรีภูวนาทิตวรมันประหารชีวิต เชื่อกันว่า การรุกรานเมืองยโศธรปุระครั้งนั้น เจ้าชายวรมันได้วางเฉยยอมให้เมืองแตก จากนั้นพระองค์จึงกู้แผ่นดินขึ้นมาใหม่ โดยนำทัพสู้กับพวกจามนานถึง 4 ปี จนสามารถพิชิตกองเรือจามผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือได้อย่างราบคาบ ในยุทธการทางเรือที่โตนเลสาบ
พ.ศ. 1724 ยโศธปุระกลับสู่ความสงบ พระองค์ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พร้อมกับบูรณปฏิสังขรณ์ราชธานีขึ้นมาใหม่ รู้จักกันในชื่อ “เมืองพระนคร” หรือ “นครธม” หรือ “นครใหญ่” และย้ายศูนย์กลางของราชธานีจากปราสาทปาปวนในลัทธิไศวนิกาย มายังปราสาทบายนที่สร้างขึ้นใหม่ ให้เป็นศาสนสถานในลัทธิมหายานแทน จากนั้นมา ศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเขมรโบราณก็คือ ปราสาทบายน หรือนครธม
พระองค์ทรงสถาปนาคติ “พระพุทธเจ้าที่ยังมีชีวิต” หรือ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรขึ้นมา ซึ่งหมายถึงตัวพระองค์เอง คือพระโพธิสัตว์ที่เกิดมาเพื่อปัดเป่าทุกข์ภัยให้แก่ราษฎร ภาพสลักรูปใบหน้าที่ปรากฏตามปรางค์ในหลายปราสาทที่ทรงสร้างขึ้น เชื่อว่าคือใบหน้าของพระองค์ในภาคพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรนั่นเอง
หลังจากสถาปนาศูนย์กลางอาณาจักรแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จึงทรงแก้แค้นศัตรูเก่าคืออาณาจักรจามปา ใน พ.ศ. 1733 กองทัพของพระองค์ก็สามารถยึดเมืองวิชัยยะ เมืองหลวงของจามปาได้ นอกเหนือจากการสงครามแล้ว พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้สร้างพุทธสถานไว้มากมาย เช่น ปราสาทบันทายคดี ปราสาทตาพรม ที่สร้างถวายพระมารดา ปราสาทพระขรรค์ สร้างถวายพระบิดา ปราสาทตาโสม ปราสาทนาคพัน ปราสาทบันทายฉมาร์ ในเขตประเทศไทยปัจจุบัน พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นผู้บูรณะปราสาทหินพิมายซึ่งสันนิษฐานเป็นเมืองเกิดของพระมารดา และปราสาทเขาพนมรุ้ง ให้เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายาน และยังมีอาณาจักรละโว้ เมืองศรีเทพ อีกด้วย
นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สร้าง “บ้านมีไฟ” หรือที่พักคนเดินทาง ซึ่งก่อด้วยศิลา และจุดไฟไว้ตลอด ศาสตราจารย์ หลุยส์ ฟิโนต์ ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ เรียกอาคารแบบนี้ว่า “ธรรมศาลา”
จารึกที่ปราสาทพระขรรค์ กล่าวถึงที่พักคนเดินทางว่ามีจำนวน 121 แห่ง อยู่ตามทางเดินทั่วราชอาณาจักร และตามทางเดินไปเมืองต่าง ๆ ในจำนวนนั้น มี 17 แห่งอยู่ระหว่างการเดินจากเมืองพระนครไปยังเมืองพิมาย ซึ่งศาสตรจารย์ ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล พบว่าที่พักคนเดินทางเท่าที่ค้นพบแล้วมี 7 แห่ง แต่ละแห่งห่างกันประมาณ 12 – 15 กิโลเมตร จารึกปราสาทพระขรรค์ระบุอีกว่า มีการสร้างโรงพยาบาล หรือที่จารึกเรียกว่า “อโรคยาศาลา” จำนวน 102 แห่ง กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งมีส่วนหนึ่งอยู่ในเขตประเทศไทย
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เสด็จสวรรคตประมาณปี พ.ศ. 1758 หรือ พ.ศ. 1762 เชื่อกันว่ามีพระชนมพรรษายืนยาวถึง 94 ปี ด้วยฉลองพระนามหลังสวรรคตว่า “มหาบรมสุคตะ” หมายความว่า พระพุทธเจ้าผู้ยิ่งใหญ่
นครธม
[size=12.3704px]




นครธม (เขมร: អង្គរធំ)
เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในเมืองมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรก ๆ
และที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักของพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า ปราสาทบายน
และมีพื้นที่สำคัญอื่น ๆ รายล้อมพื้นที่ชัยภูมิถัดไปทางเหนือ
จุดเด่นที่สุดคือทางเข้าด้านใต้ ที่มีลักษณะเป็นหน้า 4 หน้า ก่อนจะเข้าสู่บริเวณนี้ จะเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย
เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน เมื่อเข้าสู่ใจกลางนครธมจะพบสิ่งก่อสร้างต่างๆ บริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่น ๆ
อีก 3 ด้าน

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-3-22 12:41 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
จากหนังสือ....“พระไภษัชยคุรุ (เภสัชคุรุ) และตันตระศาสตร์ ในอโรคยาศาลาสมัยวรมันที่ 7” (Bhaisajyaguru and tantric medicine in JayavaramanVII’s hospitals) สมมติฐานเกี่ยวกับโยคศาสตร์สมัยชัยวรมันที่ 7 ส่วนที่เป็นความสงสัย ได้ถูกคลี่คลายโดยเฌ็ม คีธ ฤทธี ศาสตราจารย์ด้านรังสีและมานุษยวิทยา (สิกขาจักร/Journal of the Center for Khmer Studies : 2548)  ทว่าบทความซึ่งเน้นประเด็นอัตลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุและตันตระวิทยานี้ แม้จะไม่เชื่อมโยงกับโยคศาสตร์ในเชิงลึก    แต่ก็ไม่ทิ้งประเด็นว่า ทั้งกระบวนโยคะและวิปัสสนาคือองค์ประกอบของตันตระวิทยา
            แต่ก่อนจะไปถึง สมมติฐานเชิงจินตนาการว่าด้วยท่าโยคะในบางอาสนะเหล่านี้ คือต้นแบบพื้นฐานในงานประติมากรรม (บางชิ้น) สมัยเมืองพระนคร แต่ด้วยเหตุหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้ไม่มีปรากฏเชิงประจักษ์
เห็นทีต้องเริ่มไปที่ “ตันตระแพทย์” หรือ “แพทย์แนวพุทธ” ของนิกายมหายาน ที่พระเมธีไภษัชยคุรุนำไปเผยแพร่ในอาณาจักรเขมรเมื่อกว่า 800 ปี และเป็นสมมติฐานย่อยว่า   นี่อาจเป็นจุดแรกของปฏิสัมพันธ์ตันตระเวทย์วิทยา ก่อนเคลื่อนไปสู่โยคศาสตร์และวิปัสสนาในสมัยชัยวรมันที่ 7  และเป็นชุดความรู้ทางการแพทย์ที่สำคัญมากยุคหนึ่งของคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยองค์ “พระไภษัชยคุรุ” กูรูผู้สถาปนาทางการแพทย์ผู้มีอิทธิพลต่อพระบาทชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์ขอมผู้มีพระบัญชาให้มีการสร้าง “อโรคยาศาลา” หรือโรงพยาบาลทั่วราชอาณาจักร  ในเวลาเดียวกัน พุทธศาสนามหายานก็แผ่ไพศาลไปทั่วราชธานี
            กระนั้น ก็ใช่ว่า อันตันตระเวทย์นี้จะเป็นเรื่องใหม่มากสำหรับเมืองพระนครในคริสต์ศตวรรษที่ 12
ก่อนหน้านั้นสมัยเจนละในคริสต์ศักราช 663 อ้างจากจารึกหลักหนึ่ง อ้างถึงภิกษุจากอินเดียนามว่าปุญโญทัญญะ ผู้ถ่ายทอดเวชศาสตร์แขนงหนึ่งแก่ราชสำนักเจนละ (ลิน : 1937)    ต่อมา ปุญโญทัญญะได้จาริกกลับไปเจนละ และนำเอาวิทยาการด้านสันสกฤต เภสัชวิทยาแบบตันตระและองค์ความรู้ด้านรุกขวิทยาสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคมาเผยแพร่แก่มหาคุรุชาวเจนละ    และจารึกชิ้นหนึ่งเมืองไซฟง (ตอนใต้ของเวียดนาม) กล่าวถึงพระนิมมาณยกาย, พระธรรมกาย และพระสมโภยกาย หรือ “ตรีกาย” ตัวแทนหลักคำสอน 3 ประการของลัทธิกายสามของพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีอยู่ในพุทธนิกายมหายานแบบตันตระ (ฟิโนต์ 1903; Keown, Damien 2004)
นัยยะที่ ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 นั้น ยังมีอรรถกถาแบบตันตระบางพระสูตร ที่เอ่ยนามพระโพธิสัตว์ทั้ง 5 และพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ซึ่งมีฐานะสูงกว่าพระโพธิสัตว์     ส่วนหลักฐานจากเมืองพระนครนั้น คือศิลาจารึกและรูปจำหลักประติมากรรมนูนต่ำ ในซุ้มห้องยา-อโรคยาศาลาของปราสาทตาพรหมกิล (Ta Prom Kel) ทางตอนใต้นครธม    อย่างไรก็ตาม บทวิจัยของเฌ็ม คีธ ฤทธี เน้นไปที่อัตลักษณ์ในพระไภษัชยคุรุ กระบวนวิธี บริบาลทางการแพทย์ และสัญลักษณ์ “๑๐๒” ของอโรคยาศาลา ที่ถูกมองข้ามความสำคัญมาตั้งแต่นักประวัติเขมรยุคก่อน
โดยเฉพาะการตีความในจารึกที่เกี่ยวกับอโรคยาศาลาของหลุยส์ ฟิโนต์ (1906) และจอร์จ เซเดส (1940) จนส่งอิทธิพลทางความคิดต่อนักวิจัยรุ่นหลัง อาทิ วิกตอร์ โกลูบิว (1937), คล้อด ฆักส์ (1968) และบรูโน ดาเก็นส์ (1991) ในงานวิจัยอโรคยาศาลาในต่างกรรมต่างวาระ

