Baan Jompra

ชื่อกระทู้: วันสงกรานต์ 2557 ประวัติวันสงกรานต์ [สั่งพิมพ์]

โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 13:43
ชื่อกระทู้: วันสงกรานต์ 2557 ประวัติวันสงกรานต์
วันสงกรานต์ 2557 ประวัติวันสงกรานต์



วันสงกรานต์





วันสงกรานต์



ที่มา http://hilight.kapook.com/view/21047




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 13:45
ประวัติวันสงกรานต์   


          สำหรับคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตว่า "สํ-กรานต" ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือการย้ายที่ เคลื่อนที่ โดยหมายความอีกนัยนึงว่า เป็นการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่นั่นเอง ส่วนเทศกาลสงกรานต์นั้น เป็นประเพณีเก่าแก่ของคนไทยสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณคู่กันมากับประเพณีตรุษจีน จึงมีการเรียกรวมกันว่า "ประเพณีตรุษสงกรานต์" ซึ่งหมายถึง ประเพณีส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ นั่นเอง



          ทั้งนี้ วันหยุดสงกรานต์ เป็นวันหยุดราชการ แบ่งออกเป็น 3 วัน ได้แก่ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์, วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า วันเนา, วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า วันเถลิงศก ส่วนกิจกรรมหลัก ๆ ที่ทำในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ก็จะเป็นการทำความสะอาดบ้านเรือน การร่วมกันทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำของพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำคลายร้อนกัน เป็นต้น




วันสงกรานต์




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 13:45
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับวันสงกรานต์   


          ในสมัยโบราณ คนไทยถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งตกราว ๆ เดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าเป็นช่วงฤดูหนาว ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ให้เป็นวันที่ 1 เมษายน แต่เมื่อในยุคสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ปี พ.ศ. 2483 ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นสากล คือวันที่ 1 มกราคม แต่กระนั้น คนไทยส่วนมากก็คุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงกำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฏิทิน เกรกอรี่


          นอกจากประเทศไทยได้ถือเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่แล้ว รู้หรือไม่ว่า ประเทศมอญ พม่า ลาว  ก็นำเอาวันดังกล่าว เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน



วันสงกรานต์



          สำหรับภาษาและความเชื่อของวันสงกรานต์ในแต่ละภาคก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ดังนี้ ...


ประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง


          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" และเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ


          วันที่ 14 เมษายนเรียกว่า "วันเนา" ซึ่งในสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ประกาศให้เป็นวันครอบครัว


          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันเถลิงศก" คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่



ประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ


          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันสังขารล่อง" ซึ่งมีความหมายว่า อายุสิ้นไปอีกปี


          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันเน่า" เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่เจริญ



วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันพญาวัน" คือวันเปลี่ยนศกใหม่

ประเพณีสงกรานต์ภาคใต้
   

          วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันเจ้าเมืองเก่า"  หรือ "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์


          วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันว่าง" คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่าง ๆ แล้วไปทำบุญที่วัด


          วันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันรับเจ้าเมืองใหม่" คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไปประจำเมืองอื่น


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 13:46
คำว่า "ดำหัว" ปกติแปลว่า "สระผม" แต่ประเพณีสงกรานต์ล้านนา หมายถึง การแสดงความเคารพ และขออโหสิกรรมที่ตนอาจจะเคยล่วงเกิน รวมทั้งขอพรจากผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส ครูบาอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา ส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยนำไปไหว้ และผู้ใหญ่ก็จะจุ่มเอาน้ำแปะบนศีรษะก็เป็นอันเสร็จพิธี



วันสงกรานต์



วันสงกรานต์





โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 14:01
คุณค่าต่อครอบครัว

           พ่อแม่ลูก ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ จะเป็นช่วงที่ลูกหลานกลับบ้านต่างจังหวัด และถือโอกาสได้พบปะกับครอบครัว  หลังจากที่ไม่ได้เจอกันมานาน ทำให้บางครอบครัว ใช้โอกาสนี้ ไปทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งการไปวัดทำบุญ เล่นน้ำสงกรานต์ หรือออกไปนอกบ้านเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน รวม ทั้งการจัดเตรียม เครื่องแต่งกายในการทำบุญให้แก่กันและกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ย่อมสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับทุกคนในครอบครัว และสานสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก ให้เเน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น

