ตำราพิชัยสงครามทุกเล่มระบุว่าว่าน คือสุดยอดคงกระพัน โดยธรรมชาติ นักรบโบราณนิยมการอาบว่าน เคี้ยวว่าน โบราณจารย์ในอดีตล้วน ปลูกว่าน เลี้ยงว่าน เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ พระเครื่องเนื่อดิน เนื้อผงล้วนมีส่วนผสมสำคัญคือว่าน การเปิดกรุที่สุโขทัย วัดตาเถรขึงหนัง กลิ่นหอบตลบของว่านเสน่ห์จันทร์ที่ยังคงกำซาบซ่านมาจนทุกวันนี้ ภาคเหนือที่ดอยคำจังหวัดเชียงใหม่เจดีย์ถล่มทลายพบพระพิมพ์สามหอมที่ผสมด้วยว่านหอมของภาคเหนือเป็นสำคัญ คนไทยที่เป็นนักสู้อยู่บนหลังม้า หรือถือดาบอยู่บนดินต่างชำระร่างกายด้วยว่าน เคี้ยวว่าน หรือสวมใส่ผ้าประเจียดและรัดแขนด้วนว่านเช่นกัน พระว่านที่พบนั้นแบ่งโดยลักษณะทางกายภาพสามารถแบ่งได้ดังนี้คือ พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าเงิน พระว่านหน้านาค พระว่านทั้งองค์ พระว่านในสมัยโบราณนั้นผสมว่านกว่าเก้าสิบเปอร์เซ็นต์สมัยนี้อาจน้อยกว่ามากเนื่องจากว่านหายากขึ้น การสลายตัวของความเชื่อและความรู้ สึกศรัทธาในว่านนั้นเกิดจากการที่มีผู้ที่รู้ไม่จริงและอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง วิเศษเลิศล้ำจนเกินเหตุ ผู้คนรุ่นใหม่จึงท้อแท้ไม่รู้จะเชื่อใครดี อ่านเวปผมข้อเขียนผมแล้วอย่าเชื่อทันทีครับ อ่านแล้วคิดตามแล้วค่อยเชื่อ เนื่อจากความเชื่อที่เกิดจากความเข้าใจนั้น ย่อมแน่นหนักลึกล้ำ มิคลอนคลาย ในยุคที่บ้านเมือเป็นป่าดงดิบดงดำนั้นความเร้นลับของธรรมชาติยังครอบงำอยู่ในจิตใจคน ว่านยังเป็นเอกห่งความเร้นลับ ว่านบางชนิดเมื่อออกดอกกลิ่นของมันทำให้สัตว์ป่าไม่กล้าเข้าไกล้ เช่นว่านนาคราชเป็นต้น ใข้ป่าบางส่วนเกิดจากพิษของว่าน หรือดอกว่าน เช่น ว่านกระสือ ว่านผีโพง ว่านกระดูกผีเป็นต้น ว่านกระสือนั้นถือเป็นสุดยอดของความเร้นลับในป่าดงดิบ เมื่อหัวว่านแก่จัดจะเกิดแสงเรืองรองรอบๆ กอว่าน ทำให้เกิดตำนานผีกระสือ พระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ปัตตานีนั้นสร้างจากว่านสดๆ ผสมดินขี้ค้างคาวที่เรียกว่าดินกากยักษ์เนื้อพระจึงไม่แห้งเหมือนไม้ว่านแห้ง ออกสีเขียว เทา ดำ ตามส่วนผสม ครับเนื่องจากพระว่านตามตำราเดิมนั้นปรากฎเป็นสีเหมือนเนื้อไม้แห้ง หากว่านนั้นมีความสดจะออกสีเขียวหรือเทา จากประวัติศาสตร์นั้นพระเนื้อว่านนั้นสร้างมานานมากอาจก่อนยุคสุโขทัยด้วยซ้ำไปดังที่เห็นหน้าตามากมายในวงการคือพระว่านหน้าทอง สุโขทัย เช่านปางเปิดโลก ปางประทานพร สุดยอดของพระว่านที่พบมากที่สุดคือวัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อครั้งที่กรมศิลปากรณ์ไปบูรณะคราที่พระธาตุล้มเมื่อปี 11 สิงหาคม พศ 2518ครั้งนั้น มรว คึกฤทธิ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี นอกจากข้าวของล้ำค่าเป็นทองคำ เงินนาค ที่มากที่สุดคือพระเนื้อว่าน หน้าเงิน หน้าทองอีกมาก มากสุดคือพระเนื้อว่านล้วน ว่านนี้เรียกว่าว่านจำปาศักดิ์ ลองมาดูกันเรื่องว่านก่อนดีกว่าครับ "ว่าน" เป็นคำที่ใช้เรียกนำหน้าชื่อต้นไม้โดยเฉพาะต้นไม้ที่ใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพรและไม้ประดับบางชนิด ว่านหลายชนิดถูกเรียกว่า "ว่าน" จนติดปากและเป็นที่รู้จักกันมาแต่โบราณ จากการสืบค้นพบว่ามีการกล่าวถึงว่านในหนังสือตำรายาไทยชื่อ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ รวบรวมโดย พระยาพิศประสาทเวช ในปี พ.ศ. 2452 และ หนังสือชื่อ แพทย์ตำบล เล่ม1 รวบรวมจัดพิมพ์โดย พระยาแพทย์พงศา วิสุธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ต้นตระกูลสุนทรเวช ในปี พ.ศ.2464 หนังสือทั้งสองเล่มกล่าวถึงว่าน 5 ชนิดเท่านั้นคือ ว่านกีบแรด ว่านนางคำ ว่านหางช้าง ว่านน้ำ ว่านเปราะ หลังจากปี พ.ศ. 2464 เป็นต้นมา ว่านจึงเริ่มเป็นที่แพร่หลาย มีตำราที่กล่าวถึงลักษณะว่าน ตำราที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับว่าน ใน ปี พ.ศ. 2476 หลวงประพัฒน์สรรพากร รวบรวมหนังสือชื่อ ตำรากระบิลว่าน จนเป็นที่ยอมรับในหมู่นักเล่นว่านและนับว่าเป็นตำราที่ให้ความรู้เรื่องว่านอย่างสมบูรณ์ที่สุด แม้ราชบัณฑิตสถานยังยอมรับและใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการชำระพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน โดยนิยามไว้ว่า "ว่าน คือพืชที่มีหัวบ้าง ที่ไม่มีหัวบ้าง ใช้เป็นยาบ้าง ใช้อยู่ยงคงกระพันบ้าง" เห็นได้ว่าความหมายตามพจนานุกรม ว่านคือพืชที่มีหัวหรือไม่มีหัวก็ได้ บางชนิดปลูกเพื่อใช้เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องรางของขลัง ป้องกันอันตราย พิษสัตว์กัดต่อย ยาเบื่อเมา ยาสั่ง ยาเสพติด สามารถดับพิษร้ายให้หายได้ ว่านแต่ละชนิดมีคุณานุภาพบันดาลให้เกิดผล เกิดโชคลาภ ทำมาค้าขึ้น เงินทองไหลมาเทมา มีคนเคารพนับถือ มีความเชื่อกันว่าการปลูกเลี้ยงว่าน ถ้าทำให้ถูกต้องตามพิธีการ ให้ความสำคัญว่าว่านเป็นของศักสิทธิ์มีอิทธิฤทธิ์ ก็ต้องมีพิธีมากกว่าการปลูกเลี้ยงธรรมดา เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่ผู้ปลูกเลี้ยงและเป็นการเพิ่มฤทธิ์ธานุภาพให้แก่ว่าน เช่น เวลารดน้ำต้องเศกคาถากำกับเป็นบทเป็นตอนต่างกันไป สามจบ เจ็ดจบหรือตามอายุของผู้ปลูกเลี้ยงแล้วแต่ชนิดของว่าน การขุดก็ต้องทำในวัน เดือน ต่างๆ กัน ทั้งข้างขึ้น ข้างแรม เช่น การขุดเก็บว่านมักเลือกวันอังคาร วันใดวันหนึ่งในดือนสิบสองหรือไม่เกินวันพุธข้างขึ้นของเดือนอ้าย เวลาขุดใช้มือตบดินใกล้กอว่านหรือต้นว่าน แล้วเศกคาถาเรียกว่านไปตบดินไปจนจบคาถา จึงคอยขุดนำหัวว่านขึ้นมา นับจาก พ.ศ. 2484 ความนิยมว่านก็ค่อยๆ ห่างหายไป จนกระทั่ง พ.ศ. 2500 ความนิยมว่านให้ความสำคัญกับว่านกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มีการรวบรวมจัดพิมพ์หนังสือว่านขึ้นมาอีกหลายฉบับ โดยเฉพาะหนังสือ ว่านกับคุณลักษณะ รวบรวมโดย นายเลื่อน กัณหะกาญจนะ จัดพิมพ์จัดจำหน่ายในนามของ สมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมจากนักเล่นว่านมาก ปัจจุบันผู้ที่ให้ความสนใจว่านไม่เพียงชื่นชอบเหมือนผู้เลี้ยงว่านในสมัยก่อนเท่านั้น แต่ยังให้ความสนใจในเรื่องต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในด้านอื่นๆ หลายรูปแบบ รวมทั้งการสนใจว่านในเชิงพฤกษาศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแบ่งว่านได้ถึง 34 วงศ์ (Family) 512 สกุล (Genus) และ กว่า 1700 พันธุ์ (Species) มีทั้งว่านที่ให้ประโยชน์ทางยาสมุนไพรรักษาโรค ว่านที่มีชื่อเป็นมงคลนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ ซึ่งมีความเชื่อว่าว่านเหล่านี้เมื่อปลูกเลี้ยงแล้วจะส่งผลให้ทำมาค้าขึ้น นำโชคลาภวาสนา มาสู่ผู้ปลูกเลี้ยง เช่นว่านที่เว็บไซท์ ๑๐๘ พรรณไม้ไทย นำเสนอนี้เป็นเพียงบางส่วนของว่านที่เป็นมงคลนาม มีความสวยงาม และเป็นที่นิยมของผู้ปลูกเลี้ยงทั่วไป http://dvthai3.tripod.com/wan.htm |
ดาวน์โหลด (7.87 KB) 2012-1-28 21:49 ดาวน์โหลด (4.32 KB) 2012-1-28 21:49 ว่านกวักพุทธเจ้าหลวง ในสมัยโบราณ ว่านกวักพุทธเจ้าหลวง เป็นว่านมงคลที่มีชื่อเสียงมาก และมีนิยมปลูกกันมากจนมาถึงปัจจุบัน บางคนก็ปลูกเลี้ยงตกทอดกันมา โดยไม่รู้จักชื่อเลยด้วยซ้ำ กล่าวกันว่า ว่านกวักพุทธเจ้าหลวงนั้น มีอิทธิฤิทธิ์เหนือกว่าว่านกวัก....ทั้งหลาย เป็นว่านที่มีอานุภาพสูงมากในด้านเมตามหานิยม เรียกโชคลาภเงินทอง อีกทั้งช่วยคุ้มครองจากภัยพิบัติต่างๆได้อย่างยอดเยี่ยม ที่สำคัญเป็นว่านที่หาได้ยากยิ่ง หากว่าใครได้ครอบครองควรปลูกไว้ที่สูงอย่าให้ผู้มีประจำเดือนเข้าใกล้ และเมื่อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วท่านจะได้พบกับความมหัศจรรย์ ทุกครั้งที่รดน้ำต้องเสกด้วยคาถา อิติปิโส 3 จบจึงรดน้ำ ผู้เลี้ยงจะประจักษ์ด้วยตัวเอง ว่านนี้สำคัญหากว่าเจ้าของว่านประพฤติไม่ดีต้นว่านจะไม่สวยงามและเหี่ยวเฉา ตายไปเอง เมื่อใดว่านออกดอกให้หาผ้าแพรสีขาวมาผูกรับขวัญแล้วอธิษฐานจะสมดังใจ ลักษณะใบของว่านกวักพุทธเจ้าหลวง ข้อสังเกตุ เนื่องจากว่านกวักพุทธเจ้าหลวง มีลักษณะคล้ายคลึงกับว่านซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันหลายต้นจึงมีผู้แอบอ้างมา ขายกันมากในสมัยก่อน แม้ในสมัยนี้ก็หายากที่จะดูออก จึงมีจุดให้สังเกตุดังนี้ 1. ขอบใบจะบิดเป็นคลื่นหงิก ผิวใบขรุขระ มีแถบด่างสีเหลืองกระจายอยู่ทั่วไป 2. ว่านกวักพุทธเจ้าหลวงจะแตกกอได้ยากมาก ปีหนึ่งถ้าเลี้ยงดีๆก็อาจจะได้ดูดอกกันถ้าออกดอกเมื่อไหร่ก็มีหน่อให้ได้ยลกันละครับ 3. เมื่อนำว่านกวักพุทธเจ้าหลวงไปวางไว้ใกล้ต้นว่านชนิดอื่น ต้นนั้นก็จะมีจุดแถบด่าง ปื้นสีเหลืองตามไปด้วย ลักษณะ เป็น พืชหัว หัวคล้ายหอมหัวใหญ่ สีขาว ใบรูปรีปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบบิดเป็นคลื่น หงิก ผิวใบขรุขระ มีจุดด่างสีเหลืองทางกระจาย ขอบกลีบดอกเป็นคลื่น การปลูก เครื่องปลูกต้องสะอาด เป็นดินกลางนา ดินที่โล่ง ปลูกในวันพฟหัวข้างขึ้นจะดี ก่อนปลูกก่อนรดน้ำควรเสกบูชาก่อน จึงจะดี ถ้าไม่เสกบูชา ก้ไม่มีปัญหาครับเพียงแต่เขาก็จะเป็นไม้ธรรมดาไม่มีอิทธิฤิทธิ์อันใดเท่า นั้นเองhttp://saimherbal.blogspot.com/2011/09/blog-post_12.html |
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |