Baan Jompra

ชื่อกระทู้: राम พระศรีรามเทพ राम [สั่งพิมพ์]

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-17 07:45
ชื่อกระทู้: राम พระศรีรามเทพ राम
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-25 06:55

พระศรีรามเทพ (เทวนาครี: राम รามะ)
God Ram
..





เป็นตัวละครเอกในเรื่องรามเกียรติ์ ตามตำนาน เล่าว่าพระรามเป็นปางที่ 7 ของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ

(รามาวตารหรือรามจันทราวตาร)

อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถ และพระนางเกาสุริยา มีพระวรกายเป็นสีเขียว ทรงธนูเป็นอาวุธ มีศรวิเศษสามเล่มคือ ศรพรหมมาตร ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เวลาสำแดงอิทธิฤทธิ์จะปรากฏเป็น 4 มือ
ทรงเทพอาวุธ ตรี คฑา จักร สังข์






พระรามมีพระอนุชาร่วมพระบิดา 3 พระองค์ ได้แก่ พระพรต (สันสกฤตว่า ภรต) , พระลักษณ์ (สันสกฤต : ลักษมัณ หรือ ลักษมณะ) และพระสัตรุด (สันสกฤต : ศัตรุฆน์)

ลักษณะและสีสีเขียวนวล 1 หน้า 2 มือ มงกุฏเดินหน มงกุฏชัย หรือพระมหามงกุฏ ตอนทรงพรตสวม"ชฎายอดฤษี"





มเหสีและโอรสธิดาพระรามมีพระมเหสีคือ นางสีดา ผู้เป็นพระธิดาของท้าว ทศกัณฐ์ กับนางมณโฑเทวี พระรามกับนางสีดามีโอรส 1 องค์ คือ พระมงกุฏ และมีบุตรเลี้ยง 1 องค์ คือ พระลบ ซึ่งพระวัชมฤคฤษีชุบขึ้นมาให้เป็นพระอนุชาของพระมงกุฏ และสุดท้ายบุคคลเหล่านี้ได้ดับดิ้นเพราะลิงลม
พระรามในความเชื่อของไทยชาวไทยมีคติความเชื่อว่า

พระมหากษัตริย์ ถือเป็นพระนารายณ์อวตาร พระนามของกษัตริย์จึงมีคำว่า ราม อยู่ด้วยเสมอ เช่น สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) หรือแม้กระทั่งในสมัยกรุงสุโขทัย
ก็มีพระมหากษัตริย์ทรงพระนามว่า รามคำแหง





http://th.wikipedia.org/wiki

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-17 07:50
"พระราม"
มหาเทพผู้ทรงความกล้าหาญ ยุติธรรม
จากมหากาพย์เรื่องรามายณะ
ขอขอบพระคุณ : หนังสือย้อนรอยชมพูทวีป / สำนักพิมพ์ คุ้มคำ / สมคมแดง สมปวงพร


พระราม พระลักษณ์ พระนางสีดา หนุมาน
จากมหากาพย์รามายณะ หรือ รามเกียรติ์

พระราม จากเรื่อง รามเกียรติ์
ซึ่งดัดแปลงมาจากมหากาพย์รามายณะของอินเดีย


พระราม เสด็จกลับมายังเมืองอันเป็นที่รัก
หลังได้รับชัยชนะจากการปราบทศกัณฐ์

รามาวตาร
หรือ รามจันทราวตาร หรือ พระราม จากมหากาพย์ รามายณะ ชาวไทยรู้จักกันในชื่อเรื่อง รามเกียรติ์
อวตารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัด ท้าวราพณ์ หรือ ทศกัณฐ์ กษัตริย์แห่งกรุงลงกา ซึ่งมี ๑๐ เศียร อสูร ท้าวราพณ์บำเพ็ญตบะเช่นเดียวกับ เหรันตยักษ์ และ เหรัณยกศิปุ ที่บำเพ็ญตบะก็เพื่อความอมตะ เมื่อพบความเป็นอมตะ และประจบประแจง พระศิวะ จนท่านเมตตา มันก็เริ่มประหัตประหารเทพเจ้าและมนุษย์ พระวิษณุ จึงอวตารลงมาเป็นโอรสองค์โตของมหากษัตริย์ ทศรถ แห่งกรุงอโยธยา ซึ่งจัดพิธีบูชายัญม้าเป็นประจำ ทรงพระนามว่า พระราม มีพระอนุชาต่างมาดาคือ พระภรต พระลักษมณ์ และ พระศัตรุต กล่าวกันว่าพระอนุชาของพระองค์ทรงแบ่งรูปลักษณ์มาจากพระวิษณุด้วย
พระราม และ พระลักษณ์ ทรงสนิทสนมกันมาก และได้ฆ่าอสูรที่ฆ่าพราหมณ์ไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งขณะทรงพระเยาว์ ทั้งสองพระองค์ได้ยินข่าวว่า นางสีดา ธิดาแสนสวยของ กษัตริย์ชนก จะอภิเศกกับผู้ที่สามารถโก่งคันศรของพระศิวะได้ พระรามโก่งคันศรได้ และได้อภิเษกกับนางสีดา ซึ่งก็คือ พระลักษมี อวตารลงมานั่นเอง หลังจากทรงอภิเษกได้ไม่นาน พระทศรถก็สละราชสมบัติ และได้ประกาศนามของผู้ที่จะมารับตำแหน่งใหม่ ในเวลาเดียวกันขณะที่พระภรตไม่อยู่นั้น บริวารของ พระมเหสีไกยเกษี (Kaikeyi) ผู้เป็นพระมารดาของภรต ก็กล่าวให้ร้ายพระราม ทำให้พระนางไม่พอพระทัยพระราม ทรงเป็นที่รักใคร่มากกว่า จึงทรงยุยงและบังคับให้พระทศรถ ยอมยกราชสมบัติทั้งหมดให้ภรต ทั้งยังเนรเทศพระรามออกไปอยู่ป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี โดยมีนางสีดา และพระลักษณ์คอยติดตามพระรามไปด้วย ประชาชนและภรตต่างเศร้าโศกกับการจากไปของพระรามมาก จนพระทศรถ ทรงเสด็จสวรรคตในอีก ๑ สัปดาห์ต่อมา


พระราม มหาเทพผู้เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญชาญชัย

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-17 07:51

ภาพจาก Wikipedia


ภาพเขียนตอนกำเนิดพระราม


ทศกัณฐ์ หรือ อสูรราพณ์ ศัตรูของพระราม


พระราม และ พระหนุมาน
พระหนุมาน คือ สมุนเอกแห่งพระราม
เป็นมือขวาที่คอยช่วยเหลือ
ร่วมสู้รบกับพระรามด้วยความซื่อสัตย์ภักดี
หนุมาน จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความจงรักภักดีต่อเจ้านาย

เมื่อ พระภรต ทรงเสด็จกลับมาและทราบข่าว พระองค์ทรงพิโรธพระมารดามาก ทรงเสด็จออกตามหาพระรามเพื่อเชิญเสด็จกลับวัง แต่พระรามไม่ทรงกลับ พระภรตจึงเสด็จกลับเมืองอโยธยา และครองราชสมบัติแทน โดยมี พระบาท ของพระรามอยู่บนราชบัลลังก์ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงกษัตริย์ที่มีสิทธิ์อันชอบธรรม

ในช่วงที่อยู่ในป่านางยักษี ผู้เป็นขนิษฐาของท้าวราพณ์ได้หลงรักพระราม แต่พระรามทรงอภิเษกแล้ว จึงให้นางไปสนพระทัยพระลักษมณ์ซึ่งยังไม่อภิเษกดีกว่า แต่พระลักษมณ์ก็ผลักไสนาง นางจึงสงสัยว่าพระลักษณ์คงแอบหลงรักนางสีดาอยู่ นางยักษีจึงทำร้ายนางสีดา และพยายามจะกินนางสีดา แต่พระลักษมณ์มาช่วยไว้ได้ทัน โดยทรงตัดจมูก หู และอกของนางยักษี

นางจึงส่งอนุชาพร้อมกองทัพยักษี ๑๔,๐๐๐ ตนมาล้างแค้น แต่พระรามก็เอาชนะได้ นางจึงไปยุยงให้ท้าวราพณ์ว่านางสีดางดงามมาก และเหมาะสมกับท้าวราพณ์ ท้าวราพณ์จึงลักพาตัวนางไปโดยส่งกวางไปล่อ นางสีดาอยากได้กวาง พระราม พระลักษณ์จึงออกไปจับกวาง จากนั้นท้าวราพณ์ในรูปของฤาษีก็จับนางขึ้นรถ เหาะไปยังกรุงลงการะหว่างทาง นกชฎายุ หรือร่างอวตารของ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ได้ต่อสู้กับอสูรราพณ์แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ชฎายุจึงพาร่างจวนเจียนจะสิ้นใจกลับมาส่งข่าวแก่พระราม เมื่อมาถึงกรุงลงกา ท้าวราพณ์พยายามเกี้ยวพาราสีนางสีดา แต่นางก็ไม่ใจอ่อน ท้าวราพณ์จึงบังคับให้นางอภิเษกด้วย ถ้านางไม่ยินยอมจะฆ่าและกินนางเสีย แต่นางสีดาก็รอดมาได้ เนื่องมาจากหนึ่งในบรรดาชายาของท้าวราพณ์ ที่ถูกฉุดคร่า มาสาปแช่งว่า ท้าวราพณ์จะต้องตายถ้าฉุดคร่าหญิงอื่นอีก

พระรามทราบข่าวนางสีดาจากนกชฎายุ แล้วทำการปลงศพให้นกชฎายุ จากนั้นก็รีบตามไป ระหว่างทางพบกับ สุครีพ โอรสของพระอินทร์ ซึ่งถูก พาลี พระเชษฐาร่วมพระมารดา เนรเทศออกมาจากอาณาจักรของตน สุครีพ จึงตอบแทนความช่วยเหลือที่ช่วยรบจนได้อาณาจักรคืนมา โดยส่งกองทัพลิงและหมีไปช่วยพระรามและพระลักษณ์ ซึ่งมีหนุมานโอรสของพระวายุเป็นแม่ทัพเดินทางไปกรุงลงกา


หนุมานเหาะข้ามทะเล และลอบเข้ากรุงลงกาเพื่อสอดแนม ขณะนั้นนางสีดา นั้งอยู่ในสวนแต่เพียงลำพัง หนุมานได้แสดงแหวนจารึกพระนามของพระรามเป็นหลักฐาน และบอกแผนการแก่นาง แต่ด้วยความลิงโลดที่ลอบเข้ามาได้ หนุมานก็ดึงต้นไม้ในสวนเล่น ทำให้ถูกจับได้ และถูกส่งไปให้ท้าวราพณ์ ยักษาสั่งให้เผาหางหนุมานโดยผ้าชุบน้ำมันผูกที่หาง แต่หนุมานใช้จังหวะที่ถูกเผาหางอยู่นี้ กระโดดหนีออกมาได้ และไฟจากหางนี่เองทำให้เกิดไฟไหม้กรุงลงกา


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-17 07:52

ศึกรามายณะของอินเดีย หรือ รามเกียรติ์ของไทย ศิลปะในวัดพระแก้วมรกต / ภาพจาก Wikipedia

หนุมานกลับมาส่งข่าวต่อพระรามว่า ท้าวราพณ์มีป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างโดยพระวิศวกรรมให้แก่กุเวร เจ้าแห่งความมั่นคง เมืองมีอาณาเขตกว้างขวางส่วนมากสร้างด้วยทอง ล้อมรอบด้วยคูเมืองกว้างและกำแพงนี้สร้างด้วยหินและโลหะ ซึ่งมาจากยอดเขาพระสุเมรุ ในระหว่างที่หนุมานเข้าไปในกรุงลงกา พลพรรคของพระรามได้ช่วยกันสร้างสะพานกัน และแล้วเสร็จเมื่อหนุมานกลับมา แม้จะมีอสูรจากใต้ทะเลมาก่อกวนก็ตาม หัวหน้าช่างที่สร้างสะพานคือหัวหน้าลิงชื่อ นล โอรสของพระวิศวกรรม ซึ่งมีพลังทำให้ก้อนหินลอยบนน้ำได้ บางครั้งสะพานนี้ได้รับการเรียกว่า นลเสตุ (สะพานของนล) แต่ปกติจะมีชื่อว่า สะพานของพระราม

เมื่อพระรามและกองทัพข้ามไปได้ ศึกครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่มตรงทางเข้าเมือง พระลักษณ์ถูกโอรสของท้าวราพณ์นามว่า อินทรชิต ทำร้าย แต่หนุมาน ก็ใช้สมุนไพรที่หาได้บน เทือกเขาหิมาลัย มารักษา ในระหว่างนั้นพระอนุชาของท้าวราพณ์ได้กินลิงเป็นร้อยตัวเข้าไป แต่ในที่สุดแล้ว พวกยักษ์ ก็ถูกฆ่าจนหมด การต่อสู้ของพระราม และอสูรราพณ์ก็จบลง โดยในครั้งแรกพระราม ยิงศรใส่ท้าวราพณ์ แต่ยิงไม่เข้า พระรามจึงใช้อาวุธวิเศษที่ได้รับจากฤาษีอกัสยตะ ซึ่งเป็นนักพรตที่มีชื่อเสียงและเป็นศัตรูของพวกยักษ์ กล่าวกันว่าอาวุธนี้เป็นแหล่งรวมพลังของบรรดาเทพเจ้าไว้ และรู้จักกันดีในฐานะเป็นอาวุธของพระพรหม ขว้างออกไปตัดอกของท้าวราพณ์ เหล่าเทวดาพากันโปรยมาลัยดอกไม้ลงมาอวยพรในชัยชนะของพระราม และกองทัพลิงที่เสียชีวิตก็กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง


แม้พระรามจะพบนางสีดาอีกครั้ง แต่พระองค์ก็เย็นชากับนาง เนื่องจากพระรามไม่ทรงเชื่อว่านางสีดา จะยังคงภักดีกับพระองค์อยู่ นางสีดาจึงลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของนาง เมื่อนางลุยไฟ ท้องฟ้าได้ประกาศว่านางบริสุทธิ์ และพระอัคนีเทพแห่งไฟ ได้นำนางไปประทับต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราม ซึ่งยอมรับในตัวนางแล้ว จริงๆแล้วพระรามไม่เคยสงสัยในตัวนาง เพียงแต่ประสงค์จะให้นางทดสอบต่อหน้าธารกำนัลเท่านั้น

ขอขอบพระคุณ : ย้อนรอยชมพูทวีป
สำนักพิมพ์ คุ้มคำ / สมคมแดง สมปวงพร

พระราม และ พระนางสีดา



wikipedia




พระราม พระนางสีดา ในวัดเทพมณเฑียร


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-17 07:53

พระราม พระนางสีดา ในวัดเทพมณเฑียร


หนุมานเป็นอวตารแห่งพระศิวะ เพื่อมาช่วยพระวิษณุในมหากาพย์เรื่องนี้ / ภาพจากวัดวิษณุ


หนุมานเป็นอวตารแห่งพระศิวะ เพื่อมาช่วยพระวิษณุในมหากาพย์รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ / ภาพจาก BBC


พระราม และ หนุมาน


พระวิษณุ และ
พระแม่ลักษมี
ผู้อวตารเป็น พระราม และ พระแม่สีดา ในเรื่องรามเกียรติ์


เทวรูปพระราม ในวัดวิษณุ ยานนาวา


จากซ้ายไปขวา หนุมาน (คุกเข่า) พระลักษณ์ พระราม พระนางสีดา
ภาพจาก Wikipedia


พระลักษณ์ พระราม


พระราม และ พระนางสีดา
ภาพจาก dollsofindia.com


พระราม และรูป "แมนดาลา" หรือแผนผังจักรวาลอยู่ด้านหลัง
ภาพจาก Mandalas.com



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-17 07:54
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-5-17 08:23


พระราม ภาพนี้ดูอ่อนโยนกว่าภาพอื่นๆ
ภาพจาก dollsofindia.com
ศรีราม..ขัตติยะราชันย์แห่งรามายณะ
บทความจาก - วารสาร ศรีมณเฑียร ทรรศน์ / สมาคมฮินดูสมาช

ทศรถ นนฺทนฺ ชนก กิโศริ-สีตาราม มโนหาร โชริ


พระนางสีดาธิดาของพระเจ้าชนก และพระราม โอรสของพระเจ้าทศรถ คู่ครองนี้ พร้อมด้วยธรรมงดงามอันประหลาดของคู่ครอง ดึงดูดให้ความร่าเริงเบิกบานเกิดขึ้นแก่ผู้ภักดีของพระองค์ บุคคลผู้ระลึกนึกถึง คู่ครองคู่นี้ กับด้วยใจที่เป็นสมาธิ เขาย่อมเข้าถึงความสงบอันสูงสุดอย่างแน่นอน การที่จะทำให้ความปรารถนาของผู้ภักดีอันเป็นที่รักของพระองค์สำเร็จ บริบูรณ์ พระองค์เป็นเหมือนโคกัมเธนุ และต้นไม้กัลปะ พระองค์ทรงอวตารลงมาเพื่อสถาปนากฎเกณฑ์แห่งธรรมะ พระรามโอรสของพระเจ้าทศรถไม่ใช่บุคคลธรรมดาสามัญ แต่เป็นพระเป็นเจ้าผู้หาที่สุดมิได้และสูงสุด คัมภีร์พระเวทและอุปนิษัทก็รับรองความจริงอันนี้


ราม เอว ปรมฺพรหม ราม เอว ปรมฺ ตปห
ราม เอว ปรมฺ ตตฺวมฺ ศรี ราโม พรหมตรก มฺ


ความหมายก็คือว่า พระรามเป็นพระเจ้าเจ้าผู้สูงสุด พระรามคือความภักดี ศรี รามเป็นสิ่งสูงสุด และศรีรามผู้ช่วยให้พ้นภัย พระองค์ปรากฏครั้งแรกในรูปแบบของพระวิษณุ และพระวิษณุองค์เดียวกันนี้ ปรากฏเป็นโอรสของพระเจ้าทศรถที่เป็นพระราม ข้อความต่อไปนี้ ย่อมพิสูจน์ให้เห็นถึงข้อความข้างต้น


วิษณุริธ ปรมฺสย วิทวาน ชาโต วริหนฺนภิยติ ตริติยมฺ (ฤทเวท 10/1/3)


ความหมายก็คือว่า พระวิษณุ ภัควันผู้สูงสุด ปรากฏในรูปของพระรามอวตารผู้ซึ่งแม้เป็นพระเป็นเจ้า ก็ยังทรงลงมาปรากฏในรูปแบบของมนุษย์


ปรมฺ ปุรโศ ราโม ทศรถิ พิรภูว


ความหมายก็คือว่า พระวิษณุภัควัน พระองค์ทรงปรากฏเป็นโอรสของพระเจ้าทศรถพระนามว่าราม


อิน เก นาม อเนก อชุป มอิ นริป เกหว สวมฺติ อนุรูป
โช อนนฺท สินฺธุ สุข ราสิ สีกรเต ตริโลก สุปโส
โส สุขธมฺ นาม อภิราม อขิล โลก ทายก วิศราม


คุณสมบัติทั้งหมดเหล่านี้ สามารถจะนำเข้าไปเพิ่มเติม ต่อนามของพระเป็นเจ้าเท่านั้น แต่ไม่สามารถจะนำไปเพิ่มเติม ต่อคนธรรมดาสามัญได้ พระเป็นเจ้าทรงปรากฏพระองค์อยู่ทุกหนทุกแห่ง และคำว่า ราม แสดงถึงการปรากฏพระองค์อยู่ทุกหนทุกแห่ง


รามนฺเต สรว ภสูเตศุ สถาว จเรศุจ
อนฺตรตมฺ สวรูเปน ยจฺ ราเมติกถาเต


ความหมายก็คือว่า พระองค์ผู้ซึ่งปรากฏอยู่ในมนุษย์ทุกคน ทรงเป็นอยู่หรือสิ่งอื่น ๆ ที่เราเรียกว่าราม พระรามทรงอุบัติมาในฐานะ เป็นอวตารปางหนึ่ง ทรงสถาปนาธรรมะของมนุษย์ขึ้น (ศาสนา) อุปนิสัยอันแท้จริงของพระองค์ ทำให้รู้แจ้งลักษณะทุกลักษณะของชีวิต ปัญหาทุกอย่างสามารถจะแก้ไขได้โดยการศึกษาลักษณะนิสัยและหลักการดำรงชีวิต ของพระองค์ ปัญหานั้นอาจจะเป็นเรื่องส่วนตัว ส่วนครอบครัว หรือสังคม หรือทางการเมือง

ตามหลักการวัฒนธรรมของอินเดีย ทฤษฎีทุกอย่างจะมีค่าก็ต่อเมื่อทฤษฎีนั้นสามารถนำมาใช้ในภาคปฏิบัติได้ ฉะนั้น พระรามผู้ช่วยให้วัฒนธรรมปลอดภัย ได้แสดงถึงวัฒนธรรมอินเดียที่แท้จริงอย่างถูกต้องจากเยาว์วัยจนกระทั่งถึง พระองค์ทรงเป็นผู้ปกครอง ตามพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า เด็กผู้ชายผู้สัมผัสเท้าของบิดามารดา และครูอาจารย์ในตอนเช้าตรู่ จะได้รับพรอันประเสริฐมีอายุ, วรรณะ, สุขะ,พลังที่ดี พระรามภัควันทรงเริ่มวันของพระองค์โดยการสัมผัสบาทของพระบิดามารดา และอาจารย์ของพระองค์ด้วยเหมือนกัน


ปรตกาล อุถิเก รฆุนาถ มาตา ปิต คุรุ นวนฺหิ มถ


ตัวอย่างแห่งความภักดีของพระองค์ ที่มีต่อมารดาบิดา เป็นเอกภาพมากซึ่งทั่วโลก ไม่มีตัวอย่างเช่นนั้นอื่นใด ที่เราสามารถจะค้นหาได้ พระแม่เลี้ยงของพระองค์ไกเกยี บังคับบิดาของพระองค์ว่า ควรจะส่งพระรามไปอยู่ป่า แทนที่จะมอบพระราชอาณาจักรให้แก่พระองค์ พระองค์ทรงตรัสตอบด้วยความยินดี และกล้าหาญว่า


อหหิ วจนทุ ราชาห ปเตยมฺปิ ปาวเก
ภกฺศเยยมฺ วิศนฺตี ขยนมฺ ปตฺเยมฺปิ จรณไว


ความหมายก็คือว่า เฮ พระมารดา ข้าพเจ้าสามารถที่จะเชื่อฟังคำสั่งของพระบิดาของข้าพเจ้า ถ้าพระองค์ขอให้ข้าพเจ้า กระโดดลงไปในกองเพลิง หรือรับประทานยาพิษ หรือให้กระโดดลงไปในทะเลลึกความภักดีของพระองค์ที่มีต่อพระมารดา ก็มีความสำคัญเท่า ๆ กันเหมือนกัน แม้มารดาเลี้ยงไกเกยี สั่งให้พระองค์เสด็จไปอยู่ในป่า แต่เมื่อพระมารดาทั้งหมดสามองค์ รวมทั้งพระภรต เดินทางไปเยี่ยมพระองค์ที่จิตรกูตก่อนอื่น พระองค์ทรงพบและทักทายพระแม่เลี้ยงไกเกยี แม้พระมารดาของพระองค์เองทรงประทับอยู่ ณ ที่นั้นก็ตาม
ปรถมฺ ราม เภนโต ไกกยี สรล ศุภยมฺ ภกฺติมาติ เภยี ที่อรัณยกานท์ เมื่อพระลักษณ์ ยกย่องสรรเสริญ พระภรต และกล่าวคำดูถูกเหยียดหยาม พระนางไกเกยี พระราม ตรัสขึ้นทันทีว่า


น เตสมภ มธยม ตาต คเรหิตฺวย กถายนฺชวนฺ
ตวมิขยวกู นาถสยา ภารตสยา กถมฺกุรุ


เฮ น้องชาย ท่านไม่ควรดูถูกมารดาไกเกยีของท่าน แต่ท่านควรยกย่องพระภรต ผู้ภักดี “ความ รักของพระรามอย่างพี่น้องนั้นบริสุทธิ์สะอาด เป็นบทเรียนอันยิ่งใหญ่สำหรับความรักจอมปลอมที่เห็นแก่ตัวยุคใหม่ของสมัยนี้ ที่แพร่อยู่ในหมู่พี่น้อง”

เมื่อการสถาปนาพระรามขึ้นครองราชย์ได้ประกาศออกมา ประชาชนแห่งกรุงอโยธยา มีความปลาบปลื้มปีติยินดีกันทั่วหน้า แม้แต่ต้นไม้ใบหญ้า ดูเหมือนจะมีความสุข แต่พระรามกลับเศร้าสลดลงอย่างทันทีทันใด เพราะพระองค์ทรงทอดพระเนตรไปไม่เห็นพระภรต และศัตรุธาน


ชนฺเม เอก สงฺสพฺไภ โภชนฺ สยนฺ เก ลิล กิรยี
วิมล พนส ยหู อนุชิต เอกู ปนธู วิหยี พเรหิ อภิเศกู


ตั้งแต่เราทั้งหมดสี่พี่น้องเกิดมาด้วยกัน เราเล่น รับประทานและหลับนอนด้วยกัน ข้าพเจ้ากำลังขึ้นครองราชย์ในการที่พี่น้องทั้งสองไม่อยู่พร้อมหน้ากันได้อย่างไร ตัวอย่าง อีกตัวอย่างหนึ่งของความรักและความเสน่หา ฉันพี่น้องของพระองค์ที่พอจะหาได้สำหรับเรา เมื่อเราเห็นพระรามทรงกังวล และน้ำพระเนตรตกลงมาในขณะที่พระลักษณ์ ทรงล้มลงสิ้นพระสติ หลังจากถูกศรของเมฆนาถ ในสนามรบ

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-5-17 07:57
ชเถ ปนฺข พินุ ขค อติโทน มนิ พินู ผนิ กริวาร การ หิน
อสฺมมฺ ชีวนฺ พนฺธุ พินโตหิ โชชาร ไตว ชิย ว โมนิ


เฮ ลักษณ์ ปราศจากเธอเสียแล้ว สภาพการณ์ของฉันก็เหมือนกับนกตัวหนึ่งที่ปราศจากขนเหมือนกับช้างที่ปราศจาก งวง หรือเหมือนงูที่ไม่มีหัว ถ้าพระเป็นเจ้าต้องการให้ฉันมีชีวิตอยู่ในสภาพเช่นนี้แล้ว ฉันย่อมไม่คิดว่าเขายังมีชีวิตอยู่ “ คุณสมบัติ ของพี่ที่แท้จริงคือให้ความเคารพนับถือ แก่พี่น้องของ พระองค์ อย่าได้ดูถูกเหยียดหยามพี่น้องที่ยากจนอื่น ๆ จงสละชีวิตของท่านเอง เพื่อประโยชน์พี่น้องของท่านเป็นต้น “ คุณสมบัติทั้งหมดเหล่า นี้ เราค้นพบได้ในพระราม ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ ภรรยาควรมีความเชื่อมั่นต่อสามีของเธอและสามีก็ควรเชื่อมั่นในภรรยาเช่นกัน นางสวรูปนัขรา แม้เธอจะแต่งตัวเธอเองอย่างสวยงามและยืนยันที่จะแต่งงานกับพระราม

พระองค์ไม่ยอมรับเธอหรือไม่ฟังแม้แต่เธอพูด และลงโทษเธอโดยผ่านทางลักษณ์ จริง ๆ แล้ว หน้าที่อันแรกและสำคัญกว่าสิ่งอื่นทั้งหมดก็คือว่าในชีวิตของพระองค์มี ผู้หญิงที่สวยงามมากมาย เช่น สรวรูปนคร แต่พระองค์ก็ไม่ทรงสนพระทัย ต่อความงามของหญิงเหล่านั้น และพระองค์ทรงมั่นคงอยู่ในพระชายาของพระองค์เอง ตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่งที่พระองค์ทรงสัตย์ซื่อต่อพระชายาของพระองค์ซึ่ง เราสามารถจะเห็นเป็นรูปธรรมได้ เมื่อมีข้อเสนอต่อพระองค์ให้มีการสมรสครั้งที่สองได้โดยการทำพิธีอัศวเมฆ เมื่อพระองค์จากพระนางสีดาไปครั้งที่สอง แต่พระองค์ทรงนำเอารูปที่เป็นทองคำของเธอ แทนเธอ คือเมื่อพระองค์ทรงส่งพระสีดาไปอยู่ป่า พระองค์เองก็ทรงดำรงชีวิต เหมือนดังพระองค์ประทับอยู่ในป่า แม้พระองค์จะทรงอยู่ในพระราชวังก็ตาม ลักษณะนิสัยของพระองค์นั้นประเสริฐยิ่ง

ครูผู้มีอุดมการณ์นั้น คือ ผู้ซึ่งมีเมตตากรุณาต่อศิษย์ของเขา และรู้สึกว่าเป็นหนี้บุญคุณแก่ศิษย์ที่มารับใช้เขา นั่นคือเขาจะต้องปฏิบัติต่อศิษย์ด้วยความรัก เมื่อพระหนุมาน ผู้ยิ่งใหญ่กลับมาพบพระรามหลังจากเดินทางไปค้นหาพระนางสีดา ณ เกาะลังกา พระรามทรงมีความรู้สึกรักหนุมาน และน้ำตาออกมาจากพระเนตรของพระองค์ด้วยความขอบใจ และพระองค์ตรัสว่า

ปรตี อุปการ กรุกโตรา สนฺมุก โหเย น สกตฺ มนฺโมรา
สุน สุต โตหิ อุรนไม นหิน เทขอุน กรี วิจาร มน มหิน

แม้หลังจากเอาชนะ สงครามกับทศกัณฐ์และเรา (พระราม) ไม่ได้ลืมวานรทั้งหลาย แต่พระองค์ทรงให้เกียรติวานรแต่ละท่าน และยกย่องวานรเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าฉะนั้น มันมีความสำคัญ สำหรับคนเราที่ว่า ถ้าแม้ร่ำรวย หรือได้รับการยกย่องให้อยู่ในตำแหน่งที่สูง เขาไม่ควรดูถูกดูหมิ่นคนใต้บังคับบัญชาและควรให้เกียรติแก่เขาเหล่านั้นตาม โอกาส พระรามแยกพระองค์เองออกจากพระนางสีดา เพียงเพื่อให้ประชาชนของพระองค์มีความสุข แต่ไม่ใช่เพราะเหตุผลที่เห็นแก่ตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้พระนางสีดา เป็นผู้บริสุทธิ์ และเป็นสตรีในอุดมการณ์ เรื่องราวได้เขียนเอาไว้ในรามจริตมานัสดังต่อไปนี้

สเนหมฺ ดยมฺ จ เสารวยมฺ จ อปิว ชนกิมปิ
อรธนย โลกกาสย มนฺชจโต นาสติเม วยถ

เพื่อที่จะทำให้ประชาชนมีความสบายใจ ข้าฯ ไม่รั้งรอที่จะแยกตัว ข้าฯ เองออกจากพระนางสีดาผู้บริสุทธิ์ แม้ว่าข้าฯ จะมีความทุกข์ทรมานเพียงไหนก็ตาม จริง ๆ แล้ว อันนี้เป็นหน้าที่ของพระราชาซึ่งเขาจะต้องเสียสละความสุขสบายของเขา เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนของพระองค์ พระองค์ทรงพร้อมที่จะทรงเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อรักษาธรรมะเอาไว้

พระรามได้ทรงรับที่จะเสด็จไปอยู่ป่าเป็นเวลา 14 ปี ด้วยความปิติยินดี เพื่อไม่ให้ครอบครัวบาดหมางกัน ทั้ง ๆ พระลักษณ์ได้ขอร้องพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่า ให้คัดค้านข้อเสนอของพระมารดาไกเกยี เพื่อที่จะรักษาสันติสุขในหมู่ประชาชนด้วย พระองค์จึงได้แยกพระองค์เองออกจากพระญาติของพระองค์ พระรามทรงทำพระองค์เองให้เป็นตัวอย่างแก่มนุษย์ เหมือนการกระทำของพระองค์เอง ครั้งนี้
ลักษณะนิสัยของพระรามนั้น แสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่า เด็กควรเชื่อฟัง และให้ความเคารพต่อบิดามารดาของเขา ไม่ควรอิจฉาริษยา ต่อพี่ชายน้องชาย หรือพี่สาวน้องสาว และเพื่อจะยุติการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง เขาควรเสียสละ ความสุขสบายของเขาเอง และอารมณ์ที่เห็นแก่ตัวของเขา

ร่มโพธิ์ของพระราม เปิดไว้สำหรับผู้ภักดี ที่ไปเฝ้าพระองค์ ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ และด้วยความภักดีอันสะอาดปราศจากมลทิน ในสายพระเนตรของพระรามแล้ว มันเป็นบาปอันยิ่งใหญ่ ที่จะทำร้ายโคหรือพราหมณ์ให้ได้รับความเจ็บปวดทั้งทางกายและใจ

โกติ วิปรวธ ลาคหิ ชหุ อายมฺ สรนฺ ตชวูน นหิ ตหุ

ความหมายก็คือว่า ถ้าบุคคลบางคนทำบาปอันหนักมาก โดยการฆ่าพราหณ์คนหนึ่งแต่ต่อมาภายหลัง สำนึกถึงบาปได้ และกลับมาหาข้าฯ แล้วข้าฯ จะกอดเขาไว้ในอ้อมแขนเพราะไม่มีผู้ใดยิ่งใหญ่เท่าพระผู้เป็นเจ้าอีกแล้ว ท่านโชคร้ายก็กลับเป็นโชคดี ดังคำกล่าวต่อไปนี้

ยควตร ลิขิตมฺ ภาเล ตนฺตมริศโย ไนว ชายเต
ศรเต ศรีราม ทศนมฺ เปรม นิรภาร เจตสมฺ

ความหมายก็คือว่า แม้จุดหมายปลายทางของบุคคลนั้นได้กำหนดเอาไว้ก่อนแล้ว ตามกรรมของเขาก็ตาม แต่พระรามผู้เปี่ยมไปด้วยความรัก ถ้าบุคคลนั้นไปหาพระองค์ด้วยความภักดีอันเต็มเปี่ยม บุคคลนั้นสามารถเปลี่ยนโชคชะตากรรมของเขาได้โดยการไปหาพระองค์ด้วยศรัทธาอัน เต็มเปี่ยม เส้นทางที่คดเคี้ยว สามารถทำให้ตรงตามที่ต้องการได้มันจะต้องเป็นศรัทธาและความภักดีที่แรงกล้ามาก


จาก - วารสาร ศรีมณเฑียร ทรรศน์ / สมาคมฮินดูสมาช

ข้อมูลจาก  http://www.siamganesh.com


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 21:31
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-16 21:36

ธรรมะแห่งราชา


[youtube]HcX_LZ7UdSY[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 21:36
[youtube]i0CkGE5phWE[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 21:37
[youtube]kkbqRYnr_nE[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 22:00


ธรรมะจากรามเกียรติ์
โดย พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)

วัดป่าสาลวัน
ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา



สงครามเทพและอสูร

สงครามระหว่างเทพและอสูรมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ธชัคคสูตร...ภูตะ ปุพพัง ภิกขะเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรื่องดึกดำบรรพ์เคยมีมาแล้ว สงครามแห่งเทวดากับอสูรได้เกิดประชิดกันแล้ว ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทพยดา เรียกหมู่เทวดาในชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า

"ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี บังเกิดขึ้นแก่หมู่เทพยดาผู้ไปสู่สงครามในสมัยใด ในสมัยนั้นท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเรานั้นเทียว เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี อันนั้นจักหายไป

ถ้าท่านทั้งหลายไม่แลดูชายธงของเรา ทีนั้นท่านทั้งหลายพึงแลดูชายธงของเทวราชชื่อ ปชาบดี เพราะว่าท่านทั้งหลายแลดูชายธงของเทวราชชื่อปชาบดี ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดมีอยู่ อันนั้นจักหายไป"

สูตรนี้เกิดขึ้นระหว่างสงครามของเทวดากับพวกอสูร มันต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องทศกัณฐ์ เมืองลงกา แน่ๆ



สรณะที่แท้จริงยามมีภัย

พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุว่าท้าวสักกเทวราช ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา เธอมีราคะยังไม่สิ้นไป มีโทสะยังไม่สิ้นไป มีโมหะยังไม่สิ้นไป เธอยังเป็นผู้กลัว ยังเป็นผู้หวาด ยังเป็นผู้สะดุ้ง ยังเป็นผู้หนี ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนเราแลกล่าวอย่างนี้ว่า ถ้าว่าท่านทั้งหลายไปอยู่ในป่าก็ตาม อยู่โคนต้นไม้ก็ตาม อยู่ในเรือนเปล่าก็ตาม ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี พึงเกิดขึ้นในสมัยใด ในสมัยนั้น ท่านทั้งหลายพึงระลึกถึงเรานั้นเทียวว่า

แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ควรไหว้ควรบูชา เป็นผู้รู้ชอบเอง เป็นผู้บริสุทธิ์แล้วด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกแจกธรรมดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าเมื่อท่านทั้งหลายตามระลึกถึงเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี อันใดจักมี อันนั้นจักหายไป"



ดูเป็น เห็นธรรม

ถ้าเรามีสติสัมปชัญญะ ดูอะไรมันก็ดูได้ ความเข้าใจของคนทั่วไป คำว่า ธรรมะ ที่จะนำมาพิจารณานี่ มีแต่เรื่องของกายกับใจ เรื่องของกิเลสที่มีอยู่ในใจ ความจริง ธรรมะอันเป็นอารมณ์ของจิตนี่มันหมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสามารถรู้ได้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ถ้าหากว่าจิตใจถึงธรรมะแล้ว ดูอะไรมันก็ไม่เสียหาย

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสโส อ้วน) ถามหลวงปู่มั่นว่า

"ท่านมั่น อยู่แต่ป่าไปฟังเทศน์ที่ไหน"

อาจารย์มั่นท่านก็ตอบว่า "ถ้าจิตใจมีธรรมะ อยู่ที่ไหนก็ได้ฟังธรรม"

ทำไมถึงว่าอย่างนั้น...เพราะทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ ตั้งแต่อณูปรมาณูจนกระทั่งมวลสารที่เกาะกลุ่มกันเป็นก้อนใหญ่โต มันคือธรรมะประเภท สภาวธรรม

ธรรมะประเภทสภาวธรรมนี่แหละเป็นอารมณ์จิต ถ้าหากว่าผู้ขาดสติ สติไม่เข้มแข็ง ตาเห็นรูปมันก็หลงยินดียินร้าย หูได้ยินเสียงมันก็หลงยินดียินร้าย จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจนึกคิด ก็หลงยินดียินร้าย พอใจ ไม่พอใจ

ความจริงมันก็แสดงปรากฏการณ์ให้เรารู้เห็นอยู่ตลอดเวลา เราดูสิ่งนี้เราทุกข์หรือเราสุข เราเห็นสิ่งนี้เรายึดมั่นถือมั่นหรือว่าเรารู้จักปล่อยวาง อันนี้คือความจริงที่ปรากฏอยู่ทุกขณะจิต ทุกลมหายใจ สำหรับผู้มีสติ

เพราะฉะนั้น การดูหนังดูละคร ละครที่เป็นธรรมะ เขาจะสรุปลงว่า ดูหนังดูละครให้ย้อนดูตัวเอง ชีวิตของคนเราในโลกนี้คือตัวละครแต่ละตัวๆ ต่างคนต่างแสดงออกตามนิสัยและความสามารถของตัวเอง

นัจจะ คีตะ วา หมายถึงการขับร้องประโคมดนตรี ถ้าหากว่าเป็นเรื่องขับร้องประโคมดนตรี พระไปดู มันก็ล่อแหลมต่ออันตราย

แต่นิยายอันใดที่เป็นบทละคร มันเป็นคติเตือนใจ เช่น ละครเรื่อง เวสสันดรชาดก อันนี้เป็นนิยายอิงธรรมะเรื่องรามเกียรติ์ นี่ก็เป็นนิยายอิงธรรมะ เป็นนิยายเก่าแก่ที่สุด ของจีนก็สามก๊ก เป็นนิยายอิงธรรมะเหมือนกัน มีทั้งการเมือง เศรษฐกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม พร้อมหมดในเรื่องนั้น ใน เวสสันดรชาดก ก็มีเกษตรกรรม อุตสาหกรรม รัฐธรรมนูญ ประชาธิปไตย มีพร้อมหมด ถ้าเรื่องอย่างนี้พระดูก็ไม่เสียหาย

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 22:00
จากสุภะ...สู่อสุภะ

มีอยู่หลายๆ คน ปฏิบัติสมาธิแล้ว นั่งดูโทรทัศน์ พอตัวพระตัวนางออกมา ตอนแรกก็รู้สึกสวยงามดี พอดูไปดูมาจิตมันเป็นสมาธิ เห็นแต่โครงกระดูกเต้นไล่หยอกกันอยู่

ข้อเท็จจริงที่เกิดกับหลวงพ่อเอง วันหนึ่ง เดินจงกรมอยู่ หลวงพ่อก็พิจารณา กายคตาสติ ตามสูตรท่านให้พิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก แต่หลวงพ่อไม่เอาอย่างนั้น พอขึ้นต้น ผมฉันเกิดอยู่บนศรีษะไม่แก่ไม่หงอก ที่เกิดของผมเป็นท่อทางระบายสิ่งโสโครกออกจากร่างกาย ผมเป็นเครื่องประดับร่างกายให้ครบถ้วน อาการ ๓๒ ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ก็พิจารณาไปตามหน้าที่ของแต่ละส่วน จนกระทั่งไปถึงหัวใจ หัวใจมีหน้าที่สูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย ปอดมีหน้าที่หายใจ มีประโยชน์อย่างนั้นๆ แล้วสรุปลง อวัยวะทุกส่วนในร่างกายของฉันนี่ มีความแข็งแรงสมบูรณ์ ต่างก็ทำหน้าที่ของตนไม่ขาดตกบกพร่อง ทำให้สุขภาพร่างกายของฉันแข็งแรงสมบูรณ์

พิจารณาไปๆ จิตแยกเป็น ๓ มิติ มิติหนึ่งพิจารณาเอง มิติหนึ่งจ้องมองดู อีกมิติหนึ่งมาเฉยอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย



ของดีจากรามเกียรติ์

ธรรมะที่ได้จากรามเกียรติ์ เราสรุปหัวข้อได้ชัดเจน ๕ เรื่อง

๑. เวรไม่ระงับเพราะการจองเวร

๒. สมาธิ ตบะ ญาน ญาณต่างๆ เราไม่มีศีลเราก็ปฏิบัติได้แต่สมาธิที่ไม่มีศีลเป็นเครื่องประกันความปลอดภัย ย่อมเป็นพิษภัยต่อสังคม

๓. ความซื่อสัตย์ต่อสามี สีดาเป็นหญิงผู้เคารพในศีลข้อกาเมฯ

๔. ความรักอันแน่นแฟ้นระหว่างพี่กับน้อง มีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อกัน

๕. ความกตัญญูของลูกที่มีต่อพ่อ

หนังละครที่ชอบที่สุดคือ รามเกียรติ์ มันไปได้คติตรงที่ว่าตอนที่พระรามหักคันศรพระศิวะ พระปิตุลาบำเพ็ญตบะอยู่บนยอดเขามเหธร สำเร็จอิทธิฤทธิ์ล่องหนหายตัวได้ พอได้ยินเสียงคันศรหัก เหาะมาทางอากาศ "มันมาบังอาจพังคันศรพระศิวะที่ข้าบูชาอยู่ คนนั้นมันจะต้องตายลูกเดียว"

วาทะของผู้ปฏิบัติโดยมีศีลเป็นเครื่องประกันความปลอดภัยจะไม่มีอย่างนี้ เพราะฉะนั้น สมาธินี่ใครจะเก่งแค่ไหนเชิญเก่งไปเถอะ แต่ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ ไม่มีทางจะรอดพ้นจากกองทุกข์ ไม่พ้นจากนรกเสียด้วยซ้ำ

เพราะฉะนั้น ใครจะว่าเราได้หรือไม่ได้ เราภาวนาเป็นหรือไม่เป็น ขอให้ยึดศีล ๕ เป็นหลัก พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ อยู่ที่ตรงไหน อยู่ที่เรามีสติรู้จิตอยู่ตลอดเวลา จิตที่มีสติสัมปชัญญะ มันก็รู้ตัวอยู่ แล้วมันก็เตรียมพร้อมอยู่มันตื่นอยู่ตลอดเวลา พร้อมที่จะรับสถานการณ์ตลอดเวลา มันจะไม่หันหลังให้ เมื่อเป็นเช่นนั้นมันก็แช่มชื่น เบิกบาน แจ่มใส เป็น พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

ในเมืองไทยมีนักภาวนาเก่งๆ แต่แก้ปัญหาไม่ได้ เพราะอะไร เพราะนักภาวนามันทุศีล มาสมาทานศีล ๘ กินนมตอนเย็น พระภิกษุสงฆ์บวชเข้ามาแล้วจับเงินจับทองใช้เอง ในเมื่อมาละเมิดศีลสิกขาบทในพระปาฏิโมกข์นี่ มันก็กลายเป็นคนทุศีล

สมาธินี่ไม่จำเป็นต้องมีศีล แต่ต้องอาศัยสัจจะ ลองว่าฉันจะนั่งให้ได้ ๑๐ ชั่วโมง มันก็ได้สมาธิ ได้ฌานเหมือนกัน แต่สมาธิฌานที่ไม่มีหลักประกันความปลอดภัยคือศีล สามารถประทุษร้ายคนอื่นได้ เช่นอย่างพวกยักโขทั้งหลายนี่ อันนี้ใครจะถือว่าเป็นนิยายปรัมปราก็ช่างเถอะ แต่หลวงพ่อเอามาเป็นเครื่องสอนตัวเอง มันมาได้นึกว่าสมาธินี่มันเก่งแค่ไหนก็เชิญเก่งไป อินทรชิตเข้าสมาธิ แสงสว่างมันออกวาบๆๆ จนลุกเป็นไฟ แต่พอออกจากสมาธิแล้วจับศรยิงกันสะบั้นหั่นแหลก นี่คือสมาธิที่ไม่มีศีล

เพราะฉะนั้น ใครจะว่าอย่างไรก็ตาม ให้เราดูจิตดูใจของเรา เราปฏิบัติอย่างนี้ จิตของเราสงบไหม เราได้ความสุขจากการปฏิบัตินั้นไหม สิ่งที่เป็นบาปทั้งหลายเราเลิกละได้ไหมดูกันที่ตรงนี้ ไม่ต้องไปเที่ยวดูเมืองฟ้าเมืองสวรรค์ที่ไหนหรอก

เพราะฉะนั้น การรู้ธรรม เห็นธรรม

๑. รู้ความจริงของกายของเรา ว่าเรามีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะแบกหามภารกิจได้ไหม
๒. เรามีจิตใจมั่นคงต่อการสร้างคุณงามความดีได้ไหม

เราไปนั่งภาวนาแล้วเห็นเทวดาอินทร์พรหมยมยักษ์มาแล้ว เราคิดจะนอกอกนอกใจสามีไหม เราคิดอยากจะไปลักขโมยฉ้อโกงทรัพย์สมบัติของใครไหม เราคิดอยากจะด่า จะฆ่า จะตีใครไหม ดูกันที่ตรงนี้ อย่าไปดูที่อื่น



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 22:01
อิทธิฤทธิ์หรือจะสู้บุญฤทธิ์

หนุมานทุ่มก้อนหินใส่กุมภกรรณ กุมภกรรณจับขยี้แหลกเป็นผงไปเลย เอาก้อนใหม่ทุ่มไปอีก ก็จับโยนไป พวกนี้สำเร็จอิทธิฤทธิ์มาได้อย่างไร มันสำเร็จมาได้ด้วยการบำเพ็ญตบะ จนพระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร เห็นใจประทานพรให้มันเป็นผู้มีฤทธิ์ แต่เสร็จแล้วมันก็มาเที่ยวฆ่ากันอยู่ เพราะฉะนั้น สิ่งที่วิเศษที่สุดก็คือศีล ถ้ามีศีลบริสุทธิ์แล้วไม่ต้องไปคำนึงถึงอะไร

พระท่านไปเที่ยวเทศน์ ท่านไล่เรื่องญาณเรื่องฌานอะไรแข่งกัน พอเทศน์จบ ลงจากธรรมาสน์มา ก็มานั่งด่ากันขโมงโฉงเฉงอยู่ ไม่เห็นได้ประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้น สิ่งที่จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริงในปัจจุบันนี่

ใครมีเมีย รักสงสารเมียของตนเองมากๆ
ใครมีผัว รักสงสารผัวของตนเองให้มากๆ
ใครมีลูก รักเมตตาปราณีต่อลูกให้มากๆ
ใครมีพ่อมีแม่ รักเคารพบูชาพ่อแม่ให้มากๆ เลี้ยงดูท่านให้มีความสุข
ถ้าใครทำได้ มันจะมีฤทธิ์เดช เรียกว่า บุญฤทธิ์

คนมีบุญฤทธิ์นี่ ไปที่ไหนก็สงบเยือกเย็น ไม่ไปก่อกรรมทำเข็ญให้ใครเดือดร้อน มีแต่พวกภูติผีปีศาจที่มันไม่นิยมชมชอบในคุณธรรมนั่นแหละ มันจะร้อนเป็นไฟ

เราปฏิบัติสมาธิ จิตของเราไปถึงไหน สมาธิขั้นใด ตอนใด กี่ขั้นก็ตาม ผลลัพธ์ก็คือ เราละความชั่วได้ นี่มันอยู่ที่ตรงนี้ เรื่องของสมาธินี่ ถึงใครจะวิเศษวิโสสักปานใด มันไม่ใช่สิ่งวิเศษหรอก มันวิเศษอยู่ตรงที่ว่า เมื่อจิตเราเป็นสมาธิแล้ว เราละบาปได้หรือเปล่า ศีล ๕ เราบริสุทธิ์หรือเปล่า



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 22:02
เวรย่อมไม่ระงับเพราะการจองเวร

ตอนที่ทศกัณฐ์ทำสงครามกับเทวดา ทศกัณฐ์จับพระอินทร์มาขังเอาไว้ แล้วก็ปลอมแปลงเป็นพระอินทร์ไปขโมยสีดาซึ่งเป็นชายาของพระอินทร์ พอพระอินทร์พ้นจากการถูกคุมขังของทศกัณฐ์ กลับไปสวรรค์ สีดาก็รายงานพระอินทร์ว่า ได้เสียท่าทศกัณฐ์แล้ว ขอพรพระอินทร์ ขอลงไปแก้แค้นทศกัณฐ์ พระอินทร์ก็อนุญาต สีดามาปฏิสนธิในครรภ์ของพระนางมณโฑซึ่งเป็นมเหสีของทศกัณฐ์

พอคลอดออกมาได้ เด็กตัวเล็กๆ เอามีดปลายแหลมๆ นี่จิ้มหน้าอกพ่อ โหรพิเภกก็ทำนายว่าลูกคนนี้เลี้ยงไว้ไม่ได้จะทำลายวงศ์สกุล เมืองลงกาจะพินาศย่อยยับเพราะลูกคนนี้ ทศกัณฐ์ก็ให้เอาใส่หีบทองคำปิดให้มิดชิด แล้วเหาะข้ามทะเลไปฝังไว้ในแดนมนุษย์ ไม่ทราบว่ากี่วันกี่เดือน นายพรานของพระยาเมืองมิถิลาไปล่าเนื้อไปพบเข้าพูดขึ้นมา เด็กตัวเล็กๆ ถูกฝังดินอยู่ตั้งหลายวันไม่ตาย

นี่ ปัญหาตรงนี้ ว่าทำไมจึงไม่ตาย ถูกฝังอยู่ในดิน ก็เพราะ เวรกรรมมันจองกันอยู่ มันเลี้ยงเอาไว้ อำนาจของกรรมเวรเลี้ยงเอาไว้ เขานำไปถวายพระเจ้ากรุงมิถิลา พระองค์ก็เลี้ยงไว้เป็นพระธิดาบุญธรรม มีรูปร่างหน้าตาสวยที่สุด ในสามโลกนี่ไม่มีใครเทียมเท่า

ภายหลังรามกับลักษมณ์ไปอยู่ป่า ทศกัณฐ์ก็มาขโมยเอาสีดาไป เรียกว่ามาขโมยเอาลูกตัวเองไป ไปกักไว้ที่สวนอโศก คนใส่เสื้อผ้าชุดเดียว อยู่ในสวนอโศก ๑๔ ปี ตากแดดตากฝนอยู่นั่นไม่เป็นไข้ตาย นี่ก็เพราะ แรงกรรมเลี้ยงเอาไว้ จนกระทั่งพระรามยกกองทัพไปปราบกรุงลงการาพณาสูร



อินทรชิตลูกกตัญญู

อินทรชิตมาบอกกับทศกัณฐ์ว่า "เสด็จพ่อยังมีเวลา พระลักษมณ์หรือพระราม ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดา เขาเป็นพระเป็นเจ้า ยังไม่สายเกินไป รีบเอาสีดาไปคืนให้เขา แล้วไปอ่อนน้อมต่อเขาเสีย"

ทศกัณฐ์ก็โมโหใหญ่ ไล่ลูกชาย "ถ้าเจ้าขี้ขลาดก็ไปนอนอยู่วังของเจ้า พ่อได้ตัดสินใจแล้วว่าจะรบกับพระรามจนถึงที่สุด"

อินทรชิตเมื่อถูกบิดาบังคับ ก็ได้คติอันหนึ่งว่า จะเป็นใครก็ตาม ถ้าหันหลังให้บิดามารดา ทิ้งทรัพย์สมบัติ แล้วเอาตัวรอด เอาตัวหลุดพ้นแต่ตัวคนเดียว แม้เทวดาก็ไม่สรรเสริญ จึงบอกกับพระบิดาว่า "จิตใต้สำนึกของหม่อมฉัน ไม่ยอมรับว่าเราจะชนะสงคราม แต่ต้องทำใจแข็งว่าเราจะต้องชนะ เพราะเป็นคำสั่งของพระบิดา" ออกไปรบก็ถูกพระลักษมณ์ยิงศรตัดศีรษะตาย



สัมมาทิฏฐิ

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญู หิ ธรรมะของจริงอันผู้ปฏิบัติ ผู้รู้ พึงเห็นเอง รู้แล้วให้คนอื่นตอบให้ก็ไม่ได้ ต้องตัดสินเอาเอง หลักตัดสิน เราจะเอาอะไรเป็นเครื่องวัด ในเมื่อรู้แล้วเห็นแล้ว เมื่อจิตของเรายอมรับ มันเลิกละสิ่งที่เป็นบาปเป็นอกุศลได้ จิตใจบริสุทธิ์ นั่นใช้ได้

ถ้ายิ่งรู้ยิ่งเห็น ยิ่งทะนงตัว เหมือนทศกัณฐ์ อันนั้นใช้ไม่ได้ ทศกัณฐ์เก่งตบะ บำเพ็ญฌาน จนพระพรหมประทานน้ำอมฤตให้ไว้ในทรวงอก ใครฆ่าไม่ตาย พอพระรามยิงศรไปถูกคอมัน ศีรษะมันขาดลอยไป ศีรษะใหม่เกิดขึ้นมา มันยิ่งเก่งก็ยิ่งทะนงตัว ถือว่าเป็นใหญ่ มีอำนาจคลุมหมดทั้งสามโลก แต่มันลืมนึกว่า เหนือฟ้ายังมีฟ้า ในที่สุดมันก็สิ้นชีวิตไปเพราะน้ำมือของพระราม



สัมมาสติ-สัมมาสมาธิ

พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า "อานนท์ เธอว่าตัณหาเกิดจากอะไร"

"ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรม"

พระองค์ก็ทรงแสดงว่า "ตัณหาเกิดจากตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ เกิดได้เพราะตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส"

"มันจะดับที่ตรงไหน"

"มันเกิดที่ไหนมันก็ดับที่ตรงนั้น คือมันจะดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ"

"ทำอย่างไรมันจึงจะดับ"

"ฝึกสติ"

อันนี้หลักฐานยืนยันชัดเจน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฝึกสติ ไม่ต้องไปคำนึงว่าเราจะไปนั่งสมาธิที่ไหน ในวัดใด สมาธิจะได้ลึกตื้นหนาบางเพียงใด แค่ไหน ขอให้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา




คัดลอกมาจาก
http://www.geocities.com

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 22:13
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-17 06:14




จิตร ภูมิศักดิ์
ที่แสดงความคิดเห็นในเรื่อง รามเกียรติ์ ว่า...

" เรื่องราวการต่อสู้ ระหว่าง พระราม กับ ทศกัณฐ์
เป็นการต่อสู้ทางชนชั้น...เป็นเค้าความจริงทางประวัติศาสตร์ "


" ชำแหละรามเกียรติ์ " โดย ภิกขุโพธิ์แสนยานุภาพ
เลยได้ความรู้ใหม่ว่า..." รามเกียรติ์ "...

ถอดรูปจากหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่เป็นรูปธรรม มาเป็น นามธรรม
ในลักษณะของนิยายเพื่อเป็นภาชนะรองรับสาระทางธรรมะ
ไว้ให้อยู่นานที่สุดเท่าที่จะนานได้...
และคงจะใช้เป็นสื่อในการสอนธรรมะมานาน


..สาเหตุที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้ รามเกียรติ์ เป็นสื่อสอนธรรมะ
คงจะเกิดการขาดตอนของผู้ที่สามารถตีความหมายของตัวละคร
ไปในช่วงใดช่วงหนึ่ง..


เนื้อหาในหนังสือจะตีความ ของแต่ละตัวละคร
ในแต่ละตอนของรามเกียรติ์..โดยจะเล่าเรื่องก่อน
แล้วอธิบายเป็น พุทธธรรม ในตอนท้ายของเรื่อง
ตัวอย่าง ของการตีความตัวละคร เช่น


-พระราม แปลว่า ยินดี หรือ ศรัทธา
-สีดา แปลว่า นิพพาน
-พระลักษณ์ แปลว่า วิริยะ ความพากเพียร
-ทศกัณฑ์ คือ อัตตานุทิฏฐิ ได้แก่กิเลสประเภทเดือด จัดเป็น "ตัวกู"



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 22:30
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-16 23:45

เจาะเกราะรามเกียรติ์(เปิดตำนานรามเกียรติ์ )



หนึ่งในเทพนิยายของเอเชียที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้น รามายณะ ก็คือมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ที่ถูกรจนาขึ้นมาจากดินแดนที่ได้ชื่อว่าลี้ลับที่สุดในโลกอย่างชมพูทวีป

                บทความชุดนี้ที่จะพูดถึงเรื่องของรามายณะหรือที่คนไทยรู้จักในชื่อรามเกียรติ์นั้น

จะขอเสนอมุมมองและเจาะลึกลงไปในสิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในมหากาพย์เรื่องนี้

*
                หากใครที่ได้ลองอ่านเรื่องนี้ดูอย่างจริงจังและคิดเรื่องราวต่างๆในเทพนิยายเรื่องนี้

ตามหลักความจริงโดยตัดเอาสิ่งเหนือธรรมชาติและอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ทั้งหลายออกไปแล้ว

อาจจะมองเห็นเหมือนที่ผมเห็นอยู่อย่างหนึ่ง นั่นคือแท้จริงแล้ว

รามเกียรติ์และรามายณะก็คือบันทึกประวัติศาสตร์สงคราม

และการเมืองของชนชาติโบราณสองชนชาติที่มีอยู่จริงในโลก

นั่นคืออารยันและดราวิเดียน


  



ต้นกำเนิดรามายณะ และ รามเกียรติ์


                ก่อนหน้าจะเกิดเป็นรามเกียรติ์นั้น ต้นเรื่องของวรรณกรรมเรื่องนี้คือมหากาพย์เก่าแก่ที่ชื่อรามายณะ ซึ่งเป็นวรรณกรรมภาษาสันสกฤต ที่ถูกรจนาขึ้นมาโดยฤาษีวาลมิกิ โดยแต่งขึ้นมาเป็นโคลงกลอนแบบอินเดียที่เรียกว่าโศลก ซึ่งมีความยาวทั้งสิ้น 24,000 โศลก


เกี่ยวกับการแต่งเรื่องรามายณะขึ้นมานั้นมีตำนานเล่าว่าฤาษีวาลมิกิอาศัยอยู่ร่วมกับภรรยาของตนชื่อนางตมสาอยู่ในอาศรมที่ฝั่งริมแม่น้ำคงคา ในวันหนึ่งท่านได้ยินเสียงร้องคร่ำครวญของนางนกกระเรียนตัวเมียที่ร่ำร้องให้กับนกกระเรียนตัวผู้ที่ถูกนายพรานยิงและนอนนิ่งอยู่ข้างตัว เสียงร้องของมันเศร้าโศกมาก ฤาษีเห็นเช่นนั้นก็อดโศกตามไม่ได้ จึงได้เอื้อนเอ่ยเสียงร้องออกมาเป็นบทกวีบทหนึ่งที่มีความโศกเศร้ารันทดมาก ซึ่งการเอื้อนเอ่ยบทกวีในครั้งนี้เองที่กลายมาเป็นการค้นพบการแต่งฉันทลักษณ์รูปแบบใหม่ของอินเดียที่เรียกว่าโศลก



                หลังจากค้นพบการแต่งโศลกแล้ว ฤาษีวาลมิกิก็คิดจะแต่งบทกวีหรือเรื่องราวขึ้นมาสักเรื่อง จึงได้นึกไปถึงเรื่องราวการต่อสู้ระหว่างฝ่ายธรรมและอธรรมที่เคยได้ยินมาจากพระนารท ซึ่งเป็นฤาษีอีกคน ท่านจึงได้ลองร้อยเรียบเรียงถ้อยคำที่ได้ฟังขึ้นมาเป็นโศลกที่มีความยาวกว่า 24,000 โศลก แบ่งเนื้อหาเป็นทั้งหมด 7 กัณฑ์ และนั่นก็คือที่มาของมหากาพย์รามายณะ



                หลังจากแต่งขึ้นมาแล้ว ท่านก็ได้นำออกเผยแพร่ซึ่งสร้างความตื่นตาแก่ผู้ได้พบฟังมาก เพราะท่านได้สอดแทรกเอาเรื่องราวของสังคมในยุคของท่านใส่ไว้ในเรื่องอย่างแยบคาย ทั้งในเรื่องของศีลธรรม จริยธรรม สัจธรรมของธรรมชาติ และผลที่ตามมาที่เกิดจากการปล่อยตัวและวิญญาณไปตามอารมณ์ทั้งหลายเช่น ความรัก ความโกรธ ความหลง ทำให้รามายณะกลายเป็นที่แพร่หลายไปทั่วอินเดียในยุคนั้น และต่อมาไม่รู้ว่าเพราะอะไร รามายณะจึงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์เวทที่สั่งสอนกันมาในศาสนาฮินดูและเชื่อกันว่าหากผู้ใดได้ฟังเรื่องรามายณะจนจบครบก็จะได้ไปสู่สวรรค์



                เรื่องรามายณะไม่เพียงแต่แพร่หลายไปทั่วอินเดียเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายออกไปในแต่ละประเทศ และเมื่อออกไปสู่ภูมิภาคหรือดินแดนใดก็จะถูกผสานเข้ากับความเชื่อ วัฒนธรรมของดินแดนแต่ละแห่งอย่างกลมกลืน และเมื่อได้เข้าสู่ประเทศไทย เรื่องนี้ก็ได้ถูกนำเอาศิลปะ วัฒนธรรมของคนไทยผสานเข้าไป จนก่อเกิดเป็นเรื่องรามเกียรติ์ขึ้น


                ตามหลักฐานที่มีนั้นบ่งชี้ว่าเรื่องรามายณะเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกในสมัยอยุธยา และถูกดัดแปลงจนกลายมาเป็นเรื่องรามเกียรติ์ โดยมีปรากฏเห็นเด่นชัดในสมัยที่ศิลปะและวรรณกรรมเฟื่องฟูสุดขีดนั่นคือยุคของพระนารายณ์มหาราช
*

                หลังจากอยุธยาเสียกรุงครั้งที่สอง เรื่องรามเกียรติ์ก็หายไป แต่พระเจ้าตากสินทรงมีดำริที่จะฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมขึ้นใหม่ จึงได้ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์ขึ้นมาเป็นบทละครร้องด้วยพระองค์เองทั้งหมด 4 ตอน แต่ก็มีเพียงแค่นั้น ยังไม่ได้มีการเรียบเรียงเนื้อหาทั้งหมดให้เป็นเรื่องเป็นราวนัก จนกระทั่งหลังจากที่ร.1


ทรงก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ก็ได้ทรงมีดำริที่จะชำระวรรณกรรมสำคัญของชาติที่หายไปขึ้นมาใหม่ ประกอบไปด้วย รามเกียรติ์ สามก๊ก อิเหนา อุณรุท ดังนั้นเรื่องรามเกียรติ์จึงได้ถูกเรียบเรียงและแต่งขึ้นมาใหม่จนสมบูรณ์กลายเป็นรามเกียรติ์ฉบับที่คนไทยรู้จักกันในทุกวันนี้
                 


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 22:30
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-17 06:21

รามเกียรติ์และมหากาพย์อีเลียด



                เรื่องรามเกียรติ์นั้นหากจะกล่าวเนื้อหาโดยสรุปแล้วก็คือบันทึกการสงครามระหว่างฝ่ายธรรมและอธรรม
โดยตัวแทนฝ่ายธรรมนั้นก็คือมนุษย์ ลิง และเทวดา ส่วนตัวแทนฝ่ายอธรรมก็คือยักษ์

















                แต่จะมีใครรู้บ้างว่า มันคือสงครามที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์อันไกลโพ้น

ระหว่างสองเผ่าพันธุ์ นั่นคืออารยัน(อินโด-ยูโรเปียน)และดราวิเดียน(ทมิฬ)

   เพียงแต่บันทึกของสงครามนี้ไม่ได้ถูกบันทึกเก็บมาในรูปแบบของเอกสารทั่วไป  

แต่กลายมาเป็นบทร้อยกรองอันสละสลวยและมีการแต่งเติมความพิสดารพันลึก

และแทนเรื่องราวหรือผู้คนหลายสิ่งด้วยสัญลักษณ์ต่างๆเช่น เทพ อสูร คนธรรพ์

ซึ่งหากเราลองตีความกันจริงๆแล้ว จะพบอะไรๆหลายอย่างที่ซ่อนอยู่ในเนื้อหา

และเรื่องราวของรามเกียรติ์มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ


ทำไม..????

จึงเชื่อได้แน่นอนว่าการต่อสู้ระหว่างมนุษย์ เทพ ลิงและยักษ์ในรามเกียรติ์คือ...

บันทึกสงครามระหว่างชาวอารยันและดราวิเดียน นั่นเพราะเดิมทีชมพูทวีปโดยเฉพาะพื้นที่ตอนใต้นั้น

เป็นดินแดนที่มีชนเผ่าดราวิเดียนตั้งรกรากอยู่ ชนเผ่าดราวิเดียนนั้นเป็นพวกที่มีรูปร่างสูงใหญ่ ผิวดำคล้ำ ผมหยิก

ซึ่งจะเห็นได้ว่ายักษ์ในเรื่องรามเกียรติ์กับชนเผ่าดราวิเดียนมีลักษณะไม่แตกต่างกันเลย ในขณะที่ชนเผ่าอารยันนั้น

ไม่ใช่ชนชาติที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มาแต่แรก แต่เป็นชนชาติที่อพยพมาจากทางตอนเหนือ

พวกนี้มีผิวกายขาว รูปร่างหน้าตาคมสันกว่าพวกดราวิเดียน ซึ่งจะว่าไปก็คือพวกมนุษย์และเทพใน


รามเกียรติ์นั่นเอง


                นอกจากนี้ยังมีอีกประการหนึ่งที่ไม่รู้ว่ามีใครที่สังเกตบ้างหรือไม่ เรื่องราวอันเป็นเนื้อหาหลักของรามเกียรติ์

นั้นมีส่วนที่คล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อกับมหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเรื่องหนึ่งของซีกโลกตะวันตก


                ถ้านึกไม่ออกผมจะช่วยบอกให้ นั่นก็คือ มหากาพย์อีเลียดและโอดิสซีที่มหากวีโฮเมอร์เป็นผู้แต่งขึ้นเมื่อหลายพันปีก่อนนั่นเอง


                อะไรคือความเหมือนระหว่างมหากาพย์สองเรื่องนี้ ตอบได้ง่ายมาก นั่นเพราะต้นเหตุที่ก่อให้เกิดสงครามครั้งยิ่งใหญ่ขึ้นมาของสองเรื่องนี้ เหมือนกันไม่ผิดเพี้ยน นั่นคือการที่นางเอกของเรื่องได้ถูกอีกฝ่ายชิงตัวไป


                ในรามเกียรติ์ นางสีดา ชายาของพระราม รัชทายาทแห่งอโยธยาได้ถูกท้าวทศกัณฐ์ ผู้ครองนครลงกาจับตัวไป
                ในอีเลียด นางเฮเลนชายาของเมเนเลอุสแห่งสปาร์ตา ได้ถูกเจ้าชายปารีสแห่งทรอยพาตัวไป
                เรื่องหลังจากนั้นยังเหมือนกันจนไม่น่าเชื่อ


                พระรามได้กองกำลังจากนครขีดขินและเมืองชมพูเข้าร่วมรบ โดยมีเหล่าเทพแห่งเขาไกรลาสหรือเขาพระสุเมรุคอยช่วยเหลือ มีทหารเอกที่เก่งกล้าที่สุดอย่างหนุมาน นำกองทัพลิงเข้าโจมตีนครลงกา


                เมเนเลอุสได้รับความช่วยเหลือจากอะกาแมมนอน กษัตริย์แห่งเอเธนส์ และแคว้นต่างๆเข้าร่วมเป็นกองทัพพันธมิตร โดยกองทัพกรีกได้รับการหนุนหลังจากเทพเจ้าแห่งเขาโอลิมปุส ในกองทัพก็มีทหารเอกอย่างอคิลลิส เข้าโจมตีกรุงทรอย


                และมีเรื่องหนึ่งที่คงไม่มีใครรู้...


                นครลงกาอันเป็นนครของวงศ์ยักษ์ที่ทศกัณฐ์เป็นผู้ปกครองในเรื่องรามเกียรติ์นั้นมีอยู่จริงครับ แท้จริงแล้วนั่นคือเกาะศรีลังกานั่นเอง


                มีปรากฏชัดเจนของเอกสารที่บันทึกประวัติศาสตร์หลายแห่งที่มักเรียกเกาะศรีลังกาในอดีตว่าลงกา และหากสืบค้นประวัติศาสตร์ดูแล้ว จะพบว่าประเทศนี้เป็นดินแดนที่พวกดราวิเดียนได้ตั้งรกรากและสร้างบ้านเมืองเอาไว้


                กรุงทรอยในเรื่องอีเลียด ก็เป็นประเทศที่อยู่บนเกาะซึ่งพวกกรีกต้องนำกองทัพเรือฝ่าข้ามไปเช่นกัน ดังนั้นหากเรามองเรื่องรามเกียรติ์ในฐานะประวัติศาสตร์ที่จับต้องได้แล้ว นครลงกาก็คือไม่ผิดอะไรกับกรุงทรอยในอีเลียด
*

                มันเป็นเรื่องตลกดีไหม ที่วรรณกรรมสองเรื่องที่ถิ่นกำเนิดอยู่ห่างกันคนละซีกโลก และเกิดมาในยุคสมัยอันไกลโพ้นที่มนุษย์ยังคงมีชีวิตที่ผูกติดอยู่กับสิ่งบูชาอย่างเทพเจ้า กลับมีเนื้อหาและเรื่องราวที่คล้ายคลึงกันอย่างไม่น่าเชื่อ


ที่มา..http://www.oknation.net/blog/print.php?id=167495


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 23:25
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-17 06:39

เจาะเกราะรามเกียรติ์
ตำนานเทพเจ้าฮินดูกับตำนานเทพเจ้ากรีก



สาวอินเดียเชื้อสายอารยัน



                เกี่ยวกับประเด็นที่รามเกียรติ์อันเป็นวรรณกรรมของซีกโลกตะวันออก มีความคล้ายคลึงกับวรรณกรรมของซีกโลกตะวันตกอย่างอีเลียดนั้น พอจะหาคำตอบได้อย่างหนึ่ง

                นั่นคือเผ่าอารยันที่เข้ามาตั้งรกรากในอินเดียและกลายเป็นผู้ครอบครองดินแดนนี้แทนที่ชาวดราวิเดียนนั้น เป็นพวกที่อพยพมาจากทางฝั่งซีกโลกตะวันตก


                มีบันทึกประวัติศาสตร์จำนวนมากได้บันทึกว่าชาวอารยันคือพวกที่อพยพมาจากดินแดนทางฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ในราวๆ 1500 ปีก่อนคริสตกาล โดยในยุคนั้นดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียกำลังมีอาณาจักรใหม่เกิดขึ้นโดยชาวอารยันอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกัน นั่นคือประเทศอิหร่านในปัจจุบัน
*

                ในยุคนั้นอินเดียยังไม่ได้รวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียวกัน โดยศูนย์กลางความเจริญสูงสุดของดินแดนนี้อยู่ที่บริเวณลุ่มน้ำสินธุซึ่งได้ชื่อว่าเป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองมาก มีการสร้างเส้นทางค้าขายไปยังโลกตะวันออกกลาง และได้ติดต่อค้าขายกับทางเมโสโปเตเมียอยู่เป็นประจำ แต่หลังจากนั้นอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุนี้ก็เริ่มถูกทำลายลงเพราะแม่น้ำสินธุเกิดท่วมและเข้าทำลายบ้านเมือง อีกสาเหตุหนึ่งก็เพราะโดยผู้รุกรานอย่างพวกอารยัน ซึ่งได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานและขยายอำนาจไปจนถึงทางตะวันออกของแม่น้ำคงคา


                สำหรับพวกดราวิเดียนอันเป็นชนเผ่าที่ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนนี้มาแต่แรกนั้น ได้ลงไปตั้งถิ่นฐานอันมั่งคงที่ตอนใต้ของอินเดียและเกาะศรีลังกา หรือก็คือนครลงกาในรามเกียรติ์นั่นเอง


                จากการขยายดินแดนของชาวอารยันแล้ว ดูเหมือนชาวอารยันจะเป็นพวกชนชาติที่ชอบการทำสงครามขยายดินแดนเป็นหลัก ซึ่งค่อนข้างจะเป็นนิสัยประจำตัวของชนชาติทางโลกตะวันตกในยุคนั้นเช่นชาวไมซีเนียนที่ได้เข้าครอบงำกรีก ชาวอัสซีเรียนที่ได้สร้างอาณาจักรอัสซีเรียขึ้น และชาวไมแทนนีกับชาวฮิตไทต์ที่ต่างก็สร้างอาณาจักรขึ้นมาเป็นใหญ่แถบดินแดนพระจันทร์เสี้ยวเมโสโปเตเมียในช่วงนั้น ซึ่งชาวอารยันเองก็อาจจะเป็นบรรพบุรุษหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับชนชาติเหล่านั้นอยู่บ้างก็ได้


                จากความที่ชนชาติอารยันมีความเกี่ยวเนื่องกับชนชาติทางโลกตะวันตก จึงอาจจะรับเอาอะไรหลายๆอย่างเช่นวัฒนธรรม แนวคิด ความเชื่อ รวมไปถึงตำนานเกี่ยวกับเทพเจ้ามาด้วย และในชาวอารยันเป็นผู้ที่เข้ามาสร้างรากฐานอำนาจในอินเดียและเหล่าพราหมณ์ซึ่งจะว่าไปก็คือชนชั้นสูงของชาวอารยันเป็นพวกที่ให้กำเนิดศาสนาฮินดูขึ้นมา ศาสนานี้จึงมีความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าหลายๆอย่างที่คล้ายคลึงกับของพวกกรีกมากอย่างไม่เน่าเชื่อ


                อะไรที่คล้ายกันบ้าง เริ่มตั้งแต่สถานที่ ที่สิงสถิตของเทพฮินดูและกรีกต่างก็เป็นภูเขาเหมือนกัน ของฮินดูคือเขาไกรลาส ส่วนของกรีกคือเขาโอลิมปุส


                ฮินดูและกรีก ต่างก็มีเทพเจ้าผู้ใช้สายฟ้าเป็นอาวุธ และเป็นเทพผู้ดูแลทุกข์สุขของมนุษย์ โดยของฮินดูคือพระอินทร์ ของกรีกคือเทพซุส ในทางโหราศาสตร์ถึงกับบอกว่าดาวพฤหัสฯซึ่งเปรียบดั่งเทพจูปีเตอร์หรือเทพซุสนั้น ก็คือคือองค์เดียวกับพระอินทร์


                ยังมีอะไรอีกมากมายที่ซุกซ่อนอยู่ในตำนานความเชื่อของโลกตะวันออกและตะวันตกที่มีความคล้ายกันอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งหากจะสาธยายก็คงจะออกนอกเรื่องมากเกินไป


เหล่าเทพเจ้าแห่งฮินดู        
               

ก่อนจะเริ่มการเจาะลึกลงไปในเรื่องรามเกียรติ์ได้นั้น ต้องเริ่มพูดถึงเหล่าเทพเจ้าของฮินดูเสียก่อน เพราะเทพเจ้าทั้งหลายที่ปรากฏในเรื่องนั้นต่างก็มีบทบาทที่ทำให้เกิดเรื่องราววุ่นวายต่างๆขึ้นมา


                พระศิวะ เทพผู้ปกครองสูงสุดของเขาไกรลาส ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูนั้นเชื่อว่าเป็นเทพผู้ทำลายล้าง แต่บางนิกายจะนับว่าเป็นเทพผู้สร้างด้วย โดยเป็นผู้ที่ได้สร้างโลกนี้ขึ้นมา ลักษณะเด่นของพระศิวะคือมีตาที่สามซึ่งจะปิดอยู่ตลอดเวลา หากว่าลืมขึ้นเมื่อไหร่จะก่อเกิดเป็นเปลวไฟแผดเผาโลกจนสิ้น ดูจากภายนอกแล้วพระศิวะจะแต่งกายน่ากลัวด้วยการห่มชุดเหมือนดั่งฤาษี และมีพระศอเป็นงู นอกจากนี้ยังเป็นเทพเจ้าแห่งการประทานพร สามารถให้พรแก่ผู้ที่บำเพ็ญเพียรอย่างหนักได้สมหวัง และด้วยความสามารถอันนี้เองที่มักจะก่อให้เกิดเรื่องวุ่นวายกับโลกอยู่บ่อยๆ
*

                ลักษณะของพระศิวะในเรื่องรามเกียรติ์ เป็นเหมือนผู้ใหญ่ที่คอยดูแลเรื่องต่างๆ แต่ก็เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมายเช่นกันจากความที่ไม่ว่าใครขออะไรแล้วก็มักจะให้พรตามนั้นโดยไม่ได้สนใจว่ามันอาจจะก่อให้เกิดผลอะไรตามมา เช่นการมอบกระบองที่ทำให้ไม่มีใครสู้ได้แต่อสุรพรหมแล้วจากนั้นก็ได้สร้างความวุ่นวายขึ้นไปทั่ว ให้พรแก่หิรันตยักษ์ให้มีอิทธิฤทธิ์มากจนม้วนแผ่นดินไปเก็บไว้ที่บาดาล ฯลฯ

และยังอีกมากมายจนคณานับ ความที่เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่แต่ชอบเป็นต้นเหตุของปัญหาแบบนี้ ดูแล้วไม่ค่อยต่างไปจากเทพซุสของกรีกเท่าไหร่นัก แต่พระศิวะยังดีกว่าตรงที่ไม่ได้มีอารมณ์เกรี้ยวกราดอย่างไร้เหตุผลและมีนิสัยเจ้าชู้เหมือนเทพซุส
               

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 23:26
พระนารายณ์(พระวิษณุ) – เทพผู้ปกครองเกษียรสมุทร เป็นเทพเจ้าแห่งการพิทักษ์และปกป้องเหล่ามนุษย์ มีสี่กร แต่ละมือจะถืออาวุธเอาไว้ ประกอบด้วย จักร สังข์ ตรี และคฑา ว่ากันว่าหลังจากพระศิวะสร้างโลกแล้วก็ได้ให้กำเนิดพระนารายณ์ต่อมา ในนิกายไวษพนั้นนับถือพระนารายณ์เหนือยิ่งกว่าพระศิวะเสียอีก


                บทบาทของพระนารายณ์ในรามเกียรติ์นั้น ถ้าจะว่ากันตรงๆแล้วก็คือเทพผู้มีหน้าที่คอยตามเก็บหรือจัดการเรื่องราวยุ่งๆที่เกิดขึ้นเพราะการชอบให้พรแบบไม่คิดของพระศิวะ ยามที่โลกเกิดความวุ่นวายขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จุดเริ่มมาจากพรของพระศิวะนั้น พระนารายณ์ก็จะได้รับบัญชาให้ลงไปจัดการแก้ไข โดยการอวตารลงไปเกิดบนโลกมนุษย์ในรูปลักษณ์ต่างๆ เช่น ปลา หมู คนธรรพ์ ฯลฯ  โดยในฮินดูมีความเชื่อว่าพระนารายณ์จะอวตารลงมาเกิดทั้งหมด 10 ชาติ เพื่อขจัดความชั่วร้ายและช่วยเหลือโลกมนุษย์ สำหรับในเรื่องรามเกียรติ์นั้น ต่างเชื่อกันว่าพระนารายณ์ได้ลงมาอวตารเป็นพระรามเพื่อปราบเหล่ายักษ์ โดยถือเป็นการอวตารในชาติที่ 7


                เกี่ยวกับการอวตาร 10 ชาติของพระนารายณ์นี้ ในช่วงที่ศาสนาพุทธเริ่มรุ่งเรืองและเผยแพร่ไปทั่วอินเดียนั้น ทางฝ่ายฮินดูเองได้พยายามที่จะหาทางสกัดกั้น แต่การใช้ความรุนแรงจะถูกต่อต้าน นอกจากนี้ในยุคที่พระพุทธเจ้าเริ่มเผยแพรคำสอนนั้น เหล่ากษัตริย์ของแคว้นต่างๆล้วนแต่ยอมรับคำสอนของศาสนาพุทธว่าดีจริง และในการโต้แย้งธรรมระหว่างพุทธกับฮินดูโดยพระสงฆ์กับพราหมณ์นั้น ปรากฏว่าทางพระสงฆ์สามารถโต้แย้งในเรื่องหลักธรรมชนะพวกพราหมณ์หลายครั้ง ทำให้ศาสนาฮินดูเริ่มเสื่อมถอยลง เพื่อให้ฮินดูสามารถยืนหยัดได้ จึงต้องมีการผสมผสานความเชื่อของทางฮินดูให้เข้ากับของพุทธ ดังนั้นทางฮินดูจึงถือกันว่าเจ้าชายสิทธิทัตถะหรือพระพุทธเจ้านั้น คือร่างอวตารชาติที่ 9 ของพระนารายณ์ และหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าค้นพบด้วยตนเองนั้น ก็เป็นหลักธรรมที่พระเจ้าของฮินดูได้บอกมาอีกที


                เกี่ยวกับการอวตารทั้ง 10 ชาติของพระนารายณ์นั้น ตัวผู้เขียนไม่อยากจะตีความะไรมากมายนัก เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนทางศาสนา อาจทำให้คนนับถือฮินดูไม่พอใจได้
*

                พระพรหม – เทพเจ้าผู้สร้างแห่งฮินดู บางนิกายยกให้พระพรหมอยู่เหนือพระศิวะ โดยเป็นผู้สร้างทุกสรรพสิ่งขึ้นมา ลักษณะเด่นคือมีสี่หน้า เป็นเพทผู้รังสรรค์สิ่งต่างๆขึ้น เมื่อรวมกับพระศิวะและพระนารายณ์แล้ว ทางฮินดูต่างนับถือเป็นสามเทพสูงสุดที่เรียกกันว่าตรีมูรติ

        
                คล้ายกับพระบิดา พระบุตร และพระจิตของทางคริสต์เลยว่าไหม
               
ผู้ให้กำเนิด ผู้ช่วยเหลือ และผู้สร้างสรรค์


                เกี่ยวกับพระพรหมนี้มีเกร็ดที่อยากเล่าสักนิด เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับทางพุทธศาสนาด้วย อย่างที่รู้กันว่าศาสนาพุทธนั้นเป็นอเทวนิยม นั่นคือไม่มีเทพเจ้า ตัวของพระพุทธเจ้าเองก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาผู้หนึ่งที่ได้ค้นพบสัจธรรมและหลักธรรมที่เป็นจริงอยู่แล้วในจักรวาลแล้วท่านนำมันออกมาเผยแพร่สั่งสอนผู้คน
*

                หากว่าศาสนาพุทธไม่มีเทพเจ้า แล้วรุกขเทวดาหรือปีศาจละ สวรรค์หรือนรกละของเหล่านั้นไม่มีจริงงั้นหรือ อยากจะบอกว่าหากศึกษาในคำสอนดีๆแล้ว จะพบว่าของเหล่านั้นมีจริง แต่ไม่ได้อยู่ในรูปลักษณ์แบบที่คนคิดกันเป็นรูปธรรม


                สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ นี่คงเป็นคำเปรียบเทียบของนรกสวรรค์ในพุทธศาสนาที่ดีที่สุด สวรรค์ในเนื้อแท้ของศาสนาพุทธ ไม่ใช่สวรรค์ที่มี 6 ชั้น พรหม 4 นรกก็ไม่ใช่แบบที่มีหลายขุมเป็นนรกภูมิ การที่เราเชื่อกันแบบนั้น เป็นเพราะความที่ศาสนาพุทธที่เข้ามาในประเทศไทยได้ถูกผสมผสานเข้ากับความเชื่อของทางฮินดูและพราหมณ์ในบางส่วน


                รุกขเทวดาของพุทธคือสิ่งที่อยู่ในธรรมชาติ หรือสิ่งที่อยู่ตามป่าเขา ต้นไม้ สิ่งต่างๆที่อยู่ในสิ่งเหล่านั้น ซึ่งตามองไม่เห็นแต่ใจสัมผัสได้ ในขณะที่ปีศาจหรืออสูร คือสิ่งที่อยู่ในจิตใจของคนเรา
                แต่ตั้งแต่เมื่อใดก็ไม่ทราบ ที่พระพรหมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของพุทธไปแล้ว ในทางพุทธนั้นไม่มีพระพรหมที่เป็นเทพเจ้า เพราะทางพุทธไม่ได้ถือว่าพระพรหมสร้างโลก แต่พระพรหมที่อยู่ในทางพุทธโดยแท้จริงคือหลักธรรมที่เรียกว่าพรหมวิหาร 4 อันประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

                ดังนั้นเทพเจ้าที่มีนามว่าพระพรหมจึงไม่มีอยู่จริงในทางพุทธ

                อันที่จริงอยากจะเขียนโดยเลี่ยงประเด็นทางศาสนาให้มากที่สุด เพราะผู้นับถือศาสนาอื่นและผู้ศรัทธาในเทพเจ้าอาจไม่พอใจ


                สำหรับประเด็นหลักที่จะพูดถึงต่อไปนี้คือเรื่องที่พระนารายณ์อวตารเป็นพระรามนั้น นับจากนี้ผู้เขียนจะไม่ถือว่าเป็นจริง เพราะบทความที่จะเขียนถึงต่อไปนี้ จะพูดถึงเรื่องของพระรามในแง่ที่เป็นกษัตริย์ เป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง ไม่ได้เป็นเทพเจ้าแต่อย่างใด

นี่ยังรวมไปถึงเหล่าลิงและยักษ์เช่นหนุมานและทศกัณฐ์อีกด้วย เพราะบทความชุดนี้จะขอพูดถึงตัวละครในรามเกียรติ์ที่เป็นมนุษย์ มีความคิด มีด้านสว่างและด้านมืดในตัวเอง มีเหตุและผลของการกระทำที่มองกันตามหลักของความเป็นจริง และมุมมองด้านการเมืองรวมทั้งแง่มุมของความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นจริงในประวัติศาสตร์ที่สามารถจับต้องได้ หาได้มีเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์ใดๆมาเกี่ยวข้อง
                 

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-16 23:34
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-16 23:37

เจาะเกราะรามเกียรติ์

               
จุดเริ่มต้นของสงครามในรามเกียรติ์ ระหว่างมนุษย์ ลิง เทพและยักษ์ ที่ได้กลายมาเป็นบทโศลกและบทร้องกรองอันแสนเสนาะนั้น คือเรื่องของการชิงนาง


                ท้าวทศกัณฐ์ ยักษ์ผู้ครองลงกาได้ลอบชิงตัวนางสีดา ผู้เป็นชายาของพระราม รัชทายาทแห่งนครอโยธยาไปในระหว่างที่กำลังเดินป่า


                พระรามต้องการชิงตัวนางสีดาคืนจึงได้ออกเดินทางไปยังลงกา ระหว่างทางได้ลิงที่มีอิทธิฤทธิ์อย่างหนุมานมาสวามิภักดิ์ และได้กองทัพลิงแห่งนครขีดขินและชมพูมาอยู่ในบัญชาการ จากนั้นพระรามจึงเคลื่อนทัพเข้าประชิดลงกา ทศกัณฐ์จึงได้นำพาวงศ์ยักษ์ของตนเข้ารบ ก่อเกิดเป็นสงครามที่ยาวนานและพิสดารพันลึก ที่กินเวลากว่าสิบปี


                แต่เพียงเพื่อชิงสตรีเพียงนางเดียว คือเหตุผลของการต่อสู้ครั้งนี้จริงๆหรือ
                อย่างที่เคยพูดไว้ บทความชุดนี้จะขอตีความเรื่องต่างๆด้วยหลักเหตุผล แนวคิดทางการเมือง และประวัติศาสตร์ที่จับต้องได้ เมื่อมองในมุมนี้แล้ว จึงมีอะไรมากยิ่งกว่าที่วรรณกรรมได้พรรณนาไว้


                ในมหากาพย์อีเลียด เมเนเลอุสได้รับความช่วยเหลือจากอะกาเมมนอน นำกองทัพกรีกเข้าบุกตีกรงทรอย เพื่อพาเฮเลนที่ถูกเจ้าชายปารีสชิงตัวไปกลับมา ตัวเมเนเลอุสอาจทำเพื่อศักดิ์ศรีหรือความรัก แต่ในฐานะของอะกาเมมนอนกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีกแล้ว ย่อมไม่มองเช่นนั้นแน่ หากเราลองเป็นอะกาเมมนอน แล้วมองเรื่องนี้ในแบบของนักการเมือง นี่คือโอกาสทองในการที่จะหาข้ออ้างระดมกองทัพทั่วกรีกเพื่อตีกรุงทรอย เป็นการขยายอำนาจของตนและอาจเป็นโอกาสทำให้ตนได้เป็นกษัตริย์ครองกรีกแต่ผู้เดียว


               
สิทธิ ความชอบธรรม คืออาวุธของผู้กระหายในอำนาจที่มีความอดทนและเฝ้ารอโอกาสในการที่จะกระทำการใดสักอย่าง ตัวอย่างมีให้เห็นเยอะแยะ


                ในสามก๊ก ตั๋งโต๊ะสามารถยกกองทัพเสเหลียงเข้ามายึดอำนาจในเมืองหลวงได้อย่างง่ายดาย เพราะอาศัยการที่โฮจิ๋นออกคำสั่งเรียกขุนพลจากภูธรเข้ามาปราบเหล่าขันที ปกติขุนศึกชายแดนอย่างตั๋งโต๊ะไม่อาจนำกองทัพเข้าเมืองหลวงได้ แต่นี่ตนมีข้ออ้างที่จะนำทหารเข้ามาเพื่อปราบกังฉิน


                เล่าปี่สามารถนำทหารเข้าเสฉวนได้อย่างง่ายดายในครั้งแรก เพราะเล่าเจี้ยงกลัวที่จะถูกเตียวฟ่อรุกราน จึงได้ขอความช่วยเหลือ ซึ่งเล่าปี่นั้นคิดจะเข้ายึดครองเสฉวนแต่แรก แต่ติดที่เป็นคนสกุลเดียวกัน กลัวว่าคนจะครหา แต่นี่คือโอกาสแล้วที่จะได้นำทหารและพาตัวเองเข้าไปในเสฉวนเพื่อสร้างความปั่นป่วนและทำการต่างๆ


                อยากจะบอกว่าพระรามก็ไม่ต่างกัน พระรามไม่ใช่กษัตริย์ที่กลัวความยากลำบาก จะเห็นได้ว่าเมื่อถูกท้าวทศรถบอกให้ออกไปเดินป่าเป็นเวลาหลายปีจึงกลับบ้านเมืองได้ ก็ยอมไปโดยไม่หวั่น แต่ที่พระรามต้องการจริงๆนั้นคือชื่อเสียง เกียรติยศในฐานะกษัตริย์ผู้พิชิต
*

                สีดา เมียของตนถูกกษัตริย์ของลงกาชิงตัวไป นี่คือโอกาสทองที่หาไม่ได้อีกแล้ว ในการที่จะอาศัยความชอบธรรม นำพากองทัพพันธมิตรของขีดขินและชมพูเข้าบุกลงกา โดยที่คนทั่วแผ่นดินต่างก็พร้อมยอมรับและพร้อมจะสนับสนุน เพราะทุกคนย่อมมองว่าการกระทำของทศกัณฐ์นั้นผิด


                ดังนั้นเป้าหมายแท้จริงของการศึกนี้จึงมิใช่การต่อสู้เพื่อแย่งชิงสีดากลับมา การแย่งนางกลับมานั้นเป็นเพียงเรื่องรอง แต่เป้าหมายหลักคือการประกาศศักดาความเป็นยอดกษัตริย์ของตนให้ระบือ และพิชิตลงกาให้มาเป็นของตนเอง
                ทำไมจึงพูดแบบนี้ เพราะมีหลักฐานปรากฏชัดแจ้งอยู่ในตอนหนึ่งของเรื่องรามเกียรติ์ เป็นพฤติกรรมเรื่องหนึ่งของนางสีดาหลังจากถูกจับตัวไปแล้ว ที่ไม่ว่าจะอ่านเช่นใดก็ไม่สมเหตุสมผลหากมองตามความเป็นจริง แม้ว่าในเรื่องจะพยายามให้เหตุผลรองรับไว้แล้วก็ตาม ซึ่งจะขอกล่าวถึงในภายหลัง


ตัวร้ายที่แท้จริงของรามเกียรติ์

*

              
                รามเกียรติ์นั้นเปิดฉากครั้งแรกพูดถึงการกำเนิดของพื้นพิภพ ที่เกี่ยวโยงกับเรื่องราวของเทพ เทวาทั้งหลาย รวมถึงการเกิดขึ้นมาของกษัตริย์องค์แรกแห่งโลกมนุษย์นามว่าท้าวอโนมาตัน ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาจากดอกบัว หลังจากที่เกิดมาแล้ว พระศิวะก็ได้สร้างเมืองอโยธยาขึ้นเพื่อให้ท้าวอโนมาตันได้ปกครอง ซึ่งหลังจากนั้นท้าวอโนมาตันก็ได้ให้กำเนิดเชื้อวงศ์กษัตริย์ขึ้นมามากมาย จนกระทั่งมาถึงรุ่นที่สามนั่นคือท้าวทศรถ


                ท้าวทศรถมีชายยาทั้งหมด 3 คน ซึ่งทั้งหมดได้ให้กำเนิดโอรสทั้งหมด 4 องค์ นั่นคือพระราม พระพรต พระลักษณ์ พระสัตรุต
*
                เกี่ยวกับการกำเนิดของพระรามนี้ หากพูดในแง่ของวรรณกรรมแล้ว ต่างเชื่อกันว่าเขาคือพระนารายณ์ที่อวตารมาเกิด

                ต้นเหตุของการอวตารของพระนารายณ์นั้น จะว่าไปก็เหมือนกับเทพนิยายโบราณของกรีก ที่มักจะเริ่มต้นด้วยเรื่องราวยุ่งๆของเหล่าเทพที่มักจะเป็นตัวกำหนดบทบาทและชะตากรรมของมนุษย์คนนั้นในภายหลัง

                เดิมทีนั้นมียักษ์ตัวหนึ่งชื่อนนทุกซึ่งเป็นยักษ์ที่คอยล้างเท้าให้แก่เหล่าเทพที่จะเข้าเฝ้าต่อพระอิศวร ซุ่งนนทุกนี้ก็ทำหน้าที่ด้วยดีเสมอมาโดยไม่เคยเกี่ยง แต่ว่าเหล่าเทพนั้นมักจะกลั่นแกล้งนนทุกด้วยการถอนผมของนนทุกเล่นจนหมดหมดหัว นนทุกนั้นเจ็บใจจึงได้อ้อนวอนต่อพระอิศวรขออิทธิฤทธิ์เพื่อไม่ให้ใครรังแกได้อีก

                พระอิศวรเห็นใจนนทุก จึงมอบนิ้วเพชรที่ทรงพลัง หากชี้ใครก็จะโค่นคนนั้นลงได้ให้ นนทุกเมื่อได้นิ้วเพชรมาก็ยังทำหน้าที่ของตนไปด้วยดี จนกระทั่งเมื่อมีเทพมากลั่นแกล้งตนอยู่อีก เขาจึงหมดความอดทนแล้วใช้นิ้วเพชรเล่นงานเทพองค์นั้นเสีย

                นนทุกได้ใจกับอำนาจของตนจึงออกอาละวาดไปทั่วสวรรค์ ร้นจนพระนารายณ์ต้องมาปราบ โดยพระนารายณ์ได้แปลงร่างเป็นนางอัปสรมาล่อให้นนทุกใช้นิ้วเพชรจี้ไปที่เอวของตัวเอง นนทุกจึงเสียท่าและพระนารายณ์ก็คืนร่างกลับมาแล้วเหยียบนนทุกไว้แทบเท้า


                นนทุกเห็นว่าแท้จริงแล้วเป็นพระนารายณ์แปลงตัวมาก็แค้นใจ จึงกล่าวว่าตนเป็นเพียงยักษ์ที่มีสองมือ จะไปสู้อะไรกับพระนารายณ์ที่มีสี่กรอาวุธครบมือได้ พระนารายณ์จึงลั่นวาจาว่า เช่นนั้นก็ขอให้เจ้าไปเกิดชาติหน้ามีสิบหน้า ยี่สิบกร แล้วตนจะไปเกิดเป็นมนุษย์มีสองมือสองเท้า และจะปราบนนทุกอีกครั้ง จากนั้นก็ใช้จักรสังหารนนทุกเสีย


                เพราะเหตุนี้เองนนทุกจึงได้กลายมาเป็นทศกัณฐ์ และพระรามก็ได้อวตารมาเกิดเป็นพระรามเพื่อปราบทศกัณฐ์อีกครั้ง


                จากเนื้อหาตรงนี้จะเห็นอะไรไหม เห็นไหมว่าต้นเหตุแห่งความวุ่นวาย ยุ่งเหยิงทั้งหลายมาจากใคร มันมาจากเหล่าเทพหรือถ้าเรามองแบบประวัติศาสตร์การเมืองแล้วเทพก็คือชนชั้นสูงแล้ว ปัญหาแรกสุดของเรื่องนี้ก็มาจากเทพ หรือพวกชนชั้นสูงนั่นเองที่เป็นตัวก่อเรื่อง


                ในวรรณกรรมบ่งไว้ชัดมากว่า นนทุกทำหน้าที่ของตนในการล้างเท้าเหล่าเทพอย่างไม่มีบกพร่องมาเป็นร้อยปี ทั้งที่เป็นงานต่ำต้อย และหลังจากได้นิ้วเพชรมา ในครั้งแรกเขาก็ไม่ได้หาเรื่องกับเหล่าเทพ แต่ยังคงทำงานเป็นปกติ อ่านเนื้อหาบทนี้แล้ว ไม่ทราบเหมือนกันว่าผู้ที่แต่งเติมเนื้อหารามเกียรติ์เกี่ยวกับเนื้อเรื่องช่วงสวรรค์นั้นต้องการจะสื่ออะไรสักอย่างหรือเปล่า

                หากไม่ใช่เพราะฝ่ายที่อ้างตนเป็นเทพ เป็นธรรม จนมีความเย่อหยิ่งจองหองคิดว่าตนสูงศักดิ์กว่าผู้อื่น จนคิดจะทำอย่างไรกับใครก็ได้ ไม่เป็นฝ่ายหาเรื่องก่อน การที่ชนชั้นล่าง หรือผู้ต่ำต้อยกว่าอย่างนนทุกก็คงไม่คิดการขึ้นมา และกลายมาเป็นทศกัณฐ์ที่สร้างเรื่องต่างๆขึ้นมามากมายในภายหลัง

                เนื้อหาในช่วงก่อนพระรามเกิดนี้ เป็นเรื่องราวเกี่ยวสวรรค์ ซึ่งแน่นอนว่าหากมองรามเกียรติ์เป็นบันทึกสงครามในประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นจริงแล้ว นี่ย่อมเป้นสิ่งที่ถูกเสริมขึ้น ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฤาษีวาลมิกิเป็นผู้ที่แต่งขึ้นมาตั้งแต่แรกสุด หรือว่าเป็นผู้อื่นแทรกเข้าไปภายหลัง แต่อย่างน้อยนี่ก็น่าจะพอบ่งบอกอะไรได้อย่างหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องรามเกียรติ์นี้ว่า


                แม้ว่าจะเป็นผู้ชนะของสงครามนี้ในท้ายสุด แต่ผู้แต่งวรรณกรรมโดยเฉพาะในยุคหลังก็ได้แอบใส่ข่าวสารสำคัญอย่างหนึ่งที่ว่า ตัวร้ายที่แท้จริงของเรื่องนี้คือฝ่ายเทพนั่นเอง
  
                และคนแพ้ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ร้ายเสมอไป


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-17 06:50
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-17 07:00

พระราม เป็น ชนชาวเผ่าอารยัน



การมาของชาวอารยัน (The Aryans)

       ต่อมาพวกมิลักขะ หรือ ดราวิเดียน (Dravidian) ที่มีความเจริญมากกว่าเผ่าเดิมก็ได้อพยพเข้ามาสู่อินเดีย ชนพวกนี้ได้ขยายตัวสู่ภาคใต้กลายเป็น พวกทมิฬ (Tamil) เตุลุคุุ (Teluku) มาลาบาร์ (Malabar) และ กนะริส (Kanarise) เป็นต้น คำว่ามิลักขะ แปลว่า เศร้าหมอง หรือมีผิวดำ และต่อมาเมื่อประมาณ ๔,๐๐๐ ปีมาแล้ว ชนชาติอารยัน (Aryans) ซึ่งเดิมกล่าวกันว่ามาจากเอเซียกลาง ก็อพยพเข้าสู่อินเดีย การย้ายถิ่นของชาวอารยันแบ่งออกเป็น ๒ สาย คือ

       สายแรกไปสู่ยุโรปกลายเป็นชาวอารยันยุโรปในปัจจุบัน
       สายที่สองมุ่งสู่ทิสตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งรกรากแถวทะเลสาบแคชเบี้ยนในปัจจุบัน ต่อมาพวกเขาจึงแยกออกเป็นสองสาย คือสายหนึ่งไปสู่ตะวันออกกลางกลายเป็นชาวอารยันเปอร์เซีย และอีกเผ่ามุ่งตรงสู่อินเดียตั้งรกรากแถวแม่น้ำสิทธุตอนบน ลักษณะทั่วไป ของชาวอารยันคือผิวขาว ร่างกายสูงใหญ่ จมูกโด่งศรีษะค่อนข้างยาว ผมสีอ่อน หน้าตาได้สัดส่วน หน้าตาจึงออกไปทางฝรั่งชาวยุโรป สังคมชาวอารยันยุคแรก ๆ ประกอบด้วยนักรบ สามัญชน พ่อค้า นักบวช ทาส

      เนื่องจากอารยันซึ่งแปลว่าเจริญรุ่งเรืองเป็นชนชาติที่เจริญมากกว่า มีความชำนาญในการขี่ม้า ใช้หอกและดาบ เป็นอาวุธสำหรับทำการรบมากกว่า จึงเอาชนะชนพื้นเมืองสองเผ่าเบื้องต้นได้ และพลักดันพวกเขาสู่ภาคใต้ ต่อมาพวกเขาจึงเริ่มเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างฉันมิตรและมีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์ กลายมาเป็นชนส่วนมากของอินเดียปัจจุบัน

      แม้ในด้านการปกครองระยะนี้จะตกอยู่ในอำนาจของชาวอารยันผู้มาใหม่ แต่ด้านวัฒนธรรมด้านศาสนากับมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่นพวกมิลักขะเป็นชนเผ่าที่เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ ภูเขา ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นต้น โดยถือว่ามีเทพสิงสถิตย์อยู่ทุกแห่งหน สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้อ้อนวอนบวงสรวงได้ พวกอารยัน ก็มีความเชื่อถือในธรรมชาติ เช่นกัน เช่นพระอาทิตย์ ดวงจันทร์ดวงดาว ท้องฟ้า เมฆหมอก พายุ เป็นต้น โดยถือว่าสิ่งเหล่านี้เป็นพระเจ้าของตน เมื่อพวกอารยันเข้ามาตั้งรกราก ชนทั้งสอง จึงมีการผสมผสานเข้ากันกลายมาเป็นศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูดังเช่นปัจจุบัน



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-17 11:52
http://www.youtube.com/watch?v=_anVRcdashk



[youtube]_anVRcdashk[/youtube]
โดย: Nujeab    เวลา: 2014-6-17 13:02
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ
โดย: sritoy    เวลา: 2014-6-17 21:10
ขอบคุณครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-18 07:21



[youtube]HPUS4BWVm34[/youtube]




โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-25 15:42
นารายณ์อวตาร



ฝ่ายท้าวทศรถนั้น มีเพื่อนเป็นพญานกชื่อสดายุ พระองค์ไม่มีโอรสธิดาเห็นว่าจะไม่มีใครสืบราชสมบัติ จึงทำพิธีขอโอรสที่มีฤทธิ์แต่ไม่สำเร็จ จึงไปนิมนต์ฤาษีกไลโกฎ ฤาษีกไลโกฎได้พาฤาษีอีก 4 องค์ ขึ้นไปเฝ้าพระอิศวรแล้วทูลว่า โลกมีความเดือดร้อนเพราะพระอิศวรและพระนารายณ์ได้ประทานศรแก่ยักษ์ คงมีแต่ท้าวทศรถเท่านั้นที่จะช่วยเหลือโลกได้ แต่พระองค์ไม่มีโอรส จึงควรให้พระนารายณ์อวตารไปปราบเหล่ายักษ์นั้น
พระอิศวรจึงให้พระนารายณ์อวตารไปเกิดเป็นโอรสท้าวทศรถ ชื่อ พระราม จักรเป็นพระพรต สังข์และบัลลังก์นาคราชเป็นพระลักษณ์ และคทาเป็นพระสัตรุต รวมทั้งให้พระลักษมีเป็นนางสีดา เกิดเป็นธิดาทศกรรฐ์และพระนางมณโฑ

กำเนิดทหารพระราม


ส่วนเหล่าเทวดาทั้งปวงได้พากันตามเสด็จไปช่วยพระนารายณ์ ปราบเหล่ายักษ์ด้วย พระอิศวรจึงให้พรว่า หากถูกพวกยักษ์ฆ่าตาย เมื่อลมพัดถูกตัวก็ให้ฟื้นขึ้นดังเดิม เหล่าเทพยดารับพรแล้วจึงจุติมาเป็นวานรในโลกมนุษย์ แล้วพระอิศวรจึงให้ฤาษีไปบอกกับท้าวทศรถ ให้ทำพิธีขอโอรส พระฤาษีได้ทำตามคำสั่ง ท้าวทศรถจึงตั้งพิธี ปรากฎรูปอสูรทูนถาดข้าวทิพย์ กลิ่นข้าวทิพย์โชยไปถึงกรุงลงกา พระนางมณโฑต้องการเสวยข้าวทิพย์มาก ทศกรรฐ์จึงให้นางกากนาสูร มาเอาข้าวทิพย์ นางกากนาสูรแปลงเป็นอีกามาโฉบเอาข้าวไปได้ครึ่งปั้น แล้วนำไปให้นางมณโฑ ส่วนที่เหลือสามปั้นครึ่งนั้น ส่วนนางไกยเกษีกับนางเกาสุริยา ได้คนละหนึ่งปั้น นางสมุทรเทวีได้ปั้นครึ่ง


กำเนิดนางสีดา

ต่อมาทุกนางได้ทรงครรภ์ นางเกาสุริยาประสูติโอรสเป็นพระราม นางไกยเกษีประสูติโอรสเป็นพระพรต นางสมุทรเทวีประสูติโอรสมาเป็นพระลักษณ์และพระสัตรุต พระนางมณโฑประสูติธิดามาเป็นนางสีดา เมื่อนางสีดาเกิดนั้นได้ร้องว่า ผลาญราพณ์ ถึงสามครั้ง ทุกคนได้ยินยกเว้นทศกรรฐ์และนางมณโฑ ทศกรรฐ์ดีใจมากที่ได้ธิดาและได้ให้พิเภกมาทำนายดวงชะตา พิเภกทำนายว่าดวงชะตานางสีดาเป็นกาลกิณี ควรจะเอาไปทิ้งน้ำ ทศกรรฐ์จึงให้เอาไปใส่ผอบทิ้งกลางทะเล แต่มีดอกบัวใหญ่ขึ้นมารองรับไว้ แล้วลอยทวนน้ำไปถึงอาศรมพระชนก ผู้ซึ่งเดิมเป็นกษัตริย์ครองเมืองมิถิลา พระฤาษีจึงนำไปเลี้ยงดู ต่อมาเห็นว่าตนออกบวชเพื่อสำเร็จญาณโลกีย์ แต่การที่มาเลี้ยงนางสีดาทำให้ไม่สำเร็จ จึงนำผอบที่ใส่นางสีดาไปฝังใต้ต้นไทรใหญ่ ให้อยู่ในอารักขาของเหล่าเทวดา ส่วนที่กรุงศรีอยุธยา วันหนึ่งพระราม พระลักษณ์ พระพรต และพระสัตรุต ลองศรกัน พระรามแกล้งยิง หลังนางค่อมกุจจี นางค่อมได้รับความอับอายและเจ็บแค้นจึงอาฆาตพระรามตั้งแต่นั้น เมื่อพระโอรสเจริญวัย ท้าวทศรถจึงให้โอรส ไปศึกษาพระเวทกับฤาษีสององค์ชื่อ ฤาษีวสิษฐ์และฤาษีสวามิตร จนเรียนศิลปศาสตร์ได้อย่างชำนาญ และเห็นว่าจากนี้เหล่ายักษ์จะต้องตายด้วยศรพระราม แต่พระรามไม่มีศรประจำตัว จึงตั้งพิธีขอศร พระอิศวรได้ประทานศรให้องค์ละสามเล่ม แต่ละเล่มมีฤทธิ์ต่างกัน สำหรับศรของพระรามคือ ศรพรหมมาสตร์ ศรอัคนิวาต และศรพลายวาต เมื่อกลับเข้ากรุงศรีอยุธยา จึงลองศรให้ท้าวทศรถชมเป็นที่ชื่นชมโสมนัส ทางด้านท้าวไกยเกษ เห็นว่าตนนั้นชรามากแล้ว จึงไปขอลูกของพระนางไกยเกษีมาเลี้ยงดู หากในวันข้างหน้ามีศัตรูมารุกรานจะได้เป็นกำลังต่อสู้ได้ ท้าวทศรถจึงให้พระพรตกับพระสัตรุตไป


นับตั้งแต่ทศกรรฐ์ถอดดวงใจแล้วก็มีความกำเริบมากขึ้น และยังเห็นว่าเหล่านักพรตมีฤทธิ์มาก ซึ่งในกาลข้างหน้า การบำเพ็ญตบะของฤาษีนั้น อาจทำให้เกิดอันตรายต่อเหล่ายักษ์ได้ จึงให้นางกากนาสูรและไพร่พลยักษ์แปลงเป็นกา ไปทำลายพิธีบำเพ็ญตบะ พวกฤาษีสู้ไม่ได้ จึงไปเฝ้าท้าวทศรถ ขอให้พระราม พระลักษณ์ ไปช่วยปราบ    พระราม พระลักษณ์ ได้แผลงศรถูกนางกากนาสูรตาย สวาหุและม้ารีสลูกของนางกากนาสูร ทั้งสองจึงมาแก้แค้นแทนมารดา พระรามจึงแผลงศรถูกสวาหุตาย ส่วนม้ารีสหนีไปกรุงลงกา

ฝ่ายพระชนกหลังจากได้ฝังผอบนางสีดาไว้โคนต้นไทรแล้วไปบำเพ็ญเพียรต่อ แต่ไม่สำเร็จญาณสมาบัติ เกิดความเบื่อหน่ายจะกลับไปครองเมืองมิถิลาตามเดิม จึงไปขุดเอาผอบนางสีดาขึ้นมาภายในมีนางอายุประมาณ สิบหกปี จึงได้พาเข้าเมือง และตั้งชื่อว่า นางสีดา

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-25 15:44
[youtube]8-6Erf6Agk8[/youtube]






ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติใหม่

ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร เหาะเหินเดินได้ในอัมพร

มีมือยี่สิบซ้ายขวา ถือคทาอาวุธธนูศร

กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร ตามไปราญรอนชีวี




โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-6-26 11:29
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-6-26 11:30

พระรามจองถนน





พระรามจองถนน



                ฝ่ายพระรามคิดจะปราบเหล่ายักษ์ให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ชามพูวราช ได้ทูลว่า การที่พระรามจะข้ามไปลงกาด้วยฤทธิ์อำนาจที่เหล่าทหารขันอาสานั้นย่อมทำได้ แต่จะทำให้เสียพระเกียรติยศ ควรจะให้ไพร่พลนำเอาหินไปทิ้งเพื่อสร้างถนนในมหาสมุทร พระรามจึงสั่งให้สุครีพพาไพร่พลไปเร่งสร้างถนน โดยให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน


               
นิลพัทนั้นแค้นหนุมานมาแต่เดิมแล้ว ได้โอกาสล้างแค้นจึงแสดงฤทธิ์ เอาเท้าคีบเขาหิมวันต์ สองมือชูเขาคิรินทร เหาะมาแล้วบอกให้หนุมานคอยรับ นิลพัทจึงทิ้งภูเขาลงมาทั้งสองลูกหวังให้ถูกหนุมาน แต่หนุมานรับไว้ได้ จึงคิดแก้ลำบ้าง โดยไปหักยอดเขา และนำหินก้อนมหึมาผูกตามขน แล้วให้นิลพัทรับบ้าง นิลพัทเห็นจึงขอให้หนุมานโยนมาทีละก้อน หนุมานว่า ทีนิลพัทแกล้งทิ้งมาพร้อมกันหวังให้ตาย แล้วทิ้งหินทั้งหมดลง นิลพัทใช้มือและเท้ารับไว้ได้ หนุมานหาว่านิลพัทสบประมาทตน และได้ท้าวความถึงท้าวชมพูที่มีฤทธิ์มาก ตนยังจับมาได้ นับประสาอะไรกับนิลพัท

                นิลพัทโกรธท้าหนุมานต่อสู้ดังกึกก้อง พระรามได้ยินคิดว่าเหล่าลิงรบกับยักษ์ ให้พระลักษมณ์ไปดู แล้วจึงพาสุครีพ หนุมาน และนิลพัท เฝ้าพระราม พระรามโกรธ สุครีพจึงทูลแก่พระรามว่า ควรจะแยกทั้งคู่ให้ห่างกัน โดยให้หนุมานอยู่กับพระราม ส่วนนิลพัทให้กลับไปช่วยท้าวชมพูดูแลเมืองขีดขิน ทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง ถ้าขาดราชการจะประหารเสีย

ฝ่ายพระรามได้สั่งให้หนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเสร็จภายในเจ็ดวัน หากไม่เสร็จจะประหารชีวิต




โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 06:19

พระหนุมาน ในเรื่อง รามเกียรติ์ ซึ่งดัดแปลงมาจากเรื่อง รามายณะ ของอินเดีย / dharmathai.com

หนุมานยกภูเขา ในเรื่องรามายณะ


พระราม และ พระหนุมาน
พระหนุมาน คือ สมุนเอกแห่งพระราม
เป็นมือขวาที่คอยช่วยเหลือ
ร่วมสู้รบกับพระรามด้วยความซื่อสัตย์ภักดี
หนุมาน
จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความจงรักภักดีต่อเจ้านาย
และเป็นสัญลักษณ์แห่งความรักลูกน้องของพระราม

การบูชาพระหนุมาน จึงให้ผลทั้ง
1. เจ้านายรักลูกน้อง เอ็นดูลูกน้องมากขึ้น
2. ลูกน้องซื่อสัตย์กับเจ้านาย อยู่ในโอวาทมากขึ้น
หนุมาน เป็นลิงเผือก (กายสีขาว) มีลักษณะพิเศษคือ มีเขี้ยวอยู่กลางเพดานปาก มีกุณฑลขนเพชร สามารถแผลฤทธิ์ให้มี ๔ หน้า ๘ มือ และหาวเป็นดาวเป็นเดือนได้ ใช้ ตรีเพชร (สามง่าม) เป็นอาวุธประจำตัว (จะใช้เมื่อรบกับยักษ์ตัวสำคัญๆ) มีความเก่งกล้ามาก สามารถแปลงกาย หายตัวได้ ทั้งยังอยู่ยงคงกระพันแม้ถูกอาวุธของศัตรูทำร้ายจนตาย เมื่อมีลมพัดก็จะฟื้นขึ้นได้อีก

หนุมาน เป็นเทพลิงที่มีความสามารถในการเรียนรู้ ว่องไว ถือกำเนิดจากนางอัญจนา ราชินีลิง หนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดโดยเทพเจ้า เป็นผู้ช่วย พระวิษณุ เมื่อครั้งอวตารเป็น พระราม สามารถเหาะได้ เนื่องจากพระบิดาคือ พระวายุ เทพแห่งลม กำเนิดของหนุมานสลับซับซ้อน กล่าวกันว่าพระบิดาของพระราม ได้จัดพิธีเพื่อของโอรส โดยให้มเหสีทั้งสามเสวยขนมองค์ละ ๑ ชิ้น นางไกษเกษี ซึ่งอ่อนชันษาที่สุด ได้รับขนมเป็นองค์สุดท้าย พระนางไม่ชอบขนมนี้ และเมินพระพักตร์นกเหยี่ยวเล็กจึงบินมาคว้าไป มันบินไปในป่า และพบ นางอัญจนา ซึ่งถูกสาปให้เป็นลิง กำลังสวดวิงวินขอบุตรอยู่ ดังนั้นนกเหยี่ยวจึงปล่อยขนม พระวายุก็พัดพาขนมไปตกที่มือของนาง จากนั้น พระศิวะ จึงปรากฎร่างต่อหน้านางและให้นางกินขนม เมื่อนางกิน จึงตั้งครรภ์หนุมานขึ้น ทันทีที่หนุมานเกิดก็มีอาการหิวทันที มารดาจึงไม่พอใจหนุมานนัก ครั้นเมื่อหนุมานเห็นดวงอาทิตย์คิดว่าเป็นผลไม้ จึงกระโดดตามไป ดวงอาทิตย์เคลื่อนหนี หนุมาน ก็ไล่ตามไปไกลจนถึงสวรรค์ของ พระอินทร์ พระอินทร์ทรงใช้วัชระขว้างใส่ขากรรไกรหนุมาน ทำให้หนุมาน หล่นลงมาบนโลก พระวายุ บิดาของหนุมานจึงแก้แค้นให้ โดยเข้าไปสิงอยู่ในร่างของเหล่าเทพเจ้า ทำให้เกิดอาการจุกเสียด พระอินทร์จึงต้องขอขมาพระวายุ และให้พรว่าหนุมานจะเป็นอมตะ (บางคัมภีร์ว่าพระรามให้พรหนุมานให้เป็นอมตะ)


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 06:20



หนุมานมีพลังและความว่องไวล้ำเลิศ ไม่เพียงแต่เหาะเร็วดังลมเท่านั้น แต่หนุมานยังมีพลังยกถอนภูเขาได้ หดและขยายร่างได้ตามต้องการและล่องหนได้ เมื่ออยู่ในสงครามหนุมานจะมีลักษณะน่าสะพรึงกลัว กล่าวคือ ร่างใหญ่เท่าภูเขา ผิวกายเป็นสีเหลืองดั่งทองหลอม ผิวหน้าสีแดงดั่งทับทิม มีหางยาวมาก หนุมานจะทำให้ศัตรูกระจัดกระจายโดยใช้เสียงคำรามอย่างน่ากลัว
หนุมาน เดินทางไปกรุงลงกา พร้อมกับพระราม กับกองทัพลิงและหมี เพื่อช่วงชิงนางสีดา มเหสีของพระราม ที่ถูกอสูรราพณ์จับตัวไป
วีรกรรมสำคัญของหนุมานก็คือ เหาะไปยังเทือกเขาหิมาลัยเพื่อนำสมุนไพรมารักษาบาดแผลของพระลักษณ์ พวกยักษ์ได้ขัดขวางหนุมาน แต่หนุมานก็มีชัย อสูรราพณ์หรือทศกัณฐ์ได้ส่งบริวารยักษ์มาฆ่า หนุมาน โดยตั้งรางวัลไว้ว่า ถ้าสำเร็จจะยกอาณาจักรให้ครึ่งหนึ่ง หนุมานได้จับขาของยักษ์เหวี่ยงไปทางกรุงลงกาจนตกลงมาตายต่อหน้าบัลลังก์ของอสูรราพณ์ แต่หนุมานหาสมุนไพรไม่พบ หนุมานจึงยกภูเขาไปทั้งลูก การเหาะโดยแบกภูเขาทั้งลูกไปทำให้เกิดลมวน เมื่อผ่านกรุงอโยธยา พระภรตจึงคิดว่าเป็นการกระทำของอสูร จึงยิงลูกศรใส่ หนุมาน จนตกลงมา เมื่อพบว่าเป็นหนุมาน พระภรตจึงไถ่โทษโดยการใช้ลูกศรยิง หนุมาน กลับไปกรุงลงกา แต่หนุมานปฏิเสธและเหาะกลับไปเอง จากนั้นจึงนำสมุนไพรให้พระราม เมื่อสงครามที่กรุงลงกายุติลง พระรามจึงให้รางวัลโดยการให้พรแด่หนุมาน ซึ่งขอเป็นอมตะ พระรามก็ประทานให้


ศึกรามายณะของอินเดีย หรือ รามเกียรติ์ของไทย ศิลปะในวัดพระแก้วมรกต / ภาพจาก Wikipedia


ขอขอบพระคุณ : ย้อนรอยชมพูทวีป
สำนักพิมพ์ คุ้มคำ / สมคมแดง สมปวงพร



"อุดมการณ์และความภักดีของศรีหนุมาน" จาก - ศรีมณเฑียร ทรรศน์
ขอขอบคุณ - สมาคมฮินดูสมาช

รุทธอวตาร (อวตารของพระศิวะ)

บนภูเขาที่มีนามว่า ริศีมุก ณ ที่นั่น มีพญาวานรที่มีนามว่า เกสรี และนามของนางพญาวานรอันเป็นชายาของเขา นามว่า อัญชนา เพื่อความปรารถนาที่จะได้บุตรสักตัวหนึ่ง นางจึงกราบไหว้พระศิวะด้วยความภักดีอย่างยิ่ง พระศิวะทรงพึงพอใจกับด้วยความภักดีของเธอ และต้องการให้เธอได้สิ่งที่เธอต้องการ นางขอให้พระศิวะประทานบุตรให้แก่เธอให้มีความแข็งแรงเหมือนพระศิวะ พระศิวะทรงให้พรแก่เธอทันทีและบอกแก่เธอว่า การปรากฏเป็นองค์อวตารครั้งที่สิบเอ็ดของพระศิวะจะเกิดเป็นบุตรของเธอ ในเวลาต่อมา พระจันทร์เต็มดวงในเดือนไจตระ วันอังคาร การปรากฏครั้งที่สิบเอ็ดของพระศิวะก็ได้อุบัติขึ้นได้นามว่า ศรีหนุมาน
บทเรียนจากรูปแบบของวานร มีดังนี้
หน้าตาของพญาวานรชื่อศรีหนุมานได้ให้บทเรียน แก่เราดังต่อไปนี้การที่เราจะได้มาซึ่งความนิยมนับถือ มันไม่สำคัญที่จะมีร่างกายสวยงามเท่านั้น แต่มันสำคัญอยู่ที่การบริการรับใช้ที่ปราศจากความเห็นแก่ตัวที่มีต่อผู้หลัก ผู้ใหญ่ และต่อประชาชน ไม่มีบุคคลใดที่มีรูปร่างสวยงามอย่างเดียวจะสามารถเอาชนะหัวใจของบุคคลอื่น ได้และไม่สามารถที่จะเป็นผู้ภักดีที่แท้จริงได้ เว้นเสียแต่ว่าเขาผู้นั้นจะมีคุณสมบัติที่ดี ฉะนั้น มันมีความสำคัญที่จะกำจัดความเจ็บปวดของคนอื่น และทำการรับใช้โดยที่ไม่เห็นแก่ตัวต่อสังคม เช่น หนุมาน ฉะนั้น บุคคลสามารถเอาชนะความรักและความเคารพนับถือจากคนอื่นได้ก็ด้วยเอาแบบอย่าง หนุมาน
เมื่อหนุมานเดินทางไปถึงเกาะลังกาอันเป็นอาณาจักรของทศกัณฐ์ ยักษ์และมารทั้งหมด ก็โอบล้อมเขาเอาไว้ด้วยหน้าตาและอาวุธที่โหดร้าย แต่หนุมานก็ไม่ได้สะทกสะท้านประการใด เขากลับมีความเชื่อมั่นในพระราม และมีความเชื่อมั่นในตัวของเขาเองอย่างสูงผลของมันก็คือว่า เขาเอาชนะ พลังอำนาจของทศกัณฐ์ได้ทั้งหมด และได้รับผลสำเร็จในการเดินทางไปครั้งนั้น ในทำนองเดียวกันนี้ ในเวลาที่เราได้รับความยุ่งยากต่าง ๆ เราไม่ควรสะทกสะท้านต่อเหตุการณ์ และควรตั้งใจมั่นคงแน่วแน่ในความภักดีต่อพระเป็นเจ้า
ในรูปภาพบางภาพที่อยู่ในโบสถ์นั้น แสดงให้เห็นว่า หนุมาน กำลัง ยกภูเขาบนฝ่ามือซ้าย อันนี้หมายถึงว่า ขณะที่หนุมานเดินทางไป ผ่านอุปสรรคความยุ่งยากทั้งหมด และนำเอาภูเขามาเพื่อช่วยชีวิตของพระลักษณ์ให้ปลอดภัย ในทำนองเดียวกันนี้ เราควรจะเตรียมใจให้พร้อมไว้เสมอที่จะรับมือเพื่อต่อสู้กับความยุ่งยากใดๆ เพื่อช่วยเหลือหรือรักษาชีวิตของสมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลทั้งหลายที่อยู่ ในสังคมของเรา แล้วเท่านั้น เราจึงจะมีสิทธิได้รับพรจากพระเป็นเจ้า
ผู้ภักดีทีมีความตั้งใจที่มีเล่ห์กลหลอกลวง ไม่มีสิทธิที่จะได้รับพรของพระเป็นเจ้าได้ เขาเป็นศัตรูตัวจริงของความโหดร้ายทั้งหลาย เมื่อหนุมานเดินทางไปเอาต้นไม้สันชีวนี (เป็นยาสมุนไพรชนิดหนึ่ง) เพื่อรักษาชีวิตของพระลักษณ์ให้ปลอดภัย ยักษ์นามว่าเนมิ แต่งตัวเขาเองเป็นเหมือนนักบวช และเริ่มเทศน์สอนหนุมาน หนุมานพบการแสดงกลลวงของความชั่วนั้นได้ทันที และลงโทษฆ่าเขาทันที ถ้าคนต้องการที่จะรับพรของหนุมาน เขาผู้นั้นต้องมีใจบริสุทธิ์และไม่ควรคิดร้ายหรือเจตนาหลอกลวงใดๆ
มีแม่มดตนหนึ่งนามว่า “สุรสา เศ” อาศัย อยู่ในทะเล มีอำนาจทางโยคะ ดึงเอาสิ่งต่างๆ ที่บินได้ลงไปสู่ทะเล และก็ฆ่ามันกินเป็นอาหาร เมื่อหนุมาน เหาะไปเหนือทะเล เพื่อตามหาพระนางสีดา สุรสา ก็ดึงหณุมาน แต่เขาก็ทำให้ร่างกายใหญ่โต ซึ่งเธอไม่สามารถจะกินได้ และในทันทีนั้น หนุมานก็แปลงกายเขาเป็นยุง แล้วเข้าไปในปากของเธอ แล้วก็ออกมาจากปากเธอทันที เหตุการณ์นี้สอนให้เรารู้ว่า ถ้าเราได้มาซึ่งอำนาจโยคะอย่างใดอย่างหนึ่ง เราควรใช้อำนาจอย่างเดียวกันนั้น เพื่อช่วยเหลือและคุ้มครอง คนอื่น ๆ ให้ปลอดภัยมากกว่าที่จะฆ่าหรือทำลายคนอื่น เพื่อเจตนาอันเห็นแก่ตัวของเรา
ผู้ภักดีที่แท้จริงของพระรามก็คือหนุมานที่ เหมือนมากที่สุด บุคคลผู้ซึ่งระลึกนึกถึงพระรามอยู่สม่ำเสมอ หนุมานช่วยเหลือพระองค์ทุกๆ ก้าวของชีวิต และเขาทำให้ความปรารถนาทุกอย่างของเขาสำเร็จลงโดยสมบูรณ์ และกำจัดความทุกข์ทั้งมวลของเขาออกไปได้

เย ชยนฺติ สทา เสนหนาม มนฺคลย กรนมฺ
ศรี มโตราม จนฺทรสฺย กริปาโล มรม สวมินิ
เตศมารโถ สทาวิปร ปรทาตหม ปรยาตนตห
ทาทามิ วนฺจิต นิตฺยมฺ สรวนา เสารวยมุตตม

ความหมายก็คือว่า ผู้ภักดีเหล่านั้น ผู้ซึ่งระลึกนึกถึงพระราม ผู้มีความเมตตาที่สุดของเราทุกๆ วัน และตลอดเวลา ข้าฯ จะทำให้ความปรารถนาทุก ๆ อย่างของผู้ภักดีเช่นนั้นสำเร็จลงโดยสมบูรณ์ และประทานความสำเร็จในการกระทำทุก ๆ อย่างให้แก่พวกเขา ฉะนั้น การที่เราจะได้รับพรจาก หนุมาน มันเป็นความจำเป็นที่เราจะต้องทำการบูชา และระลึกนึกถึงพระราม
จาก - ศรีมณเฑียร ทรรศน์
ขอขอบคุณ - สมาคมฮินดูสมาช


คาถาบูชาพระหนุมาน

บูชาพระหนุมาน ขอพรให้มีความเข้มแข็ง
ชนะศัตรู มีแต่ความแข็งแกร่งไม่พ่ายแพ้ต่อสิ่งใด
ขอพรหนุมานให้ประทานความซื่อสัตย์จากผู้ใต้บังคับบัญชา และประทานความรักใคร่เอ็นดูจากผู้บังคับบัญชา
ให้พรเจ้านาย-หัวหน้า-ลูกน้อง-บริวาร มีแต่ความกลมเกลียวสามัคคี ไม่เกลียดชังกัน

การบูชาพระหนุมาน ควรบูชาควบคู่กับพระราม มีบทสวดให้เลือก คือ

- โอม ศรี หนุมาน นะมะห์

- โอม ศรี หนุมัทเต นะมะห์

- โอม ศรี รามะ ชยะ ชยะ รามะ
โอม ศรี หนุมานะ ชยะ ชยะ หนุมานะ

- โอม อัญจาเนยายะ วิดมาเห
มหาบัลลาเย ดีมาฮี
ตันโน หนุมาน ประโจทะยาต

- โอม อันจานี สุทายะชา วิดมาเห
วายุ ปุตรายะชา ดีมาฮี
ตันโน มรุทถี ประโจทะยาต

- โอม มะโนจาวัม มารุตาตุละยาเวกัม
จิเทนทริยัม พุทธิมาตัม วาริสะตัม
วาตัตตะมาชัม วานะรายุ ธ มุขยัม
ศรีราม ทุตัม สาระนัม ประปัทเย



exoticindiaart.com

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 06:21



uncabaret.com














igougo.com


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 06:22








wikipedia





หนุมานเป็นอวตารแห่งพระศิวะ เพื่อมาช่วยพระวิษณุในมหากาพย์เรื่องนี้ / ภาพจากวัดวิษณุ


หนุมานเป็นอวตารแห่งพระศิวะ เพื่อมาช่วยพระวิษณุในมหากาพย์รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ / ภาพจาก BBC


พระราม และ หนุมาน


เทวรูปพระราม ในวัดวิษณุ ยานนาวา


จากซ้ายไปขวา หนุมาน (คุกเข่า) พระลักษณ์ พระราม พระนางสีดา
ภาพจาก Wikipedia


ที่มา..http://www.siamganesh.com/hanuman.html

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 08:49

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 08:50
ธรรมะแห่งราชา


[youtube]HcX_LZ7UdSY[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 08:51
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-1 08:56

[youtube]i0CkGE5phWE[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-1 08:52
[youtube]kkbqRYnr_nE[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-7-20 07:09
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-7-28 09:15

จองถนน ในรามเกียรติ์

มติชนรายวัน ฉบับประจำวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2555






พระรามจองถนน

ฝ่ายพระรามคิดจะปราบเหล่ายักษ์ให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็ว ชามพูวราช ได้ทูลว่า การที่พระรามจะข้ามไปลงกาด้วยฤทธิ์อำนาจที่เหล่าทหารขันอาสานั้นย่อมทำได้ แต่จะทำให้เสียพระเกียรติยศ ควรจะให้ไพร่พลนำเอาหินไปทิ้งเพื่อสร้างถนนในมหาสมุทร พระรามจึงสั่งให้สุครีพพาไพร่พลไปเร่งสร้างถนน โดยให้นิลพัทควบคุมไพร่พลเมืองชมพู หนุมานควบคุมไพร่พลเมืองขีดขิน นิลพัทนั้นแค้นหนุมานมาแต่เดิมแล้ว ได้โอกาสล้างแค้นจึงแสดงฤทธิ์ เอาเท้าคีบเขาหิมวันต์ สองมือชูเขาคิรินทร เหาะมาแล้วบอกให้หนุมานคอยรับ

นิลพัทจึงทิ้งภูเขาลงมาทั้งสองลูกหวังให้ถูกหนุมาน แต่หนุมานรับไว้ได้ จึงคิดแก้ลำบ้าง โดยไปหักยอดเขา และนำหินก้อนมหึมาผูกตามขน แล้วให้นิลพัทรับบ้าง นิลพัทเห็นจึงขอให้หนุมานโยนมาทีละก้อน หนุมานว่า ทีนิลพัทแกล้งทิ้งมาพร้อมกันหวังให้ตาย แล้วทิ้งหินทั้งหมดลง นิลพัทใช้มือและเท้ารับไว้ได้ หนุมานหาว่านิลพัทสบประมาทตน และได้ท้าวความถึงท้าวชมพูที่มีฤทธิ์มาก ตนยังจับมาได้ นับประสาอะไรกับนิลพัท

นิลพัทโกรธท้าหนุมานต่อสู้ดังกึกก้อง พระรามได้ยินคิดว่าเหล่าลิงรบกับยักษ์ ให้พระลักษมณ์ไปดู แล้วจึงพาสุครีพ หนุมาน และนิลพัท เฝ้าพระราม พระรามโกรธ สุครีพจึงทูลแก่พระรามว่า ควรจะแยกทั้งคู่ให้ห่างกัน โดยให้หนุมานอยู่กับพระราม ส่วนนิลพัทให้กลับไปช่วยท้าวชมพูดูแลเมืองขีดขิน ทำหน้าที่ส่งเสบียงให้กองทัพเดือนละครั้ง ถ้าขาดราชการจะประหารเสีย ฝ่ายพระรามได้สั่งให้หนุมานจองถนนไปกรุงลงกาเสร็จภายในเจ็ดวัน หากไม่เสร็จจะประหารชีวิต






            เมืองลงกาของทศกัณฐ์เป็นเกาะ (ที่จินตนาการจากโลกจริงคือ ศรีลังกา) มีทะเลล้อมรอบ
กรุงศรีอยุธยามีแม่น้ำล้อมรอบ จึงเปรียบเหมือนกรุงลงกาของทศกัณฐ์ ดังพระราชนิพนธ์เพลงยาวนิราศของกรมพระราชวังบวรฯ ตอนหนึ่งว่า

          บริเวณอื้ออลด้วยชลธี           ประดุจเกาะอสุรีลงกา
จองถนน ในรามเกียรติ์ หมายถึง ระดมพลทำถนน, สร้างถนน, ตัดถนน (คำว่า จอง มีหลายความหมาย เช่น กำหนดเอาไว้, หมายเอาไว้, ผูก, ฯลฯ)

พระรามโปรดให้กองทัพวานรระดมขนหินถมทะเลทำถนนข้ามมหาสมุทรไปเกาะลงกา ดังกลอนพระราชนิพนธ์ ร.1 ว่า

          “ขนศิลาถมท้องสมุทรไท        จองถนนข้ามไปเมืองมาร”

เมื่อถนนข้ามทะเลสมุทรไปเกาะเมืองลงกาสำเร็จแล้ว เป็นที่รับรู้ทั่วไปมีในเอกสารไทยเรียกว่า ถนนพระราม แต่แผนที่โลกเรียกถนนเป็นสะพานด้วยชื่อตำนานฝรั่งว่า Adam’s Bridge หมายถึงอะไร? ไม่ทราบ

          ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ในทางภูมิประเทศจริงๆคือแนวหินธรรมชาติซึ่งเคยเชื่อมต่อระหว่างปลายแหลมอินเดียใต้กับศรีลังกา ปัจจุบันยังมีแนวให้เห็นเด่นชัด แต่ผู้แต่งรามายณะ(ไทยเรียกรามเกียรติ์) จินตนาการเป็นถนนพระราม แล้วผูกเรื่องขึ้นมา ดังเป็นที่รู้ทั่วกัน


สมณทูตสยามที่ ร.2 โปรดให้ส่งไปสืบพระศาสนาถึงลังกา ได้อาศัยเรือค้าช้างจากเมืองตรังข้ามทะเลอันดามันผ่านเกาะนาควารี(นิโคบาร์)ไปขึ้นฝั่งที่อินเดียใต้ แล้วจาริกเดินบกลงไปทางทิศใต้ถึงเมืองราเมศวรัม ผ่านบริเวณถนนพระราม (แต่มองไม่เห็น) ไปขึ้นเกาะลังกา


มีจดหมายเหตุตอนหนึ่งจดว่า เมื่อคณะสงฆ์ลงเรือถ่อข้ามสมุทรจะไปขึ้นฝั่งเกาะลังกา

“กลับหลังมาแลดูถนนพระรามหาเห็นไม่”


(เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2546 หน้า 394)


สุนทรภู่จะเคยเดินทางผ่านถนนพระรามร่วมไปในคณะสงฆ์สมัย ร.2 หรือไม่? ไม่ทราบ แต่ในพระอภัยมณีพาดพิงถึงถนนพระรามบ่อยครั้งอย่างคุ้นเคย เช่น


อุศเรนเตรียมทัพจะยกไปตีเมืองผลึก มีกลอนว่า


          แล้วเดินบกยกมาลงท่าข้าม              ถนนพระรามเรือแพแซ่สลอน
ยั้งหยุดจัดหัดทหารให้รานรอน ข่าวขจรทั่วทั้งเกาะลังกา


ต่อจากนั้นอุศเรนยกทัพจากถนนพระรามข้ามฟากทะเลอันดามันไปฝั่งตรงข้ามเป็นเมืองผลึก (เมืองถลาง เกาะภูเก็ต) มีกลอนว่า


          ฝ่ายลังกาฝรั่งอยู่หลังถนน               พอพักพลฝึกทหารชาญสนาม
ออกจากฝั่งวังวนถนนพระราม แล้วยกข้ามฟากมาสิบห้าคืน
ถึงเขตคุ้งกรุงผลึกนึกประหลาด        ไม่เห็นลาดตระเวนแขวงมาแข็งขืน
เข้าปากน้ำสำคัญให้ลั่นปืน               เสียงปึงปังดังครืนทั้งธรณี

พระรามจองถนน แล้วได้ถนนพระรามข้ามทะเลสมุทรจากปลายแหลมแผ่นดินใหญ่ไปเกาะเมืองลงกา คงเป็นความรู้ที่กระฎุมพียุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ร่วมสมัยสุนทรภู่รู้กันทั่วไป แต่รู้แบบไหน?

ไม่มีใครรู้จนบัดนี้


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-12 06:03

โดย: Nujeab    เวลา: 2014-9-12 11:09

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-21 07:12
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-21 07:13

ศาลลูกศร (ศาลหลักเมืองลพบุรี)
ศาล


ลูกศร หรือ ลูกศรพระราม ตั้งอยู่ใกล้ๆบริเวณตลาดลพบุรี ด้านหน้าใกล้ทางแยกไปวัดสามจีน(วัดพรหมมาสตร์) ทางไปอำเภอไชโย (ถนนสายบ้านเบิก) ใกล้แม่น้ำลพบุรี ด้านหลังติดกับ วัดปืน ซึ่งใกล้กับบ้านหลวงรับราชทูต (บ้านวิชาเยนทร์) ตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี ศาลลูกศร เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองลพบุรี และสถานที่แห่งนี้อาจจะเป็นศาลหลักเมืองลพบุรีก็ได้ ซึ่งภายในศาลแห่งนี้ จะมีหินสีดำ ที่แช่ในน้ำไว้ตลอด ซึ่งกล่าวกันว่า เป็นศรของพระรามที่ตกลงมา ซึ่งก้อนหินนี้ เมื่อน้ำที่อยู่รอบก้อนหินนี้แห้งไป ก็จะเกิดไฟไหม้ในลพบุรี

ตำนานศาลลูกศรศาลลูกศรตามตำนานว่าไว้ว่าเมื่อพระรามรบชนะทศกัณฑ์ได้ปูนบำเหน็จความชอบแด่ขุนทหารโดยทั่วกัน และได้รับสั่งว่าให้หนุมานทหารเอกได้ครองกรุงอโยธยาร่วมกัน แต่หนุมานขอให้พระรามพระราชทานพื้นที่สร้างเมืองโดยให้พระรามแผลงศรออกไป เมื่อลูกศรไปตกณ.ที่ใดก็ให้หนุมานสร้างเมือง ณ ที่แห่งนั้น ตามตำนานว่าไว้ว่าเมื่อลูกศรตกลงมาถูกพื้นดินก็ได้เกิดไฟเผาผลาญพื้นดินนั้นจนสุกขาวเป็นที่มาของดินสอพอง และลูกหลานของหนุมานนั้นก็คือลิงที่อาศัยอยู่ที่ศาลพระกาฬและพระปรางค์สามยอด ลูกศรของพระรามนั้นเชื่อว่ายังมีฤทธิ์อยู่เมื่อใดที่ผู้ดูแลศาลปล่อยให้น้ำที่แช่อยู่แห้งลงไปจะเกิดไฟไหม้เมืองลพบุรี




โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-21 07:20
ตำนานเมืองลพบุรี ( ทุ่งพรหมมาสตร์ - ศาลลูกศร )



                 ตำนานเมืองลพบุรี

         
          


   ตำนาน เป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมาช้านาน   มีกมีเนื้อหาเกี่ยวกับอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาร วีรกรรมของบรรพบุรุษ  อันเป็นที่มาของวัตถุหรือสถานที่สำคัญของแต่ละท้องถิ่น  ลพบุรีเป็นดินแดนที่สะสมเรื่องราวก่อนประวัติศาสตร์ และสะสมประสบการณ์ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ มีซากปรักหักพังทางโบราณสถานโบราณวัตถุ ยังคงมีร่องรอยหลักฐานที่สำคัญ ดังนั้นมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเป็นเรื่อง ๆ ทั้งสถานที่และบุคล ที่น่าสนใจหลากหลาย
          เมื่อครั้งพระรามรบชนะทศกัณฑ์แล้ว  พระองค์ ปูนบำเน็จรางวัลต่าง ๆ ให้แก่แม่ทัพนายกอง และบรรดาพลพรรคทั้งหลายที่ช่วยกันทำศึกทุกคน ส่วนกำแหงหนุมานผู้เป็นยอดทหารเอก มีความดีความชอบมาก พระองค์จึงประทานเมืองอโยธยาให้กึ่งหนึ่ง แต่หนุมานไม่สามารถตีเสมอเจ้านายได้เมื่อขึ้นบัลลังก์ก็ปวดเศียรเวียนเกล้า คิดได้จึงถวายเมืองคืน พระรามจึงคิดสร้างเมืองใหม่โดยยิงศรพรหมมาสตร์เสี่ยงทายหาที่ตั้งเมือง แล้วให้หนุมานเหาะตามไป ลูกศรตกที่ใด  ให้หนุมานนั้นใช้เป็นที่ตั้งเมือง เมื่อพระรามแผลงศรไป  ศรได้ไปถูกภูเขา เก้ายอด แตกกระจาย และตกยังพื้นอันเป็นเมืองลพบุรี...





ด้วยความแรงของลูกศร ทำให้ดินบริเวณนั้น แตกกระจาย กลายเป็นทุ่งพรหมมาสตร์ ตามชื่อศร
ปัจจุบันคือ บ้านท่าหิน  แล้วหนุมานก็จัดการเอาหางกวาดดิน ที่แตกกระจาย
ทำเป็นกำแพงเมือง ปัจจุบัน กลายเป็นเขาสามยอด  ตอนที่ศรตกลงดินใหม่ ๆ

ด้วยอำนาจของศรทำให้ดินบริเวณนั้นร้อนระอุกลายเป็นสีขาว

ต่อมาได้นำมาทำเป็น
ดินสอพอง


ศรของพระรามมีอาถรรพ์มาก..

เมื่อปักลงแล้วเปรียบเสมือนเป็นเสาหลักบ้านหลักของลพบุรี ลูกศรนี้ต้องมีน้ำหล่อเลี้ยงให้ขังเปียกอยู่ตลอดเวลา

ถ้าปล่อยจนแห้งลูกศรจะร้อนและลุกเป็นไฟ แล้วเกิดเพลิงเผาผลาญบ้านเรือนของชาวลพบุรี

โดยเหตุนี้เอง
  ชาวตลาดลพบุรี จึงได้สร้างศาลครอบคลุมศรไว้ ให้ชื่อว่า ศาลลูกศร  

เมื่อสร้างเมืองใหม่เสร็จแล้วจึงประทานนามเมืองว่า นพบุรี เพราะแผลงศร

ไปถูกภูเขาเก้ายอด ต่อมาเพี้ยนเป็น ลพบุรี




โดย: Metha    เวลา: 2014-9-21 10:36
ของท่านแรงจริงๆๆ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-22 05:07
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-22 05:11



..


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-22 05:18
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-22 05:25

30
..

โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-22 05:32
[youtube]VOfaGI1Ugwk#t=59[/youtube]
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-23 21:21
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Sornpraram เมื่อ 2014-9-23 21:43

แอบมองเทพแห่งอินเดีย 1 (พระราม)

พระราม หรือ รามาวตาร หรือ รามจันทราวตาร


พระวิษณุ อวตารเป็น พระราม
ปราบ ทศกัณฑ์ ในเรื่องรามเกียรติ์ หรือ รามายณะ


จากมหากาพย์ รามายณะ ชาวไทยรู้จักกันในชื่อเรื่อง รามเกียรติ์
เรื่องราวของพระรามเทพเจ้าที่แสนโรแมนติด มาก เรืองราวของรามเกียรติ์ยิ่งใหญ่อลังการ มากมาย




เชื่อกันว่า เป็นพระวิศณุอวตาร(พระนารายณ์อวตาร) และการอวตารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ

กำจัด ท้าวราพณ์ หรือ ทศกัณฐ์ กษัตริย์แห่งกรุงลงกา ซึ่งมี ๑๐ เศียร


อสูร ท้าวราพณ์บำเพ็ญตบะเช่นเดียวกับ เหรันตยักษ์ และ เหรัณยกศิปุ ที่บำเพ็ญตบะก็เพื่อความอมตะ


เมื่อพบความเป็นอมตะก็ได้เข้าประจบประแจง พระศิวะ จนท่านเมตตา


มันก็เริ่มประหัตประหารเทพเจ้าและมนุษย์


พระวิษณุ(พระนารายณ์) จึงอวตารลงมาเป็นโอรสองค์โตของมหากษัตริย์ ทศรถ แห่งกรุงอโยธยา ซึ่งจัดพิธีบูชายัญม้าเป็นประจำ


ทรงพระนามว่า พระราม




มีพระอนุชาต่างมาดาคือ พระภรต พระลักษมณ์ และ พระศัตรุต

กล่าวกันว่าพระอนุชาของพระองค์ทรงแบ่งรูปลักษณ์มาจากพระวิษณุด้วย


พระราม และ พระลักษณ์ ทรงสนิทสนมกันมาก และได้ฆ่าอสูรที่ฆ่าพราหมณ์ไปเป็นจำนวนมาก


วันหนึ่งขณะทรงพระเยาว์ ทั้งสองพระองค์ได้ยินข่าวว่า นางสีดา ธิดาแสนสวยของ กษัตริย์ชนก

จะอภิเษกกับผู้ที่สามารถโก่งคันศรของพระศิวะ


ได้ พระรามโก่งคันศรได้ และได้อภิเษกกับนางสีดา ซึ่งก็คือ พระลักษมี อวตารลงมานั่นเอง


หลังจากทรงอภิเษกได้ไม่นาน พระทศรถก็สละราชสมบัติ และได้ประกาศนามของผู้ที่จะมารับตำแหน่งใหม่


ในเวลาเดียวกันขณะที่พระภรตไม่อยู่นั้น บริวารของ พระมเหสีไกยเกษี (Kaikeyi) ผู้เป็นพระมารดาของภรต ก็กล่าวให้ร้ายพระราม ทำให้พระนางไม่พอพระทัยพระราม ทรงเป็นที่รักใคร่มากกว่า


จึงทรงยุยงและบังคับให้พระทศรถ ยอมยกราชสมบัติทั้งหมดให้ภรต ทั้งยังเนรเทศพระรามออกไปอยู่ป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี โดยมีนางสีดา และพระลักษณ์คอยติดตามพระรามไปด้วย


ประชาชนและภรตต่างเศร้าโศกกับการจากไปของพระรามมาก จนพระทศรถ ทรงเสด็จสวรรคตในอีก ๑ สัปดาห์ต่อมา


เมื่อ พระภรต ทรงเสด็จกลับมาและทราบข่าว พระองค์ทรงพิโรธพระมารดามาก ทรงเสด็จออกตามหาพระรามเพื่อเชิญเสด็จกลับวัง


แต่พระรามไม่ทรงกลับ พระภรตจึงเสด็จกลับเมืองอโยธยา และครองราชสมบัติแทน โดยมี พระบาท ของพระรามอยู่บนราชบัลลังก์ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงกษัตริย์ที่มีสิทธิ์อันชอบธรรม


ในช่วงที่อยู่ในป่านางยักษี ผู้เป็นขนิษฐาของท้าวราพณ์ได้หลงรักพระราม แต่พระรามทรงอภิเษกแล้ว จึงให้นางไปสนพระทัยพระลักษมณ์ซึ่งยังไม่อภิเษกดีกว่า


แต่พระลักษมณ์ก็ผลักไสนาง นางจึงสงสัยว่าพระลักษณ์คงแอบหลงรักนางสีดาอยู่ นางยักษีจึงทำร้ายนางสีดา และพยายามจะกินนางสีดา แต่พระลักษมณ์มาช่วยไว้ได้ทัน โดยทรงตัดจมูก หู และอกของนางยักษี


นางจึงส่งอนุชาพร้อมกองทัพยักษี ๑๔,๐๐๐ ตนมาล้างแค้น

แต่พระรามก็เอาชนะได้ นางจึงไปยุยงให้ท้าวราพณ์ว่านางสีดางดงามมาก และเหมาะสมกับท้าวราพณ์


ท้าวราพณ์จึงลักพาตัวนางไปโดยส่งกวางไปล่อ นางสีดาอยากได้กวาง พระราม พระลักษณ์จึงออกไปจับกวาง


จากนั้นท้าวราพณ์ในรูปของฤาษีก็จับนางขึ้นรถ เหาะไปยังกรุงลงการะหว่างทาง นกชฎายุ หรือร่างอวตารของ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ได้ต่อสู้กับอสูรราพณ์แต่ไม่สามารถเอาชนะได้


ชฎายุจึงพาร่างจวนเจียนจะสิ้นใจกลับมาส่งข่าวแก่พระราม เมื่อมาถึงกรุงลงกา ท้าวราพณ์พยายามเกี้ยวพาราสีนางสีดา แต่นางก็ไม่ใจอ่อน


ท้าวราพณ์จึงบังคับให้นางอภิเษกด้วย ถ้านางไม่ยินยอมจะฆ่าและกินนางเสีย แต่นางสีดาก็รอดมาได้ เนื่องมาจากหนึ่งในบรรดาชายาของท้าวราพณ์ ที่ถูกฉุดคร่า มาสาปแช่งว่า ท้าวราพณ์จะต้องตายถ้าฉุดคร่าหญิงอื่นอีก

พระรามทราบข่าวนางสีดาจากนกชฎายุ แล้วทำการปลงศพให้นกชฎายุ จากนั้นก็รีบตามไป ระหว่างทางพบกับ สุครีพ โอรสของพระอินทร์ ซึ่งถูก พาลี พระเชษฐาร่วมพระมารดา เนรเทศออกมาจากอาณาจักรของตน สุครีพ จึงตอบแทนความช่วยเหลือที่ช่วยรบจนได้อาณาจักรคืนมา โดยส่งกองทัพลิงและหมีไปช่วยพระรามและพระลักษณ์ ซึ่งมีหนุมานโอรสของพระวายุเป็นแม่ทัพเดินทางไปกรุงลงกา


หนุมานเหาะข้ามทะเล และลอบเข้ากรุงลงกาเพื่อสอดแนม ขณะนั้นนางสีดา นั่งอยู่ในสวนแต่เพียงลำพัง หนุมานได้แสดงแหวนจารึกพระนามของพระรามเป็นหลักฐาน และบอกแผนการแก่นาง แต่ด้วยความลิงโลดที่ลอบเข้ามาได้ หนุมานก็ดึงต้นไม้ในสวนเล่น ทำให้ถูกจับได้ และถูกส่งไปให้ท้าวราพณ์ยักษา


ท้าวราพณ์ ยักษาสั่งให้เผาหางหนุมานโดยผ้าชุบน้ำมันผูกที่หาง แต่หนุมานใช้จังหวะที่ถูกเผาหางอยู่นี้ กระโดดหนีออกมาได้ และไฟจากหางนี่เองทำให้เกิดไฟไหม้กรุงลงกา
หนุมานกลับมาส่งข่าวต่อพระรามว่า ท้าวราพณ์มีป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างโดยพระวิศวกรรมให้แก่กุเวร เจ้าแห่งความมั่นคง เมืองมีอาณาเขตกว้างขวางส่วนมากสร้างด้วยทอง ล้อมรอบด้วยคูเมืองกว้างและกำแพงนี้สร้างด้วยหินและโลหะ ซึ่งมาจากยอดเขาพระสุเมรุ


ในระหว่างที่หนุมานเข้าไปในกรุงลงกา พลพรรคของพระรามได้ช่วยกันสร้างสะพานกัน และแล้วเสร็จเมื่อหนุมานกลับมา แม้จะมีอสูรจากใต้ทะเลมาก่อกวนก็ตาม หัวหน้าช่างที่สร้างสะพานคือหัวหน้าลิงชื่อ นล โอรสของพระวิศวกรรม ซึ่งมีพลังทำให้ก้อนหินลอยบนน้ำได้ บางครั้งสะพานนี้ได้รับการเรียกว่า นลเสตุ (สะพานของนล) แต่ปกติจะมีชื่อว่า สะพานของพระราม


เมื่อพระรามและกองทัพข้ามไปได้ ศึกครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่มตรงทางเข้าเมือง พระลักษณ์ถูกโอรสของท้าวราพณ์นามว่า อินทรชิต ทำร้าย แต่หนุมาน ก็ใช้สมุนไพรที่หาได้บน เทือกเขาหิมาลัย มารักษา ในระหว่างนั้นพระอนุชาของท้าวราพณ์ได้กินลิงเป็นร้อยตัวเข้าไป แต่ในที่สุดแล้ว พวกยักษ์ ก็ถูกฆ่าจนหมด


การต่อสู้ของพระราม และอสูรราพณ์ก็จบลง โดยในครั้งแรกพระราม ยิงศรใส่ท้าวราพณ์ แต่ยิงไม่เข้า พระรามจึงใช้อาวุธวิเศษที่ได้รับจากฤาษีอกัสยตะ ซึ่งเป็นนักพรตที่มีชื่อเสียงและเป็นศัตรูของพวกยักษ์ กล่าวกันว่าอาวุธนี้เป็นแหล่งรวมพลังของบรรดาเทพเจ้าไว้ และรู้จักกันดีในฐานะเป็นอาวุธของพระพรหม ขว้างออกไปตัดอกของท้าวราพณ์


เหล่าเทวดาพากันโปรยมาลัยดอกไม้ลงมาอวยพรในชัยชนะของพระราม และกองทัพลิงที่เสียชีวิตก็กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งแม้พระรามจะพบนางสีดาอีกครั้ง แต่พระองค์ก็เย็นชากับนาง เนื่องจากพระรามไม่ทรงเชื่อว่านางสีดา จะยังคงภักดีกับพระองค์อยู่


นางสีดาจึงลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของนาง เมื่อนางลุยไฟ ท้องฟ้าได้ประกาศว่านางบริสุทธิ์ และพระอัคนีเทพแห่งไฟ ได้นำนางไปประทับต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราม


พระรามนั้นยอมรับในความบริสุทธิ์ของนางสีดาแล้ว และไม่เคยสงสัยในตัวนางสีดาเลย แต่พระรามก็มีพระราชประสงค์ให้นางสีดา ทดสอบต่อหน้าธารกำนัลเท่านั้น เพื่อแสดงให้ธารกำนัลได้ทราบความบริสุทธิ์ของนางสีดาด้วย




.......................................................................................




ขอขอบพระคุณ

หนังสือ ย้อนรอยชมพูทวีป สำนักพิมพ์ คุ้มคำ
http://www.siamganesh.com



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-24 07:10

นนทก


ท่านที่อ่านวรรณคดี “รามเกียรติ์” คงพอจะจำได้ถึงชาติกำเนิดของ ทศกัณฐ์ ว่าเดิมทีนั้นคือยักษ์ทวารบาล นนทก ที่ถูกพระนารายณ์สาปส่งให้ลงมาเกิดเป็นพญายักษ์ ก่อวีรเวรมากมายจนสุดท้ายก็ต้องตายด้วยศรของพระราม ซึ่งจะว่าไปการตายของนนทกก่อนที่จะมาเกิดใหม่เป็นทศพักตร์ก็นับว่าน่าสนใจไม่น้อย

นนทก เป็นยักษ์รับใช้ของพระอิศวร มีหน้าที่คอยล้างเท้าให้บรรดาทวยเทพอยู่ที่ตีนเขาไกรลาส เวลาเทวดาจะมาเข้าเฝ้าพระอิศวรก็จะมาให้เจ้านนทกล้างเท้าให้ เทวดาพวกนี้ไม่ได้ยื่นตีนให้ล้างเปล่าๆ เห็นนนทกก้มหน้าล้างตีนให้ก็เกิดสนุกตบหัวบ้าง ถอนผมเล่นบ้าง จนเส้นผมบนกบาลของนนทกล้านโล่ง กลายเป็นยักษ์โป๊งเหน่ง เทวดาเห็นก็ยิ่งแกล้งหนักข้อขึ้นไปอีก จนที่สุดนนทกนึกน้อยใจทนไม่ได้ จึงไปเข้าเฝ้าพระอิศวรเล่าเรื่องราวให้ฟัง แล้วก็ทูลขอนิ้วเพชร มีฤทธิ์ชี้ไปที่ใครคนนั้นก็จะต้องตาย พระอิศวรเป็นเทพใจดี ใครมาขออะไรท่านก็จะประทานให้ทุกอย่าง สุดท้ายนนทกก็ได้นิ้วเพชรมาครอบครอง

คราวนี้ละเหวย เทวดาองค์ไหนที่ชอบแกล้งเจ้านนทกก็มีอันดับสูญด้วยฤทธิ์เดชของนิ้วเพชร นนทกไล่ชี้นิ้วเพชรใส่เทวดาที่เคยแกล้งตนเพื่อให้หายแค้น ไปๆ มาๆ ก็เริ่มผยองไล่ฆ่าเทวดาไปทั่ว จนความทราบถึงพระอิศวร จึงทรงโปรดให้พระนารายณ์ไปปราบเจ้านนทกนี้เสีย
พระนารายณ์จึงออกอุบายจำแลงเป็นนางอัปสรไปหลอกล่อนนทก นนทกขี้หลีเห็นนางอัปสรรูปงามมาร่ำยั่วก็หลงกล เข้าไปทำชีกอใส่ทันที พระนารายณ์จำแลงเห็นได้ทีจึงแกล้งยั่วให้นนทกร่ายรำตามตนจนถึงท่า “นาคาม้วนหาง” นนทกก็หลงกลชี้นิ้วเพชรที่ขาของตัวเองจนขาหัก สิ้นฤทธิ์ทรุดอยู่กับพื้น นางอัปสรจึงคืนร่างเป็นพระนารายณ์เหยียบอกนนทกไว้หมายจะสังหารเสีย ฝ่ายนนทกเห็นว่าเสียทีดังนี้จึงร้องบริภาษว่า


บัดนั้น                                        นนทกผู้ใจแกล้วหาญ
ได้ฟังจึงตอบพจมาน                     ซึ่งพระองค์จะผลาญชีวี
เหตุใดมิทำซึ่งหน้า                        มารยาเป็นหญิงไม่บัดสี
ฤาว่ากลัวนิ้วเพชรนี้                       จะชี้พระองค์ให้บรรลัย
ตัวข้ามีแต่สองมือ                          ฤาจะสู้ทั้งสี่กรได้

แม้สี่มือเหมือนพระองค์ทรงชัย     ที่ไหนจะทำได้ดังนี้ ฯ

พระนารายณ์ก็นักเลงเหมือนกัน จึงให้โอกาสแก่นนทกมาสู้กันใหม่ในชาติหน้า
ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์                    จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร        เหาะเหินเดินได้ในอัมพร
มีมือยี่สิบซ้ายขวา                            ถือคฑาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร                 ตามไปราญรอนชีวี


นนทก จึงเกิดใหม่เป็นทศกัณฐ์ ส่วนพระนารายณ์ก็ลงมาเกิดเป็น พระราม แล้วสุดท้ายพระรามก็เป็นฝ่ายชนะ



โดย: Metha    เวลา: 2014-9-24 13:26


โดย: Nujeab    เวลา: 2014-9-24 14:15
พระศรีราม
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-9-25 07:01
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2014-9-24 14:15
พระศรีราม


โดย: Nujeab    เวลา: 2014-9-25 10:30
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-9-25 07:01

สง่างามจริงๆครับ ภาพนี้
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-11-15 18:31
พระศรีราม
โดย: majoy    เวลา: 2014-11-16 00:00
เย ศิราม
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-2 07:26
นะโมโพธิสัตย์โต พระรามชัยศรี สวัสดีลาโภ นะโมพุทธายะ


โดย: รามเทพ    เวลา: 2014-12-4 06:10
.โอม เจ ศรี ราม / โอม เจ หนุมาน...

ขอให้พระรามประทานพรให้ทุกคนมีความสุข



https://www.youtube.com/watch?v=LrA9JK12l-Q



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-4 06:21
พระศรีราม
ธรรมะแห่งราชา



[youtube]HcX_LZ7UdSY[/youtube]


[youtube]i0CkGE5phWE[/youtube]


[youtube]kkbqRYnr_nE[/youtube]




ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์                    จงไปอุบัติเอาชาติใหม่
ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร        เหาะเหินเดินได้ในอัมพร
มีมือยี่สิบซ้ายขวา                            ถือคฑาอาวุธธนูศร
กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร                 ตามไปราญรอนชีวี


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-6 07:32
พระราม (รามาวตาร) เทพแห่งความถูกต้องสันติ





รามาวตาร หรือ รามจันทราวตาร หรือ พระราม จากมหากาพย์ รามายณะ ชาวไทยรู้จักกันในชื่อเรื่อง รามเกียรติ์ (จากภาพ พระรามกับนางสีดา)



อวตารครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อกำจัด ท้าวราพณ์ หรือ ทศกัณฐ์ กษัตริย์แห่งกรุงลงกา ซึ่งมี ๑๐ เศียร อสูร ท้าวราพณ์บำเพ็ญตบะเช่นเดียวกับ เหรันตยักษ์ และ เหรัณยกศิปุ ที่บำเพ็ญตบะก็เพื่อความอมตะ เมื่อพบความเป็นอมตะ และประจบประแจง พระศิวะ จนท่านเมตตา มันก็เริ่มประหัตประหารเทพเจ้าและมนุษย์ พระวิษณุ จึงอวตารลงมาเป็นโอรสองค์โตของมหากษัตริย์ ทศรถ แห่งกรุงอโยธยา ซึ่งจัดพิธีบูชายัญม้าเป็นประจำ ทรงพระนามว่า พระราม มีพระอนุชาต่างมาดาคือ พระภรต พระลักษมณ์ และ พระศัตรุต กล่าวกันว่าพระอนุชาของพระองค์ทรงแบ่งรูปลักษณ์มาจากพระวิษณุด้วย



พระราม และ พระลักษณ์ ทรงสนิทสนมกันมาก และได้ฆ่าอสูรที่ฆ่าพราหมณ์ไปเป็นจำนวนมาก วันหนึ่งขณะทรงพระเยาว์ ทั้งสองพระองค์ได้ยินข่าวว่า นางสีดา ธิดาแสนสวยของ กษัตริย์ชนก จะอภิเศกกับผู้ที่สามารถโก่งคันศรของพระศิวะได้ พระรามโก่งคันศรได้ และได้อภิเษกกับนางสีดา ซึ่งก็คือ พระลักษมี อวตารลงมานั่นเอง หลังจากทรงอภิเษกได้ไม่นาน พระทศรถก็สละราชสมบัติ และได้ประกาศนามของผู้ที่จะมารับตำแหน่งใหม่ ในเวลาเดียวกันขณะที่พระภรตไม่อยู่นั้น บริวารของ พระมเหสีไกยเกษี (Kaikeyi) ผู้เป็นพระมารดาของภรต ก็กล่าวให้ร้ายพระราม ทำให้พระนางไม่พอพระทัยพระราม ทรงเป็นที่รักใคร่มากกว่า จึงทรงยุยงและบังคับให้พระทศรถ ยอมยกราชสมบัติทั้งหมดให้ภรต ทั้งยังเนรเทศพระรามออกไปอยู่ป่าเป็นเวลา ๑๔ ปี โดยมีนางสีดา และพระลักษณ์คอยติดตามพระรามไปด้วย ประชาชนและภรตต่างเศร้าโศกกับการจากไปของพระรามมาก จนพระทศรถ ทรงเสด็จสวรรคตในอีก ๑ สัปดาห์ต่อมา



เมื่อ พระภรต ทรงเสด็จกลับมาและทราบข่าว พระองค์ทรงพิโรธพระมารดามาก ทรงเสด็จออกตามหาพระรามเพื่อเชิญเสด็จกลับวัง แต่พระรามไม่ทรงกลับ พระภรตจึงเสด็จกลับเมืองอโยธยา และครองราชสมบัติแทน โดยมี พระบาท ของพระรามอยู่บนราชบัลลังก์ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงกษัตริย์ที่มีสิทธิ์อันชอบธรรม



ในช่วงที่อยู่ในป่านางยักษี ผู้เป็นขนิษฐาของท้าวราพณ์ได้หลงรักพระราม แต่พระรามทรงอภิเษกแล้ว จึงให้นางไปสนพระทัยพระลักษมณ์ซึ่งยังไม่อภิเษกดีกว่า แต่พระลักษมณ์ก็ผลักไสนาง นางจึงสงสัยว่าพระลักษณ์คงแอบหลงรักนางสีดาอยู่ นางยักษีจึงทำร้ายนางสีดา และพยายามจะกินนางสีดา แต่พระลักษมณ์มาช่วยไว้ได้ทัน โดยทรงตัดจมูก หู และอกของนางยักษี



นางจึงส่งอนุชาพร้อมกองทัพยักษี ๑๔,๐๐๐ ตนมาล้างแค้น แต่พระรามก็เอาชนะได้ นางจึงไปยุยงให้ท้าวราพณ์ว่านางสีดางดงามมาก และเหมาะสมกับท้าวราพณ์ ท้าวราพณ์จึงลักพาตัวนางไปโดยส่งกวางไปล่อ นางสีดาอยากได้กวาง พระราม พระลักษณ์จึงออกไปจับกวาง จากนั้นท้าวราพณ์ในรูปของฤาษีก็จับนางขึ้นรถ เหาะไปยังกรุงลงการะหว่างทาง นกชฎายุ หรือร่างอวตารของ พญาครุฑ พาหนะของพระวิษณุ ได้ต่อสู้กับอสูรราพณ์แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ชฎายุจึงพาร่างจวนเจียนจะสิ้นใจกลับมาส่งข่าวแก่พระราม เมื่อมาถึงกรุงลงกา ท้าวราพณ์พยายามเกี้ยวพาราสีนางสีดา แต่นางก็ไม่ใจอ่อน ท้าวราพณ์จึงบังคับให้นางอภิเษกด้วย ถ้านางไม่ยินยอมจะฆ่าและกินนางเสีย แต่นางสีดาก็รอดมาได้ เนื่องมาจากหนึ่งในบรรดาชายาของท้าวราพณ์ ที่ถูกฉุดคร่า มาสาปแช่งว่า ท้าวราพณ์จะต้องตายถ้าฉุดคร่าหญิงอื่นอีก



พระรามทราบข่าวนางสีดาจากนกชฎายุ แล้วทำการปลงศพให้นกชฎายุ จากนั้นก็รีบตามไป ระหว่างทางพบกับ สุครีพ โอรสของพระอินทร์ ซึ่งถูก พาลี พระเชษฐาร่วมพระมารดา เนรเทศออกมาจากอาณาจักรของตน สุครีพ จึงตอบแทนความช่วยเหลือที่ช่วยรบจนได้อาณาจักรคืนมา โดยส่งกองทัพลิงและหมีไปช่วยพระรามและพระลักษณ์ ซึ่งมีหนุมานโอรสของพระวายุเป็นแม่ทัพเดินทางไปกรุงลงกา





หนุมานเหาะข้ามทะเล และลอบเข้ากรุงลงกาเพื่อสอดแนม ขณะนั้นนางสีดา นั้งอยู่ในสวนแต่เพียงลำพัง หนุมานได้แสดงแหวนจารึกพระนามของพระรามเป็นหลักฐาน และบอกแผนการแก่นาง แต่ด้วยความลิงโลดที่ลอบเข้ามาได้ หนุมานก็ดึงต้นไม้ในสวนเล่น ทำให้ถูกจับได้ และถูกส่งไปให้ท้าวราพณ์ ยักษาสั่งให้เผาหางหนุมานโดยผ้าชุบน้ำมันผูกที่หาง แต่หนุมานใช้จังหวะที่ถูกเผาหางอยู่นี้ กระโดดหนีออกมาได้ และไฟจากหางนี่เองทำให้เกิดไฟไหม้กรุงลงกา



หนุมานกลับมาส่งข่าวต่อพระรามว่า ท้าวราพณ์มีป้อมปราการที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งสร้างโดยพระวิศวกรรมให้แก่กุเวร เจ้าแห่งความมั่นคง เมืองมีอาณาเขตกว้างขวางส่วนมากสร้างด้วยทอง ล้อมรอบด้วยคูเมืองกว้างและกำแพงนี้สร้างด้วยหินและโลหะ ซึ่งมาจากยอดเขาพระสุเมรุ ในระหว่างที่หนุมานเข้าไปในกรุงลงกา พลพรรคของพระรามได้ช่วยกันสร้างสะพานกัน และแล้วเสร็จเมื่อหนุมานกลับมา แม้จะมีอสูรจากใต้ทะเลมาก่อกวนก็ตาม หัวหน้าช่างที่สร้างสะพานคือหัวหน้าลิงชื่อ นล โอรสของพระวิศวกรรม ซึ่งมีพลังทำให้ก้อนหินลอยบนน้ำได้ บางครั้งสะพานนี้ได้รับการเรียกว่า นลเสตุ (สะพานของนล) แต่ปกติจะมีชื่อว่า สะพานของพระราม



เมื่อพระรามและกองทัพข้ามไปได้ ศึกครั้งยิ่งใหญ่ก็เริ่มตรงทางเข้าเมือง พระลักษณ์ถูกโอรสของท้าวราพณ์นามว่า อินทรชิต ทำร้าย แต่หนุมาน ก็ใช้สมุนไพรที่หาได้บน เทือกเขาหิมาลัย มารักษา ในระหว่างนั้นพระอนุชาของท้าวราพณ์ได้กินลิงเป็นร้อยตัวเข้าไป แต่ในที่สุดแล้ว พวกยักษ์ ก็ถูกฆ่าจนหมด การต่อสู้ของพระราม และอสูรราพณ์ก็จบลง โดยในครั้งแรกพระราม ยิงศรใส่ท้าวราพณ์ แต่ยิงไม่เข้า พระรามจึงใช้อาวุธวิเศษที่ได้รับจากฤาษีอกัสยตะ ซึ่งเป็นนักพรตที่มีชื่อเสียงและเป็นศัตรูของพวกยักษ์ กล่าวกันว่าอาวุธนี้เป็นแหล่งรวมพลังของบรรดาเทพเจ้าไว้ และรู้จักกันดีในฐานะเป็นอาวุธของพระพรหม ขว้างออกไปตัดอกของท้าวราพณ์ เหล่าเทวดาพากันโปรยมาลัยดอกไม้ลงมาอวยพรในชัยชนะของพระราม และกองทัพลิงที่เสียชีวิตก็กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง

   

แม้พระรามจะพบนางสีดาอีกครั้ง แต่พระองค์ก็เย็นชากับนาง เนื่องจากพระรามไม่ทรงเชื่อว่านางสีดา จะยังคงภักดีกับพระองค์อยู่ นางสีดาจึงลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ใจของนาง เมื่อนางลุยไฟ ท้องฟ้าได้ประกาศว่านางบริสุทธิ์ และพระอัคนีเทพแห่งไฟ ได้นำนางไปประทับต่อเบื้องพระพักตร์ของพระราม ซึ่งยอมรับในตัวนางแล้ว จริงๆแล้วพระรามไม่เคยสงสัยในตัวนาง เพียงแต่ประสงค์จะให้นางทดสอบต่อหน้าธารกำนัลเท่านั้น


โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-6 07:33
[youtube]8-6Erf6Agk8[/youtube]






ชาตินี้มึงมีแต่สองหัตถ์ จงไปอุบัติเอาชาติใหม่

ให้สิบเศียรสิบพักตร์เกรียงไกร เหาะเหินเดินได้ในอัมพร

มีมือยี่สิบซ้ายขวา ถือคทาอาวุธธนูศร

กูจะเป็นมนุษย์แต่สองกร ตามไปราญรอนชีวี



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-6 07:53

ฤๅษีวาลมีกิผู้ปราดเปรื่องและทรงคุณธรรม เมื่อได้ฟังประวัติอันสมบูรณ์ของพระรามแล้ว ก็ได้ใคร่ครวญครั้งแล้วครั้งเล่าอย่างกระจ่างแจ้งถึงเรื่องดังกล่าว อันเปี่ยมด้วยความน่านับถือยิ่ง

เมื่อท่านมุนีได้จิบน้ำตามพิธีอันเหมาะสมแล้ว ก็นั่งบนหญ้าทรรภซึ่งเป็นอาสนะ ซึ่งหันไปทางทิศปราจีน พร้อมทั้งประนมมือ นั่งภาวนา และใคร่ครวญไปตามครรลองแห่งธรรมะ

ครั้นแล้วก็มีปัญญาหยั่งลึกอย่างแจ่มชัดถึงสิ่งใดๆ (ทั้งกิริยา เรื่องชวนหัว และถ้อยคำที่ท่านเหล่านั้นเปล่งออกมา) ของพระราม พระลักษมัณ และนางสีตา รวมทั้งท้าวทศรถ พร้อมกับพระราชินี และทวยราษฎร สิ่งเหล่านี้ปรากฏชัดเจนด้วยพลังแห่งธรรมดาของมหามุนีนั่นเอง

ท่านได้เป็นประจักษ์พยานแห่งสรรพสิ่งทั้งปวงที่เกิดขึ้นในป่าแห่งนั้น ในช่วงเดินป่า ของพระราม ผู้มั่นคงในความสัตย์ พร้อมด้วยพระชายาที่โดยเสด็จเป็นบุคคลที่สาม
ครั้นแล้ว มุนีผู้ทรงธรรมก็เข้าฌาน แล้วสามารถเล็งเห็นสิ่งที่บังเกิดขึ้นทุกประการในอดีตเกี่ยวกับบุคคลเหล่านั้นอย่างแจมชัด เสมือนผลไม้ที่เก็บวางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น

ฤๅษีผู้รัศมีเปล่งปลั่งเรืองรอง เมื่อได้ล่วงรู้ทุกสิ่งที่บังเกิดมาแล้ว ด้วยพละแหล่งคุณธรรมที่ตนมี จึงได้ตั้งต้นรจนาเรื่องราวของพระราม ผู้ขโมยหัวใจของปุถุชนทั้งปวง และเปี่ยมด้วยคุณสมบัติอันประเสริฐ ได้แก่ ธรรม อรรถ กาม และโมกษะ ดั่งนี้ จึงสร้างความอัศจรรย์ยิ่งแก่ผู้ได้อ่าน และเรื่องราวนี้เปรียบได้กับมหาสมุทรที่บริบูรณ์ด้วยอัญมณีนานา ให้ความเพลิดเพลินแก่โสตและจิตของผู้ฟังทั้งปวง

มหามุนีตนนั้น จึงได้เล่าประวัติแห่งรฆุวงศ์ (ตระกูลของพระราม) อย่างแม่นยำ เช่นเดียวกับที่ได้ฟังมาจากมหาฤๅษีสารท และเล่าถึงพิธีศักดิ์สิทธ์แห่งกำเนิดของพระราม ฤทธานุภาพของพระองค์ พระทัยอันโอบอ้อมเป็นมิตรแก่ผู้คนทั้งปวง เอื้อเฟื้อ อุตสาหะ อดทน มีความสัตย์ และเอาพระทัยใส่พสกนิกรของพระองค์

เล่าเรื่องพระรามและพระลักษมัณได้พบกับฤๅวิศวามิตร และได้ยินเรื่องราวอันหลากหลายและหาฟังได้จากจากฤๅษีตนนั้น ได้ทรงหักคันธนู เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระธิดาของท้าวชนก การสนทนาระหว่างปรศุราม และพระราม (ในพาลกาณฑ์) คุณสมบัติของพระราม การเตรียมพิธีอภิเษกพระรามเป็นรัชทายาท จิตริษยาของพระนางไกยเกยี และขณะเดียวกัน ก็มีเรื่องการขัดขวางพิธีอภิเษก การเนรเทศพระราม การคร่ำครวญของท้าวทศรถด้วยความเศร้าโศก (ที่ต้องพรากจากพระราม) การเสด็จจากไปของกษัตริย์พระองค์นี้ ความเศร้าโศกของราษฎรทั้งปวง การออกตามเสด็จพระราม และทรงโปรดให้เดินทางกลับ การสนทนาระหว่างพระราม และเจ้าแห่งพราน (คูหา), สารถี (สุมันตร) ถูกส่งกลับไปยังอโยธยา การข้ามแม่น้ำคงคา พบกับฤๅษีภรัทวาช และคำแนะนำจากท่านฤๅษีภรัทวาชให้เดินทางไปยังภูเขาจิตรกุฏ และสร้างที่พำนักที่นั่น เรื่องพระภรตเสด็จมา ทูลเชิญเสด็จกลับ และ พระรามทรงกระทำพิธีถวายพระเพลิงพระศพท้าวทศรถ พระบิดา

ถัดมาเป็นเรื่องพระภรตรับเอาพระบาฑุกาของพระรามเสมือนสัญลักษณ์แห่งพระราชอำนาจ และพระภรตเสด็จไปประทับยังเมืองนันทิคราม (ชานนครอโยธยา) พระรามได้เสด็จเข้าป่าทัณทกะ ได้สังหารวิราธ ได้ทำความเคารพศรภังค์ ได้พบกับสุตีกษณะ แล้วพระราม พระลักษมัณ และนางสีตา ได้ประทับอยู่กับอนสูยา (ภริยาของอตริ ในสวนอันสงบ)  ได้รับการถวายยา ได้พบกับอคัสตยะพบกับชฏายุ เผชิญหน้ากับศูรปนขา และการจำแลงกายของนาง ทรงสังหารขร และตรีศิระ และความพยามของราวัณ (ที่จะลักพานางสีตา) การสังหารมารีจ การลักพาพระธิดาแห่งวิเทหะ (นั่นคือ นางสีตา) โดยราวัณ พระรามทรงคร่ำครวญ การสังหารพญาแร้ง (ชฏายุ) ได้ทรงเห็นกพันธ์ ไปถึงแม่น้ำปัมปา ทรงพบกับศพรี และต่อมาพบหนุมาน และพระรามผู้ประเสริฐทรงคร่ำครวญ (อันเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางสีตา ผู้เป็นชายา) ณ แม่น้ำปัมปา

ต่อมาเสด็จไปยังภูเขาฤษยมูก ทรงได้ผูกมิตรกับสุครีว สร้างความมั่นใจในฤทธานุภาพของพระองค์ให้สุครีวได้ประจักษ์ และได้ร่วมเป็นพันธมิตร การรบระหว่างพาลิและสุครีว ทรงสยบวาลิ ประทานเมือง (กิษกินธ์) เรื่องนางตาราคร่ำครวญ มอบเครื่องหมายแห่งพระราชอำนาจ (พระธำมรงค์ของพระราม แก่หนุมาน) ประทับอยู่ในเมืองกีษกิณธ์ช่วงกลางคืนฝนตก ความพิโรธของสิงห์แห่งรฆุวงศ์ (พระราม) (เนื่องจากสุครีวไม่รักษาสัตย์) กองทัพทั้งมวลกรีธาทัพเพื่อแยกย้ายกันสืบหานางสีตา ทั้งหมดอดอาหารกำลังจะตาย แล้วเดินๆได้พบสัมปาตี แล้วไต่ภูเขา (โดยหนุมานเตรียมกระโจมข้ามมหาสมุทร) ข้ามน้ำไป หนุมานเมื่อได้เห็นภูเขาไมนาก ตามคำของเจ้าแห่งสมุทร ก็ถูกอสูรคุกคามอีก เมื่อไปพบกับอสุรี (นามว่าฉายาเคราะห์) ผู้สามารถจับเงาของผู้อื่นได้ การฆ่าสิงหิกา (อสูรตนนั้น) และได้เห็นภูเขาด้านหนึ่งในลังกา จึงไปยังลงกาตอนกลางคืน เรื่องทั้งปวงที่เล่าเป็นดังนี้

ทั้งยังได้เล่าเรื่อง การแวะดื่ม และการได้เห็นที่พำนักของหนุมาน เจรจากับราวัณ และได้เห็นบุษบก เห็นนางสีตาในสวนอโศก (อุทยานของราวัณ) การส่งทูตของพระรามไปหานางสีตา ได้เห็นราวัณเสด็จไปที่นั่น นางยักษ์ผู้อารักขาได้คุกคามนางสีตา ฝันดีของนางตรีชฏา การมอบพระธำมรงค์ของพระรามแก่นางสีตา การสนทนาระหว่างนางสีตาเพื่อขอให้มอบยอดจุฑามณีแก่หนุมาน หนุมานทำลายป่าที่นั่น การต่อสู้กับเหล่าอสุรี การสังหารบริวารของราวัณที่นั่น วายุบุตรถูกพันธนาการ ภายหลังไปเผากรุงลงกาจนเป็นจุณ แล้วคำรามลั่น  จากนั้นเดินทางข้ามมหาสมุทร สำราญกับน้ำผึ้ง (ในป่ามธุวัน) ปลอบโยนพระรามเกี่ยวกับข่าวเรื่องนางสีตา พาพลพรรคยาตราทัพ ไปยังชายฝั่งมหาสมุทร นลสร้างเขื่อนทดน้ำ ช่วยชีวิตพลพรรคของพิภีษณ์ [พิเภก] ได้ทราบอุบายสังหารราวัณ การข้ามมหาสมุทร เข้าบุกกรุงลงกาในช่วงรัตติกาล

ทั้งยังเล่าเรื่องการตายของกุมภกรรณ การฆ่าเมฆนาท (อินทรชิต) การสังหารราวัณ เข้าไปพบนางสีตาในพระนครของศัตรู การอภิเษกพิภีษณ์ (เป็นเจ้ากรุงลงกา) การขึ้นบุษบก การเสด็จกลับอโยธยา ได้พบกับพระภรต พิธีราชาภิเษกอันยิ่งใหญ่ชองพระราม การถอนกำลังทั้งปวง สร้างความปีติยินดีแห่งประชากร และการนำเจ้าหญิงแห่งวิเทหะ นั่นคือนางสีตา กลับคืนมา

ฤาษีวาลมีกิผู้ยิ่งใหญ่ยังได้รจนาอุตรกาณฑ์เป็นกาวยะ [ร้อยกรองอย่างหนึ่ง] อันเป็นเรื่องราวของพระรามที่ยังมิได้ปรากฏในโลกนี้ อย่างครบถ้วน
โดย: Metha    เวลา: 2014-12-7 05:11
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2014-12-4 06:10
.โอม เจ ศรี ราม / โอม เจ หนุมาน...

ขอให้พระรามประทานพรใ ...


โดย: Metha    เวลา: 2014-12-7 05:12
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-12-2 07:26
นะโมโพธิสัตย์โต พระรามชัยศรี สวัสดีลาโภ นะโมพุทธายะ
...


โดย: morntanti    เวลา: 2014-12-7 07:11
เมื่อคืน 6 ธค.57 ไปร่วมพิธีปลุกเสก มา ...แค่แวะมาบอกว่า หลังเสร็จพิธี รู้ว่ามีปลุกเสก พระรามด้วย มี เนื้อเงิน เนื้อชนวน เนื้อทองแดง ยังไม่ทันได้เห็นเนื้อเงินเลย ....จองหมดละ 555 รู้นะรู้ว่าเนื้อเงินมีน้อยแต่ขอดูก่อนได้ไหมนี่ .....  สรุป เนื้อเงินหมดในพริบตา คงเหลือเนื้อชนวนและเนื้องทองแดงใครสนใจบูชา สอบถาม คุณจ๊อ ได้เลย ...ว่าแต่เรา จองเนื้อไหนดีหว่า ...ขอคิดนิดนะ 555
โดย: รามเทพ    เวลา: 2014-12-11 10:23
morntanti ตอบกลับเมื่อ 2014-12-7 07:11
เมื่อคืน 6 ธค.57 ไปร่วมพิธีปลุกเสก มา ...แค่แวะมาบอกว่า  ...


โดย: Nujeab    เวลา: 2014-12-11 11:33
เนื้อเงินจองหมดแล้วครับ สวยมากๆ ส่วนเนื้อชนวนก็มีน้อยนะ ไม่รีบจองก็อาจพลาดได้ครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-12 07:00
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2014-12-11 11:33
เนื้อเงินจองหมดแล้วครับ สวยมากๆ ส่วนเนื้อชนวนก็มีน้ ...

เสกข้ามปีเลยนะ  องค์รามาวตาร ชุดนี้


โดย: Nujeab    เวลา: 2014-12-12 11:00
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-12-12 07:00
เสกข้ามปีเลยนะ  องค์รามาวตาร ชุดนี้

...

บูชาแล้วดูเด่นเป็นสง่า
โดย: Nujeab    เวลา: 2014-12-12 22:08
จะว่าไป ก่อนวันที่อาจารย์จะทำพิธีเสกพระราม ผมฝันไปว่าเห็นอาจารย์กำลังนั่งทำพิธีเสกอยู่ในห้อง แล้วพอเสร็จพิธีพี่จ๊อก็บอกว่าใครจองบูชาไว้มารับกลับได้เลยที่นี่ ผมเลยเห็นองค์พระขนาดบูชาสูงประมาณศอกเป็นรูปยืน แรกๆนึกว่ากุมารเทพ แต่มองใกล้ๆคาดว่าเป็นพระรามหรือพระนารายณ์ พอได้เห็นอาจารย์วาดรูปพระนารายณ์แบ่งภาคในถาด มันคุ้นมากๆเลยครับ คล้ายมากๆ ท่ายืนคล้ายกันเลย และพอวันเสกจริงพออาจารย์เสกเสร็จก็บอกว่า ติดต่อจองบูชากับพี่จ๊อได้ที่นี่เลย มันเหมือนเหตุการณ์เดียวกันเลยครับ แบบในฝันเลย Dejavu แปลกจริงๆครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-13 07:12
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2014-12-12 11:00
บูชาแล้วดูเด่นเป็นสง่า

ลองดูแล้วครับ องค์ศรีราม

เมื่อวานเดินทาง

ไปเจอพี่ท่านหนึ่ง แกบอกว่า..


ไปทำอะไรมา

ทำไมวันนี้ หน้าตาผ่องใส ดูมีบารมี

กว่าครั้งก่อนๆ ที่เคยเจอกัน



โดย: Sornpraram    เวลา: 2014-12-13 07:13
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2014-12-12 22:08
จะว่าไป ก่อนวันที่อาจารย์ทำพิธีเสกพระราม ผมฝันไปว่า ...

นารายณ์แบ่งภาค
โดย: Nujeab    เวลา: 2014-12-13 12:12
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-12-13 07:12
ลองดูแล้วครับ องค์ศรีราม

เมื่อวานเดินทาง

อย่างนี้ผมต้องรีบบูชาซะแล้ว อย่างด่วน อยากมีหน้าตาผ่องใส
โดย: Nujeab    เวลา: 2014-12-13 12:13
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-12-13 07:13
นารายณ์แบ่งภาค

สาธุครับ นารายณ์แบ่งภาค
โดย: Nujeab    เวลา: 2014-12-13 12:28
มีอีกอย่างครับ วันที่ทำพิธีเสก วันนั้นมีเลี้ยงข้าวต้ม ผมเห็นจานข้าวต้มของอาจารย์ยังเหลืออยู่ ด้วยความเสียดายเลยกินต่อจนหมด คืนนั้นผมฝันว่าอาจารย์มาหาที่ห้อง มานอนอยู่ที่เตียง มีพี่เมธมาด้วย ผมนี่งงเลย
โดย: Metha    เวลา: 2014-12-15 00:43

โดย: รามเทพ    เวลา: 2015-2-1 09:16
Nujeab ตอบกลับเมื่อ 2014-12-13 12:28
มีอีกอย่างครับ วันที่ทำพิธีเสก วันนั้นมีเลี้ยงข้าวต ...

แรงครูมีจริง


โดย: Nujeab    เวลา: 2015-2-2 10:57
รามเทพ ตอบกลับเมื่อ 2015-2-1 09:16
แรงครูมีจริง

แรงมากๆครับ มาหาคืนนั้นเลย
โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-2-4 11:50
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2014-5-17 07:54

ตามพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า


เด็กผู้ชายผู้สัมผัสเท้าของบิดามารดา และครูอาจารย์ในตอนเช้าตรู่

จะได้รับพรอันประเสริฐมีอายุ, วรรณะ, สุขะ,พลังที่ดี

พระรามภัควันทรงเริ่มวันของพระองค์โดยการสัมผัสบาทของพระบิดามารดา

และอาจารย์ของพระองค์ด้วยเหมือนกัน




โดย: majoy    เวลา: 2015-2-4 12:05
   
โดย: Nujeab    เวลา: 2015-2-4 13:06
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2015-2-4 11:50
ตามพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า


โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-4-29 13:30

โดย: Metha    เวลา: 2015-4-30 02:55

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-5-1 06:53

ตามพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า


เด็กผู้ชายผู้สัมผัสเท้าของบิดามารดา และครูอาจารย์ในตอนเช้าตรู่

จะได้รับพรอันประเสริฐมีอายุ, วรรณะ, สุขะ,พลังที่ดี

พระรามภัควันทรงเริ่มวันของพระองค์โดยการสัมผัสบาทของพระบิดามารดา

และอาจารย์ของพระองค์ด้วยเหมือนกัน



โดย: Nujeab    เวลา: 2015-5-1 09:22

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-5-2 17:17

พระราม และรูป "แมนดาลา" หรือแผนผังจักรวาลอยู่ด้านหลัง
ภาพจาก Mandalas.com


โดย: Metha    เวลา: 2015-5-3 11:32
Sornpraram ตอบกลับเมื่อ 2015-5-1 06:53
ตามพระคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์กล่าวว่า


โดย: Pee    เวลา: 2015-6-11 11:08
อรรถกถา ทสรถชาดก

ว่าด้วย ผู้มีปัญญาย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เสียไปแล้ว
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภกุฎุมพีผู้บิดาตายแล้วคนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอถ ลกฺขณสีตา จ ดังนี้.

               ความพิสดารว่า กุฎุมพีนั้น เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้วถูกความเศร้าโศกครอบงำ จึงทอดทิ้งหน้าที่การงานเสียทุกอย่าง ครุ่นแต่ความเศร้าโศกอยู่แต่ถ่ายเดียว.

               พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของเขา รุ่งขึ้นจึงเสด็จโปรดสัตว์ในกรุงสาวัตถี เสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว ทรงส่งภิกษุทั้งหลายกลับ ทรงชวนไว้เป็นปัจฉาสมณะเพียงรูปเดียว เสด็จไปยังเรือนของเขา เมื่อตรัสเรียกเขาผู้นั่งถวายบังคมด้วยพระดำรัสอันไพเราะ จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก เจ้าเศร้าโศกไปทำไม

               เมื่อเขากราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเศร้าโศกถึงบิดากำลังเบียดเบียนข้าพระองค์
               จึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก บัณฑิตในปางก่อนทราบโลกธรรม ๘ ประการตามความเป็นจริง เมื่อบิดาถึงแก่กรรมแล้ว ก็มิได้ประสบความเศร้าโศก แม้สักน้อยหนึ่งเลย


โดย: Pee    เวลา: 2015-6-11 11:09
เขากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า
               ในอดีตกาล พระเจ้าทสรถมหาราชทรงละความถึงอคติ เสวยราชสมบัติโดยธรรมในกรุงพาราณสี พระอัครมเหสีผู้เป็นใหญ่กว่าสตรี ๑๖,๐๐๐ นางของท้าวเธอ ประสูติพระโอรส ๒ พระองค์ พระธิดา ๑ พระองค์
               พระโอรสองค์ใหญ่ทรงพระนามว่า รามบัณฑิต องค์น้องทรงพระนามว่า ลักขณกุมาร พระธิดาทรงพระนามว่า สีดาเทวี.
               ครั้นจำเนียรกาลนานมา พระอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ พระราชาเมื่อพระนางสิ้นพระชนม์แล้ว ทรงถึงอำนาจแห่งความเศร้าโศกตลอดกาลนาน หมู่อำมาตย์ช่วยกันกราบทูลให้ทรงสร่าง ทรงกระทำการบริหารที่ควรกระทำแก่พระนางแล้ว ทรงตั้งสตรีอื่นไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีพระนางเป็นที่รัก เป็นที่จำเริญพระหฤทัยของพระราชา.
               ครั้นกาลต่อมา แม้พระนางก็ทรงพระครรภ์ ทรงได้รับพระราชทานเครื่องครรภ์บริหาร จึงประสูติพระราชโอรส. พระประยูรญาติขนานพระนามพระโอรสนั้นว่า ภรตกุมาร.
               พระราชาตรัสว่า แน่ะนางผู้เจริญ ฉันขอให้พรแก่เธอ เธอจงรับเถิด ด้วยทรงพระเสน่หาในพระโอรส.
               พระนางทรงเฉยเสีย ทำทีว่าทรงรับแล้ว จนพระกุมารมีพระชนมายุได้ ๗-๘ พรรษา จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า พระทูลกระหม่อม พระองค์พระราชทานพระพรไว้แก่บุตรของกระหม่อมฉัน บัดนี้ ขอทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานพระพรนั้นแก่เธอ
               เมื่อพระราชาตรัสว่ารับเอาเถิด นางผู้เจริญ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม ขอพระองค์โปรดทรงพระกรุณาพระราชทานราชสมบัติแก่บุตรของกระหม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า.
               พระราชาทรงตบพระหัตถ์ตรัสขู่ว่า เจ้าจงย่อยยับเสียเถอะ นางถ่อย บุตรของข้า ๒ คน กำลังรุ่งเรืองเหมือนกองเพลิง เจ้าจะให้ข้าฆ่าเขาทั้ง ๒ คนเสียแล้ว ขอราชสมบัติให้ลูกของเจ้า.
               พระนางตกพระทัย เสด็จเข้าสู่พระตำหนักอันทรงสิริ ถึงในวันอื่นๆเล่าก็คงทูลขอราชสมบัติกับพระราชาเนืองๆ ทีเดียว.
               พระราชาครั้นไม่พระราชทานพระพรแก่พระนาง จึงทรงพระดำริว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคามเป็นคนอกตัญญู มักทำลายมิตร นางนี้พึงปลอมหนังสือหรือจ้างคนโกงๆ ฆ่าลูกทั้ง ๒ ของเราเสียได้. พระองค์จึงตรัสสั่งให้พระราชโอรสทั้ง ๒ เข้าเฝ้า ตรัสความนั้นมีพระดำรัสว่า พ่อเอ๋ย อันตรายคงจักมีแก่พวกเจ้าผู้อยู่ ณ ที่นี้ เจ้าทั้งหลายจงพากันไปสู่แดนแห่งสามันตราช หรือสู่ราวป่า พากันมาก็ต่อเมื่อพ่อตายแล้ว ยึดเอาราชสมบัติของตระกูลเถิด ดังนี้ แล้วรับสั่งให้พวกโหราจารย์เข้าเฝ้าอีก ตรัสถามกำหนดพระชนมายุของพระองค์ ทรงสดับว่าจักยั่งยืนไปตลอด ๑๒ ปีข้างหน้า จึงตรัสว่า พ่อเอ๋ย โดยล่วงไป ๑๒ ปีถัดจากนี้ พวกเจ้าจงพากันมาให้มหาชนยกฉัตรถวาย.
               พระราชโอรสเหล่านั้นกราบทูลว่า ดีแล้วพระเจ้าข้า พากันถวายบังคมพระราชบิดา ทรงพระกันแสงเสด็จลงจากพระปราสาท. พระนางสีดาเทวีทรงพระดำริว่า ถึงเราก็จักไปกับพี่ทั้งสอง ถวายบังคมพระราชบิดา ทรงพระกันแสงเสด็จออก. กษัตริย์ทั้งสามพระองค์นั้นแวดล้อมไปด้วยมหาชนออกจากพระนคร ทรงให้มหาชนพากันกลับ เสด็จเข้าสู่หิมวันตประเทศโดยลำดับ สร้างอาศรม ณ ประเทศอันมีน้ำและมูลผลาผลสมบูรณ์ ทรงเลี้ยงพระชนมชีพด้วยผลาผล พากันประทับอยู่แล้ว.
               ฝ่ายพระลักขณบัณฑิตและพระนางสีดาได้ทูลขอร้องพระรามบัณฑิตรับปฏิญญาว่า พระองค์ดำรงอยู่ในฐานะแห่งพระราชบิดาของหม่อมฉัน เหตุนั้นเชิญประทับประจำ ณ อาศรมบทเท่านั้นเถิด หม่อมฉันทั้งสองจักนำผลาผลมาบำรุงเลี้ยงพระองค์.
               จำเดิมแต่นั้นมา พระรามบัณฑิตคงประทับประจำ ณ อาศรมบทนั้นเท่านั้น. พระลักขณบัณฑิตและพระนางสีดาพากันหาผลาผลมาปรนนิบัติพระองค์.
               เมื่อกษัตริย์ทั้งสามพระองค์นั้น ทรงเลี้ยงพระชนมชีพอยู่ด้วยผลาผลอย่างนี้ พระเจ้าทสรถมหาราชเสด็จสวรรคตลงในปีที่ ๙ เพราะทรงเศร้าโศกถึงพระราชโอรส. ครั้นจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าทสรถมหาราชเสร็จแล้ว พระเทวีมีพระดำรัสให้พวกอำมาตย์ถวายพระเศวตฉัตรแด่พระภรตกุมารผู้โอรสของตน. แต่พวกอำมาตย์ทูลว่า เจ้าของเศวตฉัตรยังอยู่ในป่า ดังนี้แล้วจึงไม่ยอมถวาย.
               พระภรตกุมารตรัสว่า เราจักเชิญพระรามบัณฑิตผู้เป็นพระภาดามาจากป่า ให้ทรงเฉลิมพระเศวตฉัตร ทรงถือเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างพร้อมด้วยเสนา ๔ เหล่าบรรลุถึงที่ประทับของพระรามบัณฑิตนั้น ให้ตั้งค่ายพักแรมอยู่ ณ ที่อันไม่ไกล เสด็จเข้าไปสู่อาศรมบทกับอำมาตย์ ๒-๓ นาย ในเวลาที่พระลักขณบัณฑิตและพระนางสีดาเสด็จไปป่า เข้าเฝ้าพระรามบัณฑิตผู้ปราศจากความระแวง ประทับนั่งอย่างสบาย ประหนึ่งรูปทองคำที่ตั้งไว้ ณ ประตูอาศรมบท ถวายบังคม ประทับยืน ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง กราบทูลข่าวของพระราชาแล้ว ก็ทรงฟุบลงแทบพระบาททั้งคู่ ทรงพระกันแสงพร้อมกับเหล่าอำมาตย์.
               

โดย: Pee    เวลา: 2015-6-11 11:10
พระรามบัณฑิตมิได้ทรงเศร้าโศกเลย มิได้ทรงพระกันแสงเลย แม้เพียงอาการผิดปกติแห่งอินทรีย์ ก็มิได้มีแก่พระองค์เลย ก็แลในเวลาที่พระภรตะทรงพระกันแสงประทับนั่ง เป็นเวลาสายัณหสมัย พระลักขณบัณฑิตและพระนางสีดาทั้งสองพระองค์ ทรงพากันถือผลาผลเสด็จมาถึง.
               พระรามบัณฑิตทรงดำริว่า เจ้าลักขณะและแม่สีดายังเป็นเด็ก ยังไม่มีปรีชากำหนดถี่ถ้วนเหมือนเรา ได้รับบอกเล่าว่า บิดาของเธอสวรรคตแล้วโดยรวดเร็ว เมื่อไม่อาจจะยับยั้งความเศร้าโศกไว้ได้ แม้หัวใจของเธอก็อาจแตกไปได้ เราต้องใช้อุบายให้เจ้าลักขณะและแม่สีดาจงไปแช่น้ำแล้วให้ได้ฟังข่าวนั้น.
               ลำดับนั้น ทรงชี้แอ่งน้ำแห่งหนึ่งข้างหน้าแห่งกษัตริย์ทั้งสองพระองค์นั้น ตรัสว่า เจ้าทั้งสองมาช้านัก นี่เป็นทัณฑกรรมของเจ้า เจ้าจงลงไปแช่น้ำยืนอยู่ ดังนี้แล้ว
               จึงตรัสกึ่งพระคาถาว่า

               มานี่แน่ะเจ้าลักขณะและนางสีดาทั้งสอง จงมาลงน้ำ.

               คำอันเป็นคาถานั้น มีอธิบายว่า มานี่แน่ะเจ้าลักขณะและนางสีดา จงพากันมา จงลงสู่น้ำทั้งสองคน.

               พระลักขณะและพระนางสีดาทั้งสองพระองค์นั้น พากันเสด็จลงไปประทับยืนอยู่ ด้วยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น พระรามบัณฑิต เมื่อจะทรงบอกข่าวแห่งพระราชบิดาแก่กษัตริย์ทั้ง ๒ พระองค์นั้น
               จึงตรัสกึ่งคาถาที่เหลือว่า

               พ่อภรตะนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า พระราชาทสรถสวรรคตเสียแล้ว.

               พระลักขณะและพระนางสีดาทั้งสองพระองค์นั้นพอได้สดับข่าวว่า พระราชบิดาสวรรคตเท่านั้นก็พากันวิสัญญีสลบไป. พระรามบัณฑิตตรัสบอกซ้ำอีก ก็พากันสลบไปอีก.
               หมู่อำมาตย์ช่วยกันอุ้มกษัตริย์ทั้งสองพระองค์อันทรงถึงวิสัญญีภาพไปถึงสามครั้งด้วยอาการอย่างนี้ ขึ้นจากน้ำ ให้ประทับนั่งบนบก.
               เมื่อเธอทั้งสองได้ลมอัสสาสปัสสาสะแล้ว ทุกพระองค์ต่างก็ประทับนั่ง ทรงพระกันแสงคร่ำครวญกันเรื่อย. ครั้งนั้น พระภรตกุมารทรงพระดำริว่า พระภาดาของเรา ลักขณกุมารและพระภคินีสีดาเทวีของเรา สดับข่าวว่า พระทสรถสวรรคตเสียแล้วมิอาจจะยับยั้งความเศร้าโศกไว้ได้ แต่พระรามบัณฑิตมิได้ทรงเศร้าโศก มิได้ทรงคร่ำครวญเลย อะไรเล่าหนอ เป็นเหตุแห่งความไม่เศร้าโศกของพระองค์ ต้องถามพระองค์ดู.
               เมื่อท้าวเธอจะตรัสถามพระองค์ จึงตรัสพระคาถาที่ ๒ ว่า

               พี่รามบัณฑิต ด้วยอานุภาพอะไร เจ้าพี่จึงไม่เศร้าโศก ถึงสิ่งที่ควรเศร้าโศก ความทุกข์มิได้ครอบงำพี่เพราะได้สดับว่า พระราชบิดาสวรรคตเล่า.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปภาเวน แปลว่า ด้วยอานุภาพ. บทว่า น ตํ ปสหเต ทุกฺขํ ความว่า ความทุกข์เห็นปานนี้ เหตุไรจึงไม่บีบคั้นพี่ได้เลย อะไรเป็นเครื่องบังคับมิให้พี่เศร้าโศกเลย โปรดแจ้งแก่หม่อมฉันก่อน.

               ลำดับนั้น พระรามบัณฑิต เมื่อจะแสดงเหตุที่บังคับมิให้พระองค์ทรงเศร้าโศกแก่พระกุมารภรตะนั้น จึงตรัสว่า

               คนเราไม่สามารถจะรักษาชีวิตที่คนเป็นอันมากพร่ำเพ้อถึง นักปราชญ์ผู้รู้แจ้งจะทำตนเพื่อให้เดือดร้อนเพื่ออะไรกัน.
               ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งพาลทั้งบัณฑิต ทั้งคนมั่งมีทั้งคนยากจน ล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยูทั้งนั้น.
               ผลไม้ที่สุกแล้ว ก็พลันแต่จะหล่นลงเป็นแน่ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้ว ก็พลันแต่จะตายเป็นแน่ฉันนั้น.
               เวลาเช้าเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเย็นบางคนก็ไม่เห็นกัน เวลาเย็นเห็นกันอยู่มากคน พอถึงเวลาเช้าบางคนก็ไม่เห็นกัน.
               ถ้าผู้ที่คร่ำครวญหลงเบียดเบียนตนอยู่ จะพึงได้รับประโยชน์สักเล็กน้อยไซร้ บัณฑิตผู้มีปรีชาก็จะพึงทำเช่นนั้นบ้าง.
               ผู้เบียดเบียนตนของตนอยู่ ย่อมซูบผอม ปราศจากผิวพรรณ สัตว์ผู้ละไปแล้วไม่ได้ช่วยคุ้มครองรักษา ด้วยการร่ำไห้นั้นเลย การร่ำไห้ไร้ประโยชน์.
               คนฉลาดพึงดับไฟที่ไหม้เรือนด้วยน้ำฉันใด คนผู้เป็นนักปราชญ์ได้รับการศึกษามาดีแล้ว มีปัญญาเฉลียวฉลาด พึงรีบกำจัดความเศร้าโศกที่เกิดขึ้นโดยพลัน เหมือนลมพัดปุยนุ่นฉะนั้น.
               คนๆ เดียวเท่านั้นตายไป คนเดียวเท่านั้น เกิดในตระกูล ส่วนการคบหากันของสรรพสัตว์ มีการเกี่ยวข้องกันเป็นอย่างยิ่ง.
               เพราะเหตุนั้นแล ความเศร้าโศกแม้จะมากมาย ก็ไม่ทำจิตใจของนักปราชญ์ผู้เป็นพหูสูต มองเห็นโลกนี้และโลกหน้า รู้ทั่วถึงกรรมให้เร่าร้อนได้.
               เราจักให้ยศ และโภคสมบัติ แก่ผู้ที่ควรจะได้ จักทะนุบำรุงภริยา ญาติทั้งหลาย และคนที่เหลือ นี้เป็นกิจของบัณฑิตผู้ปรีชา.

              

โดย: Pee    เวลา: 2015-6-11 11:11
พระรามบัณฑิต ได้ประกาศถึงอนิจจตาด้วยคาถา ๖ คาถาเหล่านี้.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเลตุ ได้แก่ เพื่อจะรักษา. บทว่า ลปตํ ได้แก่ ผู้บ่นเพ้ออยู่ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า พ่อภรตะเอ๋ย ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย บรรดาที่พากันร่ำไห้ถึงกันมากมาย แม้สักคนเดียวก็มิอาจจะรักษาไว้ได้ว่า อย่าขาดไปเลยนะ บัดนี้ผู้เช่นเรานั้นรู้โลกธรรมทั้ง ๘ ประการโดยความเป็นจริง ชื่อว่าวิญญูชน มีความหลักแหลมเป็นบัณฑิต ในเมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ตายไปแล้ว จะยังตนให้เข้าไปเดือดร้อนเพื่ออะไรกัน คือเหตุไรจึงจะแผดเผาตนด้วยความทุกข์ของตนอันหาอุปการะมิได้.
               คาถาว่า ทหรา จ เป็นต้นมีอธิบายว่า พ่อภรตะเอ๋ย ขึ้นชื่อว่ามฤตยูนี้ มิได้ละอายต่อคนหนุ่มผู้เช่นกับรูปทองคำมีขัตติยกุมารเป็นต้นเลย และมิได้เกรงขามต่อมหาโยธาทั้งหลายผู้ถึงความเจริญโดยคุณ มิได้เกรงกลัวเหล่าสัตว์ผู้สันดานหนาเป็นพาล มิได้ยำเกรงปวงบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น มิได้หวั่นเกรงมวลอิสริยชนมีพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น มิได้อดสูต่อคนขัดสนไม่เว้นตัวฝูงสัตว์เหล่านี้ แม้ทั้งหมดล้วนบ่ายหน้าไปหามฤตยู พากันย่อยยับแหลกลาญที่ปากแห่งความตายทั้งนั้นแหละ
               บทว่า ปตนโต ได้แก่ โดยการตกไป มีอธิบายว่า ดูก่อนพ่อภรตะเอ๋ย เปรียบเหมือนผลไม้อันสุกแล้ว ตั้งแต่เวลาที่สุกแล้วไป ก็มีแต่จะรอเวลาร่วงหล่น ว่าจะพรากจากขั้วหล่นลงบัดนี้ หล่นลงเดี๋ยวนี้ คือผลไม้เหล่านั้นมีแต่จะคอยระแวงอยู่อย่างนี้ว่า ความหวั่นที่จะต้องหล่นเป็นการแน่นอนเที่ยงแท้ มีแต่เรื่องนั้นถ่ายเดียวเท่านั้นฉันใด แม้ฝูงสัตว์ที่ต้องตายที่เกิดมาแล้วก็ฉันนั้น หวั่นเกรงแต่ที่จะตายถ่ายเดียวเท่านั้น ขณะหรือครู่ที่ฝูงสัตว์เหล่านั้นจะไม่ต้องระแวงความตายนั้นไม่มีเลย.
               บทว่า สายํ แปลว่า ในเวลาเย็น. ด้วยบทว่า สายํ นี้ ท่านแสดงถึงการที่ไม่ปรากฏของผู้ที่เห็นกันอยู่ในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืน และของสัตว์ผู้เห็นกันอยู่ในเวลากลางคืน ในเวลากลางวัน.
               บทว่า กิญฺจิทตฺถํ ความว่า ถ้าคนเราคร่ำครวญอยู่ด้วยคิดว่า พ่อของเรา ลูกของเรา ดังนี้เป็นต้น หลงใหลเบียดเบียนตนอยู่ ให้ตนลำบากอยู่ จะพึงนำประโยชน์มาแม้สักหน่อย.
               บทว่า กยิรา เจ นํ วิจกฺขโณ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตพึงร่ำไห้เช่นนั้น แต่เพราะผู้ร่ำไห้อยู่ ไม่สามารถจะนำผู้ตายแล้วมาได้ หรือสามารถจะทำความเจริญอื่นๆ แก่ผู้ตายแล้วนั้นได้ เหตุนั้นจึงเป็นกิริยาที่ไร้ประโยชน์ แก่ผู้ที่ถูกร่ำไห้ถึง บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่ร่ำไห้.
               บทว่า อตฺตานมตฺตโน ความว่า ผู้ร่ำไห้กำลังเบียดเบียนอัตภาพของตน ด้วยทุกข์คือความโศกและความร่ำไห้. บทว่า น เตน ความว่า ด้วยความร่ำไห้นั้น ฝูงสัตว์ผู้ไปปรโลกแล้ว ย่อมจะคุ้มครองไม่ได้ จะยังตนให้เป็นไม่ได้เลย. บทว่า นิรตฺถา ความว่า เพราะเหตุนั้น การร่ำไห้ถึงฝูงสัตว์ผู้ตายไปแล้วเหล่านั้นจึงเป็นกิริยาที่หาประโยชน์มิได้.
               บทว่า สรณํ ได้แก่ เรือนเป็นที่อยู่อาศัย ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ ก็ไม่ต้องตกใจแม้สักครู่ รีบดับเสียด้วยน้ำตั้งพันหม้อทันทีฉันใด ธีรชนก็ฉันนั้น พึงดับความโศกที่เกิดขึ้นแล้วโดยทันทีทีเดียว กำจัดปัดเป่าเสียโดยวิธีที่ความโศกจะไม่อาจตั้งอยู่ได้ เหมือนลมพัดปุยนุ่นฉะนั้น.
               ใน บทว่า เอโกว มจฺโจ มีอธิบายดังต่อไปนี้ พ่อภรตะเอ๋ย ฝูงสัตว์เหล่านี้ชื่อว่ามีกรรมเป็นของของตน สัตว์ผู้ไปสู่ปรโลกจากโลกนี้ ผู้เดียวจากฝูงสัตว์เหล่านั้น ล่วงไปผ่านไป แม้เมื่อเกิดในตระกูลมีกษัตริย์เป็นต้น ผู้เดียวเท่านั้นไปเกิด. ส่วนความร่วมคบหากันของสัตว์ทั้งปวงในที่นั้นๆ มีการเกี่ยวข้องกันนั้นว่า ผู้นี้เป็นบิดาของเรา ผู้นี้เป็นมารดาของเรา ผู้นี้เป็นญาติมิตรของเรา ดังนี้ด้วยอำนาจที่เกี่ยวข้องกันทางญาติ ทางมิตร เท่านั้นเป็นอย่างยิ่ง แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ฝูงสัตว์เหล่านี้ ในภพทั้ง ๓ มีกรรมเป็นของของตนทั้งนั้น.
               บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเว้นความเกี่ยวข้องทางญาติ ทางมิตร อันเป็นเพียงการคบหากันของสัตว์เหล่านี้เสียแล้ว ต่อจากนั้นย่อมเป็นอื่นไปไม่ได้ ฉะนั้น.
               บทว่า สมฺปสฺสโต ได้แก่ เห็นโลกนี้และโลกหน้า อันมีความพลัดพรากจากกันเป็นสภาวะโดยชอบ. บทว่า อญฺญาย ธมฺมํ ได้แก่ เพราะรู้โลกธรรม ๘ ประการ. บทว่า หทยํ มนญฺจ นี้ ทั้งสองบท เป็นชื่อของจิตนั่นเอง.
               ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า
               โปฏฐปาทะเอ๋ย ธรรมในมวลมนุษย์เหล่านี้ คือมีลาภ ไม่มีลาภ มียศ ไม่มียศ นินทา สรรเสริญ สุขและทุกข์ เป็นของไม่เที่ยง เธออย่าเศร้าโศก เธอจะเศร้าโศกไปทำไม ดังนี้.

               ความเศร้าโศกแม้จะใหญ่หลวง ซึ่งมีบุตรที่เป็นที่รักตายไปเป็นวัตถุ ย่อมปรากฏทางจิต ด้วยโลกธรรม ๘ ประการอย่างใดอย่างหนึ่งนี้ และย่อมไม่แผดเผาหทัยของธีรชนผู้ดำรงอยู่ เพราะได้รู้ถึงสภาวธรรมอันนั้นว่าเป็นของไม่เที่ยง.
               อีกนัยหนึ่ง พึงเห็นความในข้อนี้ อย่างนี้ว่า ความเศร้าโศกแม้ว่าจะใหญ่หลวงก็จะแผดเผาหทัยวัตถุ และใจของธีรชนไม่ได้ เพราะมาทราบโลกธรรม ๘ ประการนี้.
               บทว่า โสหํ ยสญฺจ โภคญฺจ ความว่า พ่อภรตะเอ๋ย การร้องไห้ร่ำไห้เหมือนของพวกคนอันธพาลไม่สมควรแก่เราเลย แต่เราเมื่อพระราชบิดาล่วงลับไป ดำรงอยู่ในฐานะของพระองค์นั่นแล จะให้ทานแก่คนที่ควรให้ มีพวกคนกำพร้าเป็นต้น ให้ตำแหน่งแก่ผู้ที่ควรให้ตำแหน่ง ให้ยศแก่ผู้ที่ควรจะให้ยศ บริโภคอิสริยยศโดยนัยที่พระราชบิดาของเราทรงบริโภค ทรงเลี้ยงหมู่ญาติ จะคุ้มครองคนที่เหลือ คือคนภายในและคนที่เป็นบริวาร จักกระทำการปกป้องและคุ้มครองกันโดยธรรมแก่สมณะและพราหมณ์ผู้ทรงธรรม เพราะทั้งนี้เป็นกิจอันสมควรของผู้รู้ คือผู้เป็นบัณฑิต.
               ฝูงชนฟังธรรมเทศนาอันประกาศความไม่เที่ยงของพระรามบัณฑิตนี้แล้ว พากันสร่างโศก. ต่อจากนั้น พระภรตกุมารบังคมพระรามบัณฑิตทูลว่า เชิญพระองค์ทรงรับราชสมบัติในพระนครพาราณสีเถิด. ดูก่อนพ่อ ท่านจงพาพระลักขณ์และสีดาเทวีไปครองราชสมบัติกันเถิด.
               ทูลถามว่า ก็พระองค์เล่า พระเจ้าข้า.
               ตรัสว่า พ่อเอ๋ย พระบิดาของฉันได้ตรัสไว้กะฉันว่า ต่อล่วง ๑๒ ปี เจ้าค่อยมาครองราชสมบัติ เมื่อฉันจะไป ณ บัดนี้เล่า ก็เป็นอันไม่ชื่อว่าไม่กระทำตามพระดำรัสของพระองค์ แต่ครั้นพ้นจาก ๓ ปี อื่นไปแล้ว ฉันจักยอมไป.
               ทูลถามว่า ตลอดกาลเพียงนี้ ใครจักครองราชสมบัติเล่า. พวกเธอครองชี.
               ทูลว่า หากหม่อมฉันไม่ครอง.
               ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นรองเท้าคู่นี้จักครองจนกว่าฉันไปแล้วทรงถอดฉลองพระบาททำด้วยหญ้าของพระองค์ประทานให้. กษัตริย์ทั้งสามพระองค์รับฉลองพระบาท บังคมพระรามบัณฑิต แวดล้อมด้วยมหาชน เสด็จไปสู่พระนครพาราณสี. ฉลองพระบาทครองราชสมบัติตลอด ๓ ปี. พวกอำมาตย์พากันวางฉลองพระบาทหญ้าเหนือราชบังลังก์ แล้วพากันตัดสินคดี. ถ้าตัดสินไม่ดีฉลองพระบาทก็กระทบกัน ด้วยสัญญานั้นต้องพากันตัดสินใหม่ เวลาที่ตัดสินชอบแล้ว ฉลองพระบาทปราศจากเสียงและคงเงียบอยู่.
               ต่อนั้นสามปี พระรามบัณฑิตจึงเสด็จออกจากป่าบรรลุถึงพระนครพาราณสี เสด็จเข้าสู่พระราชอุทยาน. พระกุมารทั้งหลายทรงทราบความที่พระองค์เสด็จมา มีหมู่อำมาตย์แวดล้อมเสด็จไปพระอุทยาน ทรงกระทำนางสีดาเป็นอัครมเหสีแล้วอภิเษกทั้งคู่.
               พระมหาสัตว์ทรงปราบดาภิเษกแล้ว ประทับเหนือราชรถอันอลงกต เสด็จเข้าสู่พระนครด้วยบริวารขบวนใหญ่ ทรงเลียบพระนครแล้วเสด็จขึ้นสู่ท้องพระโรง แห่งพระสุนันทนปราสาท. ตั้งแต่นั้น ทรงครองราชสมบัติโดยธรรมตลอดหมื่นหกพันปี ในเวลาสิ้นพระชนมายุ ทรงยังเมืองสวรรค์ให้เนืองแน่นแล้ว.

               อภิสัมพุทธคาถานี้ว่า

               พระเจ้ารามผู้มีพระศอดุจกลองทอง มีพระพาหาใหญ่ ทรงครอบครองราชสมบัติอยู่ตลอด ๑๖,๐๐๐ ปีดังนี้ ย่อมประกาศเนื้อความนั้น.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺพุคิโว ความว่า มีพระศอ เช่นกับแผ่นทองคำ. จริงอยู่ ทองคำเรียกว่า กัมพุ.

            

โดย: Pee    เวลา: 2015-6-11 11:11
  พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะ กุฎุมพีดำรงในโสดาปัตติผล
               ทรงประชุมชาดกว่า
                         พระทสรถมหาราชครั้งนั้น ได้มาเป็น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช
                         พระมารดาได้มาเป็น พระนางสิริมหามายา
                         สีดาได้มาเป็น พระมารดาพระราหุล
                         เจ้าภรตะได้มาเป็น พระอานนท์
                         เจ้าลักขณ์ได้มาเป็น พระสารีบุตร
                         บริษัทได้มาเป็น พุทธบริษัท
                         ส่วนรามบัณฑิตได้มาเป็น เราตถาคต แล.

โดย: Nujeab    เวลา: 2015-6-11 11:37
สาธุครับ
โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-6-12 07:41


โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-6-12 07:42


โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-6-12 07:45


โดย: Nujeab    เวลา: 2015-6-12 10:51

โดย: Pee    เวลา: 2015-6-19 14:27
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Pee เมื่อ 2015-6-19 14:28

[attach]10958[/attach]
พระรามทรงทราบดีว่า แม่สีดาภักดี ต่อพระองค์เพียงใด แต่ทำไมถึง ให้แม่สีดาทำพิธีลุยไฟอยู่อีกแหละ
นั้นเพราะ พระองค์ ทรงมองการได้ไกล กล่าวคือ มีเพียงพระองค์เท่านั้น ที่ทราบ  แล้วพระองค์ อยากให้บริวาร ทราบด้วย จะทำอย่างไร ลำพังเพียงบอกกล่าวคงไม่เชื่อกัน  จำต้องพิสูจน์ให้ประจักษ์แก่ คนทั่วไป นั้นเอง  หากปล่อยนานวัน พูดปากต่อปาก เรื่องลือเรื่องเล่า เรื่องสงสัย ก็จะกลายเป็นเรื่องจริง  ปากที่เคยใช้พูดจา ก็กลับมากลายเป็นอาวุธ ทำร้ายคน

โดย: majoy    เวลา: 2015-6-20 00:19

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-8-17 06:40


โดย: lnw    เวลา: 2015-8-20 06:48

โดย: Nujeab    เวลา: 2015-8-20 10:57

โดย: Sornpraram    เวลา: 2015-11-25 06:05





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2