พระพุทธคุณ ๕๖ | คำแปลพระอิติปิโสรัตนมาลา | อุปเทศการใช้พระคาถาแต่ละบท * | ||
๑ | อิ. | อิฏโฐ สัพพัญญุตัญญานัง อิจฉันโต อาสะวักขะยัง อิฏฐัง ธัมมัง อะนุปปัตโต อิทธิมันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงปรารถนาพระสัพพัญญุตญาณ ทรงปรารถนาธรรมที่สิ้นอาสวะ ก็ได้ทรงบรรลุธรรมที่ทรงปรารถนาแล้ว ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความสำเร็จพระองค์นั้น | จงหมั่นภาวนา ป้องกันศาสตรา ห่อนต้องอินทรีย์ ทั้งให้แคล้วคลาด นิราศไพรี ศิริย่อมมี แก่ผู้ภาวนา (ภาวนาป้องกันอาวุธเช่น หอก ดาบ เหลน หลาว) |
๒ | ติ. | ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงข้ามพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะแล้ว เป็นผู้ทรงพระคุณสูงสุดในไตรโลก ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ข้ามโอฆะแล้วพระองค์นั้น | ถึงบทนี้ไซร้ หมั่นภาวนาไว้ กันภัยนานา ภูตผีปีศาจ มิอาจเข้ามา ทั้งปอบทั้งห่า ไม่มาหลอกหลอน (ภาวนาป้องกันภูตผีปีศาจ) |
๓ | ปิ. | ปิโย เทวะมะนุสสานัง ปิโยพรหมานะมุตตะโม ปิโย นาคะสุปัณณานัง ปิณินทริยัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักสูงสุดของพรหมทั้งหลาย ตลอดไปจนถึงดิรัจฉานมีนาคและครุฑเป็นอาทิ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีอินทรีย์อิ่มพระองค์นั้น | ภาวนานึก สติตรองตรึก อย่าทำร้อนใจ สารพัดเมตตา อย่าได้อาวรณ์ ครูแต่เก่าก่อน เคยได้ใช้มา เสกหมากรับประทาน เป็นที่เสน่หา แก่ชนทั้งหลาย (ภาวนาเสกกระแจะ น้ำมันหอม หมากพลู สารพัดที่กินที่ใช้ เป็นเสน่ห์แก่คนทั้งปวง) |
๔ | โส. | โสกา วิรัตตะจิตโต โย โสภะนาโม สะเทวะเก โสกัปปัตเต ปะโมเทนโต โสภะวัณณัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด มีพระจิตคลายจากความโศกแล้ว เป็นผู้งดงามในโลกนี้กับทั้งเทวโลก ทรงยังสัตว์ทั้งหลายผู้เศร้าโศกให้หายโศก ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณงามพระองค์นั้น | ภาวนาทุกวัน ตามกำลังวัน ป้องกันอันตราย ทุกข์ภัยพิบัติ สารพัดเหล่าภัย ศัตรูทั้งหลาย แคล้วคลาดห่างไกล (ภาวนาเพื่อบรรเทาทุกข์โศกทั้งปวง) |
๕ | ภะ. | ภะชิตา เยนะ สัทธัมมา ภัคคะปาเปนะ ตาทินา ภะยะสัตเต ปะหาเสนโต ภะยะสันตัง นะมามิหัง | พระสัทธรรมทั้งหลาย อันพระพุทธเจ้าพระองค์ใดผู้มีบาปอันหักทำลายแล้ว มีพระหฤทัยคงที่ ทรงแจกแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงยังสัตว์ผู้กลัวภัยให้หายกลัว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีภัยอันระงับแล้วพระองค์นั้น | จงภาวนา กันโรคโรคา ไข้เจ็บทั้งหลาย ศัตรูมุ่งมาตร มิอาจทำได้ พินาศยับไป ด้วยพระคาถา (ภาวนาป้องกัน ศัตรูทำร้ายมิได้) |
๖ | คะ. | คะมิโต เยนะ สัทธัมโม คะมาปิโต สะเทวะกัง คัจฉะมาโน สิวัง รัมมัง คะตะธัมมัง นะมามิหัง | พระสัทธรรม อันพระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงบรรลุแล้ว ทรงยังมนุษย์กับทั้งเทวดาให้บรรลุด้วย ทรงบรรลุถึงพระนิพพานอันควรยินดี ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้มีธรรมอันบรรลุแล้วพระองค์นั้น | ถ้าหมั่นภาวนา โรคภัยโรคา ไม่มายายี จะค่อยบรรเทา หากโรคเก่ามี มิช้ากายี สิ้นทุกข์สุขา (ภาวนาบรรเทาโรคาพยาธิ) |
๗ | วา. | วานา นิกขะมิ โย ตัณหา วาจัง ภาสะติ อุตตะมัง วานะ นิพพาปะ นัตถายะ วายะมันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงออกจากวานะ (เครื่องร้อยรัด) คือตัณหาแล้ว ทรงกล่าวพระวาจาอันเลิศแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การดับไฟคือวานะ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีความเพียรพยายามพระองค์นั้น | บทนี้ดีล้ำ ภาวนาซ้ำซ้ำ ป้องกันศัตรู เหล่าโจรอาธรรม์ พากันหนียู้ ไม่คิดต่อสู้ ออกได้หายไป (ภาวนาป้องกันโจรผู้ร้าย) |
๘ | อะ. | อะนัสสา สะกะสัตตานัง อัสสาสัง เทติ โย ชิโน อะนันตะคุณะสัมปันโน อันตะคามิง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด โปรดประทานความอุ่นใจแก่สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่มีความอุ่นใจ พระองค์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพระคุณหาที่สุดมิได้ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระชินเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงบรรลุถึงที่สุด (แห่งความทุกข์) | ให้ภาวนา กันเสือช้างม้า ทำร้ายรบกวน เป็นมหาจังงัง สิ้นทั้งขบวน จระเข้ประมวญ สัตว์ร้ายนานา (ภาวนาป้องกันเสือและจระเข้) |
๙ | ระ. | ระโต นิพพานะสัมปัตเต ระโต โย สัตตะโมจะเน รัมมาเปตีธะ สัตเต โย ระณะจัตตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยินดีแล้วในพระนิพพานสมบัติ พระองค์ใดทรงยินดีแล้วในอันปลดเปลื้องสัตว์ (จากทุกข์) พระองค์ใดทรงยังสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ให้ยินดี (ในการเปลื้องทุกข์นั้นด้วย) ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้สละข้าศึก (คือกิเลส) เสียได้ | ภาวนาไว้ คุณคนคุณไสย สารพัดพาลา ใช้ป้องกันได้ มิให้เข้ามา ถูกต้องกายา พินาศสูญไป (ป้องกันการกระทำคุณผีและคุณคนทั้งปวง) |
๑๐ | หัง. | หัญญะติ ปาปะเก ธัมเม หังสาเปติ ปะรัง ชะนัง หังสะมานัง มะหาวีรัง หันตะปาปัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงกำจัดธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปเสียได้ ยังชนอื่นให้ร่าเริง (ในธรรมอันเป็นกุศล) ข่าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีพระหฤทัยร่าเริงกล้าหาญยิ่งใหญ่กำจัดบาปได้ | ให้ภาวนา เมื่อเวลา เข้าสู่สงคราม ข้าศึกศัตรู ใจหู่ครั่นคร้าม ไม่คิดพยาบาท ทำร้ายเราแล (ภาวนาเพื่อเข้าสู่ณรงค์สงคราม) |
