ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

~ ถอด หัวใจแห่งพระคาถา ~

[คัดลอกลิงก์]
ขอบคุณครับ
ขอบคุณคร๊าบ
ขอบคุณครับ มีมนต์คาถาดีๆแยอะแยะเลย
ขอบคุณครับผม
13#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-20 21:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หัวใจโพชฌงค์ "สะ ธะ วิ ปี ปะ สะ อุ"

มาจาก

1.ติสัมโพชฌงค์(ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง)
2.ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์( ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องค้นหาธรรม )
3.วิริยะสัมโพชฌงค์(ความเพียร)
4.ปีติสัมโพชฌงค์(ความอิ่มใจ)
5.ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ความสงบกายสงบใจ)
6.มาธิสัมโพชฌงค์(ความมีใจตั้งมั่น,จิตแน่วในอารมณ์)
7.อุเบกขาสัมโพชฌงค์(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง)

พระคาถาหัวใจโพชฌงค์ ให้เสกน้ำรดไข้ หรือเสกยากินก็ได้จะหาย

12#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-20 21:04 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หัวใจอิธะเจ อิ-ธะ-คะ-มะ

มาจาก บทจากพระคาถา "อิธะเจ ๑๓ ตัว" คือ อิธะ เจตะโสทัฬหัง คัณหาหิถามะสาฯ  (เป็นวิชามหาเสน่ห์โบราณ อ่านแล้วรู้นะคิดอะไรอยู่ อิอิ)

เรื่องของพระคาถา อิธะเจ หรือ ผงอิธะเจ  หรือวิชาอิธะเจ เป็นไสยศาสตร์วิชาสมัยโบราณ ๑ ใน ๔ วิชาไสยศาสตร์หลักของวิชาไสยโบราณ (พูดเหมือนภัมภีร์หนังจีนเลยผม) ซึ่งวิชาทั้ง ๔ มีดังนี้ อิธะเจ, ปถมัง, ตรีนิสิงเห และมหาราช  ซึ่งพระผงดังๆ สมัยก่อนก็ใช้วิชาเหล่านี้ เช่น พระสมเด็จเป็น ต้น
11#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-20 21:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หัวใจปฎิสังขาโย  จิ-ปิ-เส-คิ

ปฎิสังขาโย เป็นการพิจารณาในการใช้ปัจจัย ๔ ประการ ในเพศบรรพชิต ก็คือปัจจัย ๔ ของเรา แต่ท่านจะพิจารณาใช้อย่างดียิ่งกว่า โดย "มีฉันมีใช้ พอให้อยู่ได้ พอให้สนองความต้องการของชีวิต" ให้ "บริโภคด้วยปัญญา ไม่บริโภคด้วยตัณหา"

จิ   -จีวะรัง  อันแปลว่า จีวร (เครื่องนุ่งห่ม)
ปิ   -ปิณฑปาทัง   อันแปลว่า   บิฑบาต (อาหาร)
เส -เสนาสะนัง  อันแปลว่า เสนาสะนะ (ที่อยู่)
คิ   -คิลานะปัจจะยะเภสัชชะปะริกขารัง  อันแปลว่า เภสัชบริขาร (หยูกยา)

ซึ่ง หัวใจบทนี้ ผมไม่แน่ใจว่า ว่า มี หัวใจ "อัชชะ  มะยา" ด้วยหรือเปล่า เพราะบท "ปฎิสังขาโย" ๔ บท ใช้สวดทำวัดเช้า สำหรับพระภิษุกสามเณร ในการพิจารณาปัจจัย ๔  ส่วนบท "อัชชะ  มะยา" ๔ บท ใช้สวดทำวัดเย็น สำหรับพระภิษุกสามเณรเช่นกัน และก็ใช้พิจารณาปัจจัย ๔ เช่นกันด้วย
10#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-20 21:03 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หัวใจยอดศีล หรือ หัวใจพระไตรสรณคมน์   พุท-ธะ-สัง-มิ

มาจากบทสวดพระไตรสรณคมณ์ ก่อนที่เราจะอาราธณาศีล ดังนี้

พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
มิ เป็นคำสุดท้ายของแต่ละบท มาจาก "คัจฉามิ"  แปลว่า "ถือเอา"
9#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-20 21:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
หัวใจพระแม่ธรณี  เม-กะ-มุ-อุ

นำมาจาก พรหมวิหาร 4 ธรรมสำหรับผู้ปกครอง ประกอบด้วย
๑. เมตตา หมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข
๒. รุณาหมายถึง ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
๓. มุทิตา หมายถึง ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี
๔. อุเบกขา หมายถึง การรู้จักวางเฉย
8#
 เจ้าของ| โพสต์ 2013-4-20 21:02 | ดูเฉพาะโพสต์สมาชิกนี้
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สัง-วิ-ธา-ปุ-กะ-ยะ-ปะ

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ในตำนานแห่งพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ยกขึ้นมาแสดงแก่พุทธมารดาฟังที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พร้อมเหล่าเทวดาทั้งหลาย คือ

๑.พระสังคิณี ว่าด้วยเรื่องธรรมที่เป็นกุศล กับ อกุศล
๒.พระวิภังค์ ว่าด้วยเรื่องขันธ์ 5
๓.พระธาตุกถา ว่าด้วยเรื่องการสงเคราะห์ธรรม
๔.พระปุคคะละปัญญัติ ว่าด้วยที่ตั้งของบุคคล
๕.พระถาวัตถุ ว่าด้วยความจริงแท้
๖.พระยะมะกะ ว่าด้วยธรรมที่เป็นคู่
๗.พระมหาปัฏฐาน ว่าด้วยที่ตั้งใหญ่
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้