ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
ตำนาน เรื่องเล่า เกร็ดความรู้ เรื่องลี้ลับ
»
รูปพระพุทธย่อมศักดิ์สิทธิ์
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 1803
ตอบกลับ: 2
รูปพระพุทธย่อมศักดิ์สิทธิ์
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2016-11-12 07:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
รูปพระพุทธย่อมศักดิ์สิทธิ์
คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
พระพุทธรูป (Buddha Images)
และ
พระเครื่อง (Buddha amulets)
นับเป็นหนึ่งในอุเทสิกเจดีย์ ให้คติความเชื่อทางศาสนาพุทธ ‘อุเทสิก’ มาจากคำว่า อุทิศ คือการมอบให้พระศาสนา ซึ่งรูปดังกล่าวเป็นการผสมผสานความเชื่อท้องถิ่นเกี่ยวกับบุคลาธิษฐานกับคติการนับถือรูปเคารพที่ได้รับจากกรีกในลักษณะของอารยธรรมเฮเลนิสติก (Hellenistic) ที่เผยแพร่เข้ามาทางตอนเหนือของลุ่มแม่น้ำสินธุหรืออินเดียตะวันตกเฉียงเหนือ เมื่อครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช แห่งมาซิโดเนีย
รูปแห่งองค์พระพุทธเจ้า จึงมีความหมาย หรือ ‘นัย’ เกินกว่าที่จะเป็น อิฐ หิน ปูน ทราย ทองเหลือง ไม้แกะ หรือวัสดุอื่นๆ เพียงอย่างเดียว เริ่มจาก ‘พระพุทธรูป’ มีความสำคัญทางด้านความเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี งานศิลปกรรม อันเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญทางด้านเทคโนโลยีในการแกะแม่พิมพ์ การหล่อ การขึ้นรูป
นอกจากนั้น พระพุทธยังเป็นสิ่งแสดงถึงความเชื่อความศรัทธาของกลุ่มชนต่างๆ เช่นเดียวกับรูปเคารพทางศาสนาอื่นๆ และไม่ใช่เฉพาะในพุทธแบบหินยานเท่านั้น หากแต่ยังแพร่หลายอย่างกว้างขวางในพุทธแบบมหายาน แถบ จีน ทิเบต ญี่ปุ่น เขมรนครธม ศรีวิชัย เป็นต้น
รูปแบบของพระพุทธ ยังเป็นเครื่องเตือนสติและเป็นสิ่งที่โบราณาจารย์ได้ใช้ประโยชน์ทางการเผยแพร่พระพุทธศาสนา เริ่มตั้งแต่การวาดภาพลงบนพระบฏและงานจิตรกรรม เป็นการใช้ภาพเล่าเรื่องชาดกอันหมายถึงคุณความดีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตชาติ และแพร่หลายไปตามท้องถิ่นต่างๆ ที่เรียกกันว่า ‘ปัญญาสชาดก’ ก่อนจะพัฒนามาเป็น ‘พระพุทธรูปปางต่างๆ’ เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจในพุทธประวัติตอนต่างๆ ได้ง่ายขึ้น อันเป็นสิ่งที่เรียกว่า ‘ปาง’ แห่งองค์พระพุทธรูป ซึ่งในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสได้จัดมาตรฐานรวบรวมให้เป็นระบบได้รวม 40 ปาง นอกจากการสร้างแต่โบราณเพื่อสืบอายุพระศาสนาให้รุ่งเรืองสืบต่อไป
มิพักต้องกล่าวถึงเรื่องอื่นด้วยมหาประโยชน์แห่งองค์พระที่มีต่อพระศาสนา รูปแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมทรงคุณอันประเสริฐ ประกอบไปด้วย ‘ศักดิ์’ และ ‘สิทธิ์’ ในตัวพระองค์เอง ด้วยปัจจัยแห่งการเป็นอุเทสิกเจดีย์อันเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่มิจำเป็นต้องประกอบไปด้วยสิ่งอื่นสิ่งใดด้วยซ้ำ ศักดิ์สิทธิ์เกินกว่าผู้อวดตนว่าเป็นปราชญ์ ผู้รู้ ทั้งหลายทั้งปวง ศักดิ์สิทธิ์กว่าความเป็นก้อนอิฐ ดิน ไม้ ทองเหลือง ศักดิ์สิทธิ์เพราะท่านยังประโยชน์แห่งการพระศาสนาทั้งปวงยิ่งกว่าผู้อื่นผู้ใดในสากลจักรวาล
นอกจากนี้ หากจะเลี่ยงบาลีกล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ในด้านอื่น ยังอาจจะกล่าวได้อีกว่า ในการจัดสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องแต่โบราณ วัสดุมวลสารโลหะที่นำมาใช้จัดสร้างหล่อหลอมจะเกิดจากแรงศรัทธาของการ ‘ร่วมบุญ’ แห่งพุทธศาสนิกชน ที่บรรจงหย่อนแก้วแหวนเงินทองลงในเบ้าหลอมถวายเป็นพุทธบูชา และวัสดุการสร้างจะต้องคัดสรรเอาแต่สิ่งวิเศษ ศักดิ์สิทธิ์ ตามตำราที่สืบทอดมาแต่เก่าก่อน เช่น เบญจโลหะ สัตตโลหะ นวโลหะ ดินใจกลางเมือง ว่านแร่อันเชื่อว่าทรงมหันตนุภาพในการให้คุณแก่ผู้เคารพบูชา ถือกำลังฤกษ์ กำลังวัน อันเข้มขลังในการจัดสร้าง เรียกกันว่า ‘ดีใน’
ยังเพิ่มความเข้มขลังของกระบวนการจัดสร้างด้วยพิธีกรรม พุทธาภิเษก โดยเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณและวิทยาคมอันประเสริฐ ซึ่งโบราณเรียกพิธี ‘เบิกเนตร’ เรียกกันว่า ‘ดีนอก’
ในพระคัมภีร์แห่งพระพุทธศาสนา ได้พยายามอรรถาธิบายให้ผู้คนเข้าถึงในลักษณะแห่งปริศนาธรรมเอาไว้มากมาย ผู้เป็นพหูสูตรอันประกอบด้วยพุทธิปัญญาย่อมสามารถเข้าใจได้ว่า รูปแบบแห่งองค์พระพุทธเจ้าที่จำเริญมาเป็น แผ่นภาพ งานจิตรกรรม องค์พระพุทธรูป และพระเครื่องในลักษณาการต่างๆ ย่อมเป็นหนึ่งในการเจริญพุทธิปัญญาแห่งปริศนาธรรม แสดงให้เห็นความศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งหมายถึงพุทธิภาวะแห่งความดีขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพุทธศาสนิกชนสามารถกราบบูชาเจริญพุทธิปัญญาได้อย่างบริบูรณ์ อันเป็นความหมายว่า ‘รูปพระพุทธย่อมศักดิ์สิทธิ์ในตัวเอง’
https://www.khaosod.co.th/amulets/news_94662
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Nujeab
Nujeab
ออฟไลน์
เครดิต
27798
2
#
โพสต์ 2016-11-12 12:10
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
oustayutt
oustayutt
ออฟไลน์
เครดิต
22903
3
#
โพสต์ 2016-11-20 21:07
|
ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
ขอบคุณครับ
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...