สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า “ยุง” เป็นสัตว์ที่มีผู้คนตกเป็นเหยื่อมากที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ยุงทั้งตัวเมียจะดูดเลือดเป็นอาหาร และตัวผู้มักจะดูดน้ำจากพืช ยุงตัวเมียที่ดูดเลือดเป็นพาหะนำโรคต่างๆ ได้แก่ ไข้เลือดออก, ไข้มาลาเรีย,ไข้เหลือง,โรคเท้าช้าง เป็นต้น จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลกพบว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากยุงกัดกว่า 725,000 รายในทุกๆปี จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และในปีนี้เองก็มีจำนวนเพิ่มสูงที่สุดในรอบปี มากถึง 830,000 ราย “ยุง” กลายเป็นที่น่ารังเกียจมากขึ้นเรื่อยๆ แต่มีนักศึกษาวิทยาลัยกลุ่มหนึ่งพยายามที่จะเพาะฟาร์มยุงวัตถุประสงค์ที่ทำเช่นนี้ก็เพื่อ “ลดจำนวนยุง” โรงงานยุงแห่งนี้ มีเนื้อที่ครอบคลุมอยู่ที่ 3,500 ตารางเมตรและ 4 ห้องชุดปฏิบัติการ (ดังภาพ)
พนักงานในโรงงานยุง กำลังแบ่งตัวลูกน้ำยุง ไว้ในกล่องพลาสติก มณฑลกว่างโจวเป็นเขตพื้นที่ที่มีอากาศร้อนมาก ในสภาพอากาศแบบนี้ทำให้มียุงมีการเจริญพันธุ์ได้ดีมาก สร้างความเดือดร้อนให้กับคนในท้องถิ่นเป็นจำนวนมาก ทำให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยในท้องถิ่นทีม Zhi-Yong Xi จึงอยากที่จะคิดค้นและพัฒนาวิธีการลดจำนวนของยุงลง ในโรงงานยุงแห่งนี้ได้เพาะพันธุ์ลูกน้ำออกมามากกว่า 3 ล้านตัว ในขณะที่มันยังเป็นลูกน้ำอยู่นั้น นักศึกษาวิจัยเหล่านี้ก็จะจับมันแยกเพศ พวกเขาจับลูกน้ำใส่เข้าไปในขวดพลาสติกที่ปิดผนึก ข้างในเต็มไปด้วยยุงตัวผู้มากมาย ที่เป็นหมันทั้งหมด ยุงตัวผู้เหล่านี้ที่ถูกคัดเลือกมานั้น จะถูกใส่ลงไปในขวดพลาสติก จากนั้นก็จะนำไปปล่อยสู่ธรรมชาติหรือตามท่อน้ำต่างๆ ที่ติดว่าจะมียุงอาศัยอยู่มากมาย ในทุกๆวัน ทีมงานวิจัยก็จะนำยุงที่พวกเขาเพาะพันธุ์นี้ออกมาปล่อย 1 ล้านตัว โดยยุงที่พวกเขาได้เพาะพันธุ์นี้ ได้ถูกฉีดแบคทีเรีย วอลแบเชีย “Wolbachia” เข้าไปในขณะที่ยังเป็นไข่ ซึ่งแบคทีเรียชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ แต่มีผลกับยุงโดยตรง คือจะทำให้มันไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ ยุงเหล่านี้ที่โดนฉีดแบคทีเรียวอลแบเชียเข้าไป ไม่เพียงจะไม่สามารถสืบพันธุ์ได้แล้ว ยังสามารถแพร่เชื้อให้กับยุงตัวเมียอื่นๆอีกด้วย ทำให้ยุงไม่สามารถที่จะผสมพันธุ์กับยุงรุ่นต่อๆไปได้ ด้วยวิธีนี้เพื่อเองทำให้สามารถควบคุมจำนวนยุงได้ การทดลองนี้ได้เริ่มทดลองกับพื้นที่ท้องถิ่นสักระยหนึ่งแล้ว มันได้ผลที่ดีมาก ชาวบ้านท้องถิ่นบางคนกล่าวว่า “ยุงมีจำนวนลดน้อยลงมากจริงๆ เมื่อก่อนอากาศร้อนมาก แต่ก็ไม่กล้าถอดเสื้อเลย แต่ตอนนี้กลับถอดเสื้อได้อย่างสบายใจ ตอนกลางคืนนอนหลับก็ไม่ต้องใช้มุ้งกันยุงอีกต่อไป” นับว่าเป็นข่าวดีสำหรับคนในพื้นที่จริงๆ !!
|