Baan Jompra

ชื่อกระทู้: “พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” แห่งวัดหัวป่า สงขลา [สั่งพิมพ์]

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-4 18:00
ชื่อกระทู้: “พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” แห่งวัดหัวป่า สงขลา
“พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” แห่งวัดหัวป่า ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
[attach]13471[/attach]


●●●ประวัติหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า อ. ระโนด จ. สงขลา●●●
■ ชาติภูมิ ■
พระครูพิศิษฐ์บุญสาร (หลวงพ่อปลอด ปุญฺญสฺสโร) นามเดิมว่าปลอด นามสกุล อ่อนเเก้ว ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 10 ปี จอ ตรงกับวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2441 ที่ หมู่ 4 ต.ตะเครียะ อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวนพี่น้อง 6 คน ของนายสุก นางฝ้าย อ่อนเเก้ว สำหรับพี่น้อง ได้เเก่
นายดำ อ่อนเเก้ว
นางกิมเนี่ยว อ่ำปลอด
พระครูพิศิษฐ์บุญสาร
นายเถื่อน อ่อนเเก้ว
นายถัน อ่อนเเก้ว
นางซุ่นเนี่ยว อ่อนเเก้ว
■ ชีวิตยามปฐมวัย ■
เด็ก ชายปลอด อ่อนเเก้ว เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย เป็นบุตรที่อยู่ในโอวาทของบิดามารดา เป็นผู้ที่เปี่ยมไปด้วยเมตตาโอบอ้อมอารีเป็นที่รักของญาติพี่น้อง ครั้นพออายุควรเเก่การศึกษา บิดาจึงได้นำไปฝากพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เจ้าอาวาสวัดหัวป่าในสมัยนั้น เพื่อศึกษาภาษาไทย อักษรขอม และอักษรสมัยใหม่ต่างๆ ซึ่งพระอธิการคงได้รับไว้เป็นศิษย์และสอนให้ด้วยตนเอง จนกระทั่งมีความรู้ความสามารถ อ่านออกเขียนได้
■ บรรพชาและอุปสมบท ■
หลวงพ่อปลอด ได้รับการศึกษาอบรมด้านพระธรรมวินัย ครั้นพออายุได้ 19 ปี เกิดเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงได้ขอบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันพุธ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 8 ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 12 กรกฎาคม 2459 ณ วัดหัวป่า โดยมีพระอธิการคง ฆงคสสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้ว สามเณรปลอดก็ได้ศึกษาวิชาวิทยาเวทย์ และคาถาอาคมต่างๆจากหลวงพ่อคง ด้วยความเป็นผู้มีความเพียรสูง จึงได้ศึกษาวิชาต่างๆ จากหลวงพ่อคงอย่างรวดเร็ว พออายุครบอุปสมบท สามเณรปลอดก็ได้อุปสมบท เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 13 กรกฎาคม 2460 ตรงกับ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 8 ปีมะเส็ง ณ วัดหัวป่า โดยพระอธิการคง ฆงคสฺสโร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุก ธมฺมสโร และ พระชู ติสโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า“ปุญฺญสฺสโร”
■ ด้วยเหตุที่เป็นผู้ที่รักในการศึกษาหาความรู้ จึงเริ่มศึกษาพระพุทธศาสนา พระปริยัติธรรมเพิ่มเติม จนสอบผ่านและได้เลื่อนวิทยฐานะตามลำดับ ดังนี้
อายุ 35 ปี พรรษาที่ 14 สอบได้นักธรรมตรี นวกภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2475
อายุ 38 ปี พรรษาที่ 17 สอบไล่ได้นักธรรมโท มัชฌิมภูมิ ณ สำนักเรียนวัดหัวป่า ได้รับประกาศนียบัตรเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2478
วันที่ 5 ธันวาคม 2517 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิศิษฐ์บุญสาร” เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นตรี
วันที่ 5 ธันวาคม 2527 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระครูพิศิฐ์บุญสาร เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท
นอก จากความรู้ทางธรรมแล้ว ท่านยังได้ศึกษาเกี่ยวกับวิทยาเวทย์ จากอาจารย์ที่มีความรู้เรื่องไสยเวทย์ ไม่ว่าจะเป็นสมณะชีพราหมณ์ หรือเพศฆราวาส ได้ศึกษาภาษาขอมจากพระอาจารย์ไข่ ศึกษาวิธีทำตะกรุดพิศมร จากอาจารย์ทวดทองขาว ซึ่งเป็นฆราวาสและผู้เรืองวิทยาเวทย์แก่กล้ามาก โดยเฉพาะด้านคงกระพันชาตรี หนังเหนียว ศาสตราอาวุธทั้งหลายไม่สามารถทำอันตรายได้เลย
นอกจากนี้ยังได้ศึกษาเพิ่มเติมจากอาจารย์เพิ่ม ซึ่งเป็นฆราวาสอยู่ที่อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และจากพระอาจารย์ผู้เรืองเวทย์ต่างๆอีกมากมาย จนรู้แตกฉานทางวิทยาคมในแขนงต่างๆ จนในที่สุดได้เป็นพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกในงานต่างๆนับครั้งไม่ถ้วน
■นับได้ว่าหลวงพ่อปลอด เป็นพระอริยะสงฆ์ที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรม และเมตตาจิตรเป็นพระเถราจารย์ที่สำคัญรูปหนึ่งของภาคใต้ ท่านเป็นภิกษุที่มีความเมตตา ยินดีรับทุกข์ของทุกคนที่ไปขอความช่วยเหลือ ช่วยขจัดปัดเป่าความทุกข์ของผู้เดือดร้อน เป็นศูนย์กลางความสามัคคี ใครทะเลาะวิวาทกันก็เรียกมาพูดคุย จนกระทั่งคู่กรณียอมรับในคำตัดสิน แม้ในยามวิกาล ซึ่งส่วนมากจะเป็นผู้ถูกงูพิษกัด ได้รับการรักษาจนรอดปลอดภัยทุกราย ด้วยเหตุนี้ท่านจึงได้รับความเคารพนับถืออย่างสูงในละแวกบ้าน จนชาวบ้านเรียกท่านติดปากว่า“พระอาจารย์ปลอด” หรือ “พ่อท่านปลอด”
■ในทางวิชาแพทย์แผนโบราณ หลวงพ่อปลอดเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาโรคนานาชนิด เช่น การรักษาผู้วิกลจริต หรือเสียสติ การรักษาโรคพิษสุนัขบ้า ผู้ติดยาเสพติด ผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะวิชาสยบแมลงป่อง วิชาผสานพลังจิต เป็นที่เลื่องลือยิ่งนัก ท่านจึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของผู้ตกทุกข์ได้ยาก เป็นผู้สร้างประโยชน์ให้กับสังคม ช่วยเหลือทางราชการในการรักษาพยาบาล เนื่องจากสมัยนั้นโรงพยาบาลของรัฐมีไม่เพียงพอ และอยู่ห่างไกลการคมนาคมไม่สะดวก นอกจากนั้นท่านยังมีพลังจิต มีพลานุภาพในการทำน้ำพระพุทธมนต์เพื่อขจัดปัดเป่า ผู้ที่ถูกคุณไสยหรือผีเข้า ล้างสิ่งอัปมงคล และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ คือท่านมี “วาจาสิทธิ์” พูด อะไรจะเป็นไปตามที่พูดเสมอ ในแต่ละปีทางวัดจะจัดพิธีสรงน้ำหลวงพ่อปลอด ในเดือน 5 (เมษายน) ของทุกๆปี บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเฉพาะผู้ชายจะหมอบลงกับพื้น เริ่มที่ประตูห้องตลอดไปตามแนวระเบียงนอกชานกุฏิ จนถึงสถานที่ที่เจ้าหน้าที่ของวัดจัดไว้ เป็นที่ให้ลูกศิษย์และประชาชนทั่วไปมาสรงน้ำ โดยทุกคนต้องการให้หลวงพ่อเหยียบบนร่างกายของตนเพื่อเป็นสิริมงคล พร้อมกับอธิษฐานขอพรตามปรารถนา
■ งานด้านการปกครอง ■
พ.ศ. 2474 เป็นเจ้าอาวาสวัดหัวป่า
พ.ศ. 2478 เป็นเจ้าสำนักเรียนวัดหัวป่า
พ.ศ. 2507 เป็นพระอุปัชฌาย์
เนื่อง จากหลวงพ่อปลอดเป็นพระที่เคร่งครัดในธรรมวินัย ท่านจึงยึดมั่นในระเบียบการครองวัดตามระเบียบของมหาเถรสมาคม มีการทำอุโบสถ สังฆกรรม (สวดปาฏิโมกข์) ตลอดปี มีกฎระเบียบของวัดเกี่ยวกับ การบวชนาค นวกภิกษุ การเรียนการสอนปริยัติธรรม และการ อบรมศิษย์วัด เป็นต้น




โดย: AUD    เวลา: 2016-6-4 18:02
■ งานด้านการศึกษา ■
เนื่องจากหลวงพ่อปลอด เป็นผู้มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการศึกษา ท่านจึงพยายามสั่งสอนศิษย์ทุกคนให้ได้รับการศึกษา และหาความก้าวหน้าในชีวิตด้านการศึกษา วิธีการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้ศิษย์รักการศึกษา คือ การตั้งรางวัลให้ทุนกับผู้ที่มีความอุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร และเรียนดี นอกจากนั้น ท่านยังสนับสนุนโดยการส่งภิกษุสามเณร ที่ท่านเห็นว่ามีภูมิปัญญาควรแก่การส่งเสริมให้ไปศึกษาเล่าเรียน ณ สำนักเรียนอื่นๆ ซึ่งมีการจัดการศึกษาในระดับที่สูงกว่า ดังนั้น จะเห็นได้จากศิษย์ของหลวงพ่อปลอดหลายรูปจบปริญญาตรี โท และปริญญาเอก
■ การเผยแพร่พระศาสนา ■
ตั้งแต่ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสเป็นต้นมา ท่านเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในทางเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยเป็นผู้ให้การอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและประชาชน มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 – 2535 และในปี พ.ศ. 2519 ท่านได้ร่วมมือกับธรรมฑูตในการเผยแพร่ศีลธรรมให้กัวนักเรียนและชาวบ้านหัวป่า ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมทำความดี ทำบุญกุศล และร่วมพิธีในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และที่สำคัญคือ ท่านเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน ในช่วงเข้าพรรษาของทุกๆจะมีผู้เลื่อมใสศรัทธาบวชเรียนประจำพรรษาอยู่วัดหัว ป่า เป็นจำนวนมากจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
■ งานด้านสาธารณูปการและการพัฒนาวัด ■
หลวงพ่อปลอดนอกจากเป็นพระอาจารย์ที่เรืองวิทยาเวทย์แล้ว ยังเป็นพระผู้นำ พระนักพัฒนา ท่านชอบสร้างความเจริญให้กับท้องถิ่น ท่านไม่เคยอยู่นิ่งเลย ได้สร้างสิ่งต่างๆ อาทิ
□พ.ศ. 2483 สร้างอาคารเรียน โรงเรียนวัดหัวป่า มีลักษณะทรงปั้นหยา กว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร ราคาก่อสร้าง 2,000 บาท
□พ.ศ. 2492 สร้างพระอุโบสถถาวร หลังที่ 3 ทดแทนหลังเดิมที่ชำรุด
□พ.ศ. 2497 สร้างศาลาการเปรียญ ลักษณะทรงไทยชั้นเดียว กว้าง 14 เมตร ยาว 16 เมตร ราคาก่อสร้าง 70,000 บาท
□พ. ศ. 2505 เริ่มดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ เนื่องจากหลังเก่าชำรุดมาก จึงให้รื้อและสร้างใหม่ให้ถาวร กว้าง 9 เมตร ยาว 16 เมตร
□พ.ศ. 2513 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิ ลักษณะทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 3 เมตร ยาว 6 เมตร ค่าบูรณะ 20,000 บาท และในปีเดียวกันท่านได้ชักชวนให้ชาวบ้านขุดสระน้ำในในบริเวณที่ดินวัด เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี
□พ.ศ. 2515 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิลักษณะทรงไทย 2 ชั้น กว้าง 9 เมตร ยาว 9 เมตร ค่าบูรณะ 65,000 บาท ท่านได้ชักชวนให้ราษฎรบ้านหัวป่าพัฒนาเส้นทางคมนาคม โดยตัดถนนหน้าวัดยาว 2 กิโลเมตร
□พ.ศ. 2523 สร้างศาลาการเปรียญ (โรงธรรม)
□พ.ศ. 2524 สร้างเมรุเผาศพ (รื้อแล้ว)
□พ.ศ.2526 – 2527 สร้างหอระฆัง
■ช่วงสุดท้ายของชีวิต■
หลวงพ่อปลอดได้มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2537 สิริอายุรวม 97 ปี พรรษาที่ 76 ปัจจุบันร่างของท่านนอนสงบนิ่งอยู่ในโลงแก้ว ณ กุฏิหลังหลังเดิมของท่าน วัดหัวป่า อ.ระโนด จ.สงขลา

[attach]13472[/attach]

ที่มา..
1. น.อ.ชาติชาย นันทเสนีย์ เรื่อง หลวงพ่อปลอดวัดหัวป่า นิตยสารมหาโพธิ์ เล่มที่ 76-81
2. ทรงพล มากชูชิต นิตยสารเทียนชัย ฉบับพิเศษ
3. สุศิษย์ เรื่องชีวประวัติหลวงพ่อปลอด หนังสือระโนดสังสรรค์ ครั้งที่ 31


โดย: AUD    เวลา: 2016-6-4 18:04
'กฤษณกร กิติคุณ'กับ...ปาฏิหาริย์หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า : พระเครื่องคนดัง เรื่อง/ภาพ สุพิชฌาย์ รัตนะ ศูนย์ข่าวภาคใต้
[attach]13474[/attach][attach]13475[/attach][attach]13473[/attach]


"พระมีประสบการณ์” หมายถึงประสบการณ์ที่เกิดจากพุทธคุณด้านต่างๆ อาทิ แคล้วคลาด เมตตามหานิยม รวมทั้งมหาอุดหยุดลูกปืน ซึ่งเป็นเหตุผลแรกในการเลือกนิมนต์ขึ้นคอ เช่นเดียวกับ “กฤษณกร กิติคุณ” หรือ "เล็ก ระโนด” นักธุรกิจค้าผ้ารายใหญ่เจ้าของแบรนด์ "สุคนธ์พาณิช” ในฐานะผู้รับมรดกจำหน่ายอาภรณ์จากอาก๋งที่มาปักหลักเริ่มต้นที่ อ.ระโนด จ.สงขลา เป็นเวลายาวนานหลายสิบปี นอกจากนี้ "เล็ก ระโนด" ยังชื่นชอบพระเครื่องเป็นพิเศษ

              ด้วยความที่เติบโตมากับธุรกิจค้าขายบนแผ่นดินเมืองระโนดทำให้มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับพุทธศาสนา โดยเฉพาะ "วัดหัวป่า” ต.บ้านขาว อ.ระโนด จ.สงขลา ซึ่งในยุคนั้นต้นตระกูลได้มีโอกาสเป็นโยมอุปัฏฐากวัดแห่งนี้ โดยมีเจ้าอาวาส “พระครูพิศิษฐ์บุญสาร” หรือ "หลวงพ่อปลอด โดยชาวบ้านละแวกวัดเรียกขานตามภาษาถิ่นว่า “พ่อท่านปลอด” หรือ “ตาหลวงปลอด” จึงไม่น่าแปลกใจที่เจ้าตัวจะศรัทธาและเลื่อมใสใน "หลวงพ่อปลอด” เป็นอย่างมาก

              “กฤษณกร” บอกว่า ปัจจุบันจึงมีพระที่ติดตัวประจำคือ “รูปเหมือนปั๊มรุ่นแรกหลวงพ่อปลอด กะไหล่ทอง ปี ๒๕๑๒” และ “นางกวักหลวงพ่อปลอด” ติดตัวไม่เคยห่างกาย ด้วยเพราะเกิดประสบการณ์กับชีวิตมาชนิดนับครั้งไม่ถ้วน ทั้งรอดตายปาฏิหาริย์จากอุบัติเหตุ และช่วยให้ผ่านวิกฤติทางเศรษฐกิจจนประสบความสำเร็จในธุรกิจได้อย่างไม่น่าเชื่อ

              โดยครั้งหนึ่งช่วงเป็นเด็ก “กฤษณกร” มักจะเก็บเงินค่าขนมนำไปเช่าพระมาเก็บตามความชอบและกำลังที่พอหาเช่าได้ โดยอาศัยหาความรู้จากหนังสือพระและผู้ใหญ่ละแวกที่บ้านคอเดียวกันแต่เพราะยุคนั้นไม่มีอินเทอร์เน็ตและบุคคลที่เชี่ยวชาญคอยสอนวิธีการดูพระเก๊หรือพระแท้ที่ถูกต้องและถูกหลัก

              "วันหนึ่งผมได้เดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ จึงมีโอกาสเดินเข้าสนามพระชื่อดังหวังจะนำพระที่มีไปเปลี่ยนเป็นเม็ดเงินเพื่อทำธุรกิจเล็กๆ กับพรรคพวก แต่ปรากฏว่าพระที่ครอบครองอยู่นั้นล้วนเป็นพระเก๊ทั้งสิ้น ซึ่งหากคิดเป็นมูลค่าในปัจจุบันยอมรับว่ามีมูลค่ามหาศาลและนั่นจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ต้องกลับมาเรียนรู้และศึกษาพระอย่างจริงจังมากขึ้น" เล็ก ระโนด กล่าว

              ด้วยประสบการณ์ที่เจอกับตัวจึงได้เดินทางกลับบ้านเพื่อตั้งหลักใหม่จึงมีโอกาสได้เห็น "นางกวัก” ของหลวงพ่อปลอด ซึ่งเป็นวัตถุมงคลที่ไม่มีราคาค่างวดมากนัก จึงลองหยิบขึ้นมาแล้วตั้งจิตอธิษฐานว่าให้ช่วยลูกช้างผ่านวิกฤติทางการเงินให้ได้แล้วจะนิมนต์ติดตัวพร้อมกับห่มคลุมจีวรทอง

              “แทบไม่น่าเชื่อว่ารุ่งขึ้นเช้าวันที่ ๑๖ ซึ่งเป็นวันที่มีการออกสลากกินแบ่งรัฐบาลปรากฏว่าผมถูกรางวัลใหญ่สามารถนำเงินมาจุนเจือธุรกิจได้สำเร็จ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายครั้งหลายคราที่ผมอธิษฐานนางกวักหลวงพ่อปลอดขอให้ช่วยเหลือยามวิกฤติมาเยือนซึ่งก็สมปรารถนาทุกคราไป” กฤษณกร กล่าว

              นอกจากนี้ยังมีพระเนื้อผงเล็บมือหลวงพ่อปลอดที่มักจะพกติดตัวตลอดเวลา เพราะมีพุทธคุณดีเด่นในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย และที่สำคัญในอดีตชาวบ้านที่ได้รับมอบพระรุ่นนี้จากหลวงพ่อปลอดจะนำไปฝนกับน้ำซาวข้าวเพื่อรักษาอาการบาดเจ็บจากพิษจากแมลง สัตว์ กัด ต่อย ไม่เว้นแม้กระทั่งงูเงี้ยวเขี้ยวขอ

              “จากประวัติหลวงพ่อปลอดได้ศึกษาด้านแพทย์แผนไทยจนแตกฉานจนเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดรักษาโรคนานาชนิด เช่น รักษาไข้ รักษาผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะวิชาสยบแมลง จึงเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของผู้ตกทุกข์ได้ยาก อีกส่วนหนึ่งที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ลูกศิษย์ คือท่านมีวาจาสิทธิ์ พูดอะไรจะเป็นไปตามที่พูดเสมอ ในแต่ละปีทางวัดจะจัดพิธีสรงน้ำหลวงพ่อปลอด ในเดือน ๕ (เมษายน) ของทุกๆปี” กฤษณกร กล่าว


ที่มา http://www.komchadluek.net/detail/20140301/179962.html



โดย: AUD    เวลา: 2016-6-4 18:18
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2016-6-4 18:19

“อำเภอระโนด”  เมื่อ 40 ปีก่อน


[attach]13476[/attach]


ปัจจุบันเป็นแบบภาพด้านล่างครับ


[attach]13477[/attach]



: สำหรับ “อำเภอระโนด” นั้น เป็น อำเภอหนึ่ง ในจำนวน ๑๖ อำเภอของจังหวัดสงขลา ที่เป็นศูนย์กลางของการค้าธุรกิจในสมัยอดีต ที่มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างที่สุดในสมัยก่อน กลับกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศย์ในอนาคตอันใกล้

: มองย้อนกลับไปประมาณเมื่อ ๔๐ ปีทีผ่านมาของอำเภอระโนด จากความทรงจำของกระผม สมัยยังเป็นเด็กนักเรียนที่ ร.ร. วัดคลองแดน พร้อมอุปถัม ระโนดมีแต่สะพานไม้เคี่ยมทอดยาวตั้งแต่ตลาดทิศตะวันออกจนถึงตะวันตกยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เด็กสมัยนั้นไม่ค่อยมีรองเท้าใส่กันนอกเสียจากผู้ที่อาศัยในตลาดจึงจะมีใส่กัน เด็กที่อยู่ไกลตลาดส่วนมากเดินเท้าเปล่า สะพานไม้เคี่ยมจะมีเสี้ยนสีดำๆ ถ้าเดินไม่ระวังจะถูกเสี้ยนไม้แทง การเดินเท้าเปล่าบนสะพานตอนเช้ายังเดินแบบสบาย เพราะสะพานยังไม่ร้อน แต่พอช่วงกลางวันแดดจัดๆบนพื้นไม้สะพานร้อนมากจนอาจทำให้พองได้ จึงต้องเดินให้เร็วหรือวิ่งหรือไม่ก็ต้องหลบไป เดินตรงบริเวณที่มีเงาบ้าน บ้านจะสร้างติดสะพาน ทอดยาวเชื่อมติดกันตลอด และมีแนวชายคาบ้านยื่นออกมาเกือบครึ่งสะพาน

: เมื่อถึงหน้าฝน ระโนดจะเกิดน้ำท่วมหรือน้ำพะทุกปีทำให้กระดานไม้เคี่ยมหลุดลอยไปกับน้ำทำให้เกิดเป็นร่อง ถ้าเดินไม่ระวังก็ตกร่องหรือลอดร่องสะพาน ต้องเดินงมกันไปตลอดทาง กว่าจะถึงที่หมายก็ใช้เวลานานพอควร จำได้ว่านักเรียนคนไหนที่พลาดตกร่องเสื้อผ้าเปียกก็กลับบ้านไม่ต้องเรียนหนังสือในวันนั้น ก็ได้เล่นน้ำทั้งวันไป สมัยนั้นแต่ละบ้านส่วนมากมีเรือพายใช้กัน
ระโนดมีเรือหางยาวที่เป็นเอกลักษณ์ของคนระโนดเป็นเรือมาดที่ขุดจากต้นไม้ทั้งต้นตัวเรือจะเรียวสวยงามมาก เป็นเรือรับจ้างวิ่งรับผู้โดยสารจากตำบลต่างๆ ของอำเภอ ตลอดจนจังหวัดใกล้เคียง เช่น นครศรีธรรมราช พัทลุง ประมาณได้ว่าเกีอบ ๑๐๐ ลำ คลองระโนดไม่เงียบเหงาเหมือนสมัยนี้ ระโนดเป็นเมืองน้ำ ชาวระโนดจะต้องยอมรับความจริงในข้อนี้และเมื่อเป็นเมืองน้ำก็ต้องพยายามหาประโยชน์จากทางน้ำ

: ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
www.zoonphra.com
: ภาพประกอบ คุณมณฑลี ธาระวานิช
: ขออนุญาติเจ้าของเรื่อง-เจ้าของภาพ



โดย: AUD    เวลา: 2016-6-4 18:21
[attach]13478[/attach]


เส้นทางการคมนาคมของชาวระโนดคือทางเรือ แต่เมื่อถนนสายหัวเขาแดงสร้างเสร็จความสำคัญทางเรือก็เริ่มลดน้อยลงไป ในสมัยก่อนมีเรือยนต์วิ่งจากระโนดไปสงขลา จากระโนดไปพัทลุง จากระโนดไปคลองแดนเส้นทางนี้จะผ่านวัดของหลวงพ่อเรือง วัดหัววัง และจากระโนดไปตะเครียะซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดหัวป่า ชึ่งมีเกจิดังของเมืองนี้ก็คือหลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า การไปตะเครียะสมัยก่อนคนนอกพื้นที่ไม่มีใครอยากจะไปเพราะเส้นทางต้องผ่านดินแดนอาถรรพ์บริเวณอ่าวศาลาทัน ที่เรือต่างพื้นที่ต้องมาล่มลงผู้คนเสียชีวิตเป็นสิบๆ คน หลายครั้งหลายคลาฆ่า ชีวิตคนมาแล้วหลายร้อยกว่าคน มีคนเฒ่าคนแก่เล่ากันว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะเรือลำที่จมในตอนที่วิ่งตัดผ่านอ่าวศาลาทันมิได้ขอขมาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลอ่าวเสียก่อนและบางรายบอกว่าเรือลำนั้นวิ่งข้ามเศียรพระพุทธรูปซึ่งจมอยู่ใต้ท้องทะเลในละแวกนั้น เนื่องจากในสมันก่อนในอ่าวศาลาทันหรือพื้นที่ใกล้เคียงเคยมีวัดตั้งอยู่ บางคนบอกว่าบริเวณอ่าวศาลาทันมีน้ำวน เมื่อเป็นเช่นนี้ แน่นอนครับ
: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า และวัตถุมงคลของท่านถูกเก็บเงียบอยู่ในพื้นที่เป็นเวลากว่า ๓๐ ปี เมื่อ ถนนหนทางที่จะไป วัดหัวป่าสะดวกขึ้น วัตถุมงคลของท่านเริ่มแผ่รัศมีไปทั่ว จังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียงโดยปากต่อปาก
: มาวันนี้ถนนสายระโนด–พัทลุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว เป็นถนนยกระดับทอดยาวประมาณ ๒๐ กม.บรรยาการสองข้างทาง จากวัดเขาอ้อกับวัดหัวป่าหรีอบ้านหัวป่ากับบ้านทะเลน้อย อ.ควนขนุน ด้านหลังเป็นทะเลสาบสงขลา อีกด้านหนึ่งของถนนเป็นทะเลน้อย มองใกล้ๆข้างถนนเห็นวัว ควาย เป็นฝูงๆ ในทุ่งหญ้า เห็นนกบินเป็นฝูงๆ ในท้องฟ้าและบนดินนกก็เดินหากินกันเป็นฝูงๆ ชาวประมงหาปลาทอดแห ลงอวน สุ่มปลา ข้างถนนบางช่วงก็มีพืชพันธ์สาหร่ายบึงบัวนานาชนิด ป่าไม้ ทุ่งหญ้า มองไกลๆ ออกไปเห็นทิวเขาทิวป่าไม้ เห็นเรือหาปลาในทะเลทิวทัศน์สวยงามมาก อากาศก็แสนบริสุทธิ์ น่าพาครอบครัวหรือคู่หมั้นไปทัศนาจร ข้ามคลองนางเรียม ซึ่งเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลสาบกับทะเลน้อยอดีตมีจระเข้อยู่ชุกชุม ตามกลอนมโนราห์โบราณที่ว่า "หากพ่อไปทางทะเลจะเป็น เหยื่อเข้หรือเหรา" นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ก็ว่าได้
: จึงไม่แปลกที่ทำให้ผู้คนหลั่งไหลมายังวัดหัวป่ามากมายทั่วสารทิศบวกด้วยประสบการณ์ของวัตถุมงคลที่ชัดเจนของแต่ละรุ่น จึงส่งและทำให้วัตถุของท่านทุกรุ่น แพงขึ้นเรื่อยๆและทำถ้าว่าจะแพงขึ้นไปอีก ส่วนเรือที่วิ่งระหว่างระโนดกับสงขลาที่ขึ้นชื่อก็มีอยู่หลายลำ ซึ่งจะออกจากตลาดประมาณ ๒ ทุ่มถึง ๓ ทุ่ม ไปถึงสงขลาก็ใกล้สว่างประมาณตี ๕
: ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
www.zoonphra.com
: ภาพประกอบ คุณมณฑลี ธาระวานิช
: ขออนุญาติเจ้าของภาพ-เจ้าของเรื่อง




