Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ศาลหลักเมือง เมืองแปะ [สั่งพิมพ์]

โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:34
ชื่อกระทู้: ศาลหลักเมือง เมืองแปะ
ศาลหลักเมือง เมืองแปะ จ.บุรีรัมย์
(อ่านออกเสียงว่า เมือง แป๊ะ )

ศาลหลักเมืองบุรีรัมย์ สิ่งที่แตกต่างจากที่อื่นคือ มีเสาหลักเมือง 2 เสา  ตัวอาคารเดิมเป็นศาลขนาดเล็ก ได้รื้อและก่อสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปี
2548-2550 ให้เป็นสถาปัตยกรรมเลียนแบบปราสาทหินพนมรุ้ง โดยศาลหลักเมืองเป็นเหมือนองค์ปรางค์มียอดทั้งหมด 5 ชั้น แต่ละชั้นประดับกลีบขนุน และเทพประจำทิศเพื่อปกป้องรักษาทิศต่าง ๆ องค์เรืองธาตุเป็นที่ประดิษฐานพระหลักเมืองชักมุมออกทั้ง 4 ด้าน อันหมายถึงการกระจายความเป็นหลักฐานความมั่นคงออกไปทั้ง 4 ทิศ ส่วนยอดศาลพระหลักเมืองติดตั้งรูปดอกบัว เพื่อนำแสงเข้าสู่หลักเมือง ภายในตัวศาลได้ตั้งเสาหลักเมืองตรงกลางองค์ปรางค์ พร้อมกับอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระเสื้อเมือง เทพารักษ์ และพระทรงเมือง มาปกปักรักษาคุ้มครอง ป้องกันให้บ้านเมืองอยู่กันอย่างร่มเย็นเป็นสุข ด้านข้างศาลหลักเมืองยังมีศาลเจ้าจีน เพื่อให้ชาวไทยเชื้อสายจีนได้มากราบไหว้ในบริเวณเดียวกัน
เสาต้นที่ 1 เป็นเสาไม้แต่งเสาเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีความกว้าง 38.5 ซม. ความยาวของเสาเท่าใดไม่ทราบ แต่ที่โผล่พ้นจากพื้นมีความสูง 1.15 เมตร เอียงจากแนวดิ่งไปทางทิศตะวันตกประมาณ 20 องศา พิงอยู่กับเสาหลักต้นที่ 2 เสาหลักต้นที่ 1ส่วนหัวเสาตกแต่งเป็นลวดลายที่ประณีตสวยงาม ปลายยอดแต่งเรียงเป็นรูปทรงบัวตูม แต่ค่อนข้างเรียวยาวคล้ายหัวปลี ที่ปลายยอดเป็นทรงกรวยแหลมหุ้มด้วยโลหะ ดูจากเนื้อโลหะคล้าย ๆ แผ่นดีบุกหรือแผ่นเงิน ยอดทรงกรวยแหลมนี้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นฝาจุกที่เปิดปิดได้ เพื่อบรรจุดวงชะตาเมือง รูปเทพารักษ์ แผ่นยันต์ หรือสิ่งอาถรรพณ์เอาไว้ภายใน หัวเสาทรงบัวตูมนี้แกะสลักเป็นบัว 8 กลีบ ทรงเรียวรอบเสา 8 เหลี่ยม มีกนก 2 ชั้น ประดับกลีบบัว ภายในกลีบบัวมีรูปเทพนมที่บัวทั้ง 8 กลีบ เสาทั้งต้นได้รับการปิดทองเรียบร้อย แต่กาลเวลาที่ผ่านมาทำให้มีรอยแตกร้าว เมื่อเคาะดูเสียงไม่แน่น แสดงว่าเป็นไม้ที่ผุอันเกิดจากสภาพของดินซึ่งดินที่ตั้งของเสามีน้ำใต้ดินซึมออกมาขังอยู่ เมื่อเทียบเคียงกับเสาหลักเมืองของเมืองอื่น ๆ จะเห็นว่าเสาหลักเมืองบุรีรัมย์ต้นนี้เป็นเสาที่สวยงามมากต้นหนึ่ง


ที่มา http://www.dailynews.co.th

โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:37
เสาต้นที่ 2 เป็นเสาไม้แต่งเสาเป็นรูป 8 เหลี่ยม มีขนาดหน้าตัด 38.5 ซม. เท่ากับเสาหลักต้นแรก ความยาวของเสาเท่าใดไม่ทราบ แต่ส่วนที่โผล่จากระดับพื้นขึ้นมามีความสูง 1.99 เมตร สูงกว่าเสาต้นแรก โคนเสาส่วนที่อยู่เหนือพื้นห่างจากเสาหลักต้นที่ 1 เสาหลักต้นที่ 2 อยู่ทางทิศตะวันตกของเสาหลักต้นที่ 1 เป็นเสาที่ตั้งตรงรับส่วนยอดเสาหลักต้นที่ 1 เสาหลักต้นที่ 2 นี้จะมีเสาหมอเป็นเสาไม้สั้น ๆ จำนวน 2 ต้น ตั้งห่างกัน มีคานไม้แปดเหลี่ยมสอดอยู่ในเสาหมอ คานไม้ตัวนี้ทำหน้าที่เป็นคานประคองยันเสาหลักต้นที่ 2 ไม่ให้เอนเอียง มองดูแล้วเห็นว่าเสาหลักต้นที่ 2 จะมีความมั่นคงมาก เพราะมีเสาต้นที่ 1 ค้ำยันอยู่ด้านตะวันออกและคานประคองรับอยู่ด้านทิศตะวันตก
ดังนั้นเสาหลักเมืองดังกล่าวต้องเป็นเสาหลักที่มีความสำคัญซึ่งอาจเป็นเสาหลักเมืองบุรีรัมย์ที่แท้จริงก็ได้ เพียงแต่การตกแต่งลวดลายที่หัวเสามีน้อยกว่า เพราะที่หัวเสามีการแกะสลักเป็นบัวหงาย 8 กลีบ หัวเสาส่วนนี้จะเหมือนกันทั้งหัวเสาหมอและปลายคานของคานประคอง ลักษณะไม้ที่ใช้ทำเป็นไม้ชนิดเดียวกันทั้งชุดและมีอายุน้อยกว่าเสาหลักต้นที่ 1
บริเวณศาลหลักเมืองแห่งนี้ เคยเป็นจุดที่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ใช้เป็นจุดพักรบ และเห็นว่าบริเวณนี้เป็นทำเลที่เหมาะสม มีสระน้ำ มีต้นแปะขนาดใหญ่ เลยโปรดเกล้าให้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่า “เมืองแปะ” ก่อนที่จะมาเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองบุรีรัมย์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดบุรีรัมย์ ตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏชื่อว่าเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาและปรากฏชื่อต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ว่าบุรีรัมย์มีฐานะเป็นเมือง ๆ หนึ่ง จนถึง พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดระเบียบราชการบริหารส่วนภูมิภาคใหม่ จึงได้ชื่อเป็น “จังหวัดบุรีรัมย์” มาจนถึงทุกวันนี้.


โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:40
ต่อ...
โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:43
พระยาชิงชัย เฝ้าศาล
โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:43
พญาครุฑ
โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:45
พญาสิง
โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:45
พระพิเณศวร
โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:47

โดย: Metha    เวลา: 2014-11-16 12:48

โดย: oustayutt    เวลา: 2014-11-16 14:20
metha ตอบกลับเมื่อ 2014-11-16 12:48


โดย: Metha    เวลา: 2014-11-17 10:47

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ ลูกระเบิดสมัยสงครามโลกตกลงมาแต่ไม่ระเบิด




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2