๑๑ | สัม. | สังขะตาสังขะเต ธัมเม สัมมา เทเสสิ ปาณินัง สังสารัง สังวิฆาเฏติ สัมพุทธันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรมทั้งที่เป็นสังขตะ ทั้งที่เป็นอสังขตะ แก่สัตว์ทั้งหลายโดยถูกต้อง ทรงพิฆาตสงสารวัฏเสียได้ ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง | ภาวนาตรึก ช่างดีพิลึก ท่านในรำพรรณ เมื่อจะเข้าสู้ เหล่าศัตรูสรรพ์ หมดสิ้นด้วยกัน พ่ายแพ้ฤทธี (ภาวนาถ้าจะเข้าสู่สงคราม หาผู้ทำร้ายมิได้แล) |
๑๒ | มา. | มาตาวะ ปาลิโต สัตเต มานะถัทเธ ปะมัททิโต มานิโต เทวะสังเฆหิ มานะฆาฏัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงถนอมสัตว์ทั้งหลาย ดังมารดาถนอมบุตร พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงกำหราบเสียได้ซึ่งคนกระด้างเย่อหยิ่ง พระพุทธเจ้าพระองค์ใดอันหมู่เทวดานับถือแล้ว ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้กำจัดมานะได้ | ภาวนาไว้ ถ้าหมั่นเสกใช้ ทุกวันยิ่งดี แก้คนใจแข็ง มานะแรง มีใจอ่อนทันที ไม่มีเย่อหยิ่ง (ภาวนาเพื่อทำคนแข็งให้อ่อน) |
๑๓ | สัม. | สัญจะยัง ปาระมี สัมมา สัญจิตะวา สุขะมัตตะโน สังขารานัง ขะยัง ทิสวา สันตะคามิง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงสั่งสมพระบารมีทั้งหลายมาโดยชอบ ทรงก่อสร้างความสุขแก่พระองค์ขึ้นได้ ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจาพระองค์นั้น ผู้ทรงเห็นความเสื่อมสิ้นแห่งสังขารทั้งหลาย แล้วได้บรรลุถึงธรรมอันรำงับ | สำหรับบทนี้ ตำรับกล่าวชี้ ว่าดีจริง สำหรับเสกยา ปัญญาดียิ่ง สุดจะหาสิ่ง ใดมาเปรียบปาน (ภาวนาเสกของกิน มีปัญญา) |
๑๔ | พุท. | พุชฌิตวา จะตุสัจจานิ พุชฌาเปติ มะหาชะนัง พุชฌาเปนตัง สิวัง มัคคัง พุทธะเสฏฐัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔ แล้ว ทรงยังมหาชนให้รู้ด้วย ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น ผู้ทรงช่วยสัตว์ให้รู้ทางพระนิพพาน | ภาวนาไป เสนียดจัญไร มิได้พ้องพาน อุปสรรคไรๆ ก็ไม่พะพาน แสนจะสำราญ ให้หมั่นภาวนา (ภาวนาป้องกันเสนียดจัญไร อุปัททะทั้งปวง) |
๑๕ | โธ. | โธติ ราเค จะ โทเส จะ โธติ โมเห จะ ปาณินัง โธตะเกลสัง มะหาปุญญัง โธตาสะวัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงล้างเสียซึ่งราคะและโทสะ ทรงล้างเสียซึ่งโมหะของสัตว์ทั้งหลาย ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีบุญมาก มีกิเลสอาสวะอันล้างแล้ว | ภาวนาไว้ กันเสือช้างได้ ทั้งสุขหนา ใช้ป้องกันบ้าง สัตว์ร้ายนานา ไม่อาจเข้ามา ยายีบีฑา (ภาวนาป้องกันสัตว์ร้ายเช่น ช้าง เสือ) |
๑๖ | วิช. | วิเวเจติ อะสัทธัมมา วิจิตะวา ธัมมะเทสะนัง วิเวเก ฐิตะจิตโต โย วิทิตันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยังสัตว์ให้เลิกร้างห่างไกลจากอสัทธรรม ทรงก่อการแสดงธรรมขึ้น เป็นผู้มีพระจิตตั้งอยู่ในวิเวก ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้เป็นนักปราชญ์ | สำหรับบทนี้ คุณาย่อมมี อติเรกนานา กันพวกศัตรู เหล่าหมู่พาลา ไม่อาจเข้ามา หลบหน้าหนีไป (ภาวนาป้องกันศัตรู ทำให้มีเมตตาจิต) |
๑๗ | ชา. | ชาติธัมโม ชะราธัมโม ชาติอันโต ปะกาสิโต ชาติเสฏเฐนะ พุทเธนะ ชาติมุตตัง นะมามิหัง | ชาติธรรม ชราธรรม ธรรมอันเป็นที่สุดแห่งชาติ (คือ มรณธรรม) พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชาติอันประเสริฐทรงประกาศแล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระองค์ผู้ทรงพ้นจากชาติแล้ว | ภาวนาไว้ คุณไสยอนันต์ ทำมามิได้ จงหมั่นภาวนา อย่าได้สงสัย อาจารย์กล่าวไว้ ดังได้อ้างมา (ภาวนาป้องกันการกระทำ จะไปทิศานุทิศใดคนไม่ทำร้าย) |
๑๘ | จะ. | จะเยติ ปุญญะสัมภาเร จะเยติ สุขะสัมปะทัง จะชันตัง ปาปะกัมมานิ จะชาเปนตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงก่อสร้างพระบุญสมภารมา จึงสั่งสมพระสุขสมบัติขึ้นได้ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงละทิ้งเอง และยังสัตว์ทั้งหลายให้ละทิ้งด้วย ซึ่งบาปกรรมทั้งหลาย | บทนี้ดีล้น เสกทำน้ำมนต์ รดเกล้ากายา เสกมะกรูดส้มป่อย ถ้อยความมีมา ใช้สระเกษา ถ้อยความสูญไป (ภาวนาสระหัว หายถ้อยความ ไม่เป็นเหตุให้วิวาทกับใครๆ) |
๑๙ | ระ. | ระมิตัง เยนะ นิพพานัง รักขิตา โลกะสัมปะทา ระชะโทสาทิเกลเสหิ ระหิตันตัง นะมามิหัง | พระนิพพาน อันพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยินดีแล้ว ความดีสำหรับโลกอันพระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงรักษาไว้แล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ละเว้นจากกิเลสทั้งหลาย | ภาวนา ศัตรูอาธรรพ์ สรรพโรคภัย กันได้หลายอย่าง ทั้งเสนียดจัญไร ภาวนาไว้ อย่าได้กังขา (ภาวนากันเสนียดจัญไรทั้งปวง) |
๒๐ | ณะ. | นะมิโตเยวะ พรหเมหิ นะระเทเวหิ สัพพะทา นะทันโต สีหะนาทัง โย นะทันตัง ตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันพรหมและเทวดา มนุษย์ทั้งหลายนอบน้อมอยู่ทุกเมื่อ พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงบันลือสีหนาท ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงบันลือสีหนาทอยู่ | บทนี้เป็นเอก มีคุณเอนก สุดจะพรรณนา ระงับดับโศก กันโรคผีห่า อันจะมาคร่า ชนมายุไซร้ (ภาวนาป้องกันห่าลงแล) |
๒๑ | สัม. | สังขาเร ติวิเธ โลเก สัญชานาติ อะนิจจะโต สัมมา นิพพานะสัมปัตติ สัมปันโน ตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงกำหนดรู้สังขารทั้งหลายในสามโลก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ทรงถึงพร้อมด้วยพระนิพพานสมบัติโดยชอบ ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น | สำหรับบทนี้ ท่านอาจารย์ แนะนำกล่าวไว้ ใช้เป็นเสน่ห์ สมคะเนดังใจ อย่าได้สงสัย ดียิ่งนักหนา (ภาวนาเป็นเสน่ห์) |
๒๒ | ปัน. | ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก ปัญญายะ อะสะโม โหติ ปะสันนัง ตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงก่อสร้างโพธิสมภารมา จึงได้เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์กับทั้งเทวดา หาผู้เสมอมิได้ด้วยพระปัญญาธิคุณ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ผ่องใส | บทนี้สามารถ กันภูตปีศาจ ไม่อาจเข้ามา หลอกหลอนเราได้ ท่านให้ภาวนา จงได้อุตส่าห์ ท่องให้ขึ้นใจ (ภาวนาป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง) |
๒๓ | โน. | โน เทติ นิระยัง คันตุง โน จะ ปาปัง อะการะยิ โน สะโม อัตถิ ปัญญายะ โนนะ ธัมมัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ป้องกันสัตว์ไว้มิให้ไปนรก และมิให้ทำบาป ผู้เสอพระองค์ด้วยปัญญาหามีไม่ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้หาความบกพร่องมิได้ | บทนี้ภาวนา ป้องกันฟ้าผ่า และช้างม้าภัย มีจิตจำนง ประสงค์สิ่งใด ลงของก็ได้ ใช้ตามปรารถนา (ภาวนาป้องกันช้าง) |
๒๔ | สุ. | สุนทะโร วะระรูเปนะ สุสะโร ธัมมะภาสะเน สุทุททะสัง ทิสาเปติ สุคะตันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด มีพระรูปงาม ทรงแสดงธรรมเล่าก็มีพระเสียงดี โปรดเวไนยชนให้เห็นธรรมอันเห็นได้ยาก ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เสด็จไปดีแล้ว | ภาวนากันคุณว่านยา อันเขากระทำมา ทั้งอาวุธ และเครื่องศาสตรา แม้ถูกกายา ก็มิเป็นไร (ภาวนาป้องกันการกระทำและอาคมทั้งปวง) |
๒๕ | คะ. | คัจฉันโต โลกิยา ธัมมา คัจฉันโต อะมะตัง ปะทัง คะโต โส สัตตะโมเจตุง คะตัญญาณัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เสด็จไปเสียจากโลกียธรรม ถึงโลกุตรธรรมอันเป็นอมตบท พระองค์เสด็จไปไหนๆก็เพื่อปลดเปลื้องสัตว์จากทุกข์ ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว | ทำน้ำมนต์ บริกรรมพร่ำบ่น อย่าได้เมามัว ประพรมสินค้า จงอย่ายิ้มหัว กำไรเกินตัว อย่ากลัวขาดทุน (ภาวนาเพื่อค้าขายกินรุ่งเรือง) |
๒๖ | โต. | โตเสนโต วะระธัมเมนะ โตสัฏฐาเน สิเว วะเร โตสัง อะกาสิ ชันตูนัง โตละจิตตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงโปรดสัตว์ให้แช่มชื่นด้วยพระธรรม ทรงก่อความยินดีในพระนิพพานอันเป็นฐานที่ควรยินดีให้เกิดมีแก่สัตว์ทั้งหลาย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระจิตเที่ยงตรง | ภาวนาเสก มีคุณอย่างเอก เข้าหาเจ้าขุน มูลนายเจ้าพระยา เมตตาอุดหนุน โปรดปรานการุณ เพราะคุณคาถา (ภาวนาเข้าสู่ขุนนางและท้าวพระยาทั้งปวงมีความสวัสดี) |
๒๗ | โล. | โลเภ ชะหะติ สัมพุทโธ โลกะเสฏโฐ คุณากะโร โลเภ สัตเต ชะหาเปติ โลภะสันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นอากรแห่งคุณความดีประเสริฐสุดในโลก ทรงละโลภะเสียได้ ทรงยังสัตว์ทั้งหลายให้ละโลภะด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีโลภะอันระงับแล้ว | ภาวนาเป่า ศัตรูทุกเหล่า แม้กริ้วโกรธา แต่พอได้เห็น เอ็นดูเมตตา ปราณีนักหนา ดุจญาติของตน (ภาวนาทำให้ศัตรูกลับเป็นมิตร) |
๒๘ | กะ. | กันโต โย สัพพะสัตตานัง กัตวา ทุกขักขะยัง ชิโน กะเถนโต มะธุรัง ธัมมัง กะถาสัณหัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เป็นผู้อันสัตว์ทั้งหลายรักใคร่ ทรงแสดงธรรมไพเราะ ทำความสิ้นทุกข์แห่งสรรพสัตว์ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระวาจาละเอียดสุขุม | เอาข้าวสารมา แล้วภาวนา เสกให้หลายหน เสร็จแล้วซัดไป ไล่ผีบัดดล หนีไปไกลพ้น ไม่มาราวี (ภาวนาเสกข้าวสารซัดผีเข้า) |
๒๙ | วิ. | วินะยัง โย ปะกาเสติ วิทธังเสตวา ตะโย ภะเว วิเสสัญญาณะสัมปันโน วิปปะสันนัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงประกาศพระวินัย ทรงทำลายไตรภพเสีย แล้วทรงถึงพร้อมด้วยพระญาณอันวิเศษ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ใสสะอาดบริสุทธิ์ | เสกขมิ้นและว่าน เสกข้าวรับประทาน อยู่คงอย่างดี อีกอย่างหนึ่งไซร้ ไล่ขับผี ภูติพรายไม่มี สิงสู่กายา (ภาวนาเพื่อการแข่งพนันสารพัด) |
๓๐ | ทู. | ทูเส สัตเต ปะหาเสนโต ทูรัฏฐาเน ปะกาสะติ ทูรัง นิพพานะมาคัมมะ ทูสะหันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ยังสัตว์ผู้โกรธเคืองประทุษร้าย ให้ร่าเริงหายโกรธด้วยธรรม พระพุทธเจ้าพระองค์ใดมีพระเกียรติคุณปรากฏไปไกล ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ลุถึงแดนไกลคือพระนิพพาน แล้วกำจัดความร้ายได้ | ภาวนาบทนี้ เมตตาปราณี ไม่มีโทสา หญิงชายทั้งหลาย รักใคร่หนักหนา ห่างไกลภัยยา สิ้นทุกข์สดใส (ภาวนาจะไปก็ดี จะอยู่ก็ดี) |
๓๑ | อะ. | อันตัง ชาติชะราทีนัง อะกาสิ ทิปะทุตตะโม อะเนกุสสาหะจิตเตนะ อัสสาเสนตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระคุณสูงสุดในหมู่มนุษย์พระองค์ใด ได้ทรงทำที่สุดแห่งทุกข์ มีชาติและชรา เป็นต้นแล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โปรดสัตว์ให้อุ่นใจ ด้วยน้ำพระหฤทัยอุตสาหะเป็นอันมาก | จงได้ตรองตรึก หมั่นพินิจนึก ภาวนาไป เห็นหน้า เมตตารักใคร่ ภาวนาไว้ เป็นศุภมงคล (ภาวนาให้ศัตรูกลับใจยินดี) |
๓๒ | นุต. | นุเทติ ราคะจิตตานิ นุทาเปติ ปะรัง ชะนัง นุนะ อัตถัง มะนุสสานัง นุสาสันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงบรรเทาเสียได้ซึ่งราคะจิต ทรงยังคนอื่นให้บรรเทาด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงพร่ำสอนธรรมอันเป็นประโยชน์แน่แท้แก่มนุษย์ทั้งหลาย | บทนี้ดีเหลือ ให้ใช้ในเมื่อ ถึงคราวอับจน ป้องกันผู้ร้าย โรคภัยเบียดตน พินาศปี้ป่น ไม่ทันรบกวน (ภาวนากันหลับแล) |
๓๓ | ตะ. | ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ ธัมมะเทสะนัง ตัณหายะ วิจะรันตานัง ตัณหาฆาฏัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงเผยแผ่ธรรมอันเป็นกุศล ทรงขยายการแสดงธรรมให้กว้างขวางออกไป ข้าฯขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงช่วยกำจัดตัณหาของสัตว์ทั้งหลายผู้พล่านอยู่ด้วยความอยากต่างๆ | ภาวนาเสก ปลุกตัวและเลข ว่านยาทั้งมวล อนึ่งใช้เสก เครื่องคลาดก็ควร เมื่อรณศึกล้วน เป็นศิริมงคล (ภาวนาเสกปลุกสารพัดทั้งปวง) |
๓๔ | โร. | โรเสนโต เนวะ โกเปติ โรเสเหวะ นะ กุชฌะติ โรคานัง ราคะอาทีนัง โรคะหันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ไม่ทรงโกรธผู้ที่โกรธเอา ไม่ทรงพลอยโกรธไปกับพวกคนโกรธ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงกำจัดโรคแห่งโรคทั้งหลาย มีราคะเป็นอาทิ เสียได้ | ภาวนาใช้เป็นไร จากด้าวถิ่นตน ทั้งใช้ปลุกเสก ซึ่งเครื่องคงทน อย่าได้ฉงน แก้กันสรรพภัย (ภาวนากันภัยเมื่อจะมีที่ไปแล) |
๓๕ | ปุ. | ปุณันตัง อัตตะโน ปาปัง ปุเรนตัง ทะสะปาระมี ปุญญะวันตัสสะ ราชัสสะ ปุตตะภูตัง นะมามิหัง | ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ทรงขจัดบาปของพระองค์ ผู้ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๑๐ ผู้เป็นพระโอรสของพระราชาผู้มีบุญ | บทนี้ศักดิ์สิทธิ์ ภาวนาดับพิษ สัตว์ร้ายทั้งหลาย ตะขาบแมลงป่อง หากต้องเหล็กใน จงภาวนาไว้ พิษห่างบางเบา (ภาวนากันจระเข้ และแมลงป่อง) |
๓๖ | ริ. | ริปุราคาทิภูตัง วะ ริทธิยา ปะฏิหัญญะติ ริตตัง กัมมัง นะ กาเรตา ริยะวังสัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงกำจัดเสียได้ซึ่งสิ่งอันเป็นข้าศึก มีราคะเป็นต้น ด้วยพระบุญฤทธิ์ ไม่ทรงยังสัตว์ให้ทำกรรมที่เปล่าประโยชน์ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นวงศ์อริยะ | บทนี้ภาวนา รุ่งเรืองเดชา อำนาจแก่เรา ทั้งหญิงและชาย พอได้เห็นเรา ครั่นคร้ามไม่เบา เมื่อเข้าสมาคม (ภาวนาเพื่อให้มีความองอาจกล้าหาญในท่ามกลางคนทั้งปวง) |
๓๗ | สะ. | สัมปันโน วะระสีเลนะ สะมาธิปะวะโร ชิโน สะยัมภูญาณะสัมปันโน สัณหะวาจัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงถึงพร้อมด้วยศีล มีพระสมาธิอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระสยัมภูญาณ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระชินเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระวาจาละเอียดอ่อน | ภาวนาทุกวัน หมู่เทพเทวัญ ชวนกันระดม พิทักษ์รักษา เจตนารมณ์ มิให้ระทม เดือดเนื้อร้อนใจ (ภาวนาสวดทุกวัน เทวดามาฟัง) |
๓๘ | ทัม. | ทันโต โย สะกะจิตตานิ ทะมิตะวา สะเทวะกัง ทะทันโต อะมะตัง เขมัง ทันตินทริยัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงฝึกจิตของพระองค์แล้ว ทรงฝึกมนุษย์กับทั้งเทวดาด้วย โปรดประทานอมตธรรมอันเกษมแก่เขาทั้งหลาย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระอินทรีย์อันฝึกได้ที่แล้ว | บทนี้ภาวนา สำหรับเสกผ้า โพกเศียรครรไร เจริญราศี สวัสดีมีชัย เสก ณ ที่ไซร้ แมลงรูปบัดดล (ภาวนาเสกผ้านุ่งห่ม) |
๓๙ | มะ. | มะหุสสาเหนะ สัมพุทโธ มะหันตัง ญาณะมาคะมิ มะหิตัง นะระเทเวหิ มะโนสุทธัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้บรรลุพระญาณอันใหญ่ด้วยพระอุตสาหะใหญ่ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระมโนบริสุทธิ์ อันมนุษย์และเทวดาทั้งหลายพากันบูชาแล้ว | อาจารย์กล่าวไว้ ให้เสกดอกไม้ ทัดหูของตน มีสง่าราศี สวัสดีมงคล เสน่ห์เลิศล้น แก่คนทั้งหลาย (ภาวนาเสกดอกไม้ทัดหูเป็นเสน่ห์) |
๔๐ | สา. | สารัง เทตีธะ สัตตานัง สาเรติ อะมะตัง ปะทัง สาระถี วิยะ สาเรติ สาระธัมมัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด โปรดประทานธรรมอันเป็นแก่นสารแก่สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ยังสัตว์ทั้งหลายให้แล่นไปสู่ทางอมตะ ดังสารถียังม้าให้แล่นไปสู่ทางที่ประสงค์ฉะนั้น ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีธรรมเป็นสาระ | ภาวนาให้มั่น กันฝังอาถรรพ์ เวทย์มนต์ทั้งหลาย ทั้งกันกระทำ มิให้ต้องกาย อีกอาวุธร้าย เมื่อเข้าณรงค์ (ภาวนาป้องกันอาถรรพ์ต่างๆ) |
๔๑ | ระ. | รัมมะตาริยะสัทธัมเม รัมมาเปติ สะสาวะกัง รัมเม ฐาเน วะสาเปนตัง ระณะหันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงยินดีในอริยสัทธรรม ทรงยังสาวกของพระองค์ให้ยินดีด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ยังสาวกให้ได้อยู่ในฐานะอันน่ายินดี ผู้กำจัดข้าศึกคือกิเลส | ใช้ภาวนา ป้องกันสัตว์ป่า เสือช้างกลางดง ทั้งควายและวัว กระทิงตัวยง ไม่กล้าอาจอง ตรงเข้าราวี (ภาวนาป้องกันสัตว์ร้าย เช่น เสือ ช้าง) |
๔๒ | ถิ. | ถิโต โย วะระนิพพาเน ถิเร ฐาเน สะสาวะโก ถิรัง ฐานัง ปะกาเสติ ถิตัง ธัมเม นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด พร้อมทั้งสาวกของพระองค์ ทรงตั้งอยู่แล้วในฐานะอันมั่นคงคือพระนิพพาน ทรงประกาศซึ่งฐานะอันมั่นคง (คือพระนิพพานนั้น) ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ตั้งอยู่ในธรรม | บทนี้กล้าหาญ เสกข้าวรับประทาน คงกระพันชาตริ ศัตรูหมู่ภัย ไม่ร้ายราวี เป็นสง่าราศี ไม่มีศัตรู (ภาวนาเสกข้าวกิน) |
๔๓ | สัต. | สัทธัมมัง เทสะยิตวานะ สันตะนิพพานะปาปะกัง สะสาวะกัง สะมาหิตัง สันตะจิตตัง นะมามิหัง | ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งสาวกของพระองค์ ผู้ทรงแสดงพระสัทธรรมอันให้ถึงพระนิพพานอันรำงับแล้ว เป็นผู้ตั้งมั่นสงบระงับ | เมื่อจะไสยา จงได้ภาวนา ตามคาคุณครู ป้องกันโจรร้าย ไม่มีศัตรู ที่จะมาขู่ ข่มเหงน้ำใจ (ภาวนาป้องกันโจรผู้ร้าย) |
๔๔ | ถา. | ถานัง นิพพานะสังขาตัง ถาเมนาธิคะโต มุนิ ถาเน สัคคะสิเว สัตเต ถาเปนตัง ตัง นะมามิหัง | พระมุนีเจ้าพระองค์ใดได้บรรลุฐานะกล่าวคือพระนิพพานด้วยพระกำลังความเพียร ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ยังสัตว์ให้ตั้งอยู่ในฐานะทั้งที่เป็นสวรรค์และนิพพาน | ภาวนานึก เมื่อจะออกศึก สงครามใดๆ แคล้วคลาดศาสตรา ไม่มาต้องได้ คุ้มครองกันภัย ได้ดีนักหนา (ภาวนาเพื่อเข้าไปสู่สงคราม) |
๔๕ | เท. | เทนโต โย สัคคะนิพพานัง เทวะมะนุสสะปาณินัง เทนตัง ธัมมะวะรัง ทานัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ประทานสมบัติคือสวรรค์และพระนิพพานแก่หมู่สัตว์ทั้งเทวดาและมนุษย์ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นเทพใหญ่ประทานพระธรรมเป็นทาน | บทนี้ก็เอก ใช้สำหรับเสก ธูปเทียนบุปผา บูชาพระเจ้า พุทธัมสัมฆา จะมีสง่า ราศีผ่องใส (ภาวนาเสกเทียนเป็นสวัสดี) |
๔๖ | วะ. | วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง อะนาสะวัง วันทิตัง เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง | ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้คายราคะ คายโทสะ คายโมหะแล้ว หาอาสวะมิได้ อันเทวดาและพรหมทั้งหลายกราบไหว้แล้ว | บทนี้ดียิ่ง ใช้เสกมาลี สิบเก้าคาบไซร้ เอามาทัดหู คนดูรักใคร่ บูชาพระไซร้ ย่อมเป็นมงคล (ภาวนาเสกดอกไม้ทัดหูเป็นเสน่ห์) |
๔๗ | มะ. | มะหะตา วิริเยนาปิ มะหันตัง ปาระมิง อะกา มะนุสสะ เทวะพรหเมหิ มะหิตันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงสร้างพระบารมีอันใหญ่ด้วยพระวิริยะอันใหญ่เหมือนกัน ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้อันมนุษย์ เทวดาและพรหมทั้งหลายบูชาแล้ว | เมื่อลงนาวา ขับขี่ช้างม้า ยาตราจรดล หรือขึ้นเรือนใหม่ อย่าได้ฉงน เสก 19 หน จะมีเดชา (ภาวนาขึ้นช้างลงม้า ขึ้นเรือนลงเรือน) |
๔๘ | นุส. | นุนะธัมมัง ปะกาเสนโต นุทะนัตถายะ ปาปะกัง นุนะ ทุกขาธิปันนานัง นุทาปิตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงประกาศธรรมอันแน่แท้ เพื่อบรรเทาเสียซึ่งบาปของสัตว์ทั้งหลายผู้จมทุกข์อยู่เต็มแปล้ ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้โปรดสัตว์ให้บรรเทาบาปของตนได้ด้วย | ภาวนาบ่น ประเสริฐเลิศล้น อย่าได้กังขา ชนช้างก็ดี หรือขี่อาชา มีเดชแกล้วกล้า ไชยาสวัสดี (ภาวนาขึ้นช้างลงม้า มีตบะเดชะ) |
๔๙ | สา. | สาวะกานังนุสาเสติ สาระธัมเม จะ ปาณินัง สาระธัมมัง มะนุสสานัง สาสิตันตัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงพร่ำสอนสารธรรมแก่พระสาวกทั้งหลายและแก่สัตว์ทั่วไปด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงสอยธรรมอันเป็นสาระแก่มนุษย์ทั้งหลาย | บทนี้ดีมาก เมื่อจะกินหมาก เสก ๑๗ ที ทั้งแป้งน้ำมัน จวงจันทร์มาลี ทัดกรรณก็ดี มีเสน่ห์ยิ่งยง (ภาวนาเสกเมื่อกินเส้น) |
๕๐ | นัง. | นันทันโต วะระสัทธัมเม นันทาเปติ มะหามุนิ นันทะภูเตหิ เทเวหิ นันทะนียัง นะมามิหัง | พระมหามุนีเจ้าพระองค์ใด ทรงยินดีในพระสัทธรรม ทรงยังสัตว์ทั้งหลายให้ยินดีด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระมหามุนีเจ้าพระองค์นั้น ผู้ที่เทวดาทั้งหลายซึ่งเป็นพวกชอบหาที่เพลิดเพลินยินดี พึงนิยมยินดีในพระองค์ | บทนี้เลิศล้ำ เสกลูกประคำ สังวาลสวมองค์ ตะกรุดพิศมร ๑๙ คาบตรง มีเดชมั่นคง ราศีผ่องใส (ภาวนาเสกประคำสังวาลย์) |
๕๑ | พุท. | พุชฌิตาริยะสัจจานิ พุชฌาเปติ สะเทวะกัง พุทธะญาเณหิ สัมปันนัง พุทธัง สัมมา นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ตรัสรู้อริยสัจแล้ว ยังมนุษย์และเทวดาให้รู้ด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงถึงพร้อมด้วยพระพุทธญาณทั้งหลาย ตรัสรู้โดยชอบแล้ว | ภาวนาบทนี้ เมื่อจะจรลี สู่บ้านเมืองไกล ป้องกันสรรพเหตุ เภทภัยใดๆ มีคุณยิ่งใหญ่ แก่ผู้ภาวนา (ภาวนาเมื่อเข้าบ้านเข้าเมือง กันภัยทั้งปวง) |
๕๒ | โธ. | โธวิตัพพัง มะหาวีโร โธวันโต มะละมัตตะโน โธวิโต ปาณินัง ปาปัง โธตะเกลสัง นะมามิหัง | พระมหาวีรเจ้าพระองค์ใด ทรงล้างมลทินที่พึงล้างของพระองค์ ทรงล้างความลามกของสัตว์ทั้งหลายด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อมพระมหาวีรเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีเครื่องเศร้าหมองอันล้างแล้ว | บทนี้เป็นเอก สำหรับปลุกเสก เครื่องลางนานา ประสิทธิทุกอย่าง อีกทั้งมนตรา ๗ ทีบัดดล (ภาวนาเสกทั้งปวง) |
๕๓ | ภะ. | ภะยะมาปันนะสัตตานัง ภะยัง หาเปติ นายะโก ภะเว สัพเพ อะติกกันโต ภะคะวันตัง นะมามิหัง | พระผู้นำพระองค์ใดทรงยังความกลัวของสัตว์ทั้งหลายผู้ต้องภัยให้หาย ทรงก้าวล่วงเสียซึ่งภพทั้งปวง ข้าฯ ขอนอบน้อมพระผู้นำพระองค์นั้นผู้มีโชค | บทนี้ดีล้นค่า ใช้เสกศาสตรา อาวุธคู่ตน นิราศผองไพร มิได้ต้องตน เสก ๑๙ หน ตนจะอาจหาญ (ภาวนาเสกอาวุธทั้งปวง) |
๕๔ | คะ. | คะหิโต เยนะ สัทธัมโม คะตัญญาเณนะ ปาณินัง คะหะณิยัง วะรัง ธัมมัง คัณหาเปนตัง นะมามิหัง | พระสัทธรรมอันพระพุทธเจ้าพระองค์ใด ผู้มีพระญาณลุล่วงตรัสไว้แล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงยังสัตว์ทั้งหลายให้รับเอาธรรมที่ควรรับเอาอย่างประเสริฐ | บทนี้ภาวนา เมื่อจะเข้าหา สมณาจารย์ ท่านมีเมตตา กรุณาสงสาร ล้วนมงคลการ ประเสริฐเลิศล้น (ภาวนาไปสู่พระยา สมณชีพราหมณาจารย์) |
๕๕ | วา. | วาปิตัง ปะวะรัง ธัมมัง วานะโมกขายะ ภิกขุนัง วาสิตัง ปะวะเร ธัมเม วานะหันตัง นะมามิหัง | ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้า ผู้ทรงหว่านพระธรรมอันประเสริฐแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อให้พ้นจากวานะคือตัณหา ผู้อบรมแล้วในธรรมอันประเสริฐ ผู้กำจัดวานะคือตัณหา | เข้าหาขุนนาง แม้ใจกระด้าง โอนอ่อนบัดดล จงได้ภาวนา ท่านเมตตาตน กรุณาเลิศล้น อย่าแหนงแคลงใจ (ภาวนาเข้าสู่คนแข็ง ก็อ่อนแล) |
๕๖ | ติ. | ติณโณ โย สัพพะปาเปหิ ติณโณ สัคคา ปะติฏฐิโต ติเร นิพพานะสังขาเต ติกขะญาณัง นะมามิหัง | พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ทรงข้ามไปจากบาปทั้งปวง ทรงข้ามจากแม่น้ำ ประดิษฐานอยู่บนฝั่งคือพระนิพพานได้แล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณคมกล้า | ภาวนาบทนี้ เหมือนดั่งมณี หาค่ามิได้ เจริญทุกวัน ป้องกันโรคภัย ทุกโศกฤษัย ศูนย์หายสิ้นเอย(เป็นคาถาสรุปไม่มีอุปเทศ). |
พระธรรมคุณ ๓๘ | คำแปลพระอิติปิโสรัตนมาลา | ||
๑ | สะวาก. | สะวาคะตันตัง สิวัง รัมมัง สะวานะยัง ธัมมะเทสิตัง สะวาหุเนยยัง ปุญญักเขตตัง สะวาสะภันตัง นะมามิหัง. | พระนิพพานนั้น เป็นธรรมควรยินดี อันพระพุทธเจ้า ได้ทรงลุถึงมาดีแล้ว ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมอันเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ พระสงฆ์นำสืบมาด้วยดี ควรบูชาอย่างดี เป็นบุญเขตอันประเสริฐแท้. |
๒ | ขา. | ขาทันโต โย สัพพปาปัง ขายิโต โย จะ มาธุโร ขายันตัง ติวิธัง โลกัง ขายิตันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใดกัดกิน (คือทำลาย) ซึ่งบาปทั้งปวง พระธรรมอันหวานชื่นใด พระพุทธเจ้าตรัสไว้แล้ว. ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันกิน (คือครอบงำ) โลกทั้ง ๓ มนุษย์ เทวโลก พรหมโลก ไว้ปรากฏเด่นอยู่. |
๓ | โต. | โตเสนโต สัพพะสัตตานัง โตเสติ ธัมมะเทสะนัง โตสะจิตตัง สะมิชฌันตัง โตสิตันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด ปลุกปลอบสรรพสัตว์ ให้ยินดีฟังพระธรรมเทศนา ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันยังสัตว์ผู้มีจิตยินดีในธรรมให้เจริญ ยังสัตว์ให้แช่มชื่น. |
๔ | ภะ. | ภัคคะราโต ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห อะนุตตะโร ภัคคะกิเลสะสัตตานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด หักราคะ หักโทสะ หักโมหะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นที่เคารพ ของสัตว์ผู้มีกิเลสอันหักแล้ว. |
๕ | คะ. | คัจฉันโต รัมมะเก สิเว คะมาปิโต สะเทวะเก คัจฉันเต พรัหมะจะริเย คัจฉันตันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด ดำเนินไปในพระนิพพานอันน่ายินดี ยังมนุษย์กับทั้งเทวดาผู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้ดำเนินไปถึงพระนิพพานนั้น ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันดำเนินไปอย่างนั้น. |
๖ | วะ. | วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง วันตะปาปะกัง ตาเรนตัง โมฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง. | ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมอันคายราคะ คายโทสะ คายโมหะ คายบาป คายความโงและคายโทษทั้งหลาย มีความอยากเป็นต้น คายกิเลสเครื่องร้อยรัด. |
๗ | ตา. | ตาเรสิ สัพพะสัตตานัง ตาเรสิ โอริมัง ติรัง ตาเรนตัง โอฆะสังสารัง ตาเรนตันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใดยังสรรพสัตว์ให้ข้าม (สังสารสาคร) ให้ข้ามฝั่งใน (พาไปสู่ฝั่งนอก คือพระนิพพาน)ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น ผู้ช่วยให้สัตว์ข้ามพ้นโอฆะสงสารได้. |
๘ | ธัม. | ธะระมาเนปิ สัมพุทเธ ธัมมัง เทสัง นิรันตะรัง ธะเรติ อะมะตัง ฐานัง ธาเรนตันตัง นะมามิหัง. | แต่ครั้งสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น พระองค์ทรงแสดงพระธรรมใดไว้มิได้ขาด พระธรรมใดทรงไว้ซึ่งฐานะอันเป็นอมตะ. ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพทรงอยู่. |
๙ | โม. | โมหัญเญ ทะมันโต สัตเต โมหะชิเต อะการะยิ โมหะชาเต ธัมมะจารี โมหะชิตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด ฝึกฝนสัตว์ทั้งหลายที่ลุ่มหลง ทำให้เป็นผู้ชนะความหลงได้ ยังสัตว์ผู้เกิดมาด้วยความหลง ให้ประพฤติธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันครอบงำความหลงได้. |
๑๐ | สัพ. | สัพพะสัตตะตะโมนุโท สัพพะโสกะวินาสะโก สัพพะสัตตะหิตักกะโร สัพพะสันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด บรรเทาความมืด ของสัตว์ทั้งปวง ยังความโศกทั้งปวง ให้เสื่อมหาย ก่อประโยชน์เกื้อกูล แก่สรรพสัตว์ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพสงบเย็น ด้วยประการทั้งปวง. |
๑๑ | ทิฏ. | ทิฏเฐ ธัมเม อะนุปปัตโต ทิฏฐิกังขาทะโย ลุโต ทิฏฐิ ทะวาสัฏฐิ ฉันทันโต ทิฏฐะธัมมัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด ผู้มีปัญญา บรรลุถึงได้โดยลำดับ ในทิฏฐธรรมนี้ ตัดเสียซึ่งโทษทั้งหลาย มีความเห็นผิด และความเคลือบแคลงสงสัยเป็นต้น ตัดทิฏฐิ ๖๒ ได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันพระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้ว. |
๑๒ | ฐิ. | ฐิติสีละสะมาจาเร ฐิติเตวะสะธุตังคะเก ฐิติธัมเม ปะติฏฐาติ ฐิติปะทัง นะมามิหัง. | พระอริยะ ย่อมตั้งอยู่ในฐิติธรรม (ธรรมคือความคงสภาพอยู่) คือในศีลและจรรยามารยาทที่ดีอันเป็นฐิติ ในธุดงค์ ๑๓ อันเป็นฐิติ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นเครื่องถึงฐิติ. |
๑๓ | โก. | โกกานัง ราคัง ปิเฬติ โกโธปิ ปะฏิหัญญะติ โกกานัง ปูชิโต โลเก โกกานันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด เปลี่ยนเสียซึ่งความรัก ของคนทั้งหลายผู้ยึดถือ แม้ความโกรธก็กำจัดเสียด้วย เป็นสิ่งซึ่งคนที่ยังยึดถือ ก็บูชาอยู่ในโลกนี้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นที่สิ้นสุดแห่งความยึดถือ. |
๑๔ | อะ. | อัคโค เสฏโฐ วะระธัมโม อัคคะปัญโญ ปะพุชฌะติ อัคคัง ธัมมัง สุนิปุณัง อัคคันตังวะ นะมามิหัง. | พระธรรม เป็นของเลิศ ประเสริฐสุด ผู้มีปัญญาเลิศ ย่อมตรัสรู้ธรรมอันละเอียดเลิศได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเลิศนั้นแล. |
๑๕ | กา. | กาเรนโต โย สิวัง รัชชัง กาเรติ ธัมมะจาริเย กาตัพพะสุสิกขากาเม กาเรนตันตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด เมื่อยังสัตว์ให้ทำราชัย คือพระนิพพาน ย่อมยังสัตว์ผู้ประพฤติธรรมให้ทำ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันยังสัตว์ผู้ใคร่ในการศึกษาดี ที่ตนพึงทำให้ทำสิวราชัยนั้น. |
๑๖ | ลิ. | ลิโต โย สัพพะทุกขานิ ลิขิโต ปิฏะกัตตะเย ลิมปิเตปิ สุวัณเณนะ ลิตันตังปิ นะมามิหัง. | พระธรรมใด บำบัดเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง ท่านลิขิตไว้ในคัมภีร์พระไตรปิฏก ซึ่งปิดทองไว้สวยงามก็มิได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันบำบัดทุกข์ได้จริง. |
๑๗ | โก. | โก สะทิโสวะ ธัมเมนะ โก ธัมมัง อะภิปูชะยิ โก วินทะติ ธัมมะระสัง โกสะลันตัง นะมามิหัง. | สภาพอะไร ที่เสมอด้วยพระธรรม (มีหรือ) ใครบูชาพระธรรมอย่างยิ่ง ใครได้ประสบธรรมรส ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันทำกุศลให้เป็นผู้ฉลาด. |
๑๘ | เอ. | เอสะติ พุทธะวะจะนัง เอสะติ ธัมมะมุตตะมัง เอสะติ สัคคะโมกขัญจะ เอสะนันตัง นะมามิหัง. | บัณฑิตย่อมแสวงหาพระพุทธวจนะ ย่อมแสวงหาธรรมอย่างสูง ย่อมแสวงหาสวรรค์และนิพพาน ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นที่แสวงหาแห่งบัณฑิต. |
๑๙ | หิ. | หิเน ฐาเน นะ ชายันเต หิเน โถเมติ สุคะติง หิเน โมหะสะมัง ชาลัง หินันตังปิ นะมามิหัง. | พระธรรมใด ไม่ยังสัตว์ให้เกิดในฐานะที่ต่ำทราม ยังคนชั้นต่ำ (ที่ทำดี) ให้ได้ชมสุคติก็ได้ ละกิเลสดุจข่าย (ที่เหนียวแน่น) เสมอโมหะก็ได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นที่สิ้นสุดความเลวทราม. |
๒๐ | ปัส. | ปะกะโต โพธิสัมภาเร ปะสัฏโฐ โย สะเทวะเก ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด ก่อสร้างโพธิสมภาร อันเทวดาและมนุษย์ยกย่องแล้ว ในโลกนี้กับทั้งเทวโลก สิ่งที่ผ่องใสเสมอด้วยปัญญาหามิได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น. |
๒๑ | สิ. | สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ สีละธัมมัง นะมามิหัง. | คนทั้งหลายไปสุคติด้วยศีล ความถึงพร้อมแห่งโภคทรัพย์ ย่อมมีด้วยศีล ถึงความดับทุกข์ได้ก็ด้วยศีล ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม คือ ศีล. |
๒๒ | โก. | โก โส อัคคะปุญโญ พุทโธ โกธะชะหัง อะธิคัจฉะติ โก ธัมมัญจะ วิชานาติ โกธะวันตัง นะมามิหัง. | พระพุทธเจ้าองค์ใดนั้น เป็นผู้มีบุญเลิศ ทรงลุถึงพระธรรม ที่ละความโกรธได้ พระพุทธเจ้าไรเล่า ทรงรู้แจ้งพระธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันคายความโกรธได้. |
๒๓ | โอ. | โอภะโต สัพพะกิเลสัง โอภัญชิโต สัพพาสะวัง โอภะโต ทิฏฐิชาลัญจะ โอภะตัง ตัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด ทำลายกิเลสทั้งปวงได้ หักอาสวะทั้งปวงเสีย และรื้อข่าย คือทิฏฐิเสียด้วย ข้าฯ ขอน้อมน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพรื้อกิเลส. |
๒๔ | ปะ. | ปัญญา ปะสัฏฐา โลกัสมิง ปัญญา นิพเพธะคามินี ปัญญายะ นะ สะโม โหติ ปะสันโน ตัง นะมามิหัง. | ปัญญาเป็นสิ่งที่คนฉลาดสรรเสริญในโลก ปัญญาทำให้ถึงความรู้แจ้งแทงตลอด สิ่งที่ผ่องใสเสมอด้วยปัญญาย่อมไม่มี ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม คือ ปัญญานั้น. |
๒๕ | นะ. | นะรานะระหิตัง ธัมมัง นะระเทเวหิ ปูชิตัง นะรานัง กามะปังเกหิ นิมิตันตัง นะมามิหัง. | าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม อันเป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่มนุษย์และอมนุษย์ อันมนุษย์และเทวดาทั้งหลายบูชา เหนี่ยวรั้งคนทั้งหลาย ให้พ้นจากหล่มคือกามนั้น. |
๒๖ | ยิ. | ยิชชะเต สัพพะสัตานัง ยิชชะเต เทวะพรัหมุนี ยิชชิสสะเต ปาณีหิ ยิฏฐันตัมปิ นะมามิหัง. | พระธรรมใด อันสัตว์ทั้งปวงบูชา เทวดาและพรหมก็บูชา และสัตว์ทั้งหลายจักบูชาต่อไป ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันสัตว์ทั้งหลายบูชาทั่วกัน. |
๒๗ | โก. | โกปัง ชะหะติ ปาปะกัง โกธะโกธัญจะ นาสะติ โกธัง ชะเหติ ธัมเมนะ โกธะนุทัง นะมามิหัง | พระธรรมใด ละความโกรธอันเป็นความชั่วเสียได้ และทำความโกรธของคนโกรธให้หาย บุคคลย่อมละความโกรธได้ด้วยธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม อันบรรเทาความโกรธได้นั้น. |
๒๘ | ปัจ. | ปะปัญจาภิระตา ปะชา ปะชปหิตา ปาปะกา จะ โย ปัปโปติ โสติวิปุโล ปัชโชตันตัง นะมามิหัง. | หมู่สัตว์ยินดียิ่งนักในปัญจธรรม (คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ ที่ถ่วงสัตว์ให้ชักช้าอยู่ในสังสารวัฏ) บาปธรรม (เครื่องถ่วงสัตว์) ทั้งหลายนั้น อันพระธรรมใดละได้แล้วแท้ ผู้ใดถึงพระธรรมนั้น ผู้นั้นย่อมเป็นผู้ไพบูลย์ (ใหญ่) ยิ่ง. ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพสว่างไสว. |
๒๙ | จัต. | จะริตวา พรัหมะจะริยัง จัตตาสะโว วิสุชฌะติ จะชาเปนตังวะ ทาเนนะ จะชันตันตัง นะมามิหัง. | บุคคลผู้สละอาสวะได้ เพราะประพฤติพรหมจรรย์ ย่อมหมดจด ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพสละ ยังสัตว์ให้สละด้วยการให้ทาน. |
๓๐ | ตัง. | ตะโนติ กุสะลัง กัมมัง ตะโนติ สัพพะวิริยัง ตะโนติ สีละสะมาธิง ตะนันตังวะ นะมามิหัง. | พระธรรมใด แผ่การกระทำที่เป็นกุศลออกไปขยายความเพียร ละบาปบำเพ็ญบุญทุกอย่างออกไปเผยศีล สมาธิ (ปัญญา) ให้ปรากฏออกไป ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพแผ่ผายไม่ปกปิด. |
๓๑ | เว. | เวรานิปิ นะ พันธันติ เวรัง เตสูปะสัมมะติ เวรัง เวเรนะ เวรานิ เวระสันตัง นะมามิหัง. | แม้นชนเหล่าใดไม่ผูกเวรไว้ เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับไป เวรทั้งหลายเป็นไปก็เพราะจองเวรกัน ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมอันเป็นสภาพสงบเวร. |
๓๒ | ทิ. | ทีฆายุโก พะหูปุญโญ ทีฆะรัตตัง มะหัพพะโล ทีฆะสุเขนะ ปุญเญนะ ทีฆะรัตตัง นะมามิหัง. | พระธรรม เป็นสภาพมีอายุยืน มีบุญมาก มีกำลังใหญ่ อยู่ตลอดกาลนาน ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม อันยืนนานอยู่ด้วยบุญ ที่ให้เกิดสุขยั่งยืน. |
๓๓ | ตัพ. | ตะโต ทุกขา ปะมุญจันโต ตะโต โมเจติ ปาณิโน ตะโต ราคาทิเกลเสหิ ตะโตโมกขัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด เป็นสภาพหลุดพ้นจากทุกข์นั้น แต่นั้นยังสัตว์ทั้งหลาย ให้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้นด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม คือความหลุดพ้น จากกิเลสและทุกข์นั้น. |
๓๔ | โพ. | โพธิ วิชชา อุปาคะมิ โพเธติ มัคคะผะลานิ จะ โพธิยา สัพพะธัมมานัง โพธิยันตัง นะมามิหัง. | พระธรรม คือปัญญา เป็นเครื่องตรัสรู้ สัตว์ให้เข้าถึงวิชชา และยังสัตว์ให้ตรัสรู้มรรคผลทั้งหลาย ข้าฯ ขอนอบน้อม ความเป็นสภาพยังสัตว์ให้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวงทั้งหลาย แห่งพระธรรม คือ ปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้. |
๓๕ | วิญ. | วิระติ สัพพะทุกขัสมา วิริเยเนวะ ทุลละภา วิริยาตาปะสัมปันนา วิระตันตัง นะมามิหัง. | ความเว้นจากทุกข์ทั้งปวง จะมีได้ด้วยความเพียรเท่านั้น บุคคลที่ถึงพร้อมด้วยความเพียร เผากิเลสหาได้ยาก ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพเว้นทุกข์. |
๓๖ | ญู. | ญูตัญญาเณหิ สัมปันนัง ญูตะโยคัง สะมัปปิตัง ญูตัญญาณะทัสสะนัญจะ ญูตะโยคัง นะมามิหัง. | ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม อันเป็นสภาพถึงพร้อมด้วยพระ (สัพพัญญุต) ญาณเพียบพร้อมด้วยโยคะ (ความเพียรประกอบ) เพื่อญาณนั้น ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรม คือตัวความรู้และความเพียรนั้น. |
๓๗ | หี. | หีสันติ สัพพะโทสานิ หีสันติ สัพพะภะยานิ จะ หีสะโมหา ปะฏิสสะตา หีสันตันตัง นะมามิหัง. | ผู้มีสติ เบียนโมหะเสียได้ ย่อมเบียนโทษทั้งปวงและเบียนภัยทั้งปวงได้ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันเป็นสภาพเบียนโทษและภัย. |
๓๘ | ติ. | ติณโณ โย วัฏฏะทุกขัมหา ติณณัง โลกานะมุตตะโม ติสโส ภูมี อะติกกันโต ติณณะโอฆัง นะมามิหัง. | พระธรรมใด ข้ามจากวัฏฏทุกข์ได้ เป็นสภาพสูงสุด แห่งไตรโลก ล่วงเสียซึ่งไตรภูมิ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระธรรมนั้น อันข้ามโอฆะได้. |
พระสังฆคุณ ๑๔ | คำแปลพระอิติปิโสรัตนมาลา | ||
๑ | สุ. | สุทธะสีเลนะ สัมปันโน สุฏฐุ โย ปะฏิปันนะโก สุนทะโร สาสะนะกะโร สุนทะรันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ถึงพร้อมด้วยศีลอันหมดจด เป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ทำตามคำสอนดี ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้นซึ่งเป็นผู้ดี. |
๒ | ปะ. | ปะฏิสัมภิทัปปัตโต โย ปะสัฏโฐ วะ อะนุตตะโร ปัญญายะ อุตตะโร โลเก ปะสัฏฐันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด เป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทา อันบัณฑิตสรรเสริญเป็นเยี่ยมแท้ ท่านเป็นผู้ยิ่งด้วยปัญญา ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้น่าสรรเสริญในโลก. |
๓ | ฏิ. | ติตถะกะระชิโต สังโฆ ติตโถ ธีโรวะ สาสะเน ติตถิโย พุทธะวะจะเน ติตถันตังปิ นะมามิหัง. | พระสงฆ์ชนะเจ้าลัทธิต่าง ๆ เป็นครูผู้มีปัญญาในพระศาสนาแท้ เป็นเจ้าท่าในพระพุทธวจนะ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น แม้ผู้เป็นดุจท่า. |
๔ | ปัน. | ปะสัฏโฐ ธัมมะคัมภีโร ปัญญะวา จะ อะวังกะโค ปัสสันโต อัตถะธัมมัญจะ ปะสัฏฐังปิ นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใดทรงธรรมอันลึก น่าสรรเสริญ ฉลาดและซื่อตรง เห็นอรรถ เห็นธรรม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้น่าสรรเสริญแท้. |
๕ | โน. | โน เจติ กุสะลัง กัมมัง โน จะ ปาปัง อะการะยิ โนนะตัง พุชฌะตัง ธัมมัง โนทิสันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ไม่สร้างกุศลธรรม ทั้งไม่บาปด้วย (คือละทั้งบุญทั้งบาป) รู้ธรรมอันไม่ทราม ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ไม่เป็นศัตรูกับใคร. |
๖ | ภะ. | ภัคคะราโต ภัคคะโทโส ภัคคะโมโห จะ ปาณินัง ภัญชะโก สัพพะเกลสานัง ภะคะวันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด เป็นผู้หักราคะ หักโทสะ หักโมหะแล้ว และช่วยหักกิเลสทั้งปวง ของสัตว์ทั้งหลายด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ซึ่งเป็นผู้มีโชค. |
๗ | คะ. | คัจฉันโต โลกิยัง ธัมมัง คัจฉันโต โลกุตตะรัมปิจะ คะโตเยวะ กิเลเสหิ คะมิตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ได้บรรลุทั้งโลกิยธรรม ทั้งโลกุตตรธรรม เป็นผู้ไปเสียจากเครื่องเศร้าหมอง ทั้งหลายเทียว ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ไป (เสียจากเครื่องเศร้าหมอง) แล้ว. |
๘ | วะ. | วัณเณติ กุสะลัง ธัมมัง วัณเณติ สีละสัมปะทัง วัณเณติ สีละรักขิตัง วัณณิตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด สรรเสริญกุศลธรรม สรรเสริญความถึงพร้อมแห่งศีล สรรเสริญผู้รักษาศีล ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้สรรเสริญธรรมอันควรสรรเสริญ. |
๙ | โต. | โตเสนโต เทวะมานุสเส โตเสนโต ธัมมะมะเทสะยิ โตเสติ ทุฏฐะจิตเตปิ โตเสนตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด ยังเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายให้ยินดี (ในธรรม) แสดงธรรมให้พอใจ (คนฟัง) ยังคนที่แม้เป็นคนคิดร้าย ให้กลายกลับเป็นยินดีพอใจ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้ปลุกปลอบใจคน. |
๑๐ | สา. | สาสะนัง สัมปะฏิจฉันโน สาสันโต สิวะคามินัง สาสะนะมะนุสาสันโต สาสันตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด รับเอาพระศาสนาไว้ แนะนำทางไปนิพพาน พร่ำสอนพระศาสนาอยู่เสมอ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้แนะนำสั่งสอน. |
๑๑ | วะ. | วันตะราคัง วันตะโทสัง วันตะโมหัง สุทิฏฐิกัง วันตัญจะ สัพพะปาปานิ วันตะเกลสัง นะมามิหัง. | ข้าฯ ขอนอบน้อมพระสงฆ์ ผู้มีความเห็นชอบ คายราคะ คายโทสะ คายโมหะ คายกิเลส. |
๑๒ | กะ. | กะโรนโต สีละสะมาธิง กะโรนโต สาระมัตตะโน กะโรนโต กัมมะฐานานิ กะโรนตันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใด บำเพ็ญศีล สมาธิ (ปัญญา) สร้างสาระของตนขึ้น ทำพระกรรมฐานต่าง ๆ ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้เป็นนักทำ. |
๑๓ | สัง. | สังสาเร สังสะรันตานัง สังสาระโต วิมุจจิ โส สังสาระทุกขา โมเจสิ สังสุทธันตัง นะมามิหัง. | เมื่อสัตว์ทั้งหลายมัวท่องอยู่ในสงสาร พระสงฆ์ท่านหลุดพ้นจากสงสารไปแล้ว ยังช่วยสัตว์ทั้งหลาย ให้พ้นจากทุกข์ในสงสารด้วย ข้าฯ ขอนอบน้อม พระสงฆ์นั้น ผู้บริสุทธิ์พร้อม. |
๑๔ | โฆ. | โฆระทุกขักขะยัง กัตวา โฆสาเปติ สุรัง นะรัง โฆสะยิ ปิฏะกัตตะยัง โฆสะกันตัง นะมามิหัง. | พระสงฆ์ใดทำความสิ้นทุกข์ อันเป็นสิ่งพึงกลัว (แก่เทวดามนุษย์) แล้ว ยังเทวดามนุษย์ให้ช่วยกันโฆษณาประกาศพระไตรปิฏก ข้าฯ ขอนอบน้อมพระสงฆ์นั้น ผู้เป็นนักโฆษณา. |
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |