Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
เขาสรรพยา
[สั่งพิมพ์]
โดย:
Sornpraram
เวลา:
2015-7-20 15:14
ชื่อกระทู้:
เขาสรรพยา
เขาสรรพยาในเรื่องรามเกียรติ์ที่กล่าวมานี้ เชื่อกันว่าคือเขาสรรพยาที่ตำบล-อำเภอสรรพยานี้เอง ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ฟัง มีเรื่องพิสดารปลีกย่อยอีกมากมายพอปะติดปะต่อเป็นเรื่องได้ดังนี้
เล่ากันว่า เมื่อพระลักษมณ์รบกับกุมภกรรณและเสียทีถูกหอกโมกขศักดิ์ พิเภกได้ทูลให้พระรามทรงทราบถึงฤทธิ์ของหอกและยาที่จะแก้ไข จึงได้มีพระบัญชาให้หนุมาน
ชื่อของตำบลและอำเภอสรรพยามีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์เช่นเดียวกับชื่อของท้องถิ่นอื่น ๆ ในบริเวณเขตจังหวัดใกล้เคียง เช่น เมืองลพบุรี ทุ่งพรหมาสตร์ ทะเลชุบศรในจังหวัดลพบุรี เป็นต้น ในพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๒ เรื่องรามเกียรติ์ได้กล่าวถึงเขาสรรพยาในศึกกุมภกรรณครั้งที่ ๒ ซึ่งรบกับพระลักษมณ์ กุมภกรรณได้พุ่งหอกโมกขศักดิ์ถูกพระลักษมณ์สลบไป พวกนายกองจะฉุดแก้ไขอย่างใดก็หาเขยื้อนได้ไม่ เพราะเป็นหอกศักดิ์สิทธิ์ ในที่สุดพิเภกจึงทูลพระรามว่า
ซึ่งพระน้องต้องหอกอสุรินทร์ ยังไม่สิ้นชีวังสังขาร์
แม้นได้สังกรณีตรีชวา กับปัญจมหานที
ประสมเป็นโอสถบดพอก ให้แก้หอกโมกขศักดิ์ยักษี
พระลักษมณ์ก็จะคืนสมประดี ภูมีจงดำริตริการ ฯ
พระรามได้มีพระบัญชาให้หนุมานไปเก็บสังกรณีตรีชวาหรือสรรพยา ซึ่งอยู่ที่เขาสรรพยามาแก้ไขพระลักษมณ์ หนุมานจึงรีบเหาะไป
ครั้นถึงสรรพยาสิงขร วานรลงเดินริมเนินผา
ร้องเรียกสังกรณีตรีชวา อยู่ไหนออกมาอย่าช้าที
ได้ยินขานข้างล่างลงไปค้น กลับขึ้นไปกู่อยู่บนคิรีศรี
จึงเอาหางกระหวัดรัดคิรี มือกระบี่คอยจับสรรพยา ฯ
ไปเอาสังกรณีตรีชวาหรือสรรพยา หนุมานได้เหาะไปที่เขาหลวง แต่ไม่รู้จักสังกรณีตรีชวาจึงร้องถามหาอยู่ตีนเขา ก็ได้ยินขานรับอยู่บนยอดเขา เมื่อขึ้นไปยอดเขาร้องถามหาอีกก็ได้ยินขานรับอยู่ตีนเขา ในที่สุดหนุมานโกรธพอได้ยินขานรับบนยอดเขาก็หักเอากลางเขาแบกเหาะไป เมื่อเหาะไปได้สักพักก็บิส่วนหนึ่งทิ้งไปกลายเป็นเขาขยายในเขตอำเภอเมืองชัยนาทปัจจุบัน ขณะที่เหาะต่อมารู้สึกกระหายน้ำยิ่งนัก แลเห็นบึงใหญ่อยู่กลางทางจึงแวะเอาเขาวางลงริมบึง (ภายหลังเรียกบึงนี้ว่า "บึงสรรพยา") วักน้ำด้านตะวันตกเฉียงใต้ขึ้นดื่ม ทำให้บริเวณนี้ลึกกว่าที่อื่น ๆ (ต่อมาบึงสรรพยาตื้นเขิน บึงเล็กลงปัจจุบันเหลือแต่ "บึงอรพิม") เนื่องจากบริเวณนี้เป็นดินเลน เขาที่หนุมานวางไว้ได้ยุบจมดินจนติดแน่น เมื่อหนุมานดื่มน้ำแล้วจึงยกเขาไม่ขึ้น
แต่บางท่านว่าเมื่อหนุมานกระหายน้ำ ได้เหาะลงวางเขากลางทุ่งนาแล้วเดินไปขอน้ำเด็กเลี้ยงควาย แต่เด็กเลี้ยงควายเห็นหนุมานเป็นลิงนอกจากจะไม่ให้น้ำแล้วยังหยอกล้อเล่นอีกด้วย หนุมานโกรธเดินไปดื่มน้ำที่แม่น้ำ (เจ้าพระยา) ทางเดินไปกลับเป็นลำรางข้างวัดโบสถ์ (วัดร้าง) ชาวบ้านเรียกว่า "บางโบสถ์" (ปัจจุบันตื้นเขินแล้ว) ขณะที่เดินไปดื่มน้ำนั้นเขาได้งอกรากติดกับพื้นดิน เมื่อหนุมานได้ดื่มน้ำแล้วกลับมายกเขาไม่ขึ้น จึงเรียกสังกรณีตรีชวาเช่นครั้งก่อนแล้วหักเอายอดเขาด้านทิศใต้ไป เขาสรรพยาด้านทิศใต้จึงลาดลง ก่อนจากไปหนุมานนึกเคืองว่าบนเขานี้มีสรรพยารักษาได้ทุกโรค แต่คนที่นี่ใจจืดขอแค่น้ำก็ไม่ให้กินเลยสาปไว้ว่าอย่าให้คน (เกิด) สรรพยาใช้ยาถูกกับโรคใด ๆ เลย (แต่คน-เกิด-ที่อื่นมาเอาสรรพยาไปรักษาโรคหาย) และสลัดขนเป็นต้นละมานให้เข้าหูเพื่อป้องกันคนขึ้นไปหาสรรพยาบนเขา แล้วหนุมานก็เหาะนำเขาไป แต่โดยที่เป็นยอดเขามีขนาดเล็กลง หนุมานได้คอนเขาไปแล้วเอาไปวางที่เกิดเหตุ จึงเรียกสืบกันมาว่า "เขาสมอคอน" (หรือสะโหมคอนตามสำเนียงชาวบ้าน) ที่ตำบลสมอคอน อ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี ปัจจุบัน
เมื่อหนุมานได้สาปไว้ ตอนแรกชาวบ้านก็เรียกว่า "เขาสาปยา" แต่ภายหลังเรียกแก้เคล็ดเป็นเขาสรรพยา (สับ-พะ-ยา) ส่วนบึงที่หนุมานวักน้ำดื่มก็เรียกบึงสรรพยา เนื่องจากบริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงมีตะกอนมาทับถม บึงจึงตื้นเขินเป็นที่นาไปแล้วมาก เหลือบางส่วนปัจจุบันเรียกบึงอรพิม (แต่ก็ตื้นเขินเป็นที่นาเป็นส่วนใหญ่ บางท่านจึงเรียกว่า "หนองอรพิม") บางท่านว่าบึงอรพิมนี้เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนที่พม่ามาท้าสร้างพระพุทธรูปที่งดงามและใหญ่ที่สุด ทางกรุงศรีอยุธยารับท้าและได้มอบให้ศรีธนชัยรับผิดชอบ แต่ศรีธนชัยใช้ไม้ไผ่สานเอาดินพอกแล้วลงรักปิดทองลวงพม่า ฝ่ายพม่าให้คนมาสอดแนมเห็นเช่นนั้นจึงรีบกลับไปบอกพวกของตน และพบขณะนำพระพุทธรูปล่องแพมาตามลำน้ำ พอพม่าได้ทราบเช่นนั้นก็คิดหนี จะนำพระพุทธรูปกลับไปด้วยก็ลำบากและชักช้า จึงได้ทำลายแพทิ้งพระพุทธรูป ด้วยความใหญ่และหนักของพระพุทธรูป (เล่ากันว่า ปลาช่อนขนาดปลาสี่ปลาห้า หรือขนาดลำแขนผู้ชายหนักประมาณ 1 ก.ก. อยู่ในรูพระนาสิก (จมูก) ได้) จึงเกิดห้วงน้ำเป็น "บึงอรพิม" เชื่อกันว่าพระพุทธรูปยังคงจมอยู่ในบึงอรพิม แต่จะปรากฏหรือไม่ให้ผู้ใดพบเห็นก็ได้
โดย:
majoy
เวลา:
2015-7-23 22:34
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2