ตำนานพระเสาร์ โดย : สยามคเณศ ในคัมภีร์ปุราณะว่าพระเสาร์เป็นโอรสพระอาทิตย์กับพระนางฉายา อีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นโอรสของพระพลราม (มหากาพย์มหาภารตะ) กับนางเรวดี นางสังคณา (หรือพระนางสรัณยา) ธิดาแห่งพระวิศุกรรม เป็นพระชายาของพระสุริยะ อยู่ด้วยกันจนมีบุตรสามพระองค์ ต่อมาพระนางสังคณาทนแสงพระอาทิตย์ไม่ไหว จึงหลบหนีไป ยอมให้พระนางฉายาอยู่เป็นชายาแทน เมื่อสลับตัวกันแล้ว พระสุริยะก็ไม่รู้ว่าชายาของตนสับตัวกัน วันหนึ่งนางฉายาก็เป็นอันหมั่นไส้โกรธพระยม ซึ่งเป็นหนึ่งในโอรสของพระสุริยะกับพระนางสังคณา นางฉายาจึงกล่าวแช่งพระยม เมื่อพระยมได้รับผลตามคำสาบแช่งของพระนางฉายา พระสุริยะจึงทราบว่าพระนางไม่ใช่มารดาของพระยม ไม่ใช่ชายาคนเดิมของพระองค์ ต่อมาภายหลังพระนางฉายาก็มีบุตรกับพระสุริยะ (พระอาทิตย์) นามว่า พระเสาร์ พราหมณ์ถือกันว่า พระเสาวร์เป็นเทพเจ้าผู้เคราะห์ร้าย บ้างก็ว่าพระเสาร์เป็นเทพที่มีรูปร่างหน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว ผอม หลังค่อม ขาพิการ เหตุที่ขาเขยก เดินกระเผลกนี้มีที่มาดังเรื่องเล่าในคัมภีร์พรหมมาไววรรตะปุราณะ เมื่อพระคเณศประสูติแล้ว เหล่าเทพเทวดาทั้งหลายได้เข้าเฝ้าพระศิวะ (อิศวร) กับพระนางอุมาเทวี (ปารวตี) และได้เข้าชมเทวบุตรองค์น้อยนั่นคือพระคเณศ เทพเทวดาต่างเรียงแถวกันเข้าไปชื่นชมบุตรแห่งพระผู้เป็นเจ้า รวมทั้งพระเสาร์ แต่เมื่อถึงตาพระเสาร์อวยพรพระบุตร พระเสาร์กลับก้มหน้าไม่ยอมเงยหน้าขึ้นมองพระพิฆเนศ พระแม่อุมาเทวีจึงตรัสถามว่า เหตุอันใดจึงไม่แลดูบุตรของเรา พระเสาร์ตอบว่า วันหนึ่งขณะพระเสาร์กำลังนั่งสมาธิเข้าฌาน ตั้งจิตระลึกถึงพระวิษณุมหาเทพแห่งจักรวาล ซึ่งเป็นเวลาหลายชั่วยาม พระชายาของพระเสาร์ก็เดินเข้ามาหมายจะมาพูดคุยด้วย แต่พระเสาร์ก็หาได้สนใจไม่ ยังคงนั่งสมาธิไม่ถอนออกจากภวังค์ พระนางจึงกริ้วสาปแช่งไปว่า "ถ้าพระเสาร์ลืมตามาและเพ่งดูผู้ใด ขอให้ผู้นั้นพินาศ" พระนางจึงไม่สนใจพระเสาร์นับแต่นั้น พระนางปารวตีได้ฟังเช่นกันก็หาได้สนใจไม่ ยังคงรบเร้าให้พระเสาร์แลดูบุตรอันงดงามแห่งตน พระเสาร์จึงเชิญพระยมมาเป็นพยานว่า ได้รับการอนุมัติจากพระนางปารวตีแล้ว จึงเพ่งมองดูพระพิฆเณศวร์ ทันใดนั้นด้วยคำสาปของชายาพระเสาร์ เศียรพระพิฆเนศวรจึงหลุดออกจากบ่าทันที ลอยไปไกลถึงไวกูณฐ์สวรรค์แห่งพระวิษณุนารายณ์ เมื่อพระวิษณูทราบต้นเหตุแห่งการลอยกระเด็นมาของเศียรเด็กชายนี้ จึงอาสาออกไปยังลำน้ำปุษปภัทร์ ตัดเอาศีรษะของช้างที่นอนหันหัวไปทางทิศตะวันตกอยู่ริมลำน้ำ มาติดให้ที่บ่าของพระพิฆเนศ (นี่ก็เป็นอีกตำนานหนึ่งเรื่องเศียรช้างของพระคเณศ) พระศิวะและพระนางอุมาเทวี มีความยินดีประทานพรต่างๆให้กับเหล่าทวยเทพฤาษีชีพราหมณ์ที่มาเข้าเฝ้าอวยพระพรบุตรของตน ให้ได้รับแต่ความสวัสดีมีชัย เว้นแต่พระเสาร์เท่านั้น ยังถูกพระนางอุมาเทวีสาปแช่งให้เป็นขาเขยกต่อมาอีก พระเสาร์จึงเป็นเทพผู้อาภัพ อีกทั้งยังเป็นเทพผู้ดุร้ายใจดำ เป็นเทพผู้เคียดแค้น ตามตำราจึงพรรณาถึงรูปกายของพระเสาร์ว่ามีสีกายดำสนิท นั่งบนหลังพญาแร้ง บ้างก็บักทึกว่านั่งบนหลังครุฑเป็นพาหนะ ตามตำราของไทยว่าทรงเสือ นัยน์ตาดุร้าย ขาข้างซ้ายเขยกพิการ ถ้ารูปมี 4 พระกรจะถือคันธนู ศร ทวนและศูล ถ้ารูปที่มี 2 พระกรจะถือไม้เท้ากับแจกัน หากว่าตามตำราของพระอิศวรมหาเทพ กล่าวถึงพระเสาร์ว่า พระอิศวรผู้เป็นเจ้าได้สร้างพระเสาร์ขึ้นมาจากการนำเอาหัวเสือจำนวน 10 ตัวมาบดให้ป่นละเอียด ห่อด้วยผ้าสีดำ ปลุกเสกด้วยเวทมนต์คาถาอันเข้มขลัง บังเกิดเป็นพระเสาร์ อุปนิสัยใจคอเช่นเสือโดยธรรมชาติ ดุร้าย แต่ที่ดุร้ายก็เพียงต้องเอาชีวิตให้รอด จึงมีความพยาบาทร้ายแรง โกรธง่าย ข้อดีของพระเสาร์คือมีความมานะ อดทนต่อสิ่งเลวร้ายรอบข้าง ปรับตัวให้มีความแข็งแกร่ง จึงฉลาดอย่างลึกซึ้ง ยอมต่อสู้กับศัตรูจนตัวตาย |
วิธีบูชาพระเสาร์ ผู้เกิดวันอื่นๆ ก็บูชาเทวดาองค์นี้ได้เช่นกันผู้บูชาพระเสาร์ จะได้รับพละกำลังอันแข็งแกร่ง ห้าวหาญ ไม่ย่อท้อต่อคำติฉินนินทา มีความทระนง หยิ่งในศักดิ์ศรี จะได้รับพรด้านความเชื่อมั่นในตัวเอง สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี พระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันเสาร์คือ ปางนาคปรก คาถาบูชาพระเสาร์ ไหว้แบบไทย สามารถทำตามเคล็ดวิชาการบูชาของไทยโบราณได้ คือ ถ้าบูชาประจำวันปกติใช้ธูป 3 หรือ 7 ดอก หากบวงสรวง ขอพรในกรณีพิเศษ ฤกษ์ที่ดีที่สุดคือวันเสาร์ ให้ใช้ธูป 10 ดอก (ตามกำลังเทพนพเคราะห์) บูชาพระเสาร์ ด้วย คาถานารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ สวดตามกำลังเทพพระเสาร์ คือ 10 จบ (บทสวดนี้ได้มาจากบทสรรเสริญพระพุทธคุณ เรียกว่า พระคาถาอิติปิโสแปดทิศ) |
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |