ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
ดู: 4402
ตอบกลับ: 8
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

๓ วีรสตรีไทยที่ถูกลืม ในศึกบางระจัน !!

[คัดลอกลิงก์]
๓  วีรสตรีไทยที่ถูกลืม  ในศึกบางระจัน  !!





     เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของ
ชาวบ้านบางระจัน  ณ  อนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน  และวัดโพธิ์เก้าต้น  
ต.บางระจัน  อ.ค่ายบางระจัน  จังหวัดสิงห์บุรี




>> แผนที่สังเขปอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน และบริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น



   

>>  เพลงศึกบางระจัน - สันติ ลุนเผ่  ขับร้อง




                              ศึกบางระจัน

    ศึกบางระจัน  จำให้มั่นพี่น้องชาวไทย  เกียรติประวัติสร้างไว้
แด่ชนชาติไทยรุ่นหลัง  แม้ชีวิตยอมอุทิศเมื่อชาติอับปาง  เลือดไทยต้องมา
ไหลหลั่ง  ทาทั่วพื้นแผ่นดินทอง

    ไทยคงเป็นไทย มิใช่ชาติเป็นเชลย ไทยมิเคยถอยร่น ชนชาติศัตรู
บางระจันแม้สิ้นอาวุธจะสู้  สองดาบฟาดฟันศัตรู  สู้จนชีพตนมลาย

    ตัวตายดีกว่าชาติตาย  เพียงเลือดหยาดสุดท้ายขอให้ไทยคงอยู่
แดนทองของไทยมิให้ศัตรู  แม้นโครรุกรานเราสู้  เพื่อกู้แหลมถิ่นไทยงาม


>>  จารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน





    เมื่อเดือนสาม  ปีระกา พุทธศักราช  ๒๓๐๘  นายจันหนวดเขี้ยว
นายโชติ นายดอก นายทองแก้ว นายทองเหม็น นายทองแสงใหญ่  นายแท่น
นายเมือง พันเรือง ขุนสรรค์ และนายอิน

    ได้เป็นหัวหน้ารวบรวมชาวบ้านตั้งค่ายต่อสู้พม่าที่บ้านบางระจัน
มีพระอาจารย์ธรรมโชติ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทวิทยาคมบำรุงขวัญ

    ตั้งแต่เดือนสี่  ปีระกา  พุทธศักราช  ๒๓๐๘ จนถึงเดือนเจ็ด ปีจอ
พุทธศักราช  ๒๓๐๙  วีรชนค่ายบางระจัน ได้ต่อสู้พม่าด้วยความกล้าหาญ และ
ด้วยกำลังใจเด็ดเดี่ยว ยอมสละแม้เลือดเนื้อและชีวิต เพื่อรักษาแผ่นดินไทย
รบชนะพม่าถึงเจ็ดครั้ง  จนพม่าครั่นคร้ามฝีมือ

    รัฐบาลและประชาชนชาวไทย จึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์นี้ขึ้น
เพื่อประกาศเกียรติคุณของวีรชนค่ายบางระจันให้ยั่งยืนชั่วกาลนาน
      

    นี่คือข้อความที่ปรากฏในจารึกอนุสาวรีย์วีรชนค่ายบางระจัน !!!


>>  ไม่ปรากฏชื่อวีรสตรีไทยเลือดนักสู้  

    แต่เป็นที่น่าเสียดายยิ่งที่ไม่ปรากฏชื่อ  วีรสตรีไทยเลือดนักสู้ ระดับ
หัวหน้าทั้ง  ๓ ท่าน  ทั้ง ๆ  ที่ได้ร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับนักรบชายชาวบ้าน
บางระจัน ได้แก่  อีปล้อง  อีแฟง  และอีเฟื่อง  ด้วยกันนำชาวบ้านบางระจัน
ออกสู้รบกับพม่า และช่วยกันส่องคบลวงพม่า แล้วให้นักรบชายจู่โจมเข้าโจมตี  
ทำให้พม่าถูกฆ่าตายไปเป็นจำนวนมาก   แต่ในที่สุด วีรสตรีทั้ง  ๓ ท่าน ก็ถูก
พม่าฆ่าตายในที่สุด


    คุณทนงศักดิ์ สุขทวี ไวยาวัจกร วัดโพธิ์เก้าต้น อ.ค่ายบางระจัน  
จังหวัดสิงห์บุรี  ได้เคยกล่าวว่า  ในบรรดาหัวหน้าชาวบ้านบางระจัน  นอกจาก
ที่มีชื่อในประวัติศาสตร์ที่เราทราบกันมานั้น ยังมีหัวหน้าที่เป็นสตรีอีก ๓ ท่าน
นามว่า ปล้อง แฟง และเฟื่อง อีกด้วย ซึ่งก็บังเอิญว่าตัวละครเอกในนวนิยาย
ของ ไม้ เมืองเดิม นั้น ก็มีชื่อ แฟง กับ เฟื่อง ด้วย
   

อ้างอิง : [url]http://iseehistory.socita.com/index.php?lay=show&ac=
article&Id=538711062&Ntype=1[/url]
2#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-28 08:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
>>  บทกลอนบางระจัน สามวีรสตรีเลือดนักสู้ชาวบ้านบางระจัน





ที่มา :  พิพิธภัณฑ์วัดโพธิ์เก้าต้น  สิงห์บุรี

>>  ศาลเพียงตาวีรสตรีไทย





    ชาวบ้านได้พร้อมใจกันตั้งศาลวีรสตรีไทย ทั้ง ๓ ท่าน  ณ  เนินดิน
ค่ายบางระจัน   เป็นศาลไม้เพียงตา ตั้งอยู่ภายในบริเวณ วัดโพธิ์เก้าต้น
ต.บางระจัน  อ.ค่ายบางระจัน  จังหวัดสิงห์บุรี  ให้คนไทยได้กราบไหว้และระลึก
ถึงคุณงามความดีและความกล้าหาญของ  ๓ ท่าน

      
    จึงเห็นสมควรได้มีการศึกษาค้นคว้าทบทวนหลักฐานทาง
ประวัติศาสตร์เสียใหม่ให้ถูกต้อง  และสมควรได้รับการยกย่อง เชิดชู และจารึก
ประกาศเกียรติคุณในคุณงามความดีและความกล้าหาญเช่นเดียวกับวีรชนชาย


>>  รายละเอียดการรบของชาวบ้านบางระจันกับพม่า  ทั้ง ๘  ครั้ง





การรบครั้งที่ ๑

    ทหารพม่าที่เมืองวิเศษชัยชาญยกพลมาประมาณ ๑๐๐ เศษ มา
ตามจับพันเรืองเมื่อถึงบ้านบางระจัน ก็หยุดอยู่ ณ ฝั่งลำธารบางระจัน

    นายแท่นจัดคนให้รักษาค่ายแล้วนำคน ๒๐๐ ข้ามแม่น้ำไปรบกับ
พม่า  ทหารพม่าไม่ทันรู้ตัวยิงปืนได้เพียงนัดเดียวชาวไทยซึ่งมีอาวุธสั้น
ทั้งนั้น ก็กรูเข้าไล่ฟันแทงพม่าถึงขั้นตะลุมบอน พลทหารพม่าล้มตายหมด
เหลือแต่ตัวนายสองคนขึ้นม้าหนีไปได้ ไปแจ้งความให้นายทัพพม่าที่ค่าย
แขวงเมืองวิเศษชัยชาญทราบ และส่งข่าวให้แม่ทัพใหญ่คือเนเมียวสีหบดี
ซึ่งตั้งค่ายใหญ่อยู่ ณ ปากน้ำพระประสบทราบด้วย


การรบครั้งที่ ๒

    เนเมียวสีหบดีจึงแต่งให้งาจุนหวุ่น คุมพล ๕๐๐ มาตีค่ายบางระจัน
นายแท่นก็ยกพลออกรบ ตีทัพพม่าแตกพ่ายล้มตายเป็นอันมาก แม่ทัพพม่าได้
เกณฑ์ทหารเพิ่มเป็น ๗๐๐ คน ให้เยกินหวุ่นคุมพลยกมาตีค่ายบางระจัน ทัพพม่า
ก็ถูกตีแตกพ่ายอีกเป็นครั้งที่ ๒


การรบครั้งที่ ๓

    เมื่อกองทัพพม่าต้องแตกพ่ายหลายครั้ง เนเมียวสีหบดีเห็นว่าจะ
ประมาทกำลังของชาวบ้านบางระจันต่อไปอีกไม่ได้ จึงเกณฑ์พลเพิ่มเป็น ๙๐๐
คน ให้ติงจาโบ เป็นผู้คุมทัพครั้งนี้ชาวบ้านบางระจันมีชัยชนะพม่าอีกเช่นครั้ง
ก่อนๆ



3#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-28 08:34 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
การรบครั้งที่ ๔

    การที่พม่าแพ้ไทยหลายครั้งเช่นนี้ ทำให้พม่าขยาดฝีมือคนไทย จึง
หยุดพักรบประมาณ ๒-๓ วัน แล้วเกณฑ์ทัพใหญ่เพื่อมาตีค่ายบางระจัน มีกำลัง
พลประมาณ ๑,๐๐๐ คน ทหารม้า ๖๐ สุรินจอข่องเป็นนายทัพ พม่ายกทัพมา
ตั้งที่บ้านห้วยไผ่ (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง)

    ฝ่ายค่ายบางระจันได้จัดเตรียมกันเป็นกระบวนทัพสู้พม่าคือ นาย
แท่นเป็นนายทัพคุมพล  ๒๐๐ พันเรืองเป็นปีกซ้ายคุมพล ๒๐๐ ชาวไทยเหล่านี้
มีปืนคาบศิลาบ้าง ปืนของพม่าและกระสุนดินดำของพม่า ซึ่งเก็บได้จากการรบ
ครั้งก่อนๆ บ้าง

    นอกจากนั้นก็เป็นอาวุธตามแต่จะหาได้ ทัพไทยทั้งสามยกไปตั้งที่
คลองสะตือสี่ต้น อยู่คนละฟากคลองกับพม่า ต่างฝ่ายต่างยิงตอบโต้กันฝ่าย
ไทยชำนาญภูมิประเทศกว่า ได้ขนไม้และหญ้ามาถมคลอง แล้วพากันรุกข้าม
รบไล่พม่าถึงขั้นใช้อาวุธสั้น พม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวสุรินทรจอข้องนายทัพ
พม่า ขี่ม้ากั้นร่มระย้าเร่งให้ตีกองรบอยู่กลางพล ถูกพลทหารไทยวิ่งเข้าไป
ฟันตาย ณ ที่นั้น

    ส่วนนายแท่นแม่ทัพไทยก็ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บสาหัสต้องหามออก
มาจากที่รบ ทัพไทยกับพม่ารบกันตั้งแต่เช้าจนเที่ยง ต่างฝ่ายต่างอิดโรย จึง
ถอยทัพจากกันอยู่คนละฟากคลอง พวกชาวบ้านบางระจันในค่ายก็นำอาหาร
ออกมาเลี้ยงดูพวกทหาร  

    ขณะพม่าต้องหุงหาอาหารและมัวจัดการศพแม่ทัพไม่ทันระวังตัว
กองสอดแนมของไทยมาแจ้งข่าว พวกทหารไทยกินอาหารเสร็จแล้วก็ยกข้าม
คลองเข้าโจมตีพม่าพร้อมกันทันที ทหารพม่าแตกพ่ายไม่เป็นกระบวน ที่ถูก
อาวุธล้มตายประมาณสามส่วน และเสียเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์เป็นอันมาก
ไทยไล่ติดตามจนใกล้ค่ำจึงยกกลับมายังค่าย

    กิตติศัพท์ความเก่งกล้าของชาวบ้านบางระจันแพร่หลายออกไป
มีชาวบ้านอื่น ๆ อพยพครอบครัวเข้ามาอาศัยอยู่ในค่ายบางระจันเพื่อขึ้นอีก
เป็นลำดับ


การรบครั้งที่ ๕

    พม่าเว้นระยะไม่ยกมาตีค่ายบางระจันอยู่ประมาณ ๑๐-๑๑ วัน ด้วย
เกรงฝีมือชาวไทย หลังจากนั้นจึงแต่งทัพยกมาอีกครั้งหนึ่ง มีแยจออากาเป็น
นายทัพคุมทหารซึ่งเกณฑ์แบ่งมาจากทุกค่ายเป็นคนประมาณ ๑,๐๐๐ คนเศษ
พร้อมด้วยม้าและอาวุธต่างๆแต่กองทัพพม่านี้ก็ปราชัยชาวบ้านบางระจันแตก
พ่ายไป


การรบครั้งที่ ๖

    นายทัพพม่าครั้งที่ ๖ นี้คือ จิกแก ปลัดเมืองทวาย คุมพล ๑๐๐ เศษ
ฝ่ายไทยมีชัยชนะอีกเช่นเคย


การรบครั้งที่ ๗

    เนเมียวสีหบดีได้แต่งกองทัพให้ยกมาตีค่ายบางระจันอีก ให้
อากาปันคยีเป็นแม่ทัพคุมพล ๑,๐๐๐ เศษ อากาปันคยียกกองทัพไปตั้ง ณ
บ้านขุนโลก

    ทางค่ายบางระจันดำเนินกลศึกคือ จัดให้ขุนสรรค์ซึ่งมีฝีมือแม่น
ปืน คุมพลทหารปืนคอยป้องกันกองทัพม้าของพม่า นายจันหนวดเชี้ยวเป็น
แม่ทัพใหญ่คุมพล ๑,๐๐๐ เศษ ออกตีทัพพม่าและล้อมค่ายไว้

    ทหารไทยใช้การรบแบบจู่โจม พม่ายังไม่ทันตั้งค่ายเสร็จก็ถูกโอบ
ตีทางหลังค่าย ทหารพม่าถูกฆ่าตายเกือบหมดเหลือรอดตายเป็นส่วนน้อย
แม่ทัพก็ตายในที่รบครั้งนี้ทำให้พม่าหยุดพักรบนานถึงครึ่งเดือน


การรบครั้งที่ ๘

    การที่พม่าส่งกองทัพมาปราบค่ายบางระจันถึง ๗ ครั้ง แต่ต้องแตก
พ่ายยับเยินทุกครั้งนั้น ทำให้แม่ทัพใหญ่ของพม่าวิตกมาก เนื่องจากชาวบ้าน
บางระจันมีกำลังเข้มแข็งขึ้นทุกที และทหารพม่าก็พากันเกรงกลัวฝีมือไทย
ไม่มีใครอาสาเป็นนายทัพ

    ขณะนั้นมีชาวรามัญผู้หนึ่งเคยอยู่เมืองไทยมานาน รู้จักนิสัยคนไทย
และภูมิประเทศดี ได้เข้าฝากตัวทำราชการอยู่กับพม่าจนได้รัยตำแหน่งสุกี้ หรือ
พระนายกอง สุกี้เข้ารับอาสาจะขอไปตีค่ายบางระจัน เนเมียวสีหบดีจึงแต่งตั้ง
ให้เป็นแม่ทัพคุมพล ๒,๐๐๐ พร้อมทั้งม้าและสรรพาวุธทั้งปวง

    สุกี้ดำเนินการศึกอย่างชาญฉลาด เมื่อเวลาเดินทัพไม่ตั้งทัพกลาง
แปลงอย่างทัพอื่น ให้ตั้งค่ายรายไปตามทาง ๓ ค่าย และรื้อค่ายหลังผ่อนไป
สร้างข้างหน้าเป็นลำดับ ใช้เวลาถึงครึ่งเดือนจึงใกล้ค่ายบางระจัน

    สุกี้ใข้วิธีตั้งมั่นรบอยู่ในค่าย ด้วยรู้ว่าคนไทยเชี่ยวชาญการรบกลาง
แปลง พวกหัวหน้าค่ายบางระจันนำกำลังเข้าตีค่ายพม่าหลายครั้งไม่สำเร็จกลับ
ทำให้ ไทยเสียไพร่พลไปเป็นจำนวนมาก

    วันหนึ่งนายทองเหม็นดื่มสุราแล้วขี่กระบือนำพลส่วนหนึ่งเข้าตีค่าย
พม่า สุกี้นำพลออกรบนอกค่าย นายทองเหม็นถลำเข้าอยู่ท่ามกลางข้าศึกแต่
ผู้เดียว แม้ว่าจะมีฝีมือสามารถฆ่าฟันทหารพม่ารามัญล้มตายหลายคน  แต่ใน
ที่สุดก็ถูกทหารพม่ารุมล้อมจนสิ้นกำลังและถูกทุบตีตายในที่รบ (เล่าขานกันมา
ว่านายทองเหม็นเป็นผู้รู้ในวิชาคงกระพันชาตรี และมีของขลังป้องกัน
ภยันตราย ฟันแทงไม่เข้า หากจะทำร้ายคนมีวิชาเช่นนี้จะต้องตีด้วยของแข็ง)

    ทัพชาวบ้านบางระจันเมื่อเสียนายทัพก็แตกพ่าย ซึ่งนับว่าเป็น
ครั้งแรกในการรบกับพม่า ทัพพม่ายกติดตามมาจนถึงบ้านขุนโลกใกล้ค่าย
บางระจัน แล้วตั้งค่ายมั่นอยู่

    ทัพบางระจันพยายามตีค่ายพม่าอีกหลายครั้งไม่สำเร็จก็ท้อถอย
สุกี้จึงให้ทหารขุดอุโมงค์เข้าใกล้ค่ายน้อยบางระจัน ปลูกหอรบขึ้นสูงนำ
ปืนใหญ่ขึ้นยิงเข้าไปในค่ายถูกผู้คนล้มตายเป็นอันมาก ค่ายน้อยบางระจันก็
แตกพ่ายลง

    นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่ทำให้ชาวบ้านบางระจัน เสียกำลังใจลงอีก
คือ นายแท่น หัวหน้าค่ายที่ถูกปืนที่เข่าบาดเจ็บครั้งที่สุรินทรจอข่องเป็นแม่ทัพ
ยกมาเมื่อการรบครั้งที่ ๔ นั้นได้ถึงแก่กรรมลง ในเดือน ๖ ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙
หัวหน้าชาวบ้านบางระจันคนอื่น ได้พยายามจะนำทัพไทยออกรบกับพม่าอีก
หลายครั้ง

    วันหนึ่งทัพพม่าสามารถตีโอบหลังกระหนาบทัพไทยได้ ขุนสรรค์
และนายจันหนวดเขี้ยว  ได้ทำการรบจนกระทั่งตัวตายในที่รบ ยังเหลือแต่
พันเรืองและนายทองแสงใหญ่เป็นหัวหน้าสำคัญ

    ชาวค่ายบางระจันเห็นว่าตนเสียเปรียบ ผู้คนล้มตายลงไปมาก
เหลือกำลังที่จะต่อสู้กับพม่าแล้ว จึงมีใบบอกเข้าไปยังกรุงศรีอยุธยาขอปืนใหญ่
๒ กระบอก พร้อมด้วยกระสุนดินดำเพื่อจะนำมายิงค่ายพม่า ทางพระนคร
ปรึกษากันแล้วเห็นพร้อมกันว่าไม่ควรให้เนื่องจากกลัวว่าพม่าจะแย่งชิงกลาง
ทางบ้าง หรือหากพม่าตีค่ายบางระจันแตก พม่าก็จะได้ปืนใหญ่นั้นมาเป็น
กำลังรบพระนคร

    พระยารัตนาธิเบศร์ไม่เห็นด้วยในข้อปรึกษา จึงออกไป ณ ค่าย
บางระจัน เรี่ยไรเครื่องภาชนะทองเหลืองทองขาวจากพวกชาวบ้านหล่อปืน
ใหญ่ขึ้นมา สองกระบอก แต่ปืนทั้งสองนั้นร้าวใช้ไม่ได้ พระยารัตนาธิเบศร์
เห็นว่าการศึกจะไม่เป็นผลสำเร็จจึงกลับพระนคร

    เมื่อขาดที่พึ่งชาวบ้านบางระจันก็เสียกำลังใจมากขึ้น ฝีมือการสู้รบ
กับพม่าก็พลอยอ่อนลง บางพวกก็พาครอบครัวหลบหนีออกจากค่าย ผู้คนใน
ค่ายก็เบาบางลง ในที่สุดพม่าก็สามารถตีค่ายใหญ่บางระจันได้ ในวันจันทร์
แรม ๒ ค่ำ เดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ รวมเวลาที่ไทยรบกับพม่าตั้งแต่เดือน
๔  ปลายปีระกา พ.ศ. ๒๓๐๘ ถึงเดือนแปด ปีจอ พ.ศ. ๒๓๐๙ เป็นเวลาทั้งสิ้น
๕ เดือน

    พม่าได้กวาดต้อนชาวไทยในค่ายบรรดาที่รอดตายทั้งหลายกลับ
ไปยังค่ายพม่า ส่วนพระอาจารย์ธรรมโชติซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยให้กำลังใจให้
ชาวบ้านบางระจันสู้รบกับพม่าอย่างห้าวหาญนั้น ไม่ปรากฏว่าท่านมรณภาพ
อยู่ในค่าย ถูกกวาดต้อน หรือหลบหนีไปได้


ที่มา  :   [url=]http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%
E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%
B5%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%
B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%[/url]
4#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-28 08:35 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้









>>  เชิญชมภาพสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับศึกบางระจัน

    เชิญชมภาพสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับศึกบางระจัน  ได้แก่  อนุสาวรีย์
วีรชนค่ายบางระจัน และในบริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น  สิงห์บุรี  ในปัจจุบัน  อันควร
ค่าแก่การไปเยี่ยมชมและระลึกถึงคุณงามความดีของเหล่าวีรชนคนกล้าของ
ไทยเมื่อมีโอกาส
   
    ภาพพระอาจารย์ธรรมโชติ  (มอบให้ไว้บูชา)

























5#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-28 08:36 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้

























    แถมท้ายด้วยภาพหาบน้ำจากบ่อโบราณไปใส่สระน้ำศักดิ์สิทธิ์
เพื่อแก้บนของชาวบ้านบริเวณวัดโพธิ์เก้าต้น ในปัจจุบัน





    ||  ประวัติหัวหน้าชาวบ้านบางระจัน ทั้ง  ๑๑ ท่าน






6#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-28 08:37 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้





















7#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-28 08:38 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้




























8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-12-28 08:39 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้





















         และพระอาจารย์ธรรมโชติ











    แม้ว่าค่ายบางระจันจะต้องพ่ายแพ้แก่พม่าก็ตาม  แต่วีรกรรมใน
ครั้งนั้น ได้รับการจารึกอยู่ในประวัติศาสตร์และจิตใจของประชาชนชาวไทย
ตลอดมา  เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งความกล้าหาญ เสียสละ สมัครสมานสามัคคี
เพื่อประเทศชาติอันเป็นที่รัก

    แล้วท่าน จะไม่หาโอกาสไปเยี่ยมชมสักครั้งหรือครับ  !!!


๑~~~

ถ่ายภาพและตกแต่ง  :  สุรศักดิ์



ที่มา..http://oknation.nationtv.tv/blog/surasakc/2010/04/09/entry-1
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้