ตำนานนางนพมาศแม้เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่ก็เขียนเล่าเรื่องย้อนกลับไปในอดีต ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคนั้น เพื่อแสดงว่าสยามประเทศมีอารยะธรรมที่ดีงามมาแต่ครั้งโบราณ สำหรับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น รับอิทธิพลทั้งศาสนาพุทธและฮินดูมาผสมผสานกัน
นางนงคราญกล่าวว่า การจะบอกว่าไม่มีประเพณีลอยกระทงในสมัยสุโขทัย เพราะไม่มีหลักฐานใดเขียนคำว่า “ลอยกระทง” ไว้ ก็เป็นการด่วนสรุปเกินไป เพราะภาษามีวิวัฒนาการไปตามกาลเวลา จึงขอให้พิจารณาคำว่า “เผาเทียนเล่นไฟ” ให้ดี ว่าหมายถึงอะไร เป็นประเพณีอะไรที่ฉลองกันหลังเดือน 11และการที่จะพิจารณาว่า เผาเทียน คือ จุดตะคันส่องสว่างโบราณสถานนั้น ตนว่าไม่น่าใช่ การจุดตะคันส่องสว่างเป็นการตามประทีป ไม่ใช่เผาเทียน การเผาเทียนเล่นไฟ จุดพลุเสียงดังจักแตก เป็นงานประเพณีที่จัดในเดือน 12 เป็นต้นกำเนิดของงานลอยกระทง ซึ่งต่อมาได้ประดิษฐ์ประทีปจากงานใบตอง จึงเชื่อว่าคนสุโขทัยเมื่อ 700 กว่าปีที่แล้ว เขาจัดงานลอยประทีป ไม่ต่างอะไรกับที่เห็นภาพจำหลักที่ปราสาทบายน เพราะเป็นพิธีขอขมาน้ำเช่นเดียวกัน
ดังนั้น ชาวสุโขทัยมีสิทธิ์ที่จะยกย่องเชิดชูพระเกียรติ แด่สมเด็จพระราชินีแห่งกรุงสุโขทัย หากนักวิชาการทางกรุงเทพฯไม่ยินดีที่จะใช้ศิลาจารึกสุโขทัย 2 หลัก คือ ศิลาจารึกวัดอโสการาม และศิลาจารึกวัดบูรพาราม ในการนำอ้าง ก็เห็นควรที่นักวิชาการกรุงเทพฯจักส่งศิลาจารึก 2 หลักดังกล่าวกลับคืนสู่มาตุภูมิด้วย และหากจะโต้แย้งหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ก็ควรโต้แย้งไปที่องค์การยูเนสโก้ เพราะได้ผ่านกระบวนการพิสูจน์รับรองเป็น “มรดกความทรงจำโลก”
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |