Baan Jompra
ชื่อกระทู้: มิตรแทน มิตรเทียม [สั่งพิมพ์]
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:47
ชื่อกระทู้: มิตรแทน มิตรเทียม
ธรรมะกับชีวิตประจำวัน
เรื่อง
มิตรแท้ มิตรเทียม ดูอย่างไร
อันเพื่อนดีมีหนึ่งถึงจะน้อย
ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา
เหมือนมีเกลือนิดหน่อยน้อยราคา
ยังดีกว่าน้ำเค็มเต็มทะเล
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:48
มงคล 38 ประการ (highest blessings)
สิ่งที่ทำให้ชีวิตมีโชคดี, ธรรมอันนำมาซึ่งความสุขความเจริญแก่ชีวิต เรียกเต็มว่า อุดมมงคล คือมงคลอันสูงสุด นั้น
มงคลข้อแรก คือ ไม่คบคนพาล
ด้วยเหตุนี้ การเลือกคบเพื่อน จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อโชคชะตา ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อม ความพินาศ หรือ นำความสุขความเจริญมาสู่ชีวิต จะเลือกคบเพื่อนได้อย่างไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เพื่อนคนไหน คือ เพื่อนแท้ เพื่อนคนไหน คือ เพื่อนกิน มีหลักในการพิจารณา ดังนี้:
มิตรปฏิรูปก์ หรือ มิตรเทียม 4 (false friends; foes in the guise of friends)
ได้แก่ มิตรเทียม หรือ ศัตรูผู้มาในร่างของมิตร มี 4 ประเภทคือ
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:50
1. คนปอกลอก (the out-and-out robber) (อัญญทัตถุหร)
คนขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว มีลักษณะ ดังนี้ คือ
1.1) คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
1.2) ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอามาก
1.3) ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
1.4) คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:51
2. คนดีแต่พูด (the man who pays lip-service) (วจีบรม)มีลักษณะ ดังนี้ คือ
2.1) ดีแต่อ้างเอาสิ่งที่ผ่านไปแล้วมาพูด
2.2) ดีแต่อ้างสิ่งที่ยังไม่มี ยังไม่เกิดขึ้นมาพูด
2.3) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เอาของที่ตนเองไม่ต้องการแล้วไปให้เพื่อน
2.4) เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:52
3. คนหัวประจบ (the flatterer) (อนุปปิยภาณี)มีลักษณะ ดังนี้ คือ
3.1) จะทำชั่วก็เออออ ไม่เคยห้ามปราม
3.2) จะทำดีก็เออออ พูดคล้อยตามไปอย่างนั้นเอง
3.3) ต่อหน้าสรรเสริญ
3.4) ลับหลังนินทา
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:53
4. คนชวนฉิบหาย (the leader to destruction) (อปายสหาย)มี ลักษณะ ดังนี้ คือ
4.1) คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
4.2) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
4.3) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
4.4) คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:54
สุหทมิตร หรือ มิตรแท้ 4 (true friends; true-hearted friends)
ได้แก่ มิตรที่มีจิตใจดี, มิตรที่จริงใจ มีแต่ความปรารถนาดีต่อเรา
1. มิตรอุปการะ (the helper) (อุปการกะ)
มีลักษณะ ดังนี้ คือ
1.1) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน
1.2) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สินของเพื่อน
1.3) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้
1.4) มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก
2. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ( the man who is the same in weal and woe) (สมานสุขทุกข์)
มีลักษณะ ดังนี้ คือ
2.1) บอกความลับแก่เพื่อน
2.2) ปิดความลับของเพื่อน
2.3) มีภัยอันตราย ไม่ละทิ้ง
2.4) แม้ชีวิตก็สละให้ได้
3. มิตรแนะประโยชน์ (the man who gives good counsel) (อัตถักขายี)
มีลักษณะ ดังนี้ คือ
3.1) จะทำชั่วเสียหาย คอยห้ามปรามไว้
3.2) คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี
3.3) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง
3.4) บอกทางสุขทางสวรรค์ให้
4. มิตรมีน้ำใจ (the man who sympathizes) (อนุกัมปกะ)
มิตรมีความรักใคร่ หรือมิตรผู้รักใคร่เอ็นดู มีลักษณะ ดังนี้ คือ
4.1) เพื่อนมีทุกข์ พลอยไม่สบายใจ (ทุกข์ ทุกข์ด้วย)
4.2) เพื่อนมีสุข พลอยแช่มชื่นยินดี (สุข สุขด้วย)
4.3) เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้
4.4) เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:54
จากลักษณะของมิตรเทียม และ มิตรแท้ที่ยกมาข้างต้นนี้ เราสามารถพิจารณาได้ว่า บรรดาเพื่อนๆที่เราคบอยู่นั้น คนไหน คือมิตรเทียม คนไหนคือมิตรแท้ เพราะเหตุไร และยังใช้พิจารณาตัวเราเองด้วยว่า เราเป็นมิตรประเภทใดสำหรับเพื่อนๆของเรา
มงคลข้อที่สอง คือ คบหาบัณฑิต
บัณฑิต หมายถึงผู้รู้ดี รู้ชั่ว ผู้มีความรู้ มีสติปัญญาดี มีคุณธรรมสูง ประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ชอบ ที่ถูกต้อง ที่สมควร ที่ดีงาม
บัณฑิต มีลักษณะเป็น กัลยาณมิตร ซึ่งมีคุณสมบัติ ดังนี้
กัลยาณมิตรธรรม 7 (qualities of a good adviser)
คุณสมบัติของบัณฑิต ที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ มีดังนี้คือ
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:55
1. ปิโย (lovable; endearing)น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม
2. ครุ (estimable; respectable; venerable)
น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย
3. ภาวนีโย (adorable; cultured; emulable)
น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยความซาบซึ้งภูมิใจ
4. วตฺตา จ (being a counsellor)
รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร พูดอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี
5. วจนกฺขโม (being a patient listener)
อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 08:55
6. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา (able to deliver deep discourses or to treat profound subjects)แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจได้อย่างง่ายๆ และทำให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไปได้
7. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย (never exhorting groundlessly; not leading or spurring on to a useless end)
ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย
กัลยาณมิตรนี้ คือ มิตรแท้ในข้อที่ 3 มิตรแนะประโยชน์ สำหรับเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นที่ปรึกษาและขอคำแนะนำ
ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน ได้คบหาสมาคมกับมิตรอุปการะ หรือ มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข หรือ มิตรแนะประโยชน์ หรือ มิตรมีน้ำใจ เพื่อความสุขความเจริญของชีวิต เนื่องจากเวลาของคนเรามีเพียง 24 ชั่วโมงในแต่ละวัน เราจำเป็นต้องบริหารเวลาของเราให้ดี เลือกใช้เวลากับเพื่อนที่ดี ไม่ควรไปเสียเวลากับเพื่อนเทียม ซึ่งมีแต่่จะนำความไม่สบายใจ และ ความเสื่อมมาสู่ตัวเรา
ที่มา...http://www.oknation.net/blog/print.php?id=248819
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 09:07
มิตรภาพทาบเทียบเทียมเปี่ยมไพศาล
หลักธรรมท่านขานไขไว้เรื่อง “มิตร”
เป็นหลักธรรมนำใจให้ข้อคิด
รู้ถูกผิดคบมิตรใดจึงให้คุณ
ทั้งมิตรแท้แลมิตรเทียมเตรียมใจเปิด
มิตรประเสริฐเทิดแท้แค่สี่หุ้น
หนึ่งมิตรดีมีน้ำใจใฝ่การุณ
สองมิตรหนุนคุณประโยชน์ห้ามโทษทัณฑ์
.สามนั้นหรือคือมิตรร่วมรวมสุขทุกข์
สี่มิตรแท้ล้วนแผ่สุขอุปการะมั่น
บุคคลใดหากได้พบคบมิตรนั้น
ถือเป็นทรัพย์นับอนันต์โลกันตร์ตรัย
.หากมิตรเทียมเล่ห์เหลี่ยมร้ายหมายทางชั่ว
ทางอบายง่ายเมามัวมั่วอาศัย
สี่เหล่าเคล้าคละปะปนภัย
ทุกเพศวัยใครประสบควรหลบพราง
.หนึ่งคือมิตรคิดปอกลอกหลอกเอาทรัพย์
พวกสับปลับรับฝ่ายเดียวเหนียวต้องห่าง
สองคือมิตรคิดประจบสยบข้าง
มาแอบอ้างอยู่ข้างใดใจแท้จริง
.สามคือมิตรเคิดชวนล้วนฉิบหาย
ทางอบายหมายชวนตกนรกดิ่ง
สี่นั้นหรือคือมิตรคิดคดทิ้ง
ดีแต่พูดหลุดทุกสิ่งไม่จริงใจ
.มิตรภาพซาบซึ้งตรึงดวงจิต
ใคร่ครวญคิดตามหลักธรรมนำพาให้
เลือกคบมิตรจิตใฝ่ดีแท้ที่ใจ
หลีกเลี่ยงใครใจพาลปานมิตรเทียม ..กุลมาตา-singlemom99-
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 09:08
กัลยาณมิตตตา |
ความมีกัลยามิตร คือ มีผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อนที่คบหาและบุคคลผู้แวดล้อมที่ดี , ความรู้จักเลือกเสวนาบุคคล หรือเข้าร่วมหมู่กับท่านผู้ทรงคุณทรงปัญญามีความสามารถ ซึ่งจะช่วยแวดล้อมสนับสนุน ชักจูง ชี้ช่องทาง เป็นแบบอย่าง ตลอดจนเป็นเครื่องอุดหนุนเกื้อกูลแก่กัน ให้ดำเนินก้าวหน้าไปด้วยดี ในการศึกษาอบรม การครองชีวิต การประกอบกิจการ และธรรมปฏิบัติ , สิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ดี ข้อนี้เป็นองค์ประกอบภายนอก
" ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์อุทัยอยู่ ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด ความมีกัลยาณมิตรก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิต แห่งการเกิดขึ้นของอารยอัษฎางคิกมรรค แก่ภิกษุ ฉันนั้น "
" ความมีกัลยาณมิตร เท่ากับพรหมจรรย์ (การครองชีวิตประเสริฐ) ทั้งหมดทีเดียว เพราะว่า ผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังสิ่งนี้ได้ คือ จักเจริญ จักทำให้มากซึ่งอารย อัฎางคิกมรรค "
" อาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร เหล่าสัตว์ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็พ้นจากชาติ ผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็พ้นจากมรณะ ผู้มีโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเป็นธรรมดาก็พ้นจากโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส "
" เราไม่เล็งเห็นองค์ประกอบภายนอกอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีประโยชน์มากสำหรับภิกษุผู้เป็นเสขะเหมือนความมีกัลยาณมิตร , ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร ย่อมกำจัดอกุศลได้ และย่อมยังกุศลให้เกิดขึ้น "
"ความมีกัลยาณมิตร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ยิ่งใหญ่ , เพื่อความดำรงมั่น ไม่เสื่อมสูญ ไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม " ฯลฯ
|
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 09:08
กัลยาณมิตรธรรม 7 องค์คุณของกัลยาณมิตร , คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ |
คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือ ท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ
|
- น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษาไต่ถาม (ปิโย )
- น่าเคารพ ในฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งได้ และปลอดภัย (คร)
- น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ ( ภาวนีโย)
- รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี ( วตฺตา จ)
- อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษา ชักถาม คำเสนอ และวิพากษ์วิจารณ์ อดทนฟังได้ไม่เบื่อไม่ฉุนเฉียว ( วจนกฺขโม)
- แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจและให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ่งยิ่งขึ้นไป
- ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย (โน จฏฺฐาเน นิโยชเย)
|
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 09:09
มิตรปฏริรูปก์ หรือ มิตรเทียม 4 คนเทียมมิตร , คนที่พึงทราบว่าเป็นศัตรูผู้มาในร่างของมิตร- คนปอกลอก คนขนเอาของเพื่อนไปถ่ายเดียว อัญญทัตถุหร มีลักษณะ 4 คือ
1.1 คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว
1.2 ยอมเสียน้อย โดยหวังจะเอาให้มาก
1.3 ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน
1.4 คบเพื่อน เพราะเห็นแก่ผลประโยชน์
- คนดีแต่พูด วจีบรม มีลักษณะ 4 คือ
2.1 ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย
2.2 ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย
2.3 สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้
2.4 เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง
- คนหัวประจบ อนุปปิยภาณี มีลักษณะ 4 คือ
3.1 จะทำชั่วก็เออออ
3.2 จะทำดีก็เออออ
3.3 ต่อหน้าสรรเสริญ
3.4 ลับหลังนินทา
- คนชวนฉิบหาย อปายสหาย มีลักษณะ 4 คือ
4.1 คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา
4.2 คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน
4.3 คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น
4.4 คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
|
|
|
ที่มา : พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ผู้แต่ง พระธรรมปิฎก สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2546 หน้า 57, 132, 204
http://www.easyinsurance4u.com
โดย: Sornpraram เวลา: 2013-7-9 09:09
ลักษณะของมิตรแท้ 4 จำพวก
1 มิตรมีอุปการะ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้โดยสถาน 4 คือ
1.1 รักษาเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
1.2 รักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อนผู้ประมาทแล้ว
1.3 เมื่อมีภัยเป็นที่พึ่งพำนักได้
1.4 เมื่อกิจที่จำต้องทำเกิดขึ้นเพิ่มทรัพย์ให้สองเท่า [เมื่อมีธุระช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก]
2 มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน 4 คือ
2.1 บอกความลับ [ของตน] แก่เพื่อน
2.2 ปิดความลับของเพื่อน
2.3 ไม่ละทิ้งในเหตุอันตราย
2.4 แม้ชีวิตก็อาจสละเพื่อประโยชน์แก่เพื่อนได้
3 มิตรแนะประโยชน์ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน 4 คือ
3.1 ห้ามจากความชั่ว
3.2 ให้ตั้งอยู่ในความดี
3.3 ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
3.4 บอกทางสวรรค์ให้
4 มิตรมีความรักใคร่ ท่านพึงทราบว่าเป็นมิตรแท้
โดยสถาน 4 คือ
4.1 ไม่ยินดีด้วยความเสื่อมของเพื่อน
4.2 ยินดีด้วยความเจริญของเพื่อน
4.3 ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน
4.4 สรรเสริญคนที่สรรเสริญเพื่อน
จาก พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค ข้อ 192-196
โดย: Metha เวลา: 2013-7-9 16:02
ผมเจอมิตรแท้แล้วครับ
คือพี่ๆน้องๆ คศช ครับ
โดย: sriyan3 เวลา: 2013-7-9 16:36
ขอบคุณครับ
โดย: Metha เวลา: 2013-12-14 09:48
ขอบคุณน่ะขอรับ
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |