Baan Jompra
ชื่อกระทู้: “การตานตุง” พิธีกรรมและความเชื่อของชาวล้านนา [สั่งพิมพ์]
โดย: oustayutt เวลา: 2014-8-7 14:29
ชื่อกระทู้: “การตานตุง” พิธีกรรมและความเชื่อของชาวล้านนา
“การตานตุง” พิธีกรรมและความเชื่อของชาวล้านนา
โดย... คุณคมคาย จินโจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
E-mail : kkjj_lp@hotmail.com
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
“ตุง" ในภาษาถิ่นล้านนา ซึ่งภาษาไทยกลาง เรียกว่า "ธง" ตุงเป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา ทั้งในงานมงคลและอวมงคลต่างๆ โดย
มีขนาดรูปทรงและการใช้วัสดุตกแต่งที่แตกต่างกันไป ตามความเชื่อและพิธีกรรม ตลอดจนตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่นด้วย ซึ่งจุดประสงค์ของการทำ
ตุงและการตานตุงในล้านนาก็คือ การทำถวายเป็นพุทธบูชา ชาวล้านนาถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้
แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อตายไปแล้วก็จะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์พ้นจากขุมนรก วันที่ถวายตุงนั้นนิยมกระทำในวันพญาวันซึ่งเป็น
วันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์ “การตานตุง” จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งล้านนา
ในสมัยก่อนของชาวล้านนา “การตานตุง” มีความสำคัญอย่างยิ่ง การทำตุงถวายจึงเปรียบเสมือนตัวแทนสักการะของการแผ่กุศล กตัญญูกตเวทีไป
ถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งจะเห็นได้จากตุงที่มีรูปไก่ยืนอยู่บนหัวตุงหมายถึงไก่ ส่วนลำตัวและใบของตุงแทนรูปนาค ลวดลายต่าง ๆ เป็นตารางเกล็ด
หรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หมายถึงเต่า และส่วนประดิษฐ์เป็นรูปกลม หมายถึงตาวัวหรือวัว
“ตุง” มีมากมายหลายชนิด เช่น ทำด้วยไม้แกะสลัก เรียกว่าตุงกระด้าง ทำด้วยผ้า ได้แก่ ตุงไชย ทำด้วยสังกะสีหรือทองเหลือง เรียกว่า ตุงเหล็ก
ตุงตอง ซึ่งตุงชนิดนี้จะทำอุทิศให้แก่ผู้ที่ตายเพราะอุบัติเหตุ ลักษณะมีฐานเป็นไม้ เสาตั้งขนาดสูงประมาณ ๑ ฟุต แขวนด้วยตุงขนาดเล็ก ๆ รอบแผ่นเหล็ก
วงกลม ตัวตุงทำด้วยทองเหลืองหรือสังกะสีตัดเป็นแผ่นคล้ายรูปคน จำนวนของตุงที่แขวนไม่แน่นอนแต่จุดประสงค์ของผู้ทำทาน แต่ในปัจจุบันวัตถุประสงค์
ในการใช้ตุงเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากบรรดาหน่วยงานทั้งภาคราชการและเอกชนมักนิยมใช้ตุงประดับตามสถานที่ จัดงานต่างๆ เพื่อความ
สวยงาม ซึ่งความงามของตุงนั้นจะวัดกันที่ลวดลาย และ สีสรรที่แต่งแต้มประดิษฐ์ลงไปที่ผืนตุง ซึ่งสามารถแบ่งหรือจำแนกลักษณะของตุงได้ 3 ลักษณะ คือ
1. ตุงผ้าทอ โดยทั่วไปมีขนาดกว้าง 15-50 ซม. ยาว 1-6 เมตร ประกอบด้วย ส่วนหัว-ตัว-หาง จะนิยมทอด้วยฝ้ายสีขาว มีลวดลายขิตสีดำและแดง
เป็นเส้นพุ่ง อาจสอดสีอื่น ๆ เพื่อความสวยงาม
2. ตุงใย ใช้เส้นฝ้ายสีขาวมัดหรือถกคล้ายแมงมุมชักใย มีไม้ไผ่สอดเป็นโครงยึดเป็นช่วงๆ ทำด้วยวัสดุต่าง ๆ เป็นดอกไม้ หรือพู่ห้อย
3. ตุงกระดาษ เช่น ตุงไส้หมู ไส้ช้าง ตุงพญายอ โดยการนำกระดาษแก้วสีต่าง ๆ อย่างน้อยแผ่นละสีมารวมกัน พับไปมาแล้วตัดสลับไม่ให้ขาดจากกัน
เมื่อคลี่ออก และจับหงายขึ้นจะเป็นช่อพวงยาว ผูกติดกับไม้ยาวประมาณ 1 เมตร ปักตกแต่งหรือใช้ร่วมขบวนแห่ครัวทานเข้าวัดหรือปักเจดีย์ทรายใน
เทศกาลสงกรานต์
ตุงสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. ตุงที่ใช้ในงานมงคล ได้แก่ ตุงไส้หมู หรือตุงไส้ช้าง ตุงไส้ไก่ ตุงพระยายอ พวงเต่าร้าง มีลักษณะเป็นพวง นิยมผูกกับกิ่งไม้กิ่งเดียวกับตุงสิบสอง
ราศี หรือตุงไชยที่ใช้ในงานปอย ตุงชนิดนี้มีความหมายเกี่ยวกับสิ่งที่ดีงามและเป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี
2. ตุงอวมงคล ได้แก่ ตุงแดง ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นจะเรียกต่างกันออกไป เช่น ตุงถอนวิบาก ตุงผีตายโหง ตุงก๊าดแดง มีลักษณะคล้ายตุงไชย จะใช้
ปักตรงที่มีคนประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ความเชื่อคือใช้ประกอบพิธีกรรมสูตรถอนถวายตุงแดง ส่วนตุงสามหาง ทางท้องถิ่นเรียกว่า “ตุงผีต๋าย” เป็นตุงนำ
หน้าขบวนศพสู่ป่าช้า โดยเชื่อว่าตุงสามหางจะนำวิญญาณให้ไปสู่สุขคติ หรือจะเรียกอีกชื่อในนาม ตุงแม่ม่ายเนื่องจากตุงชนิดนี้จะต้องให้แม่ม่ายในหมู่บ้าน
เป็นคนทำให้ในการ งานศพ มิเช่นนั้นจะถือกันว่าจะเกิดการพลัดพราก
ในปัจจุบันได้มีการผสมผสานวัฒนธรรมประเพณีของตุงแต่ละท้องที่ ทำให้เราสามารถเห็นตุงบางชนิดที่มีลักษณะที่สวยงามและลวดลายการประดิด
ประดอยให้สวยงามยิ่งขึ้น ตามแต่ละท้องถิ่นและวัตถุประสงค์ในการสร้าง วัตถุประสงค์ของการตานตุงนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาจะไม่ตกนรก
ได้เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ถ้ากลับมาเกิดในโลกมนุษย์ก็จะเป็นใหญ่เป็นโต ถ้าสร้างอุทิศให้ผู้ตาย ผู้ตายก็จะพ้นจากการไปเป็นเปรตหลุดพ้นจากบาปกรรม
ที่ทำไว้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ทำให้ชาวล้านนานิยมสร้างตุงกันทุกชั้นวรรณะ ซึ่งรูปแบบของตุงจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับฐานะทางสังคมของเจ้าของพิธี
พื้นฐานความเชื่อ ของคนในสังคม วัสดุและความสามารถของชาวท้องถิ่น ในการที่จะนำ เอาวัสดุที่มีมาประดับตุง โดยใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละ
ท้องถิ่นนั้นนิยมสร้างตุงกันตามความเชื่อและพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาแต่ละท้องถิ่น วัตถุประสงค์เหมือนกันแต่วิธีการสร้างและรายละเอียดในการสร้างนั้น
ต่างกันตามวิถีการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นนั้น จึงจะเห็นได้ว่า แต่ละท้องถิ่นมีลวดลายของตุงที่มีความงดงามแตกต่างกันและความเชื่อของคนล้านนา
ส่วนใหญ่มักจะสอดคล้องกับหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา
ชาวล้านนาจะทำการตานตุงในงานประเพณีต่าง ๆ เช่น งานปีใหม่ หรือประเพณีสงกรานต์ของ ประชาชนจะทำเครื่องสักการะ คือ ธูป น้ำส้มป่อย ตุง
และ ช่อตุงหรือธุง อันเป็นเครื่องสักการะ มี 4 ประเภท คือ ตุงเดี่ยว หรือตุงค่าคิง สำหรับบูชาแทนตนเอง ตุงไส้หมู บูชาพระเจดีย์ พระธาตุทั้งหลาย ตุงไจย
ถวายบูชาพระพุทธรูป เพื่อสร้างความสวัสดีมีชัย และช่อหรือธงชัย สำหรับปักเครื่องบูชาต่าง ๆตุงจัดเป็นเครี่องสักการะของล้านนาไทย มีตุงหลายชนิดที่ใช้
ในพิธีกรรม เช่น งานฉลอง หรืองานปอย งานสืบชะตา หรือขบวนแห่ต่าง ๆ เป็นต้น
ตั้งแต่อดีตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน “การตานตุง”ก็ยังมีความสำคัญสำคัญผูกพันกับความศรัทธาของชาวล้านนา นอกจากนั้นก็ยังมีความสำคัญในการแห่
แหนหรือการประดับประดาเพื่อเฉลิมฉลองงานการท่องเที่ยว ตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบที่ยิ่งใหญ่อลังการมากขึ้นไปอีก จึงถือได้ว่าการตานตุงนั้นเป็น
พิธีกรรมและความเชื่อที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของชาวล้านนาที่ยังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้เพื่อสืบทอดให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
โดย: oustayutt เวลา: 2014-8-7 14:30
ความเชื่อและความเป็นมาของตุง ในความเชื่อของชาวล้านนา "ตุง" เป็นสัญญลักณ์ของความดี ความเป็นสิริมงคล มีลักษณะเป็นผืนยาวผูกติดกับปลายไม้
หรือเสา เพื่อเป็นสื่อนำวิญญาณของผู้ที่ถวายทานตุงให้ขึ้นไปสู่สวรรค์
ตุง : เครื่องสักการะอันเป็นเอกลักษณ์ของล้านนา
ชาวบ้านทางภาคเหนือมีคติความเชื่อเกี่ยวกับอานิสงส์ของทานตุงอยู่มาก ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาเป็นทอด ๆหลายชั่วอายุคน
ดังตัวอย่างมีกาเผือกคู่หนึ่งออกไข่มา 5 ฟอง อยู่บนต้นไม้เมื่อเกิดพายุไข่ทั้งหมดพลัดตกลงมาไปแต่ละแห่ง ครั้นพ่อแม่กาเผือก
กลับมาไม่เห็นไข่ของพวกตน ทำให้เกิดความโศกเศร้าอย่างสุดซึ้ง จนตรอมใจตายไปอยู่บนสวรรค์ ไข่ทั้งห้าใบต่างถูกไก่ เต่า พญานาค โค และคนซักผ้า นำไปเลี้ยงจนเติบโตเป็นชายหนุ่มทั้งห้าคนต่างคนก็มีจิตใจอยากบวชจึงบวชจนสำเร็จได้ญาณ
และมาพบกันทั้งหมดโดยบังเอิญทั้ง 5 องค์มีความกตัญณูกตเวทีต่อผู้ที่ให้กำเนิด จึงได้สร้างตุงถวายอุทิศให้กะกุสันทะซึ่งไก่
่เป็นผู้เลี้ยงสร้างรูปไก่โกนาคมนะทำเป็นรูปนาค กัสปะรูปเต่า โคตมะรูปวัว และอริะเมตรัย สร้างเป็นค้อนสำหรับทุบผ้า เป็นเครื่องหมายถึง คนซักผ้าเมื่อสร้างตุงเสร็จแล้วก็ทำถวายอุทิศแต่ไม่ถึงบิดามารดาผู้ให้กำเนิดกาเผือก จึงต้องมาบอกให้ทำปทีป
เป็นรูปตีนกาจุดไปถึงจะส่งอุทิศไปถึง ตุง สมัยก่อนของชาวเหนือจึงมีความสำคัญกับพระพุทธเจ้าทั้ง 5 องค์ การทำตุงถวาย
จึงเปรียบเสมือนตัวแทนสักการะของการแผ่บุญกุศล กตัญณูกตเวทีไปถึงผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เราอาจเห็นตุงที่มีรูป
ไก่ยืนอยู่บนหัวตุง ซึ่งหมายถึงไม้ซักผ้า ส่วนลำตัวและใบไฮของตุงแทนรูปหน้าลวดลายต่าง ๆ เป็นตารางเกล็ด หรือสี่เหลี่ยมขนม
เปียกปูน หมายถึงเต่า และส่วนประดิษฐ์ที่เป็นรูปกลม ๆ หมายถึง ตราวัว แทนวัวหรือโคตมะ นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อกัน ว่าวิญญาณผู้ตายนี้สามารถยึดหรือปีนป่ายชายตุงจากนรกขึ้นสู่สวรรค์ได้ ดังเรื่องราวที่ว่า กาลหนึ่งมีนายพรานซึ่งเข้าป่าล่าสัตว
์นานนับสิบ ๆปีผ่านไปที่วัดเห็นตุงที่เแขวนอยู่โบกสบัดสวยงามมากเมื่อกลับมาถึงบ้าน จึงได้ทำตุงขึ้นเพื่อที่จะไปถวายบูชาพระ
ประทาน ครั้นเมื่อเขาตายไปถูกตัดสินส่งลงนรกเนื่องจากไม่เคยทำความดีเลยมีแต่ฆ่าสัตว์ ยกเว้นเสียแต่ทำตุงถวายวัดเท่านั้น เมื่อถูกตัดสินให้ตกนรก ตุงผืนที่เขาทำนั้นได้มาพันดึงเขาให้พ้นจากนรกนำขึ้นสู่สวรรค์ได้ ชาวเหนือจึงมีความเชื่อที่ว่า การถวายหรือทานตุงนี้นมีอานิสงส์หรือได้บุญอย่างมาก
ธงในอดีตกาลยุคก่อนประวัติศาสตร์เปรียบเสมือนตัวกลางเชื่อมโยง ในการติดต่อระหว่างสิ่งศักดิ์สิทธิ์กับมนุษย์หรือ
ระหว่างคนต่อคนด้วยกัน รูปแบบชนิดของธงได้มีการพัฒนาอยู่ตลอดมา โดยมีปัจจัยความเชื่อดั้งเดิมของคนเผ่านั้น ๆ ศาสนา สังคม
การเมืองและการค้าเป็นตัวแปรที่สำคัญ ธง ตุง จ้อ ตำข่อน ทางภาคเหนือของไทย เท่าที่พบนั้นมีอยู่มากมาย
หลายชนิดมีสีสันและความสวยงามมาก ในส่วนของตุงที่ใช้ในพิธีมงคลนั้นจะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบชนิดใดตลอดไป ในขณะที่ตุงที่ใช้ในงานอว
มงคลนั้นจะมีลักษณะชนิดรูปแบบที่ค่อนข้างแน่นอนมากกว่าเสมอการทำบุญถวายตุงทางภาคเหนือนั้นชาวบ้านถือว่าเป็นประเพณีที่ศักดิ์สิทธ
ิ์และได้บุญกุศลมาก มีความเชื่อที่ว่าตุงนั้นจะสามารถช่วยดึงให้วิญญาณที่ตกนรกกลับขึ้นสวรรค์ได้
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) |
Powered by Discuz! X3.2 |