Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
ต้องค้านทั้งระบบ "ตำรวจเกณฑ์"และ"ทหารเกณฑ์"
[สั่งพิมพ์]
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2015-7-31 07:32
ชื่อกระทู้:
ต้องค้านทั้งระบบ "ตำรวจเกณฑ์"และ"ทหารเกณฑ์"
ถ้าอ้างว่าเป็นประชาธิปไตย ก็ควรต้องค้านทั้งระบบ "ตำรวจเกณฑ์"และ"ทหารเกณฑ์"
หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติตำรวจว่าด้วยตำรวจกองประจำการหรือที่เรียกว่าตำรวจเกณฑ์
โดยให้เหตุผลว่านี่เป็นวิธีการที่จะแก้ปัญหาการขาดแคลนตำรวจในระดับปฏิบัติการเพื่อที่จะออกตรวจตราดูแลความปลอดภัยชาวบ้านโดยมองว่าปัญหาตำรวจขาดแคลนแก้ได้ด้วยการเกณฑ์ตำรวจเช่นเดียวกับระบบทหาร
กล่าวคือระบบทหารนั้นก็จะมีการคัดเลือกชายไทยที่อายุครบ20 ปีและไม่ได้เรียนรักษาดินแดนเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารซึ่งโดยปกติก็จะมีกองทัพบก กองทัพเรือและอากาศ
แต่หลังจากกฎหมายฉบับนี้บังคับใช้แล้วก็จะมีการเพิ่มในส่วนของตำรวจเข้ามาด้วย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อใช้หลักเกณฑ์เดียวกับทหารเกณฑ์นั้น จะต้องมีการจ่ายเงินเดือนเดือนละ 9,000 บาทและมีระยะเวลาในการประจำการ 2 ปีโดยไม่มียศ และเมื่อปลดประจำการก็จะเป็นทหารกองหนุน
ทั้งนี้โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติเคยระบุว่าประเทศที่เจริญแล้วจะมีอัตราการดูแลประชาชนของตำรวจคือ1ต่อ200 ขณะที่ประเทศไทยมีอัตราการดูแลประชาชนคือตำรวจ 1 คนต่อประชาชน 600 คน
ผู้เขียนไม่รู้ว่าสถิติดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่ ว่าตำรวจไทยต้องดูแลคนจำนวนมากขนาดนั้น และต่อให้เป็นจริงก็ตาม ก็เป็นสิทธิที่จะมีคนแสดงความไม่เห็นด้วย
อย่างแรกคือ อย่าลืมว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกับทหารนั้นมีสถานะทางกฎหมายที่แตกต่างกัน เอามาเทียบกันไม่ได้
กล่าวคือทหารมีหน้าที่ในการปกป้องดูแลประเทศชาติ มีรั้วรอบขอบชิด และทำการฝึก ประจำการอยู่ในกรมกอง ควบคุมได้ง่าย และโดยปกติก็ไม่มีอำนาจตามกฏหมายอาญาในการจับกุมคุมขังใครแบบตำรวจ หรือพูดง่ายๆก็คือไม่ได้มีอำนาจที่จะใกล้ชิดต่อประชาชนมากมายเท่าตำรวจ ปัญหาแรกคือว่ารัฐจะกำหนดบทบาทของตำรวจเกณฑ์ไม่ให้กระทบกระทั่งต่อสิทธิของประชาชนได้อย่างไร
เพราะตำรวจที่เป็นตำรวจอาชีพย่อมได้รับการฝึกหัดร่ำเรียนและมีความรู้ทางด้านกฎหมายมาบ้างจนเข้าใจเรื่องสิทธิของประชาชนเป็นอย่างดีก่อนจะมาปฏิบัติหน้าที่ส่วนตำรวจเกณฑ์ซึ่งเป็นการแบ่งกำลังมาจากหลักการเดียวกับของกองทัพ จะมีอะไรรับประกันว่าตำรวจเหล่านั้นจะเข้าใจเรื่องสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมดีพอ หากยิ่งมีอำนาจยิ่งน่ากลัวว่าจะใช้ไปในทางที่ไม่ถูก
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2015-7-31 07:33
การอ้างว่าประชาชนในประเทศไทยขาดความปลอดภัยและมีตำรวจไม่พอต้องใช้วิธีเกณฑ์ตำรวจมานั้นก็ต้องถามว่าวิธีการแก้ปัญหาแบบนี้เป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนหรือไม่เรามีวิธีการให้ได้มาซึ่งกำลังพลที่มีประวิทธิภาพอย่างอื่นหรือไม่ รวมถึงวิธีคิดดังกล่าวขัดกับหลักการของสังคมสมัยใหม่โดยเฉพาะหลักการประชาธิปไตยหรือไม่อย่างไร
เพราะอย่าลืมว่าการเกณฑ์ตำรวจหรือการเกณฑ์ทหารก็ตาม ให้ผู้ที่ถูกเกณฑ์มานั้นมีอำนาจเป็นข้าราชการประจำการล้วนแต่เกิดขึ้นภายใต้การใช้กฎหมายบังคับ ไม่ได้เกิดจากความสมัครใจ
เรื่องนี้สำคัญมาก เพราะ ในหลักการบริหารของโลกสมัยใหม่ เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่าอะไรก็ตามที่เกิดจากการบังคับจะก่อให้เกิดความไม่มีประสิทธิภาพตามมาได้ง่ายกว่าความสมัครใจ
โดยเฉพาะการอ้างระบบตำรวจและทหารของตะวันตกจนเป็นเหตุให้ต้องเพิ่มกำลังของกองทัพและตำรวจนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเพราะประเทศที่เจริญแล้วเขาล้วนปฏิเสธหลักการการบังคับเปลี่ยนเป็นระบบสมัครใจ หมดแล้ว กล่าวถคือ เขาไม่จำเป็นต้องบังคับให้ใครมาเข้ารับการฝึกหรือมาปฎิบัติหน้าที่ใดๆโดยได้รับค่าตอบแทนอันน้อยนิดแถมยังถูกบังคับกดขี่ถูกสั่งให้กระทำการใดๆด้วยอำนาจโดยปราศจากการตั้งคำถาม
วิธีการเหล่านี้ตะวันตกเค้าเลิกไปนานแล้วโดยเฉพาะทหารเกณฑ์เพราะเขารู้ว่ามันไม่มีประสิทธิภาพคนที่ไม่สมัครใจยังไงก็ต้องหนีหรือกระทำการฝ่าฝืนคำสั่งหากจำเป็น
ตัวอย่างเช่นครั้งหนึ่งสหรัฐอเมริกาก็เคยมีการเกณฑ์ทหารมารบในสงครามเวียดนาม และนี่คือจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้อเมริกายกเลิกการเกณฑ์ทหารเพราะถึงที่สุดทหารเหล่านั้นไม่ได้มีความตั้งใจที่จะกระทำเพื่อชาติบางส่วนลอบทำร้ายหัวหน้าที่ออกคำสั่ง เพราะต้องการกลับบ้าน หลายคนต้องจบชีวิตในสงครามโดยไม่รู้ว่าประเทศจะชนะหรือไม่หรือทำสงครามไปเพื่ออะไร ยิ่งนานยิ่งสูญเสียและไร้เป้าหมาย กระทั่งมีการต่อต้านการเกณฑ์ทหารทั่วประเทศ จนนำไปสู่การยกเลิกในที่สุด
แต่ประเทศประชาธิปไตยที่ยังมีการเกณฑ์ทหารอยู่ก็เช่นประเทศเกาหลีใต้ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าเป็นเพราะสถานการณ์ความขัดแย้งกับเกาหลีเหนือที่มีปัญหาอยู่ตลอดเวลาทำให้เกาหลีใต้ต้องเตรียมพร้อมกำลังพลขณะที่ประเทศไทยยังมองไม่เห็นเงื่อนไขใกล้เคียงกันเลยสักนิด
ล่าสุดนอกจากกฎหมายการเกณฑ์ตำรวจแล้วประเทศไทยยังมีการผ่านกฏหมายกำลังสำรองคือแยกการฝึกกำลังพลสำรองออกมาจากกฎหมายเดิมของทหารโดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการฝึกกำลังพลสำรองมากยิ่งขึ้น
เรื่องนี้ถามว่ามีประโยชน์หรือไม่แน่นอนก็ต้องตอบว่ามีเพราะยิ่งกำลังพลสำรองเยอะ ตัวเลขความพร้อมรบทางสถิติของเมืองไทยก็สูงขึ้น
แต่คำถามคือเรามีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการรบขนาดนั้นหรือและกำลังพลหลักที่มีอยู่หลายเเสนคนในขณะนี้ยังไม่เพียงพออีกหรือ
ทั้งนี้ตามกฎหมาย ชายไทยทุกคนที่ผ่านการเกณฑ์ทหารและการเรียนรักษาดินแดนก็ต้องเป็น กำลังพลสำรองที่กองทัพมีอำนาจในการเรียกตัวได้เสมออยู่แล้ว
แต่กฎหมายฉบับนี้ก็จะทำให้กองทัพสามารถเรียกชายไทยที่เป็นทหารกองหนุนเข้ามาฝึกได้เพิ่มมากขึ้นนอกจากนี้ยังกำหนดโทษให้กับบริษัทที่ไม่จ่ายค่าจ้างหากพนักงานของตนเองถูกเรียกมาฝึกชายไทยทุกคนไม่เว้นแม้แต่เพศที่3 ก็จะต้องถูกเรียกมาฝึกได้ตลอดเวลา
เรื่องนี้จึงไม่สามารถปฏิเสธที่จะมองได้ว่าวิธีคิดเรื่องความมั่นคงของไทยเรายังอยู่ในกรอบของการรบพุ่งที่เน้นกำลังและอาวุธโดยเชื่อว่าหากใครมีกำลังหรืออาวุธเยอะเพียบพร้อมกว่ากันก็จะชนะหากเกิดสงครามทั้งที่วิธีคิดเรื่องความมั่นคงในปัจจุบันก้าวพ้นเรื่องพรมแดนและกำลังอาวุธไปบ้างแล้ว ปัจจุบันเค้ามองกันเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การใช้หลักดุลอำนาจในการถ่วงดุล การรวมกลุ่มประเทศในการต่อรองทางการเมืองและเศรษฐกิจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน
พูดแบบนี้ ก็ไม่ได้ปฏิเสธว่ากำลังพลสำรองรวมถึงการเพิ่มกำลังพลไม่จำเป็น เพราะกำลังรบของในประเทศตะวันตก บางส่วนก็ไม่ใช่กำลังพลประจำการ แต่กองหนุนการใช้กำลังคนสำรองของประเทศตะวันตกนั้นเกิดขึ้นด้วยความสมัครใจและมีผลประโยชน์ตอบแทนที่สมเหตุสมผลมีศักดิ์ศรี
ขณะที่ประเทศไทยยังพยายามที่จะเพิ่มกำลังคนเข้ามาอยู่ในกองทัพด้วยวิธีการใช้กฎหมายบังคับและกำหนดโทษอาญาหากใครไม่ยอมมารายงานตัวพร้อมอ้างวาทกรรมอาญาสิทธิ์เรื่องความรักชาติในการดำเนินการต่างๆอยู่สม่ำเสมอ จนกลายเป็นว่าใครที่ตั้งคำถามเรื่องประสิทธิภาพถูกกล่าวหาว่าไม่รักชาติเสียอีก
นี่ยังไม่ต้องพูดเรื่องความสิ้นเปลืองงบประมาณและต้นทุนค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ระบบเกณฑ์คนซึ่งเราก็รู้กันอยู่ว่าการใช้ระบบดังกล่าวในประเทศไทยในลักษณะบังคับที่จริงแล้วก็มีปัญหาด้านการดำเนินการอยู่พอสมควร โดยเฉพาะเรื่องความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมายหรือกล่าวให้ชัดกว่านั้นคือถึงที่สุดก็รู้กันอยู่ว่ามันมุ่งบังคับใช้กับคนระดับล่างที่ไม่มีทางหนีทีไล่ ไม่มีต้นทุนในการเอาตัวรอดที่ดีพอ
จึงเป็นสิทธิที่คนส่วนหนึ่ง ในสังคมจะแสดงความเห็นว่าระบบดังกล่าวมันขัดกับหลักการประชาธิปไตยในสังคมสมัยใหม่ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิและเสรีภาพโดยเฉพาะเรื่้องการบังคับ แม้ว่าในสังคมสมัยใหม่ ประชาชนในรัฐมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะพลเมือง ซึ่งก็มีทั้งการจ่ายภาษี รวมถึงในอดีตก็ต้องจับปืนออกรบ แต่อย่างที่เห็นกันว่าสถานการณ์ปัจจุบันมันไม่จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมขนาดนั้น เพราะเราไม่ใช่รัฐสงครามหรือใกล้เคียงจะเกิดสงคราม รวมถึงกำลังพลประจำการก็มีมากมาย
หลายคนจับได้ใบเเดง ต้องเป็นทหาร (หรือในอนาคตจะมีตำรวจเพิ่มมาอีก) 2 ปี เมื่อครบกำหนดปลดออกมา เกิดถูกสุ่มถูกเรียกมารายงานตัว ต้องฝึกกำลังพลสำรองต่ออีก กลายเป็นว่า อายุขนาดนี้แล้ว ควรที่จะมีครอบครัว ศึกษาหาความรู้ อยู่เลี้ยงดูพ่อเเม่ ยังต้องมาแบกปืนฝึกทหารกลางป่า
การอ้างเรื่อง การปกป้องภัยพิบัติ อุทกภัยต่างๆ ยิ่งผิดฝาผิดตัวไปใหญ่ เพราะมันไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของทหาร จึงใช้อ้างในทางกฏหมายไม่ได้ (แม้ในความจริง ทหารจะออกหน้าช่วยเหลือประชาชนเสมอก็ตาม) เรื่องนี้เป็นหน้าที่ที่รัฐจะต้องไปปฏฺิรูปจัดองคาพยพการแก้ปัญหากันใหม่ ก็ต้องว่ากันไป แต่ไม่ใช่การพึ่งพาทหารอย่างเป็นทางการ
ในส่วนหลักการบริหารการจัดการนั้นก็ยังมีปัญหาเพราะระบบการ"เกณฑ์"ดังกล่าวมักไม่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรที่ดีพอกับประโยชน์ที่จะได้รับทั้งยังไม่มีความจำเป็นเฉพาะหน้าเพียงพอ
ที่สำคัญใครก็ตามที่ไม่เห็นด้วยกับระบบดังกล่าวจะต้องไม่ถูกโยงว่าสังกัดอยู่กลุ่มการเมืองใดหรือมีความคิดล้าหลังเข้ารกเข้าพงมีอคติทางการเมืองมาบดบังเพราะการไม่เห็นด้วยกับเรื่องดังกล่าวไม่ได้ยืนอยู่ลอยๆโดยไม่มีหลักการ
ถึงเวลาอีกครั้ง ที่เราต้องตอบคำถามว่า “ที่สุดเเล้ว การแก้ปัญหาของประเทศ เราจะหาทางออกอย่างลดต้นทุน ด้วยการ "เกณฑ์" เอาง่ายๆอย่างนั้นหรือ และที่สุดเเล้ว มัน ตอบโจทย์อะไรให้กับประเทศชาติ?
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1438230949
โดย:
morntanti
เวลา:
2015-7-31 08:33
เลิกการเกณฑ์เปลี่ยนเป็นรับสมัครได้แล้วจะได้คนที่เค้าเต็มใจในการเข้าทำหน้าที่....ปริมาณมากใช่จะมีประสิทธิภาพมีแต่สิ้นเปลืองงบประมาณ....ยุคสมัยเปลี่ยนไปกองทัพต้องปรับเปลี่ยนเน้นคุณภาพกำลังพลไม่ใช่ปริมาณ....
โดย:
majoy
เวลา:
2015-7-31 21:08
ไม่เคยได้ยินเลย อิรัฐประเทศไหน ที่ทำแบบนี้ ไม่เข้าใจจริงๆ
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2