โดย: AUD    เวลา: 2016-6-4 18:23
[attach]13479[/attach]


มีเรื่องเล่าที่ตื่นเต้นเรื่องหนึ่งให้ผู้อ่านได้ฟัง คือในคืนวันหนึ่งขณะที่เรือยนต์กำลังวิ่งจากระโนดไปสงฃลา ในตอนนั้นเป็นเวลาดึกมากแล้วผู้โดยสารส่วนใหญ่จะนอนหลับกันหมด เพื่อนของผู้เขียนซึ่งเป็นคน บ้านตะเครียะ ต้องการจะไปห้องน้ำซึ่งอยู่ท้ายเรือ จึงได้เดินลัดเลาะไปตามกราบเรือ จะด้วยสาเหตุเพราะความง่วงนอนหรือเหตุผลอื่นใดไม่ทราบ จึงได้พลัดตกไปในทะเลสาบ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำเรือหรือผู้โดยสารคนใดทราบเลย เขาเล่าว่า ตัวเขาเองว่ายน้ำไม่เก่ง และกระแสน้ำเชี่ยวมาก เขาคิดอยู่ในใจว่าคงตายแน่นอน จะตะโกนให้ใครช่วยเหลือก็ไม่มีใครได้ยิน เรื่องความกลัวเขาบอกว่าไม่ต้องพูดถึง และในขณะนั้นได้เกิดภาพความน่ากลัวเกิดขึ้นต่างๆ นานา และสิ่งที่ทำให้เขาตกใจกลัวมากที่สุด คือ แสงระเรื่อสีเขียวอ่อนเกิดขึ้นรอบตัวเขา และแน่นอนที่เขาคิดว่ามันไม่ใช่สิ่งอื่นใดนอกจากผีพลายตามผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟังเขาแถบหมดสติ ความหวังสุดท้ายก็ต้องพึ่งพระที่ห้อยคอ ก็ได้เอามือไปกำพระที่อยู่ในคอ และได้เกิดภาพพระสงฆ์ขึ้นมารูปหนึ่ง เขาหลับตาชั่วหนึ่ง ทันใดนั้นน้ำได้พัดพาร่างของเขาไปชนกับเสาโพงพาง เขาบอกว่าโชคดีที่ไม่ติดเข้าไปในโพงพางจึงได้อาศัยเกาะเสาหลักอั้นนั้นเอาไว้แน่น ความหนาวเย็นและความกลัวไม่ลดลงไปได้เลย เขาเกาะเสาหลักอยู่นานเท่าใดไม่สามารถทราบได้แน่นอน แต่เป็นเวลานาน ต่อมาเขาเห็นเรือพายลำหนึ่งพายเข้ามาหา จึงได้ร้องตะโกนขอความช่วยเหลือ แทนที่เรือลำนั้นจะพายเข้ามา แต่กลับรีบพายหนีออกไปโดยไม่มองกลับหลังอีกเลย และมาทราบเอาตอนรุ่งเช้าจากเจ้าของโพงพางนั้นว่าที่เขาพายเรือหนีไปเพราะพวกเขาคิดว่าเป็นผีพลาย เนื่องจากไม่คิดว่าในเวลานั้นและสถานที่นั้นจะมีมนุษย์มาจับเสาโพงพางอยู่เป็นแน่แท้ ในตัวของเขานั้นเล่ามีเพียงเนื้อว่านรุ่น "อินโดจีน" เพียงรุ่นเดียวเท่านั้น ที่แม่ได้รับมาจากตาหลวงปลอด แห่งวัดหัวป่า นานมาแล้วเป็นเนื้อว่านรุ่นแรกของท่านที่ท่านทำเอง และแม่ก็มอบให้เขาไว้เพื่อคุ้มครอง
: ท่ามกลางทะเลสาบอันแสนจะเงียบเหงาและห่างไกลจากความเจริญ น้อยคนนักที่จะคิดไปว่า การห่างไกลออกจากตัวเมืองระโนดไปอีกประมาณ 10 กม. ที่สมัยก่อนต้องเดินทางเรือหรือเดินเท้าใช้เวลาเป็นวัน จะมี พระอริยสงฆ์ ที่เป็นผู้ทรงวิทยาคมเรืองวิทยาเวทย์บำเพ็ญตนในเพศสมณะที่สมบูรณ์ด้วยศีลาจริยาวัตรอันงดงามประกอบด้วยวัตรปฏิบัติอันสมถะสันโดษ ปราศจากมลทินใดๆ พลังจิตแก่กล้าเปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง และมีปัญญา แห่งธรรมอันล้ำเลิศ ดุจหนึ่งเป็นเพชรน้ำเอก ของผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาจากองค์ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีปฏิปทาอันน่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส่อย่างที่สุดเป็นร่มโพธิ์ร่มไทรครองจิตใจผู้คนทั่วไป พุทธศาสนิกชนต่างทราบเกียรติประวัติของพระอริยสงฆ์รูปหนึ่งเป็นอย่างดี ...พระเดชพระคุณเจ้าที่กล่าวถึงนี้คือ... ท่านพระครูพิศิษฐ์บุญสารหรือหลวงพ่อปลอด แห่งวัดหัวป่า ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

: ประวัติเกจิอาจารย์ดัง: หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า
www.zoonphra.com
: ภาพประกอบ คุณมณฑลี ธาระวานิช
ขอนุญาติเจ้าของภาพ-เจ้าของเรื่อง



โดย: AUD    เวลา: 2016-6-4 18:30
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2016-6-4 18:32

