"ผมถูกใส่ร้าย ผมไม่ได้ขโมยเงินในหอพระ
แต่ผมเข้าไปปัดกวาดเช็ดถูบ่อย ๆ ทุกคนก็หาว่าผมเป็นขโมย ไม่มีใครเชื่อผมเลย ฮือ ฮือ"
หลวงตานั่งลงข้าง ๆ พยักหน้าเข้าใจแล้วสอนลูกศิษย์ว่า
"เจ้ารู้ไหมในตัวเรามีคนอยู่สามคน
คนแรกคือ คนที่เราอยากจะเป็น
คนที่สองคือ คนที่คนอื่นคิดว่าเราเป็น
คนที่สามคือ ตัวเราที่เป็นเราจริง ๆ
ลูกศิษย์หยุดร้องไห้ นิ่งฟังหลวงตา
"คนเราล้วนมีความฝัน ความทะเยอทะยานอยาก
ตามประสาปุถุชนทั่วไป ไม่ใช่สิ่งเลวร้าย
บางครั้งความฝันก็เป็นสิ่งสวยงาม เป็นพลังที่ทำให้เราก้าวเดิน
ถ้าถึงจุดหมายเราก็จะรู้สึกว่าโลกนี้ช่างสว่างไสวสวยงาม
ดังนั้นเราควรมีความฝันไว้ประดับตน เพื่อเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงหัวใจ "
"มาถึงไอ้ตัวที่สอง จะเป็นเราแบบที่คนอื่นยัดเยียดให้เป็น บางครั้งก็ยัดเยียดว่าเราดีเลิศ
จนเราอาย เพราะจิตสำนึกเรารู้ดีว่ามันไม่จริงหรอก แต่เราก็ยิ้มรับ
แต่บางครั้งไอ้ตัวที่สองนี้ก็มหาอัปลักษณ์ จนไม่อยากจะนึกถึง ซ้ำร้ายยังเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เพราะมันเป็นโลกในมือคนอื่น มันเป็นสิ่งแปลกปลอมที่คนอื่นยื่นให้ "
"อย่างคนขับสิบล้อจอดรถอยู่ข้างทางเฉย ๆ เช้ามาพบศพใต้ท้องรถ ก็ต้องขับรถหนี
ทั้งที่ศพนั้น ถูกรถชนตายอีกฝั่งแล้วดันถลามาใต้ท้องรถ แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นคนขับสิบล้อ
บางคนก็ตัดสินไปแล้วว่าเขาเป็นฆาตกร "
คนที่ชอบนินทานั้นมองคนอื่นด้วยใจที่หยาบช้า ไร้วิจารณญาณ ใจแคบ
มองคนอื่นผ่านกระจกสีดำแห่งใจตัวเอง คนเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในสังคม
เจ้าต้องจำไว้นะ ทุกครั้งที่เราว่าคนอื่นเลว
คนอื่นไม่ดี ก็เท่ากับเราประจานความมืดดำในใจตัวเองออกมา
เห็นสิ่งไม่ดีของใครจงเตือนตัวเองว่าอย่าทำ อย่าเลียนแบบ
นั่นแหละวิถีของนักปราชญ์ ถ้าเอาไปว่าร้ายนินทาเรียกว่าวิถีของคนพาล "
"แล้วเราต้องทำตัวอย่างไรละครับในเมื่อเราต้องเจอคนเหล่านั้นเรื่อย ๆ "