สิทธิการิยะ พระคาถาอิติปิโส ๘ ทิศและยันต์อิติปิโส ๘ ทิศนี้มีอานุภาพมากหลาย ป้องกันได้ สารพัดตามใจปรารถนา พระอาจารย์เจ้ากล่าวไว้ว่า ฝอยท่วมหลังข้างแลมี อุปเท่ห์มากมายเหลือจะพรรณนา จะกล่าวไว้ย่อ ๆ พอเป็นบรรทัดฐานดังนี้
แม้จะยาตราไปทางสารทิศใด ให้ภาวนาพระคาถาประจำทิศตาม ทิศที่จะไปนั้น หรือทำน้ำมนต์ลูบหน้าปะพรมพาหนะที่จะไป จะปราศจาก อุปสรรคอันตรายทั้งปวง ไม่มีมารบกวนเลย ป้องกันได้สารพัด แม้ว่าทิศที่ จะไปนั้นจะต้องผีหลวงหรือหลาวเหล็ก (ทิศที่ร้ายตามตำราโหราศาสตร์) ก็ดี คุ้มกันได้สิ้น ไปสงครามก็มีชัยชนะ ไปทำมาค้าขายก็กำไร มีความเจริญ รุ่งเรืองบังเกิดลาภผลพูนทวี จะลงเป็นประเจียดป้องกันศาตราอาวุธ ก็ได้ ทั้งเป็นเสน่ห์แก่ฝูงชนทั้งปวง เขียนบูชาไว้กับบ้านเรือน ป้องกันภัยอันตรายได้ทุกอย่าง ถ้าจะไปนอนกลางป่าให้เสกก้อนดินไปวางไว้ตามทิศ เมื่อจะวาง ทิศไหนให้เสกด้วยคาถาประจำทิศนั้นอีกทิศละ ๘ จบ กันสารพัดสัตว์ร้าย เปรียบประดุจมีกำแพงแก้วคุ้มกันตนไว้ถึง ๗ ชั้น ถึงแม้จะถูกข้าศึกโจรผู้ร้าย ล้อมไว้ก็ดี จะหักออกทางทิศไหน ให้ภาวนาคาถาประจำทิศนั้นเถิด แล้วให้หักออกมาจะแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งสิ้น พระคาถาบทนี้มี อิทธิฤทธิ์มากมายสุดที่จะกล่าวได้ เหรียญยันต์พระคาถาอิติปิโสแปดทิศนี้ ผู้ใดพกติดตัวเป็นประจำอุปเท่ห์เสมอด้วยความศักดิ์สิทธ์เช่นเดียวกัน โดยมีวิธีใช้ ตามพิธีกรรมโบราณดังจะกล่าวต่อไปนี้ “อะวิสุนุตสานุติ” บทนี้ชื่อนารายณ์แปลงรูป ประจำอยู่ทิศอีสาน(ตะวันออกเฉียงเหนือ) บทนารายณ์แปลงรูปภาวนาสูบลมอมเหรียญอิติปิโสแปดทิศนี้เข้าสามกลืนยื่นขมำ ดูเงาฉาย ถ้าเงาหายเป็นกำบังคนอย่าหวังเห็นตัวเลยแช่เหรียญอิติปิโสแปดทิศนี้ในน้ำมันหอมเสกน้ำมัน 108 หนเอาไว้ใช้ เมื่อจะใช้เสกอีก 7 หน เป็นที่เสน่หาแก่คนทั้งหลาย ท่านเจ้านายเห็นหน้าถือดังลูกหลาน อยู่ทิศอีสานแลท่านเอย ท่านให้เอา ชะมด พิมเสน กระแจะ จันทร์หอม โกฏหัวบัว บดผสมเข้าด้วยกันให้ลงพระคาถานารายณ์แปลงรูป ที่หน้าหินบดแล้วจึงเสกด้วยคาถาพระอิติปิโส 7 คาบ เสกด้วยพระคาถานารายณ์แปลงรูป 108 คาบ บดแล้วเอาไว้ใช้ ทาตัวเราไปไหนมีแต่เสน่ห์เมตตานักแล เห็นหน้าเราคือดังพระนารายณ์แปลงรูปถ้าเปาสตรีเมื่อจะบังคับมาให้เรียกด้วย อาคะฉายะ อาคะฉาหิมาสิ แล้วเรียกให้กลับมาเถิด อยู่มิได้เลยร้อนรนตามเรามาแล อุปเท่ห์ พระคาถาและยันต์อิติปิโส 8 ทิศมีมากมายนักสุดที่จะกล่าวได้ อยู่ที่การนำไปใช้ให้ถูกวิธี และหมั่นปฏิบัติให้เข้าถึงหัวใจและแก่นพระคาถา ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก : ท่าพระจันทร์ โพสโดยคุณมล เชือกคาด2
ขอขอบคุณรูปภาพสวยๆจาก : ท่าพระจันทร์ (มล เชือกคาด2)
นำเสนอโดย : แอพเกจิ – AppGeji
|