                 กระนั้น ไม่พบการวิเคราะห์วิจัยอย่างเชิงลึกต่อประเด็นตันตระอายุรเวทสมัยชัยวรมันที่ 7 และพระไภษัชยคุรุ ข้ามศตวรรษที่ผ่านมา    โดยขอกล่าวว่า แนวทางอายุรเวทศาสตร์ทางแพทย์แนวมหายานของพระไภษัชยคุรุ ที่ถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในสมัยชัยวรมันที่ 7 นั้น ยังรวมไว้ด้วยพระสูตรและอรรถกถาและบทภาวนาต่างๆ ที่น่าจะถูกนำไปใช้ในการปลาสนาจากโรคาพยาธิ และมิติแห่งความตายของราชสำนักของราชอาณาจักรขอมยุคนั้น   แต่เฌ็ม คีธ ฤทธี เห็นว่า ตัวเลข “๑๐๒” การสร้างอโรคยาศาลานี้ คือมิติเดียวกับสัญลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุฉัน    เองก็เกิดข้อปุจฉาว่า นอกจากความเชื่อด้านพุทธมหายานที่เต็มไปด้วยพิธีกรรมต่างๆ แล้ว มนุษย์ยุคเมืองพระนคร ยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยศาสตร์ทางการแพทย์แบบใดบ้าง    อีกความเลื่อมใสในศาสตร์ตันตระ จนนำไปสู่การสร้างอโรคยาศาลาของพระบาทชัยวรมันที่ 7 และตัวเลข “๑๐๒” นี้ อาจเกี่ยวกับคำ “บนบาน” พิธีนิยมของราชสำนักแต่บรรพกาล หรือไม่?

            และเหตุใดกระบวนวิธีการรักษาอันน่าเลื่อมใสและกึ่งวิทยาศาสตร์นี้จึงสูญหาย จนเหลือหลักฐานเชื่อมโยงต่อมาที่น้อยมาก?    ทั้งหมดที่กล่าวนี้ หากว่าพระไภษัชยคุรุ ผู้เปรียบได้ไม่ต่างจากโพธิสัตว์องค์หนึ่ง ซึ่งมีอิทธิพลทางการแพทย์อย่างมากในสมัยพระบาทชัยวรมันที่ 7 แล้ว    เหตุใดพระองค์จึงไม่ดำริสร้างจารึก อาศรมหรือประติมากรรมรูปจำหลักถวายต่อพระไภษัชยคุรุ ผู้ที่พระองค์ทรงเลื่อมใสตามแบบราชประเพณีสรรเสริญนิยม?
            ฤๅเคยมีอยู่ หากแต่อุบัติอำนาจของอีกฝ่ายในสมัยชัยวรมันที่ 7 ได้นำไปสู่การทำลายหลักฐานะเหล่านั้น?
                พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 อภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ.1181 ทรงสร้างเมืองพระนคร ปราสาท อาศรมน้อยใหญ่ โรงพยาบาล ศาลาที่พักผู้เดินทาง ตลอดจนเส้นทางเชื่อมต่ออย่างเป็นระบบของการออกแบบ ทว่า ในท้ายต่อมาของศูนย์กลางอำนาจ (เกือบ) ทั้งหมด กลับอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของพุทธศาสนามหายาน ในภาคพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระไภษัชยคุรุ และมีข้อสังเกตว่า เหตุที่มีจำหลักพระไภษัชยคุรุอยู่น้อยมากนั้น มาจากความวุ่นวายในปลายรัชกาลพระบาทชัยวรมันที่ 7 ที่เกิดการยึดอำนาจและทำลายล้างลัทธิมหายานของฝ่ายพระองค์จนหมดสิ้น


               ถ้าเช่นนั้น การที่จารึกอโรคยาศาลาและสัญลักษณ์ “๑๐๒” ตลอดจนอัตลักษณ์ของพระไภษัชยคุรุ จะไม่ได้รับความสำคัญจากปราชญ์วิทูเขมรยุคแรกจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร   หากแต่การที่ความสำคัญในองค์รวมของ อโรคยาศาลาที่จะนำไปสู่กระบวนวิธีด้านรุกขศาสตร์พันธุ์พืชและสมุนไพร รวมทั้งประเด็นการรักษาโรคเรื้อนซึ่งเป็นโรคร้ายและระบาด รวมทั้งศิลปศาสตร์ระหว่างโอสถศาสตร์และแพทย์แนวพุทธแบบตันตระที่รวมไว้ด้วยพระสูตรและอภิปรัชญาต่างๆ ที่ถือเป็นวิทยาการสำคัญในยุคนั้น
         อีกความสำคัญของแพทย์แนวพุทธมหายานนี้ ยังเป็นวิธีที่ใช้สืบต่อกันมาจวบปัจจุบัน นั่นคือ การจับชีพจรเพื่อการวินิจฉัยโรค   ทว่ากระบวนลึกลับของตันตระเวทย์ที่น่าสนใจนี้ อยู่ที่ความเป็นอมตะ และการเล่นแร่แปรธาตุ  โดยหลักฐานที่สนับสนุนวิธีรักษาพยาบาลโรคของสมัยวรมันที่ 7 นั้น ประกอบด้วยโอสถยาพื้นฐาน 5 ชนิด ประกอบด้วย กีร์-น้ำมันเนยบริสุทธิ์, เนยสด, น้ำมัน, น้ำผึ้งและกากน้ำตาลที่พบว่าถูกใช้ในเขตอาศรมปราสาทตาพรหมและพระขรรค์ ซึ่งพบว่ามีจารไว้บนจารึกที่ปราสาททั้งสองแห่งเป็นจำนวน 4 และ 6 ครั้งตามลำดับ


        เช่นเดียวกับเอ็น ดัตต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระสูตรพุทธเวชศาสตร์ ตรรกะอภิปรัชญา ศิลปศาสตร์และโอสถศาสตร์ (1988) เอกสารชุดนี้ช่วยเชื่อมโยงว่า มีประวัติการใช้ยาทางการแพทย์และศาสตร์แห่งพระไภษัชยคุรุว่า เปรียบได้ไม่ต่างพระโพธิสัตว์ด้านการรักษาโรค และความสำคัญนี้ได้ส่งอิทธิพลพระบาทชัยวรมันที่ 7 ทั้งด้านศาสนาและสาธารณสุขศาสตร์ของปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12   ซึ่งการเล่นแร่แปรธาตุ หรืออายุรเวทศาสตร์ว่าด้วยการชะลอวัยชรา ความยืนยงของชีวิตและอมตนิรันดร์นั้นคือยอดปรารถนาของชาวนครทมโดยเฉพาะชนชั้นกษัตริย์  ผ่านความสำเร็จจากโรคเรื้อนและกระบวนรักษาที่น่าเลื่อมใสในตันตระวิธีมาแล้ว จากหลักฐานปราสาทพระขรรค์และตาพรหม   กระนั้น กระบวนเล่นแร่แปรธาตุแห่งชีวิตและความเป็นอมตะนี้   ยังเป็นความลับที่สาบสูญไปกับยุคหนึ่งของเมืองพระนคร

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
“...พระราชาผู้ปรารถนาความดีและประโยชน์อย่างยิ่งแก่มวลสัตว์โลก พระองค์ได้เปล่งพระปณิธานซ้ำอีกครั้งว่า พระองค์จะช่วยสัตว์โลกทั้งหลายที่จมอยู่ในมหาสมุทร (แห่งทุกข์) ให้หลุดพ้น ก็ด้วยความดีของพระองค์”

พระปณิธานอันแน่วแน่ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ในการสถาปนาอโรคยศาลา ปรากฏหลักฐานจากการแปลข้อความในจารึกประจำอโรคยศาลาหลายหลัก เช่นโศลกบทที่ว่า
“...โรคที่เบียดเบียนร่างกายของประชาชนนั้น กลับกลายเป็นโรคทางใจ ถึงแม้ว่าทุกข์นั้นจะไม่ใช่เป็นของตนเอง แต่ความทุกข์ของราษฎรก็เปรียบเหมือนความทุกข์ของผู้ปกครอง...”

จากการศึกษาจารึกที่พบอยู่ในอโรคยาศาล พบการแสดงพระราชปณิธานของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ที่ปรารถนาให้พสกนิกรของพระองค์พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ และในจารึกที่อโรคยาศาล ยังได้บันทึกเกี่ยวกับเครื่องยา กิจกรรมของอโรคยาศาล บัญชีรายชื่อเจ้าหน้าที่และสิ่งของต่างๆ มีการวิเคราะห์กันว่า รายการยาที่ปรากฏในจารึกของอโรคยาศาลนั้นเป็นไปตามหลักอายุรเวท และแตกต่างจากระบบการใช้ยาของคนพื้นเมืองในท้องที่

การสำรวจทางโบราณคดีได้พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า มีอโรคยาศาลที่อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยไม่น้อยไปกว่า ๓๐ แห่ง จาก ๑๐๒ แห่งที่มีระบุในจารึกว่ามีการสร้างในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ โดยมีที่ตั้งกระจายไปอยู่ใน ๑๐ จังหวัดคือ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น อุดรธานี สกลนคร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีษะเกษ บุรีรัมย์ อโรคยศาลอาจถือได้ว่าเป็นความพยายามของผู้ถืออำนาจรัฐในการอำนวยสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนในสมัยแรกที่พอจะมีหลักฐานหลงเหลืออยู่

อโรคยาศาลในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ มีการดูแลอย่างเป็นระบบ มีแพทย์ผู้ทรงความรู้ในอายุรเวทและอัสดรเวท ประจำอยู่ทำการรักษาโรคโดยการใช้สมุนไพร ส่วนพนักงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละแห่งมีจำนวนมากน้อยต่างกันไป ได้พบจารึกในอโรคยาศาลบางแห่งกล่าวว่า มีพนักงานอยู่ประจำถึง ๙๘ คน ประกอบด้วยผู้ดูแล ๔ คน แพทย์ ๒ คน ผู้ช่วยแพทย์เป็นผู้ชาย ๒ คน ผู้หญิง ๔ คน พนักงานเก็บของผู้ชาย ๒ คน เป็นผู้เก็บรักษาดูแลเครื่องยา ช้างและฟืน พ่อครัว ๒ คน มีหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำ จัดหาดอกไม้และหญ้าเป็นเครื่องบูชา ตลอดจนทำความสะอาดศาสนสถาน ชาย ๒ คนเป็นผู้จัดหาเครื่องพลีทาน และหาฟืนต้มยา บุรุษพยาบาล ๑๔ คน เป็นผู้ส่งยาให้แก่แพทย์ คนงานผู้หญิง ๘ คน แบ่งหน้าที่ไปทำหน้าที่บดยา ๖ คน และตำข้าว ๒ คน ธุรการชาย ๓๒ คน และผู้ช่วยงานอื่นๆ  แพทย์และเจ้าหน้าที่เหล่านี้ได้รับวัตถุสิ่งของ เสบียงอาหาร รวมทั้งเครื่องยาในการปรุงโอสถจากท้องพระคลังหลวงปีละ ๓ ครั้ง

พระไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภา
พระพุทธเจ้าสูงสุดทางการแพทย์และโอสถ ในศาสนาพุทธลัทธิมหายาน
พระนามหมายถึง บรมครูแห่งโอสถ (รักษาโรค) ผู้มีรัศมีดุจไพฑูรย์
พระนามอื่น ๆ คือ เภษัชราชา ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคต ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาราชา  ผู้ปลดเปลื้องมนุษย์จากโรคภัยไข้เจ็บและความทุกข์ทรมานต่าง ๆ หากได้สดับนามของพระองค์ และน้อมจิตบูชาอย่างถูกต้อง หรือเพียงสัมผัสรูปของพระองค์ ก็อาจหายจากโรคทางกายและทางใจ กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นเภสัชกรผู้เยียวยา จิตวิญญาณของมนุษย์ให้หลุดพ้นอวิชชา มิจฉาทิฐิ ไปสู่โพธิมรรคและนิพพาน ด้วยพระมหาปณิธานที่ ทรงตั้งไว้ระหว่างบำเพ็ญบารมี 12 ประการ

รูปเคารพโดยทั่วไปของพระไภษัชยคุรุ มีลักษณะดังพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือครองจีวรแบบนักบวช พร้อมด้วยมหาปุริสลักษณะ วรรณะสีน้ำเงินหรือสีทอง ประทับขัดสมาธิเพชรบนบัลลังก์สิงห์ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา ถือบาตร บรรจุโอสถ
พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชงฆ์ ถือยาสมุนไพร หรือขวดบรรจุยา โอสถที่บรรจุในบาตรหรือถือในพระหัตถ์ บ้างว่าเป็นกิ่ง อรุรา (arura ไม่มีนามทางวิทยาศาสตร์อันเป็นที่รู้จัก) บ้างว่าเป็นกิ่งสมอ บ้างก็ว่าเป็นมะขามป้อม บางครั้งรูปเคารพของพระองค์ขนาบด้วยพระโพธิสัตว์สุริยประภา และพระโพธิสัตว์จันทรประภา และแวดล้อมด้วยมหายักษ์เสนาบดี 12 ตน ผู้พิทักษ์มหาปณิธานของพระองค์ คือ กุมภิระ  วัชระ  มิหิระ อัณฑีระ  อนิล  ศัณฑิละ อินทระ  ปัชระ  มโหรคะ  กินนระ  จตุระ  และวิกราละ
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2024-6-14 16:24 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
>>>เรื่องเล่า...กล่าวขาน<<

ยุคทอง 141 ปี แห่งราชอาณาจักรขอม
ภายใต้การปกครองของ "ราชวงศ์มหิธรปุระ"
      จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ลำดับกษัตริย์ในสายราชวงศ์มหิธรปุระ เริ่มต้นที่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 ราว พ.ศ.1633 สิ้นสุดในสมัย พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในปี 1744 รวมระยะเวลาเพียง 141 ปี เท่านั้น นับเป็นยุคทองอันรุ่งเรืองขีดสุดของอาณาจักรขอมยุคเมืองพระนคร นับแต่สถาปนาครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.1345 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2
        ลำดับกษัตริย์ในราชวงศ์มหิธรปุระ
          1. พระเจ้าชัยวรมันที่_6 (ราว พ.ศ.1633-1651) ทรงเป็นราชโอรสของพระเจ้าหิรัณยวรมัน กับพระนางหิรัณยลักษมี ตั้งหลักฐานมั่นคงที่เมืองกษิตีนทรคาม
          2. พระเจ้าธรณินทรวรมันที่_1 (ราว พ.ศ. 1651-1655) ทรงเป็นราชโอรสของพระเจ้าหิรัณยวรมัน กับพระนางหิรัณยลักษมี และทรงเป็นพระอนุชาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6
.
        3. พระเจ้าสูรยวรมันที่_2 (พ.ศ. 1655-1695) ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากษิตีนทราทิตย์ และเป็นพระนัดดาของพระเจ้าหิรัณยวรมัน เสวยราชสมบัติอยู่ที่กรงยโศธรปุระ (เมืองพระนคร นครธม ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) พระองค์ทรงมีพระราชธิดา คือ พระนางภูปตินทรลักษมี ซึ่งเป็นพระมารดาของเจ้าชายนเรนทราทิตย์
         - พระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 เป็นกษัตริย์ผู้ทรงสร้างปราสาทนครวัด ปราสาทเจ้าสายเทวดา ปราสาทพระธรรมนูญ และปราสาทบันทายสาเหร่
- พระนางภูปตินทรลักษมี แห่งราชวงศ์มหิธรปุระ เมืองพระนคร (ประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน) มีพระโอรส คือ เจ้าชายนเรนทราทิตย์
- เจ้าชายนเรนทราทิตย์ เป็นพระนัดดาของพรเจ้าสูรยวรมันที่ 2 เช่นเดียวกัน เป็นผู้สืบเชื้อสายมหิธรปุระจากเมืองพระนคร ซึ่งต่อมาได้บำเพ็ญพรตเป็นฤษีที่เขาพนมรุ้ง องค์มหาฤษีนเรนทราทิตย์ มีพระโอรส คือ เจ้าชายหิรัณยะ
- เจ้าชายหิรัณยะ เป็นผู้สร้างประติมากรรมทองคำถวายแด่องค์มหาฤษีนเรนทราทิตย์ อุทิศถวายที่ปรางค์องค์ประธานปราสาทพนมรุ้งและสันนิษฐานว่า เมื่อมีการเฉลิมฉลองความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ เจ้าชายหิรัณยะจึงได้สร้างศิลาจารึกปราสาทเขาพนมรุ้ง
     4. พระเจ้าธรณินทรวรมันที่_2 (พ.ศ. 1695-1724) ทรงเป็นพระนัดดาของพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 เสวยราชสมบัติที่กรุงยโศธรปุระ (นครธม ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) พระองค์มีพระมเหสี คือ พระนางศรีชัยราชจุฑามณี มีพระโอรส คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
.
          5. พระเจ้าชัยวรมันที่_7 (พ.ศ. 1724-1744) เสวยราชสมบัติที่กรุงยโศธรปุระ (นครธม ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ทรงเป็นกษัตริย์นักรบผู้กล้าหาญ เก่งกล้า เป็นนักก่อสร้างปราสาทที่ยอดเยี่ยม มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลและเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มหิธรปุระผู้ครองอาณาจักรเมืองพระนคร
       พระองค์เป็นผู้สร้างปราสาทเป็นจำนวนมากในนครธม ปัจจุบัน ได้แก ปราสาทบายน ปราสาทตาพรหม ปราสาทนาคพัน ปราสาทสระสรง ปราสาทบันทายกะเด็ย ตำหนักชนช้าง ตำหนัก พระเจ้าขี้เรื้อน ปราสาทป่าเลย์ไลย ปราสาทพระขรรค์ และกลุ่มปราสาทนางสิบสอง
       ความสัมพันธ์ของราชวงศ์มหิธรปุระ กับดินแดนอิสานใต้