          วันสงกรานต์ ยังเป็นวันเด็ก ๆ หรือผู้มีอาวุโสน้อย ตำแหน่งหน้าที่การงานที่น้อยกว่าถือโอกาสในช่วงนี้ เดินสายรดน้ำขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ที่ตนนับถือ ทั้งที่เป็นเจ้านาย หรือผู้สูงอายุ เพื่อขอพร และเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลในช่วงเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ไทย รวมทั้งเป็นการขอขมาผู้ใหญ่ หากในรอบปีที่ผ่านมา ได้สร้างความขุ่นเคืองอันใดให้แก่ท่าน

คุณค่าต่อส่วนรวมหรือสาธารณะ

           ในวันสงกรานต์นี้ จะเป็นวันที่สร้างความเอื้ออาทรต่อสังคมเป็นอย่างมาก เพราะหลาย ๆ บ้าน ถือโอกาสนี้ทำความสะอาดบ้านเรือน และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้สะอาดหมดจด  รวมทั้งทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นถนนหน้าบ้าน หรือฟุตบาทหน้าบ้าน และบางครอบครัว ยังใช้โอกาสนี้ ในการบริจาควัตถุหรือปัจจัยต่าง ๆ ให้แก่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยซ่อมแซมโรงเรียน หรือซื้อเก้าอี้ในสวนสาธารณะ ตามโครงการต่าง ๆ ที่ภาครัฐจัดขึ้นด้วย

           นอกจากนี้ ในช่วงสงกรานต์นี้ ยังเป็นช่วงเวลาที่พุทธศาสนิกชนทุกคน จะได้เข้าวัด ทำบุญ ตักบาตร ขนทรายเข้าวัด เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม อุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ และทำความสะอาดวัดและลานวัด รวมทั้งทำนุบำรุง จัดหาปัจจัยต่าง ๆ มาช่วยเหลือทำนุบำรุงวัด ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ ถือเป็นงานใหญ่ ที่ทุกคนจะได้ร่วมมือกัน ช่วยเหลือ ทำนุบำรุงศาสนา และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ต่อไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 14:01
ความหมายของวันสงกรานต์

          คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤต ที่หมายถึง การเคลื่อนย้ายของดวงอาทิตย์จากราศีหนึ่งเข้าไปอีกราศีหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์เช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในทุก ๆ เดือน แต่ในช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีน เพื่อเข้าสู่ราศีเมษนั้น จะมีชื่อเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่า "มหาสงกรานต์" เนื่องจากเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามคติพราหมณ์ แต่เราจะเรียกกันเพียงสั้น ๆ ว่า "สงกรานต์"เท่านั้น และเมื่อนับทางสุริยคติ "วันสงกรานต์" จะอยู่ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายนของทุก ๆ ปี


วันสงกรานต์ ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์

          วันมหาสงกรานต์ หมายถึง การก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหม่ หรือที่เรียกว่า "ปีใหม่" และได้มีการกำหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปี เป็น "วันมหาสงกรานต์"

          วันเนา หมายถึง วันที่ดวงอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีเมษ ซึ่งถือว่าเป็นการตั้งต้นปีใหม่ หรือ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ได้เข้าประจำที่แล้ว โดยมีการกำหนดให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปี เป็น "วันเนา"

          วันเถลิงศก หมายถึง วันขึ้นศก ซึ่งเป็นวันที่มีการเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ โดยวันขึ้นศกใหม่นั้น ได้กำหนดให้เป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่าการก้าวขึ้นต้นปีนั้นเรียบร้อยดีไม่มีปัญหา

          แต่อย่างไรก็ดี หากดูตามประกาศวันสงกรานต์ และตามการคำนวณตามหลักโหราศาสตร์จริง ๆ ก็จะมีการคลาดเคลื่อนไม่ตรงกันบ้าง เช่น วันมหาสงกรานต์ อาจจะเป็นวันที่ 14 เมษายน แทนที่จะเป็นวันที่ 13 เมษายน ก็เป็นได้ ดังนั้น เพื่อให้จดจำได้ง่าย จึงกำหนดเรียกตามที่กล่าวมาในข้างต้น


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 14:03


ประเพณีสงกรานต์ภาคเหนือ

         เริ่มต้นด้วยกิจกรรมวันสงกรานต์ล้านนาในภาคเหนือ ที่เรียกว่า "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" กันเลยจ้า  ในวันที่ 13 เมษายน "วันสังขานต์ล่อง" วันนี้ถือเป็นวันสิ้นสุดศักราชเก่าของชาวภาคเหนือ ซึ่งจะมีการจุดประทัดในช่วงเช้า เพราะมีความเชื่อแต่โบราณว่า เป็นการขับไล่สิ่งเลวร้ายในปีก่อนให้พ้นไป และในช่วงเย็นจะมีงานบุญขนาดใหญ่ นั่นคือการแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองด้วย ในช่วงนี้จะมีทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ มารวมตัวกันอย่างหนาแน่น แต่ก็ได้ทั้งบุญและความสนุกสนานกันเลยทีเดียว จากนั้นในวันที่  14 เมษายน  ที่เรียกกันว่า "วันเนา"  หรือ "วันเน่า" จะเป็นวันที่ห้ามด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่น ไม่เช่นนั้นจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี ส่วนในวันที่ 15 เมษายน "วันพญาวัน" หรือ "วันเถลิงศก" เป็นวันที่ชาวบ้านตื่นตั้งแต่ไก่โห่เพื่อไปทำบุญตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม จากนั้นจะมีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย พอถึงวันที่วันที่ 16 เมษายน "วันปากปี"  ทุกคนก็จะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่าง ๆ และรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่เพื่อขอขมา โดยในวันที่  17 เมษายน  "วันปากเดือน"  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายขอองเทศกาลสงกรานต์ ชาวบ้านจะทำการปัดตัว เพื่อส่งเคราะห์ต่าง ๆ ออกไป เพื่อเป็นการปิดฉากประเพณีสงกรานต์ล้านนา


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 14:03


ประเพณีสงกรานต์ภาคอีสาน

          ต่อมา เรามาดูภาคอีสาน ที่เรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ "ตรุษสงกรานต์" กันบ้างดีกว่า ประเพณีพื้นบ้านของภาคอีสานจะค่อนข้างเรียบง่าย ส่วนใหญ่เน้นการอยู่กับครอบครัว แต่จะมีกิจกรรมตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่นกัน โดยชาวอีสานจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงาน จะมีพระสงฆ์ตีกลองโฮมเพื่อเป็นการเปิดศักราชเข้าสู่ปีใหม่ จากนั้นญาติโยมทั้งหลายจะไปรวมตัวกันที่ศาลาวัดต่าง ๆ เพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมา จากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำและก่อกองทรายภายในวัด หากใครต้องการทำบุญปล่อยนก ปล่อยปลา หรือปล่อยสัตว์อื่น ๆ ก็ทำได้เช่นกัน


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 14:04




ประเพณีสงกรานต์ภาคใต้

          ส่วนประเพณีสงกรานต์ในภาคใต้ ความเป็นมาจะค่อนข้างยาวสักเล็กน้อย เพราะทางภาคใต้จะมีความเชื่อที่แตกต่างจากภาคอื่น ๆ นั่นคือ ความเชื่อแบบดั้งเดิมที่ว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันที่ 13 เมษายน ซึ่งเป็นวันแรกของเทศกาลสงกรานต์เป็น "วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะมีการทำพิธีลอยเคราะห์ลงในแม่น้ำ และอธิษฐานขอให้ประสบโชคดีตลอดปีใหม่ จากนั้นในวันที่ 14 เมษายน หรือ "วันว่าง" ที่มีความเชื่อว่า ในวันนี้ยังไม่มีเทวดาคนใหม่มาคุ้มครองดูแลเมือง ดังนั้นเพื่อป้องกันปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ชาวนครจะหยุดกิจการต่าง ๆ  แล้วหันหน้าไปทำบุญตักบาตรที่วัด สรงน้ำพระพุทธรูป และรดน้ำผู้อาวุโสแทน ต่อมา ในวันที่ 15 เมษายน ที่เรียกว่า "วันรับเจ้าเมืองใหม่" ในวันนี้ บนสวรรค์จะมีเทวดาที่เป็นเจ้าเมืองใหม่ลงประจำการ ดังนั้นชาวเมืองจึงต้องต้อนรับเทวดาเจ้าเมืองคนใหม่ด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดใหม่ เพื่อนำอาหารไปถวายพระที่วัด จากนั้นอาจจะไปรดน้ำผู้อาวุโสท่านที่ยังไม่ได้ไปรดน้ำใน"วันว่าง" เพื่อเป็นการปิดท้ายประเพณีสงกรานต์ของชาวภาคใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 14:04


ประเพณีสงกรานต์ภาคกลาง

          และสุดท้ายคือก็มาถึงประเพณีวันสงกรานต์ในภาคกลางกันบ้าง  วันสงกรานต์ หรือ วันปีใหม่ไทย ของภาคกลาง จะเริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เรามักเรียกวันนี้ว่า "วันมหาสงกรานต์" ส่วนวันที่ 14 เรียกเป็น "วันกลาง" หรือ "วันเนา" และในวันที่ 15 ถือเป็นวัน "วันเถลิงศก"  โดยทั้ง 3 วันนี้ ชาวภาคกลางส่วนใหญ่จะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ มีการสรงน้ำพระ มีการก่อพระเจดีย์ทรายภายในวัด มีการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ และในบางจังหวัดจะมีพิธีแห่นางแมวด้วย นอกจากนี้ยังมีการการทำความสะอาดบ้านเรือนที่อาศัยตลอดจนบริเวณใกล้เคียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บูชาพระและที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษ เพื่อให้สิ่งสกปรกหมดไปพร้อมกับปีเก่า เพื่อเป็นการต้อนรับปีใหม่ไทย ด้วยความบริสุทธิ์ผุดผ่องนั่นเอง


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-29 14:04
สงกรานต์ตามประเพณีที่แตกต่าง

            สงกรานต์ผูกสายสิญจน์เชื่อมโยงพระธาตุสองแผ่นดิน หรือสงกรานต์นครพนม รื่นรมย์ บุญปีใหม่ไทย-ลาว ณ อ.เมือง และ อ.เรณูนคร จ.นครพนม ในงานจะมีการฮดสรง หรือสรงน้ำพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 แห่ง ที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย

            สงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ หรือประเพณีสงกรานต์อุ้มสาวลงน้ำ ณ เกาะสีชัง และเกาะขามใหญ่ จ.ชลบุรี ภายในงานมีกิจกรรมเช่น พิธีทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ พิธีกองข้าวบวงสรวง รดน้ำดำหัว การก่อพระเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน แข่งขันเรือกระทะ เรือชักกะเย่อ มวยตับจาก ปาลูกดอก แข่งขันตะกร้อลอดบ่วง การแสดงดนตรี และประเพณีอุ้มสาวลงน้ำ

            สงกรานต์นางดาน หรือเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช จัดขึ้น ณ สวนศรีธรรมาโศกราช สนามหน้าเมือง หอพระอิศวร สำหรับกิจกรรมภายในเทศกาลสงกรานต์เมืองนครนี้ จะมีมหกรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง กิจกรรมนั่งรถชมเมือง เล่าเรื่องลิกอร์ นั่งสามล้มโบราณชมเมืองเก่า พิธีพุทธาภิเษกน้ำศักดิ์สิทธิ์จาก 6 แหล่ง จตุคามรุ่นสรงน้ำ 50 เป็นต้น





ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2