Baan Jompra

ชื่อกระทู้: การสอนธรรมะของครูบาอาจารย์ [สั่งพิมพ์]

โดย: kit007    เวลา: 2014-4-10 10:18
ชื่อกระทู้: การสอนธรรมะของครูบาอาจารย์
การสอนธรรมะของครูบาอาจารย์



ท่านทั้งหลายได้นับถือพระพุทธศาสนามาเป็นเวลานานเคยได้ยินได้ฟังเรื่องเกี่ยวกับธรรมในพระพุทธศาสนามาจากครูบาอาจารย์มาก็มากซึ่งบางท่านก็สอนอย่างพิสดารกว้างเกินไปจนไม่ทราบว่าจะกำหนดเอาไปปฏิบัติได้อย่างไรบางท่านก็สอนลัดเกินไปจนผู้ฟังยากที่จะเข้าใจเพราะว่ากันตามตำราบางท่านก็สอนพอปานกลางไม่กว้างและไม่ลัดเหมาะที่จะนำไปปฏิบัติจนตัวเองได้รับประโยชน์จากธรรมนั้นๆพอสมควร
อาตมาจึงใคร่อยากจะเสนอข้อคิดและการปฏิบัติซึ่งเคยดำเนินมาและได้แนะนำศิษย์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำให้ท่านทั้งหลายได้ทราบบางทีอาจจะเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจอยู่บ้างก็เป็นได้
ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธธรรมนั้นเบื้องต้นจะต้องทำตนให้เป็นคนมีความซื่อสัตย์สุจริตอยู่เป็นประจำและเข้าใจความหมายของคำว่าพุทธธรรมต่อไปว่า
ก. พุทธะ หมายถึงท่านผู้รู้ตามเป็นจริงจนมีความสะอาดสงบ สว่างในใจ
ข. ธรรม หมายถึงตัวความสะอาดสงบ สว่าง ได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญาดังนั้นผู้ที่เข้าถึงพุทธธรรมก็คือ คนเข้าถึงศีลสมาธิปัญญา นี่เอง


การเดินทางเข้าถึงพุทธธรรม

ตามธรรมดาการที่บุคคลจะไปถึงบ้านถึงเรือนได้นั้นมิใช่บุคคลที่มัวนอนคิดเอาเขาเองจะต้องลงมือเดินทางด้วยตนเองและเดินทางให้ถูกทางด้วยจึงจะมีความสะดวกและถึงที่หมายได้หากเดินผิดทางเขาจะได้รับอุปสรรคเช่น พบขวากหนามเป็นต้นและยังไกลที่หมายออกไปทุกทีหรือบางทีอาจจะได้รับอันตรายระหว่างทางไม่มีวันที่จะเข้าถึงบ้านได้เมื่อเดินไปถึงบ้านแล้วจะต้องขึ้นอยู่อาศัยพักผ่อนหลับนอนเป็นที่สบายทั้งกายและใจจึงจะเรียกว่าคนถึงบ้านได้โดยสมบูรณ์
ถ้าหากเป็นแต่เพียงเดินเฉียดบ้านหรือผ่านบ้านไปเฉยๆคนเดินทางผู้นั้นจะไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลยจากการเดินทางของเขาข้อนี้ฉันใดการเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมก็เหมือนกันทุกๆคนจะต้องออกเดินทางด้วยตนเองไม่มีการเดินแทนกันและต้องเดินไปตามทางแห่งศีลสมาธิ ปัญญาจนถึงซึ่งที่หมายได้รับความสะอาดสว่าง สงบสว่างนับว่าเป็นประโยชน์เหลือหลายแก่ผู้เดินทางเองแต่ถ้าหากผู้ใดมัวแต่อ่านตำรากางแผนที่ออกดูอยู่ตั้งร้อยปีร้อยชาติผู้นั้นไม่สามารถไปถึงที่หมายได้เลยเขาจะเสียเวลาไปเปล่าๆปล่อยประโยชน์ที่ตนจะได้รับให้ผ่านเลยไปครูบาอาจารย์เป็นผู้บอกให้เท่านั้นเราทั้งหลายได้ฟังแล้วจะเดินหรือไม่เดินและจะได้รับผลมากน้อยเพียงใดนั้นมันเป็นเรื่องเฉพาะตน


อย่ามัวอ่านสรรพคุณยาจนลืมกินยา

อีกอย่างหนึ่งเปรียบเหมือนหมอยายื่นขวดยาให้คนไข้ข้างนอกขวดเขาเขียนบอกสรรพคุณของยาไว้ว่าแก้โรคชนิดนั้นๆส่วนตัวยาแก้โรคนั้นอยู่ข้างในขวดที่คนไข้มัวอ่านสรรพคุณของยาที่ติดไว้ข้างนอกขวดอ่านไปตั้งร้อยครั้งพันครั้งคนไข้ผู้นั้นจะต้องตายเปล่าโดยไม่ได้รับประโยชน์จากตัวยานั้นเลยและเขาจะมาร้องตีโพยตีพายว่าหมอไม่ดียาไม่มีสรรพคุณแก้โรคอะไรไม่ได้เขาจึงเห็นว่ายาที่หมอให้ไว้ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งๆที่ตัวเองไม่เคยเปิดจุกขวดรินยาออกกินเลยเพราะมัวแต่ไปติดใจอ่านฉลากยาซึ่งติดอยู่ข้างขวดเสียจนเพลินแต่ถ้าหากเขาเชื่อหมอจะอ่านฉลากครั้งเดียวหรือไม่อ่านก็ได้แต่ลงมือกินยาตามคำสั่งของหมอถ้าคนไข้เป็นน้อยเขาก็หายจากโรคแต่ถ้าหากเป็นมากอาการของโรคก็จะทุเลาลงและถ้าหากกินบ่อยๆโรคก็จะหายไปเองที่ต้องกินยามากและบ่อยครั้งก็เพราะโรคเรามันมากเรื่องนี้เป็นธรรมดาเหลือเกินดังนั้นท่านผู้อ่านจงใช้สติปัญญาพิจารณาให้ละเอียดจริงๆจึงจะเข้าใจดี


สรีรโอสถและธรรมโอสถ

พวกแพทย์พวกหมอเขาปรุงยาปราบโรคทางกายจะเรียกว่าสรีรโอสถก็ได้ ส่วนธรรมของพระพุทธเจ้านั้นใช้ปราบโรคทางใจเรียกว่า ธรรมโอสถดังนั้นพระพุทธองค์จึงเป็นแพทย์ผู้ปราบโรคทางใจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกโรคทางใจเป็นได้ไวและเป็นได้ทุกคนไม่เว้นเลยเมื่อท่านรู้ว่าท่านเป็นไข้ใจจะไม่ใช้ธรรมโอสถรักษาบ้างดอกหรือ



โดย: kit007    เวลา: 2014-4-10 10:19
เข้าถึงพุทธธรรมด้วยใจ

พิจารณาดูเถิดการเดินทางเข้าถึงพุทธธรรมมิใช่เดินด้วยกายแต่ต้องเดินด้วยใจจึงจะเข้าถึงได้ได้แบ่งผู้เดินทางออกเป็น๓ ชั้น คือ
ก. ชั้นต่ำ ได้แก่ผู้รู้จักปฏิญาณตนเองเอาพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์เป็นที่พึ่งอาศัยตั้งใจปฏิบัติตามคำสั่งสอนด้วยดีละทิ้งประเพณีที่งมงายและเชื่อมงคลตื่นข่าวจะเชื่ออะไรต้องพิจารณาเหตุผลเสียก่อนคนพวกนี้เรียกว่าสาธุชน
ข. ชั้นกลาง หมายถึงผู้ปฏิบัติจนเชื่อต่อพระรัตนตรัยอย่างแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลายรู้เท่าทันสังขารพยายามสละความยึดมั่นถือมั่นให้น้อยลงมีจิตเข้าถึงธรรมสูงขึ้นเป็นขั้นๆท่านเหล่านี้เรียกว่าพระอริยบุคคลคือ พระโสดาบันพระสกิทาคามีพระอนาคามี
ค. ชั้นสูง ได้แก่ผู้ปฏิบัติจนกายวาจา ใจ เป็นพุทธะเป็นผู้พ้นจากโลกอยู่เหนือโลกหมดความยึดถืออย่างสิ้นเชิงเรียกว่า พระอรหันต์ซึ่งเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด


การทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์

ศีลนั้น คือระเบียบควบคุมรักษากายวาจาใจให้เรียบร้อยว่าโดยประเภทมีทั้งของชาวบ้านและของนักบวชแต่เมื่อกล่าวโดยรวบยอดแล้วมีอย่างเดียวคือ เจตนา ในเมื่อเรามีสติระลึกได้อยู่เสมอเพื่อควบคุมใจให้รู้จักละอายต่อการทำชั่วเสียหายและรู้สึกตัวกลัวผลของความชั่วจะตามมาพยายามรักษาใจให้อยู่ในแนวทางแห่งการปฏิบัติที่ถูกที่ควรเป็นศีลอย่างดีอยู่แล้วตามธรรมดา เมื่อเราใช้เสื้อผ้าที่สกปรกและตัวเองก็สกปรกย่อมทำให้จิตใจอึดอัดไม่สบายแต่ถ้าหากเรารู้จักรักษาความสะอาดทั้งร่างกายและเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มย่อมทำให้จิตใจผ่องใสเบิกบานดังนั้นเมื่อศีลไม่บริสุทธิ์เพราะกายวาจาสกปรกก็เป็นผลให้จิตใจเศร้าหมองขัดต่อการปฏิบัติธรรมและเป็นเครื่องกั้นใจมิให้บรรลุถึงจุดหมายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจิตใจที่ได้รับการฝึกมาดีหรือไม่เท่านั้นเพราะใจเป็นผู้สั่งให้พูดให้ทำฉะนั้นเราจึงต้องมีการฝึกจิตใจต่อไป


การฝึกสมาธิ

การฝึกสมาธิก็คือการฝึกจิตของเราให้ตั้งมั่นและมีความสงบเพราะตามปกติจิตนี้เป็นธรรมชาติดิ้นรนกวัดแกว่ง ห้ามได้ยากรักษาได้ยากชอบไหลไปตามอารมณ์ต่ำๆเหมือนน้ำชอบไหลสู่ที่ลุ่มเสมอพวกเกษตรกรเขารู้จักกั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ในการเพาะปลูกต่างๆมนุษย์เรามีความฉลาดรู้จักเก็บรักษาน้ำเช่น กั้นฝายทำทำนบทำชลประทานเหล่านี้ก็ล้วนแต่กั้นน้ำไว้ทำประโยชน์ทั้งนั้นพลังงานไฟฟ้าที่ให้ความสว่างและใช้ทำประโยชน์อื่นๆก็ยังอาศัยน้ำที่คนเรารู้จักกั้นไว้นี่เองไม่ปล่อยให้มันไหลลงที่ลุ่มเสียหมดดังนั้นจิตใจที่มีการกั้นการฝึกที่ดีอยู่ก็ให้ประโยชน์อย่างมหาศาลเช่นกันดังพระพุทธองค์ตรัสว่า"จิตที่ฝึกดีแล้วนำความสุขมาให้การฝึกจิตให้ดีย่อมสำเร็จประโยชน์"ดังนี้เป็นต้น
เราสังเกตดูแต่สัตว์พาหนะเช่น ช้าง ม้าวัว ควาย ก่อนที่เราจะเอามาใช้งานต้องฝึกเสียก่อนเมื่อฝึกดีแล้วเราจึงได้อาศัยแรงงานมันทำประโยชน์นานาประการ


จิตที่ฝึกดีแล้วมีคุณค่ามากมาย

ท่านทั้งหลายก็ทราบแล้วจิตที่ฝึกดีแล้วย่อมมีคุณค่ามากมายกว่ากันหลายเท่าดูแต่พระพุทธองค์และพระอริยสาวกได้เปลี่ยนภาวะจากปุถุชนมาเป็นพระอริยบุคคลจนเป็นที่กราบไหว้ของคนทั่วไปและท่านยังได้ทำประโยชน์อย่างกว้างขวางเหลือประมาณที่เราๆจะกำหนดก็เพราะพระองค์และสาวกได้ผ่านการฝึกจิตมาด้วยดีแล้วทั้งนั้น
จิตที่เราฝึกดีแล้วย่อมเป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพทุกอย่างยังเป็นทางให้รู้จักทำงานด้วยความรอบคอบไม่เป็นคนหุนหันพลันแล่นทำให้ตนเองมีเหตุผลและได้รับความสุขตามสมควรแก่ฐานะ


โดย: kit007    เวลา: 2014-4-10 10:20
การฝึกอานาปานสติภาวนา

การฝึกจิตมีอยู่หลายวิธีด้วยกันแต่วิธีที่เห็นว่ามีประโยชน์และเหมาะสมที่สุดใช้ได้กับบุคคลทั่วไปวิธีนั้นเรียกว่าอานาปานสติ-ภาวนาคือ มีสติจับอยู่ที่ลมหายใจเข้าและหายใจออกที่สำนักนี้ให้กำหนดลมที่ปลายจมูกโดยภาวนาว่าพุทโธในเวลาเดินจงกรมและนั่งสมาธิก็ภาวนาบทนี้จะใช้บทอื่นหรือจะกำหนดเพียงการเข้าออกของลมก็ได้แล้วแต่สะดวกข้อสำคัญอยู่ที่ว่าพยายามกำหนดลมเข้าออกให้ทันเท่านั้นการเจริญภาวนาบทนี้จะต้องทำติดต่อกันไปเรื่อยๆจึงจะได้ผลไม่ใช่ว่าทำครั้งหนึ่งแล้วหยุดไปตั้งอาทิตย์สองอาทิตย์หรือตั้งเดือนจึงทำอีกอย่างนี้ไม่ได้ผลพระพุทธองค์ตรัสสอนว่าภาวิตา พหุลีกตาอบรมกระทำให้มากคือทำบ่อยๆติดต่อกันไป


ใช้สติกำหนดลมหายใจเพียงอย่างเดียว

การฝึกจิตใหม่ๆเพื่อให้ได้ผลควรเลือกหาที่สงบไม่มีคนพลุกพล่านเช่น ในสวนหลังบ้านหรือต้นไม้ที่มีร่มเงาดีๆแต่ถ้าเป็นนักบวชควรแสวงหาเรือนว่าง(กระท่อม) โคนไม้ป่า ป่าช้า ถ้ำตามภูเขา เป็นที่บำเพ็ญเหมาะที่สุดเราจะอยู่ที่ใดก็ตามใช้สติกำหนดลมหายใจอย่างเดียวแม้จิตใจจะคิดไปเรื่องอื่นก็พยายามดึงกลับมาทิ้งเรื่องอื่นๆทั้งหมดโดยไม่พยายามคิดถึงมันรู้ให้ทันกับความคิดนั้นๆเมื่อทำเข้าบ่อยๆจิตจะสงบลงเรื่อยๆเมื่อจิตสงบตั้งมั่นแล้วถอยจิตนั้นมาพิจารณาร่างกายร่างกายคือขันธ์๕ ได้แก่ รูปเวทนาสัญญาสังขาร วิญญาณให้เห็นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ หาตัวตนไม่ได้มีแต่ธรรมชาติไหลไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้นสิ่งทั้งปวงตกอยู่ในลักษณะที่เป็นอนิจจังทุกขัง อนัตตาทั้งนั้น ความยึดมั่นต่างๆจะน้อยลงๆเพราะเรารู้เท่าทันมันเรียกว่าเกิดปัญญาขึ้น


ปัญญาเกิดเมื่อจิตดีแล้ว

เมื่อเราใช้จิตที่ฝึกดีแล้วพิจารณารูปนามอยู่อย่างนี้ให้รู้แจ้งแน่ชัดว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตาปัญญารู้เท่าทันสภาพความเป็นจริงของสังขารที่เกิดเป็นเหตุให้เราไม่ยึดถือหรือหลงใหลเมื่อเราได้อะไรมาก็มีสติไม่ดีใจจนเกินไปเมื่อของสูญหายไปก็ไม่เสียใจจนเกิดทุกขเวทนาเพราะรู้เท่าทันเมื่อประสบความเจ็บไข้หรือได้รับทุกข์อื่นๆก็มีการยับยั้งใจเพราะอาศัยจิตที่ฝึกมาดีแล้วเรียกว่ามีที่พึ่งทางใจเป็นอย่างดีสิ่งเหล่านี้เรียกได้ว่าเกิดปัญญารู้ทันตามความเป็นจริงที่จะเกิดปัญญาเพราะมีสมาธิสมาธิจะเกิดเพราะมีศีลมันเกี่ยวโยงกันอยู่อย่างนี้ไม่อาจแยกออกจากกันไปได้


ลมหายใจกับศีลสมาธิ ปัญญา

สรุปได้ความดังนี้อาการบังคับตัวเองให้กำหนดลมหายใจข้อนี้เป็นศีลการกำหนดลมหายใจได้และติดต่อกันไปจนจิตสงบข้อนี้เรียกว่าสมาธิการพิจารณากำหนดรู้ลมหายใจว่าไม่เที่ยงทนได้ยากมิใช่ตัวตนแล้วรู้การปล่อยวางข้อนี้เรียกว่าปัญญา การทำอานาปานสติภาวนาจึงกล่าวได้ว่าเป็นการบำเพ็ญทั้งศีลสมาธิ ปัญญาไปพร้อมกันและเมื่อทำศีลสมาธิ ปัญญาให้ครบ ก็ชื่อว่าได้เดินทางตามมรรคมีองค์แปดที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นทางสายเอกประเสริฐกว่าทางทั้งหมดเพราะจะเป็นการเดินทางเข้าถึงพระนิพพานเมื่อเราทำตามที่กล่าวมานี้ชื่อว่าเป็นการเข้าถึงพุทธธรรมอย่างถูกต้องที่สุด


โดย: kit007    เวลา: 2014-4-10 10:21
ผลจากการปฏิบัติสมาธิภาวนา

เมื่อเราปฏิบัติตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้นย่อมมีผลปรากฏตามระดับจิตของผู้ปฏิบัตินั้นๆซึ่งแบ่งเป็น๓ พวก ดังต่อไปนี้

ก. สำหรับสามัญชนผู้ปฏิบัติตามย่อมทำให้เกิดความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยถือเอาเป็นที่พึ่งได้ทั้งเชื่อตามผลกรรมว่าทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่วจะทำให้ผู้นั้นมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้นเปรียบเหมือนได้กินขนมที่มีรสหวาน

ข. สำหรับพระอริยบุคคลชั้นต่ำย่อมมีความเชื่อในคุณพระรัตนตรัยแน่นแฟ้นไม่เสื่อมคลายเป็นผู้มีจิตใจผ่องใสดิ่งสู่นิพพานเปรียบเหมือนคนได้กินของหวานซึ่งมีทั้งรสหวานและมัน



ค. สำหรับท่านผู้ได้บรรลุอรหัตตผลย่อมมีความหลุดพ้นจากห้วงทุกข์ทั้งปวงเพราะเป็นพุทธะแล้วพ้นจากโลก อยู่จบพรหมจรรย์เปรียบเหมือนได้กินของหวานที่มีทั้งรสหวานมัน และหอม


จงรีบสร้างบารมีด้วยการทำดี

เราท่านทั้งหลายได้มีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาเป็นการยากแท้ที่สัตว์ทั้งหลายล้านตัวไม่มีโอกาสอย่างเราจงอย่าประมาทรีบสร้างบารมีให้แก่ตนด้วยการทำดีทั้งชั้นต้นชั้นกลาง และชั้นสูงอย่าปล่อยให้เวลาเสียไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์เลย
ฉะนั้น ควรจะทำตนให้เข้าถึงพุทธธรรมเสียแต่วันนี้ขอฝาก ภาษิตว่า"เที่ยวทางเวิ้งเหิงนานมันสิค่ำเมานำต่าบักหว้ามันสิช้าค่ำทาง"

ที่มา http://www.ubu.ac.th/wat/ebooks/ ... an_Exhortation.html


โดย: oustayutt    เวลา: 2014-4-11 00:05
ครับหลวง จงรีปสร้างบารมีด้วยการทำดี
โดย: Pee    เวลา: 2014-4-11 01:54
ขอบคุณ ที่บอกกล่าวสิ่งดีๆ




ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2