Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ปรัชญาอินเดีย [สั่งพิมพ์]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-8-2 07:14
ชื่อกระทู้: ปรัชญาอินเดีย
ลักษณะทั่วไปของปรัชญาอินเดีย


๑. บทนำ

คำว่า ปรัชญาอินเดีย หมายเอาระบบความคิดทางปรัชญาทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศอินเดีย ไม่ว่าจะมีอยู่ในสมัยโบราณ หรือว่าสมัยใหม่ ทั้งที่มีสายมาจากฮินดู และมิใช่ฮินดู ที่นับถือพระเจ้า และไม่นับถือพระเจ้า ทำนองเดียวกันกับเมื่อเราพูดถึงปรัชญาจีน ปรัชญาญี่ปุ่น ปรัชญาตะวันตก ก็จะสื่อความรวมทั้งหมด ไม่จำเพาะเจาะจงเอาเพียงสำนักใดสำนักหนึ่ง

คัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์สำคัญ ๆ อย่างพระไตรปิฎก คัมภีร์อรรถกถาทั่วไป ได้กล่าวถึงระบบความคิดทางปรัชญาของอินเดียไว้มากมายหลายสำนัก หลายลัทธิ แสดงให้เห็นถึงร่องรอยพัฒนาการทางปรัชญา และประวัติศาสตร์ปรัชญาในดินแดนแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี

ปรัชญาอินเดีย เป็นปรัชญาที่มีเสน่ห์ เป็นปรัชญาที่เน้นคุณค่าของชีวิต และจิตวิญญาณ มีความลุ่มลึก และละเอียดลออ ไม่แข็งกระด้างไปด้วยข้ออ้างและเหตุผลเหมือนอย่างปรัชญาตะวันตก เพราะปรัชญาอินเดียนั้น ส่วนใหญ่เป็นปรัชญาที่มุ่งแสวงหาความจริง และความหลุดพ้น ไม่ใช่มุ่งแสวงหาความรู้เพียงเพื่อตอบสนองความสงสัยใคร่รู้ทางพุทธิปรัชญาอย่างเดียว เหตุนั้น รากศัพท์คำว่า ปรัชญา ในบริบทของชาวตะวันตก กับอินเดียจึงมีความแตกต่างกัน

ตะวันตกมองปรัชญาเป็นกิจกรรมของการแสวงหาความรู้ รากฐานของศัพท์ปรัชญาจึงมุ่งเน้นไปที่เรื่องการแสวงหาความรู้ เครื่องมือสำคัญในการใช้แสวงหาความรู้จึงอยู่ที่ข้อมูลทางผัสสะ และชุดข้ออ้างเหตุผลสำเร็จรูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ขณะที่ปรัชญาอินเดียมองปรัชญาเป็นเรื่องของการแสวงหาความจริง ความจริงที่ได้จากการแสวงหาจึงถือเป็นความรู้อันประเสริฐ เพราะเป็นความรู้ที่ทำให้มนุษย์ค้นพบตนเอง และอยู่เหนือพันธนาการทั้งปวง เป็นความรู้ที่จะทำให้มนุษย์เป็นอิสระ เข้าถึงความสุขอย่างแท้จริง
ข้อแตกต่างดังกล่าวนี้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักปรัชญาอินเดียส่วนใหญ่มาจากประสบการณ์ชีวิตและประสบการณ์ทางจิตวิญญาณของคนที่อยู่ในกลุ่มนักบวช ซึ่งเรียกกันในครั้งนั้นว่าสันยาสี และวนปรัสถ์ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มคนที่ปล่อยวางชีวิตแบบโลก ๆ แล้ว เหตุดังกล่าวนี้ จึงมักเรียกปรัชญาอินเดียว่า สมณธรรม หรือ พราหมณธรรม ขณะที่นักปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่เป็นนักคิด นักวิชาการ นักการศึกษา ซึ่งดำเนินชีวิตและกิจกรรมแบบปกติโลก ๆ


โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-8-2 07:14
Critical Survey of Eastern Philosophy.
สรุป:ลักษณะทั่วไปของปรัชญาอินเดียทั้งโบราณและร่วมสมัย


โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-8-2 07:15
การที่ปรัชญาทั้งหกระบบนี้ได้ชื่อว่าสายอาสติกะนั้น มิใช่เพราะว่าระบบทั้งหกนี้มีความเชื่อถือในความมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าสูงสุด แต่เพราะระบบเหล่านี้ยอมรับนับถือความขลัง ความถูกต้องสมบูรณ์และความศักดิ์สิทธิ์ของพระเวท

โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-8-2 07:16
ยกเว้นปรัชญาจารวจากเพียงระบบเดียว เพราะปรัชญาจารวจากเป็นปรัชญาวัตถุนิยมซึ่งมีแนวความคิดไม่ตรงกับแนวความคิดของระบบอื่นๆทั้งหมดของอินเดีย
(สุนทร ณ รังษี 2521 : บทนำ 1 – 8)


https://dhrammada.wordpress.com/eastern-philosophy/indian-philosophy/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%8D%E0%B8%B2%E0%B8%AD/

โดย: Sornpraram    เวลา: 2017-7-11 10:15





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2