ยังไม่จบครับ เด๊่ยว ค่อยมาต่อแล้วกัน

[attach]13480[/attach]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-6-8 07:43
AUD ตอบกลับเมื่อ 2016-6-4 18:30
ยังไม่จบครับ เด๊่ยว ค่อยมาต่อแล้วกัน

รออยุ่นะ เตง  
โดย: AUD    เวลา: 2016-6-8 22:16
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2016-6-8 07:43
รออยุ่นะ เตง

ก็เก๊า นึกว่าไม่มีใครสนใจอ่าน เลยไม่ได้มาลงต่อ
โดย: AUD    เวลา: 2016-6-8 22:21
นายเสาร์ เกิดขัดใจกันด้วยเหตุผลส่วนตัวกับ นายเจริญ (ยามเยี้ยน) ศรีนอง และไม่สามารถตกลงกันได้ ในที่สุดเกิดท้าดวลปืนกันขึ้นข้างโรงสูบน้ำชลประทานที่ข้างวัดหลวงพ่อนั่นเอง ทั้งสองฝ่ายสาดกระสุนเข้าหากันจนกระสุนหมดรังเพลิง ปรากฏว่าไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกกระสุนเลย ในที่สุดจึงหันหลังแยกจากกันไป
สองคนน้าเสากับหลวงเยื้อนเป็นศิษย์รักตาหลวงแกบอกว่าไม่ต้องไปห้ามมันเพราะมันทำไหรกันไมได้ เพราะก่อนเกิดเรื่องมีคนไปบอกตาหลวงแล้วว่าให้ไปห้ามแล้วตาหลวงบอกว่าไม่เป็นไรมันทำไหรกันไม่ได้เดียวมันเลิกเอง ปากศักดิ์สิทธิ์ครับ..


[attach]13489[/attach]





โดย: AUD    เวลา: 2016-6-8 22:31
[attach]13490[/attach]

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-8 22:35
[attach]13491[/attach][attach]13492[/attach]

พ่อเล่าให้ฟังว่ามีโยมผู้หญิงเขาบนติดทองตาหลวงแต่เขาเป็นผู้หญิงตาหลวงเลยให้พ่อติดแทนโยมคนนั้น เมื่อประมาณ 45 ปีที่แล้ว

: เล่าเรื่อง vanida phengnoo
: บุคคลในภาพ นายรุ่น เพ็งหนู


โดย: AUD    เวลา: 2016-6-8 22:38
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2016-6-10 21:05

สรงน้ำวันสรงกรานต์

งานอาบน้ำพ่อเฒ่าหลวงเป็นงานวัดที่หนุกกันมากสมัยแต่แรก โดยเฉพาะช่วงที่พ่อเฒ่าหลวงเดินหยียบบนหลังโหมลูกศิษย์คนชาย ช่วงนี่แหละหนุกกันจัง พอพ่อเฒ่าหลวงเดินมาถึงคนไหนที่ท่านรู้จักหรือว่าใครที่เป็นคนตลกๆ ท่านจะเหยียบเน้นเป็นพิเศษ เหยียบจนร้องโอ้ย!!! ชาวบ้านก็หัวเราะชอบใจหนุกกันทั่วหน้า ได้เห็นพ่อเฒ่าหลวงแกล้งลูกศิษย์ แล้วท่านจึงเดินต่อไป...

เล่าเรื่อง : อ.ประสาร มีปาน หลานตาหลวง


[attach]13493[/attach]


ระหว่างเดินไปปรัมพิธีสรงน้ำ ประชาชนนอนคว่ำหน้าให้ตาหลวงเหยียบหลังเพื่อเป็นสิริมงคล บ้างก็ว่าหายปวดหายเมื่อย บ้างก็ว่าแคล้วคลาดปลอดภัย


[attach]13514[/attach]






โดย: AUD    เวลา: 2016-6-8 22:41


โดย: Marine    เวลา: 2016-6-8 23:36

โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-6-9 06:28
AUD ตอบกลับเมื่อ 2016-6-8 22:41

ตื่น ๆ ๆ  
โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:11

[attach]13501[/attach]

พระเกจิสายใต้ โดยเฉพาะตาหลวงปลอด ท่านมีความเชื่อและท่านถือมากที่จะไม่ทำรูปเคารพ ของตนเองก่อนรูปของพระพุทธและรูปของพระอาจารย์
ดังนั้น พระเครื่องยุคแรกของท่าน ก่อนปี ๒๔๘๕ จึงมักเป็นเครื่องราง ผ้ายันต์ ลูกอม แท่งว่าน ถัดมาจึงเป็นพิมพ์พระพุทธแล้วจึงเป็นพิมพ์ถวายพระอาจารย์คง

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:18

[attach]13502[/attach]
รัดประคตของตาหลวงเป็นที่ต้องการของลูกศิษย์ใกล้ชิดมากที่สุด เนื่องจากตาหลวงจะทำพิธีสรงน้ำปีละครั้ง ในเดือน ๕ และในวันนั้นแหละเป็นวันที่ตาหลวงจะเปลี่ยนรัดประคต
: ลูกศิษย์จะแย่งชิงกันจนจะเกิดเหตุ ในที่สุดต้องนำมาตัดเป็นท่อนๆแบ่งกัน ผู้ที่ได้ไปจะนำติดตัวเพื่อเป็นศิริมงคลและปกป้องผองภัยนานาประการ เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าเศษรัดประคตเพียงนิดเดียวมีอภินิหารป้องกันชีวิตผู้นำติดตัวมาแล้ว
น.อ.ชาติชาย นันทเสนีย์
หนังสือมหาโพธิ์ ฉบับที่ ๗๖-๘๑ พ.ศ.๒๕๒๘


โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:31
[attach]13503[/attach]

ผ้ายันต์รอยมือ รอยเท้า สร้างก่อนปี ๒๕๒๘

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:32
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2016-6-10 20:36

[attach]13504[/attach]

พระนางกวัก
เนื้อผงว่าน พระพิมพ์นี้หลวงพ่อสร้างเจาะจงเฉพาะให้ศิษย์ที่เป็นผู้หญิงโดยเฉพาะ พุทธานุภาพทางด้านเมตตามหานิยมโชคลาภ และยังมีสรรพคุณในทางรักษาโรคพิษร้ายจากอสรพิษนานาชนิดเดียวกับพระรูปเหมือนหลวงพ่อคงด้วย

น.อ.ชาติชาย นันทเสนีย์
หนังสือมหาโพธิ์ ฉบับที่ ๗๖-๘๑ ๒๕๒๘

: ปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เรัยกได้ว่านางกวักหลวงตาปลอดเบอร์ ๑ ของภาคใต้ก็ว่าได้


[attach]13507[/attach]

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:33
[attach]13505[/attach]

: ชานหมาก หลวงพ่อฉันหมากเป็นประจำ แต่ท่านจะฉันคำเล็กๆไม่ฉันคำโตๆ เช่นที่เห็นผู้กินหมากทั้งหลาย ฉะนั้น ชานหมากของหลวงพ่อถ้าจะได้รับแต่ละครั้ง ก้อนจะเล็กประมาณปลายนิ้วก้อย บางครั้งก็เล็กกว่า ฉะนั้นเรื่องชานหมากจึงไม่มีให้ศิษย์ทั่วไป ใครอยากได้ต้องคอยจ้องขอท่าน ซึ่งท่านก็เมตตาให้กับทุกคนที่ต้องการ ส่วนประสบการณ์นั้นเท่าที่สอบถามจากศิษย์ใกล้ชิด เรื่องแคล้วคลาดเป็นที่หนึ่

น.อ.ชาติชาย นันทเสนีย์
หนังสือมหาโพธิ์ ฉบับที่ ๗๖-๘๑

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:34
[attach]13506[/attach]

ลูกอมข้าวก้นบาตร ผสมผงอิทธิเจ(ปิดทอง) ท่านทำไว้จำนวนน้อย จึงไม่ค่อยมีใครได้รับและเป็นที่แพร่หลายอย่างกว้างขวา

น.อ.ชาติชาย นันทเสนีย์
หนังสือมหาโพธิ์ ฉบับที่ ๗๖-๘๑

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:39
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย AUD เมื่อ 2016-6-10 20:44

[attach]13510[/attach][attach]13509[/attach]
โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:47
[attach]13511[/attach]

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 20:50
[attach]13512[/attach]

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 21:04
[attach]13513[/attach]

: รดน้ำศพตาหลวง ๒๕๓๗
: ภาพ ครูวัฒนา ดำแดง




ข้อมูลทั้งหมด นำมาจากเพจ  สมุดบันทึกตาหลวงปลอด วัดหัวป่า

โดย: AUD    เวลา: 2016-6-10 22:02
พ่อท่านปลอด วัดหัวป่า อ.ระโนด จ.สงขลา ชั่วอายุของท่าน อยู่ในร่มกาสาวพัตร เกือบร้อยปี บรรพชาเมื่อ พ.ศ.2459 อุปสมบท เมื่อ พ.ศ.2460 ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดหัวป่า เมื่อ พ.ศ.2474 ถึง พ.ศ.2536 เป็นเวลา ถึง 62 ปี นับว่า เป็นการครองเจ้าอาวาส ที่นานที่สุด เมื่อเทียบกับเจ้าอาวาส วัดในจังหวัดสงขลา ในอดีต อ.ระโนด คืออำเภอที่ยากจนที่สุด ใน จ.สงขลา กันดารที่สุด ยิ่งวัดหัวป่า ซึ่งอยู่ห่างจากตัวอำเภอ เกือบ 20 กิโลเมตร ความลำบาก คือนิยามของพื้นที่นี้ ขุนโจร นักเลง มากมายจึงมาที่นี่ เนื่องจากยากนักที่ ทางการจะตามตัวได้ เท่าที่ผมจำความได้ พ.ศ.2533 ทีคนเมืองมีมือถือใช้ ที่บ้านหัวป่า ยังไม่มีไฟฟ้า ใช้ ไม่มีถนน คอนกรีต หรือ ถนนลาดยาง เลยครับ ในห้วงเทศกาลเดือนสิบ ผู้ที่เดินทางไปยังวัดหัวป่า จำนวนมาก มักหันหลังกลับที่บริเวณ วัดบ้านใหม่ ด้วยความยากลำบากของการเดินทาง หากแดนออก ฝุ่นแดงยังกับพายุ มองไม่เห็นสิงใดเลย หากฝนตก จะเจอทะเลโคลน บนถนน การเป็นเจ้าอาวาส วัดหัวป่าขณะนั้น พ.ศ.2470 จากคำบอกเล่า ของญาติผู้ใหญ่ และ รศ.สุทธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ บอกไว้ว่า “” พ่อท่าน หรือเจ้าอาวาส ต้องทำได้ทุกอย่าง และอยู่เหนือ ทั้ง ตำรวจ ทหาร ครู อาจารย์ ผู้ใหญ่ กำนัน วิศวกรช่างก่อสร้าง หมอ พ่อแม่ บางครั้งต้อง เป็น นักเลงด้วย “” โดยมีกำลังหลักคือ พระธรรมคำสอน มนต์คาถา และพลังศรัทธา อันได้มาจากวัตรปฏิบัติ และการยอมรับจากสังคม ด้วยความที่ พ่อท่านปลอด ต้องทำหน้าที่ แพทย์ ไปในตัว ขณะที่เป็นเจ้าอาวาส ณ เวลานั้น
โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-10-30 05:51

โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-10-30 06:04

ใบฝอยพระเครื่อง หลวงพ่อปลอด วัดหัวป่า (โดยหลวงเบิร์ด)

http://www.tumsrivichai.com



โดย: Metha    เวลา: 2016-11-2 03:20





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2