ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 1671
ตอบกลับ: 1
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ทดสอบพลังจิตเพ่งเทียนให้ขาด!!

[คัดลอกลิงก์]
หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ เกิดเมื่อวันวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2405 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 2 ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ บ้านเกิดท่านอยู่ที่ตำบลบางกุ้ง อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติหลวงปู่ใจท่านเป็นผู้สร้างเหรียญอริยสัจ รุ่นแรก
ท่านมีนามเดิมว่า ใจ นามสกุล ขำสมชัย พ่อท่านชื่อ นายขำ แม่ท่านชื่อ นางหุ่น หลวงปู่ใจมีพี่น้อง 11 คน โดยเป็น ชาย 5 คนและ หญิง 6 คน
ต่อมาพ่อแม่ของท่านได้อพยพครอบครัวมาอยู่จังหวัดสมุทรสงคราม อันเป็นภูมิลำเนาเดิมของปู่ และพ่อของท่านซึ่งอยู่ที่ หมู่ 9 ตำบลเหมืองใหม่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
จนเมื่อหลวงปู่ใจจึงอายุได้ 21 ปี ท่านก็ได้อุปสมบท ณ อุโบสถ วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เมื่อวันแรม 11 ค่ำ เดือน 7 ปีมะแม โดยมีพระจุ้ย วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ใจได้รับฉายาว่า “อินฺทสุวณฺโณ”
หลวงปู่ใจได้จำพรรษาที่วัดบางเกาะเทพศักดิ์ เพื่อศึกษาทั้งด้านวินัยและด้านพระปริยัติทั้งอักษรไทยและขอม จนมีความรู้แตกฉาน และท่านยังศึกษาวิชาอาคมต่างๆ อีกด้วย
การเรียนหนังสือขอมเป็นที่สำคัญมากสำหรับพระภิกษุสงฆ์ เนื่องด้วยคัมภีร์พระไตรปิฎกนั้น แต่เดิมเขียนด้วยอักษรขอม เพิ่งเริ่มมาจะเขียนด้วยอักษรไทยในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
หลวงปู่ใจ ท่านยังให้ความสนใจในเรื่องของคาถาอาคม และได้ศึกษาเล่าเรียนจากครูบาอาจารย์หลายท่าน ครั้งใดที่ท่านออกเดินธุดงค์เพื่อฝึกจิตสมาธิในพงไพรกว้าง เมื่อพบพานพระธุดงค์ด้วยกัน ท่านมักขอศึกษาวิชาแลกเปลี่ยนวิชาอาคมด้วย และหลวงปู่ใจมีโอกาสได้เรียนรู้วิชาทางสมาธิจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จากในป่านั้นเอง เมื่อครั้งที่ท่านเดินธุดงค์ไปพบกับหลวงปู่ยิ้มนั่นเอง
หลวงปู่ใจ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีลูกศิษย์และชาวบ้านให้เคารพนับถือท่านอย่างมากมาย ท่านได้สร้างพระไว้หลายอย่าง ทั้งเหรียญและพระหล่อเนื้อเมฆพัด และพระปรกใบมะขามเนื้อเมฆพัดของท่านจัดเข้าอยู่ในชุดพระเบญจภาคีปรกใบมะขาม ซึ่งโด่งดังมาก
นอกจากพระเครื่องแล้ว หลวงปู่ใจยังได้สร้างตะกรุดไว้หลากหลายแบบ ที่โดดเด่นมากที่สุดก็คือตะกรุดลูกอม ที่มีทั้งเนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนาค ซึ่งท่านได้รับการถ่ายทอดวิชามาจากหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี
หลวงปู่ใจ หรือ พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ อินฺทสุวณฺโณ) ท่านได้รับสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2458 เป็นผู้รั้งเจ้าคณะแขวงบางคนที
พ.ศ. 2460 เป็นเจ้าคณะแขวงบางคนที และได้รับพระราชทานสัญญาบัตรมีพระราชทินนามว่า “พระครูสุทธิสาร”
พ.ศ. 2469 เป็นเจ้าคณะแขวงอัมพวา พ.ศ. 2495 เป็นพระสุทธิสารวุฒาจารย์
พ.ศ. 2504 เป็นพระราชมงคลวุฒาจารย์ หลวงปู่ใจท่านมรณภาพวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2505 สิริอายุได้ 100 ปี พรรษาที่ 78
ในสมัยที่ท่านกำลังสร้างวัดเสด็จอยู่นั้น ท่านได้เดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรีอยู่บ่อยๆ เพื่อไปหาซื้อไม้มาสร้างวัด ท่านไปๆ มาๆ อยู่หลายปีจึงสร้างวัดได้สำเร็จและทุกปีท่านจะมาแวะพักที่วัดหนองบัว เอาหมากพลูมาถวายหลวงปู่ยิ้ม ซึ่งหลวงปู่ ท่านให้เคารพหลวงปู่ยิ้มมาก มีอยู่ปีหนึ่งหลวงปู่ยิ้มพูดกับท่านว่าถ้าสนใจในวิทยาคมก็จะถ่ายทอดให้ หลวงปู่ใจจึงรีบขอเป็นศิษย์ทันที
หลวงปู่ยิ้มได้มอบบทเรียนบทแรกว่าด้วยการทดสอบพลังจิต โดยจุดเทียนตั้งไว้ที่ขัดน้ำมนต์ แล้วให้ท่านเพ่งกระแสจิตไปที่เทียนให้เทียนขาดกลางให้ได้ ถ้าทำได้เมื่อใดจึงจะมอบวิชาให้ หลวงปู่ใจท่านทำอยู่ 7 คืน เทียนก็ไม่ยอมขาดหลังจากกลับมาที่พัก ท่านตัดสินใจว่า ถ้าหากคืนพรุ่งนี้เพ่งกระแสจิตแล้วเทียนยังไม่ขาด ท่านก็จะกลับอัมพวา ปรากฏว่าคืนวันที่ 8 ท่านก็ทำได้สำเร็จ ท่านสามารถเพ่งกระแสจิตตัดเทียนให้ค่อยๆ ละลายขาดลงตรงกลาง หลวงปู่ยิ้มได้กล่าวชมว่า “เมื่อแรกเรียนท่านก็เก่งกว่าเสียแล้ว”
เพราะหลวงปู่ยิ้มเองต้องทำอยู่ถึง 15 วัน หลวงปู่ยิ้ม ท่านได้ถ่ายทอดวิชาว่าด้วยการสร้างตะกรุดปราบทาษามหาระงับ ตะกรุดลูกอมอันเลื่องลือของท่านให้แก่หลวงปู่ใจจนหมดสิ้น ตะกรุดของหลวงปู่ใจนั้น ตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจจะมีอยู่ 3 เนื้อคือ เนื้อทองคำ เนื้อนาค และเนื้อเงิน
ตะกรุดมหาปราบหลวงปู่ใจ ขนาด 4นิ้ว เนื้อทองแดงเก่าถึงยุค พันเชือกยอกยาลงรักปิดทอง
ท่านจะสร้างด้วยความพิถีพิถันใช้ความประณีตบรรจง โดยตะกรุดแต่ละดอกจะมีขนาดเท่ากัน ลักษณะการม้วนจะเหมือนกัน การขวั้นไหม 5 สี ร้อยตะกรุดลูกอม ก็ต้องใช้ไหมที่มีขนาดเท่ากันทุกเส้นเวลาขวั้นต้องจัดเกลียวให้เป็นระเบียบและท่านจะปลุกเสกของๆ ท่านเพียงองค์เดียวเท่านั้น ปัจจุบันตะกรุดลูกอมของหลวงปู่ใจนั้นหายาก ทุกคนที่ครอบครองอยู่ต่างหวงแหนมาก หลวงปู่ใจ ท่านได้สร้างตะกรุดไว้ มีหลายรูปแบบ ทั้งตะกรุดโทนยาว ตะกรุดโทนสั้น ตะกรุดมหารูด ตะกรุดคลอดลูก ตะกรุดแปดทิศ ตะกรุดมหาระงับ ตะกรุดมหาปราบ ตะกรุดลูกอมสอดไหม
ขอบคุณที่มาข้อมูล rukpra.com / บทความนี้เพื่อการศึกษาอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้