Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
อปัณณกสูตร : การปฏิบัติไม่ผิด ๓ ประการ
[สั่งพิมพ์]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-6-9 11:24
ชื่อกระทู้:
อปัณณกสูตร : การปฏิบัติไม่ผิด ๓ ประการ
อปัณณกธรรม
การปฏิบัติไม่ผิด ๓ ประการ
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อปัณณกสูตร
[๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ
ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย
ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑
เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑
เป็นผู้ประกอบ
ความเพียร ๑
โดย:
kit007
เวลา:
2014-6-9 11:25
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เห็นรูปด้วยตาแล้วไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์
ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส
ครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์
ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดย
นิมิต โดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว
จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อม
รักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา
ไม่ใช่เพื่อจะประดับ ไม่ใช่เพื่อจะประเทืองผิว เพียงเพื่อกายนี้ตั้งอยู่
เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความเบียดเบียนลำบาก
เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า
เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น
ความที่กายจักเป็นไปได้นาน ความเป็นผู้ไม่มีโทษและความอยู่สำราญจักเกิดมีแก่เรา
ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดยามต้นแห่งราตรี ตลอดยามกลางแห่งราตรี
ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ
ทำความหมายในอันจะลุกขึ้นไว้ในใจ ย่อมลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม
ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยาม
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างนี้แล ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล
ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ
...............................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=7&t=44600
โดย:
sriyan3
เวลา:
2014-6-26 08:55
สาธุ สาธุ สาธุ
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2