ใครจะรู้บ้างว่าเมืองลพบุรีแต่อดีตเคยเป็นสำนักตักศิลาอันยิ่งใหญ่ที่เป็นศูนย์รวมของเหล่า “นักเรียนชั้นหัวกะทิ” ของประเทศ ซึ่งหมายถึงเจ้าเมืองต่างๆ ที่เดินทางมาเรียนหนังสือตามตำนานที่เล่าไว้ ในที่นี้แสดงว่าบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศ เป็นหม้อหลอมวัฒนธรรมและองค์ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องลงมาเรียนรู้พุทธศาสนาและศาสตร์ต่างๆ เพื่อการปกครองเมือง/โดย ผศ. ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ลพบุรีและเมืองใกล้เคียงล้วนแต่เป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีทั้งสิ้น และวัฒนธรรมทวารวดีก็มีความยิ่งใหญ่ทั้งในเรื่องของทางโลกและทางธรรม จึงเป็นเหตุให้เป็นศูนย์กลางของศิลปะและวัฒนธรรมความเชื่อต่างๆ นักประวัติศาสตร์ศิลป์จึงเห็นว่าทวารวดีที่ลพบุรีนี้ส่งอิทธิพลไปถึงเมืองลำพูนอย่างไม่ต้องสงสัย จึงเป็นเหตุให้สามารถเชื่อมต่อกับตำนานพระนางจามเทวี ซึ่งเดินทางไปจากเมืองละโว้เพื่อไปครองเมืองหริภุญไชยหรือลำพูน และปรากฏอิทธิพลพุทธศาสนาแบบทวารวดีที่นั่นด้วย เขาสมอคอน สันนิษฐานว่าที่นี่คือ สำนักตักศิลาในสมัยโบราณ ปลายเดือนพฤษภาคมนี้ มติชนอคาเดมีจัดทัวร์ไปตามรอยก้าวย่างแห่งพระนางจามเทวีกัน โดยใช้ศูนย์กลางของ “เมืองนครพราหมณ์” หรือ ลพบุรี เป็นหมุดหมาย โดยเริ่มจากการชมปูนปั้นที่วิจิตรงดงามที่พระวิหารเก้า วัดไลย์ ริมแม่น้ำบางขาม สักการะพระศรีอาริย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้คนนับถือกันมาแต่โบราณและเป็นตำนานท้องถิ่นของคนบริเวณนี้ ทัศนียภาพจากด้านบนเขาสมอคอน จ.ลพบุรี แม่น้ำบางขาม หรือ ลุ่มน้ำบางขาม เป็นแม่น้ำสำคัญที่เชื่อมต่อเมืองทวารดีบริเวณภาคกลางและภาคกลางตอนบนได้ เช่น เมืองจันเสน บริเวณนี้มีภูเขาลูกโดด เห็นเป็นสง่าแต่ไกล คือ เขาสมอคอน ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดถ้ำตะโก หรือ วัดถ้ำตะโกพุทธโสภา ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์วัดที่ภายในจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้สมัยก่อนประวัติศาสตร์, กระดูกช้าง, เครื่องปั้นดินเผา, พระพุทธรูปศิลปะต่างๆ รวมถึงเครื่องลายครามที่เก็บรักษาไว้ พร้อมฟังตำนานของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตรีย์แห่งหริภุญไชย และไม่ไกลกันนั้นก็คือ วัดเขาสมอคอน ที่นี่คือ “สำนักตักศิลาในสมัยโบราณ” ซึ่งมีถ้ำน้อยใหญ่และรูปปั้นสุกกะทันต์ฤาษี ผู้ทูลให้กษัตริย์แห่งละโว้ตั้งพระนางจามเทวีไปครองเมืองหริภุญไชย โบราณวัตถุที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์จันเสน เลยขึ้นไปจากเขาสมอคอนมีเมืองโบราณสำคัญสมัยทวารวดีคือ เมืองจันเสน ที่พบโดย อ.นิจ หิญชีระนันท์ จากการสำรวจภาพถ่ายทางอากาศ เมืองนี้มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ปัจจุบันมีวัดจันเสนและพิพิธภัณฑ์จันเสนที่จัดแสดงเรื่องราวต่างๆ ที่แสดงความเป็นมาของมนุษย์ยุคทวารวดี และพุทธศาสนาที่มีอยู่มากบริเวณนี้ ปรางค์ประธานของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี ซึ่งสันนิษฐานว่ามีการสร้างและทับซ้อนกันมาหลายสมัย วกกลับลงมาที่เมืองลพบุรี จะเห็นความยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมแบบทวารวดีที่วัดนครโกษา โบราณสถานที่มีการก่อสร้างซ้อนทับกันหลายยุคหลายสมัย ชั้นล่างสุดนั้นควรเป็นสมัยทวารวดีอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะพบปูนปั้นสิงห์ขนาดใหญ่ที่ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชฯ แสดงว่ารัฐละโว้เป็นศูนย์กลางอำนาจและเมืองท่าที่สำคัญในวัฒนธรรมทวารวดี-ขอมทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา พระมหาธาตุจันเสนภายในวัดจันเสน ซึ่งด้านล่างนั้นเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่ขุดพ้บในแถบนี้ อีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดคือ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วัดแห่งนี้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และยังมีฐานที่มีร่องรอยของศิลปะแบบทวารวดีและขอม ชมปรางค์ประธานซึ่งถือได้ว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่บ่งบอกว่าเป็นต้นแบบของการสร้างพระปรางค์ในยุคต่อๆ มา พระราชานุสาวรีย์พระนางจามเทวี จ.ลำพูน ซึ่งตำนานกล่าวว่าเป็นพระราชธิดาของกษัตริย์แห่งกรุงละโว้ ภาพปูนปั้นสมัยอยุธยาตอนต้นด้านหน้าวิหารเก้าห้อง ภายในวัดไลย์ แสดงเรื่องของทศชาติชาดก และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดางดึงส์ ลพบุรี จึงเป็นเมืองใกล้ๆ กรุงเทพฯ แต่เต็มไปด้วยเรื่องราวและพลังทางประวัติศาสตร์ ที่ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ในวันที่ 23 เดือนพฤษภาคม 2558 นี้ เตรียมพบกับทัวร์ศิลปวัฒนธรรม “พระนางจามเทวีในเมืองทวารวดี-ป่าสัก จ.ลพบุรี-นครสวรรค์” ที่มติชนอคาเดมี จะนำพาทุกท่านได้ร่วมแสวงหาและค้นคำตอบ เกร็ดความรู้ในแง่มุมต่างๆ อย่างละเอียด พร้อมร่วมทริปกับวิทยากรพิเศษ ผศ.ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี หรือหากท่านสนใจทัวร์ศิลปวัฒนธรรมอื่นๆ ก็สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมมาได้ที่ ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชน (มติชน อคาเดมี) หรือสำรองที่นั่งได้ที่ โทร.(02) 954-3977-85 ต่อ 2123, 2124(จันทร์-ศุกร์)(082)993-9097,(082)993-9105(เสาร์-อาทิตย์) http://www.matichonacademy.com และ http://www.facebook.com/Matichon.Academy.Thailand เศียรพระพุทธรูปศิลปะต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์วัดถ้ำตะโก จ.ลพบุรี ที่มา..http://www.matichon.co.th/index.php# |
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |