Baan Jompra

ชื่อกระทู้: สืบชะตา พิธีมงคลแห่งชีวิต โดย พนมกร นันติ [สั่งพิมพ์]

โดย: voon    เวลา: 2015-7-18 19:33
ชื่อกระทู้: สืบชะตา พิธีมงคลแห่งชีวิต โดย พนมกร นันติ



หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “พิธีสืบชะตา” มาแล้วบ้างว่าเป็นพิธีกรรมส่วนหนึ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตคนเมืองหรือคนล้านนามาอย่างยาวนาน  บางคนคงเพียงแค่ได้ยินแต่ไม่เคยเห็นหรือรู้จักว่าเป็นพิธีกรรมอย่างไร  และบางคนอาจะเคยเห็นพิธีกรรมการที่มีไม้ค้ำทำเป็นรูป 3 มุม และมีอุปกรณ์ต่างๆ เยอะแยะมากมาย  ผู้คนเอาด้ายสายสิญจน์เวียนรอบศีรษะตัวเอง  โดยมีพระสงฆ์นั่งสวดมนต์ไปด้วยนั้น  ว่าเป็นพิธีกรรมเกี่ยวกับอะไร  ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นเราเรียกว่า   “พิธีสืบชะตา”  อันเป็นประเพณีวัฒนธรรมที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตกับชาวล้านนามาอย่างยาวนาน
พิธีสืบชะตานั้นเป็นพิธีมงคล คำว่า “สืบ” ความหมายคือต่อให้ยาวขึ้น “ชะตา” หรือชาตาชีวิตของแต่ละคน ดังนั้นพิธีนี้จึงเสมือนเป็นพิธีกรรมในการต่ออายุให้ยืนยาวขึ้นหรือที่เราเรียกเป็นภาษาภาคกลางว่า “พิธีอายุวัฒนมงคล” นั่นเอง แต่สิ่งที่แตกต่างไปจากพิธีกรรมของภาคอื่น จะเห็นได้จาอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ประกอบในพิธี  ซึ่งสิ่งที่จะขาดไม่ได้ก็คือเครื่องสืบชะตาผู้เขียนจะได้อธิบายว่าในส่วนของเครื่องสืบชะตานั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  และแต่ละสิ่งแต่ละอย่างในคติความเชื่อของชาวล้านนานั้น  บ่งบอกและแฝงไว้ด้วยคติความเชื่ออย่างไรบ้าง  
แต่ก่อนที่จะอธิบายถึงตรงนั้นผู้เขียนขอเล่าให้ฟังก่อนว่า  พิธีกรรมในการสืบชะตานั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป  มีทั้งการสืบชะตาแบบเดี่ยวหรือคนเดียว  การสืบชะตาแบบครอบครัว  ซึ่งส่วนมากชาวล้านนามักจะกระทำกันในพิธีทำบุญบ้านใหม่  หรือที่ชาวล้านนาเรียกว่า ทำบุญขึ้นเฮือนใหม่(เฮือน หมายถึง เรือนหรือบ้านเรือน)  โดยมีความเชื่อว่าจะส่งผลให้เจ้าของบ้านพร้อมทั้งลูกหลานจะได้อยู่เย็นเป็นสุขและมีอายุมั่นขวัญยืนในการเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านหลังใหม่  และพิธีสืบชะตาอีกแบบคือทำแบบกลุ่มใหญ่ๆ หรือคนหมู่มาก  ที่เรียกว่าสืบชะตาหลวง(หลวง ภาษาคำเมืองหมายถึง ใหญ่)  
ส่วนใหญ่มักจะเห็นกันในช่วงเทศกาลสงกรานต์หรือประเพณีขึ้นปีใหม่ไทย  ซึ่งชาวล้านนาจะเรียกประเพณีนี้ว่า “ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง”  ซึ่งชาวบ้านในแต่ละชุมชนหรือแต่ละคุ้มวัด จะจัดให้มีพิธีสืบชะตาหลวงและพิธีการส่งเคราะห์ของคนทั้งชุมชน เพื่อความเป็นสิริมงคลและความร่มเย็นเป็นสุขของคนในชุมชน  ซึ่งบางแห่งจะทำกันที่วัด  บางแห่งจะทำกลางหมู่บ้านอาศัยทางแยกที่เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน ที่เรียกว่า “กลางใจบ้าน”  เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี  ซึ่งขึ้นอยู่ที่ความสะดวกและประเพณีที่เคยถือปฏิบัติสืบต่อกันมา  ซึ่งในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่มักจะกระทำกันที่วัด  เนื่องจากเกิดความสะดวกและมีความพร้อมมากกว่านั่นเอง และเครื่องสืบชะตาก็จะมีความแตกต่างกันออกไป  ขึ้นอยู่กับจำนวนคน ความพร้อม  และปัจจัยของผู้เป็นเจ้าภาพด้วย


นอกจากนี้การประกอบพิธีสืบชะตายังมีองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง  โดยเฉพาะเรื่องของฤกษ์ผานาที  เนื่องจากการประกอบพิธีสืบชะตาเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมงคลของชีวิต  ดังนั้นการเลือกเอาวันที่ประกอบพิธีมักจะเป็นวันที่มีฤกษ์ที่ดีด้วย  ส่วนพิธีสืบชะตาหลวงที่ชาวล้านนาทำกันในช่วงสงกรานต์นั้น  มักทำกันในวันที่ ๑๕ เมษายน  เพราะชาวล้านนาถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันขึ้นปีใหม่ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า “วันพญาวัน”(พญา ภาษาคำเมืองหมายถึง ผู้เป็นใหญ่) ซึ่งถือว่าเป็นวันที่เป็นใหญ่ของวันทั้งหมด  เป็นยอดวันที่ดีที่สุด



หลังจากที่ได้ฤกษ์ในการประกอบพิธีมงคลแล้ว  สิ่งที่เจ้าภาพจะลืมไม่ได้นั่นคือการนิมนต์พระสงฆ์เพื่อมาประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์และพิธีสืบชะตา  ซึ่งทั้ง ๒ พิธีนี้จะกระทำควบคู่กันไปโดยพระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์เพื่อเสกน้ำมนต์ และสวดบทสืบชะตาต่อเนื่องกันไป  ซึ่งผู้เขียนจะได้นำมากล่าวต่อไป  จำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์มานั้นมักจะถือจำนวนที่เป็นมงคลเช่น ๙ รูป ๗ รูป หรือ ๕ รูป ขึ้นอยู่กับความพร้อมและกำลังปัจจัยของผู้เป็นเจ้าภาพเช่นกัน  แต่โดยส่วนใหญ่แล้วในการสืบชะตาในพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ก็มักจะนิมนต์พระ ๙ รูป  เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะถือเคล็ดเลข ๙ คือความก้าวหน้า นั่นเอง
          ในส่วนของเครื่องสืบชะตานั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง  ซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายถึงความหมายของแต่ละอย่างไปด้วย  ตามคติความเชื่อของชาวล้านนาว่าบรรพบุรุษได้แฝงไว้ซึ่งปรัชญาและคติความเชื่ออะไรไว้บ้าง  องค์ประกอบชองเครื่องสืบชะตาหลักๆ นั้นประกอบไปด้วย
          ไม้ก้ำ หรือไม้ค้ำ ซึ่งมีลักษณะเหมือนไม้ง่ามลูกเสือ จำนวน ๓ เล่ม ซึ่งขนาดของไม้ค้ำนี้จะเล็กหรือใหญ่ขึ้นอยู่กับว่าพิธีนั้นเป็นการสืบชะตาทั่วไปหรือสืบชะตาหลวง  ถ้าเป็นพิธีสืบชะตาหลวงไม้ค้ำก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นตามลำดับ   ในคติความเชื่อของชาวล้านนาแต่



โดย: voon    เวลา: 2015-7-18 19:36
กิ๋นเงิน-เกิ๋นคำ “เกิ๋น” เป็นภาษาเหนือหมายถึงเกริน  หรือบันได ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะขอใช้คำว่าบันใดซึ่งง่ายต่อความเข้าใจของทุกท่าน  ประโยชน์ของบันใดใช้สำหรับปีนป่ายหรือขึ้นที่สูง  ดังนั้นความหมายและคติความเชื่อที่คนโบราณท่านแฝงไว้นั้น หมายถึงการก้าวขึ้นสู่ที่สูง มีความสูงส่ง  มีความก้าวหน้าในชีวิต  ถ้าเป็นข้าราชการจะแทนความหมายของการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งหรือยศศักดิ์ให้สูงขึ้น  โดยจะทำเป็นรูปบันใดเล็กๆ พันด้วยกระดาษสีเงินและสีทอง  ซึ่งหมายถึงบันใดเงินบันใดทอง สีเงินและสีทองแฝงความหมายให้มีเงินมีทองใช้ ให้เกิดความมั่งคั่งด้วยเช่นกัน  บางแห่งถ้าสถานที่ไม่เอื้ออำนวยหรือเป็นพิธีสืบชะตาแบบเล็กๆ ไม่ได้ใหญ่โตมาก  ก็จะมีการย่อขนาดลงเหลือเพียงอันเดียวหรือทำเป็นรูปบันใดเล็กๆ พอเป็นเครื่องหมายเท่านั้น
องค์ประกอบต่อมาของเครื่องสืบชะตา  ได้แต่กระบอกทราย กระบอกน้ำ ตุงชัย และเทียนซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ ๔-๗ จะเห็นได้ว่าผู้เขียนยกเอาองค์ประกอบทั้ง ๔ อย่างนี้ขึ้นมากล่าวพร้อมกันซึ่งผู้เขียนจะได้อธิบายความหมายขององค์ประกอบทั้ง  ๔  อย่างต่อไป  แต่ก่อนจะถึงตรงนั้นผู้เขียนขออธิบายความหมายเพิ่มเติมถึงพิธีกรรมการสืบชะตาว่านอกจากเป็นพิธีกรรมการต่ออายุแล้ว  ยังแฝงไว้ซึ่งความแข็งแรงของร่างกายและไร้ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิ่งคู่กันที่จะให้คนเรามีอายุยืนยาวได้  ตามคติโบราณชาวล้านนาและชาวพุทธเชื่อกันว่า  ร่างกายของมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวตนได้นั้น  ประกอบไป
ด้วยธาตุหลัก ๔ ธาตุ คือดิน น้ำ ลม และไฟ  ดังนั้นการที่จะให้ชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ต้องประกอบไปด้วยธาตุเหล่านี้  ในพิธีการสืบชะตาคนโบราณได้นำเอาหลักการของธาตุทั้ง ๔ มาเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการจัดเตรีมเครื่องสืบชะตา และธาตุทั้ง ๔ นี้จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่ผู้เขียนกล่าวไว้ข้างต้นอย่างไร  ผู้เขียนขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้



กระบอกทรายและกระบอกน้ำ  เป็นลำไม้ไผ่ที่มีขนาดความยาวสูงเท่าๆ กับไม้ค้ำ ส่วนหัวและท้ายจะกรอกทรายลงไปและหุ้มปลายทั้ง ๒ ด้านให้แน่นไม่ให้ทรายรั่วออกมา  บางแห่งจะใช้ลำของต้นอ้อที่มีขนาดเล็กมัดรวมกัน ๑๐๘ อัน กรอกทรายลงไปให้ครบวางไว้มุมหนึ่งของไม้ค้ำ  ซึ่งกระบอกทรายนี้เป็นเสมือนสิ่งที่แทนธาตุดินในร่างกายของคนเรา  และกระบอกน้ำก็จะลักษณะเช่นเดียวกันนี้  ซึ่งใช้แทนความหมายของธาตุน้ำนั่นเอง
ตุงชัย ท่านรู้จักและเคยเห็นตุงกันมาแล้วบ้าง  แต่ตุงชัยนี้ลักษณะจะแตกต่างจากตุงผืนผ้ายาวๆ ตุงชัยจะเป็นตุงที่มีรูปร่างลักษณะเป็นตุงสามเหลี่ยมทำด้วยผ้าหรือกระดาษ  ส่วนมากในพิธีสืบชะตามักจะใช้กระดาษว่าวหลากหลายสี มาตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมและฉลุลวดลายให้เกิดความสวยงาม ถ้าเป็นเครื่องสืบชะตาขนาดเล็กชาวบ้านจะนำตุงมาปักลงบนก้านกล้วยแล้วมัดรวมกับไม้ค้ำ  แต่ถ้าเป็นพิธีสืบชะตาหลวงมักนิยมนำมาปักลงบนต้นคาหรือต้นกล้วย  วางไว้ตามมุมของเครื่องสืบชะตา  และบริเวณส่วนยอดของไม้ค้ำ ซึ่งความหมายของตุงชัยนี้จะโบกไสวไปมาก็ต่อเมื่อมีลมพัดผ่าน  จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงพลังลม  หรืออีกนัยหนึ่งใช้แทนธาตุลม
เทียน หรือเทียนชัย  ทำด้วยขี้ผึ้งแท้  ไส้เทียนมีจำนวน ๑๐๘ เส้น ซึ่งแฝงไว้ด้วยมงคล ๑๐๘ ดังที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในฉบับที่แล้ว  นำมาปักไว้ส่วนบนของไม้ค้ำหรือมุมใดมุมหนึ่งของไม้ค้ำ ที่สะดวกพอที่จะเอื้อมจุดเทียนถึง  เทียนเล่มนี้จะจุดขณะที่พระสงฆ์เริ่มเจริญพระพุทธมนต์  แสงเทียนที่ลุกโชติช่วงนั้นเปรียบได้กับแสงแห่งปัญญา  และนำความสว่างไสวตลอดจนความรุ่งโรจน์มาสู่เจ้าชะตามที่ประกอบพิธีนั้นๆ นอกจากนี้แล้วเปลวเทียนยังทำให้เกิดความร้อนซึ่งแสดงถึงธาตุไฟที่ประกอบเป็นธาตุของคนเรา เป็นธาตุที่ ๔ ด้วย จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้เขียนได้อธิบายมาถึงตรงนี้  เป็นสิ่งที่คนในสมัยโบราณมีคติความเชื่อ ที่แฝงไว้ซึ่งความหมายที่ลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นพิธีสืบชะตาจึงเป็นพิธีกรรมที่ทำให้คนเรามีขวัญและกำลังใจที่ดีในการดำรงชีวิต  เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่ดีและถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนกระทั่งทุกวันนี้  เครื่องประกอบพิธีสืบชะตายังมีรายละเอียดและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ผู้เขียนจะขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
องค์ประกอบที่ ๘ ของเครื่องสืบชะตา ชาวล้านนาเรียกกันว่า “ฮาวเงิน-ฮาวคำ” (ซึ่งหมายถึงราวหรือที่จับ เช่นราวสะพานหรือราวบันได) หรือบางแห่งชาวบ้านจะเรียกกันว่า “ลวดเงิน-ลวดคำ”  ซึ่งจะใช้เชือกหรือลวดความยาวเท่ากับไม้ค้ำ  พันด้วยกระดาษสีเงินและทองมัดติดกับก้านไม้ไผ่  และนำมาผูกรวมไว้กับไม้ค้ำ  ซึ่งความหมายของราวนี้จะให้แทนความหมายว่าช่วยประคับประครอง  ไม่ให้ล้มหรือเพื่อให้เกิดความมั่นคงขึ้น  นอกจากนี้ในองค์ประกอบของเครื่องสืบชะตายังมีองค์ประกอบหรืออุปกรณ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก  หากสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่า พิธีกรรมการสืบชะตานี้จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของผู้คนด้วย  ซึ่งเครื่องสืบชะตานั้นจะประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นปัจจัยสี่รวมอยู่ด้วย ดังที่ผู้เขียนจะได้ยกตัวอย่างและอธิบายดังนี้
โดย: voon    เวลา: 2015-7-18 19:37


กระบอกทรายและกระบอกน้ำ  เป็นลำไม้ไผ่ที่มีขนาดความยาวสูงเท่าๆ กับไม้ค้ำ ส่วนหัวและท้ายจะกรอกทรายลงไปและหุ้มปลายทั้ง ๒ ด้านให้แน่นไม่ให้ทรายรั่วออกมา  บางแห่งจะใช้ลำของต้นอ้อที่มีขนาดเล็กมัดรวมกัน ๑๐๘ อัน กรอกทรายลงไปให้ครบวางไว้มุมหนึ่งของไม้ค้ำ  ซึ่งกระบอกทรายนี้เป็นเสมือนสิ่งที่แทนธาตุดินในร่างกายของคนเรา  และกระบอกน้ำก็จะลักษณะเช่นเดียวกันนี้  ซึ่งใช้แทนความหมายของธาตุน้ำนั่นเอง
ตุงชัย ท่านรู้จักและเคยเห็นตุงกันมาแล้วบ้าง  แต่ตุงชัยนี้ลักษณะจะแตกต่างจากตุงผืนผ้ายาวๆ ตุงชัยจะเป็นตุงที่มีรูปร่างลักษณะเป็นตุงสามเหลี่ยมทำด้วยผ้าหรือกระดาษ  ส่วนมากในพิธีสืบชะตามักจะใช้กระดาษว่าวหลากหลายสี มาตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมและฉลุลวดลายให้เกิดความสวยงาม ถ้าเป็นเครื่องสืบชะตาขนาดเล็กชาวบ้านจะนำตุงมาปักลงบนก้านกล้วยแล้วมัดรวมกับไม้ค้ำ  แต่ถ้าเป็นพิธีสืบชะตาหลวงมักนิยมนำมาปักลงบนต้นคาหรือต้นกล้วย  วางไว้ตามมุมของเครื่องสืบชะตา  และบริเวณส่วนยอดของไม้ค้ำ ซึ่งความหมายของตุงชัยนี้จะโบกไสวไปมาก็ต่อเมื่อมีลมพัดผ่าน  จึงเป็นเครื่องหมายแสดงถึงพลังลม  หรืออีกนัยหนึ่งใช้แทนธาตุลม
เทียน หรือเทียนชัย  ทำด้วยขี้ผึ้งแท้  ไส้เทียนมีจำนวน ๑๐๘ เส้น ซึ่งแฝงไว้ด้วยมงคล ๑๐๘ ดังที่ผู้เขียนได้อธิบายไว้ในฉบับที่แล้ว  นำมาปักไว้ส่วนบนของไม้ค้ำหรือมุมใดมุมหนึ่งของไม้ค้ำ ที่สะดวกพอที่จะเอื้อมจุดเทียนถึง  เทียนเล่มนี้จะจุดขณะที่พระสงฆ์เริ่มเจริญพระพุทธมนต์  แสงเทียนที่ลุกโชติช่วงนั้นเปรียบได้กับแสงแห่งปัญญา  และนำความสว่างไสวตลอดจนความรุ่งโรจน์มาสู่เจ้าชะตามที่ประกอบพิธีนั้นๆ นอกจากนี้แล้วเปลวเทียนยังทำให้เกิดความร้อนซึ่งแสดงถึงธาตุไฟที่ประกอบเป็นธาตุของคนเรา เป็นธาตุที่ ๔ ด้วย จะเห็นได้ว่าสิ่งที่ผู้เขียนได้อธิบายมาถึงตรงนี้  เป็นสิ่งที่คนในสมัยโบราณมีคติความเชื่อ ที่แฝงไว้ซึ่งความหมายที่ลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง  ดังนั้นพิธีสืบชะตาจึงเป็นพิธีกรรมที่ทำให้คนเรามีขวัญและกำลังใจที่ดีในการดำรงชีวิต  เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่ดีและถูกถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่นจวบจนกระทั่งทุกวันนี้  เครื่องประกอบพิธีสืบชะตายังมีรายละเอียดและองค์ประกอบอื่นๆ ที่ผู้เขียนจะขออธิบายเพิ่มเติมดังนี้
องค์ประกอบที่ ๘ ของเครื่องสืบชะตา ชาวล้านนาเรียกกันว่า “ฮาวเงิน-ฮาวคำ” (ซึ่งหมายถึงราวหรือที่จับ เช่นราวสะพานหรือราวบันได) หรือบางแห่งชาวบ้านจะเรียกกันว่า “ลวดเงิน-ลวดคำ”  ซึ่งจะใช้เชือกหรือลวดความยาวเท่ากับไม้ค้ำ  พันด้วยกระดาษสีเงินและทองมัดติดกับก้านไม้ไผ่  และนำมาผูกรวมไว้กับไม้ค้ำ  ซึ่งความหมายของราวนี้จะให้แทนความหมายว่าช่วยประคับประครอง  ไม่ให้ล้มหรือเพื่อให้เกิดความมั่นคงขึ้น  นอกจากนี้ในองค์ประกอบของเครื่องสืบชะตายังมีองค์ประกอบหรืออุปกรณ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก  หากสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่า พิธีกรรมการสืบชะตานี้จะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของผู้คนด้วย  ซึ่งเครื่องสืบชะตานั้นจะประกอบไปด้วยสิ่งที่เป็นปัจจัยสี่รวมอยู่ด้วย ดังที่ผู้เขียนจะได้ยกตัวอย่างและอธิบายดังนี้

โดย: voon    เวลา: 2015-7-18 19:37


“ขันข้าว” ภาษาเหนือหมายถึง  สำรับอาหาร โดยในเครื่องสืบชะตานั้นจะต้องมีสำหรับอาหารจำนวนหนึ่งสำรับวางไว้ที่มุมไม้ค้ำ  ในปัจจุบันลักษณะของสำรับอาหารก็เปลี่ยนมาเป็นปิ่นโต เนื่องจากสะดวกในการจัดเตรียมและประหยัดพื้นที่ในการจัดวางด้วย  นอกจากสำรับอาหารแล้ว  ยังมีหมาก เมี่ยง บุหรี่  ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้  สามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของชาวล้านนามาอย่างยาวนาน  โดยจะนำมาประดิดประดอยให้เกิดความสวยงาม  บางแห่งจะถักบุหรี่เป็นรูปผืนตุง  บางแห่งจะตัดเป็นคำๆ   รวมไปถึงหมาก เมี่ยง ใบพลู  และนำมาผูกติดกับก้านไม้ไผ่  ให้มีขนาดความยาวเท่ากับไม้ค้ำ  และผูกติดไม้ค้ำไว้ด้วยเช่นกัน
“หม้อน้ำ” หรือตุ่มดินเผาใบเล็กๆ ใส่น้ำไว้ข้างในพอเป็นพิธี  ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่เช่นกัน  เมื่อเราทานข้าวเสร็จเราก็ต้องดื่มน้ำตามทุกครั้ง  ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของผู้คนอยู่แล้ว  ดังนั้นในความหมายที่แฝงไว้ของคนโบราณ  เพื่อให้มีกินไม่อดอยาก



“เครื่องนอน”  อันประกอบไปด้วย เสื่อ หมอน ผ้าห่ม ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของคนเรา  แทนความหมายของการมีนุ่งห่มและได้มีที่อาศัยหลับนอน
นอกจากนี้ยังมี ข้าวเปลือก ข้าวสาร ใส่กระบุงหรือภาชนะไว้ ต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าว กล้วย หรือบางแห่งอาจจะมีฟักทอง ฟักเขียวเพิ่มเติมก็มี  ซึ่งหากเรามองให้ลึกลงถึงนัยที่คนโบราณนำเอาข้าวของเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนประกอบของเครื่องสืบชะตา  ซึ่งจะหมายถึงให้เกิดความอุดมสมบูรณ์  ความมั่งคั่งและความพรั่งพร้อมให้มีกินมีใช้ไปตลอดนั่นเอง  เมื่อตั้งเครื่องสืบชะตาเสร็จเรียบร้อยแล้ว  จะต้องนำด้ายสายสิญจน์มาพันรอบเครื่องสืบชะตาปล่อยชายข้างหนึ่งไว้ตรงกลาง  สำหรับผู้เข้าพิธีใช้เวียนรอบศีรษะ   และโยงไปยังตำแหน่งที่พระสงฆ์นั่งเจริญพระพุทธมนต์  หากเป็นการสืบชะตาแบบใหญ่ๆ หรือที่เรียกว่าสืบชะตาหลวงนั้น  ชาวล้านนาจะใช้วิธีขึงด้ายสายสิญจน์เหนือศีรษะให้เต็มสถานที่ประกอบพิธี  เพื่อให้เกิดความทั่วถึงผู้เข้าร่วมพิธีทุกคน  โดยทำเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมและปล่อยชายลงมาพอที่จะเวียนรอบศีรษะของคนที่นั่งอยู่ด้านล่างได้  ส่วนบริเวณตรงกลางที่ตั้งเครื่องสืบชะตาไว้จะให้ผู้ที่เป็นประธานในพิธีหรือผู้ที่มีอาวุโสสูงสุดนั่งอยู่ข้างใน ที่อีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ขณะที่ประกอบพิธีคือฆ้องชัย  ซึ่งจะลั่นฆ้องชัยในขณะที่พรสงฆ์สวดถึงบทอัญเชิญเทวดา  การลั่นฆ้องชัยนี้เพื่อเป็นการบอกกล่าวเทวดาทั้ง  ๑๖ ชั้นฟ้า ๑๕ ชั้นดินและ ๑๗ ชั้นบาดาล  เพื่อให้รับรู้นับทราบถึงงานอันเป็นการมงคลครั้งนี้  และจะลั่นฆ้องชัยไปจนกระทั่งพระสงฆ์สวดจบบทดังกล่าว



โดย: voon    เวลา: 2015-7-18 19:38


ผู้รวบรวม-เรียบเรียง  
            นายพนมกร  นันติ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
๑.    พระครูรัตนกิตติญาณ(ศรีชุ่ม กิตติญาโณ) เจ้าอาวาสวัดเกตุแก้ว อ.พาน จงเชียงราย
๒.    พระคณุพิศาลธรรมานุรักษ์  รองเจ้าอาวาสวัดเกตุแก้ว อ.พาน จงเชียงราย
๓.    พระครูสมุห์นวัตถกรณ์ อริยเมธี เจ้าอาวาสวัดดงหนองเป็ด อ.เมือง จ.เชียงราย
๔.    อาจารย์นิพนธ์  อ้ายไชย อาจารย์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย





โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-7-19 06:28

โดย: majoy    เวลา: 2015-7-19 09:51
ขอบคุณครับ นานๆ มาทีแต่สาระแน่นมาก ไว้มีเวลา มาอ่านให้ละเอียดอีกรอบดีกว่า
โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-7-20 15:29
majoy ตอบกลับเมื่อ 2015-7-19 09:51
ขอบคุณครับ นานๆ มาทีแต่สาระแน่นมาก ไว้มีเวลา มาอ่านให้ละเอียดอีกรอบดีกว่า



โดย: majoy    เวลา: 2015-7-20 18:56
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2015-7-20 15:29

อีตานี่ใครครับนี่
โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-7-21 05:40
majoy ตอบกลับเมื่อ 2015-7-20 18:56
อีตานี่ใครครับนี่

องค์ชาย 4 คัก ๆ  




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2