           มีข้อสันนิษฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี สรุปอายุการก่อสร้างปราสาทหินเขาพนมรุ้งอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 15-18 ราว พ.ศ.1433-1750 มีระยะเวลายาวนานประมาณ 317 ปี แสดงว่าดินแดนแห่งปราสาทหินเขาพนมรุ้ง มีอายุการก่อสร้างมากกว่าราชวงศ์มหิธรปุระแห่งเมืองพระนคร
           และในช่วงระยะเวลาที่สันนิษฐานว่ามีการก่อสร้างปรางค์องค์ประธานที่ปราสาทพนมรุ้ง มีจารึกที่ค้นพบทั้งหมดที่ปราสาทเขาพนมรุ้ง จำนวน 10 หลัก คือ จารึกเป็นภาษาสันสกฤต 4 หลัก และจารึกภาษาเขมร 6 หลัก สันนิษฐานไว้ว่า ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17-18 (ราว พ.ศ. 1650-1750) ซึ่งเป็นระยะเวลาของความเจริญรุ่งเรืองแห่งราชวงศ์มหิธรปุระแห่งเมืองพระนคร ในสมัยพระเจ้าสูรยวรมันที่ 2 ซึ่งเริ่มต้น พ.ศ.1655 และสิ้นสุดราชวงศ์มหิธรปุระแห่งเมืองพระนคร ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ในปี พ.ศ.1744 โดยที่ปราสาทหินเขาพนมรุ้งได้เสื่อมความสำคัญลงในราวปี 1750 ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันเพียง 6 ปี
     ซึ่งหากพิจารณาตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏในศิลาจารึกปราสาทพนมรุ้ง ย่อมแสดงให้เห็นว่า ปราสาทนครวัดที่เมืองพระนครสร้างก่อนปราสาทพนมรุ้ง (ปราสาทองค์ประธาน) และปราสาทพนมรุ้งสร้างก่อนปราสาทบายน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของนครธมที่เมืองพระนคร ในประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน โดยสรุปตามลำดับได้ดังต่อไปนี้
       1. พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2(พ.ศ. 1655-1695) ราชวงค์มหิธรปุระ แห่งเมืองนครวัด สันนิษฐานว่าเป็นผู้สร้างปราสาทนครวัด
.
2. เจ้าชายหิรัณญะ (ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17) ราชวงศ์มหิธรปุระ แห่งเมืองพนมรุ้ง สันนิษฐานว่าเป็นผู้สร้างปราสาทพนมรุ้งองค์ประธาน
.
3. พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724-1764) ราชวงศ์มหิธรปุระแห่งเมืองพระนคร เป็นผู้สร้างปราสาทบายน ซึ่งเป็นศูนย์กลางของนครธม
         ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์มหิธรปุระแห่งเมืองพระนคร กับราชวงศ์มหิธรปุระแห่งปราสาทพนมรุ้ง จึงเป็นสายราชวงศ์เดียวกัน ซึ่งได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองในดินแดนที่สามารถติดต่อเดินทางไปมาโดยใช้ระยะเวลาเพียง 2 วัน เมื่อพิจารณาจากเส้นทางโบราณจากปราสาทหินพิมาย อยู่ห่างจากปราสาทพนมรุ้ง ระยะทาง 90 กิโลเมตร และระยะทางจากปราสาทพนมรุ้ง ผ่านปราสาทเมืองต่ำ ถึงบริเวณเทือกเขาดงรัก เป็นระยะทาง 35 กิโลเมตร ณ บริเวณนั้นได้มีการสำรวจ พบเตาเผาโบราณที่ผลิตเครื่องเคลือบดินเผาตั้งเรียงรายอยู่มากมาย 200 จุด และมีโรงงานถลุงโลหะอยู่หลายแห่ง ยังมีปรากฏร่องรอยของเส้นทางโบราณอย่างชัดเจน และจากจุดย่านอุตสาหกรรมเทือกเขาดงรักมีช่องเขาลงไปสู่ประเทศกัมพูชา มีระยะทางเพียง 90 กิโลเมตร เดินทางถึงเมืองพระนคร
        ทำให้พบว่า เส้นทางโบราณจากปราสาทหินเขาพนมรุ้งสู่เมืองพระนคร มีระยะทางประมาณ 125 กิโลเมตร เป็นระยะทางที่ไม่ไกลเลย สำหรับการสร้างความเจริญรุ่งเรืองแห่งราชวงศ์มหิธรปุระแห่งเมืองพระนครและ สายราชวงศ์มหิธรปุระแห่งปราสาทหินเขาพนมรุ้ง
.
ต่อมาปีพุทธศักราช 1982 (จุลศักราช 801) ตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระบวรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ปรากฏชื่อเมืองพนมรุ้งในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับหอสมุดวชิรญาณ (ฉบับตัวเขียน) ระบุว่า ครั้งนั้นเจ้าเมืองพิมาย และเจ้าเมืองพนมรุ้ง ต้องถวายบังคมยอมอ่อนน้อมต่อ พระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา




ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้