แต่จริงๆ แล้วชื่อ Kentucky fried chicken ถูกตั้งขึ้นมาโดย Pete Harman ซึ่งเป็นผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์จากแซนเดอร์สเป็นคนแรก ในปี 1960 K.F.C มีแฟรนไชส์กว่า 200 แห่ง ขณะปี 1963 จำนวนแฟรนไชส์ได้เพิ่มขึ้นถึง 600 แห่งหรือ 3 เท่า ใน 3 ปี ช่วงที่กิจการขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้แซนเดอส์รู้สึกว่ายากที่จะรับมือ ในวัย 74 ปี ปีเขาจึงตัดสินใจขายบริษัทให้นักลงทุนกลุ่มหนึ่งจำนวนเงิน 2 ล้านเหรียญ แซนเดอร์สจากโลกนี้ไปด้วยอายุ 90 ปี ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เขาก็อาจจะไม่เชื่อกับสายตาตัวเองว่า แค่วันนั้นที่เขาเปลี่ยนความคิดในชีวิต จะสามารถสร้างหนึ่งในร้านอาหารเครือข่ายที่เติบโตและมีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งในโลกได้ หลัง K.F.C ก็ถูกซื้อขายเรื่อยมา จนกระทั่งบริษัทเป๊ปซี่โค เข้ามาซื้อกิจการในปี 1986 ด้วยมูลค่ากว่า 850 ล้านเหรียญ จนต่อมาเป๊ปซี่โคได้แยกแผนกร้านอาหารออกเป็น Tricon Global Restaurants และต่อมาบริษัทนี้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท Yum! Brands, Inc ในปี 2016 K.F.C มีสาขากระจายอยู่ทั่วโลกกว่า 20,600 แห่ง ใน 125 ประเทศ มีมูลค่าแบรนด์กว่า 400,000 ล้านบาท รายได้และกำไรของ Yum! Brands, Inc (เฉพาะของ KFC) ปี 2015 รายได้ 106,700 ล้านบาท กำไร 27,000 ล้านบาท
ปี 2016 รายได้ 106,600 ล้านบาท กำไร 28,800 ล้านบาท ใครจะไปคิดว่า ร้านขายไก่ทอด จะมีรายได้แสนล้านบาท.. คุณลุงแซนเดอร์สผู้อาภัพมาเกือบทั้งชีวิต แจ๊คพอตทีเดียวก็เป็นแสนล้านได้ เรื่องนี้สอนให้เรารู้ว่า ความสำเร็จกับความล้มเหลวต่างกันเพียงแค่เราเลือกที่จะไปต่อหรือยอมแพ้ต่อโชคชะตา ถ้าวันนั้นผู้พันแซนเดอร์สไม่คิดที่จะลุกขึ้นสู้ต่อ ก็คงไม่มี K.F.C ในวันนี้
|