ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
ประวัติเจ้าหลวงคำแดง
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 2241
ตอบกลับ: 0
ประวัติเจ้าหลวงคำแดง
[คัดลอกลิงก์]
รามเทพ
รามเทพ
ออฟไลน์
เครดิต
8083
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2019-7-15 22:13
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย รามเทพ เมื่อ 2019-7-15 22:18
ประวัติเจ้าหลวงคำแดง
ศาลาเจ้าพ่อหลวงคำแดง วัดโพธาราม อำเภอแม่ใจจังหวัดพะเยา
ตำนานเจ้าหลวงคำแดงเป็นตำนานแพร่หลายในหลายจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนดังปรากฏศาลเจ้าหลวงคำแดงกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ อาทิ ถ้ำเชียงดาวเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง แม่ฮ่องสอนและน่าน ซึ่งศาลบางแห่งมีการประกอบพิธีกรรมเลี้ยงผีเจ้าหลวงคำแดงเป็นประจำทุกปี
“เจ้าหลวงคำ กับเจ้าจอมเทวี” นี้ ตามประวัติหรือตามตำนานเดิมกล่าวว่า ก่อนที่ทั้งสองจะมาอยู่ดอยเชียงดาวและดอยนางนั้น ชะรอยว่านางจอมเทวี มีนิวาสสถานบ้านเมืองอยู่ทางทิศใต้ แต่จะเป็นเมืองอะไรนั้นไม่ปรากฏชัด ส่วนเจ้าหลวงคำแดง เป็นราชโอรสของพระยางำเมือง เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ซึ่งหลังจากพ่อขุนงำเมือง พ่อขุนเม็งรายมหาราชและพ่อขุนรามคำแหง ได้ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว พ่อขุนรามคำแหงก็เสด็จกลับไปกรุงสุโขทัย พ่อขุนงำเมืองก็เสด็จกลับสู่เมืองพะเยา ส่วนพ่อขุนเม็งรายมหาราชก็เป็นกษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่สืบต่อไป
ต่อมาอีกไม่นานนักพ่อขุนงำเมือง ก็สละราชสมบัติเสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองเงิน ซึ่งปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกกันว่าเมืองงาว จึงทรงให้พระราชโอรสขุนคำแดง (เจ้าพ่อหลวงคำแดง) อยู่รักษาการปกครองเมืองพะเยาแทนพระองค์ จากนั้นมาไม่นานนักมีข้าศึกเงี้ยวเข้ามาโจมตี และปล้นทรัพย์สินของประชาชน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เจ้าหลวงคำแดงจึงได้คุมทหารจำนวนหนึ่งพร้อมด้วยอาวุธทุกชนิดไปอยู่รักษาชายแดนป้องกันศัตรูจากเจ้าเมืองอื่นที่มักคุมทหารยกมาตีเมืองพะเยา ขณะที่เจ้าหลวงคำแดง พร้อมทหารเดินทางไปนั้นเป็นเวลาที่ตะวันคล้อยบ่ายลงไปมาก ประกอบกับเจ้าหลวงคำแดงและทหารต่างก็เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าจากการเดินทาง จึงสั่งให้ทหารหยุดและจัดสถานที่พักผ่อน ณ ชายป่าท้ายบ้านแห่งหนึ่ง ประจวบกับเวลานั้นดวงอาทิตย์คล้อยต่ำลงจวนจะลับเหลี่ยมภูผาแล้ว มีหญิงสาวคนหนึ่งซึ่งมีสิริร่างเลอโฉมอวบอั๋น ผิวพรรณผุดผ่องสวยงามน่าชมเชยเสียยิ่งนัก จะหาหญิงอื่นมาเทียบมิได้ในแคว้นนั้น เดินผ่านมายังค่ายที่พักของเจ้าหลวงคำแดง เมื่อสายตาของเจ้าหลวงคำแดงเห็นร่างของสตรีที่สวยสดซึ้งเข้าเช่นนั้น เกิดความคิดที่จะเข้าไปโอภาปราศรัยกับเธอเสียจริง
เท่าไวดังใจคิดเจ้าหลวงคำแดงจึงย่างกรายเดินออกจากค่ายพักเข้าไปหาสตรีผู้นั้นพร้อมกับเอ่ยทักทายก่อน หญิงสาวหยุดเดินพร้อมกับหันมาตามเสียงที่กล่าวทัก ฉับพลันที่พบเห็นสายตาของหนุ่มสาวก็ประสานกันอย่างจัง จนทำให้หญิงสาวเอียงอายและหลบสายตาของหนุ่มในที่สุดเจ้าหลวงคำแดงก็เดินตามหญิงสาวคนนั้นไปจนถึงสวนผักแห่งนั้น หญิงสาวคนนั้นจึงแวะไปเก็บผักพร้อมกับเจ้าหลวงคำแดง ขณะที่ทั้งสองหนุ่มสาวช่วยกันเก็บผักพลางพูดคุยหยอกล้อกันพลางอย่างสุขใจอยู่นั้น ตอนหนึ่งเจ้าหลวงคำแดงได้เอ่ยถามหญิงสาวขึ้นว่า “ บ้านน้องสาวอยู่ไกลไหม” นางก็ตอบว่า “ไม่ไกลหรอก” หญิงสาวตอบพร้อมกับร่างนั้นก็หายวับไป ปรากฏเป็นกวางทองตรงพุ่มไม้ข้างหน้าและกวางทองก็วิ่งเหยาะ ๆ กลับไปทางค่ายพักของเจ้าหลวงคำแดง ส่วนเจ้าหลวงคำแดงพอเห็นอัศจรรย์เช่นนั้นถึงกับตกตลึงไปชั่วครูหนึ่ง พอหายจากตกตลึงจึงออกวิ่งไล่กวดไปติด ๆ พลางปากก็ร้องตะโกนบอกแก่ทหารว่า “กวางทองวิ่งผ่านไปทางหน้าค่ายเราให้สกัดจับไว้” จนไปถึงค่ายแล้วเจ้าหลวงคำแดงก็จัดทหารพร้อมอาวุธครบมือ ออกติดตามจับเจ้ากวางทองน้อยตัวนั้นไปเป็นเวลา ๓ วัน ก็ไล่จับกวางทองไม่ได้ พร้อมกับได้สั่งกำชับว่า ให้จับเป็นห้ามใช้อาวุธใด ๆ ทำร้ายร่างกายเจ้ากวางทอง
ต่อจากนั้นเจ้าหลวงคำแดงพร้อมทหาร ก็ออกติดตามเจ้ากวางทองขึ้นไปทางเหนือแต่เจ้าหลวงคำแดงก็ไม่ลดละความพยายาม โดยนำทหารติดตามไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งเจ้ากวางทองหายลับสายตา เจ้าหลวงคำแดงยังไม่หมดความมานะหมายจะจับกวางทองให้ได้ จนเวลาล่วงเลยไป ๑๐ กว่าวันก็ยงไม่พบกวางทอง คงเห็นแต่รอยเท้าเท่านั้น และในวันหนึ่งที่ปรากฏแก่สายตาของเจ้าหลวงคำแดงและเหล่าทหารทั้งหลายคือ คราบ ของนางกวางทอง ซึ่งได้กลับกลายร่างจากกวางมาเป็นมนุษย์ เพราะได้ลอกคราบไว้ข้างห้วยใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันคือบ้านสบคาบ (เพี้ยนมาจากคำว่าคราบ) หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไปประมาณ ๖ กิโลเมตร และเจ้าหลวงคำแดงก็ติดตามไปอีกจนไปพบร่างของเจ้ากวางทองที่กลับกลายเป็นหญิงสาวดังที่พบเห็นครั้งแรก ในป่าแห่งหนึ่ง อยู่ทางทิศตะวันออกของที่ว่าการอำเภอเชียงดาว ป่าแห่งนั้นมีชื่อว่า “ ดงเทวี ” ทันทีที่เจ้าหลวงคำแดงตามไปพบ หญิงสาวเห็นดังนั้นจึงกลับกลายร่างเป็นกวางทองอีกครั้ง เจ้าหลวงคำแดงสั่งให้ทหารกระจายกำลังโอบล้อมเจ้ากวางทองไว้พร้อมกับประกาศว่า หากใครปล่อยให้เจ้ากวางทองหลุดรอดออกไปตรงด่านของผู้ใด ผู้นั้นจะต้องถูกตัดหัว แต่ในที่สุดเจ้ากวางทองตัวนั้นก็หลุดรอดออกจากวงล้อมได้ พร้อมกับบอกว่า “หากข้าตามเจ้ากวางทองนี้ไปเกิน ๗ วัน ไม่เห็นข้ากลับมา ก็ให้พวกท่านกลับไปบอกพระราชบิดาของข้าทางบ้านด้วยและไม่ต้องเป็นห่วงข้าในเมื่อติดตามเอานางกวางทองตัวนี้มาไม่ได้ตังข้าเองก็จะไม่ยอมกลับบ้านเช่นกัน”
เมื่อเจ้าหลวงคำแดง สั่งการให้ทหารเหล่านั้นเรียบร้อยแล้ว จึงออกติดตามนางกวางทองตัวนั้นไปทางตะวันตกซึ่งนางกวางทองมุ่งหน้าไปสู่เขาใหญ่ลูกหนึ่ง เป็นเขาที่ถ้ำเชียงดาวปัจจุบัน ขณะที่เจ้าหลวงคำแดงติดตามนางกวางทองไปอย่างกระชั้นชิดนั้น นางกวางทองก็แปลงร่างเป็นหญิงสาวอีกครั้งหนึ่งแล้ววิ่งหายเข้าไปในถ้ำนี้ เจ้าหลวงคำแดงผู้ซึ่งมีความรักและเสน่หาต่อหญิงสาวเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงได้เข้าในถ้ำเช่นเดียวกัน ตราบเท่าทุกวันนี้ก็ไม่กลับออกมา และเป็นสิ่งสถิตรักษาถ้ำเชียงดาวอยู่จนราษฎรในหมู่บ้านปลูกสร้างศาลไว้ชื่อว่า “ ศาลเจ้าพ่อหลวงคำแดง” และในวันใดเดือนใดที่เป็นนิมิตอันดี ท้องฟ้าปราศจากเมฆฝ้าตามประวัติกล่าวว่าจะปรากฏเป็นลูกกลม ๆ คล้ายกับพระธาตุพร้อมทั้งแสงสว่างลอยออกมาจากหลังดอยหลวงเชียงดาว แล้วเคลื่อนไปทางทิศตะวันออกเป็นเวลาประมาณ ๕ นาที ก็จะปรากฏมีเสียงดังคล้ายกับเสียงปืนใหญ่เกิดขึ้นพร้อมกับแสงสว่างนั้นหายไปเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนักซึ่งชาวบ้านมักพูดกันว่า “เจ้าหลวงคำแดงลั่นอะม๊อก “ หรือนัยหนึ่งเรียกว่า “ วิญญาณของเจ้าหลวงคำแดงไปเยี่ยมบ้านเกิดเมืองนอน
บางตำราเล่าขานสืบทอดกันมาว่า เจ้าหลวงคำแดงนั้นมีความสัมพันธ์ ระหว่างชาวไทยกับชาวลัวะ บริ เวณแจ่งเจ็ดลินในปัจจุบัน เคยเป็นที่ตั้งของชาวลัวะ เป็นที่อยู่ของชาวลัวะมาก่อน ดังนั้นเจ้าหลวงคำแดงได้ปกป้องและสร้างเมืองแห่งนี้มาก่อน และชาวล้านนามีความเชื่อว่าหากตายลงไป ก็จะได้อยู่ช่วยปกปักรักษาเมืองแห่งนี้ โดยมีเจ้าหลวงคำแดง นั้นเป็นหัวหน้าผี ผู้ครองและสิงสถิตย์อยู่บริเวณดังกล่าวด้วย
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...