ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด เข้าสู่ระบบ
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ลุกสะกดไม้ด้ามตาลปัตร หลวงปู่ดู่

[คัดลอกลิงก์]
31#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-21 12:34 | ดูโพสต์ทั้งหมด


          ในตำรับตำราเครื่องรางของขลังไทยเรานั้นจะมีด้วยกันหลายอย่าง  ๆ ที่เป็นเครื่องคาดก็จะมีตะกรุด เป็นหลัก หากไม่ใช่มหาอุดแล้วละก้อ เมื่อร้อยเข้าพวงเพื่อคาดเอวแล้ว   จะต้องหาอะไรมาบังคับเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนที่ไปมาวิธีที่ง่ายที่สุดคือ   ด้วยการแก้เชือกให้เป็นปมใหญ่พอที่จะทำให้ตะกรุดไม่เคลื่อนที่แต่ยังมีอีกวิธีหนึ่งก็คือ  การทำลูกสะกด  และเป็นอย่างไรนั้นผู้เขียนจะอธิบายให้ท่านผู้อ่านได้ทราบอย่างละเอียดเลยทีเดียวในเรื่องนี้  ก่อนอื่นจะต้องพูดถึงความแตกต่างกันระหว่างลูกสะกดกับลูกอมซึ่งเป็นเครื่องรางทั้งสองอย่างนี้และพอที่จะแยกกันได้คร่าว  ๆ ดังนี้

         ลูกอม หมายถึงการนำเอาวัสดุต่าง ๆ  ที่เหมาะสมอาทิเช่น ผงผสมตังอิ๊ว ดินเผา ผงว่านยากาฝาก บอระเพ็ด ขี้ผึ้งเทียนชัย  น้ำตาเทียนเทียนชัย โลหะต่าง ๆ  แต่ละอย่างเอามาตีแผ่นให้เป็นแผ่นแล้วเข้าพิธีลงเลขยันต์อักขระเวทย์มนตร์ คาถา  ประจุลงเสร็จแล้วเอาไปเข้าพิธีหล่อหลอมให้ละลายเข้ากัน  ซัดว่านยาแล้วเทลงไปในเบ้ากลมตามขนาดที่ต้องการเมื่อเอาออกจากเบ้าแล้วก็ต้องขัดแต่งให้กลมเกลี้ยงเรียบร้อย   แล้วปลุกเสกผูกเป็นการเสร็จพิธีซึ่งพิธีที่ทำนั้น  เป็นขั้นตอนและพิถีพิถันมากทีเดียว  (ยกเว้นตะกรุดลูกอมที่มีรูตรงกลางอันเกิดจากการม้วนโลหะ)   วัตถุประสงค์ในการใช้ก็คือ  การอมไว้ในปากเพื่อป้องกันตัว

          ลูกสะกด  เป็นคำนามมีความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานว่า  ลูกประคำที่ใช้เป็นลูกคั่น  มีสันฐานกลมเกลี้ยงและถ้าพูดถึงขนาดนั้นจะใหญ่กว่าหรือเท่ากับลูกอมแต่มีการเจาะรูตรงกลางเพื่อร้อยเชือกแล้วประกบหัวท้ายตระกรุดไม่ให้เคลื่อนที่หรือจะไม่เจาะรูก็ย่อมได้ไม่ผิดกติกาอันใด  คราวนี้ผู้เขียนจะมาพูดถึงความหมายอีกอย่างหนึ่งของลูกสะกดตรงตัวที่คำว่า  “สะกด”   ซึ่งหมายถึงการข่มหรือทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้เคลิบเคลิ้มอยู่ภายใต้อำนาจส่วนคำว่า   “ลูกสะกด”  ในความหมายที่นี้หมายถึง  ก้อนกรวดก้อนเล็ก ๆ  ลูกอม   ลูกกระสุนดินเผาหรือวัสดุอย่างอื่นที่นำมาเสกเป่าภาวนาด้วยคาถามหานิทรา   แล้วขว้างข้ามหลังคาบ้านหลังคาค่าย   ทำให้คนในบ้านในค่ายแม้แต่สัตว์ที่มีอยู่ในสถานที่นั้นจะหลับไหลไม่ได้สติจนกว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นมาในตอนเช้า

การสร้างลูกสะกดนั้น   ไม่ใช่จะทำกันได้ง่าย ๆ ซึ่งจะต้องผ่ากรรมวิธีหลายขั้นตอน   ในที่นี้จะกล่างถึงการทำลูกสะกดตะกั่วแบบง่าย ๆ  ที่โบราณาจารย์ท่านนิยมกระทำกันมีหลักการดังต่อไปนี้

        1. เอาตะกั่วนมมาหลอมจนละลาย   แล้วเทลงไปบนถาดโลหะเพื่อให้แผ่เป็นแผ่นเมื่อโลหะเย็นลงแล้วก็แกะออกมา
         2. เอาเหล็กจารมาลงอักขระหัวใจพระคาถาต่าง ๆ  เรียกสูตรไปเขียนไปจนเต็มแผ่นหมดด้านหนึ่งแล้วพลิกอีกด้านหนึ่งมาจารจนเต็ม
         3. เอาตะกั่วอันเดิมไปหลอมอีกแล้วเทลงในแบบพิมพ์เดิม   เมื่อเย็นก็เอามาลงอักขระอีกครั้งหนึ่งแล้วก็หลอมอีก  ทำอย่างนั้นไปเก้าครั้งเก้าหนจึงจะมาขั้นสุดท้ายกรรมวิธีนี้เรียกว่าลงถมหรือการจารอักขระทับถมไปบนแผ่นโลหะ

          หากได้แบบที่เหมาะ ๆ เป็นรูปกลมหรือรูปยาวรีหลอมตะกั่วแล้วเทลงบนแบบ   เมื่อเย็นแล้วแกะออกมาและตกแต่งผิวให้เรียบร้อยพร้อมเจาะรูตรงกลางจึงจารอักขระซ้ำลงไปเป็นหัวใจ   จึงร้อยเชือกประกันกับตะกรุด  หรือร้อยเชือกเอาไว้ให้คาดเอวเรียกว่า  “ลูกสะกด”   หากไม่เจาะรูก็ใช้เป็นลูกอม  จะอมในปากก็ได้เช่นกัน

         ลูกสะกดนี้นอกจากจะทำด้วยตะกั่วแล้วยังทำด้วยการผสมโลหะต่าง ๆ  อาทิเช่น  สัตโลหะ  ปัญจโลหะ  เมฆพัตร  เมฆสิทธิ์  นวโลหะและเหล็กละลายตัว   หรือแล้วแต่ท่านโบราณาจารย์ผู้ชาญฉลาดจะประดิษฐคิดแต่ทำกัน  ขึ้นมาอาจจะเป็นวัตถุมงคล  หรืออาถรรพณ์ต่าง ๆ  ที่นำเอามาเป็นส่วนผสมพร้อมกับลงอักขระเลขยันต์จนเห็นว่าดีแล้ว
นั่นเองจึงเอามาทำเป็น
ลูกสะกด

      

32#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-21 12:35 | ดูโพสต์ทั้งหมด
  ลูกสะกดนี้หากไม่ได้ใช้สะกดหัวตะกรุด   จะเอามาร้อยพวงรวมกันก้ได้ไม่เสียหายแต่อย่างใด   หรือหากจะเอาไปอมในปากเป็นลูกอมก็ไม่ติดขัดแต่ประการใดใช้ได้ทั้งนั้น   เพราะเป็นของสำเร็จที่สร้างขึ้นให้ใช้ป้องกันตัว   ยกเว้นลูกสะกดกับปรอทเป็นสารมีพิษต่อร่างกาย   บางคนแพ้อาจจะทำให้เยื่อบุในปากและเหงือกตลอดจนคออักเสบ ลุกลามไปกันใหญ่   และอย่าลืมว่าเป็นอันตรายต่อร่างกาย  ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงลูกสะกดในการสะกดคนในบ้านให้หลับด้วยการโยนข้ามหลังคา   เพราะเป็นวิชาโจร ซึ่งเป็นวิชาอันตรายต่อคนทั่วไป   ดังนั้นสมัยโบราณทีสอนกันเขาก็ให้มีสัจจะว่า  “เมื่อผ้าขาดก้นเมื่อใดก็ให้ทำครั้งหนึ่งเอาพอได้ค่าเสื้อผ้าค่าเลี้ยงดูครอบครัวและบริวารก็ให้เลิก”   เรียกว่าปีหนึ่งทำครั้งเดียวและต้องเลือกเฉพาะผู้ที่มีฐานะดี
เท่านั้นจึงจะควร   ถ้าผิดสัจจะพระอาจารย์ท่านเมื่อใดก็ตายลูกเดียว  ทีนี้มาทำความรู้จักกับลูกสะกดของพระอาจารย์ท่านกันบ้าง   เป็นลำดับดังนี้

         
ลูกสะกดที่มีชื่อเสียงเป็นที่โจษจรรย์กันมากก็คือ   ลูกสะกดวัดพระแก้ว  (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม  กทม.) ลูกสะกดที่ว่านี้ทำด้วยชินผสมตะกั่ว   กล่อมเป็นรูปยาวรีเจาะรูผ่านตลอด

         
ลูกสะกดพระอาจารย์ทับ  แห่งวัดอนงคารามลักษณะกล่อมกลมหรือยาวรี   หรืออาจมีสัณฐานต่างออกไปบ้างลูกสะกดของพระอาจารย์ทับมักไม่ค่อยจะเจาะรูตลอด   เรพาะท่านสร้างด้วยเนื้อเมฆสิทธิ์จึงยากต่อการเจาะ   เพราะเนื้อชนิดนี้เปราะและแตกสลายง่าย

         
ลูกสะกดที่ได้รับความนิยมเล่นหากันเป็นอย่างมากอีกอาจารย์ท่านหนึ่งก็คือ  ลูกสะกดของหลวงปู่เนียมวัดน้อย  จังหวัดสุพรรณบุรี   ลูกสะกดของอาจารย์ท่านนี้กล่อมเป็นลูกกลม ๆ  มีทั้งที่ทำด้วยเนื้อตะกั่วผสมชินและเนื้อเมฆพัด   แต่มีที่สังเกตอยู่หน่อยก็ตรงที่เป็นรูสะดืออยู่ที่พอเป็นที่สังเกต

         
ลูกสะกดของหลวงปู่ศุข  วัดปากคลองมะขามเฒ่า  จังหวัดชัยนาทก็มีอยู่เหมือนกันครับ  แต่ของท่านมักจะสร้างด้วยไม้หัวรอด  หัวกลอน   ท่านอาจจะเอาเคล็ดของคำว่า  “รอด”  และหนักแน่นเหมือน  “กลอน”  (ที่ใช้ขัดประตู)  แต่ทางจังหวัดชัยนาท  มักนิยมเรียก   “ลูกเครื่อง

         
ลูกสะกด   อีกชนิดหนึ่งของหลวงปู่จันทร์  วัดใหม่โมลีโลก  จังหวัดนนทบุรี   ที่สร้างจากวัสดุอาถรรพณ์คือแร่บางไผ่  และ   (เป็นผู้สร้างพระปิดตาแร่บางไผ่อันลือชื่อ)   มีลักษณะกลมหรือรีสามารถติดแม่เหล็กได้และจะพิจารณาดูง่าย ๆ คือ   สนิมจะเปียกเหมือนยางหมากเป็นแผ่น  ไม่เป็นขุยหรือเป็นเกล็ดเล็ก ๆ  และสนิมไม่แห้งผากเหมือนสนิมเหล็กธรรมดาทั้วไป   ถ้าเนื้อเป็นเสี้ยนหรือเป็นเสี้ยนเล็ก ๆ ปรากฎอยู่อย่างนั้น  ท่านว่าดูง่ายมาก   แต่เนื้อแร่ไผ่แท้อาจจจะไม่เป็นเสื้ยนก็ได้  ซึ่งเนื้อชนิดนั้นเรียกกันว่า   “เนื้อแตง”  (แตงโม)  และที่สำคัญก็คือ   สนิมแร่บางไผ่จะต้องเปียกฉ่ำและเป็นแผ่นไม่เป็นขุย

          ยังมี
ลูกสะกดบางอย่างที่นิยมเอาทองชนวนที่เหลือจากการเทพระกริ่งหรือพระชัยวัฒน์มากล่อมทำเป็นลูกสะกด  เพราะทองชนวนเหล่านั้นได้ผสมจากวัสดุอาถรรพณ์และวัสดุมงคลต่าง ๆ  กับได้ผ่านการลงอักขระเลขยันต์และปลุกเสกมาอย่างดีแล้วเรียกว่า  “เป็นของทนสิทธิ์”   คือมีดีอยู่ในตัวแล้วนั่นเอง   เมื่อนำเอามากล่อมทำลูกสะกดก็ย่อมจะใช้เป็นเครื่องรางของขลังได้ดีอย่างหนึ่งเหมือนกัน

          อานุภาพแห่ง
ลูกสะกดนั้นพระอาจารย์ท่านทั้งหลายได้มุ่งหมายให้ใช้ทางมหาอุดและคงกระพันชาตรีด้วย  สำเร็จขึ้นจากการหล่อหลอมโลหะและเตโชธาตุหรือแม้จะทำด้วยผงหรือว่านนั้นก็ดี

          เมื่อท่านได้รู้จัก
สะกดกันแล้วก็จะขอบอกเคล็ดลับการใช้ลูกสะกดเพื่อให้สมบูรณ์   ท่านจะได้นำไปใช้กันได้  ถูกต้องดังนั้นจะมีคาถาอาราธนาลูกสะกดดังนี้

คาถาอาราธนาลูกสะกด

          อิติพันธะเกษามะอะอุ  พันธะโลมาจะภะกะสะพันธะนักขามะนะนพะทะ  พันธะทันตากระมะถะ   พันธะตะ โจอิสวาสุ  พันธะนังสังจิปีเสดิ  พันธนะหะรูหะรูสุวิสังอะ   พันธะอัฐิทุสะมะนิ  พันธะอัตถิมินชังนะสังสิโม  พันธะวักกังปะวะอะปะ  ทิมะสังอังขุ   นะมะอะอุ  นะมามิหัง  สิทธิเตชัง  สิทธิวาจัง  กายะพันธะนัง  องคะพันนธะนัง   สารพัดสิทธิ  ภะวันตุเมฯ

         คาถานี้ให้ตั้งนะโมฯ 3  จบก่อนแล้วยกลูกสะกดขึ้นจดเหนือหน้าผาก  จึงค่อยภาวนาพระคาถาให้จบบท   สูดลมหายใจเข้าให้เต็มปอดแล้วผ่อนออก   และเมื่อเวลาจะคาดเข้าเอวให้ภาวะนาพระคาถานี้จนกว่าจะผูกเงื่อนเสร็จให้ภาวนาดังนี้  “อิมังกะยะพันธะนังอธิษฐานมินะมะพะทะ”

          มีอีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรลืม  เวลาคาดเอวให้ผูกเงื่อนพิรอด   อย่าไปผูกเงื่อนตายเข้าแล้วกันเพราะเงื่อนพิรอดนั้นเป็นมงคลแถมยังแก้ง่ายด้วย   ส่วนเงื่อนตายไม่เป็นมงคลแล้วยังแก้ยากอีกด้วย  คงจะเห็นแล้วว่าลูกสะกดมีคุณค่าเพราะเป็นของศักดิ์สิทธิ์และสร้างได้ยากเย็นและต้องใช้ความพยายามอย่าง
สูง   ดังนั้นท่านผู้อ่านควรรีบขบวนขวายหาเอาไว้เสียเพราะต่อไปจะหาได้ยาก

33#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-22 07:39 | ดูโพสต์ทั้งหมด
34#
 เจ้าของ| โพสต์ 2017-8-31 07:45 | ดูโพสต์ทั้งหมด
35#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-8-16 06:32 | ดูโพสต์ทั้งหมด
36#
 เจ้าของ| โพสต์ 2018-9-18 06:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
Mawwan ตอบกลับเมื่อ 2018-9-17 16:14
หลวงปู่ดู่ เป็นหลวงปู่ที่หลายคนต่างกราบไหว้ ซึ่งฉ ...

37#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-11-21 08:39 | ดูโพสต์ทั้งหมด
38#
 เจ้าของ| โพสต์ 2019-12-11 12:17 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้