ประวัติหลวงพ่อจั่น
วัดบางมอญ อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยา
ชีวประวัติหลวงพ่อจั่น วัดบางมอญ มหาราช ในอดีตแผ่นดินทองของตำบลบางนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นตำบลหนึ่งที่มีความเป็นซึ่งเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์สลับซับซ้อนอยู่ไม่น้อยทีเดียว
คำว่า "อยุธยา" นั้น ทุกคนย่อมรู้ว่าเป็นเมืองเก่าโบร่ำโบราณ และเคยเป็นเมืองหลวงของไทยมาแล้วสมัยหนึ่ง ความยิ่งใหญ่ไพศาลและความสมบูรณ์พูนสุข ทำให้ผู้คนในสมัยกรุงศรีอยุธยาเกิดความร่มเย็นเป็นสุข ซึ่งมีระยะเวลานานโขทีเดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของความรุ่งโรจน์ได้กลับมาเป็นร่วงโรย ก็เมื่อครั้งเสียกรุงเมื่อปี 2310 นี่เอง สิ่งที่เป็นพยานโดยประจักษ์ชัดนั้นก็คงได้แก่โบราณสถานอันสำคัญต่างๆ ในพระราชวังและซากกรุงโดยทั่วไป ซึ่งยังทิ้งความเก่ารกร้างไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้เชยชม ปูชนียวัตถุหรือโบราณวัตถุเหล่านั้นก่อให้เกิดสะท้อนทางอารมณ์ของคนไทยเราไม่น้อยเลยทีเดียว หลักฐานต่างๆ ถึงแม้จะเป็นเพียงน้อยนิด ก็ยังคงสะกิดใจของคนไทยเราอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ตำบลบางนา ในอดีตนั้นเป็นตำบลหนึ่ง ซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวรามัญ (มอญ) เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นชาวมอญเหล่านี้ได้มาตั้งรกรากถิ่นฐานประกอบสัมมาอาชีพที่สุดจริต โดยการปั้นหม้อดินเผา ปั้นโอ่ง ปั้นไห หม้อ กระปุก จานชาม ครก ต่างๆ ซึ่งชาวมอญมีความชำนาญมากได้มาทำการค้าขายให้กับคนไทยเราเรื่อยมา
โดยชาวมอญ ได้อพยพเคลื่อนย้ายมาจากจังหวัดปทุมธานีบ้างและที่อื่นๆ บ้าง เพราะชาวมอญทั้งหมดมีปรากฏอยู่ทั่วๆไป เพราะชาวมอญทั้งหมดมีปรากฏอยู่ทั่วไปๆ เช่น ชาวรามัญปากลัด พระประแดงชาวรามัญหมู่บ้านบางมอญ สิงห์บุรี ชาวมอญมีนิสัยชอบค้าขายเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ประกอบกับมีความชำนิชำนาญในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาอยู่ก่อนแล้ว ถึงแม้ว่าการเผาอิฐก็เช่นกัน ชาวรามัญมีความถนัดมากไม่น้อยเลยทีเดียว นับเป็นอาชีพหลักที่สืบเนื่องมาจากบรรพบุรุษของเขานั่นเองการมาตั้งรกรากถิ่นฐานที่ตำบลบางนาแห่งนี้ เขาคงจะเล็งเห็นว่าเป็นตำบลที่ค่อนข้างดี เหมาะเจาะเกี่ยวกับการค้าขายและการทำไรนาบ้าง พวกเขาเหล่านั้นจึงเลือกชัยภูมิดังกล่าวในตำบลนี้เป็นที่ตั้งพื้นฐานเพื่อก่อร่างสร้างฐานะของเขา
จากหลักฐานที่น่าจะทำให้คิดและสันนิษฐานว่าแหล่งตำบลบางนาแห่งนี้เป็นที่ตั้งของชาวรามัญนั้น มีอยู่ว่ามีเตาเผาและวัตถุอันเป็นวัสดุเกี่ยวกับดินเผา นั่นคือ หม้อ โอ่งไห ฝังจมพื้นที่ดินฝั่งลำคลองบางนาทั้งสองฝั่งฟาก ลำคลองแห่งนี้เป็นลำคลองเก่า ที่ประชาชนทั้งหลายหมู่เหล่า ได้ใช้เป็นที่สัญจร ไปมาหาสู่กันตลอดมา ครับ ยังไม่มีการชลประทาน เรือยนต์ และเรือจ้างและเรือพาย ก็เป็นปัจจัยสำคัญในครั้งนั้นอย่างมากทีเดียว
ลำคลองบางนา เป็นลำคลองที่ให้คุณประโยชน์แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมฝั่งคลองโดยทั่วไป ความอุดมสมบูรณ์ได้เกิดขึ้นแก่ประชาชนผู้พักอาศัยเป็นอันมากคลองนี้เป็นคลองที่แยกมาจากลำแม่น้ำ ลพบุรี ตรงตำบลกระทุ่ม ไหลล่องใต้มาบรรจบกันกับแม่น้ำป่าสัก ซึ่งไหลมาจากสระบุรีมาบรรจบกันที่ จ.อยุธยา (คือ แม่น้ำเจ้าพระยา-ป่าสัก-ลพบุรี) การทำมาค้าขายของชาวรามัญจึงต้องอาศัยเรือเป็นเรื่องสำคัญในการขนถ่ายสินค้า หม้อดิน โอ่ง ไห ต่างๆ ไปตามลำห้วย ลำคลอง หนองบึง และที่มีประชาชนอาศัยอยู่ ด้วยเหตุที่ปักหลักในการประกอบอาชีพอย่างเป็นล่ำเป็นสันนี่เอง จึงทำให้ชาวรามัญทั้งหลายทั้งมวลสร้างวัดขึ้น เพื่อประกอบศาสนกิจตามควรอันเกี่ยวกับประเพณีนิยมขึ้น วัดที่ชาวรามัญจัดสร้างขึ้นนั้น คือ วัดบางมอญ ซึ่งอยู่ในตำบลบางนา หมู่ที่ 4 อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยานี่เอง ในสมัยโบราณชาวบ้านแถบนั้นเชื่อว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวรามัญอย่างแน่นอน เพราะมีสถานที่เตาเผาหม้อดิน สิ่งเหล่านี้ได้ชำรุดแตกสลายทับถมกันเป็นชั้นเชิง เนินสูงกองพะเนินอยู่ตามริมฝั่งคลองดังกล่าว ซึ่งเป็นที่เชื่อและสันนิษฐานได้ว่าเป็นแหล่งที่ชาวมอญอยู่อาศัย
การสร้างวัดวาอารามของชาวมอญ ก็คงจะสร้างคล้ายๆ กับการสร้างวัดโดยทั่วไป ตามหลักพุทธศาสนาของเรา เพราะมีปรากฏหลายวัดที่ชาวรามัญได้ร่วมกันจัดสร้างขึ้น โดยนิมนต์พระภิกษุที่มีเชื้อสายเดียวกันเป็นสมภารเจ้าอาวาส และเชื่อเหลือเกินว่าเมื่อสร้างวัดขึ้นแล้ว ก็จะต้องตั้งชื่อหรือขนานนามวัดตามตำบลที่อยู่ ทุกคนพร้อมใจกันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดบางมอญ" ซึ่งตั้งอยู่บนริมฝั่งคลองบางมอญทางด้านทิศตะวันออก ในเขตหมู่ที่ 4 ตำบลบางนา อำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดบางมอญหรือบางคนเรียกว่าวัดคลองมอญนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างที่แน่นอน พื้นที่ของวัดมีเกินกว่า 15 ไร่ ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลบ้านหลวง กิ่งอำเภอดอนพุด จ.สระบุรีทิศใต้ ติดต่อกับตำบลกระทุ่ม อ.มหาราช จ.พระนครศรีอยุธยาทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลพระนอน อ.นครหลวงทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลโรงช้าง
1.พระอุปัชฌาย์จั่น จันทศร
2. พระปุปัชฌาย์แหยม
3. หลวงพ่อเชียว ธรรมโชติ
4. หลวงพ่อเมือง
5. หลวงพ่อพวง ธรรมปัญโญ (เย็นสุข)