Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
วันเต่าโลก (World Turtle Day)
[สั่งพิมพ์]
โดย:
kit007
เวลา:
2015-5-23 19:09
ชื่อกระทู้:
วันเต่าโลก (World Turtle Day)
วันเต่าโลก (World Turtle Day)
บนโลกนี้จะมีสัตว์อยู่กี่ชนิด ที่มีวันเป็นของตัวเอง และหนึ่งในนั้นก็คือ
"เต่า"
สัตว์ที่ได้ขึ้นชื่อว่ามีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก !!!
วันที่ 23 พฤษภาคม ปี ค.ศ 2000 ได้เริ่มมีการกำหนดให้เป็นวันเต่าโลก โดยองค์กร
American Tortoise Rescue
ในรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล องค์กรแห่งนี้เล็งเห็นถึงการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเต่า รวมทั้งปลูกจิตสำนึกให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์เต่า เนื่องจากเต่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ทางองค์กรจึงได้กำหนดให้วันที่ 23 พฤษภาคม ของทุกปี เป็น
"วันเต่าโลก" (World Turtle Day)
เต่า...สัตว์อายุยืน
เต่าเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในอันดับ Testudines อยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เต่าเป็นสัตว์โบราณที่มีชีวิตตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิคจนถึงยุคปัจจุบัน สาเหตุที่เต่ามีอายุยืน เป็นเพราะเต่ามีระบบกลไกการทำงานที่ทำให้เซลล์ในร่างกายเต่าทำงานน้อยลง เช่น เต่ามีการเคลื่อนที่ช้า หายใจช้า และยังมีความสามารถในการอดอาหารได้นาน ทำให้ร่างกายมีอัตราการเผาผลาญต่ำ เต่าจึงกลายเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน โดยเต่าที่อายุยืนมากที่สุด คือ
“เต่ายักษ์อัลดราบร้า”
ซึ่งเป็นเต่าที่มีอายุมากถึง 255 ปี
เต่า….สัตว์มีกระดอง
กระดอง เป็นอวัยวะสำคัญของเต่าที่ทำให้เต่าแตกต่างจากสัตว์เลื้อยคลานอื่น ๆ กระดองเต่าเป็นกระดูกแข็งที่คลุมบริเวณหลังและท้อง กระดองเต่าเป็นโครงสร้างที่ช่วยค้ำจุนร่างกาย และป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก โดยจะหดหัวและขา เข้าไปในกระดอง (ยกเว้น เต่าทะเลที่ไม่สามารถหดหัวและขาเข้าไปในกระดองได้)
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า "กระดอง" เป็นส่วนอวัยวะที่ถูกวิวัฒนาการขึ้นมาภายหลัง เนื่องจากได้ค้นพบซากฟอสซิลของเต่า
Odontochelys semistestacea
ซึ่งมีอายุประมาณ 220 ล้านปี โดยเป็นเต่าที่ไม่มีกระดอง จึงมีการสันนิษฐานว่า เต่าค่อย ๆ พัฒนากระดองขึ้นมาเพื่อป้องกันการถูกไล่ล่า โดยเกิดจากการขยายตัวของกระดูกที่อยู่บริเวณผิวหนังเมื่อเวลาผ่านไปกระดูกได้ขยายใหญ่ขึ้นและหลอมรวมกับผิวหนังภายนอกจนกลายเป็นกระดองในที่สุด
Odontochelys semistestacea
กระดองเต่าไม่ได้มีประโยชน์ไว้เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกไล่ล่าแต่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถคำนวณอายุของเต่าได้จากกระดองเต่า โดยกระดองเต่าจะขยายขนาดไปทางด้านข้าง ตามอายุของมัน ยิ่งอายุมากกระดองก็จะยิ่งโตขึ้นการนับอายุของเต่านับจากวงตรงกลางของกระดองเต่า ซึ่งคล้ายกับการนับวงปีของต้นไม้นั่นเอง (อ่านบทความกระดองเต่าบอกอายุได้อย่างไร ได้ที่
http://vcharkarn.com/varticle/39578
)
เต่า...สัตว์บก-น้ำจืด-ทะเล
เต่าแบ่งได้เป็นสามชนิด ได้แก่
เต่าบก เต่าน้ำจืด และเต่าทะเล
โดยเต่าบกและเต่าน้ำจืดถูกจัดอยู่ในอันดับเทสทูดิเนส (Order Testudines) ส่วนเต่าทะเลถูกจัดอยู่ในอันดับชีโลเนีย (Order Chelonia)
เต่าทั้งสามชนิดนี้จะมีลักษณะเฉพาะพิเศษที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามลักษณะการดำรงชีวิต เช่น เต่าทะเล มีลักษณะเฉพาะของกระดองเป็นรูปทรงรีแบน และเท้ามีลักษณะคล้ายกับใบพาย เพื่อเอื้ออำนวยต่อการว่ายน้ำ และเหมาะกับการดำรงชีวิตในทะเล (ยกเว้น เต่ามะเฟือง ซึ่งเป็นเต่าทะเลเพียงชนิดเดียวที่ไม่มีกระดองปกคลุม แต่จะมีส่วนของแผ่นหนังที่เป็นแผ่นหนา ไม่มีเกล็ด เรียงซ้อนกันเป็นร่องและสันนูนสลับกันคล้ายกลีบของผลมะเฟือง) ส่วนเต่าน้ำจืด กระดองแบนน้อยกว่าเต่าทะเล เท้ามีลักษณะแบนและมีพังผืดระหว่างนิ้วเท้า ในขณะที่เต่าบกมีลักษณะกระดองโค้งนูน และเท้ามีลักษณะเป็นทรงกระบอก เพื่อให้เหมาะแก่การดำรงชีวิตบนบก
เต่ามะเฟือง
โดย:
kit007
เวลา:
2015-5-23 19:11
เต่า...สัตว์กำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ
สิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่ถูกกำหนดเพศจากโครโมโซมของพ่อและแม่
แต่เต่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีการกำหนดเพศจากอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมโดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิระหว่างการฟักไข่
หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูง (สูงกว่า 32 องศาเซลเซียส) จะออกมาเป็นเพศผู้ ในทางตรงกันข้าม หากไข่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่อุณภูมิต่ำ (ต่ำกว่า 28 องศาเซลเซียส) ไข่จะฟักออกมาเป็นเพศเมีย และหากอุณหภูมิฟักไข่อยู่ในช่วงปานกลาง (ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส) เต่าจะมีอัตราการเกิดออกมาเป็นเพศผู้และเพศเมียเท่ากัน (50-50 %)
สัตว์ที่มีอายุยืน และมีลักษณะที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตอย่างเต่า ทำให้เต่าน่าจะกลายเป็นสัตว์ที่มีจำนวนมากที่สุดชนิดหนึ่งในโลกด้วยซ้ำ แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เต่าเป็นสัตว์ที่มีปริมาณจำนวนลดลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นวิกฤติ แม้เต่าจะเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน แต่กลับมีความสามารถในการแพร่พันธุ์ต่ำ เต่าสามารถกำหนดเพศได้ด้วยอุณหภูมิ แต่ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกเกิดความแปรปรวนและเปลี่ยนแปลงไปมาก โลกเริ่มมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เต่ามีอัตราการเกิดเป็นเพศเมียสูงขึ้น นอกจากนี้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ยังส่งผลทำให้เต่าสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การวางไข่อีกด้วย
นอกจากนี้การถูกไล่ล่ายังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เต่ามีจำนวนลดลง เนื่องจากเต่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารและทำเครื่องประดับและเครื่องหนังตกแต่งได้ เต่าจึงเป็นสัตว์ที่ถูกไล่ล่าจากผู้แสวงหาผลประโยชน์อยู่เสมอ
ปัจจุบันจึงมีองค์กรและหน่วยงานหลายแห่งที่ช่วยรณรงค์และร่วมกันเสริมสร้างจิตสำนึก เพื่อให้ทุกคนร่วมกันหันมาอนุรักษ์เต่า และเนื่องในโอกาสวันที่ 23 พฤษภาคมซึ่งเป็น
วันเต่าโลก
นี้ จึงขอเชิญทุกคนร่วมรณรงค์และส่งเสริมการอนุรักษ์
"เต่า…สัตว์ดึกดำบรรพ์แห่งโลกสีคราม"
ที่ใกล้สูญพันธุ์ชนิดนี้ ให้คงอยู่คู่กับโลกของเราต่อไปค่ะ
อ้างอิง
-
http://th.wikipedia.org/wiki/
เต่า
- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
http://www.dmcr.go.th/
-
http://th.wikipedia.org/wiki/
สัตว์เลื้อยคลาน
- องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แงชาติ (อพวช.)
http://www.nsm.or.th/
ที่มา
http://www.vcharkarn.com/varticle/56116
โดย:
morntanti
เวลา:
2015-5-24 09:53
นี่ก็เต่าเหมือนกัน แต่เป็น พญาเต่าเรือน หลวงปู่หลิว ....ครับ [attach]10804[/attach]
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2