ประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่มีประเพณีที่ถือปฏิบัติมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลซึ่งในประเพณีเหล่านี้ก็เกิดจากความเชื่อความศรัทธาในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยในประเพณี หรือ พระราชพิธีต่างๆนี้ก็ได้มีการนำช้างเข้ามาประกอบพิธีเพื่อเป็นมิ่งมงคล ในประเพณีของไทยแต่เดิมช้างเผือกเป็นช้างที่สำคัญในงานพระราชพิธี ซึ่งพระราชพิธีเหล่านี้ได้แก่ งานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา และงานพระราชพิธีฉัตรมงคล การนำช้างเผือกขึ้นยืนที่แท่นเกยช้างด้านตะวันตกพระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ในพระบรมมหาราชวังเพื่อประกอบ เกียรติยศจะต้องแต่งเครื่องคชาภรณ์ในรัชกาลที่ 3 ได้มีการปรากฏถึงการนำช้างพระที่นั่งยืนแท่นในการรับแขกเมืองไว้ในพระราชพงศาวดารดาวกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ในรัชกาลที่ 4 ที่กล่าวถึงในพระราชพิธีบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จฯพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงช้างพระที่นั่งชื่อเจ้าพระยาไชยานุภาพพร้อมกันนี้ยังมีปรากฏในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการนำพระวิมลรัตนกิริณีช้างเผือกในรัชกาลที่ 4 แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ออกยืนแท่นพร้อมกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่เกี่ยวกับการขอความสมบูรณ์ให้กับต้นข้าวพืชพันธุ์ของประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ช้างที่นำมาใช้งานในพระราชพิธีเช่นนี้จะต้องมีการสมโภชขึ้นระวางช้างสำคัญก่อนซึ่งพระราชพิธีนี้แบ่งออกเป็น 2 ภร คือพิธีสมโภชขึ้นระวางพระราชทานนามช้าง งานสมโภชช้างนั้นจะจัดเป็นเวลาเท่าไหร่ ก็แล้วแต่ความเหมาะสมในแต่ละสมัยซึ่งในรัชกาลที่ 9 มีงาน 2 วัน ![]() |
จิตรกรรมภาพวาดของไทยที่ปรากฏในทุกสถานที่ที่สำคัญของเมืองไทยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนาความเชื่อที่ผู้คนในแต่ละพื้นที่มี งานจิตรกรรมส่วนใหญ่มีความเกี่ยวข้องกับศาสนาโดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีการนับถือพุทธศาสนาเป็นส่วนใหญ่ เริ่มจากเรื่องราวของพระนางสิริมหามายาสุบินนิมิตเห็นพระเศวตกุญชร ซึ่งเป็นช้างเผือกขาวในเรื่องนี้ก็ได้มีการทำจิตรกรรมฝาผนังเกิดขึ้นและในประเทศไทยได้ปรากฏอยู่ตามโบราณสถานที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอาทิเช่นในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ที่หอสมุดแห่งชาติ นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวเหตุการณ์ของช้างชื่อนาฬาคิรี ช้างคิรีเมขล์ ช้างปาลิไลยะ![]() ช้างนาฬาคิรีเป็นช้างที่มีรูปสูงใหญ่ วิ่งเร็ว ดุร้าย เป็นช้างที่พระเทวทัตใช้เป็นเครื่องมือในการทำร้ายพระพุทธเจ้าแต่เมื่อนาฬาคิรีมาเข้าใกล้พระพุทธเจ้าเพื่อทำร้ายแต่กลับกลายเป็นว่าพระพุทธเจ้าทรงแผ่เมตตาจนนาฬาคิรีสงบจิตรกรรมในเรื่องนี้ได้มีที่จิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ จิตรกรรมฝาผนังในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน นครสวรรค์ แสดงภาพพระพุทธเจ้าทรมานช้างนาฬาคีรี ช้างคิรีเมขล์เป็นช้างสูงใหญ่มีกำลังมากเป็นช้างพาหนะของพญามารที่แปลงกายเพื่อทำร้ายพระพุทธเจ้า จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารพิพิธภัณฑ์บ้านจันเสน จังหวัดนครสวรรค์ ในวิหารวัดสุทัศนเทพวราราม ในอุโบสถวัดดุสิดารามวรวิหาร กรุงเทพมหานคร ในอุโบสถวัดหนองสูง จังหวัดสระบุรี ในอุโบสถวัดเทพอุปการาม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดหนองยาวสูง สระบุรี แสดงภาพมารผจญ ช้างปาลิไลยกะเป็นช้างที่รับใช้พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงประทับอยู่ที่หมู่บ้านปาลิไลยกะ จิตรกรรมในเรื่องนี้มีอยู่ในอุโบสถวัดจรรย์และในอุโบสถวัดประตูสาร จังหวัดสุพรรณบุรี จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดจรรย์ จังหวัดสพรรณบุรี แสดงภาพพระพุทธเจ้าประทับ ณ ป่ารักขิตวัน มีช้างปาเลไลย์และลิงเฝ้าปรนนิบัติ |
ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ ปกครองมานานหลายรัชสมัย ซึ่งในการปกครองแต่ละรัชสมัยนั้นก็ได้มีช้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ในการปกครองตั้งแต่สมัยโบราณจนกระทั่งปัจจุบันช้างถือว่าเป็นสัตว์ที่ช่วยเสริมบารมีของพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ตามความเชื่อในทางพระพุทธศาสนาที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเสวยราชย์เป็นพระยาช้างที่มีบุญบารมีมากว่า 500 ชาติ จึงถือได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของคนไทยเลยก็ว่าได้ กรุงสุโขทัย ในศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวว่าพระเจ้ารามคำแหงมหาราชได้ชนช้างชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และยังมีอีกตอนที่กล่าวถึงช้างเผือกตัวโปรดของพระเจ้ารามคำแหงมหาราชที่ชื่อรุจาครี ซึ่งช้างเผือกตัวนี้ทรงให้แต่งด้วยเครื่องคชาภรณ์ แล้วทรงนำราษฎรออกบำเพ็ญกุศลตามพระอารามในอรัญญิกเมื่อครั้งที่ทรงครองกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้มีช้างเผือกที่มีลักษณะพิเศษที่นำมาเป็นสัตว์คู่บารมีของพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล • ในสมัย สมเด็จพระอินทราชาที่ 2 ได้ช้างเผือกมา 1 เชือก • ในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้ปรากฏช้างเผือกที่ชื่อพระฉัททันต์ขึ้น • ในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นรัชสมัยเริ่มต้นที่ให้ความสำคัญกับช้างเผือกมากที่สุด พร้อมทั้งยังมีช้างเผือกประจำรัชกาลนี้ถึง 7 เชือก คือ พระคเชนทโรดม พระรัตนากาศ พระแก้วทรงบาศ ช้างเผือกพังแม่และพังลูก พระบรมไกรสร พระสุริยกุญชร • ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 3 (สมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทร์ไอยราวรรณ และ เจ้าพระยาบรมคเชนทรฉัททันต์ • ในสมัยสมเด็จพระมหาบุรุษ( พระเพทราชา) ได้ช้างเผือกมา 2 เชือก คือ พระอินทรไอราพต และ พระบรมรัตนากาศ • ในสมัยสมเด็จพระสรรเพชญที่ 8 ( พระเจ้าเสือ ) ได้ช้างเผือกชื่อ พระบรมไตรจักร • ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ( พระบรมโกศ )ได้ช้างเผือกมา 6 เชือก คือ พระวิเชียรหัสดิน พระบรมราชนาเคนทร พระบรมวิไชยคเชนทร พระบรมกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมคชลักษณ์ กรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้ช้างพังเผือก ได้เมื่อครั้งนำกองทัพกรุงไปล้อมเมืองฝาง เจ้าฝางหนีพาช้างไปด้วย กองทัพติดตามได้ลูกช้างนำมาถวาย กรุงรัตนโกสินทร์ • รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ช้าง 10 เชือก คือ พระบรมไกรสร ( บวรสุประดิษฐ) พระบรมไกรสร ( บวรบุษปทันต์ ) พระอินทรไอยรา พระเทพกุญชร พระบรมฉัททันต์ พระบรมนัขมณี พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคคเชนทร์ ) พระบรมนาเคนทร์ พระบรมคชลักษณ์ ( อรรคชาติดามพหัตถี ) พระบรมเมฆเอกทนต์ • รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีช้าง 6 เชือก คือ พระยาเศวตกุญชร พระบรมนาเคนทร์ พระบรมหัศดิน พระบรมนาเคนทร์ ( คเชนทรธราธาร ) พระยาเศวตไอยรา พระยาเศวตคชลักษณ์ • รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้างเผือกอยู่ 20 เชือก คือ พระบรมคชลักษณ์ พระบรมไอยรา พระบรมนาเคนทร์ พระบรมเอกทันต์ พระยามงคลหัสดิน พระยามงคลนาคินทร์ พระบรมไกรสร พระบรมกุญชร พังหงษาสวรรค์ พระนัขนาเคนทร์ พระบรมไอยเรศ พระบรมสังขทันต์ พระบรมคชลักษณ์ ( ศักดิสารจุมประสาท ) พระบรมนขาคเชนทร์ พระนาเคนทรนขา พระบรมทัศนขา ช้างพลายสีประหลาด พระบรมศุภราช พระยามงคลคชพงศ์ ช้างพลายกระจุดดำ • รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 15 เชือก คือ พระบรมนัขสมบัติ พระวิมลรัตนกิริณี พระบรมคชรัตน พระวิสูตรรัตนกิริณี พระพิไชยนิลนัข พระพิไชยกฤษณาวรรณ พระศรีสกลกฤษณ์ พระมหาศรีเศวตวิมลวรรณ ช้างพังเผือกเอก พระเศวตสุวรรณาภาพรรณ ช้างพัง เผือกเอก พระเทวสยามมหาพิฆเนศวร ช้างสีประหลาด เจ้าพระยาปราบไตรจักร พระยาไชยานุภาพ • รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีช้าง 19 เชือก คือ พระเศวตวรวรรณ พระมหารพีพรรณคชพงษ์ พระเศวตสุวภาพรรณ พระเทพคชรัตนกิริณี พระศรีสวัสดิเศวตวรรณ พระบรมทันตวรลักษณ์ พระเศวตวรลักษณ์ พระเศวตวรสรรพางค์ พระเศวตวิสุทธิเทพา พระเศวตสุนทรสวัสดิ์ พระเศวตสกลวโรภาศ พระเศวตรุจิราภาพรรณ พระเศวตวรนาเคนทร์ ช้างพลายเผือกเอก พระศรีเศวตวรรณิภา พระเศวตอุดมวารณ์ ช้างพลายสีประหลาด 2 เชือก เจ้าพระยาไชยานุภาพ • รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตวชิรพาหะ • รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ช้าง พระเศวตคชเดชน์ดิลก • รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีช้างเผือก 10 เชือก คือ พระเศวตอดุลยเดชพาหน พระเศวตวรรัตนกรี พระเศวตสุรคชาธาร พระศรีเศวตศุภลักษณ์ พระเศวตศุทธวิลาศ พระวิมลรัตนกิริณี พระศรีนรารัฐราชกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระเศวตภาสุรคเชนทร์ พระเทพรัตนกิริณี พระบรมนขทัศ |
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |