จัดสร้างขึ้น ในช่วงพิธีเททอง พระนวโกฏิเศรษฐี วัดยานนาวา พ.ศ.๒๕๕๒ เพื่อสมนาคุณแก่ผู้ที่เข้าร่วมงานเททอง และอีกส่วน
หนึ่งได้นำไปแจกให้แก่ผู้ที่ร่วมทำบุญที่จังหวัดลพบุรี โดยได้แจกแต่เนื้อทองแดง
พระมหาวีรธรรมได้ขออนุญาติ พระครูวิมลญาณอุดม วัดมณีชลขัณฑ์(พระอาจารย์ติ๋ว) จัดสร้าง
"เหรียญนี้นับเป็นเหรียญของท่านพระอาจารย์ติ๋วที่ห้ามมองข้าม จากที่ผู้เขียนได้รับฟังมาจากท่านพระอาจารย์ว่า เมื่อก่อนท่าน
พระอาจารย์เคยได้จารตะกรุดอาวุธพระพุทธเจ้า (ตะกรุดคู่ชีวิต) แจกแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาของท่าน กระผมเองก็อยากได้จึงได้ขอ
ท่านพระอาจารย์ให้ท่านทำให้สักดอก ท่านกับปฏิเสธและบอกกับกระผมว่าท่านไม่ได้จารตะกรุดอาวุธพระพุทธเจ้าแล้ว และจะไม่
จารให้ใครอีกด้วย นี่แหละครับที่กระผมบอกว่าเหรียญนี้เป็นเหรียญที่ห้ามมองข้าม เพราะนอกจากท่านจะจารตะกรุดเพื่อใช้เป็น
มวลสารในการสร้างเหรียญแล้ว ท่านยังนั่งปลุกเสกเหรียญนี้พร้อมกับท่านพระอาจารย์เก่งๆ อีกหลายท่านครับ"
คณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสก
หลวงปู่เกลี้ยง วัดเนินสุทธาวาส หลวงพ่อจ้อย วัดหนองน้ำเขียว หลวงพ่อหล่ำ วัดสามัคคีธรรม
หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม หลวงปู่เพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
หลวงปู่ดี วัดเทพากร พระมหาสุรศักดิ์ วัดประดู่ พระอาจารย์ติ๋ว วัดมณีชลขัณฑ์
รูปลักษณ์ของเหรียญนารายณ์สิบกร มหาปราบ
ด้านหน้าเหรียญ
พระคาถารอบองค์นารายณ์นับตั้งแต่ต้นศร คือ "สัตถาธนุง อากัฑฒิตุง ทัตวา วิสัชเชตุง นาทาสิ" นี้เป้นพระคาถาศักดิ์ที่ชื่อว่า พระ
เจ้าห้ามอาวุธ
พระหัตถ์ซ้ายซึ่งยื่นลงมานั้นมีคาถาว่า "ชยมังคลัง" คือ อำนวยพรให้ผู้บูชามีแต่ชัยชนะอันยิ่งใหญ่ ชัยชนะอันเป็นมหามงคล
ขวามือขององค์นารายณ์เป็นยันต์ตรี กำกับด้วยอักขระที่ให้คุณทางแคล้วคลาด กันภัยเป็นเลิศ คือ "มะอะอุ ผุดผัดผิด" และเฑาะว์
มหาพรหม ซ้ายมือเป็นยัตน์ตรีกำกับด้วยอักขระที่ให้คุณทางคงกระพันชาตรี ป้องกันเขี้ยวงา และสัตรว์มีพิษทั้งปวง คือ " มะ อะ อุ
อิสวาสุ" และอุนาโลมห้าชั้น
ข้างพระบาทขวาประทับด้วย "นะปัดตลอด" ส่งผลทางแคล้วคลาด ปัดตลอดรอดจากภัยอันตรายทั้งหลาย ทำการใดก็สำเร็จลุล่วง
ตลอดรอดฝัง
ข้างพระบาทซ้ายประทับด้วย "นะสมิงคำราม" ให้ผลทางแคล้วคลาด และมหาอุดหยุดศัสตราวุธ ชิดกับขอบเหรียญเป็นยันต์ "พระ
อรหันต์อุดปิน" ของหลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง ทางอิทธิคุณในทางมหาอุด
เหนือเศียรพระนารายณ์เป็นยันต์ "เฑาะว์มหาอุด" ของหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว เดินอักขระตามของเหรียญว่า "พุทธังอุทธัง
ธัมมังอุทธัง สังฆังอุทธัง นะมะพะทะ" "อะสิสัตติ ธนูเจวะ สัพเพ เต อาวุธานิจะ ภัคคะภัคาวิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติ"
"อะนิทัสสะนะอัปปะฏิมา"
บทแรกเป็นคาถาห้ามธาตุของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า บทที่สองเป็นคาถาห้ามอาวุธที่หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
และหลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ใช้ลง "ตะกรุดคู่ชีวิต" ที่โด่งดังเป็นเอกลักษณ์ พระคาถาและยันต์บทนี้มีอานุภาพมากมายนัก
ด้านหลังเหรียญ
เป็นรูปอาวุธ ๕ ประการ คือ
๑.สายฟ้าของพระอินทร์
๒.คฑาของท้าวเวสสุวัณ
๓.นัยน์ตาของพญายม
๔.ผ้าแดงของอาฬวกยักษ์
๕.จักรเพชรพระนารายณ์
เทพศัตราวุธทั้ง ๕ ประการนี้ทรงฤทธานุภาพเป็นอย่างยิ่ง ต่อกรได้ทั้งภูตผีปีศาจ และคุณไสยมนต์ดำ คุณผี คุณคน ลมเพลมพัด
เคราะห์เข็ญเวรภัยทั้งปวง หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ ได้นำมาปลุกเสกบรรจุลงในมีดหมอของท่านจนศักดิ์ลือลั่น
คาถาที่ล้อมรูปอาวุธก็คือ "คาถาอาวุธ ๕ ประการ" ฉบับเต็มสูตรของหลวงพ่อเดิม ซึ่งได้คัดลอกมาจากสมุดข่อยที่ หลวงพ่อเดิม
ท่านได้จดไว้ด้วยลายมือของท่านเอง นำมาบรรจุไว้ในเหรียญอย่างครบถ้วนไม่ขาดตกบกพร่องแม้แต่ตัวเดียว
จำนวนจัดสร้าง
เหรียญขนาดห้อยคอ ๓ เซนติเมตร
๑.เนื้อเงิน ๑๐๘
๒.เนื้อนวโลหะ ๑๐๘ เหรียญ
๓.เนื้อตะกั่ว ๑๐๘ เหรียญ
๔.เนื้อทองแดง (แจกสมนาคุณ)
เหรียญบาตรน้ำมนต์ ขนาด ๗ เซนติเมตร
๑.เนื้อเงิน ๙ เหรียญ
๒.เนื้อนวโลหะ ๑๐๘ เหรียญ
๓.เนื้อตะกั่ว ๑๐๘ เหรียญ
๔.เนื้อทองแดง ๑๐๘ เหรียญ
|
|