Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
ซุปเปอร์ฟูลมูนคืนพรุ่งนี้ ใหญ่สุดในรอบปี- ลุ้นฝนดาวตกคืนวันแม่
[สั่งพิมพ์]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-8-9 23:15
ชื่อกระทู้:
ซุปเปอร์ฟูลมูนคืนพรุ่งนี้ ใหญ่สุดในรอบปี- ลุ้นฝนดาวตกคืนวันแม่
ซุปเปอร์ฟูลมูนคืนพรุ่งนี้ ใหญ่สุดในรอบปี- ลุ้นฝนดาวตกคืนวันแม่
ชวนชม
ซุปเปอร์ฟูลมูน
คืนพรุ่งนี้ ใหญ่สุดในรอบปี- ลุ้นฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์คืนวันแม่
วันนี้(9 ส.ค.) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) เผยคืนวันที่ 10 สิงหาคม
ดวงจันทร์
กลมโตและมีขนาดใหญ่ที่สุดในรอบปี เหตุเพราะโคจรมาใกล้โลกที่สุดและเป็นคืนเดือนเพ็ญ และร่วมฉลองวันแม่กับ
ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์
ในคืนวันที่ 12 สิงหาคม จนถึงเช้ามืดวันที่ 13 สิงหาคม คาดจำนวน 75-100 ดวงต่อชั่วโมง แต่อาจไม่เห็นเนื่องจากแสงจันทร์รบกวน
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ในช่วงวันแม่ในเดือนสิงหาคมมีปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ในคืนวันที่ 10 สิงหาคม 2557 เวลาประมาณ 00.46 น. ตามเวลาในประเทศไทยดวงจันทร์จะโคจรมาเข้าใกล้โลกที่สุดในรอบปีที่ระยะห่าง 356,896 กิโลเมตร ประกอบกับเป็นวันที่ดวงจันทร์เต็มดวงพอดี คนบนโลกจึงสามารถมองเห็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ ประมาณ 10%
ซุปเปอร์ฟูลมูน
ปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก คนทั่วไปมักเรียกว่า
Supermoon
มีผู้นิยามว่า หมายถึง ดวงจันทร์เต็มดวงที่มีระยะห่างจากโลกน้อยกว่า 360,000 กิโลเมตร เกิดครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2557 ที่ระยะห่าง 358,258 กิโลเมตร แต่ในคืนวันที่ 10 สิงหาคมนี้ ดวงจันทร์เต็มดวงจะใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่าง 356,896 กิโลเมตร จึงเรียกว่า “
Super Full Moon”
การที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ทิศทางของแรงกระทำต่อโลกมีการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้น น้ำลง ซึ่งถือว่าเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ดังนั้นการที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงในคืนที่มีวงโคจรมาใกล้โลกนับว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์และไม่มีผลกระทบรุนแรงใดๆ ต่อโลก ดร.ศรัณย์กล่าวย้ำ
นอกจากนี้ ช่วงหลังเที่ยงคืนของวันที่ 12 ถึงรุ่งเช้าวันที่ 13 สิงหาคม 2557 เวลาประมาณ 01:00-04:00 น. มีปรากฏการณ์ฝนดาวตกเพอร์เซอิดส์ บนท้องฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จุดศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณระหว่างกลุ่มดาวค้างคาว (Cassiopeia) และกลุ่มดาวเพอร์เซอุส (Perseus) ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจมีจำนวนดาวตกที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าถึง 75-100 ดวงต่อชั่วโมง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าในเดือนสิงหาคมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นช่วงกลางฤดูฝน และในคืนวันที่ 12 สิงหาคม 2557 มีแสงจันทร์รบกวน ทำให้สภาพท้องฟ้าไม่เอื้ออำนวยต่อการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ อาจทำให้ในปีนี้ไม่สามารถมองเห็นฝนดาวตกมากเท่าที่ควร
ที่มา:
http://news.mthai.com/general-news/373898.html
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2