Baan Jompra

ชื่อกระทู้: พิธีแซนโฎนตา - เทศกาลประจุมเบ็ญ [สั่งพิมพ์]

โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 20:27
ชื่อกระทู้: พิธีแซนโฎนตา - เทศกาลประจุมเบ็ญ
พิธีแซนโฎนตา - เทศกาลประจุมเบ็ญ



แซน หมายถึง การเซ่น การเซ่นไหว้ การบวงสรวง
โฎนตา หมายถึง การทำบุญให้ยาย และตา หรือบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว

ประเพณีแซนโฎนตา หมายถึง ประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จัดเป็นประเพณีสำคัญที่คนไทยซึ่งพูดภาษาเขมร มีการสืบทอดมาเป็นระยะเวลานาน






โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 20:28


เรื่องเล่าเกร็ดตำนานกำเนิดประเพณีแซนโฎนตา

โสรัจ คงทน (2549, สัมภาษณ์ ) ชาวบ้านอาวุโส วัย 84 ปี เล่าว่า ตามที่ได้ศึกษาบวชเรียนมา มีตำนานกล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของประเพณีแซนโฎนตา ดังนี้

ในอดีตกาลมีนครหนึ่งชื่อ "กาสี" กษัตริย์พระนาม "ชัยเสน" พระมเหสีพระนาม "สิริมา" และพระโพธิสัตว์ได้มาบังเกิดในพระครรภ์ของพระนางนามว่า "ปุสสะ



โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 20:29


ต่อมา โอรสปุสสะ ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ (เป็นพระพุทธเจ้า 1 ใน 28 พระองค์) แต่พระเจ้าชัยเสนเกิดความเห็นแก่ตัวไม่ยอมให้ใครคนอื่นร่วมอุปัฏฐากพระพุทธเจ้า

ต่อมา พระราชโอรส 3 พระองค์ ซึ่งเป็นพี่น้องต่างมารดากันได้คิดอุบายเพื่อจะได้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์บ้าง จึงเข้าไปกราบบังคมทูลขอ ในที่สุดพระเจ้าชัยเสน อนุญาตให้ได้เพียงแค่ 3 เดือน ขณะจำพรรษา

หลังจากนั้น พระราชโอรส 3 พระองค์ก็ส่งหนังสือไปถึงนายอำมาตย์ว่าจะอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าใน 3 เดือนนี้ ให้อำมาตย์จัดแจงทุกอย่างด้วย



โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 20:29


พระราชโอรสทั้งสาม และผู้ร่วมทำบุญ 1,000 คนพร้อมด้วยฝ่ายอำมาตย์และชาวบ้านอีกประมาณ 11,000 คนได้พากันอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา

แต่ในชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญบางส่วน แอบกินเครื่องไทยธรรมของทำบุญ และได้เกิดความขัดแย้งกันทะเลาะกันทำลายข้าวของเผาโรงครัว

ฝ่ายพระราชโอรสทั้ง 3 เมื่ออุปัฏฐากพระพุทธเจ้าครบ 3 เดือนแล้วก็ได้พาพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์กลับพระวิหาร



โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 20:30


ต่อมา เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระราชบุตรทั้งสาม อำมาตย์ในหมู่บ้านและผู้ร่วมงานกุศลทั้งหมดเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว ก็ไปเกิดในสวรรค์ตามลำดับ ส่วนพวกชาวบ้านที่แอบกินเครื่องไทยธรรมของทำบุญทะเลาะกันทำลายข้าวของเผาโรงครัวก็พากันไปเกิดในนรก

เมื่อเวลาผ่านไป 92 กัป พระศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ในสมัยนั้นพวกมนุษย์พากันให้ทานแล้วอุทิศเพื่อเปรตทั้งหลายผู้เป็นญาติของตนว่า



โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 20:30


"ขอผลแห่งทานนี้จงสำเร็จแก่พวกญาติของเราเถิด"

บรรดาเปรตญาติเหล่านั้นต่างก็ได้เสวยสมบัติ ส่วนเปรตที่พวกญาติมิได้ทำบุญอุทิศให้คือเปรตพวกที่ทะเลาะกันและพากันเผาโรงครัวนั้น ต่างก็พากันเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากัสสปะและกราบทูลถามว่าจะได้รับผลบุญอย่างพวกเขาบ้างไหม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ยังไม่ได้ แต่ในอนาคต 92 กัป จากภัทรกัปนี้ จะมีกษัตริย์พระนามว่า "พิมพิสาร" สมัยของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า "โคดม" พระองค์ได้เป็นญาติของเธอ

เวลาผ่านไปพระราชโอรสพร้อมทั้งบริวาร 1,000 คน จุติจากสวรรค์ได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ในกรุงราชคฤห์ ต่างพากันออกบวชเป็นฤาษี และได้เป็นชฏิล 3 พี่น้อง ตั้งสำนักอยู่คยาสีสะประเทศ  นายอำมาตย์ในหมู่บ้านได้มาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร

เมื่อพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นในโลกแล้ว ผ่านไป 7 สัปดาห์ ก็ได้เสด็จมายังกรุงพาราณสีทรงโปรดพระปัญจวัคคีย์ โปรดชฏิล 3 พี่น้องพร้อมทั้งบริวาร 1,000 คน แล้วจึงเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อโปรดพระเจ้าพิมพิสารจนได้บรรลุธรรมขั้นพระโสดาบัน

พระเจ้าพิมพิสารทรงนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ เพื่อรับภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น รุ่งเช้าพระพุทธเจ้าจึงเสด็จไปรับมหาทานในพระราชนิเวศน์ ส่วนพวกเปรตญาติของพระเจ้าพิมพิสารก็ได้รอรับถวายทานแล้ว ก็ทรงดำริว่าจักหาสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าว่าจะทรงประทับที่ไหน จึงทำให้ทรงลืมอุทิศส่วนบุญไปให้พวกเปรตญาติเสียสนิทพวกเปรตญาติที่รออยู่ เมื่อไม่ได้รับผลบุญจึงเสียใจใน

คืนนั้น จึงพากันร้องโหยหวนน่าสะพึงกลัวอย่างยิ่ง ในที่ใกล้พระราชนิเวศน์ ที่บรรทม พระเจ้าพิมพิสารก็ทรงตกพระทัย พอรุ่งเช้าจึงทรงเสด็จไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แล้วกราบทูลเรื่องเสียงนั้นให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า เสียงร้องนั้นมิได้เป็นนิมิตรร้ายแต่ประการใด แต่เป็นเสียงเปรตญาติของพระองค์มารอส่วนบุญที่เมื่อวันก่อนพระองค์ถวายทานแล้วมิได้อุทิศแก่พวกเขา พวกเขาจึงพากันผิดหวังและมาส่งเสียงร้องดังกล่าว และได้รับคำแนะนำให้กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้พวกเขา



โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 20:31


วันต่อมา พระเจ้าพิมพิสาร จึงนิมนต์พระพุทธเจ้าพร้อมภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารในพระราชวังแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลแก่พวกเปรตเหล่านั้น ตกดึกคืนนั้นพวกเปรตมาปรากฏโฉมอีก แต่คราวนี้หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ขอบคุณที่แบ่งส่วนบุณให้แล้วก็อันตรธานหายวับไป
ชาวเขมรได้รับอิทธิพลจากศาสนาและวัฒนธรรมจากอินเดีย ได้เห็นถึงหนทางที่จะอุทิศส่วนกุศลให้ถึงแก่ผีตา ยาย หรือ ผีบรรพบุรุษ จากตำนานของพระเจ้าพิมพิสารเป็นจุดเริ่มต้นของพิธีแซนโฎนตา ความเชื่อของชาวเขมร เชื่อว่าเมื่อถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ประตูยมโลกจะเปิด ผีในยมโลกจะเดินทางมาเยี่ยมญาติได้ ชาวเขมรจึงมีการจัดทำอาหาร ขนม ข้าวต้ม

ในตอนเย็นของวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 และพอรุ่งเช้า วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ก็จะก็จะนำอาหาร ขนม ข้าวต้ม ไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลที่วัด เป็นวัน "เบ็นตูจ" โดยเชื่อว่า ้ผีจะออกมาจากยมโลกได้ 15 วัน หลังจากนั้นต้องกลับไปรับกรรมในยมโลกตามเดิม

จากวันเบ็นตูจนับไปอีก 15 วัน (นับจากวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ) จะตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี คือวัน "เบ็นทม" ซึ่งเป็นวันที่ประกอบพิธี แซนโฎนตา

สาเหตุที่ต้องเตรียมตัวทำบุญตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 เพราะผีตายาย หรือผีบรรพบุรุษ ถูกปล่อยมาวันนั้นและเดินทางมาไกลเกิดความเหน็ดเหนื่อย หิวกระหาย เมื่อมาถึงก็จะอยู่ที่วัดรอคอยว่าญาติหรือลูกหลาน จะมาทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้หรือไม่

เมื่อถึงรุ่งเช้าวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ญาติหรือลูกหลานก็จะไปทำบุญที่วัด ตอนนี้เองถ้าญาติหรือลูกหลานมาก็จะดีใจและได้รับผลบุญจากที่ได้มีการทำบุญอุทิศให้ ก็จะอวยพรให้ญาติ หรือลูกหลานมีความสุขความเจริญ ประกอบอาชีพประสบผลสำเร็จมีเงินมีทองใช้ แต่ถ้าไม่เห็นก็จะโกรธและสาปแช่งญาติหรือลูกหลานไม่ให้มีความสุขความเจริญ

จุดประสงค์ของประเพณี แซนโฎนตา นอกจากจะเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้ผีบรรพบุรุษแล้ว ยังเป็นการแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ความรักความอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ ตลอดถึงการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน

++++++++++



ที่มา http://www.oknation.net/blog/puprasit/2008/10/02/entry-1



โดย: Ninprakarn    เวลา: 2014-9-22 04:07
พี่เมธโดนหรือยัง
โดย: Metha    เวลา: 2014-9-22 18:03
Ninprakarn ตอบกลับเมื่อ 2014-9-22 04:07
พี่เมธโดนหรือยัง

ยังเลยครคับ




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2