Baan Jompra

ชื่อกระทู้: มณีนาคราช [สั่งพิมพ์]

โดย: Marine    เวลา: 2015-8-24 19:37
ชื่อกระทู้: มณีนาคราช
มณีนาคราช


[attach]11915[/attach]
  
      ..หลังจากที่ท่านมหาพลาสูรดับสังขารลงแล้ว ปรากฏว่าส่วนต่างๆของร่างกายท่านได้ แปรสภาพเป็นรัตนชาติต่างๆเพื่อความเป็นมงคลแก่โลกโดยเทพยดาทั้งหลายได้อัญเชิญ ไปสถิตในดินแดนต่างๆเช่นนิลไปประดิษฐานในประเทศสิงหล (ประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน) นัยน์ตาข้างขวาบังเกิดเป็นแก้วไพทูรย์ประดิษฐานไว้ในเขตเมืองพิรุญนคร เป็นต้น ในตอนที่ท่านมหาพลาสูร สิ้นชีพนั้นได้มีพญานาคชื่อ พาสุกินนาคราช ผุดขึ้นจากนาคพิภพเพื่อสูบโลหิตของท่านมหาพลาสูรเป็นมังสาหาร ต่อมาพาส ุกินนาคราชถูกพญาครุฑพากินถึงเมืองตรุษดาษเมื่อพญานาคจะสิ้นชิวิต ได้สำรอกโลหิต กลายเป็น รัตนชาติชื่อนากสวาดิ และ มรกต (มรกฏ) ส่วนน้ำลายที่สำรอกออกกลายเป็น ครุทธิการ รวมเป็นสามชนิดซึ่ง ที่ท่านหลวงนรินทราภรณ์(ชู) ได้บรรยายไว้อย่างสละสลวยด้วยเชิงวรรณกรรมลิลิตกำเนิดเนาวรัตน์ไว้ดังนี้

ร่าย
อังคตเธอเทียรแถลงบรรจงแจงเจียรจัด
ดำหรับรัตนในเรื่องแนะนำเนื่องเนาวรา
มาแต่มหาปฐมกัปป์สำหรับราชประยูร
หวังนุกูลสัตว์โลกย์โดยยุติโยคเพ็ญญาณ
มีอนุสารสุนทรสาสน์ปางอศิรราชอสุรินทร์
ดับกสิณสิ้นชีพิตรมีมหิทธิอุรคพ
เข้าสู่ศพสูบเลือดดื่มดูดเดีอดแห้งหาย
แล้วลาศผายเลื่อนเลื้อยเร็วเรื่อยเรื้อยโดยสดอก
ไปสำรอกราบเรืองประเทศเมืองตรุษดาษ
เปนนากสวาติทั้งผองเคารพสองมรกฏ
เขฬะหยดครุทธิการครบเอาวสานสิ้นสุด
นาคม้วยมุดวายชนม์ในสิงหฬประเทศ
เพื่อผลเหตุโลหิตอสุรต้องติดพิศม์โสรมศรี
เขียวขจีพรายเพริศกำเนิดรัตนาสาม
มีพรรณงามเงื่อนเเต้มควรคู่ขวัญเนตรแย้ม
อย่างไว้คุงวันนี้นา ฯ
(อักขระวิธีโบราณ)

     จะเห็นได้ว่าท่านหลวงนรินทราภรณ์ (ชู)นั้นเป็นกวีชั้นเยี่ยมยอดท่านหนึ่งในสมัยนั้น วรรณกรรม ลิลิตกำเนิดเนาวรัตน์หรือลิลิตนพรัตน์ที่ท่านแต่งนั้นมีสำนวนคำประพันธ์ ที่ไพเราะสละสลวยไม่แพ้กวีใดใดเลยแสดงว่าท่านผู้นี้นอกจากเป็นช่างทองหลวง ผู้มีฝีมือเเล้วยังคงเป็นผู้คงแก่เรียนซ้ำยังเชี่ยวชาญอักษรศาสตร์เป็นอย่างดีด้วย เรื่องที่ท่านพรรณนานั้นถึงแม้เป็นเพียงตำนานก็จริงแต่ตัวแก้วต่างๆที่ท่านบรรยาย ไว้นั้นเป็นของที่ชาวสยามโบราณเชื่อถือและแสวงหามาเป็นเครื่อง ประดับเพื่อความเป็นสิริมงคลมาช้านาน ตามที่ได้เผยแพร่เรื่องราวไปในฉบับที่แล้ว มีผู้พยามยามสอบถามมาเกี่ยวกับเรื่องแก้วรัตนะของไทย โดยพยายามนำไปเทียบเคียงกับการเล่นหารัตนชาติในปัจจุบันที่อ้างอิงข้อมูลกับต่างประเทศ จึงขอชี้แจงอีกครั้งว่าเป็นคนละเรื่องกันอย่านำมาคิดเป็นเรื่องเดียวกันเพราะอาจจะสับสน ควรทราบว่าคนโบราณท่านดูลักษณะแก้วด้วยผิวพรรณ วรรณะ และคุณสมบัติบาง ประการเป็นคนละวิธีกันกับปัจจุบันที่ใช้วิธีนำไปเปรียบเทียบกับรัตนะ ชาติที่มาจากต่างประเทศแล้วเอาของเขาเป็นหลัก เอาของเราไปเทียบเรื่องถึงได้อลวนวุ่นวาย การเขียนบทความนี้คือขอ ให้คิดอย่างชาวสยามมิใช่เดินตามชาติอื่นแต่ถ่ายเดียว อย่าให้คุณค่าผู้อื่นจนเกินไป ของเขาดีก็รับไว้ใช้ประโยชน์ได้แต่ไม่ควรทิ้งของ ของเราที่ดีดีซึ่งก็มีอีกหลายประการแบบสมุนไพรไทยหลายชนิดยกตัวอย่างเช่น “หัวบุก” พืชสมุนไพรที่ใช้ลดความอ้วนอย่างมีประสิทธิภาพดีเยี่ยมที่ถูกต่างชาตินำ ไปจดทะเบียนเป็นลิขสิทธิ์ของเขาอย่างน่าเสียดายที่คนไทยเราเองไม่รักษา ให้เป็นมรดกของชาติเข้าทำนอง “ใกล้เกลือ กินด่าง”

    จากเนื้อความของลิลิตที่ยกมาอ้างอิง จะเห็นได้ชัดเจนว่า รัตนะชาติไทยเรามีความเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับนาคราชนั้นมีถึงสามประการ โดยจัดนากสวาดิไว้แยกประเภทจาก “มรกต”(มรกฏ) โดยชัดเจน(ซึ่งจะกล่าวเปรียบเทียบต่อไป)ทั้งนี้จากการ ค้นคว้าและสอบถามผู้รู้หลายท่านก็ยังมีมติบางประการไม่ตรงกันเพราะ บางท่านจัดมรกตที่มีสีเหมือนน้ำแตงกวา เป็นรัตนะชาติที่เรียกว่า นากสวาดิ ซึ่งจะขัดกับเนื้อความลิลิตอย่างเห็นได้ชัดเจน ที่ว่า “ กำเนิดรัตนสาม มีพรรณงามเงื่อนแต้ม” จึงขอจำแนกรัตนะชาติทั้งสามตามตำราดังนี้

[attach]11916[/attach]




โดย: Marine    เวลา: 2015-8-24 19:40
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Marine เมื่อ 2015-8-24 19:41

มณีนาคราช


    นากสวาดิ เป็นพลอยชนิดหนึ่งที่มีสีเขียวโดยจำแนกไว้สี่สัณฐานมีบันทึกในลิลิตฯดังนี้[attach]11917[/attach]
โคลงสี่
นากสวาดิชาติสี่ไซ้สัณฐาน
สีดั่งงูเขียวปานเปรียบแท้
ผิวไผ่ตับเต่าทานเสมอเทียบ
บางก็เขียวดำแล้สี่สิ้นโดยแสดง ฯ

คือบอกลักษณะของนากสวาดิไว้สี่แบบโดยจำแนกตามสี คือ
๑. เขียวเหมือนสีงูเขียว
๒.เหมือนผิวไม้ไผ่ (เขียวเข้มน่าจะเป็นแก้วทึบด้วยวรรณะนี้)
๓. สีเขียวไม้ตับเต่า
๔. เขียวออกดำ
ซึ่งจะเห็นในว่าแตกต่างจากการแบ่งวรรณะ สีของมรกตที่ค่อนข้างชัดเจนแสดงว่าเป็นพลอยคนละชนิดกันอย่างแน่นอน มิฉะนั้นคงไม่แยกกล่าวถึงสองคราว นตำรานพรัตน์นี้กล่าวว่าเป็นเลือดที่พญาพาสุกรินนาคราชสำรอกออกมาในทีเเรก จึงมีการกล่าวถึงสรรพคุณไว้เป็นพิเศษว่า สามารถแช่น้ำนำมาแก้พิษอสรพิษต่างๆ ได้ทั้งผู้ที่ถือไว้จะมีอำนาจที่ทำให้ข้าศึกศัตรูต้องพ่ายแพ้ไป ส่วนการจะรู้ว่านากสวาดินี้แท้หรือไม่ก็คือราวเดือนสี่ จะปรากฏรอยที่เนื้อแก้วซึ่งผู้รู้บางท่านก็บอกว่า มีลักษณะเหมือนรูปงูและรอยดังกล่าวนี้ก็คงเป็น เช่นเนื้อพลอยทั่วไปที่มักมีรอยภายในที่เราเรียกว่า “รอยผักชี” นั่นเองแต่นากสวาดนี่ตำราจะกล่าวว่า จะปรากฏชัดในเดือนสี่ซึ่งรอยนี้จะปรากฏ ให้เห็นเพียงสามครั้งเท่านั้นในหนึ่งปีซึ่งในมติ ของผู้รู้บางท่านว่าการจะดูรอยที่ว่านี้คือต้อง มีพิธีกรรมบวงสรวงที่ถูกวิธีการด้วยโดยจะเห็น เป็นนิมิตรคล้ายกับมีงูอยู่ที่เครื่องบัดพลีนั้นก็มี เรื่องการดูสีแก้วและรอยต่างๆที่ปรากฏในแก้ว แต่ละชนิดเท่าที่ผู้เขียนค้นคว้าทดสอบดู นั้นคนโบราณท่านดูสองหรือสามชั้นคือ ดูลักษณะที่ปรากฏภายนอก ทั่วๆไปคือสีสรรวรรณะสมบัติบางประการเช่นไพฑูรย์บางชนิดแช่น้ำนม ขนาดร้อยเท่าน้ำหนักแก้วดวงนั้นจะเห็นสีแก้วส่องออกมาให้เห็นได้เป็นต้น กับดูรัศมีแสงของแก้วนั้นที่แผ่ออกมา ตามที่ศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า “ออร่า” (Aura) นั่นเอง เคยทดสอบนำพลอยที่มองแบบปกติเป็นสีหนึ่งแต่พอ ทดสอบด้วยการมองออร่าจะพบว่าแท้ที่จริงนั้นแก้วดวงนั้นแผ่รัศมี(ออร่า) ออกมาอีกสีหนึ่งหรือมากกว่าสีที่มีอยู่ก็มี อันนี้เป็นเรื่องของพลังงาน ที่แก้วแต่ละชนิดปล่อยออกมาส่วน รอยที่ปรากฏเป็นตัวนาคในเวลาเดือนสี่ นั้นจะเป็นรูปของเปลวรัศมีที่ปรากฏเนื่องจากสัมพันธ์กับการที่โลก เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ในลักษณะที่เรียกว่า “จุดราตรีเสมอภาค”(กลางวันมีระยะเวลาเท่ากับกลางคืน) ก็อาจเป็นได้ซึ่งเรื่องสีและรัศมีของพลอยนั้นจะยังไม่กล่าวในเบื้องลึก เนื่องจากอาจยากแก่การทำความเข้าใจด้วยองค์ความรู้ที่จะพิสูจน์ได้นั้น ต้องมีการปรับให้เสมอกันเป็นประการสำคัญ พลอยนาคสวาดที่พบนั้นเท่าที่พบทางกายภาพจะเป็นพลอยหลายชนิด คือมีทั้งสีทึบและสีใสที่แสงผ่านได้เคยนำนากสวาดให้คนรู้จักกันอม ขณะรู้สึกไม่สบายเวียนศีรษะก็ปรากฏว่ามีอาการทุเลาดีขึ้นภายในเวลาไม่กี่นาที และบอกว่าพลอยนาควาดนั้นเวลาอมมีกระแสเหมือนไฟฟ้าอ่อน ๆ ดูดที่ลิ้น เเละทำให้น้ำลายมีรสหวาน ซึ่งมีบางราย เมื่อเอาน้ำลายที่อมนากสวาดิลองทาตรงที่แมลงป่องต่อยก็มีอาการทุเลาลงอย่างเห็นได้ชัด เรื่องนี้ยกมาเล่าเป็นส่วนประกอบเท่านั้นจัดเป็นปรากฏการณ์เฉพาะตัว ที่ไม่อาจ จะยืนยันได้ตามหลักเกณฑ์วิทยาศาสตร์จึงให้เป็นความเชื่อส่วนบุคคล

ครุทธิการ
[attach]11918[/attach][attach]11918[/attach]ครุทธิการเป็นรัตนะชาติที่ตำนานกล่าวว่า เกิดจากน้ำลายของพญาพาสุกินนาคราชที่สำรอกออกมาที่ลิลิตกำเนิดเนาวรัตน์เขียนว่า “เขฬะหยดครุทธิการ”พลอยชนิดนี้เท่าที่พบจะมีลวดลาย และเป็นแก้วทึบแสงตามตำราได้เเบ่งเป็นสามวรรณะดังนี้


โคลงสี่
ครุทธิการชาญเดชได้โดยยินมาฤา
เขียวดั่งทองตกดินคลุกเคล้า
ผิวสำริดมลทินไฟลวก หนึ่งนา
บางสุพรรณเซาเศร้าส่อซ้ำเป็นสาม ฯ
     สรุปความว่า ครุทธิการนั้นมีสามวรรณะ คือ
     ๑.สีเขียวดั่งทองคำคลุกดินคือสีเหลืองที่มีลายสีดินประปรายอยากรู้ ใครมีทองรูปพรรณก็ลองเอาคลุกดินดูถ้าจะให้ถูกสตางค์หน่อยก็ ทองคำเปลวแท้ที่ใช้ปิดพระพุทธรูปนั่นลองคลุกดินดู จะให้บรรยายชัดกว่านี้ก็คงบอกไม่ถูกเหมือนกันครับ
     ๒..สีสำริดเกรียมไฟ วรรณะนี้มีสองประการคือสีสำริด ที่แก่ไฟคือที่ต้มน้ำโลหะทองสำริดจนถึงขั้นที่เรียกว่า “จัด”สีจะออกบรอนซ์ทองแดงถูกไฟเป่าคือเขียวอมน้ำตาล และอีกสีหนึ่งคือสีสนิมสัมฤทธิ์คือเขียวซีดลองดูงานสัมฤทธิ์เก่าก็ได้
     ๓.สีทองด้านคือเหลืองซีด สำหรับอิทธิคุณของครุทธิการนี้ กล่าวตามตำราว่าผู้ใดมีไว้จะมากด้วยเสน่ห์ เป็นที่รักแก่ชนทั้งปวงและมีชัยชนะแก่ศัตรูเจริญยศศักดิ์ พลอยชนิดนี้จึงเป็นที่นิยมของขุนนางในสมัยโบราณที่นิยม หามาทำเครื่องประดับที่นอกเหนือจากนพรัตน์ทั้งเก้าประการ ยังกล่าวว่าครุทธิการนี้จะเเสดงเหตุเตือนเจ้าของด้วยหากสีซีดลง จะเเสดงว่ามีเคราะห์อาจเจ็บป่วยหรือมีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ หากผู้สวมแหวนนี้ดื่มกินของมีพิษผิดสำแดงหรือต้องอาถรรพ์ รัตนะชาติชนิดนี้จะเกิดเหงื่อเป็นน้ำผุดขึ้นด้วย และบรรยายสรรพคุณต่ออีกว่า น้ำที่แช่พลอยชนิดนี้ จะเป็นยาวิเศษบำบัดโรคแก้อาถรรพ์ดังกล่าวได้ ผู้ดื่มกินน้ำที่แช่ครุทธิการเป็นประจำจะมีสังขารที่ ดูอ่อนวัยกว่าที่เป็นจริงด้วย อันนี้ให้พิจารณาดูเอานะครับเพราะยังไม่มีผู้พิสูจน์สักที และวิธีการใช้รัตนะชาติชนิดนี้ว่าต้องทำสิ่งใด บ้างก็มักปิดเป็นความลับจนบางครั้งไม่สามารถจะค้นคว้าได้ถึง

     บรรดาพลอยทั้งสองชนิด ที่เรียกว่านากสวาดิและครุทธิการนี้เป็นของหายากมีน้อย ไม่ดาษดื่นเช่นมรกตนานไปจึงไม่สามารถหามาดูหรือซื้อขายกันได้แพร่หลายและ มักมีการแอบอ้างมากกว่ารู้จริงจึงหายจากวงการอัญมณีไทยในที่สุดและหากใคร ได้ครอบครองพลอยสองสิ่งนี้ก็นับว่ามีบุญมากโขอยู่ที่ได้แก้ววิเศษจากตำนานไว้ครอบครอง สำหรับมณีนาคราชชนิดต่อไปนั้น



[attach]11919[/attach][attach]11919[/attach]

(สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในนิตยสารอุณมิลิต ฉบับที่ ๑๐ เดือนมีนาคม ๒๕๔๘)


ที่มา http://www.ounamilit.com/


โดย: Metha    เวลา: 2015-8-24 20:33

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-8-25 09:17

โดย: Nujeab    เวลา: 2015-8-25 11:18
ขอบคุณครับ




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2