Baan Jompra
ชื่อกระทู้: บารมี 30 ทัศ [สั่งพิมพ์]
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:12
ชื่อกระทู้: บารมี 30 ทัศ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2015-5-5 10:15
[attach]10742[/attach]
ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน
เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:16
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย oustayutt เมื่อ 2015-5-5 10:20
คำ แ ป ล คำ ไ ห ว้ บ า ร มี ๓๐ ทั ศ น์
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่ง บารมีคือศีล
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งศีลบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือศีลอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเนกขัมมะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเนกขัมมะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเนกขัมมะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือปัญญา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งปัญญาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือปัญญาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือวิริยะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งวิริยะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือวิริยะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือขันติ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งขันติบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือขันติอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือสัจจะ
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งสัจจะบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือสัจจะอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออธิษฐาน
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอธิษฐานบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออธิษฐานอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือเมตตา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือเมตตาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคืออุเบกขา
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งอุเบกขาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคืออุเบกขาอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นแล ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่ง บารมีคือทสบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้ว ซึ่งการเกิดขึ้นแห่งทสบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งบารมีคือทสบารมีอันมีประโยชน์สูงสุดอย่างยิ่ง
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระเมตตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระไมตรีบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระกรุณาบารมี
ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระมุทิตาบารมี ทรงถึงพร้อมแล้วซึ่งพระอุเบกขาบารมี
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อม พระพุทธเจ้า ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก
ข้าพเจ้าขอนอบน้อม
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:22
อิ ติ ปา ระ มิ ตา ติง สา
อิ ติ สัพ พัญ ญู มา คะ ตา
อิ ติ โพ ธิ มะ นุ ปัต โต
อิ ติ ปิโส จะเต นะโม
เรียกอีกอย่างว่าหัวใจบารมี 30 ทัศ
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:23
บารมี 30 ทัศ
กล่าวถึงบารมี 10 ทัศก่อน มี ดังนี้
1. ทานบารมี คือการให้ทาน ทำบุญ บริจาคทรัพย์ หรือสิ่งของ หรือบริจาค สัตว์ 2 เท้า หรือ 4 เท้า หรือไม่มีเท้า
2. ศีลบารมี คือาการรักษาศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 227 ข้อ
3. เนกขัมบารมี คือการออกบวช เป็นพระ หรือเป็นฤาษี เป็นโยคี เป็นพราหมณ์ คือเป็นผู้ไม่ครองเรื่อน ถือศีล 8 ขึ้นไป
4. ปัญญาบารมี คือสร้างเสริมความรู้ ความสามารถ และปัญญาทางธรรมมะให้เพิ่มขึ้น
5. วิริยะบารมี คือมีความขยันหมั่นเพียร กระทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งในทางธรรมะจนกระทั้งสำเร็จ
6. ขันติบารมี คือมีความอดทนต่ออารมณ์อันไม่พอใจ ต่องานการ ต่อการปฏิบัติธรรม และต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่อำนวย
7. สัจจะบารมี คือการพูดความจริง ที่ประกอบไปด้วยความดี ตามกาล และทำตามที่กล่าวไว้
8. อธิษฐานบารมี คือตังจิตอธิษฐาน เมื่อสร้างบุญกุศล ในสิ่งที่ปารถนาที่เป็นคุณงามความดี
9. เมตตาบารมี คือมีใจเมตตาต่อสัตว์ทั้งหลายเสมอเหมือนกัน
10. อุเบกขาบารมี คือมีใจเป็นอุเบกขา ต่อความสุข ความทุกข์ ที่เกิดขึ้น
บารมี ทั้ง 10 สามารถแตกเป็น 3 ระดับ คือ
1. บารมี ธรรมดาทั่วไป
2. อุปบารมี บารมีอย่างกลางแลกด้วย ปัจจัยภายนอกจนหมดสิ้น
3. ปรมัตถบารมี บารมีอย่างยิ่งแลกด้วยชีวิต
เมื่อแบ่งเป็น 3 ระดับ ก็จะกลายเป็นบารมี 30 ทัศ
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:24
อานิสงส์ บารมี 30 ทัส ของพระนิยตะโพธิสัตว์
พระนิยตะโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงส์ 18 อย่าง ตลอดจนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่
1. เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด
2. ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด
3. ไม่เป็นคนบ้า
4. ไม่เป็นคนใบ้
5. ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย
6. ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน
7. ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจันทาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤาษี ท่านเป็นบุตรคนจันทาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี)
8. ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ
9. ไม่เป็นสตรีเพศ
10. ไม่ทำอนันตริยกรรม
11. ไม่เป็นโรคเรื้อน
12 เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง
13. ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย
14. ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก
15. ไม่เกิดเป็นเทวดาใน กามาพจรสวรรค์ ไม่เกิดเป็นเทวดาที่นับเข้าในเทวดาพวกหมู่มาร
16. เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก(พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม( มีแต่รูปอย่างเดียว)
17. ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก
18. ไม่เกิดในจักรวาลอื่น อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวายสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ(ตายจากการเป็นเทพ)มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
ที่มา http://www.bodhisattva.name/Bodhiyana/p103.html
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:26
ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ยทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช
ในอดีตกาลล่วงมาแล้ว ครั้งพระเจ้าสีวิมหาราชได้เสวยราชสมบัติอยู่ใน อริฎฐบุรี แว่นแคว้นสีวี หรือประเทศสีพีนั้น พระมหาสัตว์เจ้าได้บังเกิดเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีวีมหาราช มีนามว่า “สีวิกุมาร”
เมื่อสีวิกุมารนั้นเติบโตขึ้นแล้ว ก็ได้ไปศึกษาศีลปศาสตร์ที่เมืองตักสิลา เวลากลับบ้านเมืองแล้วก็ได้เป็นอุปราช ในเวลาต่อมาเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้วก็ได้เป็นพระราชาได้ทรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรม พระองค์ได้ทรงสร้างโรงทานไว้ ๖ แห่ง คือที่ประตูพระนครทั้ง ๔ แห่ง ท่ามกลางพระนครกับที่ประตูพระราชวังแล้วทรงบริจากมหาทานสิ้นพระราชทรัพย์วันล่ะ ๖ แสน กับทรงรักษาอุโบสถศีลทุกวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำตลอดมา อยู่มาวันหนึ่งพระราชาได้ประทับอยู่ที่ราชบัลลังก์ภายใต้เศวตฉัตร ในวันปุณณมีดิถีเพ็ญเวลาเช้า ทรงนึกถึงทานที่พระองค์ทรงบริจาก ก็ไม่ทรงเห็นว่าสิ่งของภายนอกซึ่งพระองค์ยังไม่เคยบริจาก จึงทรงดำริว่า ของนอกกายที่เรายังไม่ได้ให้ทานนั้นไม่มีการให้ทานของนอกกาย ไม่ทำให้เราดีใจได้เราใคร่จะให้ทานของในกาย ในเวลาเราไปที่โรงทาน ขออย่าให้มียาจกคนใดคนหนึ่งขอทานของนอกกาย ขอให้เขาขอของในกาย ถ้ามีใครจักขอเนื้อในกายของเรา เราก็จักเชือดออกให้ ถ้ามีใครขอโลหิตของเรา เราก็จักเจาะออกให้ มีใครมาขอเราไปเป็นทาสเราก็จักยอมไป มีใครมาขอจักษุของเรา เราก็จะควักออกให้ พระอินทร์จำแลงมาทดลอง เมื่อพระเจ้าสีวิราชทรงดำริอยู่ดังนี้ ท้าวโกสีย์ในดาวดึงส์สวรรค์ก็ทรงทราบ จึงทรงดำริว่า วันนี้พระเจ้าสีวิราชคิดว่า จักควักจักษุออกให้ทานแก่ยาจกที่ไปทูลขอ ดังนี้พระเจ้าสีวิราชจักทำได้จริงหรือไม่ เราจักไปทดลองดู ท้าวสักกะทรงดำริดังนี้แล้ว ก็ทรงจำเเลงเป็นพราหมณ์ชราตาบอด ไปที่โรงทาน ในเวลาที่พระราชาเสด็จไปที่โรงทาน แล้วประนมมือขึ้นร้องถวายชัยมงคล พระเจ้าสีวิราชได้ทอดพระเนตรเห็น จึงทรงไสช้างพระที่นั่งบ่ายหน้าไปตรัสถามว่า “พราหมณ์...ต้องการสิ่งใด?” พราหมณ์แปลงก็ทูลตอบว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า โลกสันนิวาสทั้งสิ้นได้ถูกเสียงสรรเสริญอันแผ่ไป ด้วยอาศัยพระองค์มีพระหฤทัยยินดีในการให้ทาน ถูกต้องอยู่เป็นนิจ ข้าพระองค์เป็นคนตาบอดทั้งสองข้าง ส่วนพระองค์เป็นผู้มีพระจักษุดีทั้งสองข้าง ขอพระองค์จงโปรดประทานจักษุสักข้างหนึ่งให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า” ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าก็ทรงยินดีว่าเป็นลาภอันใหญ่ของเราจักทำสำเร็จแล้ว เราจักได้ให้ทานที่เรายังไม่เคยให้ ครั้นทรงดำริดังนี้แล้วจึงได้ตรัสขึ้นว่า นี่แนะวณิพก ใครนำให้เจ้ามาขอจักษุต่อเรา ซึ่งเป็นของที่นำออกให้ทานได้ยาก แต่ว่าเราจักให้แก่พราหมณ์ตามประสงค์” ตรัสดังนี้แล้วก็ทรงดำริว่า การที่เราจะควักจักษุทั้งสองออกให้เป็นทานในที่นี้ เป็นการไม่สมควร จึงได้ทรงนำพราหมณ์นั้นกลับเข้าพระราชวัง ประทับนั่งบนราชอาสน์แล้วตรัสสั่งให้ แพทย์สีวิกะ เข้าเฝ้า รับสั่งว่า “เจ้าจงทำจักษุทั้งสองของเราให้บริสุทธิ์ในบัดนี้” ในคราวนั้น ก็มีเสียงระบือไปตลอดพระนครว่า พระราชาจะควักพระเนตรทั้สองออกให้เป็นทานแก่พราหมณ์ พวกราชวัลลภมีเสนาบดีเป็นต้น และชาวพระนครสนมกำนันในทั้งปวง ก็ได้พร้อมกันเข้าเฝ้ากราบทูลคัดค้านว่า “ขอเทวราชเจ้าอย่าได้พระราชทานจักษุเลย ขอพระองค์อย่าได้ทรงสละข้าพระบาททั้งปวง ให้เป็นทานของพระราชาองค์อื่นเลย ขอพระองค์จงพระราชทานแต่ทรัพย์สินเถิด พระเจ้าข้า” พระเจ้าสีวิราชจึงตรัสว่า “ผู้ใดกล่าวว่าจักให้แล้วไม่ให้ ผู้นั้นชื่อว่าเอาบ่วงมาสวมคอของตน ผู้ใดกล่าวว่าจักให้แล้วไม่ให้ ผู้นั้นชื่อว่าเลวกว่าคนเลว ผู้นั้นจะต้องถึงที่ลงอาญาของพระยายม มีผู้ขอสิ่งใดควรให้สิ่งนั้น สิ่งใดเขาไม่ขอไม่ควรให้สิ่งนั้น พราหมณ์นี้ได้ขอสิ่งใดต่อเรา เราจักให้สิ่งนั้น” ทรงให้ทานเพื่อสัพพัญญุญาณ ลำดับนั้น พวดอำมาตย์จึงกราบทูลถามว่า “พระองค์ปรารถนาสิ่งใด ปรารถนาอายุ หรือวรรณะ สุขะ พละ ประการใด จึงจักพระราชทานจักษุให้แก่พราหมณ์ในบัดนี้พระเจ้าข้า?” พระเจ้าสีวิราชตรัสตอบว่า “เราไม่ได้ให้ทานเพราะเห็นแก่ทรัพย์ ยศ หรือบุตรภรรยา แว่นแคว้นบ้านเมืองอันใด เราเห็นว่าการให้ทาน เป็นธรรมเนียมของสัตบุรุษทั้งหลายแต่โบราณ เราจึงได้ยินดีในการให้ทาน สัตบุรุษทั้งหลายแต่เก่าก่อน เมื่อยังไม่ได้บำเพ็ญบารมีให้เต็มที่แล้ว ก็ไม่สามารถจะเป็นพระสัพพัญญูได้ เราจักบำเพ็ญบารมีให้เต็มที่ เพื่อจะได้เป็นพระสัพพัญญู” เมื่ออำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระราชดำรัสตอบดังนี้แล้ว ก็หมดหนทางที่จะทูลทัดทานจำต้องนิ่งเฉยอยู่ ฝ่ายพระเจ้าสีวิราชก็ได้ตรัสสั่งนายแพทย์สีวิกะว่า “นี่สีวิกะ เธอเป็นมิตรสหายของเรา เธอได้ศึกษาวิชาแพทย์มาเป็นอันดีแล้ว เธอจงทำตามถ่อยคำของเราให้ดี เมื่อเราลืมตาขึ้นมองดู เธอจงควักตาของเราให้หลุดออกเหมือนกับควักจาวตาล แล้งวางไว้ที่มือของคนขอทาน คือพราหมณ์คนนี้ ในบัดนี้เถิด”
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:27
พระโพธิสัตว์ได้รับทุกขเวทนาหนัก ลำดับนั้น นายแพทย์สีวิกะกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า การให้จักษุเป็นทานนี้เป็นของสำคัญมาก ขอพระองค์จงใคร่ครวญให้ดีเถิด” พระเจ้าสีวิราชตรัสตอบว่า “เราใคร่ครวญดีแล้ว เธอจงอย่าชักช้าอย่าพูดมากกับเรา” นายแพทย์สีวิกะจึงคิดว่า การที่แพทย์ผู้ได้ศึกษามาดีเช่นเรานี้ จะเอาศาตราคว้านพระเนตรของพระราชา ย่อมไม่สมควร เขาคิดดังนี้แล้ว จึงผสมยาแล้วอบด้วยดอกบัวเขียว แล้วป้ายพระเนตรข้างขวาของพระราชา พระเนตรข้างขวานั้นก็พลิกกลับทันที ทุกขเวทนาก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา เขาจึงกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด การทำพระเนตรให้เป็นปกตินั้น เป็นหน้าที่ของข้าพระองค์” ตรัสตอบว่า “เธออย่าได้ชักช้า” แล้วนายแพทย์นั้นก็ได้ทายาช้ำอีกพระเนตรก็ได้หลุดจากหลุมพระเนตรในทันที ทุกขเวทนาอันเหลือประมาณ ก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา นายแพทย์นี้กราบทูลว่า “ขอพระองค์จงทรงกำหนดพระทัยดูเถิด ข้าพระองค์อาจทำให้เป็นปกติได้” จึงตรัสว่า “หลีกไปอย่าได้ชักช้า” นายแพทย์ก็ประกอบยาให้แรงขึ้นกว่าเดิม แล้วน้อมเข้าไปถวาย พระเนตรนั้นก็ได้หมุนหลุดออกมาจากเบ้าพระเนตรด้วยกำลังยาแล้วตกออกมาห้อยอยู่ด้วยอำนาจเส้นเกี่ยวไว้ แล้วนายแพทย์ก็กราบทูลอีกว่า "ข้าพระองค์อาจทำให้เป็นปกติได้” ตรัสตอบว่า “เจ้าอย่าได้ชักช้า” ทุกขเวทนาอันเหลือที่จะจะมาณก็ได้เกิดขึ้นแก่ท้าวเธอ พระโลหิตก็ได้ไหลออกมาจนเปียกพระภูษาที่ทรงนุ่ง พวกนางสนมกำนันใน อำมาตย์ข้าราชบริพารทั้งหลาย ก็ได้พากันหมอบร้องไห้ว่า “ขอพระองค์อย่าได้ทรงบริจากพระเนตรเลย พระเจ้าข้า” พระราชาทรงอดกลั้นทุกขเวทนาไว้แล้วจึวตรัสสั่งส่า “อย่าได้ชักช้า” นายแพทย์จึงรับพระเนตรไว้ด้วยมือข้างซ้าย ถือศาตราด้วยมือข้างขวา ตัดเส้นที่เกี่ยวดวงพระเนตรให้ขาด แล้วรับเอาดวงพระเนตรไปวางลงที่ฝ่าพระหัตถ์ของพระเจ้าสีวิราช พระบาทท้าวเธอได้ทอดพระเนตรพระจักษุข้างขวา ด้วยพระจักษุข้างซ้าย แล้วตรัสเรียกพราหมณ์เข้าไปใกล้ ตรัสสั่งว่า “พระสัพพัญญุตญาณ คือการรู้แจ้งสิ่งทั้งปวง ได้เป็นที่รักยิ่งกว่าจักษุนี้ ตั้งร้อยเท่าพันเท่าแสนเท่า การให้จักษุเป็นทานนี้ จงเป็นปัจจัยแก่พระสัพพัญญุตญาณนั้นเถิด” ตรัสดังนี้แล้ว ก็ได้พระราชทานพระเนตรข้างขวานั้นแก่พราหมณ์ พราหมณ์ก็รับไปใส่ลงในจักษุของตน แล้วบันดาลให้จักษุนั้นตั้งติดอยู่เป็นอันดี เหมือนกับดอกบัวสีเขียวอันแย้มบานฉะนั้น พระมหาสัตว์เจ้าได้ทรงทอดพระเนตรจักษุของพราหมณ์นั้น แล้วทรงพระดำริว่า การให้จักษุเป็นทานนี้ เป็นการดีแล้ว แล้วก็เกิดปีติทั่วพระวรกาย ได้พระราชทานซึ่งพระเนตรอีกข้างหนึ่งแก่พรามหณ์นั้น พราหมณ์ผู้เป็นพระอินทร์นั้น ก็รับพระเนตรข้างนั้นใส่ในจักษุของตน แล้วออกจากพระราชวังเหาะขึ้นสู่สวรรค์ในทันใด พระศาสดาเมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสพระคาถาความว่า “หมอสีวิกะที่พระเจ้าสีวิราชทรงเตือนแล้ว ได้กระทำตามพระราชดำรัส ควักดวงพระเนตรทั้งสองข้างของพระราชาออกแล้ว ทรงพระราชทานแก่พราหมณ์ พราหมณ์นั้นก็ได้เป็นคนตาดี พระราชาก็เข้าถึงความเป็นคนตาบอด” แต่ในไม่ช้า พระเนตรก็ได้เกิดขึ้นแก่พระราชาอีก พระเนตรที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นหลุมได้เต็มขึ้นด้วยก้อนเนื้อเหมือนกับปมผ้ากัมพลและเหมือนกับภาพนัยน์ตาแห่งรูปปั้นฉะนั้นทุกขเวทนาก็เสื่อมหายขาดไปสิ้น ทรงสละราชสมบัติ ลำดับนั้น พระมหาสัตว์เจ้าได้ประทับอยู่ที่ปราสาทสัก ๒-๓ วัน แล้วทรงพระดำริว่า ไม่มีประโยชน์อันใดกับราชสมบัติให้แก่คนตาบอด เราจักมอบราชสมบัติให้แก่พวกอำมาตย์จักไปบรรพชาอยู่ที่อุทยาน จักทำสมณธรรมจึงเป็นการดี แล้วทรงโปรดให้ประชุมพวกอำมาตย์ ทรงแจ้งพระราชประสงค์ให้ทราบแล้วตรัสว่า “เราต้องการเพียงคนใช้สอยคนเดียวสำหรับทำกิจการต่าง ๆ มีน้ำล้างหน้า เป็นต้นเท่านั้น ท่านทั้งหลายจงผูกเชือกให้เป็นราวสำหรับเราจักไปในเวลาที่ทำสรีรกิจ” ตรัสสั่งดังนี้แล้ว ก็ตรัสสั่งนายสารถีให้เทียมรถ พวกอำมาตย์ไม่ยอมให้ท้าวเธอเสด็จไปด้วยรถ ได้อันเชิญท้าวเธอขึ้นประทับที่สวรรณสีวิกาแล้วหามไป ให้ประทับนั่งที่ริมสระโบกขรณี จัดการพิทักษ์รักษาเป็นอันดีแล้วจึงกลับมา ท้าวสักกะทรงประทานพร เมื่อพระราชาประทับนั่งอยู่ที่บัลลังก์ทรงนึกถึงทานของพระองค์ด้วยทรงมีปีติยินดีในขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกเทวราชก็ร้อนขึ้น เมื่อพระองค์ทรงเล็งดูก็ทรงรู้เหตุนั้นจึงทรงดำริว่า เราจักให้พรแก่มหาราช แล้วจักทำจักษุให้เป็นปกติ จึงเสด็จมาเดินจงกรมอยู่ในที่ใกล้ของพระมหาสัตว์เจ้า พระมหาสัตว์เจ้าได้ทรงสดับเสียงฝีเท้าจึงตรัสถามว่า “นั้นเป็นใคร?” “ข้าพระเจ้าท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมของเทวดา ได้มาหาท่านแล้ว ขอท่านจงเลือกพรตามพระประสงค์” องค์พระมหาสัตว์จึงตรัสว่า " ข้าแต่ท้าวสักกะ ทรัพย์ของข้าพเจ้าก็มีอยู่มากแล้ว กำลังก็มีอยู่มากแล้ว บัดนี้ข้าพเจ้าเป็นคนตาบอด พอใจแต่ความตายเท่านั้น ขอพระองค์จงประทานความตายแก่ข้าพเจ้าเถิด” “นี่แน่ะพระเจ้าสีวิราช เหตุไรพระองค์จึงอยากสิ้นพระชนม์ หรืออยากสิ้นพระชนม์เพราะความเป็นคนตาบอด?” “ข้าพเจ้าอยากสิ้นพระชนม์เพราะความเป็นคนตาบอด” “นี่แน่ะมหาราช อันธรรมดาการให้ทานย่อมไม่ให้ผลแต่ภายหน้าเท่านั้น แม้ในปัจจุบันนี้ก็ให้ผล เขาขอพระเนตรของพระองค์เพียงข้างเดียว พระองค์ก็ได้พระราชทานทั้งสองข้าง เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงตั้งสัจจกิริยาเถิด เมื่อพระองค์ตั้งสัจจกิริยาพระเนตรก็จักเกิดขึ้นแก่พระองค์อีก” “ข้าแต่ท้าวสักกะ ถ้าพระองค์ประสงค์จะประทานจักษุให้แก่ข้าพเจ้า ก็ขออย่าได้ทำอุบายอย่างใดอย่างอื่น ด้วยใช้คำว่า จักษุจงเกิดขึ้นด้วยผลแห่งทานของเรา” “ข้าพเจ้าเป็นท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นใหญ่กว่าเทพยเจ้าทั้งหลายก็จริง แต่ไม่อาจจะให้จักษุแก่ผู้อื่นได้ จักษุจะเกิดขึ้นด้วยกำลังแห่งทานที่พระองค์ได้พระราชทานแล้ว” “ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็เป็นอันได้ให้ทานดีแล้ว”
|
|
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:28
พระเนตรเกิดขึ้นเพราะสัจจกิริยา เมื่อจะทรงทำสัจจกิริยา จึงได้ตรัสขึ้นว่า “วณิพกผู้มีนามและโคตรเหล่าใดได้มาหาเราเพื่อจะขอสิ่งของ วณิพกเหล่านั้นก็ได้เป็นที่พอใจของเรา เมื่อผู้ใดขอจักษุต่อเราจักษุนั้นก็เป็นที่รักของเรา ด้วยคำสัจจะอันนี้จึกษุจงเกิดขึ้นแก่เรา” พอขาดคำนี้ลง พระเนตรข้างที่หนึ่งก็เกิดขึ้นแก่พระเจ้าสีวิราช ในลำดับนั้น พระองค์จึงได้ตรัสต่อไป เพื่อให้เกิดพระเนตรข้างที่สองขึ้นว่า “พราหมณ์ผู้เนั้นได้มาขอจักษุต่อเราว่า ขอพระองค์จงพระราชทานจักษุแก่ข้าพองค์เถิด เราได้ให้จักษุทั้งสองข้างแก่พราหมณ์นั้นแล้วเราเกิดมีปีติโสมนัสอย่างยิ่ง ด้วยถ่อยคำสัจจะอันนี้ จักษุข้างที่สองจงเกิดมีแก่เรา” พอตรัสเท่านี้แล้ว พระเนตรข้างที่สองก็ได้เกิดขึ้นอีก
พระเนตรทิพย์ แต่พระเนตรทั้งสองนั้น จะว่าเป็นพระเนตรปกติก็ไม่ใช่ จะว่าเป็นพระเนตรทิพย์ก็ไม่ใช่ เพราะพระเนตรที่พระเจ้าสีวิราชได้พระราชทานแก่พราหมณ์แล้วนั้น ใคร ๆ ไม่อาจทำให้เป็นปกติได้ ส่วนพระเนตรทิพย์ก็ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่วัตถุที่ถูกกระทบแล้ว (ประสาทตาพิการแล้ว) แต่พระเนตรเหล่านั้นท่านเรียกว่า “จักษุบารมี” เพราะสำเร็จด้วย “สัจจบารมี” ในขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชก็ได้ทรงบันดาลให้ราชบุรุษทั้งปวงมาประชุมพร้อมสรรเสริญพระเจ้าสีวิราชในท่ามกลางมหาชน จึงได้ตรัสขึ้นว่า “ข้าแต่มหาราชเจ้า ผู้ทรงบำรุงแว่นแคว้นให้เจริญ พระดำรัสที่พระองค์ทรงทำสัจจกิริยานั้น เป็นพระดำรัสที่ชอบธรรม พระเนตรทั้งสองของพระองค์นี้ จักปรากฎเหมือนกับพระเนตรทิพย์ พระเนตรทั้งสองของพระองค์นี้ จักแลเห็นทั้งนอกฝา นอกกำแพงและภูเขา จักแลเห็นไกลได้ ๒๐๐ โยชน์ โดยไม่มีสิ่งใดขัดขวาง” เป็นอันว่า ท้าวสักกเทวราชได้ตรัสอย่างนี้ในท่ามกลางมหาชน แล้วตรัสเตือนว่า ขอพระองค์อย่าทรงประมาท ตรัสแล้วก็เสด็จกลับสู่เทวโลก
ตาทิพย์เป็นเหตุให้คนบริจากทาน ฝ่ายพระมหาสัตว์เจ้า พร้อมด้วยเหล่าข้าราชบริพาร จึงเสด็จเข้าพระนครด้วยกระบวนพยุหยาตราอันใหญ่หลวง เสด็จขึ้นประทับที่สุจันทกปราสาท การที่พระเจ้าสีวิราชได้มีพระเนตรขึ้นอีกนั้น ก็ได้ปรากฎไปตลอดแว่นแคว้นสีพี ชาวแว่นแคว้นสีพีก็ได้พร้อมกันนำเครื่องบรรณาการเป็นอันมากมาถวาย เพื่อจะได้เชยชมซึ่งพระเนตรของท้าวเธอ พระบาทท้าวเธอทรงพระดำริว่า จักพรรณนาทานของเราให้มหาชนฟัง จึงได้ตรัสสั่งให้สร้างปะรำใหญ่ขึ้นที่ประตูพระราชวังทั่วพระนคร ให้บรรดาผู้คนมาประชุมพร้อมกัน แล้วตรัสว่า “ดูก่อนท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว่นแคว้นสีพี ขอท่านทั้งหลายจงดูตาทิพย์ทั้งสองของเราจำเดิมแต่นี้ไป เมื่อท่านทั้งหลายยังไม่ได้ให้ทานจงอย่าบริโภค” ตรัสดังนี้แล้ว จึงตรัสต่อไปอีกว่า “ไม่ว่าใคร ๆ เวลามีผู้มาขอทาน ก็ย่อมไม่อยากให้ของที่พึงใจตน ไม่อยากให้ของดีของรักของตน ของรักของดีของตนนั้นเราก็ได้ให้แล้ว เราขอเตือนท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว้นแคว้นสีพีทั้งสิ้น ที่ได้มาประชุมกันแล้วในที่นี้ จงแลดูตาทิพย์ของเราในวันนี้เถิด ตาทิพย์ของเรานี้แลเห็นไปได้ตลอดนอกฝา นอกกำแพงและภูเขา แลเห็นไปได้รอบตัวข้างละ ๑๐๐ โยชน์ ในโลกนี้ไม่มีสิ่งใดจะประเสริฐเท่าการให้ทาน เราจักได้ให้ทานจักษุของมนุษย์ แต่เราก็ได้จักษุอันไม่ใช่ของมนุษย์ ท่านทั้งหลายที่อยู่ในแว่นแค้วนสีพี ได้เห็นจักษุทิพย์ที่เราได้แล้วนี้ จงพากันให้ทานเสียก่อน แล้วจึงได้ปริโภคภายหลัง บุคคลที่ได้ให้ทาน และได้ปริโภคตามกำลังของตนแล้ว ย่อมไม่มีผู้ใดติเตียนได้ ย่อมได้ไปสู่สุคติ” พระเจ้าสีวิราชบรมโพธิสัตว์ได้ทรงสั่งสอนประชาชนด้วยประการดังนี้ จำเดิมแต่นั้นมาพอถึงวันอุโบสถที่ ๑๕ ค่ำ ทุกกึ่งเดือนไปพระองค์ได้โปรดให้ประชาชนประชุมพร้อมกันแล้วสั่งสอนอย่างที่ว่ามาแล้วนี้ทุกครั้งไป ประชาชนก็ได้พากันบำเพ็ญกุศล มีทาน เป็นต้น เวลาสิ้นอายุขัยแล้วก้ได้ไปเกิดในสวรรค์เป็นอันมาก ครั้นต่อมาภายหลัง พระเจ้าสีวิราชก็ได้มาเกิดเป็น พระพุทธองค์ นายแพทย์สีวิกะนั้นก็ได้มาเกิดเป็น พระอานนท์ ท้าวสักกะนั้นก็ได้มาเกิดเป็น พระอนุรุทธ ส่วนประชาชนในคราวนั้น ก็ได้มาเกิดเป็นพุทธบริษัทในบัดนี้
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:32
ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร
พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชูชก พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร 3 องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย 3 ตัว คือราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง ขวางทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม เมื่อพระนางเสด็จกลับถึงอาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย เที่ยวตามหาและร้องไห้คร่ำครวญ พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก จึงหาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความจริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้ ในที่สุดพระนางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป ครั้นเมื่อฟื้นขึ้น พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า พระองค์ได้ประทานกุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรด้วย
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:34
ทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต
ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการถวายบริขารทุกอย่างของพ่อค้าชาวเมืองคนหนึ่งได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...
กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่ายอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่งท่ามกลางหุบเขาและแม่น้ำล้อมรอบ มีสัตว์เป็นเพื่อนกันอัก ๓ ตัว คือ ลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก สัตว์ทั้ง ๔ เป็นสัตว์มีศีลธรรม ทุกเย็นจะมาพบกันและฟังโอวาทของกระต่ายเสมอ
ต่อมาวันหนึ่ง กระต่ายมองดูจันทร์รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นวันอุโบสถ จึงให้โอวาท ว่า " วันพรุ่งนี้ พวกเราจงพากันรักษาศีล ให้ทานเถิด เพราะมีผลบุญกุศลมาก ฉะนั้นพวกท่านจงเตรียมอาหารไว้แบ่งปันคนขอทานเถิด" สัตว์ทั้ง ๓ รับคำแล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน
ครั้นรุ่งขึ้นมีนายพรานคนหนึ่งตกเบ็ดได้ปลาตะเพียน ๗ ตัวฝังทรายกลบไว้แล้วก็ข้ามไปทางใต้น้ำต่อไป นากออกหาอาหารได้กลิ่นปลานั้นแล้วจึงร้องขึ้น ๓ ครั้ง รู้ว่าไม่มีเจ้าของแล้วจึงคาบเอาปลาทั้ง ๗ ตัวไปยังที่อยู่ของตน นอนรักษาศีลอยู่
ฝ่ายลิงเข้าไปในป่าได้มะม่วงมาแล้วก็กลับที่อยู่ตนนอนรักษาศีลอยู่ ส่วนเจ้ากระต่ายรักษาศีลอยู่ที่อยู่ของตนไม่ได้ออกไปหาอาหารมาไว้ให้ทาน คิดที่จะสละชีวิตให้ทานว่า " ถ้ามีคนมาขออาหาร งา และข้าวสารของเราก็ไม่มี ถ้าเช่นนั้นเราจะให้เนื้อของเราแก่เขาก็แล้วกัน" คิดแล้วก็นอนรักษาศีลอยู่
ด้วยอานุภาพแห่งศีลของกระต่ายเป็นเหตุให้บรรลังก์ของเท้าวสักกะเร่าร้อน ท้าวเธอจึงลงมาพิสูจน์คุณของศีลของสัตว์ทั้ง ๔ ด้วยการแปลงร่างเป็นพราหมณ์ไปยังที่อยู่ของนากก่อน ร้องขออาหารกับนาก นากจึงกล่าวว่า "พราหมณ์.. เรามีปลาตะเพียนอยู่ ๗ ตัว ขอเชิญท่านบริโภคเถิด" พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของสุนัขจิ้งจอก เอ่ยปากขออาหารอีก สุนัขจิ้งจอกก็มอบอาหารให้พร้อมกับพูดว่า "พราหมณ์.. ข้าพเจ้ามีเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๑ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ เชิญท่านบริโภคเถิด" พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของลิงเอ่ยปากขออาหารเช่นเคย ลิงก็มอบอาหารให้พร้อมกับพูดว่า "พราหมณ์.. มะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาไม่อันร่มรื่นขอเชิญท่านบริโภคและพักผ่อนก่อนเถิด"
พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของกระต่ายพร้อมร้องขออาหารเช่นเดิม กระต่ายดีใจจึงพูดว่า " พราหมณ์… ขอเชิญท่านก่อไฟเถิด เราไม่มีอะไรจะให้ท่าน นอกจากเนื้อของเรานี่แหละ ขอเชิญท่านบริโภคเราเถิด" ว่าแล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า
"กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร ท่านจงบริโภค เราผู้สุกด้วยไฟนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด"
ท้าวสักกะจึงเนรมิตให้มีกองไฟขึ้นแล้วบอกให้กระต่ายทราบกระต่ายลุกขึ้นจากหญ้าแพรกสลัดขนไล่สัตว์อื่น ๆ ๓ ครั้ง มีความดีใจ ไม่กลัวต่อความตาย กระโดดเข้ากองไฟไป แต่ก็ต้องแปลกใจว่าไฟทำไมเย็นยิ่งนักจึงถามพราหมณ์ดู ท้าวสักกะในร่างพราหมณ์จึงกล่าวว่า "ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ดอก เราเป็นท้าวสักกะ มาเพื่อทดลองศีลของท่านเท่านั้นเอง"
กระต่ายพูดว่า "ท่านท้าวสักกะ ท่านหวังจะทดลองข้าพเจ้าเท่านั้นเองหรือ แล้วชาวโลกจะรู้ว่าข้าพเจ้าปรารถนาให้ชีวิตเป็นทานได้อย่างไรกันเล่า" ท้าวสักกะตอบว่า "คุณความดีในการเสียสละชีวิตเป็นทานของท่านครั้งนี้จะมีปรากฏตลอดไป" ว่าแล้วก็เขียนรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกได้เห็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แล้วก็หายวับกลับเทวโลกไป สัตว์ทั้ง ๔ ตัวได้รักษาศีลจนตราบสิ้นชีวิต
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : | การรักษาศีลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน เพราะผู้มีศีลเทวดาย่อมคุ้มครอง |
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:35
ภูริทัตต์ พระโพธิสัตว์นาคราช
เรื่องราวของพญานาคชื่อว่า “ภูริทัตต์” นี้เป็นเรื่องที่ 6 ใน “ทศชาดก” พูดด้วยภาชาวบ้านก็คือ เป็น “10 เรื่อง 10 ชาติ” สุดท้ายก่อนที่พระโพธิสัตว์จะเกิดเป็นพระเวสสันดรในชาติที่ 10 และบังเกิดเป็น เจ้าชายสิทธัตถะ และได้เสด็จออกผนวชจนกระทั่งตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเวลาต่อมา ทศชาดกนั้นมีดังนี้
1.เตมีย์ชาดก
2.ชนกชาดก
3.สุวรรณสามชาดก
4.เนมิราชชาดก
5.มโหสถชาดก
6.ภูริทัตต์ชาดก
7.จันทชาดก
8.นารทชาดก
9.วิทูรชาดก
10.เวสสันดรชาดก
เรื่องของ ภูริทัตต์นาคราช นั้น กล่าวถึงการบำเพ็ญเพียรบารมีขั้นสูงสุดของพระโพธิสัตว์ เมื่อคราวที่บังเกิดเป็นพญานาค แม้จะถูกเบียดเบียนได้รับทุกทรมารจนปางตาย แต่พระองค์ก็ไม่ยอมเสียวาจาสัตย์ที่เคยตั้งสัจจอธิษฐานไว้ ความว่า
พระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า “พรหมทัตต์” ครองราชสมบัติอยู่ที่เมืองพาราณสี ทรงแต่งตั้งให้พระโอรสดำรงตำแหน่ง “อุปราช” อยู่ต่อมาพระองค์ทรงระแวงว่าโอรสคิดแย่งราชสมบัติ จึงมีพระบรมราชโองการให้ออกไปอยู่นอกเมือง จนกว่าพระองค์จะสิ้นพระชนม์จึงจะกลับมาได้ พระราชโอรสได้ปฏิบัติตามพระราชโองการ โดยได้เสร็จไปบวชเป็น “ฤๅษี” อาศัยอยู่ที่ริมแม่น้ำชื่อว่า “ยมุนา” ครั้งนั้นมีนางนาคตนหนึ่งซึ่งนาคสามีได้ตายจาก และนางต้องอยู่แต่เพียงลำพัง เมื่อเกิดความหว้าเหว่จนไม่อาจทนอยู่ในนาคพิภพได้ จึงขึ้นมาท่องเที่ยวไปตามริมฝั่ง จนมาถึงศาลาที่พักของพระราชโอรส นางประสงค์ที่จะลองใจว่าฤๅษีผู้พำนักอยู่ในศาลานี้เป็นผู้ที่บวชด้วยจิตเลื่อมใสศรัทธาหรือไม่ จึงได้ตกแต่งประดับประดาทีนอนในสาลานั้นด้วยดอกไม้หอม และของทิพย์จากเมืองนาคพิภพ เมื่อฤๅษีกลับมาเห็นก็ยินดี ประทับนอนด้วยความสุขตลอดคืน รุ่งเช้าเมื่อฤๅษีออกไปจากศาลา นางนาคก็เข้ามาดู เมื่อรู้ว่าที่นอนมีรอยคนนอน จึงรู้ว่าฤๅษีผู้นี้ไม่ได้บวชด้วยความศรัทธา แต่ยังคงยินดีในของสวยงามตามวิสัยคนมีกิเลส จากนั้นจึงจัดเตรียมที่นอนไว้ดังเดิมอีก ในวันที่ 3 ฤๅษีเกิดความสงสัยว่าใครเป็นผู้จัดที่นอนออันสวยงามนี้ไว้ จึงทำทีว่าเข้าป่าและแอบดูอยู่บริเวณศาลา และเมื่อนางนาคเข้ามาตกแต่งที่นอน ฤาจึงถามนางว่า เป็นใคร มาจากไหน เมื่อได้รับคำตอบว่าเป็นนาค ชื่อ มาณวิกา เมื่อสามีตายจึงเกิดความหว้าเหว่ จึงออกมาจากนาคพิภพ ฤามีความยินดีจึงบอกแก่นางว่า หากพึงพอใจก็จงอยู่ที่นี่ จากนั้นทั้ง 2 จึงอยู่ด้วยกันฉันสามีภรรยา เมื่อเวลาผ่านไป นานาคได้ให้กำเนิดโอรสองค์หนึ่งชื่อว่า “สาครพรหมทัตต์” ต่อมาก์ประสูตรพระธิดาองค์หนึ่งชื่อว่า “สมุททชา”
ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตต์สวรรคตแล้ว เสนาอำมาตยืทั้งหลายจึงได้จัดกระบวนไปเชิญเสด็จพระราชบุตรกลับมาครองเมือง พระราชบุตรทรงถามนางนาคมาณวิกาว่าจะไปอยู่ในเมืองพาราณสีด้วยกันหรือไม่ นางนาคได้กล่าวปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ตนเองเป็นนาคที่อารมณ์ร้าย เกรงจะทำอันตรายผู้คน พระราชบุตรจึงนำพาโอรสธิดากลับไปนครพาราณสี
อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่โอรสธิดาเล่นน้ำอยู่ในสระ ก็เกิดตกใจกลัวเต่าตัวหนึ่ง พระบิดาจึงให้คนจับเต่านั้นไปทิ้งไว้ที่วังน้ำวนแม่น้ำยมุนา เมื่อเต่าจมลงไปถึงเมืองนาค และเมื่อถูกพวกนาคจับไว้ เต่าก็ออกอุบายบอกนาคทั้งหลายว่า เราเป็นทูตของพระราชาพาราณสี พระองค์ให้เรามาเฝ้าท้าวธตรฐโดยพระองค์จะพระราชทานพระธิดาให้เป็นพระชายาของท้าวธตรฐ เมืองพาราณสีกับนาคพิภพจะได้เป็นดองกัน เมื่อท้าวธตรฐได้ฟังก็มรงยินดี จึงสั่งให้นาค 4 ตน เป็นฑูตนำบรรณาการไปถวายพระราชาพาราณสีและขอรับตัวพระธิดามาเมืองนาค พราะราชาเมื่อทรงทราบข่าวก็แปลกพระทัยจึงตรัสกับนาคทั้ง 4 ว่า “มนุษย์กับนาคนั้นต่างเผ่าพันธ์กัน จะแต่งงานกันได้อย่างไร” เหล่านาคทั้ง 4 เมื่อได้ฟังดังนั้น จึงกลับไปกราบทูล้าวธตรฐว่าพระราชาพาราณสีทรงดูหมิ่นว่านาคเป็นเผ่าพันธ์งู ไม่คู่ควรกับพระธิดา เมื่อท้าวธตรบได้ฟังก็ทรงพิโรธ จึงตรัสสั่งให้นาคบริวารทั้งหลายขึ้นไปเมืองมนุษย์ แผ่พังพานแสดงอิทธิฤทธิ์ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้ชาวเมืองยำเกรง จนในที่สุดพระราชาทรงต้องจำยอม และได้ส่งพระนางสมุททชาให้ไปเป็นชายาของท้าวธตรฐ
ฝ่ายพระนางสมุททชา เมื่อไปอยู่นาคพิภพก็ไม่ทรงรู้ว่าเป็นเมืองนาค เพราะท้าวธตรฐสั่งให้นาคบริวารจำแลงแปลงกายเป็นมนุษย์ทั้งหมด นางก็อยู่อย่างสุขสบายเรื่อยมา จนมีโอรส 4 องค์ ชื่อว่า สุทัศนะ ทัตตะ สุโภคะ และ อริฏฐะ
อยู่มาวันหนึ่ง “อริฏฐะ” ได้ฟังนาคกุมารทั้งหลายบอกว่ามารดาของตนไม่ใช่นาค จึงได้ทดลองดู โดยเนรมิตกายกลับเป็นนาค นางสมุททชาเห็นเช่นนั้นก็ตกพระทัย ได้ปัดอริฏฐะตกจากตัก จังหวะนั้นเล็บของพระนางได้ข่วนเอานัยน์ตาของอริฏฐะบอดไปข้างหนึ่ง นับตั้งแต่นั้นมานางจึงรู้ว่าสถานที่อยู่นี้เป็นนาคพิภพ และครั้นเมื่อพระโอรสทั้ง 4 เจริญวัยขึ้นแล้ว ท้าวธตรฐจึงได้แบ่งสมบัติให้ครอบครองคนละเขต โดยเฉพาะ “ทัตตะ” ผู้เป็นโอรสที่ 2 นั้น เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดมาก ได้มาเฝ้าพระบิดามารดาอยู่เป็นประจำ อีกทั้งช่วยพระบิดาแก้ไขปัญหาต่างๆ อยู่เสมอ แม้ปัฐหาของเทวดาทัตตะก็สามารถแก้ไขได้ จึงได้รับการยกย่องและสัญเสริญว่า “ภูริทัตต์” คือ ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน อนึ่ง ภูริทัตต์นั้นได้เคยไปเทวโลกกับพระราชบิดาอยู่เสมอ และเห็นว่าเป็นที่น่ารื่นรมย์ จึงตั้งใจว่าจะรักษาอุโบสถศีลเพื่อจะได้ไปเกิดในเทวโลก จากนั้นภูริทัตต์จึงเริ่มรักษาอุโบสถศีล แต่ด้วยนาคบริวารทั้งหลายสร้างความรำคาญ จึงขึ้นไปรักษาอุโบสถศีลอยู่ที่เมืองมนุษย์ โดยขนดรอบจอมปลวกอยู่ใกล้ต้นไทรริมแม่น้ำยมุนา และได้ตั้งสัจจอธิษฐานว่า แม้ผู้ใดต้องการหนัง เอ็น กระดูก เลือดเนื้อของตน ก็จะยอมบริจาคให้ ขอเพียงให้รักษาศีลให้บริสุทธิ์ก็พอ
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:37
ครั้งนั้น มีนายพรานคนหนึ่งชื่อ “เนสารท” ออกเที่ยวล่าสัตว์ในแถวแม่น้ำยมุนาและได้มาพบภูริทัตต์นาคราชเข้า เมื่อสอบดูจึงรู้ว่าเป็นโอรสของราชาแห่งนาค ภูริทัตต์ เห็นว่าเนสารทเป็นพรานใจบาปหยาบช้าและอาจเป็นอันตรายแก่ตนได้ จึงบอกกับพรานนั้นว่า เราจะพาท่านกับลูกชาย (โสมทัต) ลงไปเสวยสุขอยู่นาคพิภพ และเมื่อพรานกับลูกชายลงไปอยู่เมืองนาคได้ไม่นาน ก็เกิดคิดถึงเมืองมนุษย์ จึงปรารถกับภูริทัตต์ว่าอยากจะกลับไปเยี่ยมญาติพี่น้องและอยากจะออกบวชรักษาศีลบ้าง ภูริทัตต์จึงต้องจำยอมพาพรานนั้นกลับไปเมืองมนุษย์ตามเดิม
ครั้งนั้น มีพญาครุฑ ตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นงิ้วฝั่งมหาสมุทรด้านใต้ วันหนึ่ง ในขณะออกไปจับพญานาคมากินเป็นอาหาร พญานาคตัวหนึ่งเมื่อถูกครุฑจับได้เอาหางพันกิ่งไทรที่อยู่ท้ายศาลาพระฤๅษีแห่งหนึ่งไว้ จนต้นไทรถอนรากติดมาด้วย ครั้นเมื่อครุฑนั้นฉีกท้องของพญานาคกิน (ไขมัน) แล้ว เมื่อทิ้งร่างของพญานาคไปจึงได้เห็นต้นไทร จึงรู้ว่าได้ทำความผิด คือ ถอนเอาต้นไทรที่เป็นที่อยู่ของพระฤๅษีมาด้วย ทีนั้น พญาครุฑจึงแปลงกายเป็นชายหนุ่มเข้าไปถามพระฤๅษี และเมื่อได้คำตอบจนสบายใจแล้วว่า ทั้งตนและพญานาคไม่มีใครผิด และเพื่อเป็นการตอบแทน พญาครุฑในคราบจำแลงจึงได้สอนมนตืชื่อ “อาลัมพายน์” อันเป็น มนต์สำหรับครุฑใช้จับนาค แก่พระฤๅษี
อยู่มาวันหนึ่ง มีพราหมณ์คนหนึ่งเข้าไปในป่า และเผอิญได้พบกับพระฤๅษี จึงได้บวชอยู่ปรนนิบัติ จนพระฤาษีพอใจ ฤๅษีจึงสอนมนต์อาลัมพายน์ให้ ฝ่ายพราหมณ์เห็นว่าตนมีมนต์นี้แล้วอาจจะเลี้ยงตัวได้จึงลาพระฤๅษีกลับไป ในระหว่างทาง พราหมณ์นั้นก็เดินสาธยายมนต์ไปด้วย พญานาคทั้งหลายทีขึ้นมาเล่นน้ำเมื่อได้ยินมนต์นั้นก็ตกใจกลัวนึกว่าพญาครุฑมา ต่างรีบงสู่นาคพิภพจนลืม “ดวงแก้วสารพัดนึก” ไว้บนฝั่ง เมื่อพราหมณ์ได้เห็นดวงแก้วก็หยิบไปด้วย และในระหว่างทางก็บังเอิญไปเจอกับพราณเนสราทพร้อมกับลูกชายที่เที่ยวล่าสัตว์อยู่ เมื่อพราณเนสราทเห็นดวงแก้วนั้นก็จำได้ว่าเหมือนกับดวงแก้วที่ภูริทัตต์เคยให้ดูเมื่อตอนที่ตนและลูกชายลงไปนาคพิภพ จึงออกปากขอดวงแก้วกับพราหมณ์นั้น โดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่า ถ้าอยากจะรู้เรื่องอะไร จะบอกเรื่องนั้นๆ ให้ทราบ พราหมณ์จึงบอกว่าอยากรู้ที่อยู่ของนาค เพราะตนมีมนต์จับนาค พรานเนสราทจึงพาไปดูที่ที่ ภูริทัตต์ รักษาศีลอยู่ ฝ่ายโสมทัตต์ผู้เป็นลูกชายเกิดความละอายใจที่บิดาคิดไม่ซื่อสัตย์จะทำร้ายมิตรจึงหลบหนีไป
กล่าวถึงภูริทัตต์นาคราช ในขณะที่จำศีลอยู่ เมื่อลืมตาขึ้นดูก็รู้ว่าพราหมณ์คิดจะทำร้ายตน แต่หากจะตอบโต้ศีลก็จะขาด เมื่อปรารถนาจะรักษาศีลให้บริสุทธิ์จึงหลับตานิ่งเสีย ขดกายแน่นิ่งไม่เคลื่อนไหวแต่อย่างใด ทันใดนั้นพราหมณ์จึงร่ายมนต์อาลัมพายน์ และเข้าไปจับภูริทัตต์นาคราช ได้กดศีรษะ จับปากให้อ้าออก เขย่าให้สำรอกอาหาร แต่ภูริทัตต์ก็มิได้ตอบโต้
เมื่อพราหมณ์จับภูริทัตต์ได้แล้ว ได้นำไปออกแสดงให้ประชาชนดู โดยบังคับให้แสดงฤทธิ์ต่างๆ จนเป็นที่พอใจของคน และได้เปิดทำการแสดงจนมาถึงเมืองพาราณสี โดยได้กราบทูลแด่พระราชาว่า จะให้นาคแสดงฤทธิ์เพื่อให้ทอดพระเนตร
ครั้งนั้น พระนางสมุททชา เมื่อรู้ว่าภูริทัตต์หายไปจึงให้พี่น้องออกตามหา โดยสุทัศนะไปโลกมนุษย์ โดยมีนางอัจจิมุขผู้เป็นนน้องสาวต่างมารดาของภูริทัตต์ตามไปด้วย สุโภคะไปป่าหิมพานต์ และอริฏฐะไปเทวโลก
เมื่อสุทัศนะมาถึงเมืองพาราณสี ก็ได้ข่าวว่ามีพญานาคถูกจับมาแสดง จึงตามไปดู ทีนั้นภูริทัตต์เห็นพี่ชายจึงเลื่อนเข้าไปหา และได้ซบหัวร้องไห้อยู่ที่เท้า จากนั้นจึงเลื่อยกลับไปหาพราหมณ์ พราหมณ์กล่าวกับสุทัศนะไม่ให้กล้ว โดยกล่าวว่า “หากท่านถูกนาคกัด ไม่ช้าก็จะหาย” สุทัศนะตอบว่า “เราไม่กลัวหรอก นาคนี้ไม่มีพิษ” พราหมณ์หาว่าสุทัศนะดูถูกตนหาว่าเอานาคไม่มีพิษมาแสดง จึงเกิดการโต้เถียงกันขึ้น สุทัศนะจึงท้าว่า “เขียดตัวน้อยของเรายังมีพิษมากกว่านาคของท่านเสียอีก จะลองเอามาประชันฤทธิ์กันก็ได้” เมื่อถูกท้าทาย พราหมณ์จึงกล่าวว่า “หากจะให้สู้กันก้จะต้องมีเดิมพันติดปลายนวมเสียหน่อยจึงจะดูสนุก” สุทัศนะจึงขอให้พระราชาพาราณสีเป็นผู้ประกันให้ตนโดยให้เหตุผลว่า พระราชาจะได้ทอดพระเนตรการต่อสู้ระหว่าง “นาค” กับ “เขียด” เป็นการตอบแทน ซึ่งพระเจ้ากรุงพาราณสีก็ตกลงตามนั้น
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:37
สุทัศนะจึงเรียกนางอัจจิมุขออกมาจากมวยผม และให้คายพิษลงบนฝ่ามือ 3 หยด แล้วทูลว่า “พิษของเขียดน้อยนี้ร้ายแรงนัก เพราะนางเป็นธิดาท้าวธตรฐราชาแห่งนาคพิภพ และหากพิษนี้หยดลงบนพื้นดินพืชพันธ์ไม้ก็จะตายหมด หรือหากโยนขึ้นไปในอากาศจะเกิดความแห้งแล้ง เพราะฝนจะไม่ตกไป 7 ปี และถ้าหยดลงในน้ำ สัตว์น้ำจะตายหมด” ทันใดนั้นสุทัศนะจึงให้ขุดบ่อ 3 บ่อ กล่าวคือ บ่อแรกใส่ยาพิษ บ่อที่สองใส่โคมัย บ่อที่สามใส่ยาทิพย์ เมื่อหยดพิษลงในบ่อแรก ทันใดนั้นของเกิดควันลุกจนเป็นเปลวไฟ และได้ลามไปติดบ่อที่สองและสามตามลำดับ จนกระทั่งยาทิพญ์ไฟม้ฟมดไฟจึงดับ ฝ่ายพราหมณ์ซึ่งยืนอยู่ข้างบ่อไม่ทันระวังตัว ได้ถูกไอพิษลวกจนผิวหนังด่างไปทั้งตัว จึงร้องขึ้นด้วยกลัวตายว่า “ข้าพเจ้ากลัวแล้ว ข้าพเจ้าจะปล่อยนาคนั่นให้เป็นอิสระ” ภูริทัตต์ได้ยินดังนั้นจึงเลื่อยออกมาจากที่ขังและเนรมิตกายเป็นมนุษย์ ทูลเรื่องทั้งหมดให้พระราชาทรงทราบ เมื่อทราบว่าภูริทัตต์เป็นโอรสของพระนางสมุททชาก็เท่ากับเป็นหลานของตัวเอง พระราชาจึงทรงเข้าไปโอบกอดพระหลานรักทั้ง 3 พระองค์ พร้อมกับตรัสถามข่าวคราวของพระนางสมุททชาผู้เป็นน้องสาว จากนั้นสุทัศนะและนางอัจจิมุขจึงพาภูริทัตต์กลับนาคพิภพ
ฝ่ายสุโภคะที่ออกค้นหาภูริทัตต์ที่ป่าหิมพานต์ เมื่อไม่พบจึงกลับมาทางแม่น้ำยมุนา และบังเอิญได้มาเจอกับพรานเนสารทซึ่งกำลังสำนึกผิดในบาปทำตนทำลงไป และต้องถูกลูกชายทอดทิ้ง สุโภคะเมื่อทราบดังนั้น จึงเอาหางรัดพันพรานเนสารทลากดึงให้จมน้ำแต่ไม่ให้ตาย (แก้วสารพัดนึกได้หลุดมือจมน้ำไป) แล้วจึงนำไปสู่นาคพิภพเพื่อทำการสืบสวนต่อไป
เมื่อมาถึงนาคพิภพ และทันทีที่พรานเนสารทได้แลเห็นภูริทัตต์ที่บอบช้ำ ก็ยิ่งรู้สึกเสียใจในบาปมากยิ่งขึ้น แต่ภูริทัตต์ก็ไม่ได้เอาความแต่อย่างใด เพียงให้นำพรานนั้นออกไปจากนาคพิภพก็เท่านั้น
อยู่ต่อมาครั้นถึงวันที่ต้องไปเข้าเฝ้าพระอัยยิกาวึ่งออกบวชอยู่ในป่า (พระเจ้าพาราณสีซึ่งเป็นพระสวามีของนางนาคมาณวิกา) ทั้งฝ่ายของพระราชาพาราณสีและฝ่ายของนาคพิภพได้ยกขบวนมาอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อพระราชวงศ์ทั้งหมดมาเจอกัน ก็สวมกอดและกรรแสงด้วยดีพระทัย และเมื่อประทับอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง ทั้งหมดจึงแยกย้ายจากกัน
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:39
ทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม
พระมหาสัตว์ตรัสอย่างนี้แล้ว หวังพระทัยว่า ไฉนเจ้าโปริสาทจะนึกถึงรสของเครื่องอุปโภคบริโภคที่เคยเสวย จะพึงเกิดความอยากที่จะกลับไปสู่พระนคร จึงตรัสประโลมด้วยโภชนะเป็นข้อต้น ด้วยอำนาจกิเลสเป็นที่สอง ด้วยที่บรรทมเป็นที่สาม ด้วยการเต้นรำการขับร้อง และการประโคมเป็นที่สี่ ด้วยพระราชอุทยานและพระนครเป็นที่ห้า ครั้นตรัสประโลมเช่นนี้แล้ว ตรัสต่อไปว่า
ดูก่อนมหาราช เชิญเสด็จเถิด เราจะพาพระองค์ไปดำรงราชย์ในพระนครพาราณสีแล้ว ภายหลังจึงจะไปสู่แคว้นของเรา ถ้าพระองค์จะไม่ได้ราชสมบัติในพระนครพาราณสี ข้าพเจ้าก็จักถวายราชสมบัติของหม่อมฉันแก่พระองค์ครึ่งหนึ่ง ไม่มีประโยชน์อะไรในการอยู่ป่า จงทำตามถ้อยคำของเราเถิด
เจ้าโปริสาทได้สดับถ้อยคำของพระมหาสัตว์เกิดความอยากที่จะกลับไปสู่พระนครดำริว่า ท่านสุตโสมทรงพระกรุณาปรารถนาความเจริญแก่เรา ตั้งเราไว้ในกัลยาณธรรมแล้ว บัดนี้ยังตรัสว่า จักสถาปนาในอิสริยยศตามเดิมอีก และพระองค์ก็อาจสถาปนาได้ด้วย เราควรจะไปกับพระองค์ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ในป่า ทรงมีจิตชื่นบาน และประสงค์จะพรรณนามิตรธรรมอิงคุณของพระมหาสัตว์ จึงกราบทูลว่า
พระสหายสุตโสม อะไร ๆ ที่จะยินดีไปกว่าการคบหากัลยาณมิตรไม่มี อะไร ๆ ที่จะลามกยิ่งไปกว่าการคบบาปมิตรไม่มีเลย
เจ้าโปริสาทพรรณนาถึงคุณของพระมหาสัตว์ แล้ว พระมหาสัตว์ได้ทรงพาเจ้าโปริสาทและพระราชา ๑๐๑ พระองค์เสด็จไปถึงปัจจันตคาม ชาวบ้านนั้นเห็นพระมหาสัตว์แล้ว ไปแจ้งความที่เมือง พวกอำมาตย์ได้พาหมู่พลนิกายไปเฝ้ารับ พระมหาสัตว์ได้เสด็จไปยังพระนครพาราณสีด้วยบริวารนั้น
ในระหว่างทาง พวกชาวชนบทถวายเครื่องบรรณาการแล้วตามเสด็จเป็นอันมาก พระมหาสัตว์เมื่อได้เสด็จถึงพระนครพาราณสีแล้ว เวลานั้นพระโอรสของพระเจ้าโปริสาทเป็นพระราชา ท่านกาฬหัตถียังคงเป็นเสนาบดีอยู่เช่นเดิม ชาวเมืองกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ ได้ยินว่าพระเจ้าสุตโสมทรงทรมานเจ้าโปริสาทได้แล้ว กำลังพาเสด็จมายังพระนครนี้ พวกข้าพระองค์จักไม่ให้เข้าพระนครดังนี้ แล้วรีบปิดประตูพระนคร จับอาวุธอยู่พร้อมกัน พระมหาสัตว์ทรงทราบว่าเขาปิดประตู จึงพักเจ้าโปริสาทและพระราชา ๑๐๑ พระองค์ไว้ เสด็จเข้าไปกับอำมาตย์ ๒๓ คน ไปยังประตูเมือง ตรัสว่าเราคือมหาราชชื่อว่าสุตโสม จงเปิดประตู
พวกราชบุรุษไปกราบทูลพระราชา พระราชาตรัสว่า พระเจ้าสุตโสมมหาราชเป็นบัณฑิต เป็นพระเจ้าทรงธรรมตั้งอยู่ในศีล ภัยไม่มีแก่พวกเราอย่างแน่นอน แล้วรับสั่งให้เปิดประตูพระนครทันที พระมหาสัตว์เสด็จเข้าพระนคร พระราชาและท่านกาฬหัตถีเสนาบดีไปรับเสด็จพระมหาสัตว์ นำเสด็จขึ้นปราสาท พระมหาสัตว์ประทับ ณ พระราชอาสน์แล้ว รับสั่งให้หาพระอัครมเหสี และพวกอำมาตย์ของเจ้าโปริสาทมาแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี เหตุไรจึงไม่ให้พระราชาเข้าพระนคร
ท่านกาฬหัตถีกราบทูลว่า เมื่อท้าวเธอทรงราชย์ได้กินเนื้อมนุษย์ในพระนครนี้เป็นจำนวนมากคน ทรงกระทำกรรมที่กษัตริย์ไม่สมควรทำเลย ได้ทำช่องในชมพูทวีปทั้งสิ้น ท้าวเธอมีธรรมอันลามกเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น เขาจึงไม่ให้พระองค์เข้าพระนคร พระมหาสัตว์ตรัสว่า บัดนี้พวกท่านอย่างวิตกเลยว่าเธอจักทำเช่นนั้นอีก เราทรมานเธอให้ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เธอจักไม่เบียดเบียนใคร ๆ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ภัยแต่เธอไม่มีแก่พวกท่าน ท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนี้ขึ้นชื่อว่าบุตรและธิดาต้องปฏิบัติมารดาและบิดา ท่านที่เลี้ยงมารดาบิดานั่นแหละจะไปสวรรค์ คนที่ไม่เลี้ยงมารดาบิดาจะไปนรก.
พระมหาสัตว์ประทานพระโอวาทแก่พระราชโอรสผู้ประทับนั่ง ณ อาสนะต่ำอย่างนี้แล้ว ตรัสสอนเสนาบดีว่า ดูก่อนท่านกาฬหัตถี ท่านเป็นสหายและเสวกของพระราชา แม้พระราชาก็ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอันสูงศักดิ์ แม้ท่านก็ควรจะประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระราชา แล้วประทานโอวาทแม้แก่พระเทวีว่า ดูก่อนพระเทวี แม้เธอก็มาจากเรือนตระกูล ได้รับตำแหน่งอัครมเหสีในสำนักของพระราชา ถึงความเจริญด้วยพระโอรสและพระธิดา แม้เธอก็ควรประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่พระราชา
พระราชาและเสนาบดี ได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์แล้ว เกิดปีติโสมนัส ปรึกษากันที่จะไปเชิญเสด็จพระราชา จึงสั่งให้คนตีกลองเที่ยวไปในพระนคร ให้ชาวเมืองประชุมกัน แล้วประกาศให้ทราบว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย ได้ยินว่า พระราชาเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมแล้ว จงพากันมาเถิดพวกเราจักไปนำพระราชานั้นมา จึงพามหาชนไปยังสำนักของพระราชา ถวายบังคมแล้ว ให้เจ้าพนักงานช่างกัลบกแต่งพระเกศาและพระมัสสุแล้ว ให้สรงสนานพระองค์ด้วยเครื่องสุคนธ์ แต่งพระองค์ด้วยพระภูษาอาภรณ์ ตามขัตติยราชประเพณีแล้ว เชิญเสด็จขึ้นบนราชบัลลังก์ อภิเษกแล้วเชิญเสด็จเข้าสู่พระนคร
พระเจ้าโปริสาทได้ทรงทำสักการะแก่กษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ และพระมหาสัตว์เป็นการใหญ่ เกิดความโกลาหลใหญ่ทั่วชมพูทวีปว่า ได้ยินว่า จอมนรินทร์สุตโสมได้ทรงทรมานเจ้าโปริสาทแลได้ให้ประดิษฐานอยู่ในราชสมบัติแล้ว แม้ประชาชนชาวนครอินทปัต ก็ได้ส่งทูตไปเชิญเสด็จพระมหาสัตว์กลับพระนคร พระมหาสัตว์ประทับอยู่ในพระนครพาราณสีนั้น ประมาณครึ่งเดือน ตรัสสอนพระเจ้าโปริสาท ดูก่อนสหาย เราจะลากลับละนะ พระองค์ จงอย่าได้เป็นผู้ประมาท จงให้สร้างโรงทาน ๕ แห่ง คือ ทำที่ประตูพระนคร ๔ แห่ง และที่ประตูพระราชวัง ๑ แห่ง จงทรงบำเพ็ญทาน จงทรงประพฤติราชธรรม ๑๐ ประการอย่าให้กำเริบ จงทรงละการถึงอคตินะ มหาราช
พลนิกายจากราชธานี ๑๐๑ ได้มาประชุมกันมากมาย พระมหาสัตว์มีพลนิกายเหล่านั้นแวดล้อมแล้ว เสด็จออกจากพระนครพาราณสี แม้พระเจ้าโปริสาท ก็ได้เสด็จออกจากพระนคร เมื่อเสด็จส่งถึงครึ่งหนทางก็เสด็จกลับ พระมหาสัตว์ประทานพาหนะแก่พวกพระราชาที่ไม่มีพาหนะ ทรงส่งพระราชาเหล่านั้นทุกพระองค์ แม้พระราชาเหล่านั้นก็แสดงความชื่นบานกับพระมหาสัตว์ ได้กระทำกิจมีการถวายบังคมและการเจรจาเป็นต้นตามสมควร แล้วได้เสร็จกลับไปยังชนบทของตน ๆ แม้พระมหาสัตว์เสด็จเข้าสู่พระนครที่พวกประชาชนชาวเมืองอินทปัต ตกแต่งไว้ดีแล้วประหนึ่งเทพนคร ถวายบังคมพระราชมารดาบิดา ทรงกระทำปฏิสันถารอันอ่อนน้อมแล้ว เสด็จขึ้นสู่ท้องพระโรง.
ฝ่ายพระเจ้าโปริสาทเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติโดยธรรม ทรงดำริว่ารุกขเทวดามีอุปการะแก่เราเป็นอันมาก เราจักกระทำลาภ คือ พลีกรรมแก่ท่านท้าวเธอรับสั่งให้สร้างสระใหญ่ใกล้กับต้นไทรส่งตระกูลไปเป็นอันมาก ตั้งเป็นตำบลบ้านขึ้น บ้านนั้นได้เป็นบ้านใหญ่ประดับด้วยหนทาง และร้านตลาดถึงแปดหมื่น ส่วนต้นไทรนั้น ตั้งแต่ที่สุดกิ่งเข้ามา โปรดให้ปราบพื้นที่ให้ราบเรียบเสมอกัน ให้สร้างกำแพงมีแท่นบูชาและมีเสาระเนียดเป็นประตูแวดล้อม.เทวดาชื่นบานเป็นอย่างยิ่ง บ้านนั้นได้ชื่อว่ากัมมาสบาทนิคม เพราะเป็นสถานที่ทรมานเจ้ากัมมาสบาทและเป็นที่อยู่ของท้าวเธอด้วย พระราชาเหล่านั้น ๆ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์ได้ทรงทำบุญมีทานเป็นต้น บำเพ็ญทางสวรรค์ให้บริบูรณ์แล้ว.
พระศาสดาครั้งทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ทรมานพระอังคุลิมานในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็ได้ทรมานเธอแล้วเหมือนกัน
แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระเจ้าโปริสาทในกาลนั้น ได้เป็นอังคุลิมาล กาฬหัตถีเสนาบดีได้เป็นสารีบุตร นันทพราหมณ์ได้เป็นอานนท์ รุกขเทวดาได้เป็นกัสสป ท้าวสักกะได้เป็นอนุรุทธะ พระราชา ๑๐๑ พระองค์ที่เหลือได้เป็นพุทธบริษัท พระราชมารดาบิดาได้เป็นมหาราชตระกูล ส่วนพระเจ้าสุตโสมคือเราตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้แล.
จบมหาสุตโสมชาดก
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:42
ทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ พระปัญญาบารมีของพระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ ดังนี้ เรื่องปัจจุบันจักมีแจ่มแจ้งในอุมมังคชาดก (
มโหสถชาดก)
ในอดีตกาล พระราชาทรงพระนามว่า ชนก ครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ เหล่าญาติได้ขนานนามท่านว่า เสนกะ ท่านเติบโต แล้วเรียนศิลปะทุกอย่างที่เมืองตักกศิลา แล้วกลับมาเฝ้าพระราชาที่นครพาราณสี พระราชาทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งอำมาตย์ และทรงเพิ่มยศยิ่งใหญ่ให้ท่าน ท่านได้ถวายอรรถธรรมแก่พระราชาเนืองๆ ท่านเป็นผู้สอนธรรมที่มีถ้อยคำไพเราะ ให้พระราชาทรงดำรงอยู่ในเบญจศีล แล้วให้ทรงดำรงอยู่ในปฏิปทาที่ดีงามนี้ คือในทาน ในอุโบสถกรรม และใน กุศลกรรมบถ ๑๐ ข้อ
สมัยนั้น ได้เป็นเสมือนเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในสากลรัฐ พระมหาสัตว์ไปที่ท่ามกลางแท่นที่อบอวลไปด้วยของหอม ในธรรมสภาที่เขาเตรียมไว้แล้ว ก็แสดงธรรมด้วยพุทธลีลา ธรรมกถาของท่านเป็นเช่นกับธรรมกถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ปานกัน
ลำดับนั้น พราหมณ์ชราคนหนึ่งเที่ยวหาขอเงิน ได้เงินพันกหาปณะ เก็บฝากไว้ที่ตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง แล้วคิดว่า เราจะเที่ยวขออีก ดังนี้ แล้วก็ไป ในเวลาพราหมณ์นั้นไปแล้ว ตระกูลนั้นใช้กหาปณะหมด พราหมณ์นั้นกลับมา แล้วขอกหาปณะคืน พราหมณ์ไม่อาจจะให้กหาปณะคืนได้ จึงได้ให้ธิดาของตนให้เป็น นางบำเรอบาท คือเมียของพราหมณ์นั้น พราหมณ์พานางไปอยู่กินกันที่หมู่บ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกลจากนครพาราณสี คราที่นั้น ภรรยาของเขาผู้ไม่อิ่มในกามเพราะยังสาว จึงประพฤติมิจฉาจาร คือเป็นชู้กับพราหมณ์หนุ่มคนหนึ่ง เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าของที่ไม่รู้จักอิ่มมี ๑๖ อย่างคือ:
๑ มหาสมุทรไม่อิ่มด้วยน้ำที่ไหลมาทุกทิศทุกทาง
๒ ไฟไม่อิ่มด้วยเชื้อ
๓ พระราชาไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติ
๔ คนพาลไม่อิ่มด้วยบาป
๕ หญิงไม่อิ่มด้วยของ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ เมถุนธรรม ๑ เครื่องประดับ ๑ การคลอดบุตร ๑
๖ พราหมณ์ไม่อิ่มด้วยมนต์
๗ ผู้ได้ฌานไม่อิ่มด้วยวิหารสมาบัติ คือการเข้าฌาน
๘ พระเสขบุคคลไม่อิ่มด้วยการหมดเปลืองในการให้ทาน
๙ ผู้มักน้อยไม่อิ่มด้วยธุดงค์คุณ
๑๐ ผู้เริ่มความเพียรแล้วไม่อิ่มด้วยการปรารภความเพียร
๑๑ ผู้แสดงธรรม คือนักเทศน์ไม่อิ่มด้วยการสนทนาธรรม
๑๒ ผู้กล้าหาญไม่อิ่มด้วยบริษัท
๑๓ ผู้มีศรัทธาไม่อิ่มด้วยการอุปัฏฐากพระสงฆ์
๑๔ ทายกไม่อิ่มด้วยการบริจาค
๑๕ บัณฑิตไม่อิ่มด้วยการฟังธรรม
๑๖ บริษัท ๔ ไม่อิ่มในการเฝ้าพระพุทธเจ้า
ถึงนางพราหมณีนั้นก็ไม่อิ่มด้วยเมถุนธรรม ต้องการจะสลัดพราหมณ์นั้นให้ออกไป แล้วทำบาปกรรม วันหนึ่งนางนอนกลุ้มใจอยู่ เมื่อพราหมณ์ถามว่า แม่มหาจำเริญ มีเรื่องอะไรหรือ ?
นางจึงพูดว่า พราหมณ์เจ้าขา ฉันทำงานในบ้านของท่านไม่ไหว ขอท่านจงไปนำเอาทาสหญิง ทาสชายมา
พราหมณ์ แม่มหาจำเริญ ทรัพย์ของเราไม่มี ฉันจะให้อะไรเขา แล้วจึงจะนำทาสหญิงทาสชายมาได้
พราหมณี เที่ยวขอเสาะหาทรัพย์ แล้วนำมาสิ
พราหมณ์ แม่มหาจำเริญ ถ้าอย่างนั้น เธอจงเตรียมเสบียง ให้ฉัน
นางจึงเตรียมข้าวตูก้อนข้าวตูผง บรรจุเต็มไถ้หนังแล้วได้มอบให้พราหมณ์ไป ฝ่ายพราหมณ์เมื่อเที่ยวไปในหมู่บ้านนิคมและราชธานี ทั้งหลายได้เงิน ๗๐๐ กหาปณะ เห็นว่า เงินเท่านี้พอแล้วสำหรับเรา เพื่อเป็นค่าทาสชายและทาสหญิง แล้วก็กลับมาบ้านของตน
เมื่อมาถึงที่แห่งหนึ่ง เป็นสถานที่มีน้ำสะดวกสบาย จึงแก้ไถ้ออกกินข้าวตู แล้วไม่ได้ผูกปากไถ้เลย ลงไปดื่มน้ำ งูเห่าหม้อตัวหนึ่งได้กลิ่นข้าวตู จึงเลื้อยเข้าขดตัวนอนกินข้าวตูอยู่ เมื่อพราหมณ์นั้นกลับมาแล้วก็ไม่ได้มองดูภายในไถ้ ผูกไถ้แล้วแบกขึ้นบ่าไป
เทวดาผู้เกิดบนต้นไม้ต้นหนึ่ง ในระหว่างทางยืนอยู่ที่ค่าคบต้นไม้ พูดว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าท่านพักระหว่างทาง ท่านจักตายเอง แต่ถ้าวันนี้ ท่านไปถึงบ้าน ภรรยาของท่านจักตาย แล้วก็หายไป
เขามองดูอยู่ไม่เห็นเทวดา กลัวถูกภัย คือความตาย คุกคาม จึงร้องไห้คร่ำครวญไปถึงประตูพระนครพาราณสี ก็วันนั้น เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ เป็นวันที่พระโพธิสัตว์นั่งแสดงธรรมบนธรรมาสน์ที่เขาตกแต่งแล้ว มหาชนพากันถือของหอมและดอกไม้เดินไปฟังธรรมกถากันเป็นพวกๆ
พราหมณ์เห็นเขา จึงถามว่า ท่านทั้งหลายไปไหนกัน พ่อคุณ ?
เมื่อเขาบอกว่า ดูก่อนพราหมณ์ วันนี้ เสนกบัณฑิตจะแสดงธรรมด้วยเสียงไพเราะตามพุทธลีลา ท่านไม่รู้หรือ ?
พราหมณ์จึงคิดว่า ได้ทราบว่า ท่านผู้แสดงธรรมเป็นบัณฑิต ส่วนเราถูกมรณภัยคุกคาม ผู้เป็นบัณฑิตอาจจะบรรเทาความโศกตั้งมากมายได้ เรานั้นก็ควรไปฟังธรรม ณ ที่นั้น เขาจึงไปที่นั้นกับมหาชนนั้น เมื่อถึงที่นั้นด้วยความกลัวตายจึงได้ยืนร้องไห้อยู่ท้ายบริษัทที่มีพระราชานั่งห้อมล้อมพระมหาสัตว์อยู่ไม่ไกลจากธรรมาสน์ ทั้งๆ ที่ไถ้ข้าวตูยังพาดอยู่ที่ต้นคอ
พระมหาสัตว์แสดงธรรมอันวิจิตร มหาชนเกิดความโสมนัส ให้สาธุการเมื่อได้ฟังธรรมกันแล้ว ธรรมดาบัณฑิตทั้งหลายเป็นผู้มองดูทิศทาง ดังนั้นเมื่อพระมหาสัตว์ลืมตาขึ้นดูบริษัทโดยรอบ เห็นพราหมณ์นั้นจึงคิดว่า บริษัทจำนวนเท่านี้ เกิดความโสมนัสให้สาธุการฟังธรรมกัน แต่พราหมณ์คนนี้คนเดียวถึงความโทมนัสร้องไห้ พราหมณ์นั้นต้องมีความเศร้าโศกที่สามารถให้น้ำตาเกิดขึ้นอยู่ภายใน แน่ๆ เราจักพลิกใจพราหมณ์ผู้มืดมน แสดงธรรมให้เขาไม่มีความโศกให้พอใจในเรื่องนี้ทีเดียว เหมือนสนิมทองแดงหลุดออกไปเพราะขัดด้วยของเปรี้ยว และเหมือนหยดน้ำกลิ้งออกไปจากใบบัวฉะนั้น ท่านได้เรียกพราหมณ์นั้นมาหา เมื่อเจรจากับพราหมณ์นั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราชื่อว่า เสนกบัณฑิต เราจักทำให้ท่านไม่มีความเศร้าโศก ขอท่านจงวางใจ แล้วบอกมาเถิด จึงกล่าว คาถาแรกว่า:
[๑๐๑๔] ท่านเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มีอินทรีย์กำเริบ หยาดน้ำตาไหลออกจากนัยน์ตา
ทั้งสองของท่าน อะไรของท่านหายหรือ หรือว่าท่านปรารถนาอะไรจึงได้
มาในที่นี้ ดูกรพราหมณ์ เชิญท่านพูดไปเถิด??*
*ความว่า พระมหาสัตว์ เมื่อจะตักเตือนพราหมณ์นั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายเศร้าโศกคร่ำครวญกัน เพราะเหตุ ๒ ประการ คือ เมื่อสูญเสียญาติที่รักบางคน หรือปรารถนาญาติที่รักบางคน แต่ไม่ได้ดังต้องการนั่นเอง ในจำนวน ๒ อย่างนั้น ท่านสูญเสียอิฏฐผลข้อไหน ก็ท่านปรารถนาอะไร จึงมาที่นี้ ? ขอจงบอกเรื่องนี้แก่เราโดยเร็วเถิด
ลำดับนั้น พราหมณ์เมื่อจะบอกเหตุแห่งความโศกของตนแก่ พระมหาสัตว์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:
[๑๐๑๕] (รุกขเทวดาตนหนึ่งกล่าวว่า) เมื่อข้าพเจ้าไปสู่เรือนวันนี้ ภรรยาของ
ข้าพเจ้าจะตาย เมื่อข้าพเจ้าไม่ไป ความตายจะมีแก่ข้าพเจ้าเอง ข้าพเจ้า
เป็นผู้หวาดเกรงด้วยทุกข์นี้ ข้าแต่เสนกบัณฑิต ขอท่านจงบอกเหตุนี้
แก่ข้าพเจ้าเถิด
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:42
ได้ทราบว่า เทวดานั้น ควรจะบอกว่า พราหมณ์ ในไถ้ของท่านมีงูเห่าหม้อ แต่ไม่บอกดังนั้น ทั้งนี้ก็เพื่อจะประกาศอานุภาพญาณของพระโพธิสัตว์
พระมหาสัตว์ได้ฟังคำของพราหมณ์ แล้วจึงแผ่ข่ายญาณไป เหมือนเหวี่ยงแหลงในน่านน้ำทะเล คิดแล้วว่า เหตุแห่งการตายของสัตว์เหล่านี้มีมาก คือจมทะเลไปบ้าง ถูกปลาร้ายในทะเลนั้นคาบไปบ้าง ตกลงไปในน้ำบ้าง ถูกจระเข้ในแม่น้ำนั้นคาบไปบ้าง ตกต้นไม้บ้าง ถูกหนามแทงบ้าง ถูกประหารด้วยอาวุธนานาประการบ้าง กินยาพิษเข้าไปบ้าง ปีนขึ้นภูเขาแล้วตกลงไปในเหวบ้าง หรือถูกโรคนานาประการ มีหนาวจัดเป็นต้น เบียดเบียนบ้าง ตายเหมือนกันทั้งนั้น เมื่อเหตุแห่งการตายมีมากอย่างนี้ ด้วยเหตุอะไรหนอแล ที่วันนี้ถ้าพราหมณ์นั้นอยู่ระหว่างทางจึงจักตายเอง แต่เมื่อไปถึงบ้าน ภรรยาของเขาจักตาย
เมื่อพระมหาสัตว์กำลังคิดอยู่นั้นก็ได้มองเห็นไถ้อยู่บนคอของพราหมณ์ ก็รู้ได้ด้วยญาณ คือความฉลาดในอุบายว่า ในไถ้นี้คงมีงูตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปอยู่ข้างในและเมื่อจะเลื้อยเข้าไป มันคงจะเลื้อยเข้าไปเพราะกลิ่นข้าวตู ในเมื่อพราหมณ์คนนี้กินข้าวตู ในเวลาอาหารเช้าไม่ได้ผูกปาก ไถ้ไว้เลย แล้วไปดื่มน้ำ พราหมณ์ดื่มน้ำ แล้วมาไม่ทราบว่างูเข้าไปอยู่ในไถ้แล้ว คงจักผูกปากไถ้แล้วก็แบกเอาไป พราหมณ์นี้นั้น เมื่อพักอยู่ระหว่างทาง ก็จักแก้ไถ้สอดมือเข้าไป ด้วยตั้งใจว่า เราจักกินข้าวตู ณ สถานที่พักในเวลาเย็น เมื่อเป็นเช่นนั้นงูก็จะกัดมือเขาให้ถึงสิ้นชีวิต นี้คือเหตุแห่งการตายของพราหมณ์ผู้พักอยู่ระหว่างทาง
แต่ถ้าพราหมณ์ไปถึงบ้านไซร้ ไถ้จักตกถึงมือของภรรยา นางก็จักแก้ไถ้ เอามือล้วง ด้วยตั้งใจว่า จักดูของอยู่ข้างใน เมื่อเป็นเช่นนั้น งูก็จักกัดนางให้ถึงความสิ้นชีพ นี้คือเหตุแห่งการตายของภรรยาของเขา
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ได้มีความดำรินี้ว่า งูเห่าหม้อตัวนี้กล้าหาญ ควรจะให้มันปลอดภัย เพราะว่างูตัวนี้ แม้จะกระทบสีข้างใหญ่ของพราหมณ์ ก็ไม่แสดงความหวั่นไหวหรือความดิ้นรนของตน ถึงในท่ามกลางบริษัทชนิดนี้ ก็ไม่แสดงความมีอยู่ของตน เพราะฉะนั้น งูเห่าหม้อตัวนี้ที่กล้าหาญ จึงควรปลอดภัย แม้เหตุการณ์ดังที่ว่ามานี้ พระมหาสัตว์ก็ได้รู้ด้วยญาณ คือความเป็นผู้ฉลาดในอุบายนั่นเอง เหมือนเห็นด้วยทิพย์จักขุ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระมหาสัตว์กำหนดด้วยญาณ คือความเป็นผู้ฉลาดในอุบายนั่นเอง เหมือนคนยืนดูงูที่กำลังเลื้อยเข้า ไปในไถ้ ท่ามกลางบริษัทที่มีพระราชา เมื่อจะแก้ปัญหาของพราหมณ์ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:
[๑๐๑๖] เราคิดเห็นเหตุเป็นอันมากได้ตลอดแล้ว บรรดาเหตุเหล่านั้น เหตุที่เราจะ
บอกเป็นความจริง ดูกรพราหมณ์ เราเข้าใจว่าเมื่อท่านมิได้รู้สึก งูเห่า
ตัวหนึ่งเลื้อยเข้าไปในไถ้ข้าวสัตตูของท่าน
ก็แหละพระมหาสัตว์ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงถามว่า พราหมณ์ มีไหมข้าวตูในไถ้ของท่านนั้น ?
พราหมณ์ มี ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ วันนี้ เวลาอาหารเช้า ท่านนั่งกินข้าวตูละสิ ?
พราหมณ์ ใช่ ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ นั่ง ที่ไหนล่ะ ?
พราหมณ์ ที่ควงไม้ ในป่า
พระมหาสัตว์ ท่านกินข้าวตูแล้ว เมื่อไปดื่มน้ำ ไม่ได้ผูกปากไถ้ล่ะสิ ?
พราหมณ์ ไม่ได้ผูก ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ ท่านดื่มน้ำแล้วมา ไม่ได้ตรวจดูไถ้ผูกเลยสิ ?
พราหมณ์ ไม่ได้ดู ผูกเลย ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ พราหมณ์ เราเข้าใจว่า ในเวลาท่านไปดื่มน้ำ งูเข้าไป ในไถ้แล้ว เพราะได้กลิ่นข้าวตูของท่านซึ่งไม่รู้ตัวเลย เมื่อท่านได้มาที่นี้อย่างนี้แล้ว เพราะฉะนั้น ให้ยกไถ้ลงวางไว้ท่ามกลางบริษัท แก้ปากไถ้ออก แล้วเลี่ยงไปยืนอยู่ห่างพอควร ถือไม้ท่อนหนึ่งเคาะไถ้ก่อน ต่อจากนั้น ก็จักเห็นงูเห่าหม้อ แผ่แม่เบี้ย เห่าฟ่อๆ เลื้อยออกมา แล้วหายสงสัย ดังนี้ แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า:
[๑๐๑๗] ท่านจงเอาท่อนไม้เคาะไถ้ดูเถิด จะเห็นงูแลบลิ้นมีน้ำลายไหลเลื้อยออก
จากไถ้ ท่านจะสิ้นความสงสัยเคลือบแคลงวันนี้แหละ ท่านจะได้เห็นงู
เดี๋ยวนี้แหละ จงแก้ไถ้เถิด
โดย: oustayutt เวลา: 2015-5-5 10:42
พราหมณ์ได้ฟังคำของพระมหาสัตว์ แล้วสลดใจถึงความกลัว ได้ทำตามนั้น ฝ่ายงูพอถูกไม้เคาะขนดก็เลื้อยออกจากปากไถ้ เห็นผู้คนมากมาย จึงได้หยุดอยู่
พระศาสดาเมื่อทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๕ ว่า:
[๑๐๑๘] พราหมณ์นั้นสลดใจ ได้แก้ไถ้ข้าวสัตตู ณ ท่ามกลางบริษัท ลำดับนั้น
งูพิษมากได้แผ่แม่เบี้ยเลื้อยออกมา
ในเวลางูแผ่แม่เบี้ยออกมา คำพยากรณ์ของพระมหาสัตว์ได้เป็น เสมือนคำพยากรณ์ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า มหาชนพากันชูผ้าขึ้น เป็นจำนวนพัน ยกนิ้วขึ้นดีดหมุนไปรอบๆ เป็นพันๆ ครั้ง ฝนแก้ว ๗ ประการตกลงมา เหมือนลูกเห็บตก สาธุการก็เป็นไปเป็นจำนวนพันๆ เสียงดังปานประหนึ่งมหาปฐพีจะถล่มทะลาย ก็ธรรมดาการแก้ปัญหาด้วยพุทธลีลาแบบนี้ ไม่ใช่เป็นพลังของชาติ ไม่ใช่เป็นพลังของโคตร ของตระกูล ของประเทศ ของยศและของทรัพย์ทั้งหลาย แต่เป็นพลังของอะไรหรือ เป็นพลังของปัญญา ด้วยว่าบุคคลผู้มีปัญญา เจริญวิปัสสนา แล้วจะเปิดประตูอริยมรรคเข้าอมตมหานิพพานได้ ทะลุทะลวงสาวกบารมีบ้าง ปัจเจกโพธิญาณบ้าง สัมมาสัมโพธิญาณบ้าง เพราะว่าบรรดาธรรมทั้งหลายที่จะให้บรรลุอมตมหานิพพาน ปัญญาเท่านั้นประเสริฐที่สุด ธรรมทั้งหลายที่เหลือเป็นเพียงบริวารของปัญญา เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสไว้ว่า:
ผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาแล
ประเสริฐที่สุด เหมือนดวงจันทร์ประเสริฐกว่า
ดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีลก็ดี แม้สิริก็ดี
ธรรมของสัตบุรุษทั้งหลายก็ดี เป็นสิ่งคล้อย
ตามผู้มีปัญญา
ก็แล เมื่อพระมหาสัตว์กล่าวแก้ปัญหาอย่างนี้ แล้วหมองูคนหนึ่ง ก็จับงูไปปล่อยในป่า พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระราชา ให้พระองค์ทรงมีชัย แล้วประคองอัญชลี เมื่อจะสดุดีพระราชา จึงกล่าวคาถากึ่งคาถาว่า:
[๑๐๑๙] การที่พระเจ้าชนกได้ทรงเห็นเสนกบัณฑิต ผู้มีปัญญา ให้สำเร็จประ
โยชน์กิจทั้งปวง เป็นลาภ อันพระองค์ได้ดีแล้ว
คาถานั้นมีอรรถาธิบายว่า พระชนกพระองค์ใดทรงลืมพระนคร แล้วได้ทรงเห็นเสนกบัณฑิตผู้มีปัญญาดี ด้วยพระเนตรที่น่ารักทุกขณะที่ทรงปรารถนานั้น เป็นลาภที่พระองค์
ก็แหละ ครั้นถวายสดุดีพระราชา แล้วพราหมณ์ได้หยิบเอาเงิน ๗๐๐ กหาปณะออกมาจากไถ้ ประสงค์จะสดุดีพระมหาสัตว์ให้ความชื่นชม จึงกล่าวคาถา ๑ กับครึ่งคาถาว่า:
ท่านเป็นผู้เปิดหลังคา
คือ กิเลสได้แล้วหนอ เป็นผู้เห็นแจ้งในสิ่งทั้งปวง ข้าแต่พราหมณ์
ความรู้ของท่านน่าพิศวงยิ่งนัก ข้าพเจ้ามีทรัพย์อยู่ ๗๐๐ ขอท่านจงรับ
ไว้เถิด ข้าพเจ้าขอให้ท่านทั้งหมด ข้าพเจ้าได้ชีวิตในวันนี้ ก็เพราะท่าน
อนึ่ง ท่านยังได้ทำความสวัสดีให้แก่ภรรยาของข้าพเจ้าอีกด้วย
พระโพธิสัตว์ ครั้นได้ยินคำนั้น แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๘ ว่า:
[๑๐๒๐] บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่รับรางวัล เพราะคาถา อันวิจิตรที่ตนกล่าวดีแล้ว
ดูกรพราหมณ์ ท่านจงให้ทรัพย์ของท่านที่ใกล้เท้าของเรานี้เสียก่อน?* แล้ว
จงถือเอาไปยังเรือนของตนเถิด
ก็แหละ พระมหาสัตว์ครั้นพูดอย่างนี้ แล้วก็ให้กหาปณะแก่ พราหมณ์อีก ๓๐๐ กหาปณะให้ทรัพย์นั้นเต็มพัน แล้วถามว่า พราหมณ์ ใครส่งท่านมาหาขอทรัพย์ ?
พราหมณ์ ภรรยาของผม ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ ก็ภรรยาของท่าน แก่หรือสาว ?
พราหมณ์ สาว ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ ถ้าอย่างนั้น เขาคงประพฤติอนาจารกับชายอื่น จึงส่งท่านไป ด้วยหมายใจว่าจักได้ประพฤติอนาจารได้อย่างปลอดภัย พระมหาสัตว์บอกว่า ถ้าหากท่านนำกหาปณะเหล่านี้ไปถึงเรือนแล้วไซร้ นางจักให้กหาปณะที่ท่านได้มาด้วยความลำบากแก่ชู้ของตน เพราะฉะนั้น ท่านอย่าตรงไปบ้านทีเดียว ควรเก็บกหาปณะไว้ที่ควงไม้หรือที่ใดที่หนึ่งนอกบ้าน แล้วจึงเข้าไป ดังนี้ แล้วจึงส่งเขาไป
พราหมณ์นั้นไปใกล้บ้าน แล้วเก็บกหาปณะไว้ใต้ควงไม้ต้นหนึ่ง แล้วจึงได้ไปบ้านในเวลาเย็น ขณะนั้น ภรรยาของเขาได้นั่งอยู่กับชายชู้ พราหมณ์ยืนที่ประตู แล้วกล่าวว่า น้องนาง นางจำเสียงเขาได้ จึงดับไฟปิดประตู เมื่อพราหมณ์เข้าข้างในแล้วจึงนำชู้ออกไปให้ยืนอยู่ริมประตู แล้วก็เข้าบ้าน ไม่เห็นอะไรในไถ้ จึงถามว่า ท่านพราหมณ์ ท่านไปเที่ยวขอได้อะไรมา
พราหมณ์ ได้กหาปณะพันหนึ่ง
ภรรยา เก็บไว้ที่ไหน ? ?
พราหมณ์ เก็บไว้ที่โน้น พรุ่งนี้เช้าจึงจักเอามา อย่าคิดเลย
นางไปบอกชายชู้ เขาจึงออกไปหยิบเอาเหมือนของตนที่เก็บไว้เอง ในวันรุ่งขึ้นพราหมณ์ไปแล้วไม่เห็นกหาปณะ จึงไปหาพระโพธิสัตว์ เมื่อถูกถามว่า เรื่องอะไร พราหมณ์ ? ?จึงบอกว่า ข้าพเจ้าไม่เห็นกหาปณะ ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ ก็ท่านบอกภรรยาของท่านละสิ
พราหมณ์ ถูกแล้ว ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ก็รู้ว่า นางนั้นบอกชายชู้ จึงถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภรรยาของท่าน มีพราหมณ์ประจำตระกูลไหม ?
พราหมณ์ มี ท่านบัณฑิต
พระมหาสัตว์ ฝ่ายท่านล่ะ มีไหม
พราหมณ์ มี ท่านบัณฑิต
จึงพระมหาสัตว์ได้ให้พราหมณ์ถวายเสบียงอาหารแก่พราหมณ์ประจำตระกูลนั้น เป็นเวลา ๗ วัน แล้วบอกว่า ไปเถิดท่าน วันแรก จงเชื้อเชิญพราหมณ์มารับประทาน ๑๔ คน คือ ฝ่ายท่าน ๗ คน ฝ่ายภรรยา ๗ คน ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นเป็นต้นไป ให้ลดลงวันละ ๑ คน ในวันที่ ๗ จึงเชื้อเชิญ ๒ คน คือ ฝ่ายท่าน ๑ คน ฝ่ายภรรยาของ ท่าน ๑ คน ท่านจงจำพราหมณ์คนที่ภรรยาของท่านเชื้อเชิญมาตลอด ๗ วันเป็นประจำนั้นไว้ แล้วมาบอกข้าพเจ้า
พราหมณ์ทำตามนั้น แล้วจึงบอกแก่พระมหาสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าจำพราหมณ์ผู้มารับประทานเป็นนิจไว้แล้ว พระโพธิสัตว์ส่งบุรุษไปกับพราหมณ์นั้น ให้นำพราหมณ์คนนั้นมา แล้วถามว่า ท่านเอากหาปณะพันหนึ่งที่เป็นของพราหมณ์คนนี้ไปจากควงไม้ต้นโน้นหรือ ?
พราหมณ์ คนนั้นปฏิเสธว่า ผมไม่ได้เอาไป ท่านบัณฑิต
พระโพธิสัตว์บอกว่า ท่านไม่รู้จักว่าเราเป็นเสนกบัณฑิต เราจักให้ท่านนำกหาปณะมาคืน เขากลัว จึงรับว่า ผมเอาไป
พระมหาสัตว์ ท่านเอาไปเก็บไว้ที่ไหน
พราหมณ์ เก็บไว้ ณ ที่นั้นนั่นเอง ท่านบัณฑิต
พระโพธิสัตว์ จึงถามพราหมณ์ผู้เป็นสามีว่า พราหมณ์ หญิง คนนั้นนั่นเอง เป็นภรรยาของท่านหรือ ? หรือจักรับเอาคนอื่น
พราหมณ์ เขานั่นแหละเป็นของผม ท่านบัณฑิต
พระโพธิสัตว์ส่งคนไปให้นำกหาปณะของพราหมณ์และนางพราหมณีมา แล้วบังคับให้พราหมณ์ผู้เป็นโจรมอบกหาปณะแก่พราหมณ์ แล้วให้ลงพระราชอาชญาแก่พราหมณ์ผู้เป็นโจร เนรเทศออกจากพระนครไป และให้ลงพระราชอาชญาแก่พราหมณี ให้ยศใหญ่แก่พราหมณ์ แล้วให้อยู่ในสำนักของตนนั่นเอง
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประกาศสัจธรรมทั้งหลาย ในที่สุดแห่งสัจธรรม คนจำนวนมากได้ทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้แก่ พระอานนท์ในบัดนี้ รุกขเทวดา ได้เป็น พระสารีบุตร บริษัท ได้แก่ พุทธบริษัท ส่วนเสนกบัณฑิต ได้แก่ เราตถาคตฉะนี้แล
จบ เสนกชาดก
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |