Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
ทุ่งไหหิน
[สั่งพิมพ์]
โดย:
oustayutt
เวลา:
2015-6-26 16:54
ชื่อกระทู้:
ทุ่งไหหิน
ทุ่งไหหิน
(
ลาว
: ທົ່ງໄຫຫິນ,
อังกฤษ
: Plain of Jars) คือ ภูมิประเทศทาง
โบราณคดี
ซึ่งเป็นที่ตั้งของหินใหญ่ (Megalith) ที่กระจัดกระจายไปทั่วที่ราบสูงเชียงขวาง
แขวงเชียงขวาง
ทางเหนือของ
ประเทศลาว
ประกอบด้วยหินใหญ่รูปทรงไหนับพัน ปรากฏเป็นกลุ่มๆ ตลอดแนวเขาและอยู่ล้อมรอบหุบเขาสูง
ที่ราบสูงเชียงขวาง ตั้งอยู่บริเวณเหนือสุดของ
เทือกเขาอันนัม
(Annamite Range) อันเป็นเทือกเขาหลักใน
อินโดจีน
โดยมีการค้นพบทุ่งไหหินเบื้องต้นในช่วง ค.ศ. 1930 ซึ่งกล่าวถึงไหหินที่สัมพันธ์กับพิธีกรรมเกี่ยวกับงานศพใน
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
จากนั้นได้มีการขุดค้นโดยนักโบราณคดีชาวลาวและชาวญี่ปุ่น และมีการค้นพบวัตถุเกี่ยวกับงานศพและเครื่องเคลือบรอบๆ ไหหิน วัตถุเหล่านั้นถูกกำหนดให้อยู่ในช่วงสมัยยุคเหล็ก (Iron Age) และกลายเป็นหนึ่งในแหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจและสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในการศึกษายุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์ใน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แหล่งโบราณคดีทุ่งไหหินบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมที่ซับซ้อนมากขึ้นและโครงสร้างหินใหญ่ ที่อยู่ในชุมชนยุคเหล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
รัฐบาลลาวกำลังผลักดันให้องค์การยูเนสโกจดทะเบียน ทุ่งไหหิน (Plain of jar) ในแขวงเซียงขวางเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งหนึ่งเคียงคูกับเมืองหลวงพระบาง แขวงเซียงขวางเป็นพื้นที่ทางโบราณคดีสำคัญของลาว เพราะมีพื้นที่ราบหลายแห่งเต็มไปด้วยไหหินอายุระหว่าง 2,500 - 3,000 ปี จำนวนหลายพันชิ้นที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่โต
โดย:
oustayutt
เวลา:
2015-6-26 16:55
เรื่องราวและตำนานของลาวได้เล่าสืบกันมาว่า ครั้งหนึ่งมีการต่อสู้ของยักษ์ซึ่งอาศัยในดินแดนแห่งนี้ ในตำนานท้องถิ่นบอกเล่าถึงกษัตริย์โบราณนามว่า "ขุนเจือง" ซึ่งเข้าปราบปรามยักษ์และต่อสู้กันอย่างยาวนาน ในที่สุดก็สามารถพิชิตศัตรูของเขาได้
กษัตริย์สั่งให้สร้างไหเพื่อชงเหล้าลาวและเพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะ ไหถูกหล่อแบบขึ้นมาโดยใช้วัสดุธรรมชาติ เช่น ดินเหนียว ทราย น้ำตาล และซากพืชซากสัตว์ในรูปแบบหินผสม เป็นต้น โดยสันนิษฐานว่าถ้ำที่ 1 ในบริเวณทุ่งไหหินคือเตาเผา และไหหินยักษ์ถูกเผาที่นี่ ซึ่งจริงๆ แล้วอาจจะไม่ได้ทำมาจากหิน ข้ออธิบายอื่นๆ กล่าวไว้ว่าไหสร้างขึ้นเพื่อเก็บน้ำฝนในฤดูมรสุม โดยใช้สำหรับกองคาราวานซึ่งอาจไม่สามารถหาน้ำได้ระหว่างการเดินทาง
โดย:
oustayutt
เวลา:
2015-6-26 16:56
ข้อสันนิษฐาน
ปัจจุบันมีข้อสันนิษฐานกำเนิดทุ่งไหหิน 3 ประการ คือ
1.ตัดมาจากหินก้อนใหญ่จำนวนหนึ่ง ซึ่งทำไว้เพื่อบรรจุคนตายในสมัยก่อน เมื่อพันปีมาแล้ว (ก่อนประวัติศาสตร์ยุคเหล็ก 3,000-4,000 ปี) ตามความเชื่อของคนในสมัยนั้นที่ว่า สถานที่ฝังศพคนตายต้องรักษาไว้ในที่สูง เพื่อหลีกเว้นการเซาะพังทลายจากน้ำต่างๆ ดังนั้นจึงเห็นไหหินอยู่ในสถานที่เป็นเนินสูง
2.เป็นไหเหล้าของนักรบโบราณ คือตามตำนานกล่าวไว้ว่าระหว่างศตวรรษที่ 8 นักรบผู้กล้าหาญของลาวผู้หนึ่ง ชื่อว่าท้าวขุนเจือง ได้ยกกำลังพลไปทำสงครามแล้วก็ได้ชัยชนะอยู่ที่เชียงขวาง หลังจากได้รับชัยชนะแล้ว ก็ได้ทำการฉลองชัยอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 7 เดือน ไหที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นไหเหล้าสำหรับเลี้ยงไพร่พลในการฉลองชัยชนะของท้าวขุนเจือง ในคราวนั้น ดังนั้นคนลาวทั่วไปมักเรียกว่า “ไหเหล้าเจือง”
3.เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นเดียวกับสโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ ที่คล้ายคลึงกันคือเป็นหินตั้งกลางแจ้งเช่นเดียวกับทุ่งไหหินที่เชียงขวางนี้แต่มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%99
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2