พระมานุษิโพธิสัตว์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่อยู่ในสภาพมนุษย์ทั่วไป ยังต้องฝึกอบรมตนเอง และทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้คนไปพร้อม ๆ กัน เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชน พระมานุษิโพธิสัตว์มี 2 ประเภท คือ 1.อนิยตมานุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้บำเพ็ญบารมียังไม่ถึงภูมิ 10 มีมุทิตาเป็นเบื้องต้น 2.นิยตมานุษิโพธิสัตว์ คือ ผู้บำเพ็ญบารมีถึงขั้นภูมิ 10 แล้ว พระมานุษิโพธิสัตว์ หลังจากได้บำเพ็ญบารมี 10 ประการข้างต้นโดยสมบูรณ์แล้ว สภาวะแห่งจิตของพระโพธิสัตว์ก็จะเจริญเข้าสู่ทศภูมิหรือภูมิ 10 ข้อ ของพระโพธิสัตว์ ได้แก่ ภูมิที่ 1. มุทิตาภูมิ คือ พระโพธิสัตว์ยินดีในความไร้ทุกข์ของสัตว์ (ทานบารมี) ภูมิที่ 2. วิมลาภูมิ คือ พระโพธิสัตว์ละมิจฉาจริยาได้เด็ดขาด ปฏิบัติแต่ในสัมมาจริยา (ศีลบารมี) ภูมิที่ 3. ประภาการีภูมิ คือ พระโพธิสัตว์ทำลายอวิชชาได้เด็ดขาด มีความอดทนทุกประการ (ขันติบารมี) ภูมิที่ 4. อรรถจีสมดีภูมิ คือ พระโพธิสัตว์มีความเพียรในการบำเพ็ญธรรม (วิริยะบารมี) ภูมิที่ 5. ทุรชยาภูมิ คือ พระโพธิสัตว์ละสภาวะสาวกญาณกับปัจเจกโพธิญาณ ซึ่งเป็นธรรมเครื่องปิดกั้นพุทธภูมิ (ญาณบารมี) ภูมิที่ 6. อภิมุขีภูมิ คือ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญยิ่งในปัญญาบารมี เพื่อรู้แจ้งเห็นชัดในปฏิจจสมุปบาท (ปัญญาบารมี) ภูมิที่ 7. ทูรังคมาภูมิ คือ พระโพธิสัตว์มีอุบายอันฉลาดแม้บำเพ็ญกุศลน้อย แต่ได้ผลแก่สรรพสัตว์มาก (อุบายบารมี) ภูมิที่ 8. อจลาภูมิ คือ พระโพธิสัตว์บำเพ็ญหนักในปณิธานบารมี ภูมิที่ 9. สาธุบดีภูมิ คือ พระโพธิสัตว์แตกฉานในอภิญญาและปฏิสัมภิทาญาณ (พลบารมี) ภูมิที่ 10. ธรรมเมฆภูมิ คือ พระโพธิสัตว์ไม่ติดในรูปธรรม นามธรรม (ญาณบารมี) อาจกล่าวได้ว่าทศภูมิจะสูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง บ้างก็เรียกพระโพธิสัตว์ระดับนี้ว่า.. "พระมหาสัตว์" หรือ "พระมหาโพธิสัตว์" ซึ่งเหนือกว่าสัตว์ทั้งปวง มีพระญาณบารมีสูงส่ง พรั่งพร้อมไปด้วยบุญญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์เป็นเอนกอนันต์ |
ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) | Powered by Discuz! X3.2 |