Baan Jompra

ชื่อกระทู้: คราวผู้คนบนพื้นดินเดิม...ปากหมอง [สั่งพิมพ์]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-21 11:56
ชื่อกระทู้: คราวผู้คนบนพื้นดินเดิม...ปากหมอง
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-5-21 12:17

คราวผู้คนบนพื้นดินเดิม...ปากหมอง
ไยไม่มองไม่เคยเหลียวแลเห็นแก่ตัว
กิน...มีเหลือเผื่อแผ่กันวันนั้น
วันนี้คงไม่ต้องล่องเรือ


[youtube]96RTQ80fh3w[/youtube]




วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7092 ข่าวสดรายวัน


จัดงานรำลึก35ปี สงครามเวียดนาม






เอิร์ธไทมส์รายงานว่า เมื่อวันที่ 29 เม.ย. บรรดาผู้นำเวียดนามร่วมงานรำลึกครบรอบ 35 ปีสงครามเวียดนามที่ยุติลงเมื่อนครไซง่อนถูกตีแตก จากนั้นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมเป็นแผ่นดินเดียวกันอีกครั้ง

ประธานาธิบดีเหวียน มินเตรียต กล่าวในการประชุมสภาแห่งชาติ ที่กรุงฮานอย ว่า

เวียดนามต้องยุติการแบ่งแยกทางความคิดและความหวาดระแวงต่างๆ เพื่อผนึกใจสร้างประเทศร่วมกัน ซึ่งถ้อยคำดังกล่าว สื่อ มวลชนตีความถึงการรับรู้เรื่องสงครามของชาวเวียดนามฝั่งเหนือและใต้ที่ยังแตกต่างกันถึงปัจจุบัน โดยฝั่งเวียดนามใต้มักรู้สึกว่า ถูกเลือกปฏิบัติ หรือปฏิบัติไม่เท่าเทียมกับคนทางเหนือ ทั้งในด้านการศึกษา หน้าที่การงานและโอกาสต่างๆ



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-21 12:01

ภาพที่ตีพิมพ์โดยนิตยสาร LIFE ในอดีตช็อกคนทั้งโลก วีรกรรมที่ท่านสาธุคุณถิกกวางยวึก (Thich Quang Duc) ก่อในวันที่ 11 มิ.ย.2506 ช่วยสุมไฟความเคียดแค้นชิงชังที่ชาวเวียดนามมีต่อระบอบไซ่ง่อน ซึ่งตกอยู่ภายใต้การครอบงำของสหรัฐฯ ขณะที่สงครามเวียดนามเริ่มทวีความรุนแรงและดำเนินต่อมาอีก 12 ปี



[youtube]ODu4wfn3NIU[/youtube]



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-21 12:08
เปิดภาพ'ประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม' ของ 'ฮอร์สท์ ฟาส' ช่างภาพผู้ล่วงลับ!!



ฮอร์สท์ ฟาส ขณะออกปฏิบัติงานในเวียดนาม
เปิดภาพประวัติศาสตร์สงครามเวียดนาม ของฮอร์สท์ ฟาส ช่างภาพผู้ล่วงลับ
  ฮอร์สท์ ฟาส (Horst Faas) ชาวเยอรมัน ช่างภาพพูลิตเซอร์ยุคสงครามเวียดนาม ถึงแก่กรรมเมื่อวันศุกร์ที่11 พ.ค.นี้ ในนครมิวนิค ด้วยวัย 79 ปี.  โดยเว็บไซต์เทเลกราฟของอังกฤษได้รวบรวมภาพผลงานที่เขาบันทึกในช่วง สงครามเวียดนามตั้งแต่ปี 2505 จนถึง 2517  ภาพ ข่าว ของเขาได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปี 2508
ทั้ง นี้ ภาพที่เขาสื่อออกมา กับภารกิจของเขาคือ  บันทึกความเจ็บปวด กับความเสียสละของทั้งสองฝ่าย ทั้งชาวอเมริกันและชาวเวียดนาม แม้ว่าจะมีบ้างที่เขาได้รับบาดเจ็บจากการออกสนามกับทหารอเมริกัน และถูกโจมตีด้วยยระเบิดอาร์พีจี
แต่ทว่า ผลงานของเขาได้รับการชื่นชม ยิ่งเวลาผ่านไปนานเท่าไหร่ ภาพเหล่านี้ยิ่งมีค่ามากขึ้นเท่านั้น ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความเจ็บปวด จากการต่อสู้ ห้ำหั่น แย่งชิงอำนาจ จนสุดท้ายก็อาจเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาล


วัน ที่ 19 มีนาคม ปี 1964 อีกภาพหนึ่งของฮอร์สท์ ฟาส ที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ปรากฎพ่อชาวเวียดนามอุ้มลูกชายตัวเองที่ถูกยิงด้วยใจสลาย ท่ามกลางสายตาของทหารมองลงมาจากรถทหารอย่างน่าเวทนา ที่บริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้กับชายแดนกัมพูชา


9มกราคม 1964 อีกภาพรางวัลพูลิตเซอร์ของฮอร์สท์ ฟาส ทหารชาวเวียดนามใต้ใช้อาวุธ ทำร้ายร่างกายชาวนาที่ถูกกล่าวหาว่า ให้ข้อมูลบิดเบือนแก่ทหารรัฐบาล เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของกองกําลังเวียดกง (Viet Cong)


30 มีนาคม 1965 ชาวเวียดนามถูกเป็นเป้าโจมตีจากแรงระเบิดบนถนนแห่งหนึ่งนอกสถานทูตสหรัฐ เมืองไซ่ง่อน


เดือน มิถุนายน 1965 ชาวบ้านชาวเวียดนาม ต้องหลบหนีการต่อสู้ และโจมตีของทหารฝ่ายรัฐบาล เสียงปืนและเสียงระเบิดทำให้พวกเขาต้องกอดกันด้วยความหวาดผวา



27 พฤศจิกายน 1965 ภาพทหาอเมริกัน และทหารเวียดนามนอนเสียชีวิตเป็นรายทาง จากการต่อสู้กับกองกําลังเวียดกง ทหารรายหนึ่งต้องให้ผ้าปิดจมูกเนื่องจากซากศพส่งกลิ่นเหม็น


ธันวาคม 1965 นายทหารอเมริกัน ปกป้องเด็กนักเรียนชาวเวียดนามระหว่างเดินทางกลับบ้าน ที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองเบน แคท


มกราคม 1966 เด็กชาวเวียดนาม 2 คนจ้องทหารอเมริกันที่กำลังถืออาวุธ เอ็ม 79 โดยมีแม่ของพวกเขากอดลูกๆเอาไว้ ป้องกันการโจมตีขากบรรดาทหารเวียดกงที่เปิดฉากยิงในพื้นที่เบาไทร


มกราคม 1966 แววตาของชาวบ้านบ่งบอกได้เป็นอย่างดีถึงความทุกข์เศร้า เด็กและผู้หญิงต้องหลบอยู่ในคลองโคลน ระหว่างการต่อสู้กันอย่างรุนแรงกับกองกำลังเวียดกง


เมษายน 1969 หญิงรายหนึ่งคร่ำครวญร่างสามีไร้ลมหายใจ ที่ถูกพบเสียชีวิต พร้อมกับร่างอีก 47 ศพ ที่ Hue ประเทศเวียดนาม


“หนูน้อยนาปาล์ม” ผล งานของ ฮอร์สท์ ฟาส ถ่ายไปแต่ไม่ได้ส่งกลับสหรัฐฯเพื่อเผยแพร่ แต่ภาพเดียวกันนี้ที่ถ่ายโดยนิค อึ๊ต ช่างภาพเอพีอีกคนหนึ่งได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในเวลาต่อมา เหตุผลที่ฮอร์สท์ ฟาส ไม่ยอมส่งภาพไปสหรัฐ เชื่อว่า ภาพนี้ เหยื่ออยู่ในสภาพเปลือย

Picture: Horst Faas/AP


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-21 12:35
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-5-21 13:14





รวันดาเป็นประเทศเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในภูมิภาคแอลเบอร์ไทน์ริฟต์ระหว่างตอนกลางและตะวันออกของทวีปแอฟริกา

ดินแดนแห่งนี้ ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่ด้านตะวันออกของประเทศอยู่ติดกับทะเลสาบเกรตเลค


ในอดีตประเทศนี้แทบไม่เป็นที่รู้จักของชาวโลกจนกระทั่งเกิดเหตุการณ์หนึ่งขึ้น นั่นคือ



”การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์”









ภูมิประเทศของรวันดา


ประเทศรวันดามีชื่อเต็มว่า สาธารณรัฐรวันดา มีเมืองหลวงชือ คิกาลี ดินแดนแห่งนี้มีประชากรร่วมแปดล้านคนและถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปอาฟริกา ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเนินเขาปกคลุมด้วยป่าดงดิบ อาณาเขตของรวันดาทางตอนเหนือติดกับอูกันดา ทางใต้ติดกับบูรุนดี ทางตะวันตกติดกับคองโกและตะวันออกติดกับแทนซาเนีย ซึ่งดินแดนทั้งหมดนี้ถูกเรียกว่า แอลเบอร์ไทน์ริฟต์ พลเมืองส่วนใหญ่ของรวันดาคือชาวฮูตู (Hutu) ซึ่งมีจำนวนมากที่สุด ชาวทุตซี (Tutsi) ซึ่งเป็นชนเผ่าเลี้ยงสัตว์ และพวกทวา (Twa) หรือปิ๊กมี่ซึ่งเป็นชนเผ่าที่ตัวเล็กที่สุดในโลก



ตามประวัติศาสตร์ของดินแดนแอลเบอร์ไทน์ริฟต์ ที่นี่มีชนพื้นเมืองหลายกลุ่มเข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่เมื่อ ค.ศ.500 โดยพวกนี้เป็นชนที่พูดภาษาบันตูเหมือนกัน ซึ่งหลังจากเวลาผ่านไป ชนพื้นเมืองเหล่านี้ได้แบ่งแยกชัดเจนเป็นกลุ่มชนเลี้ยงสัตว์และกลุ่มกสิกร ซึ่งการใช้วิถีชีวิตที่แตกต่างกัน นอกจากจะทำให้มีความแตกต่างในด้านขนบประเพณีและการแต่งกายแล้ว ยังทำให้มีลักษณะทางกายภาพบางอย่างต่างกันด้วย









ชนเผ่าต่าง ๆ ของรวันดา


โดยกลุ่มชนเลี้ยงสัตว์จะมีรูปร่างสูง เพรียว ริมฝีปากบาง สีผิวค่อนข้างอ่อน

ขณะที่กลุ่มกสิกร มีรูปร่างปานกลางผิวเข้ม ริมฝีปากหนา

เมื่อชาวผิวขาวมาถึงดินแดนนี้ในศตวรรษที่ 19


พวกเขาพบว่ารัฐเล็กๆรอบทะเลสาปเกรตเลคที่ถูกปกครองโดยชนเลี้ยงสัตว์มีพัฒนาการที่ก้าวหน้า
เป็นแบบแผนกว่ากลุ่มชนเผ่ากสิกร พวกเขาจึงเข้าใจผิดว่า ชนเลี้ยงสัตว์เป็นกลุ่มชนที่เจริญกว่า

และเข้ามาพิชิตกลุ่มชนกสิกร


จากนั้นจึงก่อตั้งรัฐที่เป็นแบบแผนขึ้น

ซึ่งนี่เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอย่างมหันต์





โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-21 12:35
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-5-21 12:38

และด้วยความเข้าใจผิดนี้เอง

ที่ทำให้เบลเยี่ยมแบ่งกลุ่มชนที่อยู่ในอาณานิคมออกเป็นสองกลุ่ม

โดยใช้ลักษณะทางกายภาพบางประการ พวกชนเผ่าเลี้ยงสัตว์อย่างพวกวาทุตซี

ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยถูกแบ่งแยกออกจากชนเผ่ากสิกรอย่างพวกฮูตูและฮุนเดอ

ซึ่งนอกจากจะแบ่งแยกชัดเจนแล้ว รัฐบาลอาณานิคมเบลเยี่ยมยังให้สิทธิต่างๆแก่ชาวทุตซีมากกว่าพวกฮูตูอีก

ด้วย เนื่องจากความเข้าใจผิดในชาติภูมิของพวกทุตซีว่าสูงส่งกว่าพวกฮูตูดังที่กล่าวไป



การยกหางของรัฐบาลอาณานิคมทำให้เหล่าชนชั้นสูงของทุตซีเกิดความหยิ่งทะนงและดูถูกชาวฮูตูทั้งๆที่แท้จริงพวกเขาล้วนมีรากเหง้าเดียวกัน ใช้ภาษาเดียวกัน



การดูถูกเหยียดหยามและการได้รับสิทธิต่างๆจากจ้าวอาณานิคมมากกว่า ทำให้ชาวฮูตูมีความริษยาและเกลียดชังชาวทุตซีแฝงอยู่ ในปี ค.ศ.1933 เบลเยี่ยมได้ออกบัตรประจำตัวเพื่อแบ่งแยกชาวทุตซีและฮูตูออกจากกันอย่างชัดเจน โดยที่ไม่มีใครรู้เลยว่า


นี่คือจุดเริ่มต้นของโศกนาฏกรรมอันเลวร้ายของหน้าประวัติศาสตร์อาฟริกา



หลังการปกครองของเบลเยี่ยมสิ้นสุดลง รวันดาได้รับเอกราชและถูกปกครองโดยรัฐบาลชาวทุตซี ซึ่งเข้าข้างชาวทุตซีด้วยกันและกดขี่ชาวฮูตู จนนำไปสู่การปฏิวัติของชาวฮูตูและเข้ายึดอำนาจรัฐ ทำให้ชาวทุตซีจำนวนมากอพยพลี้ภัยออกนอกประเทศ ขณะที่อีกส่วนหนึ่งได้จัดตั้งกองกำลังต่อต้านรัฐบาลฮูตู โดยใช้ชื่อว่า กลุ่มแนวหน้ารักชาติรวันดา (RPF)


ใน ปี ค.ศ. 1994 ประธานาธิบดี จูเวนาล ฮับยาริมานา ของฮูตู ตัดสินใจเจรจาสันติภาพกับ RPF ทว่าลูกน้องจำนวนมากของเขาไม่เห็นด้วยและหลังการตกลงสงบศึกนั้นเอง เครื่องบินของประธานาธิบดีก็ถูกจรวดมิซไซล์ลึกลับยิงถล่ม ปลิดชีพของเขา การตายของจูเวนาลกลายเป็นชนวนความโกรธแค้น โดยชาวฮูตุกล่าวหาว่าเรื่องนี้เป็นฝีมือของพวกทุตซี (อย่างไรก็ตาม เชื่อกันว่า ผู้ลงมือ น่าจะเป็นลูกน้องของประธานาธิบดีจูเวนาลที่ไม่พอใจการสงบศึกมากกว่า) และหลังจากนั้นไม่ถึงยี่สิบสี่ชั่วโมง การล้างแค้นนองเลือดก็เริ่มขึ้น










ซากศพเหยื่อเคราะห์ร้าย

ในวันที่ 6 เมษายน ปี ค.ศ.1994 กองทัพฮูตูและประชาชนบางส่วนได้ออกมาไล่สังหารชาวทุตซีโดยมีเป้าหมายหลักคือผู้ชายทุกวัย ด้วยข้ออ้างที่ว่า คนเหล่านี้อาจเข้าร่วมกับพวกกบฏ RPF หรือไม่ก็เป็นไปแนวร่วม ส่วนหญิงสาวชาวทุตซีถูกจับมาข่มขืนและสังหารทิ้งอย่างเหี้ยมโหด ขณะพวกที่รอดตายราวสองในสามก็ต้องกลายเป็นผู้ติดเชื้อเอดส์



ในเวลาดังกล่าว ไม่มีประเทศใดยื่นมือขัดขวางเหตุรุนแรงครั้งนี้ บรรดาประเทศที่เกี่ยวข้องกับรวันดาต่างทำเพียงอพยพคนของตนออกมาเท่านั้น และแม้กองกำลังสหประชาชาติจะถูกส่งเข้าไปในรวันดาตั้งแต่ก่อนเกิดเรื่อง ทว่าพวกเขาก็ไม่ได้รับคำสั่งให้กระทำการใดๆเพื่อยุติเหตุรุนแรง เนื่องจากยังไม่มีมติเห็นชอบจากประเทศสมาชิกสำคัญ โดยสหรัฐอเมริกาผู้ตั้งตนเป็นตำรวจโลกนั้นไม่ต้องการเข้าไปยุ่งด้วยเนื่องจากไม่ได้มีผลประโยชน์ในดินแดนนี้ ขณะที่ฝรั่งเศสเองก็วางเฉยเนื่องจากกลัวเสียสัมพันธภาพกับรัฐบาลฮูตู ส่วนเบลเยี่ยม เจ้าอาณานิคมเดิมก็ไม่อยากเข้าไปข้องเกี่ยวเพราะเกรงจะเกิดปัญหาทางการเมืองกับฝ่ายตน






ผู้อพยพหนีภัยสงคราม


การเผิกเฉยของนานาชาติทำให้เหตุการณ์ทวีความรุนแรงมกขึ้น ขณะที่ฝ่าย RPF ก็เปิดฉากโต้ตอบฝ่ายฮูตูอย่างรุนแรง จนถึงขั้นสังหารนายกรัฐมนตรีของชาวฮูตูเสียชีวิต ซึ่งยิ่งทำให้ฝ่ายฮูตูซึ่งประกอบด้วยทหารรัฐบาลและกองทหารบ้านลงมือสังหารหมู่ชาวทุตซีอย่างรุนแรงยิ่งขึ้น


เหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน ปีค.ศ.1994 ไปจนถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปี ค.ศ.1994 จากนั้นกองกำลัง RPF นำโดย นายพอล คากาเม ก็เข้ายึดอำนาจขับไล่รัฐบาลชาวฮูตู ทำให้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สิ้นสุดลง ซึ่งชัยชนะของพวกทุตซีส่งผลให้ทหารบ้านและประชาชนชาวฮูตูนับแสนอพยพหนีเข้าไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก เพราะกลัวการถูกล้างแค้น และไม่ถึงปีจากนั้น ผู้อพยพชาวฮูตูได้กลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองในคองโกถึงสองครั้ง ซึ่งมีหลายชาติในอาฟริกาเข้าไปเกี่ยวข้อง จนถูกเรียกว่า มหาสงครามแอฟริกัน และมีผู้คนล้มตายมากถึงห้าล้านคน


ปัจจุบันเหตุการณ์ในรวันดากลับสู่ความสงบ ภายใต้การปกครองของประธานาธิบดี พอล คากาเม ที่พยายามสร้างเสถียรภาพและเร่งการพัฒนาประเทศ แม้จะถูกกล่าวหาว่า เขาค่อนข้างเป็นเผด็จการและเล่นงานฝ่ายตรงข้ามที่เห็นต่างอย่างรุนแรงก็ตาม








ที่พักของผู้ลี้ภัย


สำหรับเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดานั้น ตลอดระยะเวลาหนึ่งร้อยวันที่เกิดเรื่อง ประมาณการว่ามีชาวรวันดาเสียชีวิตราว 800,000 – 1,070,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นชาวทุตซีราวแปดแสนคน นับเป็นตัวเลขการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่สูงมากในระยะสั้นๆเพียงร้อยวัน และกลายเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมครั้งสำคัญของมนุษยชาติ

แม้การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในรวันดาจะมีสาเหตุมาจากการปลุกปั่นของนักการเมืองที่อาศัยความเกลียดชังระหว่างเผ่าที่แฝงอยู่ เป็นเชื้อไฟ ทว่ามีข้อสังเกตหนึ่งที่เห็นได้ในดินแดนนี้ นั่นคือความหนาแน่นของประชากรเมื่อเทียบกับพื้นที่ทำกินที่มีจำกัด จนทำให้เกิดปัญหาการแย่งชิงที่ดิน

แม้ไม่อาจบอกได้ชัดว่า ความขาดแคลนที่ดินเป็นสาเหตุแฝงที่นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ แต่บางที..



โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นภาพจำลองในอนาคตของโลก

หากว่าวันหนึ่ง มนุษย์พบว่าทรัพยากรธรรมชาติมีไม่เพียงพอสำหรับทุกคนอีกต่อไป

และพวกเขาอาจต้องเลือกระหว่างการ..


"เอาตัวรอด"  กับคำว่า "มนุษยธรรม"










ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2