ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 30642
ตอบกลับ: 7
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

อภินิหารพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ

[คัดลอกลิงก์]
     พระเครื่องราคาสูงหลัก “แสน” หรือหลัก “ล้าน” ก็ไม่แน่เสมอไปว่าจะ “เข้มขลังตามมูลค่า” ขณะที่ราคาพระเครื่องหลัก “ร้อย” หรือหลัก “พัน” อาจมีพุทธานุภาพสูงส่งก็ได้เพราะไม่มีอะไรเป็นเครื่องวัดได้ ซึ่งผิดกับความร้อน-หนาวที่วัดได้ด้วย “เทอร์โมมิเตอร์” แต่สิ่งเดียวที่พอจะวัดได้ก็คือ “ประสบการณ์” เพราะเป็น “ปรากฏการณ์” ให้พบเห็นทั้งในอดีตและปัจจุบันอยู่เสมอ “เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ฉบับนี้จึงขอนำท่านผู้ อ่าน “อ่านความจริง...อ่านเดลินิวส์” ย้อนกลับไปพบกับข่าวหนึ่งบนหน้าหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์” ที่ได้บันทึกเหตุการณ์เป็นข่าวที่สุดตื่นเต้นเป็นการพิสูจน์ถึงอภินิหารของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่ปัจจุบันยังมีให้บูชาในราคาไม่สูงเกินไปนัก         โดยหนังสือพิมพ์ “เดลินิวส์ ฉบับที่ ๙,๔๗๐ ประจำวันศุกร์ที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘” ได้เสนอข่าวถึงเรื่องราวปาฏิหาริย์ของ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่มีรายงานข่าวจาก จังหวัดพัทลุง ว่าเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ เวลา ๐๔.๓๐ น. นายสืบศักดิ์ แกล้วทนง อายุ ๒๓ ปี บ้านอยู่หมู่ที่ ๒ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์กลับจากดูโขนสดและภาพยนตร์ที่ วัดป่าพยอม เพื่อกลับบ้าน ขณะขับขี่ไปถึง ตลาดป่าพยอม เกิดไปเฉี่ยวเอาราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้หนึ่งที่ทาง “ทหาร ผส.๕ ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่” มาจัดตั้งหน่วยขึ้นที่ ต.ป่าพยอม อ.ควนขนุน
         เพื่อทำหน้าที่ปราบปรามผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งกำลังเดินกลับ เข้าค่าย จำนวน ๔ คน ราษฎรหน่วยปฏิบัติการพิเศษ “ชุดล่าสังหาร” ผู้ที่ถูก “นายสืบศักดิ์” ขับรถเฉี่ยวจึงตะโกนบอกให้ “นายสืบศักดิ์” หยุดรถแต่ “นายสืบศักดิ์” เป็น “คนหูหนวก” จึงไม่ได้ยินเลยไม่หยุดรถ “หน่วยล่าสังหาร” ผู้นั้นจึงรัว “ปืนเอ็ม ๑๖” เข้าใส่ “นายสืบศักดิ์” ที่ยังขับรถทั้งหมด ๓๐ นัด กระสุนปืนพุ่งเข้าหา “นายสืบศักดิ์” เต็มแผ่นหลังจนตกลงจากรถจักรยานยนต์ หน่วยล่าสังหารทั้ง ๔ นายจึงกรูเข้าไปดูกลับเห็น “นายสืบศักดิ์” ปราศจากบาดแผลเนื่องจาก “กระสุนปืนเอ็ม ๑๖” ที่ยิงใส่นายสืบศักดิ์ไม่ระคายผิวเลย “หน่วยล่าสังหาร” ทั้ง ๔ นายจึงช่วยกันหักคอ “นายสืบศักดิ์” จนตายคามือแล้วพากันหลบหนีไป

         ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจทำการชันสูตรศพ จึงพบว่าแผ่นหลังของ “นายสืบศักดิ์” ถูกกระสุนปืนเอ็ม ๑๖ หลายนัดแต่กระสุนไม่ทะลุ มีเพียง “รอยไหม้เกรียม” ที่เกิดจากพิษกระสุนปรากฏเป็นจุด ๆ เท่านั้น ส่วนเหตุที่เสียชีวิตก็เพราะกระดูกบริเวณแผ่นหลังและที่ลำคอของ “นายสืบศักดิ์” หักหลายชิ้นเจ้าหน้าที่ค้นในตัวศพจึงพบว่าหนุ่มใบ้ผู้เสียชีวิตมีเพียง “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ ๑ องค์” เท่านั้นซึ่งเป็นพระเครื่องที่จัดสร้างขึ้นเมื่อคราวมีงานฉลอง “๒๕ พุทธศตวรรษ” ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งครั้งนั้นรัฐบาลได้จัดตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินงานเกี่ยวกับการสร้างพระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ สำหรับเป็นที่ระลึกและแจกจ่ายสมนาคุณให้แก่ประชาชน ผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินสมทบทุนในการสร้าง “พุทธมณฑล” โดย “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนั้นมีรายการและรายละเอียดดังนี้


2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-2 14:10 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
๑. เนื้อชิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน เป็นพระที่สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มขนาดความกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. วัสดุที่สร้างมีส่วนผสมต่าง ๆ ดังนี้ “พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำ, เนื้อนวโลหะ” และ “แผ่นทองแดง, แผ่นตะกั่ว, แผ่นเงิน” ที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรทำการลงอักขระเลขยันต์ และคาถาต่าง ๆ แล้วนำมาผสมหล่อหลอมเข้าด้วยกันโดยมีจำนวนสร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์

         ๒. เนื้อดิน พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระปฏิมากรแบบนูน สร้างขึ้นด้วยเครื่องปั๊มมีด้วยกัน ๒ พิมพ์คือ “พิมพ์เขื่อง” มีขนาดกว้าง ๑.๖ ซม. สูง ๔.๒ ซม. หนา ๖ มม. “พิมพ์ย่อม” มีขนาดกว้าง ๑.๔ ซม. สูง ๓.๙ ซม. หนา ๔ มม. วัสดุที่ใช้สร้างเป็น “เนื้อดิน” ทั้ง ๒ พิมพ์โดยนำดินที่ขุดจาก ทะเลสาบจังหวัดสงขลา ผสมกับ เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ชนิด ตลอดทั้งว่านและใบไม้ต่าง ๆ พร้อม ดินจากหน้าพระอุโบสถ ที่มีความสำคัญจากจังหวัดต่าง ๆ อีกทั้งดินที่นำมาจากสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง ใน ประเทศอินเดีย นอกจากนี้ยังใช้ผงวิเศษจากพระอาจารย์ต่าง ๆ และพระเครื่องโบราณที่ชำรุดเช่น “พระสมเด็จฯ, พระขุนแผน, พระนางพญา, พระรอด” มาผสมเข้าด้วยกัน จำนวนที่สร้าง ๒,๔๒๑,๒๕๐ องค์ เช่นกันกับเนื้อชินโดยพระเครื่องเนื้อดินเผามีด้วยกันหลายสี อาทิ สีดำ, สีเทา, สีขาวนวล, สีพิกุลแห้ง, สีหม้อใหม่, สีครีม, สีชมพู, สีน้ำตาลไหม้ ฯลฯ เป็นต้น

         ๓. เนื้อทองคำ พุทธลักษณะเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรแบบนูน สร้างด้วยเครื่องปั๊มมีขนาดกว้าง ๑.๘ ซม. สูง ๔.๗ ซม. หนา ๒ มม. ด้านหน้าและด้านหลังพุทธลักษณะโดยทั่วไปเป็นแบบเดียวกันกับพระ “เนื้อชิน” และจำนวนสร้างเท่ากับ พ.ศ. ที่สร้างคือ ๒,๕๐๐ องค์ โดยน้ำหนักทองคำองค์ละ ๖ สลึง ทางด้านพิธีกรรมการ ปลุกเสกครั้งแรกทำการปลุกเสกสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ ก่อนที่จะได้นำมาสร้างเป็นพระโดยประกอบพิธีปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน โดยในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธานพิธี สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) สังฆนายก วัดเบญจมบพิตรฯ จุดเทียนชัยและมีพระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูป นั่งปรกปลุกเสก บรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่าง ๆ จนตลอดคืน จากนั้นวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ประธานคณะกรรมการฯเป็นประธานพิธี และพระราชาคณะ ๒๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์ พระเกจิอาจารย์ ๑๐๘ รูปนั่งปรกปลุกเสกบรรจุ พุทธาคมลงในสรรพวัตถุ และมวลสารต่าง ๆ ตลอดคืน

         วันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๐ เวลา ๑๖.๓๐ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมายังพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหา วิหาร ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชา พระศรีศากยมุนีเสร็จแล้ว เสด็จพระราชดำเนินไปยังมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถ ทรงเททองหล่อ “พระพุทธรูปทองคำ” จำนวน ๔ องค์ และทรงกดพิมพ์พระเครื่องฯ “๒๕ พุทธศตวรรษ” เนื้อดินจำนวน ๓๐ องค์ เป็นปฐมฤกษ์แล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับเข้าสู่พระอุโบสถ สมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ ถวายอดิเรกจบแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับ ส่วนพระเกจิอาจารย์ในจำนวน ๑๐๘ รูป เข้าสู่มณฑลพิธีนั่งปรกปลุกบรรจุพุทธาคมลงในสรรพวัตถุและมวลสารต่อไปจนตลอด คืน

         พิธีปลุกเสกครั้งที่สองได้ทำพิธี ณ วัดสุทัศนเทพวรารามฯ หลังจากพระเครื่องทั้งหมดได้สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อวันที่ ๒, ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๐๐ เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ประกอบด้วยเกจิอาจารย์ชั้นนำในยุคนั้นอีก ๑๐๘ องค์ เช่น “หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อนาค วัดระฆัง หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อใจ วัดเสด็จ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม” เป็นต้น

        ด้วยเหตุนี้ “พระเครื่อง ๒๕ พุทธศตวรรษ” จึงจัดเป็นพระเครื่องที่ ดีเยี่ยมแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปัจจุบันยังพอแสวงหาได้ในราคาไม่สูงมากนัก เป็นสิริมงคลล้ำค่าที่จะอาราธนาขึ้นแขวนคอได้อย่างสบายใจ

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=amuletstory&month=05-2012&date=15&group=2&gblog=101
3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-2 14:13 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้


พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ

พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ  เอกสารต้นฉบับเดิม"พระ 25 ศตวรรษ"  แผนผังพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ  เป็นสุดยอดพระเครื่องที่น่าหามาบูชาอย่างยิ่ง เนื่องด้วยพิธีที่ยิ่งใหญ่  เจตนาและวัตถุประสงค์ในการสร้างที่ดี รวมใว้ซึ่งสถาบันสำคัญของประเทศ คือ ชาติ  ศาสนา พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างพุทธมณฑลเมื่อวันที่  28 กรกฏาคม พ.ศ. 2498 และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปจำลอง
"พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล" และทรงกดพระพิมพ์ พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ  เนื้อดินผสมเกสรจำนวน ๓๐ องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวราราม เมื่อวันที่  11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500
พระ 25 พุทธศตวรรษ  สร้างขึ้นเมื่อปี 2500 วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้สร้าง พุทธมณฑล ที่ศาลายา  จ.นครปฐม เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาในเมืองไทย  สมัยนั้นใครที่ไปติดต่อราชการที่อำเภอหรือจังหวัด จะต้องทำบุญเช่าพระ  พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ สมัยก่อน 1 องค์ 5 บาท  ทำให้คนไทยเกือบทุกบ้านมีพระรุ่นนี้กันอย่างทั่วถึง  แต่เนื่องจากจำนวนสร้างมีมากเป็นล้านองค์ ทำให้ พระเครื่อง 25  พุทธศตวรรษ บางเนื้อยังคงมีเหลืออยู่ที่ พุทธมณฑล ในขณะเดียวกัน พระ ๒๕  พุทธศตวรรษ ในตลาดพระก็ยังมีการเช่าบูชากันในราคาที่ไม่แพงนัก ยกเว้นพระเนื้อพิเศษ  เช่น พระ 25 ศตวรรษ เนื้อทองคำ เนื้อเงิน หรือหรือดินเผาสีแปลกๆ องค์สวยคมชัดมาก  ก็อาจจะมีราคาแพงกว่าองค์ธรรมดา


เอกสารงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ
  


ต้นฉบับเดิม"พระ 25 ศตวรรษ"






การสั่งจองพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษชนิดทองคำ


การสั่งจองพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ  เนื้อชินและผง



หนังสือเอกสารเก่า "พระเครื่อง 25  พุทธศตวรรษ"
     พระเครื่องฉลอง 25  พุทธศตวรรษ ถือได้ว่า  เป็นพระเครื่องที่มาพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่มากรุ่นหนึ่งในวงการพระเครื่อง  มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสกพุทธาคมครบ 108 รูป   พระคณาจารย์ 108 รูป ซึ่งได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศไทย  พระคณาจารย์แต่ละรูปล้วนแล้วแต่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษเนื้อดิน  มีหลายขนาดและหลากหลายโทนสีเนื่องจาก  การเผาผ่านความร้อนที่ต่างกันเช่นเดียวกับพระเนื้อดินโบราณสมัยก่อน  ที่มีขนาดและโทนสีที่แตกต่างกัน และพระบางองค์ที่ถูกความร้อนมากหน่อยก็จะ  หดตัวเล็กลงไป หรือพระบางองค์ที่ผสมผงเกสรหรือว่านมากไปก็จะกลายเป็นสีดำ

เหรียญกรรมการ งานฉลอง25พุทธศตวรรษ
  พระ 25 ศตวรรษ  เมื่อเริ่มได้รับความนิยมจากประชาชนแล้วก็เริ่มมีการแบ่งแยก เนื้อพระ และ พิมพ์ทรง  ให้เป็นเนื้อและพิมพ์นิยมมากขึ้นซึ่งเนื้อ "พระ 25 ศตวรรษ ทองคำ, พระ 25 ศตวรรษ เนื้อนาก, พระ25ศตวรรษ เนื้อเงิน"  ซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดตามลำดับโดยแบ่ง "เนื้อชิน" ออกเป็น "พิมพ์มีเข็ม"  นิยมมากกว่าพิมพ์ "ไม่มีเข็ม" ส่วนทางด้าน "เนื้อดิน"  ก็มีการแยกตามความนิยมออกโดยจัด "เนื้อสีดำ"  เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมที่สุดจากนั้นก็จัด "เนื้อโทนสีช็อกโกแลต"  ได้รับความนิยมรองลงมาและ "เนื้อแร่" ก็ได้รับความนิยมในระดับเดียวกับ  "เนื้อช็อกโกแลต" ส่วนเนื้ออื่น ๆ ก็ได้รับความนิยมรองลงมาเนื้อไหน  สีโทนอะไรหายากก็จะแพงกว่าโดยมี  รายละเอียดแตกต่างมากมายทั้งที่เป็นพระที่สร้างในพิธีเดียวกัน

http://www.tumsrivichai.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-25-%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A9.html

4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-24 20:00 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
คงได้้ส่งเป็นมวลสารครับ
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2013-9-24 20:00
คงได้้ส่งเป็นมวลสารครับ

ทำไม หรอครับ
6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-9-27 18:50 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2013-9-27 13:59
ทำไม หรอครับ

หลังพระรานครับ
แจ่มจัด
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2015-1-30 19:53 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
โอววว..ลืมเลยยังไม่ได้นำไปให้อาจารย์
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้