Baan Jompra

ชื่อกระทู้: กริช อาวุธโบราณในบริเวณคาบสมุทรมาลายู [สั่งพิมพ์]

โดย: Marine    เวลา: 2015-12-9 22:05
ชื่อกระทู้: กริช อาวุธโบราณในบริเวณคาบสมุทรมาลายู
    การนำเสนอเรื่องราวดังต่อไปนี้ข้าพเจ้าตระหนักและเล็งเห็นถึงคุณค่าของภูมิปัญญาเกี่ยวกับการประดิษฐ์เครื่องศาสตราวุธโบราณของชาวไทยมลายูโบราณจวบจนปัจจุบันที่ผู้คนน้อยหนักที่จะรู้จักอาวุธที่มีความงามทางศิลปะกำเนิดขึ้นจากจิตวิญญาณก่อเกิดวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับการทำกริช   ทั้งนี้เพื่อมีเจตนาให้ภูมิปัญญานี้อยู่คู่สังคมตามแบบวัฒนธรรมของท้องถิ่นไม่มีนัยยะที่จะแอบแฝงหรือชักจูงให้มีการใช้หรือพกอาวุธดังกล่าวแต่อย่างใดเหมือนดังอดีต
     กริชนั้นถือเป็นอาวุธประจำกายที่สำคัญซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นชายชาตรี  ฐานะทางสังคมเศรษฐกิจ  ยศถาบรรดาศักดิ์ของผู้เป็นเจ้าของและตระกูล     และนิยมใช้กันแพร่หลายทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิมในภาคใต้ของไทย  เรื่อยไปจนถึงมาเลเซีย  อินโดนีเซีย  หรือเรี่ยกได้ว่าทั่วทั้งคาบสมุทรมลายู
    กล่าวกันว่า  กริช  นั้นน่าจะเป็นอาวุธของอินโดนีเซียซึ่งปรากฏรูปจำหลัก  ว่ามีการใช้ดาบเป็นอาวุธอยู่ซึ่งยังไม่พบการใช้กริช   จนกระทั่งพบรูปกริชครั้งแรกที่ผนังโบสถ์ suku  ของชวาราวกลางศตวรรษที่ 14   เป็นรูปจำหลักของเทพเจ้าภีมะนักรบของชวากำลังใช้มือเปล่าจับเหล็กร้อนตีเป็นรูปกริชซึ่งใช้เข่าตนเองรองต่างทั่ง   และในศตวรรษที่  14  นี้เอง  มีการกล่าวถึงตำนานกริชที่ค่อนข้างหลากหลายเช่นในตำนานฮินดูสกุตรัม(Hindu King Sakutrum)      กระทั่งถึงสมัยมัชปาหิตกริชเริ่มมีการใช้อย่างแพร่หลายพกติดตัวและพร้อมใช้อยู่ตลอดเวลา   และในศตวรรษที่ 15 เรื่อยมาถึง ศตวรรษที่  19  คติความเชื่อเกี่ยวกับการใช้กริชแบบฮินดูเริ่มน้อยลงแทนที่ด้วยความเชื่อแบบอิสลามซึ่งการใช้กริชและการทำกริชต้องอยู่ในหลักและแนวคิตของศาสนาอิสสลามอย่างเคร่งครัด
การทำกริชประกอบขึ้นมาแต่ละเล่มนั้นล้วนมีความสัมพันธ์กับปรากฎการธรรมชาติอำนาจชีวิตและเลือดเนื้อของเจ้าของกริช  กริชเล่มหนึ่งๆอาจต้องสรรหาเหล็กถึง20ชนิดมาหลอมรวมกันด้วยกระบวนการและพิธีกรรมที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบตามความเชื่อและกระบวนการทางไสยศาสตร์  มีความแหลมคมประดุจดังเขี้ยวเสือและความคดประดุจเปลวไฟอันแสดงถึงความกล้าหาญและมีอำนาจ  กริชนั้นถือเป็นอาวุธมงคลขจัดภยันตรายและอัปมงคล นำโชควาสนา  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาผสมกรรมวิธีรูปแบบลักษณะที่ประกอบขึ้นเป็นกริชเล่มนั้นๆ    G.C.Woolley ได้จำแนกกลุ่มกริชอาศัย รูปแบบของด้ามได้

[attach]12439[/attach]

                                                             ส่วนต่างๆของใบกริช      

     (ที่มาภาพ: หน้า 7 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )


โดย: Marine    เวลา: 2015-12-9 22:09
               
1.  กริชแบบกลุ่มบาหลีและมดูรา   ได้แก่   กริช Bali   Lombok   Madura   คมกริชลื่นเป็นมันวาววับ   เนื้อเหล็กเรียบไม่มีเส้น  กริชแบบบาหลีนิยมทำด้ามเป็นรูปคน   ส่วนมดูรานิยมทำด้ามด้วยงาช้างหรือไม้ประดับลาย

[attach]12440[/attach]

         กริชมัชปาหิต  กริชยุคแรก  กริชตามแบบความเชื่อของฮินดู
                         ( ที่มาภาพ: หน้า 15 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
                บาหลีนิยมทำด้ามเป็นรูปคน   ส่วนมดูรานิยมทำด้ามด้วยงาช้างหรือไม้ประดับลาย

[attach]12441[/attach]
กริชสกุลช่างบาหลี  ใบกริชแบบตรงชนิดเซาะร่อง(จิติหรือเจริตา)จิ้งจกแบบกระดกโค้ง(อาริงกะตุ๊)ด้ามสลักเป็นรูปรากษส  ฝักแบบลาดรังแกะสลักเป็นรูปหน้ากาล
    ( ที่มาภาพ: หน้า 20 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
    p;สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )

บบาหลีนิยมทำด้ามเป็นรูปคน   ส่วนมดูรานิยมทำด้ามด้วยงาช้างหรือไม้ประดับลาย




โดย: Marine    เวลา: 2015-12-9 22:11
                           
                                 
                             
2.      กริชแบบชวา ส่วนด้ามทำเป็นรูปนามธรรมคือดูไม่เป็นรูปร่างชัดเจน ดูแล้วคล้ายรูปใดรูปหนึ่งเช่นรูปคล้ายเรือ
              [attach]12442[/attach]
                     กริชสกุลช่างชวาใบกริชรูปใบปรือ
  (ที่มาภาพ: หน้า19 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ฉบับต้นแบบ )
                              
                  [attach]12443[/attach]
กริชสกุลช่างชวาใบกริชแบบนาฆอ(นาค) มี 11 คดคร่ำทองด้ามแบบบันจังของสุมาตรา ฝักแบบซันดังวาลิกัตสวมปลอกทองทองเหลืองดุนลาย   
( ที่มาภาพ: หน้า 20 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )


โดย: Marine    เวลา: 2015-12-9 22:13
                    
        3.      กริชแบบคาบสมุทรส่วนเหนือ ด้ามจะมีปลอกโลหะหุ้มปากฝักมีไหล่กว้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม  ด้ามลักษณะดูเหมือนผู้ชายกำลังนั่งกอดอกไหล่ตกหนาวสั่นสะท้านด้วยพิษไข้
    4.      กริชแบบบูกิส    พบทั่วไปในมาเลเซีย  ด้ามแกะสลักอย่างสายงาม
            [attach]12444[/attach]
กริชสกุลช่างบูกิส  ใบกริสแบบคด7 คด ด้ามหัวจิ้งเหลน (แลแบ็ง)หรือกาด๊ะ(ฝักลูกเนียงนก)  ฝักแบบบูกิส  
( ที่มาภาพ: หน้า 21 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
             [attach]12445[/attach]
กริชสกุลช่างบูกิส  ใบกริช 7 คด   ด้ามแบบหัวลูกไก่(อาเนาะอะแย)  ด้วมแบบนี้ชาวมาเลเชียเรี่ยกว่า ยาวาเดมัน(ชวาป่วย)  ฝักแบบบูกิส
(ที่มาภาพ: หน้า 21 (กริช). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ฉบับต้นแบบ )
                [attach]12446[/attach]
กริชสกุลช่างตรังกานูใบกริชแบบ 3 คด แบบหางหนุมาน(เอกออนุแม) ด้ามเป็นหัวจังเหลนสกุลช่างบูกิสฝักแบบตรังกานู
               ( ที่มาภาพ: หน้า 23 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )


โดย: Marine    เวลา: 2015-12-9 22:22
5.      กริชแบบสุมาตรา   ใบกริชคมยาวเรียบแคบคล้ายกระปี่  ตรงกลางมีสันนูนขึ้นมา ด้ามกริชมักทำด้วยเขาสัตว์และงาช้าง ได้แก่กริช
Panjung   Bahari
                [attach]12447[/attach]
  กริชอาเนาะแล  สกุลช่างสุมาตรา  ด้ามทำเป็นรูปหนังตะลุงชวา   
(ที่มาภาพ: หน้า15 (กริช ).สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ฉบับต้นแบบ )
             [attach]12448[/attach]
กริชสกุลช่างสุมาตราหรือกริชอาเนาะแล  ใบกริชตรงสั้น(อาเนาะแลป่าเนาะ)ด้ามแบบหัวลูกไก่(อาเนาะอะแย)ทางมาเลเซียเรี่ยกว่ายาวาเดมัม  ฝักแบบสุมาตรา    ( ที่มาภาพ: หน้า 22 (กริช ).สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
                 [attach]12449[/attach]
                [attach]12450[/attach]
กริชสกุลช่างตรังกานูใบกริชแบบ 3 คด แบบหางหนุมาน(เอกออนุแม) ด้ามเป็นหัวจังเหลนสกุลช่างบูกิสฝักแบบตรังกานู
               ( ที่มาภาพ: หน้า 23 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )


โดย: Marine    เวลา: 2015-12-9 22:26
6.      กริชแบบปัตตานี ด้ามทำเป็นรูปนกพังกะ  ใบกริชยาวกว่าชนิดอื่นๆ
               
      [attach]12451[/attach]
                  กริชสกุลช่างปัตตานี  ด้ามทำเป็นรูปนกพังกะ
(ที่มาภาพ: หน้า 15 (กริช). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ฉบับต้นแบบ )
                        [attach]12452[/attach]
         กริชแดแบ๊ะ  สกุลช่างปัตตานีนิยมใช้ในหมู่ควาญช้างไทยมุสลิม    กริชสกุลช่างปัตตานี หรือกริชตะยง  ใบกริชรูปใบปรือเซาะร่อง(จิตอ)  ด้ามแบบหัวนกพังกะตัวผู้ ฝักแบบปัตตานี
            ( ที่มาภาพ: หน้า 16 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
                    
                           [attach]12453[/attach]
กริชสุกลช่างปัตตานี  ใบกริชตรงเซาะร่อง(จิตอ)ด้ามแบบหัวนกพังกะตัวผู้หรือแบบตะยงแกะสลักเลี่ยมทองนาคและเงิน  ฝักแบบปัตตานี
   ( ที่มาภาพ: หน้า 23 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
              [attach]12454[/attach]
กริชสกุลช่างปัตตานีใบกริชเป็นของสกุลช่างบูกิสมี 11  คด  ด้ามหัวนกพังกะ  ฝีมือช่างชั้นสูงมีส่วนประกอบนาคและทองในการตกแต่งเป็นกริชของชนชั้นสูงระดับเจ้าเมืองหรือเชื้อพระวงศ์  
  ( ที่มาภาพ: หน้า 34 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
             [attach]12455[/attach]
กริชสกุลช่างปัตตานีใบกริช  7 คดเซาะร่อง(จิตอ)  ด้ามแบบหัวนกพังกะตัวผู้  ฝักแบบปัตตานีหรือแบบตะยง
( ที่มาภาพ: หน้า 24 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
                 [attach]12456[/attach]
กริชแดแบ๊ะปัตตานี  ใบกริชตรงชนิดปะแนซาฆะห์สกุลช่างปัตตานี ด้ามแดแบ๊ะ ฝักแบบตรังกานู
  ( ที่มาภาพ: หน้า 25 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
                  [attach]12457[/attach]
กริชสกุลช่างสงขลา หรือ  กริชหัวนกพังกะตัวเมีย   ใบกริชรูปใบปรือ(กริชสะปูกัล)  ด้ามรูปนกพังกะตัวเมีย  ฝักแบบนกพังกะตัวเมียหรือแบบนกพังกะเมืองสงขลา  มาลายูเรี่ยกว่า แบบออแรซิแย(แบบชาวสยาม)   
( ที่มาภาพ: หน้า 24 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
                 [attach]12458[/attach]
กริชสกุลช่างสงขลา หรือ  กริชหัวนกพังกะตัวเมีย   ใบกริช 7 คด  ด้ามรูปนกพังกะตัวเมีย ฝักแบบนกพังกะเมืองสงขลา  ( ที่มาภาพ: หน้า 25 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )
                   [attach]12459[/attach]
กริชสกุลเมืองสงขลา ใบกริชคดรูปแบบสุมาตรา(อาเนาะแล)ด้ามรูปนกพังกะตัวเมีย  เป็นของบุคคลชั้นสูง  ( ที่มาภาพ: หน้า 35 (กริช). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ฉบับต้นแบบ )


โดย: Marine    เวลา: 2015-12-9 22:27
      7.      กริชแบบซุนดัง  คล้ายการดัดแปลงมาจากดาบ  ใบกริชคล้ายกระบี่มากกว่ากริชแต่มีส่วนโกร่งปรากฎอยู่อย่างเด่นชัด
ส่วนกริชในภาคใต้ของไทยนั้น   มีรูปแบบตัวกริชอยู่สองลักษณะคือ
       1.  กริชใบปรือ   เป็นใบกริชตรงมีคมสองข้างคลายหอกมีการทำร่องบนใบกริช 2-4 ร่องขนานกันถึงปลายกริช
       2.  กริชคด    เป็นใบกริชที่คดไปคดมาคล้ายเปลวไฟ   
กริช เป็นอาวุธซึ่งในอดีตถือว่าเป็นของคู่กายที่สำคัญของคนในภาคใต้และคนในคาบสมุทรมลายูไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าดาบที่เป็นอาวุธของคนไทย  ซึ่งมีคุณค่าทางวัฒนธรรม  ประเพณี   ความเชื่อ ความงามทางศิลปะ ระดับเชิงช่างแห่งท้องถิ่นหรือเมือง  บ่องบอกถึงความเป็นตัวตน  เอกลักษณ์ ผ่านสิ่งเล็กๆน้อยๆแต่มีความสำคัญระดับชนชั้นของบุคคลในสมัยอดีต  ถึงปัจจุบัน  สามารถบ่งบอกถึงฐานะทางสังคมได้เป็นอย่างดีและน่าชื่นชมในภูมิปัญญา   ปัจจุบันกริชนั้นยังถือว่าเป็นอาวุธที่มีบทบาทสำคัญของกษัตริย์ในคาบสมุทรมลายูซึ่งต้องใช้ประจำกายในพระราชพิธีสำคัญๆดังเช่นในมาเลเซีย  บรูไน   และอย่างไรก็ดีในประเทศไทยเอง  กริชก็ยังถือว่าเป็นอาวุธที่ควบคู่กับสังคมความเชื่อในพิธีกรรม   ตลอดจนมีการทำกริชขึ้นเพื่อการค้าตกแต่งเป็นของที่ระลึกมีคุณค่าทางจิตใจและทางศิลปะตามแบบฉบับของท้องถิ่น   และยังเป็นการอนุรักษ์หัตกรรมของบรรพบุรุษให้คงอยู่คู่ลูกหลานรุ่นต่อๆไป
ตัวอย่างกริชทั้งหมดเป็นสมบัติของสถาบันทักษิณคดีศึกษาซึ่งจัดแสดงในห้องมีดและศาสตราวุธ
               
เอกสารประกอบการเขียน : "กริช".สารานุกรมวัฒนธรรมไทย  ภาคใต้  ฉบับต้นแบบ ( 2538): 1 - 35.
กริชสกุลช่างสุมาตราหรือกริชอาเนาะแล  ใบกริชตรงยาว(อาเนาะแลปานแญ)หรือกริชปันยัง  กริชยาว  กริชรี  ด้ามแบบเมืองเรียว ฝักแบบสุมาตรา
   ( ที่มาภาพ: หน้า 22 (กริช ). สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้ ฉบับต้นแบบ )


โดย: oustayutt    เวลา: 2015-12-11 07:05
ขอบคุณครัย
โดย: Sornpraram    เวลา: 2016-6-16 08:59





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2