Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ~ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส ~ [สั่งพิมพ์]

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:09
ชื่อกระทู้: ~ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส ~
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง ฯ จ.สกลนคร
[attach]3034[/attach]
ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย

ท่านกำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อ จันทร์ เพียแก่นท้าว เป็นปู่ นับถือพุทธศาสนา เกิดวันพฤหัสบดี เดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปี ท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวดำแดง แข็งแรงว่องไว สติปัญญาดี มาแต่กำเนิด ฉลาด เป็นผู้ว่านอนสอนง่าย ได้เรียนอักษรสมัยในสำนักของอา คือ เรียนอักษรไทยน้อย อักษรไทย อักษรธรรม และอักษรขอม อ่านออกเขียนได้ นับว่าท่านเรียนได้รวดเร็ว เพราะมีความทรงจำดี และขยันหมั่นเพียร ชอบการเล่าเรียน ชีวิตสมณะ

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:09
การแสวงหาธรรม และปฏิปทา

เมื่อหลวงปู่มั่นอายุได้ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรในสำนักบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษา หาความรู้ ทางพระศาสนามีสวดมนต์ และพระสูตรต่าง ๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปราณีมาก เพราะเอาใจใส่ในการเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ เมื่อท่านอายุได้ ๑๗ บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วย การงานทางบ้าน ท่านได้ลาสิกขาออกไปช่วยงานบิดามารดา เต็มความสามารถ ท่านเล่าว่า เมื่อลาสิกขาไปแล้ว ยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่เคยลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัย ในทางบวช มาแต่ก่อนหนหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง เพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก คำสั่งของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ
ครั้นอายุหลวงปู่มั่นได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่า มีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดามารดาบวช ท่านทั้งสองก็อนุมัติตามประสงค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านได้ศึกษาในสำนัก ท่านอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับอุปสมบทกรรม เป็นภิกษุภาวะในพระพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) อำเภอเมือง ฯ จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปัชฌายะ มี พระครูสีทา ชยเสโน เป็นพระกรรมวาจารย์ และ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (สุ่ย) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๖ พระอุปัชฌายะ ขนานนาม มคธ ให้ว่า ภูริทตโต เสร็จ อุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาสำนักศึกษาวิปัสสนาธุระ กับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ ณ วัดเลียบ ต่อไป

เมื่อแรกอุปสมบท หลวงปู่มั่น พำนักอยู่วัด เลียบ เมืองอุบล เป็นปกติ ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมืองอุบลบ้างเป็นครั้งคราว ในระหว่างนั้น ได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วนแห่งพระวินัยคือ อาจาระ ความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตร ปฏิบัติได้เรียบร้อยดี จนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌายาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจ คือ เดินจงกลม นั่งสมาธิ สมาทาน ธุดงควัตร ต่าง ๆ

ในสมัยต่อมา ได้แสวงหาวิเวก บำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง หุบเขา ซอกห้วย ธารเขา เงื้อมเขาท้องถ้ำ เรือนว่าง ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงบ้าง ฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ในกรุงเทพฯ จำพรรษาอยู่ที่ วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนา กับเจ้าพระคุณพระอุบาลี (สิริจันทเถระ จันทร์) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือ ถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงาม แล ถ้ำสิงโต ลพบุรี จนได้รับความรู้แจ่มแจ้ง ในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัย ในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอิสาน ทำการอบรมสั่งสอน สมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิก และอุบาสก อุบาสิกา ต่อไป มีผู้เลื่อมใสพอใจปฏิบัติมากขึ้น โดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลาย กระจายทั่วภาคอิสาน

ในกาลต่อมา ได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพ ฯ อีก ๑ พรรษา แล้วไปเชียงใหม่กับ เจ้าพระคุณอุบาลีฯ (สิริจันทรเถระ จันทร์) จำพรรษา วัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษาแล้วออกไปพักตามที่วิเวก ต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๆ นานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมา จังหวัดอุบลราชธานี พักจำพรรษาอยู่ที่ วัดโนนนิเวศน์ เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษา แล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จำพรรษาที่ วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองขอบ อำเภอเมืองสกลนคร (ปัจจุบัน คือ อำเภอ โคกศรีสุพรรณ) ๓ พรรษาจำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใจ อำเภอเมืองพรรณานิคม ๕ พรรษา เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติ ได้ติดตามศึกษาอบรมจิตใจมากมาย มีศิษยานิศิษย์มากหลาย ยังเกียรติคุณของท่าน ให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:09
ธุดงควัตร ที่ท่านถือปฏิบัติ เป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. ปังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสกุล จนกระทั่งวัยชรา จึงได้ใช้ คหบดีจีวรบ้าง เพื่ออนุเคราห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย
๒. บิณฑบาติกังคธุดงค์ คือภิกขาจารยวัตร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธ ไปในละแวกบ้านไม่ได้ ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉัน จนกระทั้งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ คือฉันในบาต ใช้ภาชนะใบเดียว เป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธในปัจฉิมสมัย จึงงด
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ ตลอดเวลาแม้อาพาธหนัก ในปัจฉิมสมัย ก็มิได้เลิกละ ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราว ที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ คืออยู่เสนา สนะป่า ห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ตามสมณวิสัย
เมื่อถึงวัยชรา จึงอยู่ในเสนาสนะป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลัง ที่จะภิกขาจาร บิณฑบาต เป็นที่ ๆ ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนเคารพยำเกรง ไม่รบกวน นัยว่า ในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในป่าดงพงลึก จนสุดวิสสัยที่ศิษยานุศิษย์จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นคราวที่ไปอยู่ภาคเหนือ เป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวก มูเซอร์ยังชาวมูเซอร์ที่พูดไม่รู้เรื่องกัน ให้บังเกิดศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:10
ธรรมโอวาท คำที่เป็นคติ อันท่านอาจารย์กล่าวอยู่บ่อย ๆ ที่เป็นหลักวินิจฉัยความดีที่ทำด้วย กาย วาจา ใจ แก่ศิษยานุศิษย์ ดังนี้

๑. ดีใดไม่มีโทษ ดีนั้นนับว่าเป็นเลิศ
๒. ได้สมบัติทั้งปวง ไม่ประเสริฐเท่าได้ตน เพราะตัวตนเป็นที่เกิดแห่งสมบัติทั้งปวง

เมื่อท่านอธิบาย ตจปัญจกกรรมฐาน จบลง มักจะกล่าวเตือนเป็นคำกลอนว่าแก้ให้ตกเน้อ แก้บ่ตก คาพกจ้าไว้ แก้บ่ได้ แขวนคอต่องแต่ง แก้บ่พ้น คาก้นย่างยาย คาย่างยาย เวียนตายเวียนเกิด เวียนเอากำเนิดในภพทั้งสาม ภพทั้งสามเป็นเฮือน เจ้าอยู่ ดังนี้
เมื่อคราวท่านเทศนาสั่งสอนพระภิกษุ ผู้เป็นสานุศิษย์ ถือลัทธิฉันเจให้เข้าใจในทางถูก และเลิกลัทธินั้น ครั้นจบลงแล้วได้กล่าวเป็นคติขึ้นว่า เหลือแต่เว้าบ่เห็น บ่อนเบาหนัก เดินบ่ไปตามทาง สิถึกดงเสือฮ้ายดังนี้แล การบำเพ็ญสมาธิ เอาแต่เพียงเป็นบาทของวิปัสนา คือ การพิจารณาก็พอแล้ว ส่วนการจะอยู่ในวิหารธรรมนั้น ก็ให้กำหนดรู้ ถ้าใครกลัวตาย เพราะบทบาททางความเพียร ผู้นั้น จะกลับมาตายอีก หลายภพหลายชาติ ไม่อาจนับได้ ส่วนผู้ใดไม่กลัวตาย ผู้นั้นจะตัดภพชาติให้น้อยลง ถึงกับไม่มีภพชาติเหลืออยู่ และผู้นั้นแล จะเป็นผู้ไม่กลับหลังมาหาทุกข์อีก ธรรมะเรียนมาจากธรรมชาติ เห็นความเกิดแปรปรวนของสังขาร ประกอบด้วยไตรลักษณ์ ปัจฉิมโอวาทของ พระพุทธเจ้าโดยแท้ ๆ ถ้าเข้าใจในโอวาทปาฏิโมกข์ ท่านพระอาจารย์มั่นแสดงโดยยึดหลักธรรมชาติของศิลธรรม ทางด้านการปฏิบัติ เพื่อเตือนนักปฏิบัติทั้งหลายท่าน แสดงเอาแต่ใจความว่า....
การไม่ทำบาปทั้งปวงหนึ่ง การยังกุศล คือ ความฉลาดให้ถึงพร้อมหนึ่ง
การชำระจิตใจของตนให้ผ่องแผ้วหนึ่ง.... นี้แล คือ คำสอนทั้งหลายของพระพุทธเจ้า การไม่ทำบาป... ถ้าทางการไม่ทำ แต่ทางวาจายังทำอยู่ ถ้าทางวาจาไม่ทำ แต่ทางใจก็ทำ สั่งสมบาปตลอดวัน จนถึงเวลาหลับ พอตื่นจากหลับ ก็เริ่มสั่งสมบาปต่อไปจนถึงขณะหลับอีก เป็นทำนองนี้ โดยมิได้สนใจว่า ตัวทำบาป หรือสั่งสมบาปเลย แม้กระนั้น ยังหวังใจอยู่ว่า ตนมีศิลธรรม และคอยแต่เอาความบริสุทธิ์ จากความมีศิลธรรม ที่ยังเหลือแต่ชื่อเท่านั้น ฉะนั้น จึงไม่เจอความบริสุทธิ์ กลับเจอแต่ความเศร้าหมอง ความวุ่นวายในใจตลอดเวลา ทั้งนี้เพราะ ตนแสวงหาสิ่งนั้น ก็ต้องเจอสิ่งนั้น ถ้าไม่เจอสิ่งนั้น จะให้เจออะไรเล่า เพราะเป็นของที่มีอยู่ ในโลกสมมุติอย่างสมบูรณ์

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:10
ปัจฉิมบท

ในวัยชรา นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมา ท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบทไปตามสถานที่วิเวก ผาสุกวิหารหลายแห่งคือ ณ เสนาสนะป่า บ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง ฯ (ปัจจุบัย เป็นอำเภอ โคกศรีสุพรรณ) บ้าง ที่ใกล้ ๆ แถวนั้นบ้าง ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายของชีวิต

ตลอดเวลา ๘ ปี ในวัยชรานี้ ท่านได้เอาธุระ อบรมสั่งสอน ศิษยานุศิษย์ทางสมถ วิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวัน ศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้ และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ แล้วให้ชื่อว่า มุตโตทัย

ครั้นมาถึงปี พ.ศ.๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างขึ้น ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ชิด ได้เอาธุระรักษาพยาบาล ไปตามกำลังความสามารถ อาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราว แต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษา อาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษาศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ไกล ต่างก็ทยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษา แล้วนำมาที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม เพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และ ศิษยานุศิษย์ ก็มาเยี่ยมพยาบาลอาการอาพาธ มีแต่ทรงกับทรุด โดยลำดับ

ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้นำท่านมาถึงวัดป่าสุทธาวาส ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการสงบ เมื่อเวลา ๐๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ศกเดียวกัน ท่ามกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณ พระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:10
การบำเพ็ญประโยชน์ ของท่านหลวงปู่มั่น ประมวลในหลัก ๒ ประการดังนี้
   

         ๑. ประโยชน์ชาติ ท่านหลวงปู่ ได้เอาธุระเทศนาอบรมสั่งสอนศิลธรรมอันดีงาม แก่ประชาชนพลเมือง ของทุกชาติ ในทุก ๆ ถิ่น ที่ท่านได้สัญจรไป คือ ภาคกลางบางส่วน ภาคเหนือเกือบทั่วทุกจังหวัด ภาคอิสานเกือบทั่วทุกจังหวัด ไม่กล่าวสอนให้เป็นปฏิปักษ์ ต่อการปกครองของประเทศ ทำให้พลเมืองของชาติ ผู้ได้รับคำสั่งสอน เป็นคนมีศิลธรรมดี มีสัมมาอาชีพง่ายแก่การปกครอง ของ ผู้ปกครองชือว่า ได้บำเพ็ญประโยชน์แก่ชาติ ตามควรแก่สมณวิสัย
         ๒. ประโยชน์ศาสนา ท่านหลวงปู่ ได้บรรพชา และอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนานี้ ด้วยความเชื่อ และความเลื่อมใสจริง ๆ ครั้นบวชแล้ว ก็ได้ เอาธุระทางพระพุทธศาสนาด้วยความอุตสาหะพากเพียรจริง ๆ ไม่ทอดธุระในการบำเพ็ญ สมณธรรม
   

         หลวงปู่มั่น ท่านปฏิบัติธุดงควัตรเคร่งครัดถึง ๔ ประการดังกล่าวแล้ว ในเบื้องต้น ได้ดำรงรักษาสมณกิจไว้มิให้เสื่อมสูญได้นำหมู่คณะ ฟื้นฟูปฏิบัติพระธรรมวินัย ได้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ และพระพุทธโอวาท หมั่นอนุศาสน์สั่งสอนศิษยานุศิษย์ ให้ฉลาดอาจหาญในการฝึกฝนอบรมจิตใจตามหลักการสมถวิปัสสนา อันเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาได้ตรัสสอนไว้ เป็นผู้มีนำใจเด็ดเดี่ยวอดทนไม่หวั่นไหวต่อ โลกธรรม แม้จะถูกกระทบกระทั่งด้วยโลกธรรมอย่างไร ก็มิได้แปรเปลี่ยนไปตาม ความมั่นอยู่ในธรรมวินัย ตามที่พระบรมศาสดาประกาศแล้วตลอดมาทำตัวให้เป็น ทิฏฐานุคติ แก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างดี ท่านได้จาริกไปตามสถานที่วิเวกต่าง ๆ คือ บางส่วนของภาคกลาง เกือบทั่วทุกจังหวัด ในภาคเหนือ เกือบทุกจังหวัด ของภาคอิสานและแถมบางส่วนของต่างประเทศอีกด้วย นอกจากเพื่อวิเวกในส่วนตนแล้ว ท่านมุ่งไปเพื่อสงเคราะห์ผู้มีอุปนิสัยในถิ่นนั้น ๆ ด้วย ผู้ได้รับสงเคราะห์ ด้วยธรรมจากท่านแล้ว ย่อมกล่าวไว้ด้วยความภูมิใจว่า ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็น

มนุษย์ พบพระพุทธศาสนา

ส่วนหน้าที่ในวงการคณะสงฆ์ ท่านหลวงปู่ ได้รับพระกรุณาจากพระสังฆราชเจ้าในฐานะเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุตติกา ให้เป็นพระอุปัชฌายะ ในคณะธรรมยุตติกา ตั้งแต่อยู่จังหวัดเชียงใหม่ และได้รับแต่งตั้งเป็น พระครูวินัยธรฐานานุกรม ของ เจ้าพระคุณพระอุบาลี ฯ (สิริจันทรเถระจันทร์) ท่านก็ได้ทำหน้าที่นั้นโดยเรียบร้อย ตลอดเวลาที่ยังอยู่เชียงใหม่ ครั้นจากเชียงใหม่มาแล้ว ท่านก็งดหน้าที่นั้น โดยอ้างว่าแก่ชราแล้ว ขออยู่ตามสบาย

งานศาสนาในด้านวิปัสสนาธุระ นับว่า ท่านได้ทำเต็มสติกำลัง ยังศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิต และคฤหัสถ์ ให้อาจหาญรื่นเริงในสัมมาปฏิบัติ ตลอดมา นับแต่พรรษาที่ ๒๓ จนถึงพรรษาที่๕๙ อันเป็นปีสุดท้ายแห่งชีวิตของท่าน อาจกล่าวได้ ด้วยความภาคภูมิใจว่า ท่านเป็นพระเถระ ที่มีเกียรติคุณ เด่นที่สุดในด้านวิปัสสนาธุระรูปหนึ่ง ในยุคปัจจุบัน

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:11
ชาติกำเนิดและการบรรพชาของหลวงปู่มั่น
[attach]3035[/attach]
          ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง  มารดาชื่อจันทร์  เพีย ( พระยา ) แก่นท้าวเป็นปู่  นับถือพุทธศาสนา  เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่  ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓   ณ  บ้านคำบง  ตำบลโขงเจียม     อำเภอโขงเจียม  จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน  ๗  คน   ท่านเป็นบุตรคนหัวปีท่านเป็นคนร่างเล็ก  ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดีเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา  คือเรียนอักษรไทยน้อย   อักษรไทย   อักษรธรรมและอักษรขอมอ่านออกเขียนได้นับว่าท่านเรียนได้รวด เร็ว  เพราะมีความทรงจำดี   และมีความขยันหมั่นเพียรชอบการเล่าเรียนศึกษา

         เมื่อ ท่านอายุได้  ๑๕ ปี ได้บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง   ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ   ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์   จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก   เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี   ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้

    เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี  บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้านท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงาน ของบิดามารดาเต็มความสามารถ     ท่านเล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่งอีกอย่าง หนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า
"เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก"

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:11
คำสั่ง ของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ   ครั้นอายุท่านได้  ๒๒  ปี   ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง  จึงอำลาบิดา   มารดาบวชท่านทั้งสองก็อนุญาตตามประสงค์ท่านได้เข้าศึกษาในสำนักพระอาจารย์เสาร์ ( หลวงปู่เสาร์ )  กันตสีโล วัดเลียบ  เมืองอุบล  จังหวัดอุบลราชธานี

     อุปสมบท  เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนา  ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม)อำเภอเมือง   จังหวัดอุบลราชธานี   พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระ อุปฌายะ   พระครูสีทาชยเสโน   เป็นพระกรรมวาจาจารย์   พระครูประจักษ์อุบลคุณ ( สุ่ย ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์เมื่อวันที่  ๑๒  มิถุนายน   พ.ศ.๒๔๓๖   

พระอุปัชฌายะขนานนามมคธให้ว่า  "ภูริทัตโต"แปลว่า "ผู้ให้ปัญญา  ผู้แจกจ่ายความฉลาด" เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว   ได้กลับมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล   ณ   วัดเลียบต่อไป   เมื่อแรกอุปสมบทท่านพำนักอยู่วัดเลียบ   โดยได้เรียนกรรมฐานจากพระอาจารย์เสาร์เมื่องอุบลเป็นปกติและได้ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม   เมือง  อุบลราชธานีเป็นครั้งคราว
ระหว่างนั้นได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วน แห่งพระวินัย  คือ  อาจาระความประพฤติมารยาท   อาจริยวัตร   และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดีจนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจคือเดินจงกรมนั่งสมาธิกับการสมาทานธุดงควัตรต่างๆ

ที่มา http://www.luangpumun.org/his1.html

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:12
หลวงปู่มั่นบำเพ็ญเพียร

ใน สมัยต่อไปได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า     ป่าช้า    ป่าชัฏที่แจ้ง  หุบเขา  ซอกเขา  ห้วย  ธารเขา  เงื้อมเขา  ท้องถ้ำ   เรือนว่างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง  ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพ  จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม   หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ )  ๓ พรรษา   แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง   คือถ้ำสาริกา     เขาใหญ่    นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงามและถ้ำสิงห์โตลพบุรีจนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา        จึงกลับมาภาคอีสานทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน   

      ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ   อีก  ๑  พรรษาแล้ว ไปเชียงใหม่ กับเจ้าพระคุณอุบาลี ( จันทร์ ) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษาแล้วออก ไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง  เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆนานถึง ๑๑  ปี   จึงได้กลับมาจังหวัดอุบลราชธานีพักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น   ๒  พรรษาแล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนครจำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองสกลนคร ( ปัจจุบันคืออำเภอ  โคกศรีสุพรรณ )   ๓   พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ   ตำบลนาใน   อำเภอพรรณานิคม   ๕   พรรษาเพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น   มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา   อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่านได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

ที่มา http://www.luangpumun.org/his2.html

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:12
สุบินนิมิตของหลวงปู่มั่น

             เมื่อท่านเริ่มปฏิบัติวิปัสสนาใหม่ ๆ ในสำนักพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล วัดเลียบ อุบลราชธานี ท่านบริกรรมภาวนาด้วยบท พุทโธ ประจำนิสัยที่ชอบกว่าบรรดาบทธรรมอื่น ๆ ในขั้นเริ่มแรกยังไม่ปรากฏเป็นความสงบสุขมากเท่าที่ควร ทำให้มีความสงสัยในปฏิปทาว่าจะถูกหรือผิดประการใด แต่มิได้ลดละความเพียรพยายาม ในระยะต่อมาผลปรากฏเป็นความสงบพอให้ใจเย็นบ้าง
ในคืนวันหนึ่งเกิดสุบินนิมิตว่า
ท่านออกเดินทางจากหมู่บ้านเข้าสู่ป่าใหญ่อันรกชัฏที่เต็มไปด้วยขวากหนามจนจะหาที่ด้นดั้นผ่านไปแทบไม่ได้ ท่านพยายามซอกซอนไปตามป่านั้นจนพ้นไปได้โดยปลอดภัย พอพ้นจากป่าไปก็ถึงทุ่งกว้างจนสุดสายตา เดินตามทุ่งไปโดยลำดับไม่ลดละความพยายาม
ขณะที่เดินตามทุ่งไปได้พบไม้ต้นหนึ่งชื่อต้นชาติ ซึ่งเขาตัดล้มเอง ขอนจมดินอยู่เป็นเวลานานปี เปลือกและกระพี้ผุพังไปบ้างแล้ว ไม้ต้นนั้นรู้สึกใหญ่โตมาก ท่านเองก็ปีนขึ้นและไต่ไปตามขอนชาติที่ล้มนอนอยู่นั้น พร้อมทั้งพิจารณาอยู่ภายใน และรู้ขึ้นมาว่า ไม้นี้จะไม่มีการงอกขึ้นได้อีก ซึ่งเทียบกับชาติของท่านว่าจะไม่กำเริบให้เป็นภพ-ชาติสืบต่อไปอีกแน่นอน
คำว่า ขอนชาติ ท่านพิจารณาเทียบกับ ชาติ ความเกิดของท่านที่เคยเป็นมา
ที่ขอนชาติผุพังไปไม่กลับงอกขึ้นได้อีก เทียบกับชาติของท่านว่าจะมีทางสิ้นสุดในอัตภาพนี้แน่ ถ้าไม่ลดละความพยายามเสีย
ทุ่งนี้เวิ้งว้างกว้างขวางเทียบกับความไม่มีสิ้นสุดแห่งวัฏวนของมวลสัตว์
ขณะที่กำลังยืนพิจารณาอยู่ ปรากฏว่ามีม้าสีขาวตัวหนึ่งรูปร่างใหญ่และสูงเดินเข้ามาเทียบที่ขอนชาตินั้น ท่านนึกอยากจะขี่ม้าขึ้นมาในขณะนั้น เลยปีนขึ้นบนหลังม้าตัวแปลกประหลาดนั้น
ขณะนั้นปรากฏว่าม้าได้พาท่านวิ่งไปอย่างเต็มกำลังฝีเท้า ท่านเองก็มิได้นึกว่าจะไปเพื่อประโยชน์อะไร ณ ที่ใด แต่ม้าก็พาท่านวิ่งไปอย่างไม่ลดละฝีเท้า โดยไม่กำหนดทิศทางและสิ่งที่ตนพึงประสงค์ใด ๆ ในขณะนั้น ระยะทางที่ม้าพาวิ่งไปตามทุ่งอันกว้างขวางนั้น รู้สึกว่าไกลแสนไกลโดยไม่อาจจะคาดได้
โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:13
ขณะที่ม้ากำลังวิ่งไปนั้น ได้แลเห็นตู้ใบหนึ่ง ในความรู้สึกว่าเป็นตู้พระไตรปิฎกซึ่งวิจิตรด้วยเงินสีขาวงดงามมาก ม้าได้พาท่านตรงเข้าไปสู่ตู้นั้นโดยมิได้บังคับ พอถึงตู้พระไตรปิฎกม้าก็หยุด ท่านก็รีบลงจากหลังม้าทันทีด้วยความหวังจะเปิดดูตู้พระไตรปิฎกที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้า ส่วนม้าก็ได้หายตัวไปในขณะนั้น โดยมิได้กำหนดว่าได้หายไปในทิศทางใด
ท่านได้เดินตรงเข้าไปหาตู้พระไตรปิฎกที่ตั้งอยู่ที่สุดของทุ่งอันกว้างนั้น ซึ่งมองจากนั้นไปเห็นมีแต่ป่ารกชัฏที่เต็มไปด้วยขวากหนามต่าง ๆ ไม่มีช่องทางพอจะเดินต่อไปอีกได้ แต่มิทันจะเปิดดูตู้พระไตรปิฎกว่ามีอะไรอยู่ข้างในบ้าง เลยรู้สึกตัวตื่นขึ้น
สุบินนิมิตนั้นเป็นเครื่องแสดงความมั่นใจว่า จะมีทางสำเร็จตามใจหวังอย่างแน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น ถ้าไม่ลดละความเพียรพยายามเสียเท่านั้น
จากนั้นท่านได้ตั้งหน้าประกอบความเพียรอย่างเข้มแข็ง มีบทพุทโธเป็นคำบริกรรมประจำใจในอิริยาบถต่าง ๆ อย่างมั่นใจ
ส่วนธรรมคือธุดงควัตรที่ท่านศึกษาเป็นประจำด้วยความรักสงวนอย่างยิ่งตลอดมา นับแต่เริ่มอุปสมบทจนถึงวันสุดท้ายปลายแดนแห่งชีวิต ได้แก่
ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ไม่รับคหปติจีวรที่เขาถวายด้วยมือ ๑
บิณฑบาตเป็นวัตรประจำวันไม่ลดละ เว้นเฉพาะวันที่ไม่ฉันเลยก็ไม่ไป ๑
ไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง คือรับเฉพาะที่ได้มาในบาตร ๑
ฉันมื้อเดียว คือฉันวันละหน ไม่มีอาหารว่างใด ๆ ที่เป็นอามิสเข้ามาปะปนในวันนั้น ๆ ๑
ฉันในบาตร คือมีภาชนะใบเดียวเป็นวัตร ๑
อยู่ในป่าเป็นวัตร คือเที่ยวอยู่ตามร่มไม้บ้าง ในป่าธรรมดา ในภูเขาบ้าง หุบเขาบ้าง ในถ้ำ ในเงื้อมผาบ้าง ๑
ถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร คือมีผ้า ๓ ผืน ได้แก่ สังฆาฏิ จีวร สบง (เว้นผ้าอาบน้ำฝนซึ่งจำเป็นต้องมีในสมัยนี้) ๑
ธุดงค์นอกจากนี้ท่านก็สมาทานและปฏิบัติเป็นบางสมัย ส่วน ๗ ข้อนี้ท่านปฏิบัติเป็นประจำ จนกลายเป็นนิสัยซึ่งจะหาผู้เสมอได้ยากในสมัยปัจจุบัน
ท่านมีนิสัยทำจริงในงานทุกชิ้นทั้งกิจนอกการในไม่เหลาะแหละ มีความมุ่งหวังต่อแดนหลุดพ้นอย่างเต็มใจ ในอิริยาบถต่าง ๆ เต็มไปด้วยความพากเพียรเพื่อถอดถอนกิเลสทางภายใน ไม่มีความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิมเข้ามาแอบแฝงได้ ทั้ง ๆ ที่มีกิเลสเหมือนสามัญชนทั่ว ๆ ไป เพราะท่านไม่ยอมปล่อยใจให้กิเลสย่ำยีได้ มีการต้านทานห้ำหั่นด้วยความเพียรอย่างไม่ลดละ ซึ่งผิดกับคนธรรมดาอยู่มาก (ตามท่านเล่าให้ฟังในเวลาบำเพ็ญ)
ในระยะต่อมาที่แน่ใจว่าจิตมีหลักฐานมั่นคงพอจะพิจารณาได้แล้ว ท่านจึงย้อนมาพิจารณาสุบินนิมิตจนได้ความโดยลำดับว่า

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:13
การออกบวชปฏิบัติตนสมควรแก่ธรรมก็เท่ากับการยกระดับจิตให้พ้นจากความผิดมีประเภทต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเหมือนบ้านเรือนอันเป็นที่รวมแห่งสรรพทุกข์ และป่าอันรกชัฏทั้งหลายอันเป็นที่ซุ่มซ่อนแห่งภัยทั้งปวง ให้ถึงที่เวิ้งว้างไม่มีจุดหมาย ซึ่งเมื่อเข้าถึงแล้ว เป็นคุณธรรมที่แสนสบายหายกังวลโดยประการทั้งปวง

ด้วยปฏิปทาข้อปฏิบัติที่เปรียบเหมือนม้าตัวองอาจเป็นพาหนะขับขี่ไปถึงที่อันเกษม และพาไปพบตู้พระไตรปิฎกอันวิจิตรสวยงาม แต่วาสนาไม่อำนวยสมบูรณ์ จึงเป็นเพียงได้เห็น แต่มิได้เปิดตู้พระไตรปิฎกออกชมอย่างสมใจเต็มภูมิแห่งจตุปฏิสัมภิทาญาณทั้งสี่ อันเป็นคุณธรรมยังผู้เข้าถึงให้เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่องเลื่องลือระบือทั่วไตรโลกธาตุ มีความฉลาดกว้างขวางในอุบายวิธีประหนึ่งท้องฟ้ามหาสมุทร ไม่มีความคับแค้นจนมุมในการอบรมสั่งสอนหมู่ชนทั้งเทวดาและมนุษย์ทุกชั้น
แต่เพราะกรรมอันดีเยี่ยมไม่เพียงพอ บารมีไม่ให้ โอกาสวาสนาไม่อำนวย จึงเป็นเพียงได้ชมตู้พระไตรปิฎก และตกออกมาเป็นผลให้ท่านได้รับเพียงชั้นปฏิสัมภิทานุศาสน์ มีเชิงฉลาดในเทศนาวิธีอันเป็นบาทวิถีแก่หมู่ชนพอเป็นปากเป็นทางเท่านั้น ไม่ลึกซึ้งกว้างขวางเท่าที่ควร


ทั้งนี้แม้ท่านจะพูดว่า การสั่งสอนของท่านพอเป็นปากเป็นทางอันเป็นเชิงถ่อมตนก็ตาม แต่บรรดาผู้ที่ได้เห็นปฏิปทาคือข้อปฏิบัติที่ท่านพาดำเนินและธรรมะที่ท่านนำมาอบรมสั่งสอน แต่ละบทละบาท แต่ละครั้งละคราว ล้วนเป็นความซาบซึ้งใจไพเราะเหลือจะพรรณนาและยากที่จะได้เห็นได้ยินจากที่อื่นใดในสมัยปัจจุบัน ซึ่งเป็นสมัยที่ต้องการคนดีอยู่มาก

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:14
หลวงปู่มั่นเกิดสมาธินิมิต

มื่อท่านพักอบรมภาวนาด้วยบทพุทโธ อยู่ที่วัดเลียบ จังหวัดอุบลฯ ขณะที่จิตสงบลง ปรากฏเป็นอุคหนิมิตขึ้นมาในลักษณะคนตายอยู่ต่อหน้า แสดงอาการพุพองมีน้ำเน่าน้ำหนองไหลออกมา มีแร้งกาและสุนัขมากัดกินและยื้อแย่งกันอยู่ต่อหน้าท่าน จนซากนั้นกระจัดกระจายไปทั่วบริเวณ เป็นที่น่าเบื่อหน่ายและสลดสังเวชเหลือประมาณในขณะนั้น เมื่อจิตถอนขึ้นมา ในวาระต่อไปไม่ว่าจะนั่งภาวนา เดินจงกรม หรืออยู่ในท่าอิริยาบถใด ท่านก็ถือเอานิมิตนั้นเป็นเครื่องพิจารณาโดยสม่ำเสมอไม่ลดละ จนนิมิตแห่งคนตายนั้นได้กลับกลายมาเป็นวงแก้วอยู่ต่อหน้าท่าน
เมื่อเพ่งพิจารณาวงแก้วนั้นหนัก ๆ เข้าก็ยิ่งแปรสภาพไปต่าง ๆ ไม่มีทางสิ้นสุด ท่านพยายามติดตามก็ยิ่งปรากฏเป็นรูปร่างต่าง ๆ จนไม่มีประมาณว่าความสิ้นสุดแห่งภาพนิมิตจะยุติลง ณ ที่ใด ยิ่งเพ่งพิจารณาก็ยิ่งแสดงอาการต่าง ๆ ไม่มีสิ้นสุด
โดยเป็นภูเขาสูงขึ้นเป็นพัก ๆ บ้าง ปรากฏว่าองค์ท่านสะพายดาบอันคมกล้าและเท้าทั้งสองมีรองเท้าสวมอยู่บ้าง แล้วเดินไป-มาบนภูเขานั้นบ้าง ปรากฏเห็นกำแพงขวางหน้ามีประตูบ้าง ท่านเปิดประตูเข้าไปดูเห็นมีที่นั่งและที่อยู่ของพระ ๒-๓ รูป กำลังนั่งสมาธิอยู่บ้าง บริเวณกำแพงนั้นมีถ้ำและเงื้อมผาบ้าง มีดาบสอยู่ในถ้ำนั้นบ้าง มียนต์คล้ายอู่ มีสายหย่อนลงมาจากหน้าผาบ้าง ปรากฏว่าท่านขึ้นสู่อู่ขึ้นไปบนภูเขาบ้าง มีสำเภาใหญ่อยู่บนภูเขาบ้าง เห็นโต๊ะสี่เหลี่ยมอยู่ในสำเภาบ้าง มีประทีปความสว่างอยู่บริเวณรอบ ๆ หลังเขานั้นบ้าง ปรากฏว่าท่านฉันจังหันอยู่บนภูเขานั้นบ้าง จนไม่อาจจะตามรู้ตามเห็นให้สิ้นสุดลงได้
สิ่งที่ท่านได้เห็นเกี่ยวกับนิมิตเป็นเหตุให้รู้สึกว่ามีมากมาย จนไม่อาจจะนำมากล่าวจบสิ้นได้ ท่านพิจารณาในทำนองนี้ถึง ๓ เดือน โดยการเข้า ๆ ออก ๆ ทางสมาธิภาวนา พิจารณาไปเท่าไร ก็ยิ่งรู้ยิ่งเห็นสิ่งที่จะมาปรากฏจนไม่มีทางสิ้นสุด แต่ผลดีปรากฏจากการพิจารณา ไม่ค่อยมีพอเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเป็นวิธีที่ถูกต้องและแน่ใจ
เมื่อออกจากสมาธิประเภทนี้แล้ว ขณะกระทบกับอารมณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่ว ๆ ไปก็เกิดความหวั่นไหว คือทำให้ดีใจ เสียใจ รักชอบ และเกลียดชังไปตามเรื่องของอารมณ์นั้น ๆ หาความเที่ยงตรงคงตัวอยู่มิได้ จึงเป็นเหตุให้ท่านสำนึกในความเพียรและสมาธิที่เคยบำเพ็ญมาว่า คงไม่ใช่ทางแน่ ถ้าใช่ทำไมถึงไม่มีความสงบเย็นใจและดำรงตนอยู่ด้วยความสม่ำเสมอ แต่ทำไมกลับกลายเป็นใจที่วอกแวกคลอนแคลนไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ไม่มีประมาณ ซึ่งไม่ผิดอะไรกับคนที่เขามิได้ฝึกหัดภาวนาเลย ชะรอยจะเป็นความรู้ความเห็นที่ส่งออกนอก ซึ่งผิดหลักของการภาวนาไปกระมัง? จึงไม่เกิดผลแก่ใจให้ได้รับความสงบสุขเท่าที่ควร
ท่านจึงทำความเข้าใจเสียใหม่ โดยย้อนจิตเข้ามาอยู่ในวงแห่งกาย ไม่ส่งใจไปนอก พิจารณาอยู่เฉพาะกาย ตามเบื้องบน เบื้องล่าง ด้านขวาง สถานกลาง โดยรอบ ด้วยความมีสติตามรักษา โดยการเดินจงกรมไป-มา มากกว่าอิริยาบถอื่น ๆ แม้เวลานั่งทำสมาธิภาวนาเพื่อพักผ่อนให้หายเมื่อยบ้างเป็นบางกาล ก็ไม่ยอมให้จิตรวมสงบลงดังที่เคยเป็นมา แต่ให้จิตพิจารณาและท่องเที่ยวอยู่ตามร่างกายส่วนต่าง ๆ เท่านั้น ถึงเวลาพักผ่อนนอนหลับก็ให้หลับด้วยพิจารณากายเป็นอารมณ์

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:14
พยายามพิจารณาตามวิธีนี้อยู่หลายวันจึงตั้งท่านั่งขัดสมาธิ พิจารณาร่างกายเพื่อให้ใจสงบด้วยอุบายนี้ อันเป็นเชิงทดลองดูว่าจิตจะสงบแบบไหนกันอีกแน่ ความที่จิตไม่ได้พักสงบตัวเลยเป็นเวลาหลายวัน พร้อมกับได้รับอุบายวิธีที่ถูกต้องเข้ากล่อมเกลา จิตจึงรวมสงบลงได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายผิดปกติ
ขณะที่จิตรวมสงบตัวลงไป ปรากฏว่าร่างกายได้แตกออกเป็นสองภาค และรู้ขึ้นมาในขณะนั้นว่า “นี้เป็นวิธีที่ถูกต้องแน่นอนแล้วไม่สงสัย” เพราะขณะที่จิตรวมลงไปมีสติประจำตัวอยู่กับที่ ไม่เหลวไหลและเที่ยวเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ ดังที่เคยเป็นมา
และนี้คืออุบายที่แน่ใจว่าเป็นความถูกต้องในขั้นแรกของการปฏิบัติ
ในวาระต่อไปก็ถืออุบายนี้เป็นเครื่องดำเนินไม่ลดละ จนสามารถทำความสงบใจได้ตามต้องการ และมีความชำนิชำนาญขึ้นไปตามกำลังแห่งความเพียร ไม่ลดหย่อนอ่อนกำลัง นับว่าได้หลักฐานทางจิตใจที่มั่นคงด้วยสมาธิ ไม่หวั่นไหวคลอนแคลนอย่างง่ายดาย ไม่เหมือนคราวบำเพ็ญตามนิมิตในขั้นเริ่มแรก ซึ่งทำให้เสียเวลาไปเปล่าตั้ง ๓ เดือน
โทษแห่งความไม่มีครูอาจารย์ผู้ฉลาดคอยให้อุบายสั่งสอน ย่อมมีทางเป็นไปต่าง ๆ ดังที่เคยพบเห็นมาแล้วนั้นแล อย่างน้อยก็ทำให้ล่าช้า มากกว่านั้นก็ทำให้ผิดทาง และมีทางเสียไปได้อย่างไม่มีปัญหา
ท่านเล่าว่า สมัยที่ท่านออกบำเพ็ญกรรมฐานภาวนาครั้งโน้น ไม่มีใครสนใจทำกันเลย ในความรู้สึกของประชาชนสมัยนั้น คล้ายกับว่า การบำเพ็ญกรรมฐานเป็นของแปลกปลอม ไม่เคยมีในวงของพระและพระศาสนาเลย แม้แต่ชาวบ้านเองพอมองเห็นพระกรรมฐานเดินธุดงค์ไป ซึ่งอยู่ห่างกันคนละฟากทุ่งนา เขายังพากันแตกตื่นและกลัวกันมาก
ถ้าอยู่ใกล้หมู่บ้านก็จะพากันวิ่งเข้าบ้านกันหมด ถ้าอยู่ใกล้ป่าก็พากันวิ่งเข้าหลบซ่อนในป่ากันหมด ไม่กล้ามายืนซึ่ง ๆ หน้า พอให้เราได้ถามหนทางที่จะไปสู่หมู่บ้าน ตำบลต่าง ๆ บ้างเลย
บางครั้งเราเดินทางไปเจอกับพวกผู้หญิงที่กำลังเที่ยวหาอยู่หากิน เที่ยวเก็บผักหาปลาตามป่าตามภูเขา ซึ่งมีเด็ก ๆ ติดไปด้วย พอมองเห็นพระธรรมกรรมฐานเดินมา เสียงร้องลั่นบอกกันด้วยความตกใจกลัวว่า “พระธรรมมาแล้ว” พร้อมกับทิ้งหาบหรือสิ่งของอยู่บนบ่าลงพื้นดินเสียงดังตูมตาม โดยไม่อาลัยเสียดายว่าอะไรจะแตก อะไรจะเสียหาย ส่วนตัวก็ต่างคนต่างวิ่งหาที่หลบซ่อน ถ้าอยู่ใกล้ป่าหรืออยู่ในป่าก็พากันวิ่งเข้าป่า ถ้าอยู่ใกล้หมู่บ้านก็พากันวิ่งเข้าบ้าน
ส่วนเด็ก ๆ ที่ไม่รู้เดียงสาเห็นผู้ใหญ่ร้องโวยวายและต่างคนต่างวิ่งหนี เจ้าตัวก็ร้องไห้วิ่งไปวิ่งมาอยู่บริเวณนั้น โดยไม่มีใครกล้าออกมารับเอาเด็กไปด้วยเลย เด็กจะวิ่งตามผู้ใหญ่ก็ไม่ทัน เลยต้องวิ่งหันรีหันขวางอยู่แถว ๆ นั้นเอง ซึ่งน่าขบขันและน่าสงสารเด็กที่ไม่เดียงสา ซึ่งร้องไห้วิ่งตามหาผู้ใหญ่ด้วยความตกใจและความกลัวเป็นไหน ๆ
ส่วนพระธรรมท่านเห็นท่าไม่ดี กลัวเด็กจะกลัวมากและร้องไห้ใหญ่ ก็ต้องรีบก้าวเดินเพื่อผ่านไปให้พ้น ถ้าขืนไปถามเด็กเข้าคงได้เรื่องแน่ ๆ คือเด็กยิ่งจะกลัวและร้องไห้วิ่งไปวิ่งมา และยิ่งจะร้องไห้ใหญ่ไปทั่วทั้งป่า ส่วนผู้ใหญ่ที่เป็นแม่ของเด็กก็ยืนตัวสั่นอยู่ในป่าอย่างกระวนกระวาย ทั้งกลัวพระธรรมกรรมฐาน ทั้งกลัวเด็กจะวิ่งเตลิดเปิดเปิงหนีไปที่อื่นอีก ใจเลยไม่เป็นใจเพราะความกระวนกระวายคิดถึงลูก เวลาพระธรรมผ่านไปแล้ว แม่วิ่งหาลูก ลูกวิ่งหาแม่วุ่นวายไปตาม ๆ กัน กว่าจะออกมาพบหน้ากันทุกคนบรรดาที่ไปด้วยกัน ประหนึ่งบ้านแตกสาแหรกขาดไปพักหนึ่ง พอออกมาครบถ้วนหน้าแล้ว ต่างก็พูดและหัวเราะกันถึงเรื่องชุลมุนวุ่นวาย เพราะความกลัวพระธรรมกรรมฐานไปยกใหญ่ ก่อนที่จะเที่ยวหากินตามปกติ
เรื่องเป็นเช่นนี้โดยมาก คนสมัยที่ท่านออกธุดงคกรรมฐาน เขาไม่เคยพบเคยเห็นกันเลย จึงแสดงอาการตื่นเต้นตกใจและกลัวกันสำหรับผู้หญิงและเด็ก ๆ ฉะนั้น เมื่อคบกันในขั้นเริ่มแรกจึงไม่ค่อยมีใครสนใจธรรมะกับพระธุดงค์นัก นอกจากจะกลัวกันเป็นส่วนมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะเหตุหลายประการ เช่น มารยาทท่านก็อยู่ในอาการสำรวม เคร่งขรึม ไม่ค่อยแสดงความคุ้นกับใครนัก ถ้าไม่คบกันนาน ๆ จนรู้นิสัยกันดีก่อนแล้ว และผ้าสังฆาฏิ จีวร สงบ อังสะ และบริขารอื่น ๆ โดยมากย้อมด้วยสีกรัก คือสีแก่นขนุน

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:14
ซึ่งเป็นสีฉูดฉาดน่ากลัวมากกว่าจะน่าเลื่อมใส เวลาออกเดินทางเพื่อเจริญสมณธรรมในที่ต่าง ๆ ท่านครองจีวรสีแก่นขนุน บ่าข้างหนึ่งแบกกลด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าร่มธรรมดาที่โลก ๆ ใช้กันทั่ว ๆ ไป บ่าข้างหนึ่งสะพายบาตร ถ้ามีด้วยกันหลายองค์ เวลาออกเดินทางท่านเดินตามหลังกันเป็นแถว ครองจีวรสีกรักคล้ายสีน้ำตาล เห็นแล้วน่าคิดน่าทึ่งอยู่ไม่น้อยสำหรับผู้ที่ยังไม่เคยพบเห็นมาก่อน และน่าเลื่อมใสสำหรับผู้ที่เคยรู้อัธยาศัยและจริยธรรมท่านมาแล้ว
ประชาชนที่ยังไม่สนิทกับท่านจะเกิดความเลื่อมใสก็ต่อเมื่อท่านไปพักอยู่นาน ๆ เขาได้รับคำชี้แจงจากท่านด้วยอุบายต่าง ๆ หลายครั้งหลายคราว นานไปใจก็ค่อยโอนอ่อนต่อเหตุผลอรรถธรรมไปเอง จนเกิดความเชื่อเลื่อมใส กลายเป็นผู้มีธรรมในใจ มีความเคารพเลื่อมใสในครูอาจารย์ผู้ให้โอวาทสั่งสอนอย่างถึงใจ ก็มีจำนวนมาก
พระธุดงค์ผู้มุ่งปฏิบัติเพื่ออรรถเพื่อธรรมจริง ๆ เข้าถึงใจประชาชนได้ดีและทำประโยชน์ได้มาก โดยไม่อาศัยคำโฆษณา แต่การประพฤติปฏิบัติตัวโดยสามีจิกรรมย่อมเป็นเครื่องดึงดูดจิตใจผู้อื่นให้เกิดความสนใจไปเอง
การเที่ยวแสวงหาที่วิเวกเพื่อความสงัดทางกายทางใจ ไม่พลุกพล่านวุ่นวายด้วยเรื่องต่าง ๆ เป็นกิจวัตรประจำนิสัยของพระธุดงคกรรมฐานผู้มุ่งอรรถธรรมทางใจ ดังนั้น พอออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์มั่นจึงชอบออกเที่ยวธุดงค์ทุก ๆ ปี โดยเที่ยวไปตามป่าตามภูเขา ที่มีหมู่บ้านพอได้อาศัยโคจรบิณฑบาต
ทางภาคอีสานท่านชอบเที่ยวมากกว่าทุก ๆ ภาค เพราะมีป่ามีภูเขามาก เช่น จังหวัดนครพนม สกลนคร อุดรธานี หนองคาย เลย หล่มสัก และทางฝั่งแม่น้ำโขงของประเทศลาว เช่น ท่าแขก เวียงจันทน์ หลวงพระบาง ที่มีป่าเขาชุกชุมมาก เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
การบำเพ็ญเพียรในท่าอิริยาบถต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ในสถานที่ใด ไม่มีการลดละทั้งกลางวันกลางคืน ถือเป็นงานสำคัญยิ่งกว่างานอื่นใด เพราะนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นไม่ชอบทางการก่อสร้างมาแต่เริ่มแรก ท่านชอบการบำเพ็ญเพียรทางใจโดยเฉพาะ และไม่ชอบเกาะเกี่ยวกับเพื่อนฝูงและหมู่ชน ชอบอยู่ลำพังคนเดียว มีความเพียรเป็นอารมณ์ทางใจ มีศรัทธามุ่งมั่นต่อแดนพ้นทุกข์อย่างแรงกล้า ดังนั้น เวลาท่านทำอะไรจึงชอบทำจริงเสมอ ไม่มีนิสัยโกหกหลอกลวงตนเองและผู้อื่น
การบำเพ็ญเพียรของท่านเป็นเรื่องอัศจรรย์ไปตลอดสาย ทั้งมีความขยัน ทั้งมีความทรหดอดทนและมีนิสัยชอบใคร่ครวญ จิตท่านปรากฏมีความก้าวหน้าทางสมาธิและทางปัญญาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ล่าถอยและเสื่อมโทรม
การพิจารณากายนับแต่วันที่ท่านได้อุบายจากวิธีที่ถูกต้องในขั้นเริ่มแรกมาแล้ว ไม่ยอมให้เสื่อมถอยลงได้เลย ท่านยึดมั่นในอุบายวิธีนั้นอย่างมั่นคง และพิจารณากายซ้ำ ๆ ซาก ๆ จนเกิดความชำนิชำนาญ แยกส่วนแบ่งส่วนแห่งกายให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นใหญ่และทำลายลงด้วยปัญญาได้ตามต้องการ จิตยิ่งนับวันหยั่งลงสู่ความสงบเย็นใจไปเป็นระยะไม่ขาดวรรคขาดตอน เพราะความเพียรหนุนหลังอยู่ตลอดเวลา
ท่านเล่าว่า ท่านไปที่ใด อยู่ที่ใด ใจท่านมิได้เหินห่างจากความเพียร แม้ไปบิณฑบาต กวาดลานวัด ขัดกระโถน ทำความสะอาด เย็บผ้า ย้อมผ้า เดินไปมาในวัด นอกวัด ตลอดการขบฉัน ท่านทำความรู้สึกตัวอยู่กับความเพียรทุกขณะที่เคลื่อนไหว ไม่ยอมให้เปล่าประโยชน์จากการเคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้น นอกจากเวลาหลับนอนเท่านั้น แม้เช่นนั้น ท่านยังตั้งใจไว้เมื่อรู้สึกตัวจะรีบลุกขึ้นไม่ยอมนอนซ้ำอีก จะเป็นความเคยตัวต่อไปและจะแก้ไขได้ยาก

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:15
ตามปกตินิสัย พอรู้สึกตัวท่านรีบลุกขึ้นล้างหน้าแล้วเริ่มประกอบความเพียรต่อไป ขณะที่ตื่นนอนขึ้นมาและล้างหน้าเสร็จแล้ว ถ้ายังมีอาการง่วงเหงาอยู่ ท่านไม่ยอมนั่งสมาธิในขณะนั้น กลัวจะหลับใน ท่านต้องเดินจงกรมเพื่อแก้ความโงกง่วงที่คอยแต่จะหลับในเวลาเผลอตัว การเดินจงกรม ถ้าก้าวขาไปช้า ๆ ยังไม่อาจระงับความง่วงเหงาได้ ท่านต้องเร่งฝีก้าวให้เร็วขึ้นจนความง่วงหายไป เมื่อรู้สึกเมื่อยเพลียและไม่มีความง่วงเหลืออยู่ในเวลานั้น ท่านถึงจะออกจากทางจงกรมเข้ามาที่พักหรือกุฏิ แล้วนั่งสมาธิภาวนาต่อไปจนสมควรแก่กาล
เมื่อถึงเวลาบิณฑบาตก็เตรียมนุ่งสบง ทรงจีวร ซ้อนสังฆาฏิ สะพายบาตรขึ้นบนบ่า ออกบิณฑบาตในหมู่บ้านโดยอาการสำรวม ทำความรู้สึกตัวกับความเพียรไปตลอดสาย บิณฑบาตทั้งไปและกลับถือเป็นการเดินจงกรมไปในตัว มีสติประคองใจ ไม่ปล่อยให้เพ่นพ่านโลเลไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ทั่วไป
เมื่อกลับถึงที่พักหรือวัดแล้ว เตรียมจัดอาหารที่ได้มาจากบิณฑบาตลงในบาตร ตามปกติท่านไม่ยอมรับอาหารที่ศรัทธาตามมาส่ง ท่านรับและฉันเฉพาะที่บิณฑบาตได้มาเท่านั้น ตอนชรามากแล้วท่านถึงอนุโลมผ่อนผัน คือรับอาหารที่ศรัทธานำมาถวาย ฉะนั้น อาหารนอกบาตรจึงไม่มีในระยะนั้น
เมื่อเตรียมอาหารใส่ลงในบาตรเสร็จแล้ว เริ่มพิจารณาปัจจเวกขณะเพื่อระงับดับไฟนรก คือตัณหาอันอาจแทรกขึ้นมาตามความหิวโหยได้ในขณะนั้น คือจิตอาจบริโภคด้วยอำนาจตัณหาความสอดส่ายในอาหารประณีตบรรจง และมีรสเอร็ดอร่อย โดยมิได้คำนึงถึงความเป็นธาตุและปฏิกูลที่แฝงอยู่ในอาหารนั้น ๆ ด้วย ปฏิสังขา โยนิโส ฯลฯ เสร็จแล้วเริ่มฉันโดยธรรม มิให้เป็นไปด้วยตัณหาในทุก ๆ ประโยคแห่งการฉัน จนเสร็จไปด้วยดี ซึ่งจัดว่ามีวัตรในการขบฉัน
หลังจากนั้นก็ล้างบาตร เช็ดบาตรให้แห้ง แล้วผึ่งแดดชั่วคราวถ้ามีแดด และนำเข้าถลกยกไปไว้ในสถานที่ควร แล้วเริ่มทำหน้าที่เผาผลาญกิเลสให้วอดวายหายซากไปเป็นลำดับ จนกว่าจะดับสนิทไม่มีพิษภัยเครื่องก่อกวนและรังควานจิตใจต่อไป
แต่การเตรียมเผากิเลสนี้รู้สึกเป็นงานที่ยากเย็นเข็ญใจเหลือจะกล่าว เพราะแทนที่เราจะเผามันให้ฉิบหาย แต่มันกลับเผาเราให้ได้รับความทุกข์ร้อนและตายจากคุณงามความดีที่ควรบำเพ็ญไปอย่างสด ๆ ร้อน ๆ และบ่อนทำลายเรา ทั้ง ๆ ที่เห็น ๆ มันอยู่ต่อหน้าต่อตา แต่ไม่กล้าทำอะไรมันได้ เพราะกลัวจะลำบาก
ผลสุดท้ายมันก็ปีนขึ้นนั่งนอนอยู่บนหัวใจเราจนได้ และเป็นเจ้าใหญ่นายโตตลอดไป แทบจะไม่มีเพศมีวัยใด และความรู้ความฉลาดใดจะต่อสู้และเอาชนะมันได้ โลกจึงยอมมันทั่วไตรภพ นอกจากพระศาสดาเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ทำการกวาดล้างมันให้สิ้นซากไปจากใจได้ ไม่กลับแพ้อีกตลอดอนันตกาล

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:15
เมื่อพระองค์ทรงชนะแล้วก็ทรงแผ่เมตตา แหวกหาหนทางเพื่อสาวกและหมู่ชนด้วยการประทานพระธรรมสั่งสอน จนเกิดศรัทธาเลื่อมใสและปฏิบัติตามพระโอวาทด้วยความไม่ประมาทนอนใจ บำเพ็ญไปไม่ลดละตามรอยพระบาท คือแนวทางที่เสด็จผ่านไป ก็สามารถตามเสด็จจนเสร็จสิ้นทางเดิน คือบรรลุถึงพระนิพพาน ด้วยการดับกิเลสขาดจากสันดานกลายเป็นพระอรหันต์ขึ้นมาเป็นลำดับลำดา ให้โลกได้กราบไหว้บูชาเป็นขวัญตาขวัญใจตลอดมา นี้คือท่านผู้สังหารกิเลสตัวมหาอำนาจให้ขาดกระเด็นออกจากใจ หายซากไปโดยแท้ ไม่แปรผันเป็นอย่างอื่น ท่านพระอาจารย์มั่น ท่านเจริญตามรอยพระบาทพระศาสดา มีความเพียรอย่างแรงกล้า มีศรัทธาเหนียวแน่น ไม่พูดพล่ามทำเพลง
พอเสร็จภัตกิจแล้ว ท่านก้าวเข้าสู่ป่าเดินจงกรมเพื่อสงบอารมณ์ในรมณียสถานอันเป็นที่ให้ความสุขสำราญทางภายใน ทั้งเดินจงกรม ทั้งนั่งสมาธิภาวนา จนกว่าจะถึงเวลาอันควร จึงพักผ่อนกายเพื่อคลายทุกข์ พอมีกำลังบ้างแล้วเริ่มทำงานเพื่อเผาผลาญกิเลสตัวก่อภพก่อชาติภายในใจต่อไป ไม่ลดหย่อนอ่อนข้อให้กิเลสหัวเราะเย้ยหยัน การทำสมาธิก็เข้มข้นเอาการ การทำวิปัสสนาปัญญาก็หมุนตัวอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งสมาธิและวิปัสสนาท่านดำเนินไปอย่างสม่ำเสมอ ไม่ให้บกพร่องในส่วนใดส่วนหนึ่ง
จิตท่านได้รับความสงบสุขโดยสม่ำเสมอ ที่มีช้าอยู่บ้างในบางกาล ตามที่ท่านเล่าว่า เพราะขาดผู้แนะนำในเวลาติดขัด ลำพังตนเองเพียงไปเจอเข้าแต่ละเรื่อง กว่าจะหาทางผ่านพ้นไปได้ก็ต้องเสียเวลาไปหลายวัน ทั้งจำต้องใช้ความพิจารณาอย่างมากและละเอียดถี่ถ้วน เพราะนอกจากติดขัดจนไปไม่ได้แล้ว ยังกลับมาเป็นภัยแก่ตัวเองอีกด้วย หากมีผู้คอยเตือนและให้คำแนะนำในเวลาเช่นนั้นบ้าง รู้สึกว่าไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลา และเป็นที่แน่ใจด้วย ฉะนั้น กัลยาณมิตรจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้กำลังอยู่ในระหว่างแห่งการบำเพ็ญทางใจ ท่านเคยเห็นโทษของความขาดกัลยาณมิตรมาแล้วว่าเป็นสิ่งไม่ดีเลย และเป็นความบกพร่องอย่างบอกไม่ถูก
ในบางครั้ง แม้มีความอบอุ่นว่าตนมีครูอาจารย์คอยให้ความร่มเย็นอยู่ก็ตาม เวลาไปเที่ยวธุดงค์ในที่ต่าง ๆ กับท่านพระอาจารย์เสาร์ผู้เป็นบุพพาจารย์ แต่เวลาเกิดข้อข้องใจขึ้นมา ไปกราบเรียนถามท่าน ท่านก็ตอบว่า
ผมไม่เคยเป็นอย่างท่าน เพราะจิตท่านเป็นจิตที่ผาดโผนมาก เวลาเกิดอะไรขึ้นมาแต่ละครั้งมันไม่พอดี เดี๋ยวจะเหาะขึ้นบนฟ้าบ้าง เดี๋ยวจะดำดินลงไปใต้พื้นพิภพบ้าง เดี๋ยวจะดำน้ำลงไปใต้ก้นมหาสมุทรบ้าง เดี๋ยวจะโดดขึ้นไปเดินจงกรมอยู่บนอากาศบ้าง ใครจะไปตามแก้ทัน ขอให้ท่านใช้ความพิจารณาและค่อยดำเนินไปอย่างนั้นแหละ
แล้วท่านก็ไม่ให้อุบายอะไรพอเป็นหลักยึดเลย ตัวเองต้องมาแก้ตัวเอง กว่าจะผ่านไปได้แต่ละครั้ง แทบเอาตัวไม่รอดก็มี

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:16
หลวงปู่มั่นเล่าเรื่องพระอาจารย์เสาร์เข้าสมาธิ

ท่านเล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบ ๆ และเยือกเย็นน่าเลื่อมใสมาก ที่มีแปลกอยู่บ้างก็เวลาท่านเข้าที่นั่งสมาธิ ตัวของท่านชอบลอยขึ้นเสมอ บางครั้งตัวท่านลอยขึ้นไปจนผิดสังเกต เวลาท่านนั่งสมาธิอยู่ ท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า “ตัวเราถ้าจะลอยขึ้นจากพื้นแน่ ๆ” เลยลืมตาขึ้นดูตัวเอง ขณะนั้นจิตท่านถอนออกจากสมาธิพอดี เพราะพะวักพะวงกับเรื่องตัวลอย ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน
ความจริงตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นจริง ๆ สูงประมาณ ๑ เมตร ขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตได้ถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติพอยับยั้งไว้บ้าง จึงทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง เช่นเดียวกับสิ่งต่าง ๆ ตกลงจากที่สูง
ในคราวต่อไป เวลาท่านนั่งสมาธิ พอรู้สึกตัวท่านลอยขึ้นจากพื้น ท่านพยายามทำสติให้อยู่ในองค์ของสมาธิ แล้วค่อย ๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่า ตัวท่านลอยขึ้นจริง ๆ แต่มิได้ตกลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านมิได้ปราศจากสติและคอยประคองใจให้อยู่ในองค์สมาธิ ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี
ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอยู่มาก แม้จะเห็นด้วยตาแล้ว ท่านยังไม่แน่ใจ ต้องเอาวัตถุชิ้นเล็ก ๆ ขึ้นไปเหน็บไว้บนหญ้าหลังกุฏิ แล้วกลับมาทำสมาธิอีก พอจิตสงบและตัวเริ่มลอยขึ้นไปอีก ท่านพยายามประคองจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่ท่านนำขึ้นไปเหน็บไว้ แล้วค่อย ๆ เอื้อมมือจับด้วยความมีสติ แล้วนำวัตถุนั้นลงมาโดยทางสมาธิภาวนา คือพอหยิบได้วัตถุนั้นแล้วก็ค่อย ๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อย ๆ ลงมาจนถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนออกจากสมาธิจริง ๆ เมื่อได้ทดลองจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงเชื่อตัวเองว่าตัวท่านลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิในบางครั้ง แต่มิได้ลอยขึ้นเสมอไป นี้เป็นจริตนิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ รู้สึกผิดกับนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่มากในปฏิปทาทางใจ
จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นไปอย่างเรียบ ๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่าง ๆ และความรู้แปลก ๆ เหมือนจิตท่านพระอาจารย์มั่น

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:16
จิตหลวงปู่มั่นเป็นจิตที่โลดโผนมาก

ท่านพระอาจารย์มั่นเล่าให้ฟังว่า
ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้ท่านว่า จิตท่านเป็นจิตที่โลดโผนมาก รู้อะไรขึ้นมาแต่ละครั้งมันไม่พอดีเลย เดี๋ยวจะเหาะเหินเดินฟ้า เดี๋ยวจะดำดิน เดี๋ยวจะดำน้ำข้ามทะเลนั้น ท่านว่าเป็นความจริงดังที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ตำหนิ เพราะจิตท่านเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เวลารวมสงบลงแต่ละครั้ง แม้แต่ขั้นเริ่มแรกบำเพ็ญยังออกเที่ยวรู้เห็นอะไรต่าง ๆ ทั้งที่ท่านไม่เคยคาดฝันว่าจะเป็นได้เช่นนั้น เช่น ออกรู้เห็นคนตายต่อหน้าและเพ่งพิจารณาจนคนตายนั้นกลายเป็นวงแก้ว และเกิดความรู้ความเห็นแตกแขนงออกไปไม่มีสิ้นสุด ดังที่เขียนไว้ในเบื้องต้น
เวลาปฏิบัติที่เข้าใจว่าถูกทางแล้ว ขณะที่จิตรวมสงบตัวลงก็ยังอดจะออกรู้สิ่งต่าง ๆ มิได้ บางทีตัวเหาะลอยขึ้นไปบนอากาศและเที่ยวชมสวรรค์วิมาน กว่าจะลงมาก็กินเวลาหลายชั่วโมง และมุดลงไปใต้ดินค้นดูนรกหลุมต่าง ๆ และปลงธรรมสังเวชกับพวกสัตว์นรกที่มีกรรมต่าง ๆ กันเสวยวิบากทุกข์ของตน ๆ อยู่ จนลืมเวล่ำเวลาไปก็มี เพราะเวลานั้นยังไม่แน่ว่าจะเป็นความจริงเพียงไร
เรื่องทำนองนี้ท่านว่าจะพิจารณาต่อเมื่อจิตมีความชำนาญแล้ว จึงจะรู้เหตุผลผิด-ถูก ดี-ชั่วได้อย่างชัดเจนและอย่างแม่นยำ พอเผลอนิดขณะที่จิตรวมลงและพักอยู่ ก็มีทางออกไปรู้กับสิ่งภายนอกอีกจนได้ แม้เวลามีความชำนาญและรู้วิธีปฏิบัติได้ดีพอสมควรแล้ว ถ้าปล่อยให้ออกรู้สิ่งต่าง ๆ จิตย่อมจะออกรู้อย่างรวดเร็ว
ระยะเริ่มแรกที่ท่านยังไม่เข้าใจและชำนาญต่อการเข้าออกของจิต ซึ่งมีนิสัยชอบออกรู้สิ่งต่าง ๆ นั้น ท่านเล่าว่า เวลาบังคับจิตให้พิจารณาลงในร่างกายส่วนล่าง แทนที่จิตจะรู้ลงไปตามร่างกายส่วนต่าง ๆ จนถึงพื้นเท้า แต่จิตกลับพุ่งตัวเลยร่างกายส่วนต่ำลงไปใต้ดินและทะลุดินลงไปใต้พื้นพิภพ ดังท่านพระอาจารย์เสาร์ว่าให้จริง ๆ พอรีบฉุดย้อนคืนมาสู่กายก็กลับพุ่งขึ้นไปบนอากาศ แล้วเดินจงกรมไป-มาอยู่บนอากาศอย่างสบาย ไม่สนใจว่าจะลงมาสู่ร่างกายเลย ต้องใช้สติบังคับอย่างเข้มแข็งถึงจะยอมลงมาเข้าสู่ร่างกายและทำงานตามคำสั่ง

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:16
การรวมสงบตัวลงในระยะนั้นก็รวมลงอย่างรวดเร็วเหมือนคนตกเหวตกบ่อจนสติตามไม่ทัน และอยู่ได้เพียงขณะเดียวก็ถอนออกมาขั้นอุปจาระแล้วออกรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่มีประมาณ รู้สึกรำคาญต่อความรู้ความเห็นของจิตประเภทนี้อย่างมากมาย
ถ้าจะบังคับไม่ให้ออกและไม่ให้รู้ก็ไม่มีอุบายปัญญาจะบังคับได้ เพราะจิตมีความรวดเร็วเกินกว่าสติปัญญาจะตามรู้ทัน จึงทำให้หนักใจและกระวนกระวายในบางครั้ง แบบคิดไม่ออกบอกใครไม่ได้เพราะเป็นเรื่องภายใน ต้องใช้การทดสอบด้วยสติปัญญาอย่างเข้มงวดกวดขัน กว่าจะรู้วิธีปฏิบัติต่อจิตดวงผาดโผนในการออกรู้สิ่งต่าง ๆ ไม่มีประมาณนี้ ก็นับว่าเป็นทุกข์เอาการอยู่ แต่เวลารู้วิธีปฏิบัติรักษาแล้ว รู้สึกว่าคล่องแคล่วว่องไว และได้ผลกว้างขวางทั้งรวดเร็วทันใจต่อภายในภายนอก เวลามีสติปัญญารู้เท่าทันจนกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว จิตดวงนี้จึงกลายเป็นแก้วสารพัดนึกขึ้นมา เพราะทันกับเหตุการณ์ที่เกิดกับตนไม่มีขอบเขต
พระอาจารย์มั่นท่านมีนิสัยองอาจกล้าหาญและฉลาดแหลมคม อุบายวิธีฝึกทรมานตนก็ผิดกับผู้อื่นอยู่มาก ยากที่จะยึดได้ตามแบบฉบับของท่านจริง ๆ ผู้เขียนอยากจะพูดให้สมใจที่เฝ้าดูท่านตลอดมาว่า ท่านเป็นนิสัยอาชาไนย ใจว่องไวและผาดโผน การฝึกทรมานก็เด็ดเดี่ยว เฉียบขาดเท่าเทียมกัน อุบายฝึกทรมานมีชนิดแปลก ๆ แยบคาย ทั้งวิธีขู่เข็ญและปลอบโยนตามเหตุการณ์ที่ควรแก่จิตดวงมีเชาวน์เร็วแกมพยศ ซึ่งคอยแต่จะนำเรื่องเข้ามาทับถมโจมตีเจ้าของอยู่ทุกขณะที่เผลอตัว
ท่านเล่าว่า เรื่องที่ทำให้ท่านได้รับความลำบากหนักใจเหล่านี้ เพราะไม่มีผู้คอยให้อุบายแนะนำนั่นเอง พยายามตะเกียกตะกายปลุกปล้ำใจดวงพยศโดยลำพังคนเดียว แบบเอาหัวชนภูเขาทั้งลูกเอาเลย ไม่มีอุบายต่าง ๆ ที่แน่ใจมาจากครูอาจารย์บ้างเลย พอเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนเหมือนผู้อื่นท่านทำกัน ทั้งนี้ท่านพูดเพื่อตักเตือนบรรดาลูกศิษย์ที่มารับการศึกษากับท่านไม่ให้ประมาทนอนใจ เวลาเกิดอะไรขึ้นมาจากสมาธิภาวนาท่านจะได้ช่วยชี้แจง ไม่ต้องเสียเวลาไปนานดังที่ท่านเคยเป็นมาแล้ว

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:16
หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ปฏิบัติเบื้องต้น

เวลาท่านออกปฏิบัติเบื้องต้น ท่านว่าท่านไปทางจังหวัดนครพนมและข้ามไปเที่ยวทางฝั่งแม่น้ำโขง บำเพ็ญสมณธรรมอยู่แถบท่าแขก ตามป่าและภูเขา ท่านได้รับความสงบสุขทางใจมากพอควรในป่าและภูเขาแถบนั้น ท่านเล่าว่า มีสัตว์เสือชุกชุมมาก เฉพาะเสือทางฝั่งโน้นรู้สึกดุร้ายกว่าเสือทางเมืองไทยเราอยู่มากเป็นพิเศษ เนื่องจากเสือทางฝั่งโน้นเคยดักซุ่มกัดกินคนญวนอยู่เสมอมิได้ขาด มีข่าวอยู่บ่อย ๆ แต่คนญวนไม่ค่อยกลัวเสือมากเหมือนคนลาวและคนไทยเรานัก และไม่ค่อยเข็ดหลาบและกลัวเสืออยู่นานทั้ง ๆ ที่เคยเห็นเสือกัดและกินคนอยู่เสมอ และเห็นมันโดดมากัดเอาเพื่อนที่ไปป่าด้วยกันไปกินต่อหน้าต่อตาอย่างวันนี้ แต่พอวันหลังคนญวนยังกล้าพากันเข้าไปป่าที่มีเสือชุมเพื่อหาอยู่หากินได้อีกอย่างธรรมดา ไม่ตื่นเต้นตกใจกลัวและเล่าลือกันเหมือนคนลาวและคนไทยเรา ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะความเคยชินของเขาก็เป็นได้
ท่านเล่าว่า คนญวนนี้แปลกอยู่อย่างหนึ่ง เวลาเห็นเสือโดดมากัดเพื่อนที่ไปด้วยกันหลายคนไปกินก็ไม่มีใครที่จะช่วยเหลือกันด้วยวิธีต่าง ๆ บ้างเลย ต่างคนต่างวิ่งหนีเอาตัวรอด ไม่สนใจในการช่วยเหลือ เวลาไปนอนค้างคืนในป่าหลายคนด้วยกัน ตกกลางคืนถูกเสือโดดมากัดและคาบเอาเพื่อนคนใดคนหนึ่งไปกิน พวกที่นอนอยู่ด้วยกันได้ยินเสียงตกใจตื่นขึ้น เห็นเหตุการณ์แล้ว ต่างก็วิ่งหนีไปหาที่นอนใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณนั้นเอง ความรู้สึกเขาเหมือนเด็ก ๆ ในเรื่องเช่นนี้ ไม่มีความคิดอ่านใด ๆ ที่แยบคายไปกว่านี้เลย ทำเหมือนเสือโคร่งใหญ่ทั้งตัวที่เคยกินคนมาแล้วอย่างชำนาญไม่มีหูไม่มีตาและไม่มีหัวใจเอาเลย
เรื่องคนพรรค์นี้ ผู้เขียนเองก็พอรู้เรื่องที่เขาไม่ค่อยกลัวเสือมาบ้างพอควร คือเวลาเขามาพักอาศัยในบ้านเมืองเราที่เป็นป่ารกชัฏและมีสัตว์เสือชุกชุม เวลาเขาพากันไปนอนค้างคืนเลื่อยไม้อยู่ในป่าลึก ซึ่งอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากและมีเสือชุม เขาไม่เห็นแสดงอาการหวาดกลัวบ้างเลย แม้เขาจะนอนอยู่ด้วยกันหลายคนหรือคนเดียว เขาก็นอนได้อย่างสบายไม่กลัวอะไร ถ้าเขาต้องการจะเข้ามาในหมู่บ้านเวลาค่ำคืนเขาก็มาได้ ไม่ต้องหาเพื่อนฝูงมาด้วย อยากกลับไปที่พักเวลาใดก็กลับไปได้ เวลาถูกถามว่าไม่กลัวเสือบ้างหรือ? เขาก็ตอบว่า ไม่กลัว เพราะเสือเมืองไทยไม่กินคนและยิ่งกลัวคนด้วยซ้ำ ไม่เหมือนเสือเมืองเขาซึ่งมีแต่ตัวใหญ่ ๆ และชอบกินคนแทบทั้งนั้น
เมืองเขาบางแห่งเวลาเข้าป่าต้องทำคอกนอนเหมือนคอกหมู ไม่เช่นนั้นเสือมาเอาไปกิน ไม่ได้กลับบ้าน แม้บางหมู่บ้านที่เสือดุมาก เวลากลางคืนผู้คนออกมานอกบ้านเรือนไม่ได้ เสือโดดมาเอาไปกินเลยไม่มีเหลือ เขายังกลับว่าให้เราอีกด้วยว่า คนไทยขี้กลัวมาก จะไปป่าก็แห่แหนกันไปไม่กล้าไปคนเดียว ที่ท่านพระอาจารย์มั่นว่าคนญวนไม่ค่อยกลัวเสือนั้นคงจะเป็นในทำนองนี้ก็ได้ เวลาท่านไปพักอยู่ที่นั้นก็ไม่ค่อยเห็นเสือมารบกวน เห็นแต่รอยมันเดินผ่านไปมาและส่งเสียงร้องครางไปตามภาษาของสัตว์ที่มีปาก และร้องครวญครางได้เท่านั้นในบางคืน แต่เขาร้อง มิได้คำรามให้เรากลัวหรือแสดงท่าทางจะกัดกินเป็นอาหาร
เฉพาะองค์ท่านเองรู้สึกจะไม่ค่อยสนใจกับความกลัวสัตว์เสืออะไร มากไปกว่าความกลัวจะไม่หลุดพ้นจากกองทุกข์ ถึงบรมสุขคือพระนิพพานในชาตินี้ ทั้งนี้ทราบจากท่านเล่าถึงการข้ามไปฝั่งแม่น้ำโขงฟากโน้นและข้ามมาฝั่งฟากนี้ เพื่อการบำเพ็ญเพียรอย่างเอาจริงเอาจัง ทำให้เห็นว่าท่านถือเป็นธรรมดาในการไป-มา เพราะไม่เห็นท่านนำเรื่องความกลัวของท่านมาเล่าให้ฟัง

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:17
ถ้าเป็นผู้เขียนไปเจอเอาที่เช่นนั้นเข้าบ้าง น่ากลัวชาวบ้านแถบนั้นจะพากันกลายเป็นตำรวจรักษาพระธุดงค์ขี้ขลาดไม่เป็นท่ากันทั้งบ้านโดยไม่ต้องสงสัย เพียงได้ยินเสียงเสือกระหึ่มในบางครั้งยังชักใจไม่ดี เดินจงกรมก็ยังถอยหน้าถอยหลังก้าวขาไม่ค่อยออก และเดินไม่ถึงที่สุดทางจงกรมอยู่แล้ว เผื่อไปเจอเอาเรื่องดังที่ว่านั้น จึงน่ากลัวธรรมแตกมากกว่าสิ่งอื่น ๆ จะแตก เพราะนับแต่วันรู้ความมา พ่อแม่และชาวบ้านก็เคยพูดกันทั่วแผ่นดินว่าเสือเป็นสัตว์ดุร้าย ซึ่งเป็นเรื่องฝังใจจนถอนไม่ขึ้นตลอดมา จะไม่ให้กลัวนั้นสำหรับผู้เขียนจึงเป็นไปไม่ได้เอาเลย และยอมสารภาพตลอดไป ไม่มีทางต่อสู้เมื่อจิตมีกำลังพอบ้างแล้ว ก็เที่ยวจาริกลงไปทางภาคกลาง

         พระอาจารย์มั่นท่านได้เที่ยวจาริกไปตามจังหวัดต่าง ๆ มีนครพนม เป็นต้น ทางภาคอีสานนานพอสมควรสมัยออกปฏิบัติเบื้องต้น จนจิตมีกำลังพอต้านทานอารมณ์ภายในที่เคยผาดโผนมาประจำใจและอารมณ์ภายนอกได้บ้างแล้ว ก็เที่ยวจาริกลงไปทางภาคกลาง จำพรรษาที่วัดปทุมวัน พระนครฯ ระยะที่จำพรรษาอยู่วัดปทุมวันก็ได้พยายามมาศึกษาอบรมอุบายปัญญาเพิ่มเติมกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท) ที่วัดบรมนิวาสมิได้ขาด
พอออกพรรษาแล้ว ท่านก็ออกเที่ยวจาริกไปทางจังหวัดลพบุรี พักอยู่ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงโตบ้าง ขณะที่พักอยู่ได้มีโอกาสเร่งความเพียรเต็มกำลังไม่ขาดวรรคขาดตอน ใจรู้สึกมีความอาจหาญต่อตนเองและมีสิ่งเกี่ยวข้องต่าง ๆ ไม่พรั่นพรึงอย่างง่ายดาย สมาธิก็มั่นคง อุบายปัญญาก็เกิดขึ้นเรื่อย ๆ มองเห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นอรรถเป็นธรรมไปโดยลำดับ เวลามีโอกาสก็เข้าไปกราบนมัสการและเล่าธรรมะถวาย และเรียนถามปัญหาข้อข้องใจเกี่ยวกับอุบายปัญญากับท่านเจ้าคุณอุบาลี วัดบรมนิวาส ท่านก็ได้รับอธิบายวิธีพิจารณาปัญญาเพิ่มเติมให้จนเป็นที่พอใจ แล้วกราบลาท่านไปเที่ยววิเวกทางถ้ำสาริกา เขาใหญ่ จังหวัดนครนายก

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:17
หลวงปู่มั่นธุดงค์ขึ้นเขาสาริกา

ท่านเล่าว่า เวลาพักอยู่ถ้ำสาริกา ๓ ปี ได้ประสบเหตุการณ์ต่าง ๆ หลายประการทั้งภายในและภายนอก แทบตลอดเวลาที่พักอยู่ จนเป็นที่สะดุดและฝังใจตลอดมา คือ
ขณะที่ท่านไปถึงหมู่บ้าน ถ้าจำไม่ผิดชื่อว่า “บ้านกล้วย” ที่อยู่ใกล้กับถ้ำมากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ พอโคจรบิณฑบาตถึงสะดวก ท่านขอวานให้ชาวบ้านนั้นไปส่งที่ถ้ำดังกล่าว เพราะไม่เคยไปไม่รู้หนทาง ชาวบ้านก็เล่าเรื่องฤทธิ์เดชต่าง ๆ ของถ้ำนั้นให้ท่านฟังว่า เป็นถ้ำที่สำคัญอยู่มาก พระไม่ดีจริง ๆ ไปอยู่ไม่ได้ ต้องเกิดเจ็บป่วยต่าง ๆ และตายกันแทบไม่มีเหลือหลอลงมา เพราะถ้ำนี้มีผีหลวงรูปร่างใหญ่และมีฤทธิ์มากรักษาอยู่ ผีตัวนี้ดุร้ายมาก ไม่เลือกพระเลือกใคร ถ้าไปอยู่ถ้ำนั้นต้องมีอันเป็นไปอย่างคาดไม่ถึงและตายกันจริง ๆ ยิ่งพระองค์ใดที่อวดตัวว่ามีวิชาอาคมขลัง ๆ เก่ง ๆ ไม่กลัวผีแล้ว ผียิ่งชอบทดลอง พระองค์นั้นต้องเกิดเจ็บขึ้นมาอย่างกะทันหัน และตายเร็วกว่าปกติธรรมดาที่ควรจะเป็น
ชาวบ้านพร้อมกันนิมนต์วิงวอนไม่อยากให้ท่านขึ้นไปอยู่ เพราะกลัวท่านจะตายเหมือนพระทั้งหลายที่เคยเป็นมาแล้ว
ท่านสงสัยจึงถามเขาว่า ที่ว่าถ้ำมีฤทธิ์เดชต่าง ๆ และมีผีใหญ่ดุนั้นมันเป็นอย่างไร อาตมาอยากทราบบ้าง
เขาบอกกับท่านว่า เวลาพระหรือฆราวาสขึ้นไปพักถ้ำนั้น โดยมากเพียงคืนแรกก็เริ่มเห็นฤทธิ์บ้างแล้ว คือเวลานอนหลับไปจะต้องมีการละเมอเพ้อฝันไปต่าง ๆ โดยมีผีรูปร่างดำใหญ่โตและสูงมากมาหา และจะเอาตัวไปบ้าง จะมาฆ่าบ้าง โดยบอกว่าเขาเป็นผู้รักษาถ้ำนี้มานานแล้วและเป็นผู้มีอำนาจแต่ผู้เดียวในเขตแขวงนั้น ไม่ยอมให้ใครมารุกล้ำกล้ำกรายได้ เขาต้องปราบปรามหรือกำจัดให้เห็นฤทธิ์ทันที ไม่ยอมให้ใครมีอำนาจเก่งกาจยิ่งกว่าเขาไปได้ นอกจากผู้มีศีลธรรมอันดีงามและมีเมตตาจิตคิดเผื่อแผ่กุศลแก่บรรดาสัตว์ ไม่เป็นผู้คับแคบใจดำและต่ำทรามทางความประพฤติเท่านั้น เขาถึงจะยินยอมให้อยู่ได้ และเขาจะให้ความอารักขาด้วยดี พร้อมทั้งความเคารพรักและนับถือดังนี้
ส่วนพระโดยมากที่ไปอยู่กันไม่ค่อยมีความผาสุกและอยู่ไม่ได้นาน ต้องรีบลงมา หรือต้องตาย เท่าที่เห็นมาก็เป็นทำนองนี้จริง ๆ ใครไปอยู่ไม่ค่อยจะได้ เพียงคืนเดียวหรือสองคืนก็เห็นรีบลงมาด้วยท่าทางที่น่ากลัวหรือตัวสั่นแทบไม่มีสติอยู่กับตัว และพูดเรื่องผีดุออกมาโดยที่ยังไม่มีใครถามเลย แล้วก็รีบหนีไปด้วยความกลัวและเข็ดหลาบ ไม่คิดว่าจะกลับคืนมาถ้ำนี้อีกได้เลย ยิ่งกว่านั้น ขึ้นไปแล้วก็อยู่ที่นั้นเลย ไม่มีวันกลับลงมาเห็นหน้ามนุษย์มนาอีกต่อไปเลยท่าน ฉะนั้น จึงไม่อยากให้ท่านขึ้นไป กลัวว่าจะอยู่ที่นั้นเลย
ท่านพระอาจารย์จึงถามว่า ที่ว่าขึ้นไปอยู่เลยไม่ลงมาเห็นหน้ามนุษย์นั้น ขึ้นไปอย่างไรกัน ถึงไม่ยอมลงมา

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:18
เขาบอกว่า ตายเลยท่าน จึงไม่มีทางที่จะลงมาได้ เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีพระมาตายอยู่ในถ้ำนี้ตั้ง ๔ องค์ ล้วนมีแต่พระองค์เก่ง ๆ ทั้งนั้น เท่าที่พวกกระผมทราบจากพระท่านพูดให้ฟังว่า เรื่องผีท่านบอกว่าไม่กลัว เพราะท่านมีคาถากันผีและปราบผี ตลอดคาถาอื่น ๆ อีกเยอะแยะ ผีเข้าไม่ถึงท่าน เมื่อชาวบ้านบอกเรื่องราวของถ้ำและผีดุให้ท่านฟัง เพราะไม่อยากให้ท่านขึ้นไป แต่ท่านกลับบอกว่าไม่กลัว และให้ญาติโยมพาท่านส่งขึ้นไปที่ถ้ำ ชาวบ้านจำต้องไปส่งท่านไปอยู่ที่นั้น เมื่อไปอยู่แล้วทำให้เป็นต่าง ๆ มีเจ็บไข้บ้าง ปวดศีรษะบ้าง เจ็บท้องขึ้นมาอย่างสด ๆ ร้อน ๆ บ้าง เวลานอนหลับเกิดละเมอเพ้อฝันไปว่ามีคนจะมาเอาตัวไปบ้าง จะมาฆ่าบ้าง
แม้พระที่ขึ้นไปอยู่ในถ้ำนั้นมิได้ไปพร้อมกัน ต่างองค์ต่างไปคนละวันก็ตาม แต่อาการที่เป็นขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกัน บางองค์ก็ตายอยู่ในถ้ำนั้น บางองค์ก็รีบลงจากถ้ำหนีไป พระที่มาตายอยู่ในถ้ำนี้ ๔ องค์ ในระยะเวลาไม่ห่างกันเลย แต่ท่านจะตายด้วยผีดุหรือตายด้วยอะไร ทางชาวบ้านก็ไม่ทราบได้ แต่เท่าที่เคยสังเกตมาถ้ำนี้รู้สึกแรงมากอยู่ และเคยเป็นมาอย่างนี้เสมอมา ชาวบ้านแถบนี้กลัวกันไม่กล้าไปทะลึ่งอวดดีแต่ไหนแต่ไรมา กลัวจะถูกหามกันลงมาโดยอาการร่อแร่บ้าง โดยเป็นศพที่ตายแล้วบ้าง
ท่านถามชาวบ้านว่า เหตุการณ์ดังที่ว่า นี้เคยมีมาบ้างแล้วหรือ
เขาเรียนท่านว่า เคยมีจนชาวบ้านทราบอย่างฝังใจและกลัวกันทั้งบ้าน ทั้งรีบบอกกับพระหรือใคร ๆ ที่มาถ้ำนี้เพื่อต้องการของดี เช่น เหล็กไหลหรือพระศักดิ์สิทธิ์อะไรต่าง ๆ ซึ่งอาจมีหรือไม่มีก็ตาม แต่บางคนก็ชอบประกาศโฆษณาว่ามี ดังนั้น จึงมักมีพระและคนที่ชอบทางนี้มากันเสมอ แต่ก็ไม่เห็นได้อะไรติดตัวไป นอกจากตายหรือรอดตายไปเท่านั้น เฉพาะชาวบ้านนี้ไม่ปรากฏว่ามีใครเคยไปเห็นเหล็กไหลหรือของดีอย่างอื่น ๆ ในถ้ำนี้เลย เรื่องก็เป็นดังที่เล่ามานี้ จึงไม่อยากให้ท่านขึ้นไป กลัวจะไม่ปลอดภัยดังที่เห็น ๆ มา
พอชาวบ้านเล่าเรื่องจบลง ท่านพระอาจารย์ยังไม่หายสงสัยในความอยากไปชมถ้ำนั้น ท่านอยากขึ้นไปทดลองดู จะเป็นจะตายอย่างไรก็ขอให้ทราบด้วยตนเองจะเป็นที่แน่ใจกว่าคำบอกเล่า แม้เขาจะเล่าเรื่องผีซึ่งเป็นที่น่ากลัวให้ฟังก็ตาม แต่ใจท่านมิได้มีความสะดุ้งหวาดเสียวไปตามแม้นิดหนึ่งเลย ยิ่งเห็นเป็นเครื่องเตือนสติให้ได้ข้อคิดมากมายยิ่งขึ้น และมีความอาจหาญที่จะเผชิญต่อเหตุการณ์อยู่ทุกขณะจิต สมกับเป็นผู้มุ่งแสวงหาความจริงอย่างแท้จริง
ท่านจึงพูดกับชาวบ้านเป็นเชิงถ่อมตนว่า เรื่องนี้เป็นที่น่ากลัวจริง ๆ แต่อาตมาคิดอยากไปชมถ้ำสักชั่วระยะหนึ่ง หากเห็นท่าไม่ดีจะรีบลงมา จึงขอความกรุณาโยมไปส่งอาตมาขึ้นไปอยู่ถ้ำนี้สักพักหนึ่งเถิด เพราะยังไม่หายสงสัยที่อยากชมถ้ำนี้มานานแล้ว
ฝ่ายชาวบ้านก็พากันตามส่งท่านขึ้นถ้ำตามความประสงค์

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:18
หลวงปู่มั่นผจญยักษ์มิจฉาทิฏฐิ

ขณะที่พักอยู่ในถ้ำนั้น ในระยะแรก ๆ รู้สึกว่าธาตุขันธ์ทุกส่วนปกติดี จิตใจก็สงบเยือกเย็น เพราะเงียบสงัดมาก ไม่มีอะไรมาพลุกพล่านก่อกวน นอกจากเสียงสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ ที่พากันเที่ยวหากินตามภาษาเขาเท่านั้น ท่านรู้สึกเย็นกายเย็นใจใน ๒-๓ คืนแรก พอคืนต่อไป โรคเจ็บท้องที่เคยเป็นมาประจำขันธ์ก็ชักจะกำเริบ และมีอาการรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ จนถึงขั้นหนักมาก บางครั้งเวลาไปส้วมถึงกับถ่ายเป็นเลือดออกมาอย่างสด ๆ ร้อน ๆ ก็มี ฉันอะไรเข้าแล้วไม่ยอมย่อยเอาเลย เข้าไปอย่างไรก็ส้วมออกมาอย่างนั้น ทำให้ท่านคิดวิตกถึงคำพูดของชาวบ้านที่ว่ามีพระมาตายที่นี่ ๔ องค์ เราอาจเป็นองค์ที่ ๕ ก็ได้ ถ้าไม่หาย
เวลามีโยมขึ้นไปถ้ำตอนเช้า ท่านก็พาโยมไปเที่ยวหายาที่เคยได้ผลมาแล้ว มาต้มฉันบ้าง ฝนใส่น้ำฉันบ้าง เท่าที่ทราบเป็นยาประเภทรากไม้แก่นไม้ แต่ฉันยาประเภทใดลงไปก็ไม่ปรากฏว่าได้ผล โรคนับวันรุนแรงขึ้นทุกวัน กำลังกายก็อ่อนเพลียมาก กำลังใจก็ปรากฏว่าลดลงผิดปกติ แม้ไม่มากก็พอให้ทราบได้อย่างชัดเจน
ขณะที่นั่งฉันยาได้นึกวิตกขึ้นมาเป็นเชิงเตือนตนให้ได้สติ และปลุกใจให้กลับมีกำลังเข้มแข็งขึ้นมาว่า ยาที่เราฉันอยู่ขณะนี้ ถ้าเป็นยาช่วยระงับโรคได้จริง ก็ควรจะเห็นผลบ้างแม้ไม่มาก เพราะฉันยามาหลายเวลาแล้ว แต่โรคก็นับวันกำเริบ หากยามีทางระงับได้บ้างทำไมโรคจึงไม่สงบ เห็นท่ายานี้จะมิใช่ยาเพื่อระงับบำบัดโรคเหมือนแต่ก่อนเสียกระมัง แต่อาจเป็นยาประเภทช่วยส่งเสริมโรคให้กำเริบแน่นอนสำหรับคราวนี้ โรคจึงนับวันกำเริบขึ้นเป็นลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะพยายามฉันไปเพื่อประโยชน์อะไร
พอได้สติจากความวิตกวิจารณ์ที่ผุดขึ้นมาในขณะนั้นแล้ว ท่านก็ตัดสินใจและบอกกับตัวเองทันทีว่า นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป เราจะระงับโรคพรรค์นี้ด้วยยาคือธรรมโอสถเท่านั้น จะหายก็หาย จะตายก็ตาย เมื่อสุดกำลังความสามารถในการเยียวยาทุกวิถีทางแล้ว ยาที่เคยนำมารักษานั้นจะงดไว้จนกว่าโรคนี้จะหายด้วยธรรมโอสถ หรือจนกว่าจะตายในถ้ำนี้ จะยังไม่ฉันยาชนิดใด ๆ ในระยะนี้
แล้วก็เตือนตนว่า เราจะเป็นพระทั้งองค์ที่ได้ปฏิบัติบำเพ็ญทางใจมาพอสมควรจนเห็นผลและแน่ใจต่อทางดำเนินเพื่อมรรคผลนิพพานมาเป็นลำดับ ซึ่งควรถือเป็นหลักยึดของใจได้พอประมาณอยู่แล้ว ทำไมจะขี้ขลาดอ่อนแอในเวลาเกิดทุกขเวทนาเพียงเท่านี้ ก็เพียงทุกข์เกิดขึ้นเพราะโรคเป็นสาเหตุเพียงเล็กน้อยเท่านี้ เรายังสู้ไม่ไหว กลายเป็นผู้อ่อนแอ กลายเป็นผู้พ่ายแพ้อย่างยับเยินเสียแต่บัดนี้แล้ว เมื่อถึงคราวจวนตัวจะชิงชัยเพื่อเอาแพ้เอาชนะกันจริง ๆ คือ เวลาขันธ์จะแตก ธาตุจะสลาย ทุกข์ยิ่งจะโหมกันมาทับธาตุขันธ์และจิตใจจนไม่มีที่ปลงวาง เราจะเอากำลังจากที่ไหนมาต่อสู้เพื่อเอาตัวรอดไปได้โดยสุคโต ไม่เสียท่าเสียทีในสงครามล้างขันธ์เล่า?
พอท่านทำความเข้าใจกับตนเองอย่างแน่ใจและมั่นใจแล้ว ก็หยุดจากฉันยาในเวลานั้นทันที และเริ่มทำสมาธิภาวนา เพื่อเป็นโอสถบำบัดบรรเทาจิตใจและธาตุขันธ์ต่อไปอย่างหนักแน่น ทอดความอาลัยเสียดายในชีวิตธาตุขันธ์ ปล่อยให้เป็นไปตามคติธรรมดา ทำหน้าที่ห้ำหั่นจิตดวงไม่เคยตาย แต่มีความตายประจำนิสัยลงไปอย่างเต็มกำลังสติปัญญาศรัทธาความเพียรที่เคยอบรมมา โดยมิได้สนใจคำนึงต่อโรคที่กำลังกำเริบอยู่ภายใน ว่าจะหายหรือจะตายไปขณะใดในเวลานั้น หยั่งสติปัญญาลงในทุกขเวทนา แยกแยะส่วนต่าง ๆ ของธาตุขันธ์ออกพิจารณาด้วยปัญญาไม่ลดละ คือ ยกทั้งส่วนรูปกาย ทั้งส่วนเวทนา คือ ทุกข์ภายใน ทั้งส่วนสัญญา ที่หมายกายส่วนต่าง ๆ ว่าเป็นทุกข์ ทั้งส่วนสังขารตัวปรุงแต่งว่าส่วนนี้เป็นทุกข์ ส่วนนั้นเป็นทุกข์ ขึ้นสู่เป้าหมายแห่งการพิจารณาของสติปัญญาผู้ดำเนินงาน ทำการขุดค้นคลี่คลายอย่างไม่หยุดยั้ง แต่เวลาพลบค่ำถึงเที่ยงคืน คือ ๒๔.๐๐ นาฬิกา จึงลงเอยกันได้ จิตมีกำลังขึ้นมาอย่างประจักษ์ สามารถคลี่คลายธาตุขันธ์จนรู้แจ้งตลอดทั่วถึงทุกขเวทนาที่กำลังกำเริบขึ้นอย่างเต็มที่จากโรคในท้อง โรคก็ระงับดับลงอย่างสนิท จิตรวมลงถึงที่ในขณะนั้น

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:18
ขณะนั้นโรคก็ดับ ทุกข์ก็ดับ ความฟุ้งซ่านของใจก็ดับ พอจิตรวมสงบลงถึงที่แล้ว ถอนออกมาขั้นอุปจารสมาธิแล้ว จิตสว่างออกไปนอกกาย ปรากฏเห็นบุรุษผู้หนึ่งมีร่างใหญ่ดำและสูงมากราว ๑๐ เมตร ถือตะบองเหล็กใหญ่เท่าขา ยาวราว ๒ วา เดินเข้ามาหา และบอกกับท่านว่า
“จะทุบตีท่านให้จมลงไปในดิน ถ้าไม่หนีจะฆ่าให้ตายในบัดเดี๋ยวใจ”
ตามที่ผีบอกกับท่านว่า “ตะบองเหล็กที่เขาแบกอยู่บนบ่านั้น ตีช้างสารใหญ่ตัวหนึ่งเพียงหนเดียวเท่านั้น ช้างสารต้องจมลงไปในดินแบบจมมิดเลย โดยไม่ต้องตีซ้ำอีก”
ท่านกำหนดจิตถามผีร่างยักษ์นั้นว่า “จะมาตีและฆ่าอาตมาทำไม อาตมามีความผิดอะไรบ้างถึงจะต้องถูกตีถูกฆ่าเล่า? การมาอยู่ที่นี้มิได้มากดขี่ข่มเหงหรือเบียดเบียนใครให้เดือดร้อน พอจะถูกใส่กรรมทำโทษถึงขนาดตีและฆ่าให้ถึงตายเช่นนี้”
เขาบอกว่า เขาเป็นผู้มีอำนาจรักษาภูเขาลูกนี้อยู่นานแล้ว ไม่ยอมให้ใครมาอยู่ครองอำนาจเหนือตนไปได้ ต้องปราบปรามและกำจัดทันที
ท่านตอบว่า “ก็อาตมามิได้มาครองอำนาจบนหัวใจใคร นอกไปจากมาปฏิบัติบำเพ็ญศีลธรรมอันดีงามเพื่อครองอำนาจเหนือกิเลสบาปธรรมบนหัวใจตนเท่านั้น จึงไม่สมควรอย่างยิ่งที่ท่านจะมาเบียดเบียนและทำลายคนเช่นอาตมา ซึ่งเป็นนักบวชทรงศีล และเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าผู้มีใจบริสุทธิ์ และมีอำนาจในทางเมตตาครอบไตรโลกธาตุ ไม่มีใครเสมอเหมือน”
ท่านซักถามและเทศน์ให้ผีร่างยักษ์ฟังเสียใหญ่ในขณะนั้น ว่า “ถ้าท่านเป็นผู้มีอำนาจเก่งจริงดังที่อวดอ้างแล้ว ท่านมีอำนาจเหนือกรรมและเหนือธรรม อันเป็นกฎใหญ่ปกครองมวลสัตว์ในไตรภพด้วยหรือเปล่า?”
เขาตอบว่า”เปล่า”
ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าท่านเก่งกล้าสามารถปราบกิเลสตัวที่คอยอวดอำนาจว่า ตัวดี ตัวเก่ง อยู่ภายใน คิดอยากตีอยากฆ่าคนอื่น สัตว์อื่น ให้หมดสิ้นไปจากใจได้ ส่วนท่านที่ว่าเก่ง ได้คิดปราบกิเลสตัวดังกล่าวให้หมดสิ้นไปบ้างหรือยัง
เขาตอบว่า “ยังเลยท่าน”
ท่านว่า ถ้ายัง ท่านก็มีอำนาจไปในทางที่ทำตนให้เป็นคนมืดหนาป่าเถื่อนต่างหาก ซึ่งนับว่าเป็นบาปและเสวยกรรมหนัก แต่ไม่มีอำนาจปราบความชั่วของตัวที่กำลังแผลงฤทธิ์แก่ผู้อื่นอยู่โดยไม่รู้สึกตัวว่าเป็นผู้มีอำนาจแบบก่อไฟเผาตัว และต้องจัดว่ากำลังสร้างกรรมอันหนักมาก
มิหนำยังจะมาตีมาฆ่าคนที่ทรงศีลธรรมอันเป็นหัวใจของโลก ถ้าไม่จัดว่าท่านทำกรรมอันเป็นบาปหยาบช้ายิ่งกว่าคนทั้งหลายแล้ว จะจัดว่าท่านทำความดีที่น่าชมเชยที่ตรงไหน อาตมาเป็นผู้ทรงศีล ทรงธรรมมุ่งมาทำประโยชน์แก่ตนและแก่โลก โดยการประพฤติธรรมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ท่านยังจะมาทุบตีและสังหาร โดยมิได้คำนึงถึงบาปกรรมที่จะฉุดลากท่านลงนรก เสวยกรรมอันเป็นมหันตทุกข์เลย
อาตมารู้สึกสงสารท่านยิ่งกว่าจะอาลัยในชีวิตของตัว เพราะท่านหลงอำนาจของตัวจนถึงกับจะเผาตัวเองทั้งเป็นอยู่ขณะนี้แล้ว อำนาจอันใดบ้างที่ท่านว่ามีอยู่ในตัวท่าน อำนาจอันนั้นจะสามารถต้านทานบาปกรรมอันหนัก ที่ท่านกำลังจะก่อขึ้นเผาผลาญตัวอยู่เวลานี้ได้หรือไม่?

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:18
ท่านว่าเป็นผู้มีอำนาจอันใหญ่หลวงปกครองอยู่ในเขตเขาเหล่านี้ แต่อำนาจนั้นมีฤทธิ์เดชเหนือกรรมและเหนือธรรมไปได้ไหม ถ้าท่านมีอำนาจและมีฤทธิ์เหนือธรรมแล้ว ท่านก็ทุบตีหรือฆ่าอาตมาได้ สำหรับอาตมาเองไม่กลัวความตาย แม้ท่านไม่ฆ่าอาตมาก็ยังจักต้องตายอยู่โดยดีเมื่อกาลของมันมาถึงแล้ว เพราะโลกนี้เป็นอยู่ของมวลสัตว์ผู้เกิดแล้วต้องตายทั่วหน้ากัน แม้ตัวท่านเองที่กำลังอวดตัวว่าเก่งในความมีอำนาจจนกลายเป็นผู้มืดบอดอยู่ขณะนี้ แต่ท่านก็มิได้เก่งกว่าความตายและกฎแห่งกรรมที่ครอบงำสัตว์โลกไปได้
ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นซักถาม และเทศน์สั่งสอนบุรุษลึกลับโดยทางสมาธิอยู่นั้น ท่านเล่าว่า เขายืนตัวแข็ง บ่าแบกตะบองเหล็กเครื่องมือสังหารอยู่เหมือนตุ๊กตาไม่กระดุกกระดิก ไม่ขยับเขยื้อนไปไหนมาไหนเลย ถ้าเป็นคนธรรมดาเรา ก็ทั้งอายทั้งกลัวจนตัวแข็งแทบลืมหายใจ แต่นี่เขาเป็นอมนุษย์พิเศษผู้หนึ่ง จึงไม่ทราบว่าเขามีลมหายใจหรือไม่ แต่อาการทั้งหมดนั้นแสดงให้เห็นชัดว่า เขาทั้งอายทั้งกลัวท่านพระอาจารย์มั่นจนสุดที่จะอดกลั้นได้ แต่เขาก็อดกลั้นได้อย่างน่าชม
ตอนท่านแสดงธรรมจบลง เขาได้ทิ้งตะบองเหล็กจากบ่าอย่างเห็นโทษ และนฤมิตเปลี่ยนภาพจากร่างของบุรุษลึกลับที่มีกายดำสูงใหญ่ มาเป็นสุภาพบุรุษพุทธมามกะผู้อ่อนโยนนิ่มนวลด้วยมรรยาทอัธยาศัย แสดงความเคารพคารวะและกล่าวคำขอโทษท่านอาจารย์ แบบบุคคลผู้เห็นโทษสำนึกในบาปอย่างถึงใจ ซึ่งต่อไปนี้เป็นใจความของเขาที่กล่าวตามความสัตย์จริงต่อท่านพระอาจารย์มั่นว่า
“กระผมรู้สึกแปลกใจและสะดุ้งกลัวท่านแต่เริ่มแรก มองเห็นแสงสว่างที่แปลกและอัศจรรย์มากซึ่งไม่เคยพบเห็นมาก่อน พุ่งจากองค์ท่านมากระทบตัวกระผม ทำให้อ่อนไปหมด แทบไม่อาจแสดงอาการอย่างใดออกมาได้ อวัยวะทุกส่วนตลอดจิตใจอ่อนเพลียไปตาม ๆ กัน ไม่อาจจะทำอะไรได้ด้วยพลการ เพราะมันอ่อนและนิ่มไปด้วยความซาบซึ้งจับใจในความสว่างนั้น ทั้ง ๆ ที่ไม่ทราบว่านั้นคืออะไร เพราะไม่เคยเห็น
เท่าที่แสดงกิริยาคำรามว่าจะทุบตีและฆ่านั้น มิได้ออกมาจากใจจริงแม้แต่น้อยเลย แต่แสดงออกตามความรู้สึกที่เคยฝังใจมานานว่า ตัวเป็นผู้มีอำนาจในหมู่อมนุษย์ด้วยกันและมีอำนาจในหมู่มนุษย์ที่ไม่มีศีลธรรม ชอบรักบาปหาบความชั่วประจำนิสัยต่างหาก อำนาจนี้จะทำอะไรให้ใครเมื่อไรก็ได้ตามต้องการ โดยปราศจากการต้านทานขัดขวาง มานะอันนี้แลพาให้ทำเป็นผู้มีอำนาจ แสดงออกพอไม่ให้เสียลวดลาย ทั้ง ๆ ที่กลัวและใจอ่อน ทำไม่ลง และมิได้ปลงใจว่าจะทำ หากเป็นเพียงแสดงออกพอเป็นกิริยาของผู้เคยมีอำนาจเท่านั้น
กรรมอันไม่งามใด ๆ ที่แสดงออกให้เป็นของน่าเกลียดในวงนักปราชญ์ที่แสดงต่อท่านวันนี้ ขอได้เมตตาอโหสิกรรมแก่กรรมนั้น ๆ ให้กระผมด้วย อย่าต้องให้รับบาปหาบทุกข์ต่อไปเลย เท่าที่เป็นอยู่เวลานี้ก็มีทุกข์อย่างพอตัวอยู่แล้ว ยิ่งจะเพิ่มทุกข์ให้มากกว่านี้ ก็คงเหลือกำลังที่จะทนต่อไปไหว”
ท่านถามเขาว่า “ท่านเป็นผู้ใหญ่มีอำนาจวาสนามาก กายก็เป็นกายทิพย์ไม่ต้องพาหอบหิ้วเดินเหินไปมาให้ลำบากเหมือนมนุษย์ การเป็นอยู่หลับนอนก็ไม่เป็นภาระเหมือนมนุษย์ทั่วโลกที่เป็นกัน แล้วทำไมจึงยังบ่นว่าทุกข์อยู่อีก ถ้าโลกทิพย์ไม่เป็นสุขแล้ว โลกไหนจะเป็นสุขเล่า?”
เขาตอบว่า “ถ้าพูดอย่างผิวเผินและเทียบกับกายมนุษย์ที่หยาบ ๆ พวกกายทิพย์อาจมีความสุขมากกว่าพวกมนุษย์จริง เพราะเป็นภูมิที่ละเอียดกว่ากัน แต่ถ้ากล่าวตามชั้นภูมิแล้ว กายทิพย์ก็ย่อมมีทุกข์ไปตามวิสัยของภูมินั้น ๆ เหมือนกัน”
ระหว่างที่ผีกับพระสนทนากันในตอนนี้ รู้สึกว่าละเอียดและลึกลับ ยากที่ผู้เขียนจะนำมาลงได้ทุกประโยค จึงขออภัยท่านผู้อ่านไว้ด้วยความจนใจ

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:19
สุดท้ายแห่งการสนทนาธรรม ท่านว่าบุรุษลึกลับมีความเคารพเลื่อมใสในธรรมเป็นอย่างยิ่งและปฏิญาณตนถึงพระไตรสรณคมน์ กล่าวอ้างท่านพระอาจารย์เป็นสรณะและเป็นองค์พยานด้วย พร้อมทั้งให้ความอารักขาแก่ท่านเป็นอย่างดี และขอนิมนต์ท่านพักอยู่ที่นี่ให้นาน ๆ ถ้าตามใจเขาแล้วไม่อยากให้ท่านจากไปสู่ที่อื่นตลอดอายุของท่าน เขาจะเป็นผู้คอยดูแลรักษาท่านทุกอิริยาบถ ไม่ให้มีอะไรมาเบียดเบียนหรือรังแกท่านได้เลย

ความจริงแล้วเขามิใช่บุรุษลึกลับและมีร่างกายดำสูงใหญ่ดังที่แสดงภาพต่อท่าน แต่เขาเป็นหัวหน้าแห่งรุกขเทวดา ซึ่งมีบริษัทบริวารมากมายที่อาศัยอยู่ในภูเขาและสถานที่ต่าง ๆ มีเขตอาณาบริเวณกว้างขวางมาก ติดต่อกันหลายจังหวัด มีนครนายก เป็นต้น

นับแต่ขณะจิตท่านสงบลงและระงับโรคจนหายสนิทไม่ปรากฏเลยประมาณเที่ยงคืน กับที่รุกขเทพมาเกี่ยวข้องและสนทนาธรรมกันจนถึงเวลาจากไป และจิตถอนขึ้นมาก็ประมาณ ๔.๐๐ นาฬิกา คือ ๑๐ ทุ่ม โรคที่กำลังกำเริบในขณะที่นั่งทำสมาธิภาวนา พอจิตถอนขึ้นมาปรากฏว่าหายไปโดยสิ้นเชิง ไม่ต้องอาศัยยาอื่นใดรักษาอีกต่อไป โรคหายได้เด็ดขาดด้วยธรรมโอสถทางภาวนาล้วน ๆ จึงเป็นสิ่งที่อัศจรรย์มากสำหรับท่านในคืนวันนั้น พอจิตถอนขึ้นมาแล้ว ท่านทำความเพียรต่อไปมิได้หลับนอนตลอดรุ่ง เมื่อออกจากที่ภาวนาแล้วร่างกายก็ไม่มีการอ่อนเพลีย แต่กลับกระปรี้กระเปร่าขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
คืนวันนั้นท่านได้เห็นความอัศจรรย์หลายอย่าง คือเห็นอานุภาพแห่งธรรมที่สามารถยังเทวดาให้หายพยศและเกิดความเลื่อมใสหนึ่ง จิตรวมสงบลงเป็นเวลาหลายชั่วโมง และเห็นความอัศจรรย์ในขณะที่จิตสงบอยู่ตัวอย่างมีความสุขหนึ่ง โรคที่เคยกำเริบอยู่เสมอจนควรเรียกได้ว่าโรคประเภทเรื้อรังได้หายไปโดยสิ้นเชิงหนึ่ง จิตได้หลักยึดเป็นที่พอใจ หายสงสัยในสิ่งที่เคยเป็นมาหลายชนิดหนึ่ง อาหารที่ฉันลงไปในตอนเช้า แต่วันหลังกลับทำการย่อยตามปกติหนึ่ง ความรู้แปลก ๆ ที่ไม่เคยรู้มาก่อนได้ปรากฏขึ้นมากมาย ทั้งประเภทถอดถอนและประเภทประดับความรู้พิเศษตามวิสัยวาสนาหนึ่ง
ในคืนต่อไป ท่านบำเพ็ญเพียรด้วยความสะดวก และมีความสงบสุขทางใจอย่างบอกไม่ถูก ร่างกายก็เป็นปกติสุข ไม่มีอาการใดก่อกวน บางคืนยามดึกสงัดก็ต้อนรับพวกรุกขเทพที่มาจากที่ต่าง ๆ จำนวนมากมาย โดยมีเทพลึกลับที่เคยทำสงครามวาทะกับท่านอาจารย์ เป็นผู้ประกาศโฆษณาให้ทราบและเป็นหัวหน้าพามา คืนที่ไม่มีเรื่องมาเกี่ยวข้องท่านก็สนุกบำเพ็ญสมาธิภาวนา

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:19
คาถาพระพุทธเจ้าชนะมาร

(พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต)

ตั้งนะโม3จบ

ปัญจะ มาเร ชิโน นาโถ ปัตโต สัมโพธิ
มุตตะมัง จะตุสัจจัง ปะกาเสติ
ธัมมะจักกัง ปะวัตตะยิ
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ
โหตุ เม ชะยะมังคะลัง

ป้องกันอันตรายทั้งปวง ฯ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก

โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:21
[youtube]zu9zQtdNyII&feature=player_embedded[/youtube]

[youtube]L1xxBvV1bj0&feature=player_embedded[/youtube]


โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:22
[youtube]jBNUKqbfe5U&feature=player_embedded[/youtube]

[youtube]GaMLoOYtMro&feature=player_embedded[/youtube]


โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:23
[youtube]Q_huxDCKRCU&feature=player_embedded[/youtube]

[youtube]iUHBvhqx8q4&feature=player_embedded[/youtube]


โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:24
[youtube]_rMgvL1mhqY&feature=player_embedded[/youtube]

[youtube]Xgo27oE55xY&feature=player_embedded[/youtube]


โดย: kit007    เวลา: 2013-5-21 15:24
[youtube]GFwPNoPsntM&feature=player_embedded[/youtube]

[youtube]7KlKbcJuq-0&feature=player_embedded[/youtube]


โดย: Metha    เวลา: 2013-12-11 18:31

กราบนมัสการครับ

ขอบพระคุณข้อมูลครับ





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2