Baan Jompra

ชื่อกระทู้: พอดีเมื่อวานเข้าไปขอรับ พระธาตุ จากอาจารย์สรายุทธ มาเลยนำข้อมูลมาฝากครับ... [สั่งพิมพ์]

โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:11
ชื่อกระทู้: พอดีเมื่อวานเข้าไปขอรับ พระธาตุ จากอาจารย์สรายุทธ มาเลยนำข้อมูลมาฝากครับ...

ความหมายของคำว่าพระบรมสารีริกธาตุ

"พระบรมสารีริกธาตุ"
คือ พระธาตุส่วนย่อยที่บังเกิดแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะ มิได้เป็นคำที่ใช้เรียก พระธาตุของพระอรหันตสาวก หรือพระธาตุเจดีย์ต่างๆ (บางทีอาจใช้คำว่า "พระบรมธาตุ" หรือ "พระสารีริกธาตุ" แทนได้)
"พระธาตุ" คือ กระดูก หรือ ส่วนของร่างกายต่างๆ เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โลหิต ฯลฯ ที่มีคุณลักษณะเป็นที่แตกต่างจากสามัญชนทั่วไป โดยมีลักษณะคล้าย ' ธาตุ ' ซึ่งหากมองโดย ไม่สังเกตให้ดีแล้ว ก็คล้าย กรวด หิน แก้ว เพชร ฯลฯ
คำว่า พระบรมธาตุ และ พระธาตุ ยังอาจใช้หมายถึงพระสถูปเจดีย์ต่างๆได้อีกด้วย เช่น พระบรมธาตุไชยา พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุพนม ฯลฯ


ประเภทของพระบรมสารีริกธาตุ
..........เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุที่พบเกือบทั้งหมดในปัจจุบัน มีความแตกต่างจากอัฐิของบุคคลธรรมดาทั่วไปอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตามยังพบลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะเหมือนกระดูกคนเช่นกัน เท่าที่พบเห็นได้ตามพระธาตุเจดีย์ทั่วไป หรือตามพิพิธภัณฑสถานต่างๆ ทั่วโลก สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'พระธาตุ'

.......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบมากในประเทศศรีลังกา ไทย จีน พม่า ฯลฯ มีลักษณะตรงหรือใกล้เคียงตามลักษณะที่ปรากฏในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ในประเทศไทยมีประดิษฐานอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ ตามวัดต่างๆทั่วไป

พระบรมสารีริกธาตุ ลักษณะ 'กระดูกคน'

.......... พระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ พบเฉพาะเขตโบราณสถานในประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทย รัฐบาลอังกฤษได้มอบให้แก่ประเทศไทย 2 ครั้ง ครั้งแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ประดิษฐานอยู่ ณ เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร และครั้งที่ 2 รัฐบาลได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ เจดีย์วัดพระศรีมหาธาตุฯ บางเขน

* ในภาพเป็นพระบรมสารีริกธาตุ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติอินเดีย



คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุ
..........คุณลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และได้รับการยอมรับจากพุทธศาสนิกชนและพระภิกษุสงฆ์โดยทั่วไป พบว่ามีลักษณะที่มองจากภายนอกคร่าวๆได้ดังนี้
- มีด้วยกันหลายสี ตั้งแต่ใสดั่งแก้วจนกระทั่งขุ่น สีขาวดุจสีสังข์ สีทอง สีดำ สีชมพู สีแดง ฯลฯ
- มีหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ลักษณะเมล็ดข้าวสาร พันธุ์ผักกาด เมล็ดถั่วแตก แก้วใส ฯลฯ
- หากมีขนาดเล็กมักสามารถลอยน้ำได้ เมื่อลอยด้วยกันจะสามารถดึงดูดเข้าหากันได้ และลอยติดกันเป็นแพ
- สามารถเสด็จมาเพิ่มจำนวนขึ้นหรือลดลงได้เอง ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระธาตุ
- เปลี่ยนขนาดและสีสันเองได้
- ส่วนมากมักมีน้ำหนักค่อนข้างเบา เมื่อเทียบกับขนาด
พระบรมสารีริกธาตุลักษณะต่างๆ
อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี ซึ่งเป็นคัมภีร์อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎกนั้น พระอรรถกถาจารย์ได้แบ่งลักษณะของพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1.นวิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุที่ยังคงรูปร่างเดิมอยู่เป็นชิ้นเป็นอัน มิได้แตกย่อยลงไป มีทั้งหมด 7 องค์ ได้แก่ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก) 1องค์ พระเขี้ยวแก้ว 4 องค์ และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า) 2 องค์
2.วิปฺปกิณฺณา ธาตุ คือ พระบรมสารีริกธาตุส่วนต่างๆขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มิได้คงรูปร่างอยู่เป็นชิ้น แต่แตกย่อยลงเป็นเป็นจำนวนมาก กระจายไปประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆ
ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้จำแนกลักษณะและขนาดของพระบรมสารีริกธาตุชนิด วิปฺปกิณฺณา ธาตุ ต่อไปอีกดังนี้ เมื่อพิจารณาจากลักษณะภายนอก แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. (สี)เหมือนดอกมะลิตูม (สีพิกุล)
[อรรถกถาบาลีว่า สุมนมกุลสทิสา]

ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 6 ทะนาน
2. (สี)เหมือนแก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว (สีผลึก)
[อรรถกถาบาลีว่า โธตมุตฺตสทิสา]

ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน
3. (สี)เหมือนจุณ หรือ ผงทองคำ (สีทองอุไร)
[อรรถกถาบาลีว่า สุวณฺณจุณฺณา]

ท่านว่าพระบรมสารีริกธาตุลักษณะนี้ ตวงได้ 5 ทะนาน
และเมื่อพิจารณาจากขนาด ท่านแบ่งได้เป็น 3 ขนาด (ดูเปรียบเทียบขนาดได้จากภาพประกอบ) ได้แก่
1.ขนาดเล็ก ประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า สพฺพขุทฺทกา ธาตุ สาสปวีชมตฺตา]

*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งมะลิตูม
2.ขนาดเขื่อง คือมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ประมาณเมล็ดข้าวสารหักกึ่ง
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า มหาธาตุ มชฺเฌ ภินฺนตณฺฑุลมตฺตา]

*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งแก้วมุกดา
3.ขนาดใหญ่ คือมีขนาดใหญ่ที่สุด ประมาณเมล็ดถั่วเขียวผ่ากลาง*
[อรรถกถาบาลีอธิบายว่า อติมหตี มชฺเฌ ภินฺนมุคฺคามตฺตา]

*บางตำราระบุว่าพระบรมสารีริกธาตุขนาดนี้จะมีสีดั่งทองอุไร
*หมายเหตุ 1
บางตำราที่ระบุขนาด ได้แก่ คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของโบราณ; ตำนานพระเจ้าเลียบโลก

*หมายเหตุ 2
ในอรรถกถาบาลีกล่าวว่าเป็นถั่วมุคคะ โดยปาลี-สยามอภิธาน ของนาคะประทีป ให้ความหมายคำว่า ถั่วมุคคะ คือ ถั่วเขียว และเพิ่มเติมข้อมูลชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่าเป็น Phaseolus mungo เช่นเดียวกับที่พบในเอกสารทางพุทธศาสนาต่างประเทศบางฉบับ ซึ่งถั่วชนิดนี้มีชื่อที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ถั่วเขียวผิวดำ หรือ ถั่วดำเมล็ดเล็กซึ่งเป็นถั่วคนละชนิดกับถั่วเขียวที่พบทั่วไป (Phaseolus aureus) อย่างไรก็ดีถั่วทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมา มีความยาวใกล้เคียงกันคือประมาณ 0.50 ซม.


เกร็ดความรู้ว่าด้วยสีพระบรมสารีริกธาตุ

ไข่มุก


moonstone

............ในอรรถกถาสุมังคลวิลาสินีกล่าวถึง สีของพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด 3 สี ได้แก่ สีดอกมะลิตูม สีแก้วมุกดา และสีผงทองคำ ทั้งนี้ สีดอกมะลิตูมและสีผงทองคำนั้น สามารถพบเห็นและเปรียบเทียบได้ง่าย แต่สีแก้วมุกดานั้น ชวนให้สงสัยว่าจะเป็นสีอย่างไร
.............คำว่า มุกดา นั้นมาจากภาษาบาลีว่า มุตฺตา โดยพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า "มุกดา" คือ ไข่มุก, ชื่อรัตนะอย่างหนึ่งในพวกนพรัตน์ สีหมอกอ่อนๆ ซึ่งรัตนะในความหมายหลังมีผู้จำแนกไว้ว่าคือ moonstone(แต่บางท่านก็ว่า มุกดา ในนพรัตน์ของไทยนั้นคือ แก้วใสสีขาว ไม่ใช่ moonstone) ซึ่งหากในความหมายนี้หมายถึงแก้วใสสีขาว หรือ moonstone แล้ว พระบรมสารีริกธาตุสีนี้ จะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปเป็นจำนวนมาก แต่หากหมายถึงไข่มุกแล้ว พระบรมสารีริกธาตุ ที่มีลักษณะสีเหลือบแบบไข่มุกนั้น จะพบเห็นได้ค่อนข้างยาก
.............อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากคำว่า "แก้วมุกดาที่เจียระไนแล้ว" ในอรรถกถา เป็นไปได้ว่า มุกดา ในที่นี้อาจจะไม่ได้หมายถึงไข่มุก เนื่องจากมีคำว่าเจียระไนเข้ามาประกอบ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้คำนี้จะหมายถึงไข่มุก พระบรมสารีริกธาตุที่มีสีในเฉดขาว-เทาไข่มุกทั้งหมด ก็อาจนับอยู่ในกลุ่มสีแก้วมุกดาได้ เช่นเดียวกับพระบรมสารีริกธาตุลักษณะสีทองอุไร ที่นับเอาพระบรมสารีริกธาตุที่มีสีเฉดเหลืองทั้งหมดเข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้

เกร็ดความรู้ว่าด้วยอรรถกถาสุมังคลวิลาสินี
............อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความพระสูตรทีฆนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก เรียบเรียงขึ้นโดยพระพุทธโฆสาจารย์ พระภิกษุชาวอินเดีย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1000 พระพุทธโฆสาจารย์ เป็นชาวอินเดีย บ้านเกิดท่านอยู่ใกล้พุทธคยา ศึกษาจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อน ภายหลังได้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงบรรพชาอุปสมบทและได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศศรีลังกา ท่านได้เรียบเรียงคัมภีร์ต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค ในเวลานั้นที่เกาะลังกา มีอรรถกถาต่างๆ อยู่ก่อนแล้ว แต่เป็นภาษาสิงหล ท่านจึงได้แปลเป็นภาษาบาลี แล้วรจนาอรรถกถาอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น คัมภีร์สมันตัปปสาทิกา สุมังคลวิลาสินี ปปัญจสูทนี สารัตถปกาสินี มโนรถปูรณี ปรมัตถทีปนี เป็นต้น แล้วจึงได้เดินทางกลับอินเดีย ปัจจุบันคัมภีร์ที่ใช้ศึกษาอยู่ในเมืองไทยขณะนี้ เป็นผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์เป็นส่วนมาก



พระธาตุลอยน้ำ


ตามโบราณาจารย์ต่างๆท่านกล่าวว่า พระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุที่มีขนาดไม่ใหญ่นักนั้น สามารถที่จะลอยน้ำได้ ส่วนการลอยน้ำของพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุนั้น จะลอยน้ำโดยที่น้ำจะเป็นแอ่งบุ๋มลงไปรองรับพระบรมสารีริกธาตุไว้ นอกจากนี้อาจปรากฏรัศมีของน้ำรอบๆพระบรมสารีริกธาตุอีกด้วย ทั้งนี้หากทำการลอยพร้อมๆกันหลายๆองค์ พระบรมสารีริกธาตุจะค่อยๆลอยเข้าหากันและติดกันในที่สุด ไม่ว่าจะลอยห่างกันสักเพียงใด
นี่เองจึงเป็นเหตุให้มีผู้กล่าวว่า หากมีพระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานอยู่ ณ ที่ใดแล้ว หากมีการถวายความเคารพเป็นอย่างดีและเหมาะสมแล้ว ท่านก็สามารถที่จะดึงดูดองค์อื่นๆให้เสด็จมาประทับรวมกันได้
อย่างไรก็ตาม ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ได้ห้ามมิให้ทำการทดสอบพระบรมสารีริกธาตุด้วยการลอยน้ำ โดยถือว่าเป็นการดูหมิ่นคุณขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเหตุการณ์นี้ คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ได้เล่าไว้ในงานเขียนของท่านที่เกี่ยวกับพระบรมสารีริกธาตุ และภายหลังท่านจึงได้ทำการขอขมาต่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยเหตุนี้
หมายเหตุ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2546 มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งที่ได้มาเยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ เธอได้ติดต่อมายังผมและถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเธอ ขณะที่ได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปสรงน้ำ คือเมื่ออัญเชิญท่านลงในน้ำ ท่านก็จมลงไปยังก้นภาชนะที่ใช้สำหรับสรงท่านทันที เพื่อนๆของเธอที่ดูอยู่จึงถามว่าไหนว่าพระธาตุท่านลอยน้ำมิใช่หรือ ไหนเล่า? เธอจึงอธิษฐานขอให้ท่านลอย ทันใดนั้นท่านก็ลอยขึ้นมาจากก้นภาชนะนั้น จะเท็จจริงอย่างไรไม่ทราบ เห็นว่าแปลกดีและเกิดกับผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์นี้ด้วย ทั้งที่มิเคยได้เห็นหน้าหรือรู้จักกันมาก่อน จึงได้นำมาให้อ่านกัน

ตำนานการเกิดพระบรมสารีริกธาตุ
เหตุที่เกิดพระบรมสารีริกธาตุจำนวนมากขึ้นนั้น พระโบราณาจารย์อธิบายว่า เกิดจากพุทธประสงค์ ก่อนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ดังต่อไปนี้
โดยปกติที่พระพุทธเจ้าที่ทรงมีพระชนมายุยืนยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง จะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ดุจทองแท่งธรรมชาติ ซึ่งมหาชนในสมัยนั้นไม่สามารถแบ่งปัน นำไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ในที่แห่งเดียว ซึ่งพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน (พระสมณโคดม) ทรงเล็งเห็นว่า พระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี นับว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อน ศาสนาของพระองค์ยังไม่แพร่หลาย และหมู่สัตว์ทั้งหลายเกิดมาไม่ทันสมัยพระองค์มีมากนัก หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฎฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก จึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ คือ พระนลาฏ (กระดูกหน้าผาก)1 พระเขี้ยวแก้ว4 และพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)2 นอกจากนั้นให้กระจายไปทั่วทิศานุทิศ เพื่อยังประโยชน์แก่หมู่สัตว์ทั่วไป
ซึ่งความทั้งหมดพ้องกันจากตำราหลายๆ ตำรา ที่พระอาจารย์สมัยต่างๆได้รจนาไว้ ดังเช่น "อรรถกถาสุมังคลวิลาสินี" "ปฐมสมโพธิกถา" ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส "ตำนานมูลศาสนา" "ชินกาลมาลีปกรณ์" และ "พุทธตำนานพระเจ้าเลียบโลก" เป็นต้น
เหตุการณ์ก่อน ขณะ และ หลังพุทธปรินิพพาน
เนื้อหาจากพระไตรปิฎก
มหาปรินิพพานสูตร (*.txt)
เหตุการณ์ขณะถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
และการทำธาตุนิธาน เนื้อหาจากอรรถกถา
ตำนานธาตุนิธาน(*.txt)
เหตุการณ์และคำสอนของพระพุทธเจ้าในช่วงเวลาใกล้ปรินิพพาน นำมาเรียบเรียงเป็นเรื่องราวชวนอ่าน
โดย อ.วศิน อินทสระ
หนังสือพระพุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน (*.pdf) จัดทำโดยเว็บไซต์กัลยาณธรรม

สถานที่ประดิษฐาน
พระบรมสารีริกธาตุ แบบที่กระจัดกระจายนั้น หลังจากได้ทำการแบ่งออกเป็น 8 ส่วน แยกย้ายไปประดิษฐานตามเมืองต่างๆ หลังจากถวายพระเพลิงแล้ว ตามตำนานกล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระ และ พระเจ้าอชาตศัตรู ได้ร่วมกันกระทำ 'ธาตุนิธาน' คือการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่แบ่งออกไปนั้นกลับมาประดิษฐานรวมกันไว้ในที่แห่งเดียว เพื่อป้องกันการสูญหาย จากการศึกและสงคราม และในตอนท้ายของตำนานกล่าวว่า บุคคลผู้มาอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกไปและกระทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ยิ่งใหญ่ ก็คือ พระเจ้าอโศกมหาราช นั่นเอง
จากเนื้อความในพระปฐมสมโพธิกถา ได้มีการแจกแจงถึงสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แบบที่ไม่กระจัดกระจาย ทั้ง 7 ประการ สรุปได้ดังนี้





1. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ได้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยของพระเจ้าทุฏฐคามินีอภัย)
2. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ เมืองคันธารราฏฐ
(แคว้นคันธาระ เป็นอาณาจักรในสมัยโบราณ กินอาณาเขตทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน และตะวันออกของประเทศอัฟกานิสถานในปัจจุบัน)

3. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่ ณ ประเทศศรีลังกา
(เชื่อกันว่า เป็นพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดาลาดามาลิกาวา เมืองเคนดี ในปัจจุบัน)
4. พระเขี้ยวแก้วเบื้องล่างซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ นาคพิภพ
5. พระรากขวัญขวา ประดิษฐานอยู่ที่ พระเกศจุฬามณีเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
(บางตำรากล่าวว่า ภายหลังได้อัญเชิญมาประดิษฐานยังพระเจดีย์ถูปาราม ประเทศศรีลังกา)
6. พระรากขวัญซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(ทุสสเจดีย์ ประดิษฐานอยู่ ณ อกนิฏฐพรหมโลก ซึ่งเป็นภพภูมิหนึ่งในปัญจสุทธาวาส และเป็นชั้นสูงสุดของรูปพรหม)

7. พระอุณหิศ(กรอบหน้า) ประดิษฐาน ณ ทุสสเจดีย์ บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
(บางตำรากล่าวว่า พระมหากัสสปะเถระเป็นผู้เก็บรักษาไว้ และมอบแก่สัทธิวิหาริกสืบต่อกันมา ภายหลังพระมหาเทวเถระ จึงได้เป็นผู้อัญเชิญไปประดิษฐานยังประเทศศรีลังกา)


พระบรมสารีริกธาตุของพระอดีตพุทธเจ้า
ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ในพระสุตตันตปิฎก กล่าวว่า พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระพุทธประวัติของพระพุทธเจ้าไว้ 25 พระองค์ นับตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าเป็นต้นมา โดยในช่วงท้ายของพระพุทธประวัติแต่ละพระองค์ กล่าวถึงลักษณะการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุภายหลังพุทธปรินิพพาน เป็น 2 ลักษณะ คือ บางพระองค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้รวมกัน ณ ที่แห่งเดียว หรือ บางพระองค์พระบรมสารีริกธาตุกระจายไปประดิษฐานยังสถานที่ต่าง ๆ เพียงเท่านี้
จากการสืบค้นเพิ่มเติมใน อุปวานเถราปทาน ขุททกนิกาย อปทาน ภาค 2 (ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย) และ อรรถกถา (วิสุทธชนวิลาสินี) มีการกล่าวถึงพระบรมสารีริกธาตุของพระปทุมุตรพุทธเจ้า ว่ามีลักษณะรวมกันเป็นก้อนเดียว มหาชนจึงสร้างพระสถูปประดิษฐานไว้ในที่แห่งเดียว แต่ในขณะที่ คัมภีร์มธุรัตถวิลาสินี (อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์ รจนาโดย พระพุทธทัตตะเถระ) กล่าวต่างออกไป ว่าพระบรมสารีริกธาตุของพระปทุมุตรพุทธเจ้ามีลักษณะกระจัดกระจาย แต่มหาชนร่วมกันสร้างสถูปประดิษฐานไว้ในสถานที่แห่งเดียว ส่วนพระบรมสารีริกธาตุของ พระโกณฑัญญพุทธเจ้า และ พระสิขีพุทธเจ้า กล่าวว่ามีีลักษณะดำรงอยู่เป็นแท่งแท่งเดียว ดังรูปปฏิมาทอง
รายพระนามพระพุทธเจ้า พระชนมายุ และลักษณะการประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
[table=98%,#006633]
ลำดับที่
พระนาม
พระชนมายุ
ลักษณะการประดิษฐานพระบรมธาตุ
1
พระทีปังกรพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระสถูปสูง 36 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม
2
พระโกณฑัญญพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระสถูปสูง 7 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม
3
พระมังคลพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระสถูปสูง 30 โยชน์ ประดิษฐาน ณ พระราชอุทยานเวสสระ
4
พระสุมนพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระสถูปสูง 4 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อังคาราม
5
พระเรวตพุทธเจ้า
60,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
6
พระโสภิตพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
7
พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระสถูปสูง 20 โยชน์ ประดิษฐาน ณ ธรรมาราม
8
พระปทุมพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
9
พระนารทพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระสถูปสูง 4 โยชน์ ประดิษฐาน ณ สุทัสนนคร
10
พระปทุมุตรพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระสถูปสูง 12 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม
11
พระสุเมธพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
12
พระสุชาตพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระสถูปสูง 3 คาวุต ประดิษฐาน ณ เสลาราม
13
พระปิยทัสสีพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระสถูปสูง 3 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อัสสัตถาราม
14
พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
15
พระธรรมทัสสีพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระสถูปสูง 3 โยชน์ ไม่กล่าวถึงสถานที่ประดิษฐาน
16
พระสิทธัตถพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระสถูปสูง 4 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อโนมาราม
17
พระติสสพุทธเจ้า
100,000 ปี
พระสถูปสูง 3 โยชน์ ประดิษฐาน ณ นันทาราม
18
พระปุสสพุทธเจ้า
90,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
19
พระวิปัสสีพุทธเจ้า
80,000 ปี
พระสถูปสูง 7 โยชน์ ประดิษฐาน ณ สุมิตตาราม
20
พระสิขีพุทธเจ้า
70,000 ปี
พระสถูปสูง 3 โยชน์ ประดิษฐาน ณ อัสสาราม
21
พระเวสสภูพุทธเจ้า
60,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
22
พระกกุสันธพุทธเจ้า
40,000 ปี
พระสถูปสูง 1 คาวุต ประดิษฐาน ณ เขมาราม
23
พระโกนาคมนพุทธเจ้า
30,000 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
24
พระกัสสปพุทธเจ้า
20,000 ปี
พระสถูปสูง 1 โยชน์ ประดิษฐาน ณ เสตัพยาราม
25
พระโคตมพุทธเจ้า
100 ปี
พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กระจายไป
สรุปจาก: พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายพุทธวงศ์ รัตนะจงกรมกัณฑ์

ตำนานธาตุปรินิพพาน
คัมภีร์อรรถกถาหลายเล่ม ได้แก่ สุมังคลวิลาสินี ปปัญจสูทนี มโนรถปูรณี และ สัมโมหวิโนทนี ปรากฏตำนานที่เล่าขานสืบมาแต่ครั้งโบราณว่า การปรินิพพานจะปรากฏด้วยกัน 3 ครั้ง ครั้งแรกคือ กิเลสปรินิพพาน ปรากฏ ณ โพธิบัลลังก์เมื่อครั้งตรัสรู้ ครั้งที่ 2 คือ ขันธปรินิพพาน ปรากฏ ณ เมืองกุสินารา และครั้งสุดท้ายจะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ธาตุปรินิพพาน เนื้อหาโดยรวมในแต่ละคัมภีร์มีความคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันเพียงรายละเอียดเล็กน้อย ดังนี้
กล่าวกันว่า เมื่อถึงเวลาที่พระศาสนาเสื่อมถอยลง พระบรมสารีริกธาตุทุกพระองค์ไม่ว่าจะประดิษฐานอยู่ที่ใดก็ตาม จะเสด็จไปประชุมกันยังเกาะลังกา แล้วจึงเสด็จไปยังมหาเจดีย์(กล่าวกันว่า พระมหาเจดีย์องค์นี้ คือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์)จากมหาเจดีย์เสด็จต่อไปยังราชายตนเจดีย์ในนาคทวีป จากนั้นจึงเสด็จต่อไปยังมหาโพธิ์บัลลังก์สถานที่ตรัสรู้ (พุทธคยา)
ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวต่อไปว่า องค์พระบรมสารีริกธาตุที่เคยประดิษฐานยังนาคพิภพ เทวโลก และ พรหมโลก เมื่อเสด็จไปรวมกันยังมหาโพธิบัลลังก์ที่ตรัสรู้ ก็รวมกันเป็นแท่งเดียวกันดุจแท่งทองคำหรือกองทองคำ เปล่งพระฉัพพรรณรังสี ไปทั่วหมื่นโลกธาตุ
ยกเว้นแต่คัมภีร์มโนรถปูรณี ที่กล่าวต่างไปว่า พระบรมสารีริกธาตุที่มาประชุมกัน จะแสดงเป็นองค์พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ พระสรีระครบถ้วนด้วยมหาปุริสลักษณะและอนุพยัญชนะ จากนั้นจึงกระทำยมกปาฏิหาริย์แสดง
ในตำนานกล่าวไว้ว่า ไม่มีมนุษย์คนใดเข้าไปในสถานที่แห่งนั้น แต่เทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาฬจะมาประชุมกันทั้งหมด คร่ำครวญว่า พระศาสดาจะปรินิพพานวันนี้ พระศาสนาจะเสื่อมถอย การเห็นของพวกเรานี้ เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย เมื่อถึงเวลาสิ้นสุดพระศาสนา เตโชธาตุลุงโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ เปลวเพลิงพวยพุ่งไปถึงพรหมโลก และดับลงเมื่อพระบรมสารีริกธาตุหมดสิ้นไปไม่เหลือแม้เท่าเมล็ดผักกาด หลังจากนั้นหมู่เทพทำการสักการะด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์ ดังเช่นในวันปรินิพพาน กระทำประทักษิณ 3 รอบ ถวายบังคม แล้วจึงกลับสู่วิมานของตน
** ตำนานนี้ปรากฏในคำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุของโบราณด้วยเช่นกัน แต่ต่างกันตรงที่การกล่าวเพิ่มเติมว่า องค์พระบรมสารีริกธาตุที่ประชุมกันขึ้นเป็นรูปองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะทรงตรัสพระธรรมเทศนาอีกเจ็ดวันก่อนสิ้นอายุพระศาสนา ซึ่งไม่ปรากฏความนี้ในอรรถกถาฉบับใดเลย

พุทธเจดีย์
เจดีย์ที่สร้างขึ้นมาในพระพุทธศาสนา มีไว้เพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัยทั้งสิ้น สามารถแบ่งได้ เป็น 4 ประเภท นั่นคือ
[table=98%,rgb(255, 255, 255)]
1. พระธาตุเจดีย์
คือ เจดีย์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรือ พระธาตุ เช่น พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ บรมบรรพต(ภูเขาทอง) ฯลฯ
2. พระธรรมเจดีย์
มีผู้สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นจากการที่ทรงมีพุทธดำรัสก่อนพุทธปรินิพพานว่า พระธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนพระองค์ จึงเกิดมีการคิดจารึกพระธรรมลงบนวัตถุแล้วนำมาบูชาแทนพระธรรม เช่น พระไตรปิฎก หนังสือธรรมะ ฯลฯ
3. บริโภคเจดีย์
คือ สถานที่หรือสิ่งของทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้งสี่ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธบริขาร รอยพระพุทธบาท ฯลฯ
4. อุเทสิกเจดีย์
คือสิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงพระรัตนตรัย โดยไม่มีการกำหนดรูปแบบอย่างชัดเจน เช่น พระพุทธรูป พระผง พระเครื่อง พระพุทธบาท(จำลอง) ฯลฯ ทั้งนี้ รวมถึงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุจำลองด้วย


บุคคลที่สมควรสร้างสถูปไว้บูชา (ถูปารหบุคคล)
...............การบูชาบุคคลที่ควรบูชา นั้นเป็นมงคลข้อหนึ่งในมงคลสูตร 38 ประการการบูชา คือ การยกย่อง เลื่อมใส ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่เสแสร้งแกล้งทำนั่นหมายถึง กิริยาอาการสุภาพที่แสดงต่อผู้ที่ควรบูชาทั้งต่อหน้าและลับหลังซึ่งการบูชาในทางปฏิบัตินั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี คือ การบูชาด้วยสิ่งของ เรียกว่า อามิสบูชา และ การบูชาด้วยการตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนหรือแบบอย่างที่ดีของท่าน เรียกว่า ปฏิบัติบูชา ซึ่งอย่างหลังนี้เองเป็นการบูชาสูงสุด ที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่อง
...............บุคคลที่ควรบูชา คือ บุคคลที่มีคุณงามความดี ควรค่าแก่การระลึกถึง และยึดถือเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติตาม มีอยู่ด้วยกันจำนวนมาก เช่น พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อ แม่ ฯลฯ อย่างไรก็ดีพระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงบุคคลที่สมควรแก่การสร้างสถูปไว้บูชาไว้เพียง 4 จำพวก ได้แก่
[table=98%]
1.พระพุทธเจ้า
เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

2.พระปัจเจกพุทธเจ้า
เหตุที่พระปัจเจกพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
3.พระอรหันต์ (ในพระสูตรกล่าวเป็น "พระตถาคตสาวก" ซึ่งปกติ หมายถึง "พระอรหันต์")เหตุที่พระสาวกของพระพุทธเจ้าทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระสาวกของผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
4.พระเจ้าจักรพรรดิ์
เหตุที่พระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงเป็นถูปารหบุคคลจำพวกหนึ่งนั้น ทรงมีพุทธาธิบายว่า เมื่อมหาชนยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี่เป็นสถูปของพระธรรมราชาผู้ทรงธรรมนั้น พวกเขายังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์



[/td][/tr]
[/table][/td][/tr]
[/table]
[/td][/tr]
[/table]


โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:12
พระธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร
...........ความเชื่อเรื่องพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดนี้ ไม่ใช่ข้อวัตรปฏิบัติหรือปรากฏในหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา แต่เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนา ความเชื่อนี้จะมีมาตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏ พบว่ามีบันทึกอยู่ในตำราพื้นเมืองโบราณ สรุปใจความได้ว่า ก่อนที่วิญญาณจะมาปฏิสนธิในครรภ์ของผู้เป็นมารดานั้น วิญญาณจะลงมา ชุธาตุ ซึ่งหมายถึงการที่ดวงวิญญาณจะลงมาพักอยู่ที่เจดีย์แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยมี ตั๋วเปิ้ง (สัตว์ประจำนักษัตร) พามาพักไว้ และเมี่อได้เวลา ดวงวิญญาณก็จะเคลื่อนจากพระเจดีย์ ไปสถิตอยู่บนกระหม่อมของผู้เป็นบิดาเป็นเวลา 7 วัน ก่อนที่จะเคลื่อนเข้าสู่ครรภ์ของมารดา และเมื่อเสียชีวิตลงแล้ว ดวงวิญญาณก็จะกลับไปพักอยู่ที่เจดีย์นั้นๆตามเดิม
...........นดังนั้น บุคคลซึ่งเกิดในปีนักษัตรใดก็ตาม สมควรที่จะหาโอกาสไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตน ให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นมงคลแก่ชีวิต มีอานิสงส์สูงและจะทำให้มีอายุยืนนาน รวมถึงเชื่อว่าหากสิ้นชีพไป ดวงวิญญาณจะได้กลับไปยังพระธาตุองค์นั้น ไม่ต้องเร่ร่อนไปในทุคคติภพอื่นๆ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เองที่แพร่หลายไปสู่หลายๆพื้นที่ของประเทศ ก่อให้เกิดคติความเชื่อเช่นเดียวกันนี้ แต่จะแตกต่างกันบ้าง ในส่วนของเจดีย์ประจำปีนักษัตรต่างๆ อีกทั้งยังพบว่ามีคติความเชื่อเรื่องพระธาตุประจำวันเกิด ซึ่งเป็นเจดีย์ที่อยู่ในเขตจังหวัดนครพนมเพียงจังหวัดเดียวอีกด้วย
...........นเมื่อพิจารณาถึงความเชื่อเรื่องนี้แล้ว ถือได้ว่าเป็นความชาญฉลาดของบรรพชนชาวล้านนา ที่สอนให้ลูกหลานมีความเคารพในพระรัตนตรัย และเหตุที่ให้นับถือพระเจดีย์องค์ใดองค์หนึ่งเป็นพิเศษ อาจเป็นไปได้ว่า การเดินทางไปสักการะพระเจดีย์แต่ละองค์ในสมัยโบราณนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากการเดินทางที่ยากลำบาก จำเป็นต้องใช้ความวิริยะและอุตสาหะอย่างสูง ดังนั้นการได้ไปกราบไหว้พระธาตุเจดีย์แม้เพียงองค์ใดองค์หนึ่ง ย่อมก่อให้เกิดความชื่นอกชื่นใจแก่สาธุชนผู้มีความมุ่งมั่นในการเดินทางไปกราบไหว้ ภาพพระธาตุเจดีย์ที่ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า จะก่อให้เกิดความปีติสุขและความอิ่มอกอิ่มใจเอ่อท้น ประทับติดตรึงตราอยู่ภายในใจ เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายถึงกาละแตกดับไปตามธรรมชาติ จิตก่อนตายจะไขว่คว้าหาบุญกุศลที่เคยทำมา เมื่อนั้น ภาพการไปกราบไหว้พระธาตุเจดีย์ และความรู้สึกสุขใจในบุญกุศลจะปรากฏสว่างไสวในจิต ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้ไปสู่สุคติภพได้โดยไม่ยากนัก
พระธาตุเจดีย์ประจำปีนักษัตร (ล้านนา) ตำราดูกำเนิดปี
*ภาพถ่ายประกอบจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

[tr][/tr]

คนเกิดปีใจ้ [ปีชวด นักษัตรหนู ธาตุน้ำ]
พระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
ประดิษฐาน :: พระทักษิณโมลีธาตุ(กระดูกกระหม่อมเบื้องขวา)
คำบูชาพระธาตุ
นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี โลหะกูเฏ ปะติฏฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ กิตฺติมันตัง มะโนหะลัง อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ อังคะวะหะเย ปุเรระมะเน โกวิลา ลัคฺคะปัพพะตา สะหิเหมะคูหา คัพฺเภ ทักขิณะโมลี ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะทาฯ

คนเกิดปีเป้า [ปีฉลู นักษัตรวัว ธาตุดิน]
พระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ พระธาตุส่วนพระนลาฏ(หน้าผาก) และพระศอ(ลำคอ)
คำบูชาพระธาตุ
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง ปะติฏฐาสัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะคุตตา อุตตะราภิทัย ยานะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง

คนเกิดปียี [ปีขาล นักษัตรเสือ ธาตุไม้]
พระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ และ พระบรมธาตุข้อศอกข้างซ้าย
คำบูชาพระธาตุ
โกเสยัง ธะชัคคะ ปัพพะเต พุทธะธาตุ ปะติฏฐิตัง ปะสันเนนะ อะหังวันทามิ สัพพะทา อะหังวันทามิ ธาตุโย อะหังวันทามิ สัพพะโส

คนเกิดปีเหม้า [ปีเถาะ นักษัตรกระต่าย ธาตุน้ำ]
พระธาตุแช่แห้ง อ.ภูเพียง จ.น่าน
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ และ พระบรมธาตุข้อพระหัตถ์ข้างซ้าย
คำบูชาพระธาตุ
ปายาตุภูตา อะตุรานุภาวะจีรัง ปะติฏฐิตา นันทะกัปปัฏฐานะปุระ เทเวนะคุตตา วะระพุทธาตุจิรัง อะหังวันทามิ ตังชินะธาตุง เสตะฐานะ อะหังวันทามิ ทูระโตฯ

คนเกิดปีสี [ปีมะโรง นักษัตรพญานาค ธาตุดิน]
พระเจดีย์วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประดิษฐาน :: พระบรมสารีริกธาตุ
คำบูชาพระธาตุ
อิติปะวะระสิหิงโต อุตตมะยะโสปิ เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโตโส สักกาโร อุปาโท สะกาละพุทธะ สาสะธัง โชตะยันโตวะ ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนยะ พุทโธติ
หมายเหตุ :: บางตำรากล่าวว่าองค์พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) คือพระเจดีย์ประจำปีมะโรง แต่อย่างไรก็ดี ทั้งองค์พระสิงห์และพระเจดีย์วัดพระสิงห์ ต่างก็ประดิษฐานอยู่ที่วัดเดียวกัน

คนเกิดปีใส้ [ปีมะเส็ง นักษัตรงูเล็ก ธาตุน้ำ]
โพธิบัลลังก์ วิหารมหาโพธิเจดีย์ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
ประดิษฐาน :: พระแท่นวัชรอาสน์
คำบูชาพระธาตุ
ปฐมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยัง อนิมมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะเสฏฐัง จตุตถัง ระตะนะฆะรังปัณจะมัง อะชะปาละนิโครธังฉัฏฐัง ราชายะตะนัง สัตตะมัง มุจจะลินทัง อะหัง วันทามิ ทูระโต
หมายเหตุ :: เนื่องจากสถานที่ประดิษฐานโพธิบัลลังก์อยู่ไกล นอกเขตพระราชอาณาจักร จึงอนุโลมเป็นพระเจดีย์ที่มีลักษณะใกล้เคียงวิหารมหาโพธิเจดีย์ ได้แก่ พระเจดีย์วัดโพธารามมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ หรือต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ปลูกตามวัดทั่วไปก็ได้

คนเกิดปีสะง้า [ปีมะเมีย นักษัตรม้า ธาตุไฟ]
พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า
ประดิษฐาน :: พระเกศาธาตุ
คำบูชาพระธาตุ
พุทโธพุทธะ หัตถะฏะฐิ พุทธะเจติยะ คันธะวะรัง สะวาตะถิยัง อะหังวันทามิ สัพพะทา

หมายเหตุ :: เนื่องจากพระเกศธาตุเมืองตะโก้ง (พระธาตุเจดีย์ชเวดากอง) อยู่ไกล นอกเขตพระราชอาณาจักร จึงอนุโลมเป็นพระเจดีย์ที่มีลักษณะใกล้เคียง ได้แก่ พระธาตุชเวดากอง วัดพระบรมธาตุ จ.ตาก แทนได้

คนเกิดปีเม็ด [ปีมะแม นักษัตรแพะ ธาตุดิน]
พระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ประดิษฐาน :: พระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมาจากสุโขทัย ซึ่งองค์พระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญมา ได้กระทำปาฏิหาริย์ แบ่งเพิ่มจาก 1 องค์ เป็น 2 องค์ ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้ากือนา พระบรมสารีริกธาตุองค์ที่แสดงปาฏิหาริย์แบ่งมาเพิ่มนั้น ได้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระเจดีย์วัดสวนดอก ส่วนองค์เดิมได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่นี่
คำบูชาพระธาตุ
สุวัณณะเจติยัง เก สะวะระมัตถะลุงคัง วิรัญญะธาตุง สุเทวะนามะกัง นะระเทเวหิ สัพพะปูชิตัง อะหังวันทามิ สัพพะทา

คนเกิดปีสัน [ปีวอก นักษัตรลิง ธาตุดิน]
พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
ประดิษฐาน :: พระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก)
คำบูชาพระธาตุ
ปันนะศิริสะมิง ปัพพะเต อุตะมังธาตุ เหทะยัง วะละจิตตัง เสฐะวะรัง อะหังวันทามิ สัพพะทา
หมายเหตุ :: พระธาตุพนมเป็นพระธาตุเจดีย์ประจำปีเกิดเพียงองค์เดียว ที่ประดิษฐานอยู่ในภาคอิสานของประเทศไทย และถือเป็นพระธาตุเจดีย์ประจำคนเกิดวันอาทิตย์อีกด้วย

คนเกิดปีเร้า [ปีระกา นักษัตรไก่ ธาตุเหล็ก]
พระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
ประดิษฐาน :: พระบรมธาตุส่วนกระหม่อม หน้าอก นิ้วพระหัตถ์ พระเกศาธาตุ และพระธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง
คำบูชาพระธาตุ
สุวัณณะเจติยัง หะริภุญชะยัฐฐังวะระ โมลีธาตุรัง อุฬเสฏฐัง สะหะอังคุละผัฏฐัง กัจจายะโน นามิตปัตตะ ปุรังสิเนนะ เมยหัง ปะนะนามิธาตุง สิระสา นะมามิ อะหังวันทามิ ทูระโตฯ

คนเกิดปีเส็ด [ปีจอ นักษัตรหมา ธาตุดิน]
พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ประดิษฐาน :: พระบรมธาตุเขี้ยวแก้วเบื้องขวาบน พระจุฬาโมลี(มวยผม)
คำบูชาพระธาตุ
ตาวะติงสาปุเร รัมเม เกสา จุฬามณี สรีระปัพพะตา ปูชิตา สัพพะเทวานังตัง สิระสา ธาตุ มุตตะมังอะหัง วันทามิ สัพพะทา
หมายเหตุ :: ตำรากล่าวว่าพระเจดีย์ประจำปีจอคือ พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ ที่ประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ ทำให้มนุษย์ทั่วไปไม่สามารถไปบูชาด้วยตนเองได้ จึงอนุโลมเป็นพระเจดีย์ที่มีชื่อพ้องกัน คือ พระเจดีย์วัดเกตการาม หรือพระธาตุอินทร์แขวน ประเทศพม่าแทนได้

คนเกิดปีใค้ [ปีกุน นักษัตรช้าง ธาตุน้ำ]
พระธาตุดอยดุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
ประดิษฐาน :: พระบรมธาตุส่วนพระศอ และพระรากขวัญ(กระดูกไหปลาร้า) เบื้องซ้าย
คำบูชาพระธาตุ
อิมัสสะมิง ภัทกะกัปเป จะตุพุทธา พุชูฌะติตะวา กะกุสะนูระ โกนาคะมะนะ กัสสะปะ โคตะมะราชะคะเห จะระติปิณะฑายะ มิถิลายะนะคะเรสิ จะรัตติ ปิณะฑายะ อะตะตีตา พุทธาเน อิมัสะมิง ปัพพะตาคิริ ปะทะกังนะสิทิตะวา เมตเตยยะ อะนาคะเต จะระติปิณะฑายะ ราชะคะเห อิมัสะมิง ฐาเนนะสิทิสิริ สุภปะวะรังมะคะโล ตะโมลากะถามุนิราชะ สาตะระนะมามิหันตัง วะระชินะธาตุง อะหังวันทามิ สัพพะทานะตัง วะชิระธาตุโย อะระหังวันทามิ สัพพทา
หมายเหตุ :: บางตำรากล่าวต่างไปว่า พระธาตุดอยตุง เป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีกุนข้างขึ้น สำหรับคนเกิดข้างแรม พระธาตุประจำปีเกิดคือ พระธาตุดอยกองมู จ.แม่ฮ่องสอน


โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:12
พระธาตุเจดีย์ประจำวัน
วันอาทิตย์ : พระธาตุพนม
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

เป็นพระธาตุประจำวันเกิดของคนที่เกิดวันอาทิตย์ ภายในบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ซึ่งทั้งชาวไทยและลาวให้ความเคารพนับถืออย่างมาก เชื่อกันว่าผู้ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์ให้มีบุญบารมีและผู้คนให้ความเคารพนับถือ
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีแดง ธูป 6 ดอก เทียน 2 เล่ม

วันจันทร์ : พระธาตุเรณู
วัดธาตุเรณู อ.เรณูนคร จ.นครพนม

ลักษณะองค์พระธาตุจำลองมาจากพระธาตุพนมองค์เดิม ภายในบรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน และของมีค่าต่าง ๆ เชื่อกันว่าใครได้กราบไหว้บูชาจะมีวรรณะงดงามผุดผ่องและรูปงาม
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีเหลือง ธูป 15 ดอก เทียน 2 เล่ม

วันอังคาร : พระธาตุศรีคุณ
วัดธาตุศรีคุณ อ.นาแก จ.นครพนม

เป็นพระธาตุคู่เมืองของอำเภอนาแก ภายในบรรจุพระอรหันตธาตุของ พระโมคลานะ พระสารีบุตร และ พระสังกัจจายนะ ลักษณะพระเจดีย์คล้ายองค์พระธาตุพนม เชื่อกันว่าผู้ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์ให้มีศักดิ์ศรีทวีคูณและมีจิตใจเข้มแข็ง
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีชมพู ธูป 8 ดอก เทียน 2 เล่ม

วันพุธ : พระธาตุมหาชัย
วัดธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม

เป็นพระเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ดำริสร้างโดยหลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุของพระอรหันต์ 7 องค์ เชื่อกันว่าการกราบไหว้จะช่วยเสริมบารมี ความน่าเชื่อถือ และประสบชัยชนะในชีวิต
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกบัว ธูป 17 ดอก เทียนขาว 2 เล่ม

วันพฤหัสบดี : พระธาตุประสิทธิ์
วัดธาตุประสิทธิ์ อ.นาหว้า จ.นครพนม

เป็นพระธาตุเจดีย์เก่าแก่ ได้รับการบูรณะในภายหลัง โดยเลียนแบบองค์พระธาตุพนม ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดินจากสังเวชนียสถาน 4 ตำบล และ พระพุทธรูปโบราณ เชื่อกันว่าผู้ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์ให้สัมฤทธิ์ผลในการทำงาน
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีส้ม ธูป 19 ดอก เทียน 2 เล่ม

วันศุกร์ : พระธาตุท่าอุเทน
วัดท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม

องค์พระเจดีย์จำลองแบบมาจากพระธาตุพนม ภายในบรรจุพระพุทธสารีริกธาตุ ซึ่งได้อัญเชิญจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า รวมทั้งพระพุทธรูปและของมีค่าต่างๆ เชื่อกันว่าผู้ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ดอกไม้สีน้ำเงินหรือฟ้า ธูป 21 ดอก เทียน 2 เล่ม

วันเสาร์ : พระธาตุนคร
วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.นครพนม

ลักษณะเจดีย์คล้ายองค์พระธาตุพนม ภายในบรรจุพระอรหันตธาตุ พร้อมกับองค์พระพุทธรูปทองคำและของมีค่าต่างๆ ที่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาได้ถวาย เชื่อกันว่าผู้ไปนมัสการจะได้รับอานิสงส์ส่งผลให้มีบุญวาสนา เป็นเจ้าคนนายคน
สิ่งของบูชาพระธาตุ
ข้าวตอก น้ำอบ ข้าวเหนียวปิ้ง ธูป 10 ดอก เทียน 2 เล่ม


โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:13
พระธาตุพุทธสาวก
   
นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา มีพระสงฆ์จำนวนมากมาย ที่ปฏิบัติตามแนวทางที่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ และมีความเพียรพยายามอย่างยิ่ง จนกระทั่งสามารถยกจิตก้าวบรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นต่างๆ นับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป และสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าท่านเหล่านั้นสามารถบรรลุภูมิธรรมขั้นสูงได้ก็คือ พระธาตุ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีพระอริยสงฆ์มากมายที่สามารถปฏิบัติธรรมจนกระทั่งอัฐิกลายเป็น "พระธาตุ" และมีลักษณะแตกต่างกันมากมาย ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. พระสาวกสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ โดยพระสาวกสมัยพุทธกาลนั้น คือ พระสาวกที่ดำรงขันธ์อยู่ในช่วงสมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงภายหลังพุทธกาลไม่นาน ส่วนพระสาวกสมัยโบราณ คือ พระสาวกที่ดำรงขันธ์ในช่วงภายหลังพุทธปรินิพพานจนถึงประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 พระสาวกในกลุ่มนี้จึงมีเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ปรากฏนามและไม่ปรากฏนามในตำรา พระสาวกสมัยพุทธกาลที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น และพระสาวกสมัยโบราณที่เป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป เช่น พระอุปคุต เป็นต้น
2. พระสาวกสมัยปัจจุบัน พระสาวกสมัยปัจจุบันนั้น คือช่วงตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2500 เล็กน้อย จนกระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งมีมากมายหลายองค์ และแต่ละองค์ก็มีพระธาตุลักษณะต่างๆมากมาย ทำให้ได้สามารถศึกษาลักษณะและวิธีการแปรเป็นพระธาตุจากส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งนำไปเปรียบเทียบกับลักษณะการเกิดของพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุพระสาวกสมัยโบราณได้ ดังเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น


1. พระสาวกธาตุสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ
ตามตำราพระธาตุของโบราณ ได้กล่าวถึงลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ผู้ซึ่งทรงขันธ์อยู่ในสมัยพุทธกาล และหลังพุทธปรินิพพานไม่นาน มีระบุลักษณะของพระธาตุพระอรหันต์เหล่านี้ไว้ 47 องค์ และ ในอรรถกถา* ระบุลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลไว้อีก 3 องค์ ซึ่งซ้ำกับในตำราพระธาตุของโบราณ 2 องค์ รวมปรากฏลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ทั้งสิ้น 48 องค์ ได้แก่
1.พระสารีบุตร2.พระโมคคัลลานะ3.พระสีวลี4.พระองคุลิมาละ
5.พระอัญญาโกณฑัญญะ*6.พระอนุรุทธะ7.พระกัจจายะนะ8.พระพิมพาเถรี
9.พระสันตติมหาอำมาตย์*10.พระภัททิยะ11.พระอานนท์12.พระอุปปะคุต
13.พระอุทายี14.พระอุตตะรายีเถรี15.พระกาฬุทายีเถระ16.พระปุณณะเถระ
17.พระอุปะนันทะ18.พระสัมปะฑัญญะ19.พระจุลลินะเถระ20.พระจุลนาคะ
21.พระมหากปินะ22.พระยังคิกะเถระ23.พระสุมณะเถระ24.พระกังขาเรวัตตะ
25.พระโมฬียะวาทะ26.พระอุตระ27.พระคิริมานันทะ28.พระสปากะ
29.พระวิมะละ30.พระเวณุหาสะ31.พระอุคคาเรวะ32.พระอุบลวรรณาเถรี
33.พระโลหะนามะเถระ34.พระคันธะทายี35.พระโคธิกะ36.พระปิณฑะปาติยะ
37.พระกุมาระกัสสะปะ38.พระภัทธะคู39.พระโคทะฑัตตะ40.พระอนาคาระกัสสะปะ
41.พระคะวัมปะติ42.พระมาลียะเทวะ43.พระกิมิละเถระ44.พระวังคิสะเถระ
45.พระโชติยะเถระ46.พระเวยยากัปปะ47.พระกุณฑะละติสสะ48.พระพักกุละ*
ภาพพระธาตุ >>>
*หมายเหตุ อรรถกถาที่พบว่ามีการระบุลักษณะพระธาตุพระอรหันต์ ได้แก่ อรรถกถาสารัตถปกาสินี ระบุว่าพระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ มีสีดังดอกมะลิตูม อรรถกถาธัมมปทัฏฐกถา กล่าวว่า พระธาตุพระสันตติมหาอำมาตย์ดุจดอกมะลิ และ อรรถกถาปปัญจสูทนี กล่าวว่า พระธาตุพระพักกุละ มีลักษณะดังดอกมะลิตูม
2. พระสาวกธาตุสมัยปัจจุบัน
พระสาวกเหล่านี้ ได้ปฏิบัติธรรม และก้าวขึ้นสู่ชั้นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา เมื่อมรณภาพลง ภายหลังจากการฌาปณกิจแล้วก็บังเกิดสิ่งอันน่าอัศจรรย์ใจต่างๆเกิดขึ้น เมื่อกระดูกที่โดนเผาไฟแล้วก็ดี เส้นผม ฟัน หรือกระทั่งชานหมาก ที่มิได้โดนเผาไฟด้วย ไม่ว่าเก็บไว้ตามสถานที่ใดก็แล้วแต่ ค่อยๆแปรเปลี่ยนเป็นผลึกใหญ่น้อย สีสันต่างๆ คล้ายกรวดคล้ายแก้ว เพิ่มลดจำนวนได้เอง หรือ จะเรียกให้ถูกว่า กระดูกของท่านเหล่านั้น ได้แปรเปลี่ยนเป็น 'พระธาตุ'
ซึ่งเท่าที่ได้รวบรวมภาพไว้ในเว็บไซต์แห่งนี้ มีรายนามครูบาอาจารย์ที่พบว่า สิ่งของที่เกี่ยวเนื่องด้วยท่าน มีการแปรสภาพเป็นพระธาตุแล้ว ดังนี้
นาม และ ฉายา
วัด
จังหวัด
ประวัติ/รูปภาพ
1.หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตวัดป่าสุทธาวาสสกลนคร
อ่าน/ดูรูป
2.พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พรหมจักโก)วัดพระพุทธบาทตากผ้าลำพูน
อ่าน/ดรูป
3.หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโรวัดป่าแก้วบ้านชุมพลสกลนคร
อ่าน/ดูรูป
4.หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญวัดร้องขุ้มเชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
5.หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโมวัดป่าดานศรีสำราญหนองคาย
อ่าน/ดูรูป
6.พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท)วัดหนองป่าพงอุบลราชธานี
อ่าน/ดูรูป
7.หลวงปู่เข่ง โฆษธัมโมวัดป่าสีห์พนมสกลนคร
อ่าน/ดูรูป
8.พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทธจาโร)วัดถ้ำผาปล่องเชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
9.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตตโม)วัดถ้ำอภัยดำรงธรรมสกลนคร
อ่าน/ดูรูป
10.พระครูอินทวุฒิกร (ต่วน อินทปัญโญ)วัดกล้วยอยุธยา
อ่าน/ดูรูป
11.พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กันตสีโล)วัดดอนธาตุอุบลราชธานี
อ่าน/ดูรูป
12.หลวงปู่ขาว อนาลโยวัดถ้ำกลองเพลอุดรธานี
อ่าน/ดูรูป
13.หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐวัดเจติยาคีรีวิหารหนองคาย
อ่าน/ดูรูป
14.พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)วัดป่าสาลวันนครราชสีมา
อ่าน/ดูรูป
15.พระครูศาสนูปกรณ์ (บุญจันทร์ กมโล)วัดสันติกาวาสอุดรธานี
อ่าน/ดูรูป
16.หลวงปู่คำฟอง มิตตภานีวัดป่าศรีสะอาดสกลนคร
อ่าน/ดูรูป
17.พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล)วัดบูรพารามสุรินทร์
อ่าน/ดูรูป
18.หลวงปู่หลุย จันทสาโรวัดถ้ำผาบิ้งเลย
อ่าน/ดูรูป
19.หลวงปู่แหวน สุจิณโณวัดดอยแม่ปั๋งเชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
20.หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโรวัดป่าวังเลิงมหาสารคาม
อ่าน/ดูรูป
21.หลวงปู่สาม อกิญจโนวัดป่าไตรวิเวกสุรินทร์
อ่าน/ดูรูป
22.หลวงปู่กอง จันทวังโสวัดสระมณฑลอยุธยา
อ่าน/ดูรูป
23.พระครูพรหมเทพาจารย์ (เทพ ถาวโร)วัดท่าแคนอก(เทพนิมิตร)ลพบุรี
อ่าน/ดูรูป
24.หลวงปู่เมตตาหลวง (สิงห์ สุนทโร)วัดเทพพิทักษ์ปุณณารามนครราชสีมา
อ่าน/ดูรูป
25.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัชโชโต)วัดนรนารถสุนทริการามกรุงเทพฯ
อ่าน/ดูรูป
26.หลวงพ่อประยุทธ์ ธัมยุทโตวัดป่าผาลาดกาญจนบุรี
อ่าน/ดูรูป
27.หลวงปู่หล้า เขมปัตโตวัดบรรพตคีรี(ภูจ้อก้อ)มุกดาหาร
อ่าน/ดูรูป
28.พระภาวนาวิสุทธิเถร (กัมพล กัมพโล)วัดเทพศิรินทราวาสกรุงเทพฯ
อ่าน/ดูรูป
29.พระครูขันตยาภรณ์ (คำ ขันติโก)สุสานไตรลักษณ์เชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
30.พระครูสุคันธศีล (คำแสน อินทจักโก)วัดสวนดอก(บุปผาราม)เชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
31.หลวงปู่กุ่น จิรกุโลวัดศาลพันท้ายนรสิงห์สมุทรสาคร
ดูรูป
32.หลวงปู่ปั่น สุจิณโณ
วัดพรพระร่วงประสิทธิ์กรุงเทพฯ
อ่าน/ดูรูป
33.พระครูประสิทธิธรรมญาณ (แบน กันตสาโร)วัดมโนธรรมาราม(นางโน)กาญจนบุรี
อ่าน/ดูรูป
34.พระครูพิสิษฐ์อรรถการ (คล้าย จันทสุวัณโณ)วัดสวนขันนครศรีธรรมราช
อ่าน/ดูรูป
35.พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)วัดจันทาราม(ท่าซุง)อุทัยธานี
อ่าน/ดูรูป
36.พระครูนิยุตธรรมสุนทร (ยิด จันทสุวัณโณ)
วัดหนองจอกประจวบคีรีขันธ์
อ่าน/ดูรูป
37.หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปาโมชโช
วัดป่านิโครธารามอุดรธานี
อ่าน/ดูรูป
38.พระครูสุวัณโณปมคุณ (คำพอง ติสโส)
วัดป่าพัฒนาธรรม(ถ้ำกกดู่)อุดรธานี
อ่าน/ดูรูป
39.พระสุธรรมคณาจารย์ (เหรียญ วรลาโภ)
วัดอรัญญบรรพตหนองคาย
อ่าน/ดูรูป
40.พระนพีสีพิศาลคุณ (ทองอินทร์ กุสลจิตโต)วัดสันติธรรมเชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
41.พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวง กตปุญโญ)วัดป่าสำราญนิวาสลำปาง
อ่าน/ดูรูป
42.หลวงปู่ชื้น พุทธสโรวัดญาณเสนอยุธยา
อ่าน/ดูรูป
43.พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (หนู สุจิตโต)
วัดดอยแม่ปั๋งเชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
44.หลวงปู่ขาน ฐานวโรวัดป่าบ้านเหล่าเชียงราย
อ่าน/ดูรูป
45.หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโมวัดอรัญญวิเวกนครพนม
อ่าน/ดูรูป
46.หลวงตาประสิทธิ์ ถาวโรวัดถ้ำยายปริก ชลบุรี
อ่าน/ดูรูป
47.หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโตวัดอุดมคงคาคีรีเขต  ขอนแก่น
อ่าน/ดูรูป
48.พระครูสุทธิธรรมรังษี (เจี๊ยะ จุนโท) วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม  ปทุมธานี
อ่าน/ดูรูป
49.พระครูวรวุฒิคุณ (อิน อินโท)วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย)เชียงใหม่
อ่าน/ดูรูป
50.ครูบาคำหล้า สังวโรสำนักสงฆ์ห้วยขุนสวดพะเยา
อ่าน/ดูรูป


โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:14
บูชาพระธาตุ (มีทั้งหมด 6 หน้า)
พระบรมสารีริกธาตุ เป็นปูชนียวัตถุที่ทรงไว้ด้วยคุณค่า ทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ และ ศาสนา อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่สูงค่า ควรแก่การเคารพบูชาอย่างสูงสุด หากท่านผู้ใดมีโอกาสได้เก็บรักษาไว้ ขอท่านจงบูชาด้วยความเคารพ เนื่องจากพระบรมสารีริกธาตุนั้นหาได้ยาก และยังเป็นสิ่งที่ประเสริฐสุดในไตรภพที่มนุษย์และเทวดาพึงสักการะ
วิธีบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
การจะบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นก่อนอื่นต้องชำระล้างร่างกาย ทำจิตใจ ให้สะอาดผ่องใส จัดหาดอกมะลิใส่ภาชนะบูชา ตั้งสักการะ ณ ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แล้วจุดธูปและเทียน ตั้งใจให้เป็นสมาธิ กราบ 3 ครั้ง แล้วจึงตั้งนะโม 3 จบ กล่าวคำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
คำกล่าวบูชาพระบรมสารีริกธาตุ มีอยู่มากมายทั้งภาษาบาลี และภาษาไทย แต่ที่พบเห็นกันอยู่โดยทั่วไป และกระทำได้โดยง่ายนั้นคือ
คำกล่าวพรรณนาพระบรมสารีริกธาตุ
" อะหัง วันทามิ ทูระโต
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิ สัพพะโส "
*คำกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ก็สามารถนำมาใช้กล่าวบูชาได้เช่นกัน*
การบูชาพระธาตุนั้น นอกเหนือจากการบูชาด้วย "อามิสบูชา" เช่น การบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และ เครื่องหอมต่างๆแล้ว การบูชาด้วยการ "ปฏิบัติบูชา" ซึ่งเป็นวิธีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่นิยมปฏิบัติควบคู่ไปด้วย ในการบูชาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ และพระธาตุทั้งหลาย โดยทั่วไปนิยมปฏิบัติตามแนวอริยมรรค 8 ประการ สรุปโดยย่อได้แก่
1. การบูชาด้วยศีล ซึ่งศีลเป็นพื้นฐานและเป็นที่ตั้งมั่นแห่งการทำความดี เป็นเกราะป้องกันความชั่วทั้งปวง ไม่ทำให้จิตใจเศร้าหมอง ทำให้เกิดความพร้อมต่อการปฏิบัติสมาธิ (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ)
2. การบูชาด้วยสมาธิ ซึ่งการสวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ดูลมหายใจเข้า-ออก เป็นการฝึกความเข้มแข็งของจิต ให้มีกำลังในการพิจารณาหลักธรรมต่างๆได้ตามความเป็นจริง (สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ)
3. การบูชาด้วยปัญญา คือการใช้ปัญญาพิจารณาหลักความเป็นจริง ตามหลักไตรลักษณ์ (สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ)

นอกจากนี้ การบูชาพระธาตุยังได้ประโยชน์ ในด้านเป็นอนุสติ 10 อีกด้วย ดังนี้คือ

พุทธานุสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า (พระบรมสารีริกธาตุ)
ธัมมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระธรรม (ธรรมที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
สังฆานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (พระสงฆ์สาวกธาตุ)
สีลานุสสติ คือ การระลึกถึงศีลของตน (ผลของศีลที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
จาคานุสติ คือ การระลึกถึงทานของตน (ผลของทานที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาตุ)
เทวตานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา (เทวดารักษาพระธาตุ)
มรณานุสสติ คือ การระลึกถึงความตายที่จะมาถึงตน (แม้พระอริยเจ้าก็ต้องตาย)  
กายคตาสติ คือ ระลึกทั่วไปในกาย ให้เห็นว่าไม่งาม น่าเกลียด (เมื่อตายแล้วก็เหลือเพียงกระดูก)
อานาปานสติ คือ การระลึกถึงสติกำหนดลมหายใจเข้าออก (ผลของสมาธิที่ทำให้อัฐิกลายเป็นพระธาต
)
อุปสมานุสสติ คือ การระลึกถึงคุณพระนิพพาน
(แดนพระนิพพานที่พระอริยเจ้าได้ก้าวล่วง)



วิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ
สำหรับบ้านที่มีพระบรมสารีริกธาตุไว้บูชาอยู่แล้วคงจะทราบดี เป็นที่น่าแปลกคือ พระบรมสารีริกธาตุนั้น สามารถเพิ่ม หรือลดจำนวนได้เอง โดยสามารถเสด็จไปไหนมาไหนเองก็ได้ แม้ว่าจะเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิทดีสักเท่าใดก็ตาม โดยเชื่อกันว่าหากไม่ดูแลรักษาเอาใจใส่ ประดิษฐานไว้ในที่ไม่สมควร หรือขาดการถวายความเคารพแล้ว พระบรมสารีริกธาตุอาจเสด็จหายจากสถานที่นั้นๆ ก็เป็นได้ โดยทางตรงกันข้าม หากได้รับการปฏิบัติบูชาดี ผู้สักการบูชา มีกาย วาจา ใจ สะอาดบริสุทธิ์ อยู่ในศีลธรรม พระบรมสารีริกธาตุก็อาจเพิ่มจำนวนได้เช่นกัน ดังที่ปรากฏใน คัมภีร์มโนรถปูรณี (อรรถกถาพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต)
วิธีอัญเชิญโดยทั่วๆไปมีดังนี้

1. จัดที่บูชาให้สะอาด
2. ตั้งพานมะลิบูชา (ถ้ามี)
3. นำน้ำสะอาดใส่ขันสัมฤทธิ์ตั้งไว้หน้าที่บูชา (ตามวิธีโบราณ)
4. ชำระล้างร่างกายให้สะอาด
5. ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง มีสมาธิ
6. สมาทานศีล
7. ระลึกถึงพระพุทธคุณ (ตั้งนะโม 3 จบ แล้วสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ อิติปิโสฯ)
8. สวดคาถาอัญเชิญพระธาตุ ดังนี้


พระบรมสารีริกธาตุที่เสด็จมา
ขณะที่ หลวงตาพวง สุขินทริโย
กำลังนั่งสมาธิ ณ วัดสิริกมลาวาส
เมื่อปี พ.ศ. 2547

" อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต "
หรือ
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทตังโสอิ อิโสตัง พุทธะปิติอิ "

* การเสด็จมามีด้วยกันหลายวิธี เช่น เสด็จมาเองโดยปาฏิหาริย์ มีผู้มอบให้ แบ่งองค์ ฯลฯ
บทบูชาพระธาตุ
บทสวดเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และ/หรือ พระธาตุนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายบท มีทั้งบทบาลี บทภาษาไทย หรือ ทั้งบาลีและแปลควบคู่กันไป แต่ละที่ก็แตกต่างกัน เท่าที่พอจะรวบรวมและพิมพ์ได้มีดังนี้
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก)
(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
อิติปิ โส ภะคะวา, นะมามิหัง ตัง ภะคะวันตัง, ปะระมะสารีริกธาตุยา สัทธิง, อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต, โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ, สุตถา เทวะ มะนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ.


บทสวดบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดป่าทะเมนชัย)

อุกาสะ วันทามิ ภันเต เจติยัง สัพพัง สัพพัตถะฐาเน สุปะติฏฐิตัง
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพเจ้าขอถือโอกาส ข้าพเจ้าขอไหว้ซึ่งพระเจดีย์ทั้งหมดอันตั้งไว้ดีแล้วในที่ทั้งปวง
พุทธะสารีรังคะธาตุง มะหาโพธิง พุทธะรูปัง คันธะกุฏิง จะตุราสีติสะหัสเส ธัมมักขันเธ
คือซึ่งพระสารีรังคะธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งพระพุทธรูป ซึ่งพระคันธุกุฏิของพระพุทธเจ้า และซึ่งพระธรรมขันธ์ทั้งหลาย มีแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์
สัพเพตัง ปาทะเจติยัง สักการัตถัง
เพื่อสักการะซึ่งพระเจดีย์ คือรอยพระบาทเหล่านั้นทั้งหมดทั้งสิ้น
อะหังวันทามิธาตุโย
ข้าพเจ้าขอไหว้พระธาตุทั้งหลาย
อะหังวันทามิสัพพะโส
ข้าพเจ้าขอไหว้โดยประการทั้งปวง
อิจเจตัง ระตะนัตตะยัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
ข้าพเจ้าขอไหว้ซึ่งพระรัตนตรัยเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ ด้วยอาการดังนี้แลฯ

วันทาหลวง(ย่อ)
วันทามิ เจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเนสุปะติฏฐิตา สะรีระธา-ตุ มหาโพธิง
พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทานาคะโลเก เทวะโลเกพรัหมะโลเก ชัมพูทีเปลังกาทีเป
สะรีระธา-ตุ โย เกสา ธา-ตุ โยอะระหันตะ ธา-ตุ โย เจติยัง คันธะกุฏิง
จะตุราสี ติสสะหัสเส ธัมมักขันเธสัพเพสัง ปาทะเจติยัง อะหัง วันทามิ สัพพะโสฯ

คำบูชาพระธาตุในจักรวาลทั้งหลาย
จัตตาฬิส สะมาทันตาเกสา โลมา นะขา ปีจะ
เทวา หะรันติ เอเตกังจักกะวาฬะ กัง ปะรัมปะรา
ปูชิตา นะระเทเวหิอะหัง วันทามิ ธา-ตุ โยฯ

คำบูชาพระธาตุแบบไม่จำเพาะเจาะจง
อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

ถ้าประสงค์จะบูชาพระธาตุแบบเจาะจงให้นำฉายาของท่านวางหน้าคำว่า"ธาตุโย"เช่น
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
อะหัง วันทามิ สารีริกะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

คำบูชาพระธาตุพระสิวลี
อะหัง วันทามิ สิวลีธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส

คำบูชาพระธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
อะหัง วันทามิ ภูริทัตตะธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส
บทกล่าวอัญเชิญและบูชาพระธาตุ
คำกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบยาว
อะเน กะกัปเป กุสะเล จินิตตะวา โลกานุกัมปายะ มะ เนกะทุกขัง อุสสาหะยิตตะวา จะ สุจีระการัง พุทธัตตะภาวัง สะกะลัง อะคัญฉิ เอวัญจะ กัตตะวา ภะคะวา ทะยาลุ ทุกขา ปะโมเจถะ ขิเล จะอัมเห ทัสเสถะ โน ปาฏิหิรัง สุวิมหัง เฉทายะ กังขัง สะกะลัง ชะนัสสะ กาเกนะ รัญญา กะถิตันตุ ยังยัง ตังตัง อะขีลัง วิตะถัง ตะถัง เจ พุทธานะกะถา วิตะถา ตะถา เจ ทัสเสถะ วิมหัง นะยะนัสสะ โนปิ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิ มะหันตา ภินนะมุคคา จะมัชฌิมา ภินนะฑัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเส เม ปะตันตุฯ


คำกล่าวอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบทั่วไป
อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณังคะโต อัสสามิมะหันตา ภินนะมุคคา จะ มัชฌิมา ภินนะตัณฑุลา ขุททุกะ สาสะปะมัตตา เอวัง ธาตุโย สัพพัฏฐาเน อาคัจฉันตุ สีเสเม ปะตันเต


คำแปลบทอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบทั่วไป
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปตราบเท่าชีวิต ข้าฯขอถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง ขออัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุที่สถิตอยู่ทั่วทุกหนแห่ง ขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่วหัก แก้วมุกดา ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก และขนาดเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด จงเสด็จตกลงเบื้องบนประดิษฐาน เหนือเศียรเกล้าของข้าฯในที่ทุกสถาน เทอญฯ


คำแปลบทอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ แบบย่อ
นับตั้งแต่นี้ จนสิ้นชีวิต พลีชีพอุทิศ พระรัตนตรัย ขอพระบรมธาตุ สถิตทั่งไกล คุ้มครองผองภัย สู่เศียรข้าฯเทอญฯ


อารัมภกถา คัมภีร์ถูปวงศ์ - ตำนานว่าด้วยการสร้างพระเจดีย์ (แต่งโดย พระวาจิสสรเถระ ภิกษุชาวลังกา)
ยัสมิง สยิงสุ ชินธาตุวรา สมันตา ฉัพพัณณรังสิวิสเรหิ สมุชชะลันตา ตัสสะ โลกะหิตะ เหตุ ชินนัสสะ ถูปัง ตัง ถูปะมัพภุตตะมัง สิรสา นมิตตะวา
พระบรมธาตุอันประเสริฐ ทั้งหลายของพระพุทธเจ้ารุ่งเรืองอยู่โดยรอบด้วยถ่องแถวแห่งพระรัศมี 6 ประการประดิษฐานอยู่ ณ พระสถูปเจดีย์องค์ใด ข้าพเจ้าขอน้อมบูชา พระสถูปอันบรรจุพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น อันเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์แก่โลก อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนั้น ด้วยเศียรเกล้า


คำไหว้พระจุฬามณีเจดีย์
นะโม 3 จบ
อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าฯ จะไหว้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เมื่อข้าฯดับจิตลง อย่าให้ไหลหลงขอให้จิตจำนงตรงพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าฯจะไปนมัสการพระเกษแก้ว พระจุฬามณีเจดีย์สถานเป็นที่ไหว้ที่สักการกุศลสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าฯจะไหว้พระธรรมเจ้าของพระพุทธองค์ เมื่อข้าฯดับจิตลง อย่าให้ไหลหลงขอให้จิตจำนงตรงพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าฯจะไปนมัสการพระเกษแก้ว พระจุฬามณีเจดีย์สถานเป็นที่ไหว้ที่สักการกุศลสัมปันโน
อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมาสัมพุทโธฯ
นะโม ข้าฯจะไหว้พระสังฆเจ้าของพระพุทธองค์ เมื่อข้าฯดับจิตลง อย่าให้ไหลหลงขอให้จิตจำนงตรงพระนิพพาน ขอให้พบดวงแก้ว ขอให้แคล้วหมู่มาร ขอให้ทันพระศรีอาริย์ ข้าฯจะไปนมัสการพระเกษแก้วพระจุฬามณี เจดีย์สถานเป็นที่ไหว้ที่สักการกุศลสัมปันโนติ



โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:15
บทกล่าวอัญเชิญและบูชาพระธาตุ
คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดป่าบ้านค้อ)
ปูชิตา นะระเทเวหิ,สัพพัฏฐาเน ปะติฎฐิตา,
สิระสา อาทะเรเนวะ,อะหัง วันทามิ ธาตุโย,
โย โทโส โมหะจิตเตนะ,วัตถุตตะเย กะโต มะยา,
โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต,สัพพะปาปัง วินัสสะตุ,
ธาตุโย วันทะมาเนนะ*,ยัง ปุญญัง ปะสุตัง อิธะ,
สัพเพปิ อันตะรายา เม,มาเหสุง ตัสสะ เตชะสาฯ
(* ถ้าผู้สวดเป็นหญิง เปลี่ยนคำว่า วันทะมาเนนะ เป็น วันทะมานายะ)
..........ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมเกล้านมัสการ พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานในที่ทุกสถาน ด้วยเศียรเกล้า
..........แม้บาปทั้งปวง ที่เคยล่วงเกินด้วยใหลหลง ข้าพระองค์ขอขมาโทษ ได้ทรงโปรดงดโทษนั้น ให้มีอันวินาศสิ้นสูญไป
..........ด้วยเดชะกุศลผลบุญ ที่ข้าพระพุทธเจ้าได้น้อมเกล้านมัสการพระบรมสารีริกธาตุในกาลครั้งนี้ แม้สรรพอันตรายทั้งปวง จงอย่างได้บังเกิดแก่ข้าพระพุทธเจ้าในกาลทุกเมื่อ เทอญ.

  คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ
(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย
ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม.
ข้าพเจ้าขอนมัสการกราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ที่นี้ ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนี้ ขอให้ข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขสวัสดี ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

  คำบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (ที่มา: วัดจากแดง)
(นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ 3 ครั้ง)
วันทามิ เจติยัง สัพพัง
สัพพัฎฐาเน สุปะติฎฐิตัง สารีริกะธาตุมะหาโพธิง
พุทธะรูปัง สะกะลัง สะทา
ข้าพเจ้าขอวันทา ซึ่งพระเจดีย์ทั้งปวงที่ประดิษฐานไว้ดีแล้ว
ในที่ทั้งปวงกับพระบรมสารีริกธาตุ พระมหาโพธิ์
พระพุทธรูป ทั้งสิ้น ในกาลทุกเมื่อ
ปุริสุตตะเม วะจะสา มะนะสา เจวะ วันทาเมเต ตะถาคะเต สะยะเน อาสะเน ฐาเน คะมะเน จาปิ สัพพะทา
ข้าพเจ้า ขอวันทา ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น
ผู้เป็นอุดมบุรุษ ผู้เป็นพระตถาคต ด้วยวาจาและใจ
ทั้งในที่นอน ที่นั่ง ที่ยืน และแม้ในที่เดิน ในกาลทุกเมื่อ


  คำไหว้พระธาตุ
ยาปาตุภูตาอะตุลา
นุภาวาจีรังปะติฏฐา
สัมภะกัปปะปุเรเทเวนะ
ตุตตาอุตตะราภีทับยานะมานิ
หันตังวะระชินะธาตุง

  พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุ
อะหัง วันทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุทั้งหลาย ที่สถิตอยู่ในจักรวาลทั้งหลาย ทั้งพรหมโลกและดาวดึงส์
อะหัง วันทามิ สัพพะโส ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกทั้งหลายทั้งปวงด้วยเทอญ
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง เอ วังธาตุโย จัตตารี สะ สะ มาทันตา เกสา โลมา นะขา ขีจะ อะหังวันทามิธาตุโย

พระคาถาบูชาพระบรมสารีริกธาตุของทางเว็บไซต์ www.RelicsOfBuddha.com
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธโลกานัง อะนุกัมปะโก
เวเนยยานัง ปะโพเธตาสันติมัคคานุสาสะโก
ธัมมะราชา ธัมมะสามีหิตายะ สัพพะปาณินัง
สุขุมัญ เจวะ คัมภีรัญจะเทเสติ อะภิธัมมิกัง
สารีริกะธาตุโย ตัสสะยัตถาปิ อิธะ เจติยัง
สันติสุเข ปะติฏฐาติอิสสะรา สาตะตัง ฐิตา
อะหัง วันทามิ ธาตุโยอะหัง วันทามิ สัพพะโส
ระตะนัตตะยานุภาเวนะระตะนัตตะยะเตชะสา
ทิฏฐะธัมเม วิโรเจมิสัพพะสัมปัตติสิทธิยา
อิทธิง ปัปโปมิ เวปุลลังวิรุฬหิง จุตตะริง สะทา
วัณณะวา พะละสัมปันโนนิรามะโย จะ นิพภะโย
สะทา ภัทรานิ ปัสสามิชะยะโสตถี ภะวันตุ เม ฯ
โดย... พระมหาสุพจน์ ฐิตชวโน ป.ธ. ๙ วัดชนะสงคราม

คำนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
..........อุกาสะ ข้าพเจ้าจะขอยอกรบวรวันทนา ประนมนิ้วหัตถาขึ้นเหนือเศียร ต่างรัตนประทีปธูปเทียนแก้วเจ็ดประการ แลโกสุมสุมามาลย์ประทุมชาติอันโชติช่วงช่อชั้นวิจิตร แจ่มจำรัสสุนทโรภาส ด้วยเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์ญาณสัพพัญญูบรมครูเจ้า เสด็จเข้าสู่พระปรินิพพาน พระองค์ทรงประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ สิริพระบรมธาตุทั้งหลายน้อยใหญ่ตวงได้สิบหกทะนานทอง พระรากขวัญทั้งสองพระเขี้ยวแก้วสี่ กับพระศรีอุณหิศหนึ่ง นับรวมกันได้ครบเป็นเจ็ดองค์ นี้แลคงตามสภาวะเดิม อันจะแหลกลาญด้วยเพลิงสังหารนั้นหามิได้ แต่พระอัฐิน้อยใหญ่ทั้งหลายนั้นไซร้พลันเพลิงไหม้สังหารละเอียดลง ยังคงแต่พระบรมสารีริกธาตุสามสถาน ใหญ่น้อยปานกลางมีประมาณต่างกันพระบรมธาตุขนาดใหญ่นั้น มีประมาณเท่าเมล็ดถั่วหักตักตวงได้ห้าทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานประมาณแม้นเหมือนหนึ่งพรรณทองอุไร พระบรมธาตุขนาดกลางนั้นไซร้ มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ตักตวงได้ห้าทะนานทรงพระบวรสัณฐานประมาณเหมือนพรรณแววแก้วผลึกอันเลื่อนลอย พระบรมธาตุขนาดน้อยประมาณแม้นเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดตวงได้หกทะนาน ทรงพระบวรสัณฐานดังพรรณ สีดอกบุปผชาติพิกุลอดุลย์ใสสี พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ หมู่มนุษย์และเทวะนิกรอมรอินทร์พรหมภิรมย์ พากันเชิญเสด็จไปประดิษฐานรักษาไว้ พระบรมธาตุองค์ใหญ่ คือ พระรากขวัญซ้าย สถิตอยู่ชั้นพรหมา พระรากขวัญเบื้องขวากับพระนลาตะอุณหิศ เสด็จสถิตอยู่เมืองอนุราชสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องบน อยู่ดาวดึงษาสวรรค์ พระเขี้ยวแก้วขวาเบื้องล่างนั้น สถิตอยู่เกาะแก้วลังกาสิงหฬ พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องบนอยู่เมืองคันธาระวิไสย พระเขี้ยวแก้วซ้ายเบื้องล่างนั้นไซร้ สถิตอยู่เมืองนาคสถาน แต่พระบรมสารีริกธาตุทั้งสิบหกทะนานนั้น ประดิษฐานไว้ในแผ่นพื้นภูมิภาคแห่งพระนครทั้งแปด คือ เมืองราชคฤหบุรี เมืองเวสาลีสวัสดิ์ เมืองกบิลพัสดุ์มหานคร เมืองอัลปะกะบุรีรมย์ แลบ้านพราหมณ์นิคมเขต เมืองเทวะทะหะประเทศ เมืองปาวายะบุรินทร์ และเมืองโกสินรายน์ พระเกศา โลมา นะขา ทันตา ทั้งหลาย เรี่ยรายประดิษฐานอยู่ทุกทิศทั่วทั้งจักรวาล ฝ่ายพระพุทธบริขารคือ บาตรแลจีวรท่อนผ้าสันถัตรัดประคดใน สมุกเหล็กไฟกล่องเข็มผ้ากรองน้ำธะมะการก วัสสิกะสาฏก ผ้าชุบสรง หนังนิสิทน์มีดโกนตลกบาตรเครื่องลาด แท่นพระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาทธาตุบริขารทั้งหลายนี้ องค์ขัติยาธิบดีพราหมณ์มหาศาลผู้เลื่อมใสกมลมาล ประกอบไปด้วยศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง ได้อัญเชิญพระบรมธาตุบริขารสิบหกสิ่งนี้ไปประดิษฐานไว้ทั้งสิบเมือง ต่างกระทำสักการบูชารุ่งเรืองเห็นปรากฏ
..........‘กายนทนธนํ’ พระพุทธรัดประคด อยู่ ณ เมืองเทวะทะหะราฐ ‘ปตฺโต’ บาตร อยู่เมืองอนุราธสิงหฬทวีปลังกา ‘อุทกสาฏกํ’ ผ้าชุบสรงสถิตอยู่ ณ เมืองปัญจาละนคร ‘จิวร’ ผ้าจีวร อยู่เมืองพันทะวิไสย ‘หรนี’ สมุกเหล็กไฟ อยู่เมืองตักสิลา ‘วาสีสูจิฆร’ มีดโกนแลกล่องเข็ม ประดิษฐานอยู่เมืองอินระปัตมะไหสวรรค์ ‘จมมํ’ หนังนิสิทน์สันถัต สถิตอยู่เมืองคันธาระราฐ’ ถวิกา’ ตลกบาตร แลเครื่องลาดที่พระบรรทม ลูกดานทองฉลองพระบาททั้งคู่ อยู่บ้านอุสิระคาม ยังพระธาตุบริขารอื่นอีกหกสิ่ง คือพระอังคาร ถ่านเถ้าเสาเชิงตะกอนนั้นสถิตอยู่ ณ เมืองโมรียะประเทศ จุฬามุนีบรมเกษธาตุ ประดิษฐานอยู่ดาวดึงษาสวรรค์ ‘กาสายะวัตถัง’ ผ้าทรง นั้นอยู่ ณ ชั้นพรหมา ‘สุวณฺณโฑณ’ ทะนานทอง ที่ตวงพระบรมสารีริกธาตุ สถิตอยู่นครโกสินรายน์รัตนมไหสวรรค์ พระบรมธาตุทั้งยี่สิบสองประการนั้นทรงพระคุณเป็นอันยิ่ง พระองค์ทรงอนุญาตประทานไว้ทุกสิ่งด้วยพระมหากรุณา หวังพระทัยเพื่อจะให้เป็นที่สักการบูชาเกิดผลานิสงส์อันเป็นสวัสดิมงคลแก่ฝูงเทพามนุษย์ กว่าจะยุติสิ้นสุดพระพุทธศาสนา
..........ครั้นกาลล่วงนานมาในห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้เสด็จไปสู่ลังกาเกาะ เพื่อที่จะทรงสงเคราะห์ชาวสิงหฬ ให้เกิดสวัสดิมงคลด้วยกระทำสักการบูชาพระคุณ เมื่อถึงกาลพระพุทธศาสนาใกล้จะสิ้นสูญครบจำนวนถ้วนห้าพันปี พระบรมธาตุทั้งหลายนี้จะเสด็จไปสู่ที่พระเจดีย์ฐานดำรงอยู่โดยจำเนียรกาลบ่มิได้คลาด ครั้นถึงพระพุทธศักราชล่วงได้สี่พันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าพรรษาเศษ สังขยาเดือนล่วงได้สิบเอ็ดเดือนกับยี่สิบสองวัน วันพฤหัสบดีเดือนหกขึ้นเก้าค่ำ คิมหันตฤดูปีชวดนักษัตรอัฐศก เวลารุ่งอรุโณทัย พระบรมสารีริกธาตุทั้งหลายนี้ไซร้ จะเสด็จไปสู่สถานที่สันนิบาตมิทันนาน ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ด้วยพุทธฤทธิ์อันพิเศษ บังเกิดเป็นพุทธนิเวศน์ แลพระพุทธวรกายสูงได้สิบแปดศอก เปล่งพระรัศมีออกสิบหกประการ มีพระบวรสัณฐานวิจิตรจำรัสศรีสุนทโรภาส ทรงพระสิริวิลาศอันเพริศแพร้ว ดวงพระพักตร์ผุดผ่องแผ้ว ดังสีสุวรรณทองแท่งธรรมชาติ พระรูปองค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เสด็จขึ้นสถิตนั่งเหนือรัตนบัลลังก์อาสน์ทรงพระสมาธิมั่นในควงต้นไม้พระศรีมหาโพธิ์ ทรงกระทำยมกปาฏิหาริย์ โปรดสัตว์คนธรรพ์เทวะนิกรอมรฤษีสิทธิ์พิทยาธรกินนรนาคราช ทั้งหมู่อสุระเดียรดาษนั่งแน่นเหนือพื้นแผ่นพสุธา สตฺตาห ทรงตรัสพระธรรมเทศนาโปรดสัตว์อีกเจ็ดวัน ในครั้งนั้นได้สี่อสงไขยสองล้านสามแสนหกสิบเจ็ดพันโกฏิแล้ว พระเตโชธาตุก็พวยพุ่งรุ่งโรจน์โชตนาการ สังหารพระบวรพุทธสริรธาตุให้สิ้นสุดในวันพุธเดือนหกขึ้นสิบ(ห้า)ค่ำ ปีชวดนักษัตรอัฐศก พระพุทธศาสนาก็บรรจบครบจำนวนถ้วนห้าพันพรรษา
..........อหํ วนฺทามิ ธาตุโย ข้าพเจ้าขอน้อมนมัสการพระบรมสารีริกธาตุทั้งหลาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น, อหํ วนฺทามิ สพฺพโส ข้าพเจ้า ขอนมัสการองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ด้วยประการทั้งปวง


โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:16
บทนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ
อิติปิโส ภะคะวามือข้าพเจ้าสิบนิ้ว
ยกเหนือหว่างคิ้วต่างธูปเทียนทอง
วงภักตร์โสภาต่างมาลากรอง
ดวงเนตรทั้งสองต่างประทีบถวาย
ผมเผ้าเกล้าเกศ
ต่างประทุมเมศบัวทองพรรณราย
วาจาเพราะผ่องต่างละอองจันทร์ฉาย
ดวงจิตขอถวายต่างรสสุคนธา
พระบรมธาตุ
พระโลกนาถอรหันตสัมมา
ทั้งสามขนาดโอภาสโสภา
ทั้งหมดคณนาสิบหกทะนาน
พระธาตุขนาดใหญ่
สีทองอุไรทรงพรรณสัณฐาน
เท่าเมล็ดถั่วหักตวงตักประมาณ
ได้ห้าทะนานทองคำพอดี
พระธาตุขนาดกลาง
ทรงสีสรรพางค์แก้วผลึกมณี
เท่าเมล็ดข้าวสารหักประจักษ์รัศมี
ประมาณมวลมีอยู่ห้าทะนาน
ขนาดน้อยพระธาตุ
เท่าเมล็ดผักกาดโอภาสสัณฐาน
สีดอกพิกุลมนุญญะการ
มีอยู่ประมาณหกทะนานพอดี
พระธาตุน้อยใหญ่
สถิตอยู่ในองค์พระเจดีย์
ทั่วโลกธาตุโอภาสรัศมี
ข้าฯขออัญชลีเคารพบูชา
พระธาตุพิเศษ
เจ็ดองค์ทรงเดชทรงคุณเหลือตรา
อินทร์พรหมยมยักษ์เทพพิทักษ์รักษา
ข้าฯขอบูชาวันทาอาจิณ
หนึ่งพระรากขวัญ
เบื้องขวาสำคัญอยู่ชั้นพรหมินทร์
มวลพรหมโสฬสประณตนิจสิน
บูชาอาจิณพร้อมด้วยกายใจ
สองพระรากขวัญ
เบื้องซ้ายสำคัญนั้นอยู่เมืองไกล
สามพระอุณหิสสถิตร่วมใน
เจดีย์อุไรอนุราธะบุรี
สี่พระเขี้ยวแก้ว
ขวาบนพราวแพรวโอภาสรัศมี
อยู่ดาวดึงส์สวรรค์มหันตะเจดีย์
พระจุฬามณีทวยเทพสักการ
ห้าพระเขี้ยวแก้ว
ขวาล่างพราวแพรวโอภาสไพศาล
สถิตเกาะแก้วลังกาโอฬาร
เป็นที่สักการของประชากร
หกพระเขี้ยวแก้ว
ซ้ายบนพราวแพรวเพริดพริ้งบวร
สถิตคันธาระวินัยนคร
ชุมชนนิกรนมัสการ
เจ็ดพระเขี้ยวแก้ว
ซ้ายล่างพราวแพรวรัศมีโอฬาร
สถิต ณ พิภพเมืองนาคสถาน
ทุกเวลากาลนาคน้อมบูชา
พระธาตุสรรเพชร
เจ็ดองค์พิเศษนิเทศพรรณนา
ทรงคุณสูงสุดมนุษย์เทวา
พากันบูชาเคารพนิรันดร์
ด้วยเดชบูชาธาตุพระสัมมา
สัมพุทธภควันต์ขอให้สิ้นทุกข์
อยู่เป็นสุขสันต์นิราศภัยอันตราย บีฑา
แม้นเกิดชาติใดขอให้อยู่ใน พระศาสนา
รักธรรมดำเนินจำเริญเมตตา
ศีลทานภาวนากำจัด โลโภ
พ้นจากอาสวะโทโส โมหะ
ตามพระพุทโธ
อะหัง วันทามิ ธาตุโยอะหัง วันทามิ สัพพะโส
สรงน้ำพระธาตุ
การสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุ เป็นประเพณีความเชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณ ที่นิยมกระทำเป็นประจำทุกปี เปรียบเสมือนการได้สรงน้ำพระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ทั้งหลาย โดยทั่วไปจะกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หรือ วันงานเทศกาลประจำปี เช่น สงกรานต์ เป็นต้น และวิธีปฏิบัติในการสรงน้ำ ก็จะแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเชื่อและความศรัทธาของแต่ละท้องที่นั้นๆ หรือ แล้วแต่บุคคล

เมื่อได้ประมวลวิธีการต่างๆตามที่ได้พบเห็นมา มีด้วยกัน 2 ลักษณะ ดังนี้

1.สรงน้ำองค์พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุโดยตรงวิธีนี้แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีการ คือ
1.1 อัญเชิญองค์พระธาตุลงบนผ้าขาวบาง ซึ่งขึงอยู่บนปากภาชนะรองรับน้ำ ทำการสรงน้ำโดยค่อยๆรดสรงลงบนองค์พระธาตุ วิธีการนี้น้ำจะไหลผ่านองค์พระธาตุ ซึมลงสู่ผ้าขาวและไหลรวมสู่ภาชนะที่รองรับด้านล่าง
1.2 ใส่น้ำที่จะใช้สำหรับสรงองค์พระธาตุ ลงในภาชนะ ค่อยๆช้อนองค์พระธาตุลงในภาชนะ เมื่อสรงเสร็จแล้วจึงอัญเชิญขึ้นจากน้ำ (* สำหรับวิธีนี้ ไม่ให้สนใจว่าองค์พระธาตุจะลอยหรือจม เพราะไม่ใช่การลอยน้ำทดสอบพระธาตุ ซึ่งอาจเข้าข่ายปรามาสองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระสาวกองค์นั้นๆได้)

วิธีการที่ 1.1

วิธีการที่ 1.2
ทั้งนี้ เมื่อทำการสรงน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พึงอัญเชิญองค์พระธาตุขึ้น แล้วซับให้แห้ง ก่อนจะอัญเชิญบรรจุลงในภาชนะตามเดิม
2.สรงน้ำภาชนะหรือสถานที่บรรจุองค์พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุ
วิธีการนี้นิยมใช้สำหรับสรงน้ำพระบรมธาตุเจดีย์โดยทั่วไป, เจดีย์บรรจุพระธาตุที่ปิดสนิท หรือ ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ในกรณีที่มีผู้ร่วมสรงน้ำเป็นจำนวนมาก โดยการตักน้ำที่ใช้สำหรับสรง ราดไปบนพระเจดีย์
น้ำที่ใช้ในการสรง
น้ำที่นำมาใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุนั้น มีวิธีการเตรียมคล้ายกับการเตรียมน้ำ เพื่อใช้สำหรับสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งการจะเลือกใช้แบบใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและเหตุผลของแต่ละบุคคล รวมถึงความสะดวกในการจัดหาด้วย เมื่อทำการสรงเสร็จแล้ว น้ำที่ผ่านการสรงองค์พระธาตุ นิยมนำมาประพรมเพื่อเป็นสิริมงคล เสมือนหนึ่งน้ำพระพุทธมนต์ ซึ่งน้ำที่ใช้ในการสรงพระบรมสารีริกธาตุ และ พระธาตุนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. น้ำสะอาดบริสุทธิ์
............มีผู้อธิบายว่า สาเหตุที่ต้องใช้น้ำบริสุทธิ์ในการสรงน้ำองค์พระธาตุนั้น เนื่องจากว่า องค์พระธาตุนั้น เกิดมาแต่ผู้บริสุทธิ์ ธาตุเหล่านั้นจึงเป็นของบริสุทธิ์ ไม่สมควรจะเอาสิ่งใดๆก็ตาม เจือปนลงไปแปดเปื้อนองค์พระธาตุ แต่อีกเหตุผลกล่าวว่า ในน้ำหอมหรือดอกไม้ อาจมีสารใดๆก็ตามเจือปน จนอาจทำให้องค์พระธาตุหมองลงได้
2. น้ำสะอาดเจือด้วยสิ่งบูชา
............น้ำลักษณะนี้นิยมใช้สรงน้ำพระธาตุโดยทั่วไป นัยว่าได้ถวายเป็นอามิสบูชาต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระอรหันตสาวกทั้งปวง ซึ่งสิ่งบูชาที่เจือลงในน้ำก็แล้วแต่ความชอบ และความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ยกตัวอย่างเช่น น้ำหอม น้ำอบ ดอกไม้ กลีบดอกไม้ ฝักส้มป่อย หรือ แก่นไม้จันทน์ฝน เป็นต้น
คำอาราธนาพระธาตุออกสรงน้ำ
โย สนฺนิสินโน วรโพธิมูเล มารํ สเสนํ สุชิตํ วิเชยฺย
สมฺโพติมาคจฺฉิ อนนฺตญาโณ โลกุตฺตโม ตํ ปณมามิ พุทธํ

สาธุ โอกาสะ ข้าแต่องค์พระมหาชินธาตุเจ้า วันนี้ก็เป็นวันดีดิถีอันวิเศษ เหตุว่าสมณะศรัทธาและมูละศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ภายในอันมี.................. ภายนอกมี..................... (ถ้าจะออกชื่อประธานในที่นั้นก็ให้เติมเข้า ภายในหมายถึงบรรพชิต ภายนอกคือคฤหัสถ์) ก็ได้ขวนขวายตกแต่งน้อมนำมา ยังทีปบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้และลำเทียน เพื่อจักว่าขอนิมันตนายังองค์พระมหาชินธาตุเจ้า เสด็จออกไปอาบองค์สรงสระ วันสันนี้แท้ดีหลี (ถ้านิมนต์ไปด้วยเหตุใดที่ไหน ก็ให้เปลี่ยนไปตามเรื่องที่นิมนต์ไป) ขอองค์พระมหาชินธาตุเจ้า จงมีธรรมเมตตาเอ็นดูกรุณา ปฏิคคหะรับเอายังทีปบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้และลำเทียนแห่งสมณะศรัทธา และมูลศรัทธา ผู้ข้าทั้งหลายว่าวันสันนี้แท้ดีหลี
อิทํ โน ทีปปุปผาลาชทานํ นิมตฺตนํ นิพฺพานปจฺจโย นิจฺจํฯ

คำขอโอกาสสรงน้ำพระธาตุ
(ก่อนจะสรงน้ำพระธาตุให้ยกขันน้ำหอมขึ้นใส่หัว แล้วผู้เป็นหัวหน้าว่าคำขอโอกาสดังนี้)
โย สนฺนิสินโน วรโพธิมูเล มารํ สเสนํ สุชิตํ วิเชยฺย
สมฺโพติมาคจฺฉิ อนนฺตญาโณ โลกุตฺตโม ตํ ปณมามิ พุทธํ

สาธุ โอกาสะ ข้าแต่องค์พระมหาชินธาตุเจ้า วันนี้ก็เป็นวันดีดิถีอันวิเศษ เหตุว่าสมณะศรัทธาและมูลศรัทธาผู้ข้าทั้งหลาย ก็ได้ขวนขวายตกแต่งน้อมนำมา ยังทีปบุปผาลาชาดวงดอก ข้าวตอกดอกไม้ ลำเทียนและน้ำสุนโธทกะ เพื่อว่าจะมาขออาบองค์สระสรงยังองค์พระมหาชินธาตุเจ้าว่า สันนี้แท้ดีหลี โดยดั่งผู้ข้าจักเวนตามปาฐะ
สาธุ โอกาส มยํ ภนฺเต ทีปปุผาลาชทานํ อเภขฺขอสาธารณ
สพฺพโลกิยโลกุตฺตร มคฺคผล นิพฺพานปจฺจโยโหตุ โน นิจฺจํ ฯ





โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:18
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย morntanti เมื่อ 2014-10-5 12:21




โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:20


โดย: morntanti    เวลา: 2014-10-5 12:20


โดย: oustayutt    เวลา: 2014-10-5 13:41

โดย: kruangbin    เวลา: 2014-10-5 13:48
ขอบคุณครับพี่มร
โดย: majoy    เวลา: 2014-10-5 13:55

โดย: Nujeab    เวลา: 2014-10-6 11:50
สาธุครับ ขอบคุณครับ
โดย: En130    เวลา: 2014-10-13 07:57





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2