ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1945
ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

หลวงปู่บุญ แห่งสวนนิพพาน วัดปอแดง

[คัดลอกลิงก์]

ประวัติ หลวงปู่บุญแห่งสวนนิพพาน
(วัดปอแดง อ.ปักธงชัย โคราช)


ประวัติหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล
บิดา    นายหลอด      แรมกิ่ง
มารดา นางคำ          แรมกิ่ง
เกิดที่บ้านปอแดง  หมู่ที่๔  ต.ภูหลวง  อ.ปักธงชัย  จ.นครราชสีมา
เกิดเมื่อวันที่  ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘
อุปสมบทเมื่อวันที่  ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
ณ พัทธสีมา วัดบ้านห้วยสะแกราช ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย  จ.นครราชสีมา
โดยมี
       พระครูสาทรคณารักษ์ (หลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท) วัดบ้านห้วยสะแกราช  เป็นพระอุปัชฌาย์
       พระครูพิศาลสุขวัฒน์            วัดสุขวัฒนาราม        เป็นกรรมวาจาจารย์
       พระครูสุทธิสีลคุณ               วัดบ้านห้วยสะแกราช           เป็นอนุสาวนาจารย์


        เมื่อครั้งหลวงปู่สมบุญ  ปริปุนฺณสีโล ยังครองหฤหัสอยู่ได้ทำงานเป็นนายช่างในการก่อสร้างตัดถนน สืบศิริให้กับบริษัทฝรั่งแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถนนตัดผ่านหน้าวัดปอแดงปัจจุบัน ได้เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยาน
ยนต์พร้อมกับเพื่อนสนิทของท่าน เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เพื่อนสนิทของท่านที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัย
ที่เป็นทหารนั้นต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ยังผลให้หลวงปู่สมบุญ  ปริปุนฺณสีโล เสียใจมากต่อเหตุการณ์
นั้นถึงขนาดเศร้าซึมและเหม่อลอย จนกระทั่งหลวงพ่อวิชัย นิรามโยภิกขุ เจ้าอาวาสวัดปอแดงในขณะนั้น ได้
เทศนาธรรมให้ข้อคิดต่อหลวงปู่ใจความว่า “ก้อนเขละ (เสมหะ) ที่บ้วนทิ้งออกไปแล้วไม่สามารถกลับมาเป็น
เดิมได้” จึงเกิดเป็นปฏิปทานต่อหลวงปู่ในการก้าวสู่ร่มกาสาวพัตรเพื่อศึกษาและปฏิบัตรธรรมะ โดยมีจุด
ประสงค์นิพพานตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
      เมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่สมบุญ  ปริปุนฺณสีโล ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อวิชัย นิรามโยภิกขุ
เจ้าอาวาสวัดปอแดงในขณะนั้น ซึ่งเป็นศิษย์ธรรมทายาทของหลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท อยู่ที่วัดปอแดง ๒ พรรษา โดยได้ศึกษาธรรมและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ต่างๆกับหลวงพ่อวิชัย ซึ่งหลวงปู่สมบุญได้เคร่งครัดใน
ธรรมวินัยโดยจริยวัตรงดงาม หลังจากนั้นได้ไปศึกษากรรมฐานวิชชากับหลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท ผู้เป็น
พระอุปัชฌาย์ เก่งกล้าทางด้านฌาญสมาบัติ ทั้งยังเป็นเอกของหลวงปู่โต คังคะปัญญา เทพเจ้าแห่งปักธงชัย
ผู้เป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่มั่น ปุริสุโธ และเป็นศิษย์ผู้สืบทอดวิชาอาคมจากสำเร็จลุน สังฆราชเจ้าแห่ง
ประเทศลาวโดยตรง ในการศึกษากับหลวงปู่ก้อนนั้นหลวงปู่สมบุญ นอกจากจะได้ศึกษาในหลักการกรรมฐาน
วิชชา แล้วนั้นยังได้รับการถ่ายทอดอาคมต่างๆ จากหลวงปู่ก้อน ที่เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่โต คังคะปัญญา
เทพเจ้าแห่งปักธงชัยผู้มีกรรมฐานวิชชาและอาคมที่เก่งกล้ามากอีก ๑ พรรษาเพื่อที่จะได้สามารถปฏิบัติวัตร
ธุดงค์เพื่อจาริกแสวงบุญพร้อมกับบำเพ็ญเพียรตามที่ได้ตั้งใจเมื่อครั้งก้าวเข้าสู่เพศบรรพชิตโดยมีจุดหมาย
คือสำเร็จมรรคผลนิพพานอย่างตั้งมั่น


ประวัติธุดงค์ของหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสี


         หลวงปู่สมบุญได้ออกธุดงค์เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ จนถึง ปี๒๕๓๘
โดยในปีแรกได้เริ่มต้นโดยการออกธุดงธ์ไปกับหลวงพ่อวิชัยผู้เป็น
อาจารย์จุดมุ่งหมายในที่แรกคือ วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบล
ราชธานี เพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ชา  สุภทฺโท ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่
มีผลผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านวิปัสสนาธุระ ที่โดด
เด่นที่สุดรูปหนึ่งของไทย และมีลูกศิษย์เป็นชาวต่างประเทศมาก
มายโดยการไปกราบนมัสการหลวงปู่ชาในครั้งนั้นได้ศึกษาวิชาวิปัสนา
กรรมฐานจากหลวงปู่ชา  สุภทฺโท อย่างแน่วแน่และตั้งใจปฏิบัติในแนว
ทางกรรมฐานของหลวงปู่ชา หลังจากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปจนถึง
ประเทศลาวเพื่อสักการะแด่สำเร็จลุน ณ ภูเขาควาย ที่ประเทศลาว ซึ่ง
เป็นที่ที่ สำเร็จลุน ใช้ปฏิบัติธรรมอยู่ในสมัยที่ยังมีชีวิต โดยหลวงปู่
สมบุญนั้นถือได้ว่าเป็นเหลนศิษย์ของสำเร็จลุนเนื่องด้วย หลวงปู่ก้อน
พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่สมบุญ เป็นศิษย์ของหลวงปู่โต คังคะปัญญา
ซึ่งเป็นศิษย์ใน สำเร็จ ลุน สืบวิชาสายตรงมา กล่าวถึงสำเร็จ ลุน เป็น
สุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว   
พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสาน แถบลุ่มแม่น้ำโขง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นศิษย์ รวมถึงหลวงปู่มั่น
ปุริสุโธ ซึ่งเป็นปรจารย์แห่งภิกษุทั้งหลายในภาคอีสาน สำเร็จลุนนั้นท่านมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สำเร็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงได้ด้วยเท้าเปล่า และบางครั้งท่านจะไปสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของสำเร็จลุน
       ในการธุดงค์ของหลวงปู่สมบุญ เจตนาคือเพื่อที่จะทำการศึกษาหลักวิชาอาคมและหลักธรรม รวมถึงฝึกวิปัสนากรรมฐานเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในเจตนาแรกของการอุปสมบท จากคำบอกเล่าของศิษยานุศิษย์รุ่นต่างๆ ที่ได้ใกล้ชิดกับหลวงปู่สมบุญ ทั้งที่ได้ร่วมธุดงค์และจากคำบอกเล่าประสบการณ์การธุดงค์ของหลวงปู่แก่เหล่าลูกศิษย์นั้น พอจะเรียบเรียงได้ดังนี้ หลังจากกลับจากธุดงค์ประเทศลาวนั้น หลวงปู่ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดปอแดง โดยได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานวิปัสนาธรรมจากที่ได้ร่ำเรียนจากอาจารย์ต่างๆ ในช่วงธุดงค์อยู่เป็นนิตย์ ระหว่างการจำพรรษาอยู่นั้นก็ได้รับการอบรมหลักวิชาธรรมะเพิ่มเติมจากพระอาจารย์วิชัย และพระมหาธนิต ปสุโต ปธ.๙ ประโยค แห่งวัดชนะสงคราม โดยพระมหาธนิตผู้นี้ เป็นผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนและเน้นหนักในปฏิบัติวิถี กล่าวคือเมื่อท่านได้สอบได้ในเปรียญธรรม๙ประโยคแล้วนั้นท่านไม่ขอรับสมณศักดิ์ใดๆ เลยทั้งสิ้นมุ่งหน้าสู่วิเวกปฏิบัติและเผยหลักปฏิบัติกรรมฐานแด่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านมหาธนิตผู้นี้เป็นผู้เริ่มในการจัดงานปริวาสกรรมที่วัดปอแดงขึ้น โดยการยึดเอาวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีเป็นวันเริ่มการปริวาส ซึ่งเมื่อกาลก่อนในสมัยหลวงปู่โต คังคฺปัญญา นั้นในวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีจะเป็นวันที่ชาวบ้านนัดหมายกันมาที่วัดปอแดงเพื่อกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทที่หลวงปู่โต อัญเชิญมาจากอินเดียเมื่อคราวที่ได้ออกธุดงค์ไปอินเดียเมื่อพระมหาธนิตเห็นว่าวันดังกล่าวเป็นวันดีที่ชาวบ้านจะมาชุมนุมอยู่แล้วจึงจัดให้มีการชุมนุมสงฆ์ เพื่อให้เข้ามาร่วมงานปริวาสกรรมด้วย โดยงานปริวาสกรรมนี้ได้จัดเป็นประเพนีสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้พระมหาธนิตเป็นหนึ่งในบูรพาจารย์ที่ทางหลวงปู่สมบุญยึดถือเอาเป็นแบบอย่างในการไม่ยึดติดในสมณศักดิ์ใดๆ ดังจะเห็นได้จากการที่หลวงปู่ไม่รับสมณศักดิ์ใดๆเลยแม้แต่เจ้าอาวาสโดยให้ลูกศิษย์ต่างๆ ของท่านดำรง
ที่มา

https://m.facebook.com/story.php ... id=1668158626738320

ขออภัย! โพสต์นี้มีไฟล์แนบหรือรูปภาพที่ไม่ได้รับอนุญาตให้คุณเข้าถึง

คุณจำเป็นต้อง ลงชื่อเข้าใช้ เพื่อดาวน์โหลดหรือดูไฟล์แนบนี้ คุณยังไม่มีบัญชีใช่ไหม? ลงทะเบียน

x
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้