Baan Jompra

ชื่อกระทู้: หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ [สั่งพิมพ์]

โดย: Metha    เวลา: 2014-6-3 16:14
ชื่อกระทู้: หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ

รูปหลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ

หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
หลวงพ่อมุ่ย เป็นที่เคารพของลูกศิษย์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านอย่าง มาเลเซียสิงคโปร์ และฮ่องกง ท่านเปรียบเสมือน “อริยสงฆ์แห่งแดนทักษิณ” ใครที่เคยไปกราบสักการะท่านจะรู้ว่า ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมาก ถวายเงินทองท่านจะไม่รับอย่างเด็ดขาด


โดย: Metha    เวลา: 2014-6-3 16:14



ประวัติหลวงพ่อมุ่ย จนฺทสุวณฺโณ หรือ "พระครูนิโครธจรรยานุยุต แห่งวัดป่าระกำเหนือ"
     นามเดิมของท่านชื่อมุ่ย ทองอุ่น บิดาชื่อ นายทองเสน ทองอุ่น มารดาชื่อ นางคงแก้ว ทองอุ่น ท่านเกิดเมื่อวันอังคารที่ ๔ เมษายน 2442 ณ บ้านป่าระกำ หมู่ที่ 6 ตำบลป่าระกำ อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ท่านมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน หลวงพ่อมุ่ยเป็นบุตรคนที่สองของตระกูล ทองอุ่น

พระครูนิโครธจรรยานุยุต (มุ่ย จนฺทสุวณฺโณ)
     หลวงพ่อมุ่ย ได้บรรพชาอุปสมบท เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 ณ วัดป่าระกำเหนือ อำเภอปากพนัง และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูนิโครธจรรยานุยุต เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๘ และในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดป่าระกำเหนือและเจ้าคณะตำบลป่าระกำ ในปีเดียวกัน

วัดป่าระกำเหนือ


โดย: Metha    เวลา: 2014-6-3 16:14
หลวงพ่อมุ่ย ได้ไปศึกษาด้านวิปัสสนาธุระกับอาจารย์จืด และอาจารย์ศักดิ์ วัดถ้ำเขาพลู อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และได้ออกธุดงค์วัตรในป่าลึกแถบจังหวัดชุมพรประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี เป็นเวลาหลายปี ร่วมกับหลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นพระสหธรรมิก ที่รักใคร่นับถือกันมาก หลวงพ่อมุ่ย เป็นพระวิปัสสนาธุระ ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นเลิศ นอกจากนั้นยังมีความรู้ด้านต่าง ๆ อีกมาก เป็นหมอยาสมุนไพร เป็นผู้รู้เวทมนต์คาถา เป็นพระนักเทศน์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่เคารพนับถือของคนทั่วไป
     หลวงพ่อมุ่ย นับเป็นพระเถระที่มากด้วยเมตตาบารมีล้ำเลิศของภาคใต้ ที่ประพฤติพรหมจรรย์ มั่นคงยาวนานปี ศีลาจารวัตรเรียบร้อย เป็นที่เคารพนับถือของญาติมิตรและศิษยานุศิษย์ ตลอดจนบุคคลทั่วไป
      นับเป็นพระสุปฏิปันโนรูปหนึ่งของเมืองนครศรีธรรมราช ที่ทรงคุณธรรม อย่างสูงส่ง มีอัธยาศัยโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อคนทุกระดับชั้น เพราะเหตุนี้เองชาวบ้านจึงขนานนามให้ท่านเปรียบเสมือน “อริยสงฆ์แห่งแดนทักษิณ” อย่างแท้จริง
     หลวงพ่อมุ่ย ท่านมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดมากในพระธรรมวินัยมาก หลวงพ่อมุ่ยท่านจะไม่จับต้องเงินทอง และไม่สะสมสมบัติของมีค่า ในกุฏิของท่านจึงไม่มีของมีค่าอะไรเลย ใครถวายอะไรให้ท่าน หากมีคนอื่นมาขอต่อท่านก็จะยกให้ทันทีโดยไม่มีความเสียดายอะไรทั้งสิ้น หลวงพ่อมุ่ย ท่านฉันเอกา (มื้อเดียวใน ๑ วัน) หลวงพ่อมุ่ย ท่านจำพรรษาอยู่หลายวัด แต่วัดที่ส่วนใหญ่ผู้คนรู้จักกันคือ วัดป่าระกำเหนือ และ วัดบางบูชา เนื่องจากท่านได้สร้างพระเครื่องจนเป็นที่โด่งดังและหลายๆคนต้องการคือพระปิดตาน้ำนมควายพระปิดตาพ่อท่านมุ่ย จะสร้างทั้งวัดบางบูชาและวัดป่าระกำเหนือ

รูปหลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ


โดย: Metha    เวลา: 2014-6-3 16:17
หลวงพ่อมุ่ย เป็นหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ในพิธีพุทธาภิเษก จตุคามรามเทพ รุ่นแรก ปี ๒๕๓๐ พระเครื่องและวัตถุมงคลของพ่อท่านมุ่ย แต่ละชนิดแต่ละรุ่น เช่นพระปิดตา พระพิมพ์ประทานพร ลูกอม หลวงพ่อจะปลุกเสกเดี่ยว ทั้งนั้น ตามหลักของพระเกจิสายใต้สมัยก่อน คือบินเดี่ยว ไม่มั่นใจไม่สร้าง เพราะมั่นใจในวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาอย่างมั่นใจ และได้ปลุกเสกอยู่นานเป็นปีหรือหลายปี จึงจะมอบให้คนนำไปบูชา เพราะท่านทำด้วยใจรักและศรัทธามั่น ก่อนนำวัตถุมงคลไปใช้ พ่อท่านท้าให้นำไปลองก่อน ถ้าไม่มั่นใจจะไม่ยอมให้ใครเอาไปใช้
     หลวงพ่อมุ่ยได้ถึงแก่มรณภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๓๕ เวลา ๔ นาฬิกา ๔๖ นาที สิริอายุได้ ๙๓ ปี ๑ เดือน ๑๘ วัน และจำนวน ๗๓ พรรษา


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-26 10:37
ปี 34 เคยคิดอยากจะไปกราบท่าน เพราะสนใจวิชาผงปัถมัง
จนแล้วจนรอด ก็ ม่ายได้ไป

กราบนมัสการหลวงปู่ครับ
โดย: oustayutt    เวลา: 2014-6-26 19:14
เคยได้พระสังกัจายของท่านเมื่อนานมาแล้ว^^
โดย: Metha    เวลา: 2014-6-26 19:15
oustayutt ตอบกลับเมื่อ 2014-6-26 19:14
เคยได้พระสังกัจายของท่านเมื่อนานมาแล้ว^^ ...

ลงรูปให้ชมหน่อยครับ
โดย: oustayutt    เวลา: 2014-6-26 19:20
metha ตอบกลับเมื่อ 2014-6-26 19:15
ลงรูปให้ชมหน่อยครับ

ให้น้องแฟนเก่าไปแล้ว^^
นี่รูปแทนเด้อ
[attach]7999[/attach]

โดย: Metha    เวลา: 2014-6-26 20:00
สวยดีครับ
โดย: sriyan3    เวลา: 2014-6-27 08:42
กราบนมัสการพ่อท่านมุ่ยเจ้าข้า




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2