Baan Jompra
ชื่อกระทู้: ศาสนาพิธี ทำให้พุทธศาสนาอยู่ได้นาน [สั่งพิมพ์]
โดย: รามเทพ เวลา: 2013-8-1 08:38
ชื่อกระทู้: ศาสนาพิธี ทำให้พุทธศาสนาอยู่ได้นาน
ศาสนาตั้งมั่นอยู่มาได้จนบัดนี้
ก็เพราะพิธีต่างๆ นี้ ทั้งนั้น
บางคนก็สร้าง อุโบสถ-ศาลา-กุฏิ
ถวายอุทิศให้แก่ผู้ตาย
วัดจึงเป็นวัดมาได้เท่าทุกวันนี้
ตนไม้ถ้ายังเหลือแต่แก่น
ก็จะอยู่ได้ไม่นาน
ต้องมีเปลือก กระพี้
ห่อหุ้มบำรุงแก่นไว้ จึงไม่ตาย
พุทธศาสนาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ต้องอาศัยศาสนาพิธีเหล่านี้แหละช่วยบำรุง
ห่อหุ้มไว้ จึงยืนนานมาถึงวันนี้...
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
โดย: matmee2550 เวลา: 2013-8-8 12:53
เยี่ยมๆๆ
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-12-2 06:34
โดย: Metha เวลา: 2013-12-14 07:37
ขอบคุณครับ
โดย: majoy เวลา: 2017-8-15 08:08
ขอบคุณครับผม
โดย: Nujeab เวลา: 2017-8-15 09:22
โดย: Sornpraram เวลา: 2017-10-11 07:52
โดย: รามเทพ เวลา: 2017-10-16 17:22
ตามนั้นครับ
โดย: Sornpraram เวลา: 2017-10-17 06:46
โดย: Nujeab เวลา: 2017-10-18 10:47
โดย: Sornpraram เวลา: 2017-10-19 06:47
โดย: Ninprakarn เวลา: 2017-10-21 04:21
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-8-20 07:03
ศาสนาตั้งมั่นอยู่มาได้จนบัดนี้
ก็เพราะพิธีต่างๆ นี้ ทั้งนั้น
บางคนก็สร้าง อุโบสถ-ศาลา-กุฏิ
ถวายอุทิศให้แก่ผู้ตาย
วัดจึงเป็นวัดมาได้เท่าทุกวันนี้
ตนไม้ถ้ายังเหลือแต่แก่น
ก็จะอยู่ได้ไม่นาน
ต้องมีเปลือก กระพี้
ห่อหุ้มบำรุงแก่นไว้ จึงไม่ตาย
พุทธศาสนาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ต้องอาศัยศาสนาพิธีเหล่านี้แหละช่วยบำรุง
ห่อหุ้มไว้ จึงยืนนานมาถึงวันนี้...
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-8-20 07:05
ไล่จับพระสึก
จะเอาแต่แก่น ไม่เอากระพี้
ศาสนายิ่งเสื่อมไว
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-8-21 06:32
ประโยชน์ของศาสนพิธี
ถ้าเปรียบศาสนาเหมือนกับต้นไม้ ศาสนพิธีก็เปรียบได้กับเปลือกนอกของต้นไม้ ตัวสัจธรรมคือคำสอนที่เป็นหลักปฏิบัติทางศาสนาเปรียบได้กับแก่นไม้ทั้งเปลือกทั้งแก่นไม้ย่อมมีประโยชน์ต่อต้นไม้เท่าๆ กัน หากมีแต่แก่น ไม่มีเปลือกห่อหุ้ม ต้นไม้นั้นก็จะอยู่ไม่ได้ หรือมีแต่เปลือกอย่างเดียว แก่นไม่มี หรือแก่นมีแต่เล็กเรียวเกินไปเพราะเปลือกหนามาก ต้นไม้นั้นก็ให้ประโยชน์น้อย ดังนั้น ต้นไม้จึงต้องมีทั้งแก่นและเปลือกเพื่ออาศัยซึ่งกันและกัน หากถึงคราวจะใช้ทำประโยชน์จริงๆ ค่อยกะเทาะเปลือกนอกออก นำเฉพาะแก่นเท่านั้นไปใช้ จึงจะได้รับประโยชน์จากต้นไม้นั้นอย่างแท้จริง
ศาสนาก็มีลักษณะเช่นนี้ พิธีกรรมต่างๆ ซึ่งเรียกในที่นี้ว่าศาสนพิธีนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบภายนอกที่ห่อหุ้มแก่นศาสนาคือตัวสัจธรรมไว้ หากจะเลือกใช้เลือกสอนกันแต่แก่นๆ แล้วคงเป็นไปและเข้าใจได้ยาก จำต้องเริ่มต้นจากเปลือกกระพี้ไปก่อนเพราะความนิยมของคนและพื้นฐานความรู้ของคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน แต่พิธีกรรมนั้นต้องเป็นไปพอเหมาะพอควร ไม่มากไม่น้อยเกินไป หากพิธีกรรมมีมากเกินไป แก่นธรรมก็จะเล็กเรียวลง เหมือนต้นไม้ ถ้ามีเปลือกกระพี้หนามาก แก่นของต้นไม้นั้นมักจะเล็กเรียวมาก พิธีกรรมนั้นจะต้องเป็นพิธีกรรมที่ดีด้วย เพราะพิธีกรรมที่ดีจะส่อให้เห็นว่าแก่นธรรมนั้นดี เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีเปลือกดี ส่อให้เห็นว่าแก่นข้างในย่อมดี หรือผลไม้ที่มีเปลือกนอกดีก็ส่อให้เห็นว่าเนื้อข้างในจะไม่เน่าไม่เสียด้วย ตรงข้ามหากเปลือกนอกมีจุดด่างดำหรือมีรอยเน่า ก็ส่อให้เห็นว่าเนื้อข้างในยังวางใจไม่ได้
ดังนั้น ศาสนพิธีจึงต้องคงคู่ไว้กับแก่นธรรม แต่การประกอบศาสนพิธีอย่าติดเพียงแค่พิธีกรรมเท่านั้น ทั้งไม่ควรคิดว่าพิธีกรรมต่างๆ ที่ทำกันอยู่นั้นเป็นตัวแท้เป็นแก่นศาสนา ความจริงพิธีกรรมเป็นเพียงส่วนประกอบภายนอกเพื่อเป็นทางผ่านให้เข้าถึงแก่นธรรมหรือตัวแท้แห่งศาสนาเท่านั้น รวมความแล้ว ศาสนพิธีมีประโยชน์ 2 อย่าง คือ
1. รักษาความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ คือพิธีกรรมทางศาสนานั้นมีแบบแผนเป็นของตัวเองโดยเฉพาะจึงเป็นจุดเด่นอย่างหนึ่งในแบบวัฒนธรรมของชาติ อาจเชิดชูเอกลักษณ์ของชาติไว้ได้ด้วยแบบอย่างนั้น เพราะเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองโดยเฉพาะ นับว่าเป็นเครื่องเชิดหน้าชูตาของชาติได้ทางหนึ่งที่พอจะอวดผู้อื่นได้ว่าชาติเรานั้นได้สะสมระเบียบประเพณีอันดีงามมานานแสนนานแล้ว ซึ่งแสดงถึงว่าเรามีวัฒนธรรมมานานแสนนานแล้วนั่นเอง
2. ส่งเสริมคุณค่าทางด้านจิตใจ คือทำให้ผู้ประกอบพิธีกรรมนั้นๆ เบิกบานใจ เกิดความปีติสดชื่นขึ้นเพราะได้ประกอบพิธีกรรมนั้นแล้ว เป็นการเตรียมใจไว้รองรับบุญกุศลหรือความดีอื่นๆ ต่อไป และเป็นเหตุจูงใจให้ผู้พบเห็นปรารถนาจะทำตามอย่างบ้าง ตัวอย่างในการส่งเสริมคุณค่าทางด้านจิตใจของศาสนพิธีเช่นเมื่อต้องการจะทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน แบบแรกตัดพิธีกรรมออกหมด คือเมื่อพระมาถึงบ้านก็นำอาหารคาวหวานมาถวายท่านเลย เมื่อพระท่านฉันเสร็จแล้วก็อำลากลับวัดเลยเช่นกัน นี่แบบตัดพิธีกรรมออก อีกแบบหนึ่งเป็นแบบทำตามพิธีกรรม คือ เมื่อพระมาถึงแล้วเจ้าของบ้านจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยได้กราบพระ ได้รับศีล ได้ฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ได้ถวายทานด้วยมือตนเอง พระท่านฉันเสร็จแล้วก็ได้รับพรจากพระ ได้กรวดน้ำ ได้รับประพรมน้ำพระพุทธมนต์ตามลำดับ ในสองแบบนี้แบบแรกไม่มีพิธีกรรม แบบหลังมีพิธีกรรมเพิ่มขึ้นตามความนิยม แบบไหนจะเป็นเหตุให้ผู้เป็นเจ้าภาพหรือผู้กระทำประทับใจและเกิดความแช่มชื่น เป็นสุขใจมากกว่ากัน
การถวายภัตตาหารแก่คณะสงฆ์เป็นศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง
ผลจากการเรียนรู้ศาสนพิธี ผู้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องศาสนพิธีดีแล้วย่อมเป็นผู้ฉลาดในการจัดทำพิธีกรรมต่างๆ ในทางศาสนา เป็นผู้สามารถในการประกอบพิธีกรรมนั้นๆ ได้ถูกต้องตามแบบแผนที่นิยมกันทั่วไป เป็นเหตุให้ผู้ได้พบเห็นเกิดศรัทธาในผู้นั้นว่าเป็นผู้ช่ำชองได้รับการฝึกฝนอบรมมาดีแล้ว ไม่มีความเคอะเขินในการจัดทำเป็นการเพิ่มเสน่ห์และบุคลิกภาพให้แก่ตัวเองอย่างหนึ่ง และนอกจากนั้นยังได้ชื่อว่าช่วยสืบต่ออายุพระศาสนาโดยปริยายด้วยเพราะแบบอย่างหรือธรรมเนียมที่ดีงามมีเหตุมีผลเป็นพิธีกรรมนั้นๆ เมื่อยังรักษากันไว้ได้เพียงใด ตัวศาสนาก็ยังชื่อว่าได้รับการรักษาอยู่เพียงนั้น เหมือนเปลือกกระพี้ของต้นไม้ยังคงสดอยู่ตราบใดต้นไม้นั้นก็จะยังมีชีวิตอยู่ตราบนั้น
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-8-21 06:33
การประกอบศาสนพิธี
ดังกล่าวมาแล้วว่าพิธีกรรมนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบไม่ใช่ตัวหลักการศาสนา เวลาจะประกอบพิธีกรรมจึงควรยึดถือเฉพาะที่เป็นหลักศาสนพิธี คือให้เข้าหลักการทำบุญทางศาสนา ๓ ประการข้างต้นนั้นเท่านั้น ตัดพิธีกรรมส่วนเกินซึ่งเป็นเหตุฟุ่มเฟือย เป็นสิ่งที่ทำต่อกันมาโดยไม่ทราบเหตุผลออกเสีย นอกจากต้องคำนึงถึงหลักศาสนพิธีแล้วต้องคำนึงถึงหลักเศรษฐกิจและหลักสังคมด้วย
สรุปแล้ว การประกอบพิธีกรรมทุกประเภทควรคำนึงถึงหลักอย่างน้อย 4 ประการ คือ
1. ต้องประหยัด คือใช้จ่ายเฉพาะในสิ่งที่จำเป็น ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ทำแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ตัดสิ่งที่ไม่เกิดบุญไม่เกิดกุศลออกเสีย ยิ่งสิ่งที่เป็นอบายมุขต่างๆ ด้วยแล้วไม่ควรจัดให้มีขึ้นในพิธีกรรมเป็นเด็ดขาด เพราะนอกจากจะไม่เป็นบุญเป็นกุศลแล้ว ยังจะพลอยเป็นบาปเป็นกรรมไปเสียอีกด้วย
2. ต้องให้ได้ประโยชน์และคุ้มค่า คือสิ่งที่ทำที่ลงทุนไปนั้นต้องให้ได้ให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเองหรือผู้อื่นที่เราต้องการให้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทำแล้วให้มีกำไรมากกว่าขาดทุนหรือให้เป็นกำไรทั้งหมด คือให้เป็นบุญมากกว่าเป็นบาป หรือให้เป็นบุญล้วนๆ ไม่มีบาปเข้ามาปน
3. ต้องถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม คือทำให้ถูกหลักเกณฑ์แห่งการทำบุญนั้นๆ ตัดพิธีกรรมส่วนเกินออกเสีย แต่เมื่อตัดแล้วต้องไม่เสียแบบแผนที่ดีงาม ที่มีเหตุมีผลต้นปลายซึ่งนิยมกันมา ทั้งนี้มิใช่ว่าต้องทำตามอย่างที่เขาทำมาทั้งหมดเสมอไป เพราะพิธีกรรมที่ทำตามอย่างกันมานั้นมักจะเป็นพิธีกรรมส่วนเกินเสียเป็นส่วนใหญ่ บางทีก็ทำกันไปโดยไม่รู้ว่าทำกันไปทำไมก็มี เห็นเขาทำก็ทำตามเขาบ้าง หรือทำไปด้วยความจำใจ ถ้าไม่ทำก็กลัวว่าเขาจะตำหนิหรือติฉินเอาก็มี
4. ต้องให้เหมาะสม คือเวลาทำต้องดูฐานะความเป็นอยู่ดูกำลังของตัวก่อนว่าควรทำได้เพียงไรแค่ไหน มีแค่ไหนก็ควรทำแค่นั้น ไม่จำเป็นต้องทำให้เท่าเขาหรือให้เหมือนเขาเสมอไป อย่าถึงกับต้องไปกู้หนี้ยืมสินเขามาทำ เพราะจะทำให้เดือดร้อนในภายหลังได้การประกอบพิธีกรรมที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ย่อมได้ผลไม่น้อยและทำได้ไม่ยากนัก เป็นทางบุญแน่แท้ ทำแล้วย่อมได้บุญสมประสงค์ แต่ถ้าประกอบไม่ถูกต้องหรือประกอบโดยไม่เข้าใจอาจจะไม่ได้ผลบุญเท่าที่ควรจะได้ ทั้งยังจะขาดทุนเสียด้วยซ้ำไป
ศาสนพิธีมี 4 หมวดใหญ่ในพระพุทธศาสนาแบ่งศาสนพิธีออกเป็น 4 หมวดใหญ่ๆ ดังนี้
1. กุศลพิธี เป็นพิธีเกี่ยวกับการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนาเฉพาะบุคคล เช่น การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และการรักษาศีลประเภทต่างๆ เป็นต้น
2. บุญพิธี เป็นพิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีในครอบครัวซึ่งเป็นประเพณีที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของคนทั่วไปมี 2 ประเภท คือ
2.1 พิธีทำบุญในงานมงคล ได้แก่การทำบุญในโอกาสต่างๆ
2.2 พิธีทำบุญในงานอวมงคล เช่น บุญหน้าศพ เป็นต้น
3. ทานพิธี เป็นพิธีถวายทานต่างๆ เช่น การถวายทาน เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค เป็นต้น
4. ปกิณกะพิธี เป็นพิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่ การอาราธนาศีล การประเคนของพระ เป็นต้น
ในบทนี้จะนำมาเฉพาะพิธีที่สำคัญๆ อันเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของชาวพุทธเสมอๆ
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-8-21 06:36
. หลักการและเหตุผล.
ศาสนพิธี..คือเครื่องจูงใจและสื่อการปลูกฝังศรัทธา
น้อมนําให้ ผู้ปฏิบัติเข้าถึงเป้าหมายสําคัญของศาสนา
คือ การศึกษาเรียนรู้ หลักคําสอนในศาสนา
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-8-22 06:16
หลายท่านอาจเคยสงสัยว่า ทำไมบรรดาครูบาอาจารย์บางท่าน อนุญาติให้เหล่าบรรดาลูกศิษย์ลูกหาจัดสร้างวัตถุมงคลขึ้น ท่านมีความหมายอันใดหรือ?
แม้แต่องค์หลวงปู่ท่านก็เคยอนุญาติให้จัดสร้างวัตถุมงคลบ้างตามวาระโอกาส และตามเจตนาที่เหมาะสม
ซึ่งทุกครั้งหลวงปู่ท่านก็จะแจกให้ฟรีกับผู้ที่มากราบนมัสการโดยไม่เคยคิดเป็นมูลค่าใดๆ
ข้อความตอนหนึ่งจากหนังสือ “อตุโล ไม่มีใดเทียม” (หน้าที่ ๑๘๑) ของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์
เล่าว่า ครั้งหนึ่งมีพวกสาธุชนกลุ่มหนึ่งมาสนทนาธรรมด้วยและถามท่านว่า
“วัตถุมงคลมีความศักดิ์สิทธิ์จริงหรือหลวงปู่จึงได้สร้างหรืออนุญาติให้สร้างเหรียญขึ้น?”
หลวงปู่ดูลย์จึงวิสัชนาว่า
“พวกท่านทั้งหลายแสดงความสนใจในการบำเพ็ญภาวนา ก็พากันบำเพ็ญภาวนาไป
ไม่ต้องไปห่วงไปสนใจกับวัตถุมงคลอันเป็นของภายนอกนี้ แต่สำหรับผู้มีจิตใจเพลิดเพลินอยู่
ยังยินดีในการเกิดตายในวัฏฏสงสาร ยังไม่สามารถหันมาสู่การปฏิบัติธรรมได้
ก็ให้อาศัยวัตถุภายนอกเช่นวัตถุมงคลนี้ เป็นที่พึ่งไปก่อน อย่าไปตำหนิติเตียนอะไรเลย
ครั้นเขาเหล่านั้น ประสบเหตุเภทภัยมีอันตรายแก่ตนและเกิดแคล้วคลาดด้วยคุณแห่งพระรัตนตรัยก็ดี โดยบังเอิญก็ดี ก็จะเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ในภายหลัง ซึ่งจะเป็นเหตุให้เจริญงอกงามในทางที่ถูกต้องได้เอง สำหรับผู้ที่มีศรัทธามากแล้ว ชอบการบำเพ็ญภาวนาจิตใจในธรรมปฏิบัติอันยิ่งๆขึ้นไป ในเรื่องวัตถุมงคลนี้ หลวงปู่จะบอกตามสัจจธรรมว่าไม่มีอะไร เป็นเพียงช่วยด้านกำลังใจเท่านั้น…”
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ท่านก็เคยพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวกับวัตถุมงคลของท่านอยู่เสมอว่า..
“วัตถุมงคลก็เป็นเพียงวัตถุเท่านั้น ของจริงก็คือ พระสัจจธรรมทั้งปวง
มีวัตถุมงคลแล้วไม่ทำตัวให้ดีไม่ทำใจให้เป็นกุศล ก็หวังอะไรไม่ได้สักอย่าง
มีวัตถุมงคลแล้วต้องทำความดีด้วย จึงจะเกิดผลต่างๆเป็นนานาประการ
หากหวังพึ่งวัตถุมงคลอย่างเดียวโดยไม่สร้างบุญกุศลย่อมไม่ได้อะไรขึ้นมา…”
หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ พระสุปฏิปันโนผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบรูปหนึ่ง แห่งวัดสะแก อ.อุทัย จ. พระนครศรีอยุธยา ท่านเคยกล่าวในเรื่องทำนองนี้ ไว้ว่า...
“ติดวัตถุมงคล ยังดีกว่าติดวัตถุอัปมงคล..”
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-10-2 08:16
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-10-2 08:17
ศาสนาตั้งมั่นอยู่มาได้จนบัดนี้
ก็เพราะพิธีต่างๆ นี้ ทั้งนั้น
บางคนก็สร้าง อุโบสถ-ศาลา-กุฏิ
ถวายอุทิศให้แก่ผู้ตาย
วัดจึงเป็นวัดมาได้เท่าทุกวันนี้
ตนไม้ถ้ายังเหลือแต่แก่น
ก็จะอยู่ได้ไม่นาน
ต้องมีเปลือก กระพี้
ห่อหุ้มบำรุงแก่นไว้ จึงไม่ตาย
พุทธศาสนาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ต้องอาศัยศาสนาพิธีเหล่านี้แหละช่วยบำรุง
ห่อหุ้มไว้ จึงยืนนานมาถึงวันนี้...
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
โดย: Sornpraram เวลา: 2019-12-17 08:54
. หลักการและเหตุผล.
ศาสนพิธี..คือเครื่องจูงใจและสื่อการปลูกฝังศรัทธา
น้อมนําให้ ผู้ปฏิบัติเข้าถึงเป้าหมายสําคัญของศาสนา
คือ การศึกษาเรียนรู้ หลักคําสอนในศาสนา
โดย: รามเทพ เวลา: 2019-12-30 17:55
ศาสนาตั้งมั่นอยู่มาได้จนบัดนี้
ก็เพราะพิธีต่างๆ นี้ ทั้งนั้น
บางคนก็สร้าง อุโบสถ-ศาลา-กุฏิ
ถวายอุทิศให้แก่ผู้ตาย
วัดจึงเป็นวัดมาได้เท่าทุกวันนี้
ต้นไม้ถ้ายังเหลือแต่แก่น
ก็จะอยู่ได้ไม่นาน
ต้องมีเปลือก กระพี้
ห่อหุ้มบำรุงแก่นไว้ จึงไม่ตาย
พุทธศาสนาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ต้องอาศัยศาสนาพิธีเหล่านี้แหละช่วยบำรุง
ห่อหุ้มไว้ จึงยืนนานมาถึงวันนี้...
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
โดย: Sornpraram เวลา: 2020-2-6 08:43
โดย: Sornpraram เวลา: 2020-6-1 07:39
โดย: Sornpraram เวลา: 2020-7-1 06:27
ศาสนาตั้งมั่นอยู่มาได้จนบัดนี้
ก็เพราะพิธีต่างๆ นี้ ทั้งนั้น
บางคนก็สร้าง อุโบสถ-ศาลา-กุฏิ
ถวายอุทิศให้แก่ผู้ตาย
วัดจึงเป็นวัดมาได้เท่าทุกวันนี้
ตนไม้ถ้ายังเหลือแต่แก่น
ก็จะอยู่ได้ไม่นาน
ต้องมีเปลือก กระพี้
ห่อหุ้มบำรุงแก่นไว้ จึงไม่ตาย
พุทธศาสนาก็ฉันนั้น
เหมือนกัน
ต้องอาศัยศาสนาพิธีเหล่านี้แหละช่วยบำรุง
ห่อหุ้มไว้ จึงยืนนานมาถึงวันนี้...
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
โดย: Sornpraram เวลา: 2020-7-1 06:27
. หลักการและเหตุผล.ศาสนพิธี..คือเครื่องจูงใจและสื่อการปลูกฝังศรัทธา
น้อมนําให้ ผู้ปฏิบัติเข้าถึงเป้าหมายสําคัญของศาสนา
คือ การศึกษาเรียนรู้ หลักคําสอนในศาสนา
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |