ตั้งให้เราเป็นเว็บแรกที่คุณเลือก
เก็บเราไว้เป็นเว็บโปรด
สมัครสมาชิก ได้มากกว่าที่คุณคิด
เข้าสู่ระบบ
บ้านหลวงปู่
คศช.
ข่าวสารล่าสุด
ประสบการณ์
โชว์วัตถุมงคล
สอบถาม
นานาสาระ
นครนาคราช
ร่วมประมูล
บูชาวัตถุมงคล
เพื่อน
กระทู้แนะนำ
บุ๊คมาร์ก
ไอเท็ม
เหรียญ
ภารกิจ
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
Site Link
ดูบริการทั้งหมด
เว็บบอร์ด
BBS
บูชาวัตถุมงคลหลวงปู่ชื่น
ศรีสุทธรรมนาคราช
ร้านจอมพระ
ศูนย์พระเครื่องจอมพระ
ค้นหา
ค้นหา
HOT TAG:
พระศรีราม
ขุนแผนแสนตรีเวทย์
พระเจ้าชัยวรมัน
บอร์ดนี้
บทความ
เนื้อหา
สมาชิก
Baan Jompra
›
นานาสาระ
›
มรดกขลัง หลากหลายเกจิอาจารย์
»
หลวงปู่ทวดไกร วัดลำพะยา
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
ดู: 34621
ตอบกลับ: 8
หลวงปู่ทวดไกร วัดลำพะยา
[คัดลอกลิงก์]
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
ไปยังโพสต์
1
#
โพสต์ 2013-7-29 09:35
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
|
โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน
|
โหมดอ่าน
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-29 09:44
ที่มาของคำว่า "พ่อทวด" หรือ "หลวงพ่อทวด"
ตาม ปกติชาวใต้จะเรียกพระสงฆ์ที่บำเพ็ญภาวนาจนมีญาณสมาบัติสูง เชียวชาญพระเวทย์วิทยาคม มีทั้งบุญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์ปฏิหาริย์ ที่มีอายุมากหรือมีการดับขันต์ของท่านมาเป็นเวลานานนับ 100 ปี ขึ้นไปว่าและดวงวิญญาณอันศักสิทธิ์พระคุณเจ้าเหล่านั้นยังคงสถิตย์อยู่ ณ สถานที่ต่าง ๆ อาจจะเป็น สถูป หรือ วัดต่าง ๆ ครั้งเมื่อท่านยังคงดำรงค์ขันต์อยู่ว่า "พ่อทวด" ฉนั้นในดินแดนภาคใต้ไม่ได้มีพระสงฆ์ที่ชาวบ้านในท้องถิ่นขนานนามว่า "พ่อทวด" เพียงองค์เดียวแต่กลับมีหลายองค์มาก อาทิ เช่น
1. หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด สถิตย์ ณ วัดช้างให้
2. หลวงพ่อทวดบุญฤทธิ์ สถิตย์ ณ วัดศรีมหาโพธิ์
3. หลวงพ่อไกร สถิตย์ ณ วัดลำพระยา
4. หลวงพ่อทวดนวล สถิตย์ ณ วัดตุยง
5. หลวงพ่อสิทธิชัย สถิตย์ ณ วัดทรายขาว
6. หลวงพ่อทวดหมาน สถิตย์ ณ วัดทรายขาว
7. หลวงพ่อทวดหนอน สถิตย์ ณ วัดมะรวด
8. หลวงพ่อทวดเภา สถิตย์ ณ วัดบ้านดี
9. หลวงพ่อทวดเอียด สถิตย์ ณ วัดบุราณประดิษฐ์
10.หลวงพ่อทวดจันทร์ หลวงพ่อทวดสี หลวงพ่อทวดทอง สถิตย์ ณ วัดช้างให้
สำหรับอีกองค์ที่ทุกท่านรู้จักดี คือ “หลวงพ่อทวด เหยีบน้่ำทะเลจืด สถิตย์ วัดช้างให้ปัตตานี”
ประวัติหลวงปู่ทวดไกร วัดลำพระยา
จากคำบอกเล่าที่เล่าสู่กันมาในอดีต มีหลายตำนาน พอจะนำมาเล่าเป็นสังเขปดังนี้
ตำนานที่ 1 หลวงพ่อไกรวัดลำพะยาเป็นพระสมัยอยุทธยาหรือก่อนจากนั้นก็มิทราบได้เพราะประวัติของท่านอาศัยจากคำบอกเล่าปากต่อปากของชาวบ้านบริเวณแถบหมู่บ้านลำพะยาว่ามีพระอาศัยอยู่บริเวณวัดเก่าตอนนี้ไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้วเพราะผ่านมาเป็นเวลานานมีเสือและงูจงอางเป็นบริวารชาวบ้านมักจะเรียกว่าทวดเสือและทวดงูงูจงอางจะมีอยู่สองตัวคู่กันบริเวณเทือกเขาวัดลำพะยามีอารยธรรมแปลกๆหลายอย่างเพราะมีหลายส่วนที่กล่าวถึงเช่น ผานางรำหรือเรียกอีกอย่างนึงว่าแท่นหินนางรำบริเวณแถวนี้พวกพรานป่าที่ไปหาสัตว์กลางคืนมักจะเห็นมีเสียงดนตรีและมีเงาดำเป็นผู้หญิงฟ้อนรำอยู่,ถ้ำคนธรรบริเวณถ้ำจะมีของโบราณเช่นถ้วนชามหรือหม้อแกงเวลามีงานชาวบ้านมักจะไปยืมเอาจากในถ้ำเมื่อเสร็จงานแล้วก็นำไปคืนโดยการบอกกล่าวด้วยคำพูดหรือพูดง่ายๆว่าพูดเองเออเองช่วงหลังๆชาวบ้านที่ไปยืมมักไม่นำไปคืนหรือคืนไม่ครบด้วยความโกรธหรืออย่างใดมิทราบได้ปากถ้ำจึงโดนหินพังปิดลงมา
ตำนานที่ 2 หลวงพ่อไกร ท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะบารมีทางด้านเมตตาธรรมของท่านนั้นสูงส่งมาก เมตตาธรรมของท่านแผ่กว้างออกไปไม่เลือกแม้แต่คนหรือสัตว์ ขนาดงูจงอางซึ่งเป็นสัตว์ที่ดุร้ายและคนภาคใต้กลัวกันมากถือกันว่าเป็นงูเจ้าที่ไม่มีใครกล้าทำอันตราย ก็ยังมาสยบอยู่กับท่านที่วัดถึงสองตัว เรื่องแปลกอีกอย่างหนึ่งของ หลวงพ่อไกร คือเส้นผมของท่านไม่เหมือนกับเส้นผมของคนธรรมดาทั่วๆไป แต่เส้นผมของหลวงพ่อท่านกลับกลายเป็น ทองแดง ซึ่งเมื่อถึงวันโกนจะต้องอธิษฐานจิตเสียก่อนจึงจะโกนเข้า มิฉะนั้นจะโกนไม่เข้าเลย เป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์นัก
ทั้งสองตำนาน ที่เล่าสู่กันมาหลายๆรุ่น ก็สรุปได้ว่าไม่มีใครเคยทราบประวัติท่านได้ชัดเจน ทราบแต่เพียงว่าท่านเป็นพระที่มีอภิญญาณสูงมาก องค์หนึ่งในอดีต
ประว้ติความเป็นมาในการสร้างพระหลวงปู่ทวดไกร รุ่นแรก ปี 2507
เมื่อประมาณปี2505-2506 มีการดำเนินงานย้ายกระดูกพ่อท่านไกรจากวัดเก่าไปไว้ที่วัดลำพะยาในขบวนแห่ด้วยความดีใจชาวบ้านจึงยิงปืนข้ามขบวนแห่แต่ปืนไม่สามารถยิงออกได้จึงเป็นที่กล่าวขานต่อกันมาในพิธี โดยพระอาจารย์ทิม แห่งวัดช้างให้ได้มาเป็นประธานอัญเชิญอัฐิพ่อท่านไกร เมื่อเสร็จสิ้นพิธีอัญเชิญอัฐิเรียบร้อยแล้วก็ได้มีการอัญเชิญวิญญาณของหลวงพ่อไกรมาประทับทรงอีกครั้งหนึ่ง และได้ขออนุญาตวิญญาณของท่านสร้างพระเครื่อง วัตถุมงคล ซึ่งวิญญาณของหลวงพ่อไกรในร่างทรง ได้อนุญาตโดยให้สร้างเป็นรูปเหมือนของท่านนั่งบนหลังเสือ และมีงูจงอางสองตัวขนาบข้างซ้ายขวา
และอีกพิมพ์หนึ่งให้สร้างเป็นรูปแบบที่มีคนธรรพ์ยืนขนาบข้างซ้ายขวา เรียกพิมพ์นี้กันว่า พิมพ์คนธรรพ์
นอกจากนี้วิญญาณของหลวงพ่อไกรในร่างทรงยังได้กำหนดถึงมวลสารที่จะนำมาสร้างเป็นพระเครื่องมีด้วยกัน 9 ชนิด คือ ว่าน 108 ชนิดจากเทือกเขาสันกาลาคีรี,ดินเถ้าถ่านที่บูชาเพลิงหลวงพ่อไกร,ดินชนวนพระในถ้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ,ดินดำกากยาไมยราพย์,ดินเบ้าหล่อพระประธานหลวงพ่อไกร,รากไม้ที่เป็นยาศักดิ์สิทธิ์บริเวณเขื่อนบรรจุอัฐิหลวงพ่อไกร,กระเบื้องหลังคาที่มุงเขื่อนบรรจุอัฐิหลวงพ่อไกร,ไม้เสาเขื่อนบรรจุอัฐิหลวงพ่อไกร,อัฐิของหลวงพ่อไกร
ในช่วงของการกดพิมพ์ ผสมเนื้อวิญญาณของหลวงพ่อไกรได้มาประทับทรงบอกขั้นตอนของการสร้างอย่างละเอียด เมื่อถึงวันทำพิธีปลุกเสก ในวันที่ 29 กันยายน ถึงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2507 รวมเวลา 3 วัน 3 คืนก็มีพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เป็นประธานในพิธีปลุกเสก และมีพระเกจิอาจารย์สายใต้อีกหลายท่านมาร่วมปลุกเสกอย่างเต็มที่ตลอดเวลา เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็ได้แจกจ่ายให้กับชาวบ้านกันทันทีนั้นเหมือนกัน ในพิธีปลุกเสกหลวงพ่อไกรได้มาประทับทรงและบอกคาถาสำหรับการใช้บูชาพระเครื่องของท่านว่า
ตั้งนะโมสามจบ แล้วว่า..
พุทธัง นาคะพยัคฆัง หึมหัม อิตินะโม สุคะโต อัดโท
สำหรับพระพ่อท่านไกร ได้รับความนิยมและมีผู้แสวงหามาบูชาขึ้นคอ เนื่องจากเหตุการณ์ใม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ่อท่านไกรท่านได้สร้างอภินิหารช่วยชีวิตทหารตำรวจและชาวบ้านไว้หลายครั้ง หลายเหตุการณ์ จึงเป็นที่ศัทธาของชาวบ้านและตำรวจ ทหาร จำเป็นต้องหาไว้คุ้มครองชีวิตตนเอง
บุ๊คมาร์ก
0
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
2
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2013-7-29 09:37
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2013-7-29 09:42
หลวงพ่อไกรวัดลำพะยา สงขลา
เป็นพระสมัยอยุทธยาหรือก่อนจากนั้นก็มิทราบได้เพราะประวัติของท่านอาศัยจากคำบอกเล่าปากต่อปากของชาวบ้านบริเวณแถบหมู่บ้านลำพะยาว่ามีพระอาศัยอยู่บริเวณวัดเก่าตอนนี้ไม่มีหลงเหลือให้เห็นแล้ว
เพราะผ่านมาเป็นเวลานานมีเสือและงูจงอางเป็นบริวารชาวบ้านมักจะเรียกว่าทวดเสือและทวดงูงูจงอางจะมีอยู่สองตัวคู่กันบริเวณเทือกเขาวัดลำพะยามีอารยธรรมแปลกๆหลายอย่างเพราะมีหลายส่วนที่กล่าวถึงเช่น
ผานางรำหรือเรียกอีกอย่างนึงว่าแท่นหินนางรำบริเวณแถวนี้พวกพรานป่าที่ไปหาสัตว์กลางคืนมักจะเห็นมีเสียงดนตรีและมีเงาดำเป็นผู้หญิงฟ้อนรำอยู่,ถ้ำคนธรรบริเวณถ้ำจะมีของโบราณเช่นถ้วนชามหรือหม้อแกงเวลามีงานชาวบ้านมักจะไปยืมเอาจากในถ้ำเมื่อเสร็จงานแล้วก็นำไปคืนโดยการบอกกล่าว
ด้วยคำพูดหรือพูดง่ายๆว่าพูดเองเออเองช่วงหลังๆชาวบ้านที่ไปยืมมักไม่นำไปคืนหรือคืนไม่ครบด้วยความโกรธหรืออย่างใดมิทราบได้ปากถ้ำจึงโดนหินพังปิดลงมา
และเมื่อประมาณปี2505-2506 มีการดำเนินงานย้ายกระดูหลวงพ่อไกรจากวัดเก่าไปไว้ที่วัดลำพะยาในขบวนแห่ด้วยคความดีใจชาวบ้านจึงยิงปืนข้ามขบวนแห่แต่ปืนไม่สามารถยิงออกได้จึงเป็นที่กล่าวขานต่อกันมาในงานพิธีย้ายกระดูกหลวงพ่อไกรพระอาจารย์ทิมวัดช้างให้ได้จัดสร้างหลวงพ่อไกรเนื้อว่านไว้ให้ชาวบ้าน
บูชาและแจกจ่ายให้ชาวบ้านที่ร่วมพิธีมีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่และพิมพ์พิเศษในพิธีครั้งนี้ทางวัดได้จัดสร้างหลวงพ่อไกรพิมพ์พิเศษให้กับกรรมการและผุ้บริจากเงินจำนวนมากเพื่อใช้ในพิธีครั้งนี้บางองค์เป็นศิลปะแกะมือหรือไม่ก็แกะพิมพ์แต่ล่ะพิมพ์จะมีแค่องค์เดียวและบรรจุพระธาตุไว้จึงไม่เป็นที่พบเห็นทั่วไป ผ่านมาถึงยุค3จังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดความไม่สงบหลวงพ่อไกรก็ได้สร้างอภินิหารช่วยชีวิตทหารตำรวจและชาวบ้านไว้จึงเป็นที่ศัทธาของชาวบ้าน
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
3
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2014-11-15 07:11
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
อีกหนึ่งตำนานแห่งความศักดิ์สิทธิ์
ตอบกลับ
สนับสนุน
คัดค้าน
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
Sornpraram
Sornpraram
ออฟไลน์
เครดิต
36164
4
#
เจ้าของ
|
โพสต์ 2019-2-5 15:24
|
ดูโพสต์ทั้งหมด
ตอบกลับ
ใช้ไอเท็ม
รายงาน
กลับไป
ตั้งกระทู้ใหม่
โหมดขั้นสูง
B
Color
Image
Link
Quote
Code
Smilies
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ลงชื่อเข้าใช้
|
ลงทะเบียน
รายละเอียดเครดิต
ตอบกระทู้
ข้ามไปยังโพสต์ล่าสุด
ตอบกระทู้
ขึ้นไปด้านบน
ไปที่หน้ารายการกระทู้
Share To Facebook
Share To Twitter
Share To Google+
Share To ...