Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ขุนหลวงวิลังคะ กับตำนานความรักอันขมขื่น [สั่งพิมพ์]

โดย: oustayutt    เวลา: 2016-2-18 14:04
ชื่อกระทู้: ขุนหลวงวิลังคะ กับตำนานความรักอันขมขื่น
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2016-6-26 09:19


สถูปขุนหลวงวิลังคะตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ บ้านเมืองก๊ะ ปัจจุบันมีผู้คนมาสักการะบูชาจำนวนมาก แต่ละปีจะมีการจัดทำ พิธีทำบุญประจำปี ในตำนานกล่าวว่า ขุนหลวงวิลังคะ หรือ “มะลังกะ” กษัตริย์ของชนเผ่าลั๊วะ สร้างอานาจักรอยู่ใบริเวณเชิงเขาดอยสุเทพ และที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง มีเมืองสำคัญปรากฏหลักฐานสืบมา เช่น เวียงนพบุรี เวียงเชษฐบุรี ( เวียงเจ็ดลิน) และ เวียงสวนดอก ก่อนที่จะถูกพระยามังรายแผ่ขยายเข้ามาทำการยึดครองเพื่อสร้างเมืองเชียงใหม่ในปี พ.ศ. ๑๙๘๓



              ต้นกําเนิดของขุนหลวงวิลังคะ     เปนชนชาวลัวะหรือละวา  หรือ  ลาวจักราชซึ่งในอดีตชนกลุมนี้  ปกครองอาณาจักรลานนารวม    ๘   ดินแดนภาคเหนือของไทยซึ่งแตเดิมไดขนานนามวา  “นครทัมมิฬา”   หรือ   “นครมิรังคะกุระ”    ซึ่งมีองคพระอุปะติราชปกครองสืบตอกันมาจนสิ้น “วงศอุปะติ”  และเริ่มการปกครองใหมโดยวงศ “กุนาระ” ซึ่งในสมัยพระเจากุนาระราชาครรองราชยไดทรงเปลี่ยนนามนครมาเปน “ระมิงคนคร”ขุนหลวงวิลังคะ  เปนกษัตริยองคที่  ๑๓  ของ “ระมิงคนคร”  ในราชวงศกุนาระ  เมื่อราวตนพุทธศักราช  ๑๒๐๐  ทานทรงมีอิทธิฤทธิ์และฝมือในการพุงเสนา (หอก)  จนเปนที่เลื่องลือ  ทานไดทรงครอบราชย “ระมิงคนคร”  ในสมัยเดียวกันกับที่พระนางจามเทวี  ทรงครองราชย“นครหริภุญชัย”ขุนหลวงวิลังคะ  ไดสิ้นพระชนมเมื่อ พ.ศ. ๑๒๒๗   ณ   ระมิงคนคร   รวมอายุได๙๐   กวาชันษา
             ระมิงคนคร  ไดถูกปกครองสืบเนื่องมาหลายยุคหลายสมัย  จนสมัยพญามังรายที่ ๒๕ ในปพ.ศ. ๑๘๓๔  ไดเริ่มสร้างเมืองเชียงใหมขึ้นที่เชิงดอยสุเทพ  และสรางเสร็จเมื่อปพ.ศ. ๑๘๓๙  ไดตั้งชื่อนครใหมวา “เวียงนพบุรีพงคชัยใหมหรือ “เจียงใหม”มาเปน “เชียงใหม”  ในปจจุบันชาวเมืองกะ เชื่อกันมานานแลววาพอขุนเสียชีวิตที่นี่ที่บานเมืองกะ ทานเปนกษัตรยชาวลัวะองคที่ ๑๓ ของระมิงคนครในราชวงศกุนาระ เมื่อราวตนพุทธศักราช ๑๒๐๐ ทรงมีอิทธิฤทธิ์มีฝมือในการพุงหอกเสนา (สะ-เนา) เปนที่เลื่องลือ สิ้นพระชนมดวยความตรอมใจเมื่อพุทธศักราช ๑๒๒๗ เพราะไมสมหวังในความรักจากพระนางจามเทวีที่ปกครองนครหริภุญชัยในสมัยเดียวกันเขตชุมชนในที่ราบลุมแมน้ำปงตอนบน และเขตชุมชนลุมแมน้ำกกเขตชุมชนในที่ราบลุมแมน้ำปงตอนบน (แองเชียงใหม-ลําพูน) สมัยชุมชนพื้นเมือง "ลัวะ" ตํานานจามเทวีเปนตํานานหนึ่งที่แสดงใหเห็นวา บริเวณเชิงดอยสุเทพเปนที่อยูของลัวะมีขุนหลวงวิลังคะเปนผูปกครอง เมื่อพระนางจามเทวีอพยพผูคนจากลพบุรีขึ้นมาปกครองหริภัญชัย ขุนหลวงวิลังคะตองการพระนางจามเทวีเปนมเหสีพระนางจามเทวีปฏิเสธจึงเกิดการทําสงครามระหวางมอญกับลัวะ พวกลัวะพายแพหลังจาก   นั้นตํานานจามเทวีก็ไมไดกลาวถึงพวกลัวะอีกเลย เ ขาใจวาหลังจากแพสงครามตอพระนางจามเทวีแลว คงจะกระจัดกระจายไปตามปาเขาและตามที่ตาง ๆ เมื่อพญามังรายกอตั้งเมืองเชียงใหมตํานานพื้นเมืองเชียงใหมระบุวาบริเวณนี้"เปนที่อยูที่ตั้งแหงทาวพระยาทั้งหลายมาแตกอน" อิทธิพลดานความเชื่อของพวกลัวะที่สืบมาจนปจจุบันนอกจากการนับถือเสาอินทธีลแลว ยังมีการนับถือผีปูยาและยาแสะ ซึ่งเปนผีที่รักษาเมืองเชียงใหม โดยชาวบาน ตําบลสุเทพ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม เปนผูกระทําพิธีเชนวยผีปูแสะซึ่งเปนผูพิทักษดอยสุเทพ และชาวบานตําบลแมเหียะ อําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม จะสังเวยผียาแสะ บริเวณดอยคํา พรอมกับการทําพิธีเลี้ยงผีปูแสะยาแสะ จะมีการทําเชนสังเวยผีขุนหลวงวิลังคะอีกดวย ซึ่งชาวบานเชื่อวาขุนหลวงวิลังคะเปนผีลูกหลานบริวารของปูแสะยาแสะ





โดย: oustayutt    เวลา: 2016-2-18 14:05
ตำนานความรักของ ขุนหลวงวิลังคะกับพระนางจามเทวี





...เล่ากันว่า ในสมัยที่พระนางจามเทวีปกครองเมืองหริภุญไชยราว พ.ศ. ๑๓๐๐ ในสมัยนั้นเล่ากันว่า นครหริภุญไชยเป็นนครของชนชาติมอญ หรือเม็ง และในขณะเดียวกันบริเวณเชิงดอยสุเทพเป็นที่ตั้งบ้านเมืองของชาวลัวะมี ขุนหลวงวิรังคะเป็นเจ้าเมืองหรือหัวหน้า ขุนหลวงวิรังคะมีความรักในพระนางจามเทวี มีความประสงค์จะอภิเษกกับพระนาง แต่พระนางไม่ปรารถนาจะสมัครรักใคร่กับขุนหลวงลัวะ เพราะเป็นกลุ่มชนที่มีวัฒนธรรมต่ำกว่ามอญในสมัยนั้น ขุนหลวงได้ส่งทูตมาเจริญไมตรีขอนางอภิเษกด้วย พระนางก็ผลัดผ่อนหลายครั้ง โดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ได้แก่ ขอให้ขุนหลวงสร้างเจดีย์ที่มีขนาดและลักษณะคล้ายกับเจดีย์พระธาตุหริภุญไชย ให้ขุนหลวงพุ่งเสน้ามาตกที่ในเมือง พระนางจึงจะอภิเษกสมรสด้วย



ผู้แทนของพระนางจามเทวี ได้นำของบรรณาการอันมีหมวกและชุดหมากพลูไปถวายแด่ขุนหลวงวิลังคะ





ขุนหลวงวิรังคะ เป็นผู้ทรงพลังและชำนาญในการพุ่งเสน้า (เสน้า หมายถึง หอกด้ามยาวมีสองคม) ขุนหลวงพุ่งเสน้าครั้งแรกตกที่นอกกำแพงเมืองหริภุญไชยด้านตะวันตกเฉียงเหนือปัจจุบันเรียกว่า หนองเสน้าพระนางจามเทวีเห็นว่าจะเป็นอันตรายยิ่ง ถ้าขุนหลวงวิรังคะพุ่งเสน้ามาตกในกำแพงเมืองตามสัญญา พระนางจึงใช้วิชาคุณไสยกับขุนหลวงวิรังคะ โดยการนำเอาเศษพระภูษาของพระนางมาทำเป็นหมวกสำหรับผู้ชาย นำเอาใบพลูมาทำหมากสำหรับเคี้ยวโดยเอาปลายใบพลูมาจิ้มเลือดประจำเดือนของพระนาง แล้วให้ทูตนำของสองสิ่งนี้ไปถวายแด่ขุนหลวง ขุนหลวงได้รับของฝากจากพระนางเป็นที่ปลาบปลื้มอย่างยิ่ง นำหมวกใบนั้นมาสวมลงบนศีรษะ และกินหมากที่พระนางทำมาถวาย ซึ่งของทั้งสองสิ่งนี้ชาวล้านนาถือว่าเป็นของต่ำ ทำให้อำนาจและพลังของขุนหลวงเสื่อมลง เมื่อพุ่งเสน้าอีกครั้งต่อมาแรงพุ่งลดลงเสน้ามาตกที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ชาวบ้านเรียกว่า หนองสะเหน้า เช่นเดียวกัน ขุนหลวงเมื่อเสื่อมวิทยาคุณเช่นนั้น ก็หนีออกจากบ้านเมืองไป

ก่อนสิ้นชีวิต ขุนหลวงวิรังคะได้ขอให้เสนาอำมาตย์นำศพของท่านไปฝังไว้ ณ สถานที่ที่ขุนหลวงจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ทหารได้จัดขบวนศพของขุนหลวงจากเชิงดอยสุเทพขึ้นสู่บนดอยสุเทพเพื่อหาสถานที่ฝังตามคำสั่ง ขบวนแห่ศพได้ลอดใต้เถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่งเรียกว่า เครือเขาหลง ซึ่งเชื่อว่าถ้าผู้ใดลอดผ่านจะทำให้พลัดหลงทางกันได้ ขบวนแห่ศพขุนหลวงได้พากันพลัดหลงกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง นักดนตรีบางคนพลัดหลงไปพร้อมกับเครื่องดนตรีของตน นิทานเล่าว่าภูเขาที่นักดนตรีผู้นั้นหลงจะปรากฏมีรูปร่างคล้ายเครื่องดนตรีนั้น ๆ บนยอดเขาสุเทพ-ปุย จะมีภูเขาชื่อต่าง ๆ ดังนี้ ดอยฆ้อง ดอยกลอง ดอยฉิ่ง ดอยสว่า บางแห่งเป็นที่แคบและฝาครอบโลงศพปลิวตก บริเวณนั้นเรียกว่า กิ่วแมวปลิว (คำว่า แมว หมายถึง ฝาครอบโลงศพที่ทำด้วยโครงไม้ไผ่ใช้ตกแต่งด้านบนของฝาโลงศพ)

เสนาอามาตย์ที่หามโลงศพของขุนหลวงได้เดินทางไต่ตีนเขาไปทางทิศเหนือ ถึงบริเวณแห่งหนึ่ง โลงศพได้คว่ำตกลงจากที่หาม เสนาอามาตย์จึงได้ฝังศพของขุนหลวงไว้ ณ สถานที่บนภูเขาแห่งนี้ ซึ่งจะสามารถมองเห็นเมืองหริภุญไชยได้ตลอดเวลา ยอดภูเขานี้ชาวบ้านเรียกว่า ดอยคว่ำหล้อง (หล้อง หมายถึง โลงศพ)

ปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกชื่อภูเขาลูกนี้ว่า ดอยคว่ำหล้อง ตั้งอยู่บนภูเขาบริเวณเหนือน้ำตกแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ยอดเขาเป็นรูปสี่เหลี่ยมตัดลักษณะคล้ายโลงศพ บนยอดเขามีศาลของขุนหลวงวิรังคะตั้งอยู่ ชาวบ้านบริเวณเชิงเขาเล่าว่า กลางคืนเดือนเพ็ญบางครั้งจะได้ยินเสียงดนตรีบรรเลงบนยอดเขา เชื่อกันว่าวิญญาณของขุนหลวงสถิตอยู่บนดอยคว่ำหล้อง

บริเวณเชิงเขา มีหมู่บ้านลัวะหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่า บ้านเมืองก๊ะ มาจากชื่อของขุนหลวงวิรังคะ เชื่อกันว่า ชาวลัวะเหล่านี้เป็นเชื้อสายของขุนหลวงวิรังคะ ที่หมู่บ้านแห่งนี้มีศาลที่สถิตวิญญาณของขุนหลวง และทหารซ้ายและขวาของขุนหลวงอีก ๒ ศาล ชาวบ้านจะเซ่นสรวงดวงวิญญาณขุนหลวงและทหารปีละครั้ง ชาวบ้านเล่าว่า ดวงวิญญาณของขุนหลวงจะสถิตอยู่ ๓ แห่งได้แก่ บนดอยคว่ำหล้อง ศาลที่บ้านเมืองก๊ะ อำเภอแม่ริมและอีกแห่งหนึ่งคือ บริเวณดอยคำ อำเภอเมือง ซึ่งตั้งอยู่ทิศใต้ของดอยสุเทพ ปัจจุบันบนยอดดอยมีวัดชื่อว่า วัดพระธาตุดอยคำ บนวัดแห่งนี้มีอนุสาวรีย์ขุนหลวงวิรังคะประดิษฐานที่ลานวัดใกล้เจดีย์ และที่ดอยคำแห่งนี้เป็นที่สถิตดวงวิญญาณของหัวหน้าลัวะซึ่งเป็นบรรพบุรุษของขุนหลวงวิรังคะ ชื่อว่า ปู่แสะ ย่าแสะ ซึ่ง จะมีการเลี้ยงผีปู่แสะย่าแสะ ด้วยควายทุกปี หรือ ๓ ปีครั้ง.




โดย: oustayutt    เวลา: 2016-2-18 14:06

ตำนานคำสาปขุนหลวงวิลังคะ
ขุนหลวงวิลังคะเจ้าแห่งระ-มิงค์นคร  กระฉ่อนชื่อชำนาญการ  พุ่งเสน้า  สมเล่าลือหวังหยุดยื้อ  หญิงงาม  จามเทวีถูกท้าว่า  พุ่งเสน้า  เข้าเมืองได้ตัวนางไซร้  จะยอมเป็น  มเหสีด้วยฤทธิ์รัก  โสภา  ยอดนารีเสน้าพุ่ง  ถึงเร็วรี่  ที่หัวเวียงข้างพระนาง  จามเทวี  ถึงที่อับเพราะเคยรับ  ต่อปาก  ยากจะเลี่ยงอุบายใด  ไหนหนอ  จะพอเพียงไม่ต้องเสี่ยง  เป็นคู่บุญ  ขุนวิลังค์จึงเย็บหมวก  สีผ่อง  เป็นของขวัญลงอาถรรพ์  เวทย์มนต์  อาคมขลังส่งให้หลวง  วิลังคะ  นะจังงังพร้อมกับสั่ง  สวมตลอด  อย่าถอดไว้โดยเฉพาะ  ตอนมุ่ง  พุ่งเสน้าจงสวมเอา  อย่าขว้าง  ทิ้งทางไหน วิลังคะ  แย้มยิ้ม  กระหยิ่มใจด้วยหวังได้  จามเทวี  ศรีโสภาจึง  พ.ศ.หนึ่งสอง  สองหกศรเสน้า  ถูกยก  ขึ้นเหนือบ่า ณ  อุจฉุคีรี  ปัพพตา อนิจจา...กลับระทด  หมดเรี่ยวแรงเพราะอำนาจ  อาถรรพ์  อันเร้นลับลงไว้กับ  หมวกนั้น  มันกล้าแกร่งแทบทรุดกาย  โหยอ่อน  นอนตะแคงอำนาแห่ง  อาคม  ข่มทั่วกายแรงพุ่งไป  เพียงแต่  แค่เชิงเขาลมหายใจ  กระเส่า  เศร้าเหลือหลายเหลือความแค้น  ผสมกับ  ความอับอายสิ้นเชิงชาย  ถูกลบหลู่  เสียรู้นางจึงสั่งโยธาร่วม  รวมกองทัพหวังเข้าสัประ-ยุทธ์แยก  แหลกกันข้าตีลำพูน  ให้แหลก  แบบล้างบางพลม้าช้าง  เข้าย่ำ  หริภุญ(ชัย)ฝ่ายพระนาง  จามเทวี  มิไหวหวั่นเตรียมทัพมั่น  กำลังใจ  ไม่เสื่อมสูญเพราะเมืองนาง  อุดม  สุขสมบูรณ์ไพร่พลกูล  เกื้อกัน  อย่างมั่นใจและแล้วทัพ  สองทัพ  สัประยุทธ์ในที่สุด  ขุนวิลังค์  พลั้งจนได้ถูกฟันแขนขวาเกือบขาด  เพราะพลาดไปหมู่พลไพร่  แตกฉาน  กระซ่านเซ็นเหล่าทหาร  ไม่รีรอ  พาหนีทัพถูกไล่ขับ  หนีซอนซุก  อย่างทุกข์เข็นโดนโจมตี  เหยียบย่ำ  แสนลำเค็ญแพ้ไม่เป็น  กลับพ่าย  อายผู้คนตกกลางคืน  จึงคิด  ปลิดชีวิตอยู่ก็ติด  เสียศักดิ์ศรี  สูญปี้ป่นกินยาสั่ง  เพื่อปลิด  ชีวิตตนเพราะ  สุดทน  ต่อความช้ำ  ระกำทรวงจึงก่อนตาย  เอ่ยอ้ำ  ลั่นคำสาปเป็นตราบาป  เอาไว้  อย่างใหญ่หลวงชาวลำพูน  ชาวระมิงค์  ชายหญิงปวงจงติดบ่วง  คำสาป  ตลบเท่านานแม้นเขาได้  สมสู่  เป็นคู่สองอย่าสมปอง  ครองรัก  มีหลักฐานจงเป็นไป  ตามวาจา  สาปสาบานชั่วลูกหลาน  นานนับ  ชั่วกัปกัลล์วิลังคะ  มรณา  กินยาสั่งทหารทั้งหลายหาม  ข้ามเขตขัณฑ์คันเฉลียง  ที่หาม  หักกลางคันมิอาจนำ  ศพนั้น  สู่ยังพิงค์จึงฝั่ง  ไว้ที่แหล่ง  ดอยแห่งหนึ่งณ  ที่ซึ่ง  เรียกดอยกู่”  ให้สู่สิงเป็นตำนาน  รักฉาว  ชาวระมิงค์เป็นเรื่องจริง  ที่กล่าวไว้  ในตำนาน





ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.dnp.go.th

http://khaophraracha.net
http://watmahawan.wordpress.com
http://www.bloggang.com


เขียนโดย ชัชวาลย์ คำงามที่ 01:25



โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-6-26 06:41





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2