Baan Jompra
ชื่อกระทู้:
การกรวดน้ำ
[สั่งพิมพ์]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-6-2 11:36
ชื่อกระทู้:
การกรวดน้ำ
ก า ร ก ร ว ด น้ำ
ที่มาของธรรมเนียมการกรวดน้ำ
ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้า
ทรงออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนชมพูทวีปช่วงแรกๆนั้น
ยังไม่มีธรรมเนียมการกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
หรือบรรพบุรุษของผู้กระทำกุศลแต่อย่างใด
จนกระทั่งพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชแห่งแคว้นมคธ
ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา
และทรงถวายสวนไผ่ให้เป็นวิหารที่ประทับของพระพุทธเจ้า
ซึ่งสวนไผ่แห่งนั้นได้กลายเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา
ที่มีชื่อว่า
“วัดพระเวฬุวัน”
แต่การบำเพ็ญกุศลอันยิ่งใหญ่ของพระเจ้าพิมพิสารครั้งนี้
ก็ยังไม่ได้มีการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
เนื่องจากยังไม่มีธรรมเนียมปฏิบัติ
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารบรรทมในคืนนั้น
ก็ทรงพระสุบินเห็นเปรตหลายตนมาขอส่วนบุญ
รุ่งเช้าพระเจ้าพิมพิสารจึงนำความไปกราบทูลพระพุทธเจ้า
พระพุทธองค์จึงตรัสให้พระเจ้าพิมพิสาร
ทรงถวายทานแก่พระสงฆ์อีกครั้ง
พร้อมกับให้ตั้งจิตอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำตามที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำ
โดย:
kit007
เวลา:
2014-6-2 11:37
พอตกดึก เหล่าเปรตทั้งหลายก็ได้มาปรากฏตัว
ในพระสุบินของพระเจ้าพิมพิสารอีกครั้งหนึ่ง
แต่มาด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย
และขออนุโมทนาในส่วนบุญที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอุทิศไปให้
เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ
พระพุทธองค์ตรัสว่าพวกเปรตเหล่านั้นในอดีตชาติ
เคยเป็นพระญาติของพระองค์
โดยครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารพร้อมทั้งหมู่ญาติ
ได้ตระเตรียมจะถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์
อันมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นประมุข
แต่เมื่อพระภิกษุสงฆ์ยังมิได้ฉันภัตตาหารนั้น
พวกญาติบางคนเกิดหิว จึงหยิบอาหารที่เตรียมไว้มารับประทาน
ด้วยผลกรรมนั้นพวกเขาจึงเกิดเป็นเปรต
เรียกว่า
“ปรทัตตูปชีวิต”
(เปรตผู้อาศัยส่วนบุญที่คนเขาอุทิศให้ยังชีพ)
[พระเจ้าพิมพิสารทรงบำเพ็ญกุศลให้พระญาติที่เกิดเป็นเปรต
เปรตทั้งหลายต่างโมทนารับส่วนบุญ]
โดย:
kit007
เวลา:
2014-6-2 11:39
แต่เมื่อไม่มีญาติพี่น้องอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้
จึงผอมโซไปตลอดกาล
แต่เมื่อพระองค์ทรงอุทิศส่วนบุญไปให้
พวกเขาก็ได้รับดังกล่าวแล้ว
เหล่านี้คือที่มาของการอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลในสมัยพุทธกาล
แต่การเอาน้ำมารินที่เรียกว่ากรวดน้ำนั้น มีมาเพิ่มในภายหลัง
โดยบางท่านสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนนิยมใช้น้ำรินลงที่มือคนรับ
ดังเช่นพระเวสสันดรตอนพระราชทานสองกุมารแก่พราหมณ์ชูชก
ทรงยกคนโทน้ำรินน้ำลงที่มือของพราหมณ์
เป็นสัญลักษณ์ว่าให้เป็นการเด็ดขาด
แต่ในปัจจุบันนี้การใช้น้ำริน
อันเรียกกันตามภาษาเขมรว่า
“กรวด”
จึงเรียกธรรมเนียมนี้ว่า
“กรวดน้ำ”
มีระเบียบปฏิบัติที่ว่า
ให้เริ่มรินน้ำตอนที่พระรูปแรกสวด
“ยถา วาริวาหา...”
เมื่อพระสงฆ์รับพร้อมกัน
ก็ให้รินน้ำที่ยังเหลือให้หมด
แล้วประนมมือรับพรจากพระสงฆ์
โดยไม่ต้องเอานิ้วจับชายเสื้อของคนรินน้ำ
แต่ถ้าจะกรวดน้ำโดยไม่มีพิธีการทำบุญอย่างอื่น
เช่น การกรวดน้ำหลังจากการใส่บาตร
ก็นำพุทธวจนะสั้นๆ มาสวดว่า
“อิทํ โน ญาตินัง โหตุ สุขิตาโหนฺตุ ญาตโย”....
ก็ได้
โดย:
kit007
เวลา:
2014-6-2 11:40
หมายเหตุ
[พระเจ้าพิมพิสารเลื่อมใส ทรงหลั่งน้ำถวายวัดเวฬุวันเป็นปฐมสังฆาราม]
“อุททิโสทก”
แปลว่ากรวดน้ำมอบถวาย
ใช้กรณีเมื่อถวายของใหญ่โต
ไม่สามารถยกประเคนใส่มือได้ เช่น ที่ดินและวัด
(พระเจ้าพิมพิสารหลั่งน้ำจากน้ำพระเต้าลงพระหัตถ์ของพระพุทธองค์)
“ทักษิโณทก”
กรวดน้ำแผ่ส่วนกุศลแก่คนตาย
โดย:
kit007
เวลา:
2014-6-2 11:41
เมื่อกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนบุญ
๑. ควรเตรียมน้ำสะอาดใส่ภาชนะที่ง่ายแก่การหลั่งริน
๒. มือขวาใช้จับ มือซ้ายประคองหลั่งน้ำ
๓. เมื่อพระสงฆ์เริ่มอนุโมทนาบท
“ยะถา วาริวหา ปูรา”
ให้เริ่มกรวดน้ำ
๔. น้ำที่กรวดควรให้ไหลติดต่อกันไม่ขาดสาย
ไม่หลั่งน้ำลงบนฝ่ามือหรือใช้นิ้วรองน้ำ
๕. ตั้งใจอุทิศส่วนบุญในใจไปจนจบหรือกล่าวคำอุทิศส่วนบุญว่า
“อิทัง เม ญาตินัง โหตุ”
ขอบุญกุศลนี้ จงสำเร็จประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าด้วยเถิด
๖. เมื่อพระสวดถึงตอนที่ว่า
“มะณิ โชติระโส ยะถา”
ควรหลั่งน้ำที่มีอยู่ให้หมดแล้วประนมมือรับพรจากพระ
อนึ่งหากหลั่งบนพื้นดินควรเลือกที่สะอาดหมดจด
ถ้าอยู่ในอาคารสถานที่ควรมีภาชนิรองรับอันสมควร
ไม่ใช้กระโถนหรือภาชนะสกปรกรองรับ
ควรหลั่งน้ำกรวดให้หมด
เมื่อเสร็จพิธีแล้ว จึงนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทลงในดินที่สะอาด
การกรวดน้ำเป็นหน้าที่ของเจ้าของงานโดยตรง
เพราะถือเป็นเจ้าของบุญกุศล
เมื่อจะให้แก่ใคร เจ้าของต้องให้เอง
รวบรวมและเรียงเรียงมาจาก :
การเกิดขึ้นแห่งประเพณีกรวดน้ำครั้งแรก
สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=6&t=20382
...................................................................................................
ที่มา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=20380
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/)
Powered by Discuz! X3.2