Baan Jompra

ชื่อกระทู้: ต้นไม้ประจำจังหวัด [สั่งพิมพ์]

โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:41
ชื่อกระทู้: ต้นไม้ประจำจังหวัด
ต้นทุ้งฟ้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่



ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่
ชื่อพันธุ์ไม้ทุ้งฟ้า
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์APOCYNACEAE
ชื่ออื่นกระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร), ตีนเทียน (สงขลา), ทุ้งฟ้า (ภาคใต้), พวงพร้าว (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนสูง 15–25 เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นรอบๆ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกสีขาวอมเทามีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อทีปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม ผลเป็นฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตในสภาพดินลึก ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ ภาคใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:41
ต้นไทรย้อยใบแหลม
ต้นไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร





ต้นไม้ประจำจังหวัดกรุงเทพมหานคร
ชื่อพันธุ์ไม้ไทรย้อยใบแหลม
ชื่อสามัญGolden Fig, Weeping Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus benjamina Linn.
วงศ์MORACEAE
ชื่ออื่นจาเรป (เขมร), ไทร (นครศรีธรรมราช), ไทรกระเบื้อง (ประจวบคีรีขันธ์), ไทรย้อยใบแหลม (ตราด, กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–10 เมตร มีรากอากาศ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบสอบ ดอกขนาดเล็ก มีฐานรองดอก ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ผลเป็นทรงกลม เมื่อสุกสีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดประเทศอินเดีย และมาเลเซีย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:42
ต้นขานาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้ขานาง
ชื่อสามัญMoulmein Lancewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Alstonia macrohpylla Wall
วงศ์Homalium tomentosum Benth.
ชื่ออื่นขานาง (ภาคกลาง,เชียงใหม่,มจันทบุรี), ขางนาง คะนาง (ภาคกลาง), ค่านางโคด (ระยอง), ช้างเผือกหลวง (เชียงใหม่), แซพลู้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปะหง่าง (ราชบุรี), เปลือย (กาญจนบุรี), เปื๋อยคะนาง เปื๋อยนาง (อุตรดิตถ์), เปื๋อยค่างไห้ (ลำปาง), ลิงง้อ (นครราชสีมา)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–30 เมตร เปลือกต้นสีขาวนวล เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่ม ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินที่มีหินปูนปนอยู่มาก น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้น พบมากในจังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:42
ต้นมะหาด
ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์




ต้นไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์
ชื่อพันธุ์ไม้มะหาด
ชื่อสามัญLok Hat
ชื่อวิทยาศาสตร์Artocarpus lakoocha Roxb.
วงศ์URTICACEAE
ชื่ออื่นกาแย ตาแป ตาแปง (มลายู-นราธิวาส), มะหาด (ภาคใต้), มะหาดใบใหญ่ (ตรัง), หาด (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นตั้งตรง ผิวเปลือกนอกขรุขระแตกเป็นรอยสะเก็ดเล็กๆ มียางไหลซึม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบเว้ามน ใบอ่อนมีขน ออกดอกเป็นช่อตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลกลมขนาดใหญ่เปลือกนอกมีผิวขรุขระ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดินทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะวันตกเฉียงใต้ และภาคใต้ของประเทศไทย




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:43
ต้นสีเสียดแก่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร





ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อพันธุ์ไม้สีเสียดแก่น
ชื่อสามัญCatechu Tree, Cutch Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Acacia catechu Willd.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นสะเจ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), สีเสียด (ภาคเหนือ), สีเสียดแก่น (ราชบุรี) สีเสียดเหนือ (ภาคกลาง) สีเสียดแก่นเหนือ สีเสียดเหลือง (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เรือนยอดโปร่ง ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลมโค้งทั่วไป เปลือกสีเทาคล้ำหรืออมน้ำตาลค่อนข้างขรุขระ ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้น รูปไข่แกมขอบขนาน โคนใบเบี้ยวมีขนห่างๆ ออกดอกเป็นช่อยาวคล้ายหางกระรอก ตามง่ามใบ ขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือขาวอมเหลือง ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปบรรทัดแบน ยาว 5–10 ซ.ม. เมล็ดแบนสีน้ำตาลอมเขียว
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ไม่ชอบน้ำขัง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณและป่าโปร่งทางภาคเหนือ ป่าละเมาะบนพื้นที่ราบและแห้งแล้งทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:43
ต้นกัลปพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น





ต้นไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น
ชื่อพันธุ์ไม้กัลปพฤกษ์
ชื่อสามัญPink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia bakeriana Craib
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแดงแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนและช่อดอกมีขนนุ่มสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน รูปหอกแกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งพร้อมใบอ่อน ใบประดับรูปหอก ดอกเริ่มบานสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีขาวตามลำดับ ผลเป็นฝักทรงกระบอก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้ และตามป่าเบญจพรรณทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:44
ต้นจัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้จัน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyros decandra Lour.
วงศ์EBENACEAE
ชื่ออื่นจัน จันอิน จันโอ (ทั่วไป), จันขาว จันลูกหอม (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20 เมตร ยอดอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปรี ดอก แยกเพศ เพศผู้เป็นช่อ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปคนโท สีขาวนวล ดอกเพศเมียเป็นดอกเดี่ยวลักษณะคล้ายกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า ผลเป็นผลสดมีสองลักษณะคือ ทรงกลมแป้นเรียกว่าลูกจัน และทรงกลมเรียกว่าลูกอิน เมื่อสุกสีเหลือง มีกลิ่นหอม และกลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดนิยมปลูกตามบ้านเรือนและบริเวณวัด


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-21 14:44
ต้นนนทรีป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา





ต้นไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา
ชื่อพันธุ์ไม้นนทรีป่า
ชื่อสามัญCopper pod
ชื่อวิทยาศาสตร์Peltophorum dasyrachis Kurz, ex Baker
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกว่าเซก (เขมร-กาญจนบุรี), คางรุ้ง คางฮ่ง (พิษณุโลก), จ๊าขาม ช้าขม (ลาว), ตาเซก (เขมร-บุรีรัมย์), นนทรีป่า (ภาคกลาง), ราง (ส่วย-สุรินทร์), ร้าง อะราง อะล้าง (นครราชสีมา), อินทรี (จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 15–30 เมตร เรือนยอดเป็นรูปพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นสีทองหรือสีเทาอมน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ สีเหลืองสด กลีบดอกมีลักษณะย่น ออกดอกพร้อมกับใบอ่อนช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบนรูปหอก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตามป่าโปร่งภาคเหนือของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:27
ต้นประดู่ป่า
ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี



ต้นไม้ประจำจังหวัดชลบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้ประดู่ป่า
ชื่อสามัญBermese Ebony
ชื่อวิทยาศาสตร์Pterocarpus macrocarpus Kurz
วงศ์PAPILLIONACEAE
ชื่ออื่นจิต๊อก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), ฉะนอง (เชียงใหม่), ดู่ ดู่ป่า (ภาคเหนือ), ตะเลอ เตอะเลอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ประดู่ ประดู่ป่า (ภาคกลาง) ประดู่ ประดู่เสน (ราชบุรี, สระบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 15–25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด เปลือกในมีน้ำเลี้ยงสีแดง เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง แก่นสีน้ำตาลแกมแดง เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบเป็นติ่ง โคนใบมน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว กลีบดอกสีเหลืองอ่อนกลิ่นหอม ผลแผ่เป็นปีกแบนๆ มีขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้าน และมีขนปกคลุมทั่วไป
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบแล้งทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:28
ต้นมะตูม
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท




ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยนาท
ชื่อพันธุ์ไม้มะตูม
ชื่อสามัญBael Fruit Tree, Bengal Quince
ชื่อวิทยาศาสตร์Aegle marmelos (L.) Corr.
วงศ์RUTACEAE
ชื่ออื่นกะทันตาเถร ตุ่มตัง (ลานช้าง), ตูม (ปัตตานี), พะโนงค์ (เขมร), มะตูม (ภาคกลาง,ภาคใต้), มะปิน (ภาคเหนือ), มะปีส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามยาว เปลือกสีเทา เรือนยอดค่อนข้างโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ดอกสีขาวอมเขียวหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นรูปไข่แข็ง เนื้อสีเหลือง มียางเหนียว
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดประเทศอินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย ประเทศไทยพบประปรายตามป่าเบญจพรรณ


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:29
ต้นขี้เหล็กบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ





ต้นไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อพันธุ์ไม้ขี้เหล็กบ้าน
ชื่อสามัญThai Copper Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia siamea Lank.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี), ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ), ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง), ขี้เหล็กบ้าน (ลำปาง), ผักจีลี้ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะขี้เหละพะโดะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ยะหา (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น เปลือกสีเทาอมน้ำตาลแตกตามยาวเป็นร่อง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับกัน ออกดอกเป็นช่อสีเหลืองที่ปลายกิ่ง ฝักแบนสีน้ำตาล
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการน้ำปานกลา
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้นทั่วประเทศ เช่น จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี และชุมพร


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:30
ต้นมะเดื่อชุมพร
ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร





ต้นไม้ประจำจังหวัดชุมพร
ชื่อพันธุ์ไม้มะเดื่อชุมพร
ชื่อสามัญCluster Fig
ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus racemosa Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกูแซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เดื่อเกลื้อง (ภาคกลาง,ภาคเหนือ), เดื่อน้ำ (ภาคใต้), มะเดื่อ (ลำปาง), มะเดื่อชุมพร มะเดื่ออุทุมพร (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดงปกคลุมบางๆ ต่อมาจะหลุดร่วงไป ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปหอก ปลายใบแหลม โคนใบทู่ถึงกลม ออกดอกเป็นกระจุก ดอกขนาดเล็ก ผลรูปไข่กลับ เมื่อสุกสีแดงเข้มถึงม่วง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน และมีอินทรียวัตถุ ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิดประเทศศรีลังกา จีนตอนใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้



โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:30
ต้นกาซะลองคำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย





ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ชื่อพันธุ์ไม้กาซะลองคำ
ชื่อสามัญTree Jasmine
ชื่อวิทยาศาสตร์Radermachera ignea (Kurz) Steenis
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นกากี (สุราษฎร์ธานี), กาซะลองคำ (เชียงราย), แคะเป๊าะ สำเภาหลามต้น (ลำปาง), จางจืด (เชียงใหม่), สะเภา อ้อยช้าง (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 6–20 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปหอก ปลายใบแหลมเป็นติ่ง โคนใบสอบแหลม ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่งและลำต้น สีเหลืองอมส้ม หรือสีส้ม กลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นแฉกสั้นๆ 5 แฉก ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกเมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง และแยกหน่อ
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิดขึ้นตามธรรมชาติบนเทือกเขาหินปูนที่ค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:31
ต้นทองกวาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่





ต้นไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่
ชื่อพันธุ์ไม้ทองกวาว
ชื่อสามัญFlame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Butea monosperma Kuntze.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–15 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบออกสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งก้านและที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลืองถึงแดงแสด ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบน มีเมล็ดที่ปลายฝัก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดที่ราบลุ่มในป่าผลัดใบ ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะที่แห้งแล้ง พบมากทางภาคเหนือ


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:32
ต้นศรีตรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง





ต้นไม้ประจำจังหวัดตรัง
ชื่อพันธุ์ไม้ศรีตรัง
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Jacaranda filicifolia D. Don.
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นแคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม.ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดเป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:32
ต้นหูกวาง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด





ต้นไม้ประจำจังหวัดตราด
ชื่อพันธุ์ไม้หูกวาง
ชื่อสามัญBengal Almond, Indian Almond, Sea Almond
ชื่อวิทยาศาสตร์Terminalia catappa Linn.
วงศ์COMBRETACEAE
ชื่ออื่นโคน (นราธิวาส), ดัดมือ ตัดมือ (ตรัง), ตาปัง (พิษณุโลก, สตูล), ตาแปห์ (มลายู-นราธิวาส), หลุมปัง (สุราษฎร์ธานี), หูกวาง (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 8–25 เมตร เปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นๆ คล้ายฉัตร ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเวียนสลับถี่ตอนปลายกิ่ง ใบรูปไข่ ปลายใบแหลมเป็นติ่งสั้นๆ โคนใบสอบแคบ เว้า ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ ขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ผลเป็นรูปไข่หรือรูปรีป้อมๆ แบนเล็กน้อย เมื่อแห้งสีดำคล้ำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิดป่าชายหาด หรือตามโขดหินริมทะเล


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:33
ต้นแดง
ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก





ต้นไม้ประจำจังหวัดตาก
ชื่อพันธุ์ไม้แดง
ชื่อสามัญIron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Xylia sylocarpa Var. kerrii (Craib & Hutch.) I. Nielsen
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกร้อม (ชาวบน-นครราชศรีมา), ไคว (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), คว้าย (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่, กาญจนบุรี), ไคว เพร่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะลาน จาลาน (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), แดง (ทั่วไป), ตะกร้อม (ชอง-จันทบุรี), ปราน (ส่วย-สุรินทร์) ไปรน์ (ศรีษะเกษ), ผ้าน (ละว้า-เชียงใหม่), เพ้ย (กะเหรี่ยง-ตาก), สะกรอม (เขมร-จันทบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น สูง 15–30 เมตร กิ่งก้านและยอดอ่อนมีขนละเอียดสีเหลือง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ประกอบด้วย 2 ช่อ ใบแตกออกเป็น 2 ง่าม ใบย่อย 4–5 คู่รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน ออกดอกเป็นช่อทรงกลมคล้ายดอกกระถิน ที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผล เป็นฝักรูปไต แบน แข็ง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ ต้องการแสงแดด
ถิ่นกำเนิดเป็นไม้หลักของป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งทั่วๆ ไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:33
ต้นสุพรรณิการ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครนายก
ชื่อพันธุ์ไม้สุพรรณิการ์
ชื่อสามัญYellow Silk Cotton Tree, Yellow Cotton
ชื่อวิทยาศาสตร์Cochlospermum religiosum Alston
วงศ์COCHLOSPERMACEAE
ชื่ออื่นฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือ มี 5 แฉก ปลายใบแฉกแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเป็นคลื่น ออกเวียนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งสีเหลือง ผล เป็นรูปไข่กลับ เมื่อแห้งเมล็ดสีน้ำตาล มีปุยสีขาวคล้ายปุยฝ้ายหุ้มเมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดอเมริกากลาง และอเมริกาใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:34
ต้นจันทน์หอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครปฐม
ชื่อพันธุ์ไม้จันทน์หอม
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Mansonia gagei Drumm.
วงศ์STERCULIACEAE
ชื่ออื่นจันทน์ จันทน์ชะมด (ประจวบคีรีขันธ์), จันทน์ขาว จันทน์พม่า จันทน์หอม (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน หรือแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบเว้าเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเป็นคลื่นห่างๆ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง และตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนตุลาคม ผล เป็นรูปกระสวย มีปีกรูปทรงสามเหลี่ยม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามดินแถบเขาหินปูน
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 200–400 ซ.ม.


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:34
ต้นกันเกรา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครพนม
ชื่อพันธุ์ไม้กันเกรา
ชื่อสามัญAnon, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์Fagraea fragrans Roxb.
วงศ์LOGANIACEAE
ชื่ออื่นกันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี เนื้อใบบางแต่เหนียว ปลายใบแหลมยาว โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจางกว่า ก้านใบยาว มีหูใบระหว่างก้านใบคล้ายรูปถ้วยเล็กๆ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบตอนปลายกิ่ง เมื่อเริ่มบานกลีบดอกสีขาว ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอม ออกดอกระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ผล เป็นผลสดทรงกลม มีติ่งแหลมสั้นติดอยู่ที่ปลาย สีส้มอมเหลือง แล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อผลแก่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินแทบทุกชนิด แสงแดดจัด ชอบขึ้นตามที่ชื้นแฉะ
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ และตามที่ใกล้แหล่งน้ำแทบทุกภาคของไทย




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:35
ต้นสาธร
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา






ต้นไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อพันธุ์ไม้สาธร
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Millettia leucantha Kurz
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 18–19 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3–5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบย่อยรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผล เป็นฝักแบนคล้ายฝักมีด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วน แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นมาก
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณใกล้แหล่งน้ำทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:37
ต้นแซะ
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อพันธุ์ไม้แซะ
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Millettia atropurpurea Benth.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกะแซะ (สุราษฏร์ธานี), ยีนิเก๊ะ (มลายู-นราธิวาส), แซะ (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยออกตรงกันข้าม มีใบย่อยปลายก้านอีก 1 ใบ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบ รูปดอกถั่ว สีแดงแกมม่วงทึบ กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นฝัก สีน้ำตาล กลมรี
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดตามชายป่าดิบชื้นภาคใต้ของไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:37
ต้นเสลา
ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์





ต้นไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อพันธุ์ไม้เสลา
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia loudoni Teijsm. & Binn.
วงศ์LYTHRACEAE
ชื่ออื่นเกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 10–20 เมตร เรือนยอดกลมทึบ กิ่งห้อยลง ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโค้งมน ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีม่วง ม่วงอมชมพูหรือม่วงอมขาว ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มีนาคม ผล มีเมล็ดมีปีกจำนวนมาก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วน แสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าชายหาด ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางลงไปถึงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:38
ต้นนนทรีบ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดนนทบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้นนทรีบ้าน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Peltophorum pterocarpum Back. Ex Heyne
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–15 เมตร เรือนยอดรูปร่ม ช่อดอกและยอดอ่อนมีขนสีน้ำตาลแดง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้นเรียงสลับ ใบย่อยออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผล เป็นฝักแบนรูปหอก โคนและปลายสอบแหลม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดตามป่าทั่วไปและชายหาด


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:38
ตะเคียนชันตาแมว
ต้นไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส





ต้นไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส
ชื่อพันธุ์ไม้ตะเคียนชันนตาแมว
ชื่อสามัญChingal
ชื่อวิทยาศาสตร์Balanocarpus heimii King
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นจีงามาส (มลายู-นราธิวาส), ตะเคียนชัน ตะเคียนชันนตาแมว (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 30–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้มล่อนเป็นสะเก็ด มียางชันสีขาว ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหอกหรือรูปดาบ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ พบมากที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:39
ต้นกำลังเสือโคร่ง
ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน





ต้นไม้ประจำจังหวัดน่าน
ชื่อพันธุ์ไม้กำลังเสือโคร่ง
ชื่อสามัญBirch
ชื่อวิทยาศาสตร์Betula alnoides Buch-Ham.
วงศ์CUPULIFERAE
ชื่ออื่นกำลังพญาเสือโคร่ง, กำลังเสือโคร่ง (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–35 เมตร เปลือกต้นมีกลิ่นคล้ายการบูร เวลาแก่จะลอกออกเป็นชั้นๆ คล้ายกระดาษ ยอดอ่อน ก้านใบ และช่อดอกมีขนสีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุม หูใบเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอก เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ ด้านใต้ของใบมีตุ่ม โคนใบป้านเกือบเป็นเส้นตรง ขอบใบหยักแบบฟันเลื่อยสองชั้นหรือสามชั้น ซี่หยักแหลม ปลายใบเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อยาวแบบหางกระรอกตามง่ามใบ ดอกย่อยไม่มีก้าน ช่อดอกเพศผู้ยาว 5–8 ซ.ม. กลีบรองดอกเป็นรูปโล่หรือเกือบกลม มีแกนอยู่ตรงกลาง ช่อดอกเพศเมียยาว 3–9 ซ.ม. กลีบรอบดอกไม่มีก้านมี 3 หยัก ด้านนอกมีขน รังไข่แบน กรอบนอกเป็นรูปไข่หรือเกือบกลม มีขน ท่อรังไข่ยาวกว่ารังไข่เล็กน้อย ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ผลมีปัก 2 ข้างโปร่งบาง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:39
ต้นกาฬพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์





ต้นไม้ประจำจังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อพันธุ์ไม้กาฬพฤกษ์
ชื่อสามัญPink Shower, Horse Cassia
ชื่อวิทยาศาสตร์Cassia grandis Linn. F.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกัลปพฤกษ์ (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูงประมาณ 20 เมตร โคนมีพูพอน เปลือกสีดำแตกเป็นร่องลึก กิ่งอ่อนหรือช่อดอกมีขนสีน้ำตาล ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อย 10–20 คู่ ใบอ่อนสีแดง แผ่นใบย่อยรูปขอบขนาน หลังใบเป็นมัน ท้องใบมีขน ดอก เมื่อเริ่มบานจะมีสีแดง แล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและสีสันตามลำดับ ออกดอกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ชอบความชื้นน้อย
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:40
ต้นทองหลางลาย
ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี





ต้นไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี
ชื่อพันธุ์ไม้ทองหลางลาย
ชื่อสามัญIndian Coral Tree, Variegated Tiger’s claw
ชื่อวิทยาศาสตร์Erythrina variegata Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นทองบ้าน, ทางเผือก (ภาคเหนือ), ทองหลางด่าง, ทองหลางลาย (กรุงเทพฯ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 5–10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนามเรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30–40 ซ.ม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15–30 ซ.ม.
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และปักชำ
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:41
ต้นเกด
ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์





ต้นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อพันธุ์ไม้เกด
ชื่อสามัญMilkey Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Manilkara hexandra Dubard
วงศ์SAPOTACEAE
ชื่ออื่นครินี ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นและกิ่งก้านมักคดงอ โดยเฉพาะกิ่งมักหักงอเป็นข้อศอก ใบ เป็นใบเดี่ยวออกสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับ ปลายหยักเว้าเล็กน้อย โคนใบสอบ เนื้อใบหนาเกลี้ยง หลังใบสีเขียวแก่เป็นมัน ท้องใบสีขาวหรือนวล ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กรกฎาคม ผล รูปกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองแสด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทราย หรือดินปนหิน ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดเอเชีย ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:41
ต้นโพศรีมหาโพธิ
ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้โพศรีมหาโพธิ
ชื่อสามัญSacred Fig Tree, Pipal Tree, Bo-Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Ficus religiosa Linn.
วงศ์URTICACEAE
ชื่ออื่นปู (เขมร), โพ โพศรีมหาโพธิ (ภาคกลาง), ย่อง (เงี่ยว-แม่ฮ่องสอน), สลี (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 20–30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหัวใจ ออกดอกจำนวนมาก ขนาดเล็ก ออกดอกตลอดทั้งปี ผลเป็นผลสดทรงกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:42
ต้นตะเคียนทอง
ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี






ต้นไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
ชื่อพันธุ์ไม้ตะเคียนทอง
ชื่อสามัญIron Wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Hopea odorata Roxb.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกะกี้ โกกี้ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), แคน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน (ภาคเหนือ), จูเค้ โซเก (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะเคียนทอง ตะเคียนใหญ่ (ภาคกลาง), ไพร (ละว้า-เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ เปลือกหนาสีน้ำตาลดำแตกเป็นสะเก็ด กระพี้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลอมเหลือง ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน ออกดอกขนาดเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อยาวตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ผล รูปไข่ เกลี้ยง ปลายมนเป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ภายในกลีบรองดอกที่ขยายตัวออกเป็นปีก รูปใบพาย
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมอากาศชุ่มชื้น ในช่วงที่ต้นยังไม่โตจะไม่ชอบแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อน


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:43
ต้นหมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา





ต้นไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ชื่อพันธุ์ไม้หมัน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Cordia cochinchinensis Gagnepain
วงศ์BORAGINACEAE
ชื่ออื่นหมัน (ประจวบคีรีขันธ์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–15 เมตร เปลือกต้นสีเทาคล้ำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบทู่ โคนใบกว้าง ดอกสีขาว ผลเมื่อเปลือกสีชมพู มีของเหลวภายในเหนียวมากห่อหุ้มเมล็ด
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินเลน ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นสูง
ถิ่นกำเนิดป่าชายเลนที่ค่อนข้างแข็ง และชายฝั่งทะเลอ่าวไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:43
ต้นสารภี
ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา





ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา
ชื่อพันธุ์ไม้สารภี
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Mammea siamensis T. Anders.
วงศ์GUTTIFERAE
ชื่ออื่นทรพี (จันทบุรี), สร้อยพี (ภาคใต้), สารภี (ทั่วไป), สารภีแนน (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปไข่กลับแกมขอบขนาน เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน แต่เส้นใบย่อยแบบร่างแหเห็นชัดทั้งสองข้าง ออกดอกเป็นกระจุกตามกิ่ง สีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย มีเกสรเพศผู้สีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนซุย ความชื้นพอเหมาะ
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ ในประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:44
ต้นเทพทาโร
ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา





ต้นไม้ประจำจังหวัดพังงา
ชื่อพันธุ์ไม้เทพทาโร
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum porrectum Kosterm.
วงศ์LAURACEAE
ชื่ออื่นจะไคหอม จะไคต้น (ภาคเหนือ), จวงหอม จวง (ภาคใต้), พลูต้นขาว (เชียงใหม่), เทพทาโร (ภาคกลาง, จันทบุรี, สุราษฎร์ธานี), มือแดกะมางิง (มลายู-ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ก้านใบเรียวเล็ก ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง ผลทรงกลม มีขนาดเล็ก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบบนเขาทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:45
ต้นพะยอม
ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง





ต้นไม้ประจำจังหวัดพัทลุง
ชื่อพันธุ์ไม้พะยอม
ชื่อสามัญShorea
ชื่อวิทยาศาสตร์Shorea roxburghii G. Don
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นสูง 15–30 เมตร และมีเนื้อไม้แข็ง สีเหลืองอ่อนแกมสีเขียว ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว แผ่นใบรูปมนรี เรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ท้องใบเป็นเส้นแขนงใบนูนมองเห็นชัด ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ สีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นรูปรี กลีบเลี้ยงเจริญไปเป็นปีกคล้ายผลยาง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก
ถิ่นกำเนิดเป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:45
ต้นบุนนาค
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร





ต้นไม้ประจำจังหวัดพิจิตร
ชื่อพันธุ์ไม้บุนนาค
ชื่อสามัญIron Wood, Indian Rose Chestnut
ชื่อวิทยาศาสตร์Mesua ferrea Linn.
วงศ์OUTTIFERAE
ชื่ออื่นก๊าก่อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ก้ำกอ (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), บุนนาค (ทั่วไป), ปะนาคอ (มลายู-ปัตตานี, สารภีดอย (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 15–25 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา เรือนยอดเป็นพุ่มทึบรูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียว รูปไข่ยาวเรียวแคบ ขอบใบเรียบ ท้องใบสีขาวนวลอมเทาเป็นมันคล้ายใบมะปราง ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกสีขาวนวล กลีบดอกมี 5 กลีบและมีกลิ่นหอม เกสรเพศผู้เป็นฝอยสีเหลืองจำนวนมาก ผลเป็นรูปไข่ เปลือกแข็ง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนปนทราย และดินร่วนที่มีความชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิดเกิดขึ้นตามธรรมชาติตามป่าทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:46
ต้นปีบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก





ต้นไม้ประจำจังหวัดพิษณุโลก
ชื่อพันธุ์ไม้ปีบ
ชื่อสามัญCork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Millingtonia hortensis Linn. F.
วงศ์BIGNONIACEAE
ชื่ออื่นกาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–25 เมตร เปลือกขรุขระสีเทา ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก รูปไข่แกมรูปหอกปลายใบแหลม ขอบใบหยักเว้าหรือหยักกลมๆ เรียบ โคนใบกลม มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ตั้งตรง กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็กๆ ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ ขนาดไม่เท่ากัน เกสรเพศผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่บนกลีบใกล้ปลายที่แยกออก ผลเป็นฝัก เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนปนทราย อากาศชุ่มชื้น
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:46
ต้นหว้า
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้หว้า
ชื่อสามัญJambolan Plum, Java Plum, Black Poum, Black Plum
ชื่อวิทยาศาสตร์Syzygium cumini (Linn.) Skeets
วงศ์MYRTACEAE
ชื่ออื่นห้าขี้แพะ (เชียงราย)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม แผ่นใบรูปรีหรือรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอกสีขาว ออกเป็นช่อตามง่ามใบ เกสรยาวเป็นพู่ ผลเป็นผลสดรูปรี
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อน จากอินเดียถึงมาเลเซีย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:47
ต้นมะขาม
ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์





ต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อพันธุ์ไม้มะขาม
ชื่อสามัญTamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์Tamarindus indica Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นมะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า-แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นคู่ เรียงกันตามก้านใบ ปลายใบและโคนใบมน ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ขนาดเล็ก มีกลีบสีเหลือง ผลมี 2 ชนิด คือ ชนิดฝักกลมเล็กยาวเรียกว่า “มะขามขี้แมว” ชนิดฝักใหญ่แบนเรียกว่า “มะขามกระดาน” เมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ชอบแสงแดด
ถิ่นกำเนิดทวีปเอเชีย และแอฟริกาเขตร้อน


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:47
ต้นยมหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่





ต้นไม้ประจำจังหวัดแพร่
ชื่อพันธุ์ไม้ยมหิน
ชื่อสามัญAlmond-wood, Chickrassy Chittagong-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Chukrasia velutina Roem.
วงศ์MELIACEAE
ชื่ออื่นโค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ช้ากะเดา (ใต้), ยมขาว (เหนือ), ยมหิน มะเฟืองต้น สะเดาช้าง สะเดาหิน (กลาง), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวย เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบเกลี้ยง ออกดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ กลมรีแข็ง สีน้ำตาลอมม่วง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:48
ต้นประดู่บ้าน
ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต





ต้นไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต
ชื่อพันธุ์ไม้ประดู่บ้าน
ชื่อสามัญBurmese Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Pterocarpus indicus Willd.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นดู่บ้าน (ภาคเหนือ), ประดู่บ้าน ประดู่ลาย (ภาคกลาง), สะโน (มลายู-นราธิวาส), ประดู่ไทย (ภาคกลาง), ประดู่กิ่งอ่อน (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 25 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้มหรือดำคล้ำ มีสะเก็ดแตกเป็นร่องตื้นๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย แผ่นใบรูปรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผล เป็นรูปโล่ มีครีบเป็นแผ่นกลม ตรงกลางนูน
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมกลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดมาเลเซีย แถบทะเลอันดามัน มัทราช และอ่าวเบงกอล




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:48
ต้นพฤกษ์
ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม





ต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม
ชื่อพันธุ์ไม้พฤกษ์
ชื่อสามัญSiris, Kokko, Indian Walnut
ชื่อวิทยาศาสตร์Albizia lebbeck Benth.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นก้ามปู ชุงรุ้ง พฤกษ์ (ภาคกลาง), กะซึก (พิจิตร), กาแซ กาไพ แกร๊ะ (สุราษฎร์ธานี), ก้านฮุ้ง (ชัยภูมิ), กรีด (กระบี่), คะโก (ภาคกลาง), จเร (เขมร-ปราจีนบุรี), จ๊าขาม (ภาคเหนือ), จามจุรี ซึก (กรุงเทพฯ), ตุ๊ด ถ่อนนา (เลย), ทิตา (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), พญากะบุก (อรัญประเทศ), มะขามโคก มะรุมป่า (นครราชสีมา), ชุ้งรุ้ง มะรุมป่า (นครราชสีมา), กระพี้เขาควาย (เพชรบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 20–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ แตกเป็นร่องยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่น กิ่งอ่อนเกลี้ยงหรือมีขนละเอียดประปราย ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แกนช่อใบยาว บนแก่นช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ใบรูปรี ปลายใบมน โคนใบกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียด ออกดอกสีขาวเป็นช่อกลมตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน เมล็ดรูปไข่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินที่เสื่อมโทรม เป็นไม้โตเร็ว
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:49
ต้นช้างน้าว
ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร





ต้นไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร
ชื่อพันธุ์ไม้ช้างน้าว
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Ochna integerrima (Lour.) Merr.
วงศ์OCHNACEAE
ชื่ออื่นกระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง (เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 3–8 เมตร ตามปลายกิ่งมีกาบหุ้มตาแข็งและแหลม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับ แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบจักถี่ ออกดอกเป็นช่อสั้นตามกิ่ง มีสีเหลือง ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคม ผล ทรงกลม เมื่อสุกสีดำ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด ปักชำกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:49
ต้นกระพี้จั่น
ต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน





ต้นไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ชื่อพันธุ์ไม้กระพี้จั่น
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Millettia brandisiana Kurz
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นจั่น ปี้จั่น (ทั่วไป), ปี้จั่น (ภาคเหนือ), กระพี้จั่น (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 8–20 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบทู่ โคนใบมนหรือสอบเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจางกว่า ใบแก่เกลี้ยง มีขนประปรายตามเส้นกลางใบด้านล่าง ดอกรูปดอกถั่ว สีขาวปนม่วง ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน โคนแคบกว่าปลาย เปลือกเกลี้ยงหนาคล้ายแผ่นหนัง ขอบเป็นสัน เมล็ดสีน้ำตาลดำ
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ปักชำราก
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ทนแล้งได้ดี
ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อน ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงใต้ของไทย



โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:50
ต้นกระบาก
ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร





ต้นไม้ประจำจังหวัดยโสธร
ชื่อพันธุ์ไม้กระบาก
ชื่อสามัญMesawa
ชื่อวิทยาศาสตร์Anisoptera costata Korth.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกระบาก ตะบาก (ลำปาง), กระบากขาว (ชลบุรี, ชุมพร, ระนอง), กระบากโคก (ตรัง), กระบากช่อ กระบากด้าง กระบากดำ (ชุมพร), กระบากแดง (ชุมพร, ระนอง), ชอวาตาผ่อ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บาก (ชุมพร), ประดิก (เขมร-สุรินทร์), พนอง (จันทบุรี, ตราด), หมีดังว่า (กะเหรี่ยง-ลำปาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูง 30–40 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกในสีเหลืองอ่อนเรียงซ้อนกันเป็นชั้นๆ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปขอบขนาน หลังใบมีขนสีเหลือง ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ท้องใบมีขน ดอกสีขาวปนเหลืองอ่อน ขนาดเล็ก ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นผลแห้งทรงกลม ผิวเรียบ มีปีกยาว 2 ปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:50
ต้นโสกเหลือง (ศรียะลา)
ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา





ต้นไม้ประจำจังหวัดยะลา
ชื่อพันธุ์ไม้โสกเหลือง (ศรียะลา)
ชื่อสามัญYellow Saraca
ชื่อวิทยาศาสตร์Saraca thaipingensis Cantley ex King
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นโสกเหลือง (กรุงเทพฯ), อโศกเหลือง อโศกใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 5–15 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปหอกแกมขอบขนาน ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนใบสอบ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่งและลำต้น สีเหลือง กลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผล เป็นฝักแบน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วน ชอบน้ำและความชื้นสูง
ถิ่นกำเนิดริมลำธารในป่าดิบเชิงเขา


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:51
ต้นกระบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด





ต้นไม้ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อพันธุ์ไม้กระบก
ชื่อสามัญKayu
ชื่อวิทยาศาสตร์Irvingia malayana Oliv. Ex A. Benn.
วงศ์SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่นกระบก กะบก จะบก ตระบก (เหนือ), จำเมาะ (เขมร), ชะอัง (ซอง-ตราด), บก หมากบก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะมื่น มื่น (เหนือ), มะลื่น หมักลื่น (สุโขทัย, นครราชสีมา), หลักกาย (ส่วย-สุรินทร์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10–30 เมตร ผลัดใบ เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาลค่อนข้างเรียบ เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปมนแกมขอบขนานถึงรูปหอก ผิวใบเกลี้ยง โคนใบมน ปลายใบทู่ถึงแหลม ดอกขนาดเล็ก สีขาวปนเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลทรงกลมรี เมื่อสุกสีเหลืองอมเขียว เมล็ดแข็ง เนื้อในมีรสมัน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดตามป่าเบญจพรรณแล้งและป่าดิบ


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:52
ต้นอบเชย
ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง





ต้นไม้ประจำจังหวัดระนอง
ชื่อพันธุ์ไม้อบเชย
ชื่อสามัญCinnamom
ชื่อวิทยาศาสตร์Cinnamomum bdjolghota Sweet
วงศ์LAURACEAE
ชื่ออื่นขนุนมะแวง เชียกใหญ่ (ตรัง), จวงดง บริแวง (ระนอง), ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช), สมุลแว้ง พะแว โมง หอม ระแวง (ชลบุรี), มหาปราบ (ตราด) มหาปราบตัวผู้ (จันทบุรี), แลงแวง (ปัตตานี), อบเชย (กรุงเทพฯ, อุตรดิตถ์)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 15–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมรูปเจดีย์ต่ำ ทึบ เปลือกเรียบสีเทาแก่หรือเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบเดี่ยว รูปขอบขนาน เนื้อใบหนา แข็งและกรอบ มีเส้นแขนงจากโคนใบ 3 เส้น ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอ่อน ออกดอกช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลขนาดเล็ก รูปไข่กลับ ผลมีเมล็ดเดียว
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินทุกชนิด ชอบดินร่วน กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:53
ต้นสารภีทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง





ต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง
ชื่อพันธุ์ไม้สารภีทะเล
ชื่อสามัญAlexandrian Laurel.
ชื่อวิทยาศาสตร์Calophyllum inophyllum Linn.
วงศ์GUTTIFERAE
ชื่ออื่นกระทิง กากะทิง (ภาคกลาง), ทิง (กระบี่), เนาวกาน (น่าน), สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์), สารภีแนน (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม สีเขียวเข้ม กิ่งอ่อนเกลี้ยง ยอดอ่อนเรียวเล็ก ปลายทู่ เปลือกเรียบสีเทาอ่อนหรือน้ำตาลปนเหลือง เปลือกในสีชมพูเนื้อไม้สีน้ำตาลปนแดง ออกดอกเป็นช่อสั้นที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง มีดอกย่อย กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีเหลือง มีกลิ่นหอม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ผลเป็นผลสดทรงกลม ปลายผลเป็นติ่งแหลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมสภาพดินร่วนปนทรายหรือดินทราย ความชุ่มชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดชายทะเล


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:53
ต้นโมกมัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดราชบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้โมกมัน
ชื่อสามัญIvory, Darabela
ชื่อวิทยาศาสตร์Wrightia tomentosa Roem. & Schult.
วงศ์APOCYNACEAE
ชื่ออื่นมักมัน (สุราษฎร์ธานี), มูกน้อย มูกมัน (น่าน), โมกน้อย โมกมัน (ทั่วไป), เส่ทือ แนแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), โมกมันเหลือง (สระบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20 เมตร เปลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาอ่อนและมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรีป้อม หรือเป็นรูปไข่ ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบเนื้อใบบาง ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง กลีบรองดอกและโคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปท่อ ปลายกลีบแยกออกจากกันเป็น 5 กลีบ ดอกแรกบานจะมีสีขาวอมเหลือง ข้างนอกเป็นสีเขียวอ่อน ผลเป็นฝักรูปทรงกระบอก ผิวฝักขรุขระ ฝักแก่เต็มที่จะแตกออกเป็นร่อง เมล็ดเป็นรูปยาว
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด กลางแจ้ง ทนแสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณ และป่าโปร่งทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:54
ต้นพิกุล
ต้นไม้ประจำจังหวัดลพบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดลพบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้พิกุล
ชื่อสามัญBullet wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Mimusops elengi Linn.
วงศ์SAPOTACEAE
ชื่ออื่นกุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 10–25 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มกว้างตรงส่วนยอดของลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือรูปรี ปลายใบแหลม หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมันเลื่อม ขอบใบเป็นคลื่น ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาวนวล กลีบรองดอกสีน้ำตาลมีขนนุ่ม กลิ่นหอม ออกดอกตลอดปี ผลเป็นผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีแดงอมส้ม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดประเทศที่มีอากาศร้อน


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:55
ต้นขะจาว
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง



ต้นไม้ประจำจังหวัดลำปาง
ชื่อพันธุ์ไม้ขะจาว
ชื่อสามัญIndian Elm
ชื่อวิทยาศาสตร์Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch.
วงศ์URTICACEAE
ชื่ออื่นกระเจา กระเชา (ภาคกลาง), กระเจาะ ขะเจา (ภาคใต้), กระเช้า (กาญจนบุรี), กะเซาะ (ราชบุรี), กาซาว (เพชรบุรี), ขะจาวแดง ฮังคาว (ภาคเหนือ), ตะสี่แค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), พูคาว (นครพนม), มหาเหนียว (นครราชสีมา), ฮ้างค้าว (อุดรธานี, เชียงราย, ชัยภูมิ), ขะจาว (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 25 เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรงเปลือกสีน้ำตาลปนเทา มีต่อมระบายอากาศเป็นจุดกลมเล็ก ๆ สีขาวมองเห็นได้ง่าย เรือนยอดเป็นพุ่มรูปไข่กว้างค่อนข้างทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีป้อม โคนใบมนหรือป้าน ปลายใบเรียวแหลม ก้านใบมีขน ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็ก แยกเพศเป็นดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นรูปโล่แบน มีปีกบางล้อมรอบ มีก้านเกสรเพศเมีย 2 อันติดอยู่ส่วนบนสุด บริเวณปีกมีลายเส้นออกเป็นรัศมีโดยรอบ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:55
ต้นจามจุรี
ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน




ต้นไม้ประจำจังหวัดลำพูน
ชื่อพันธุ์ไม้จามจุรี
ชื่อสามัญRain Tree, East Indian Walnut, Monkey Pod
ชื่อวิทยาศาสตร์Samanea saman (Jacq.) Merr.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นก้ามกราม ก้ามกุ้ง ก้ามปู จามจุรี (ภาคกลาง), ลัง สารสา สำสา (ภาคเหนือ), ตุ๊ดตู่ (ตาก), เส่คุ่ เส่ดู่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 10–20 เมตร แผ่พุ่มกว้างคล้ายร่ม เป็นแบบขนนกสองชั้นออกสลับ เปลือกต้นสีดำเป็นเกล็ดโตแข็งสีเขียวเข้ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกคล้ายใบแค ปลายใบมนแกนกลางใบประกอบและก้านใบประกอบแยกแขนงตรงข้ามกัน บนแขนงมีใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี หรือคล้ายรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบมน ขอบใบเรียบ หลังใบเกลี้ยง ออกดอกเป็นรวมเป็นกระจุก สีชมพูอ่อน โคนดอกสีขาว ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง วงนอกช่อดอกมีขนาดเล็กกว่าดอกวงใน ดอกวงนอกมีก้านสั้น ดอกวงใยไม่มีก้าน ส่วนบนมีขนหนาแน่น ปลายหลอดกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก ออกดอกช่วงเดือนสิงหาคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักแบนยาว ฝักอ่อนสีเขียว ฝักแก่สีน้ำตาล เนื้อในนิ่มสีดำ รสหวาน เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดอเมริกาใต้เขตร้อน


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:56
ต้นสนสามใบ
ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย





ต้นไม้ประจำจังหวัดเลย
ชื่อพันธุ์ไม้สนสามใบ
ชื่อสามัญKesiya pine, Khasiya pine
ชื่อวิทยาศาสตร์Pinus kesiya Royle ex Gordon
วงศ์PINACEAE
ชื่ออื่นเกี๊ยะเปลือกแดง (ภาคเหนือ), เกี๊ยะเปลือกบาง (เชียงใหม่), จ๋วง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เชี้ยงบั้ง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), แปก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน-เพชรบูรณ์), สนเขา สนสามใบ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–30 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลอมชมพูอ่อนล่อนเป็นสะเก็ด มียางสีเหลืองซึมออกมาตามรอยแตก ใบเป็นใบเดี่ยว ติดกันเป็นกลุ่มละ 3 ใบ ออกเป็นกระจุกเวียนสลับถี่ตามปลายกิ่ง ออกดอกเป็นช่อ แยกเพศ ช่อดอกเพศผู้สีเหลือง ติดกันเป็นกลุ่มใกล้ปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-มีนาคม ผลออกรวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า Cone (โคน) รูปไข่ สีน้ำตาล มีเมล็ดจำนวนมาก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วน ดินร่วนปนทราย
ถิ่นกำเนิดประเทศพม่า


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:56
ต้นลำดวน
ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ






ต้นไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อพันธุ์ไม้ลำดวน
ชื่อสามัญDevil Tree, White Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ANNONACEAE
ชื่ออื่นลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 3–8 เมตร ลำต้นเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบยาวรี โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย หลังใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบและส่วนยอด สีเหลือง กลิ่นหอม กลีบดอกและกลีบรองดอกคล้ายกัน ดอกหนึ่งจะมีอยู่ 6 กลีบ แบ่งเป็น 2 ชั้นชั้นละ 3 กลีบ กลีบแต่ละกลีบชั้นในจะมีขนาดเล็กกว่าและโค้งกว่าปลายกลีบแหลม ออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ผลสีเขียวอ่อน ยาว ปลายมน โคนผลแหลม ผิวเรียบเกลี้ยง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:57
ต้นอินทนิลน้ำ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร





ต้นไม้ประจำจังหวัดสกลนคร
ชื่อพันธุ์ไม้อินทนิลน้ำ
ชื่อสามัญQueen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India
ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia speciosa Pers.
วงศ์LYTHRACEAE
ชื่ออื่นฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 16:58
ต้นสะเดาเทียม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสงขลา





ต้นไม้ประจำจังหวัดสงขลา
ชื่อพันธุ์ไม้สะเดาเทียม
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs
วงศ์MELIACEAE
ชื่ออื่นต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี
ถิ่นกำเนิดตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:03
ต้นกระซิก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล





ต้นไม้ประจำจังหวัดสตูล
ชื่อพันธุ์ไม้กระซิก
ชื่อสามัญBlack-wood
ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia parviflora Roxb.
วงศ์PAPILIONACEAE
ชื่ออื่นครี้ สรี้ (สุราษฏร์ธานี) ซิก (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น บางครั้งรอเลื้อย ลำต้นมีหนาม เปลือกสีเทา เรือนยอดมีลักษณะไม่แน่นอน ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยเรียงสลับกันบนก้านใบ ดอกขนาดเล็ก กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ยอด ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นฝักแบน ขอบฝักบางคล้ายมีด เมล็ดรูปไตเรียงติดตามยาวของฝัก ฝักแก่จะไม่แตกแยกจากกัน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าโปร่งในที่ลุ่ม และตามชายห้วยภาคใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:04
ต้นโพทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ





ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อพันธุ์ไม้โพทะเล
ชื่อสามัญPortia Tree, Cork Tree, Tulip Tree, Rosewood of Seychelles, Coast Cotton Tree, Yellow Mallow Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Thespesia populnea Soland. Ex Correa
วงศ์MALVACEAE
ชื่ออื่นบากู (มลายู-นราธิวาส, ปัตตานี), ปอกะหมัดไพร (ราชบุรี), ปอมัดไซ (เพชรบุรี), โพทะเล (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10–15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู ขรุขระ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปหัวใจ ดอกสีเหลืองขนาดใหญ่ ออกตามง่ามใบ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ผลโตขนาด 4 ซ.ม. ผิวแข็ง เมล็ดเล็กยาวคล้ายเส้นไหม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ชอบแสงแดดจัด ความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ต้องการน้ำมาก
ถิ่นกำเนิดป่าชายเลน พบมากทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:04
ต้นจิกทะเล
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม





ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อพันธุ์ไม้จิกทะเล
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Barringtonia asiatica (Linn.) Kurz
วงศ์MRYTACEAE
ชื่ออื่นจิกเล (ทั่วไป), โคนเล (ภาคใต้), อามุง (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีลำต้นสูง 10 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาไปทั่วต้น กิ่งมีขนาดใหญ่ มีรอยแผลอยู่ทั่วไป เป็นรอยแผลที่เกิดจากใบที่ร่วงหล่นไป เปลือกต้นมีสีน้ำตาลหรือสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้มสลับกันไปตามข้อต้น ผิวใบเกลี้ยงเป็นมัน ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสั้นๆ อยู่ตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว เกสรสีชมพูอยู่ตรงกลาง ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผลขนาดใหญ่ โคนเป็นสี่เหลี่ยมป้าน ปลายสอบ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนทราย หรือดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดหาดทรายชายทะเลทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:09
ต้นสัตบรรณ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร





ต้นไม้ประจำจังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อพันธุ์ไม้สัตบรรณ
ชื่อสามัญWhite Cheesewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Alstonia scholaris R. Br.
วงศ์APOCYNACEAE
ชื่ออื่นกะโนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), จะบัน (เขมร-ปราจีนบุรี), ชบา ตีนเป็ด พญาสัตบรรณ (ภาคกลาง), ตีนเป็ดขาว (ยะลา), บะซา ปูแล ปูลา (มลายู-ปัตตานี), ยางขาว (ลำปาง), สัตตบรรณ (ภาคกลาง, เขมร-จันทบุรี) หัสบัน (กาญจนบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเป็นพูพอน เปลือกสีเทาดำ มียางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นวงรอบๆ ข้อ แผ่นใบเป็นรูปไข่กลับ ปลายใบมนเว้าเข้าเล็กน้อย เส้นใบถี่ขนานกัน ออกดอกเป็นกระจุกช่อใหญ่สีขาวที่ปลายกิ่ง ก้านช่อดอกออกซ้อนกันเหมือนฉัตรประมาณ 2–3 ชั้น กลีบรองดอกมีขนาดเล็ก มีขนสีขาวอมเหลืองนวล กลิ่นหอม ผลเป็นฝักยาวเหมือนถั่วฝักยาว เมื่อแก่จัดจะแตกเป็น 2 ซีก มีเมล็ดจำนวนมาก ลักษณะเมล็ดเป็นรูปขนานแบนๆ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดหมู่เกาะโซโลมอนและมาเลเซีย และป่าดงดิบภาคใต้ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:11
ต้นมะขามป้อม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว





ต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว
ชื่อพันธุ์ไม้มะขามป้อม
ชื่อสามัญMalccea Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus emblica Linn.
วงศ์EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่นกันโตด (เขมร-จันทบุรี), กำทวด (ราชบุรี), มะขามป้อม (ทั่วไป), มั่งลู่ สันยาส่า (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 8–12 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา ผิวค่อนข้างเรียบ เรือนยอดรูปร่ม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกรูปขอบขนานติดเป็นคู่ ขนาดเล็ก เรียงสลับ ออกดอกรวมกันเป็นกระจุกตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็กมาก สีเหลืองนวล ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-เมษายน ผลเป็นผลสดทรงกลม อุ่มน้ำ สีเขียวอ่อนค่อนข้างใส
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้งได้
ถิ่นกำเนิดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และป่าเบญจพรรณแล้งหรือป่าแดง


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:11
ต้นตะแบก
ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดสระบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้ตะแบก
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Lagerstroemia floribunda Jack
วงศ์LYTHRACEAE
ชื่ออื่นกระแบก (สงขลา), ตราแบกปรี้ (เขมร), ตะแบกไข่ (ราชบุรี, ตราด), ตะแบกนา ตะแบก (ภาคกลาง, นครราชสีมา), บางอตะมะกอ (มลายู-ยะลา, ปัตตานี), บางอยะมู (มลายู-นราธิวาส), เปื๋อยนา (ลำปาง), เปื๋อยหางค่าง (แพร่)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–30 เมตร เปลือกเรียบสีเทาอมขาว แตกล่อนเป็นหลุมตื้น ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบ ดอกสีม่วงอมชมพู ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ผลรูปรี เมล็ดมีปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย ไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดงดิบ ป่าน้ำท่วมตามท้องนา


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:12
ต้นมะกล่ำต้น
ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี





ต้นไม้ประจำจังหวัดสิงห์บุรี
ชื่อพันธุ์ไม้มะกล่ำต้น
ชื่อสามัญRed Sandalwood Tree, Coralwood Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Adenanthera pavonina Linn.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นมะกล่ำต้น มะกล่ำตาช้าง (ทั่วไป), มะแค้ก หมากแค้ก (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน), มะแดง มะหัวแดง มะโหดแดง (ภาคเหนือ), บนซี (สตูล), ไพเงินกล่ำ (นครศรีธรรมราช), ไพ (มลายู-ภาคใต้), มะกล่ำตาไก่ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางสูงประมาณ 5–20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ยอดอ่อนมีขนนิ่มสีน้ำตาลปนเทา ใบเป็นใบประกอบ ออกดอกเป็นช่อกลมยาว สีเหลือง มีก้านดอกสั้น กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ผลเป็นฝักแบน บิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ เมล็ดสีแดงแบนกลม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี แสงแดดจัด
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:12
ต้นมะค่าโมง
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย







ต้นไม้ประจำจังหวัดสุโขทัย
ชื่อพันธุ์ไม้มะค่าโมง
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นเขง เบง (เขมร-สุรินทร์), บิง (ชอง-จันทบุรี), ปิ้น (ชาวบน-นครราชสีมา), มะค่าโมง มะค่าใหญ่ (ภาคกลาง), มะค่าหลวง มะค่าหัวคำ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูง 30 เมตร แตกกิ่งต่ำ เรือนยอดเป็นพุ่มแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือชมพูอมน้ำตาล กิ่งอ่อนมีขนคลุมบางๆ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน ก้านใบสั้น ปลายใบมนเว้าตื้นๆตรงกลาง ฐานใบมนหรือตัด ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 4 กลีบ กลีบดอกสีชมพู 1 กลีบ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เปลือกแข็งและหนา
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ชอบดินร่วน
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณและป่าดิบแล้งใกล้แหล่งน้ำ ทุกภาคของไทย ยกเว้นภาคใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:13
ต้นมะเกลือ
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี




ต้นไม้ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อพันธุ์ไม้มะเกลือ
ชื่อสามัญEbony Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyros mollis Griff.
วงศ์EBENACEAE
ชื่ออื่นผีเผา (เงี้ยว-ภาคเหนือ), มะเกลื้อ (ทั่วไป), มักเกลือ หมักเกลือ มะเกลือ (ตราด), มะเกีย มะเกือ (พายัพ-ภาคเหนือ), เกลือ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ เปลือกเป็นรอยแตก กิ่งอ่อนมีขนนุ่มประปราย ใบขนาดเล็ก รูปไข่หรือรูปรี ปลายสอบแคบเข้าหากัน ส่วนโคนใบกลมมน เนื้อใบบางเกลี้ยง ท้องใบเห็นเส้นใบชัด ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ผลเป็นผลสดทรงกลม ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีดำ
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณแล้งทั่วไป


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:19
ต้นเคี่ยม
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อพันธุ์ไม้เคี่ยม
ชื่อสามัญResak tembage
ชื่อวิทยาศาสตร์Cotylelobium melanoxylon Pierre
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นเคี่ยม (ทั่วไป), เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20–40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบทรงเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นตรง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมน หลังใบเรียบมัน ท้องใบมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีขนนุ่มปีกขาว 1 คู่
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด แสงแดดปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบภาคใต้ของประเทศไทย


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:20
ต้นมะค่าแต้
ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์





ต้นไม้ประจำจังหวัดสุรินทร์
ชื่อพันธุ์ไม้มะค่าแต้
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Sindora siamensis Teijsm. Ex Miq.
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกรอก๊อส (เขมร-พระตะบอง), กอเก๊าะ, ก้าเกาะ (เขมร-สุรินทร์) กอกก้อ (ชาวบน-นครราชสีมา), แต้ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), มะค่าแต้ (ทั่วไป), มะค่าหนาม (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), มะค่าหยุม (ภาคเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 10–25 เมตร เปลือกสีเทาคล้ำแตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ เรือนยอดแผ่รูปเจดีย์ต่ำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน แผ่นใบรูปรี ปลายใบและโคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนสั้น ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลเป็นฝักรูปโล่ ผิวฝักมีหนามแหลมแข็งแตกเมื่อแห้ง
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ดและตอนกิ่ง
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณแล้ง




โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:20
ต้นชิงชัน
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย





ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย
ชื่อพันธุ์ไม้ชิงชัน
ชื่อสามัญRosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia oliveri Gamble
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน (เหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:22
ต้นพะยูง
ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู




ต้นไม้ประจำจังหวัดหนองบัวลำภู
ชื่อพันธุ์ไม้พะยูง
ชื่อสามัญSiamese Rosewood
ชื่อวิทยาศาสตร์Dalbergia cochinchinensis Pierre
วงศ์LEGUMINOSAE
ชื่ออื่นกระยง กระยูง (เขมร-สุรินทร์), ขะยูง (อุบลราชธานี), แดงจีน (ปราจีนบุรี), ประดู่ตม (จันทบุรี), ประดู่ลาย (ชลบุรี), ประดู่เสน (ตราด), พะยูง (ทั่วไป), พะยูงไหม (สระบุรี)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ เนื้อไม้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีแดงอมม่วงถึงสีเลือดหมูแก่ มีริ้วดำ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้นเรียงสลับ ปลายใบแหลม โคนใบสอบ หลังใบสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ลักษณะคล้ายใบประดู่ ดอกขนาดเล็ก สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบและตามปลายกิ่ง ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ผลเป็นฝักรูปขอบขนานแบบบาง ตรงบริเวณที่หุ้มเมล็ด เมล็ดรูปไตสีน้ำตาลเข้ม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด ทนแล้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณชื้น ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:23
ต้นมะพลับ
ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง





ต้นไม้ประจำจังหวัดอ่างทอง
ชื่อพันธุ์ไม้มะพลับ
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Diospyros malabarica Kostel.
วงศ์EBENACEAE
ชื่ออื่นตะโกสวน (เพชรบุรี), มะพลับ (ภาคกลาง)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นสูง 8–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาปนดำ เปลือกชั้นในสีน้ำตาลปนแดง เรือนยอดรูปทรงกลมทึบ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ดอกขนาดเล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนซุย แสงแดดจัด น้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ ประเทศไทย อินเดีย ชวาเกาะเซลีเบส



โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:23
ต้นตะเคียนหิน
ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ





ต้นไม้ประจำจังหวัดอำนาจเจริญ
ชื่อพันธุ์ไม้ตะเคียนหิน
ชื่อสามัญ
ชื่อวิทยาศาสตร์Hopea ferrea Heim.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นตะเคียนทราย (ตราด, ตรัง), ตะเคียนหิน (ภาคใต้), ตะเคียนหนู (นครราชสีมา), เหลาเตา (สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15–30 เมตร เปลือกสีน้ำตาลแก่แตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหรือรูปกรวยแหลม กิ่งอ่อนมีขนประปราย ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ ปลายเป็นติ่งทู่ โคนมน ดอกเล็ก สีขาวหรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนกันยายน-ธันวาคม
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด ระบายน้ำได้ดี ต้องการความชื้นปานกลาง เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดิบแล้ง และขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ตามที่ลาดเชิงเขาที่มีการระบายน้ำดี


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:24
ต้นรัง
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี





ต้นไม้ประจำจังหวัดอุดรธานี
ชื่อพันธุ์ไม้รัง
ชื่อสามัญBurmese sal, Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์Shorea siamensis Miq.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นเปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), รัง (ภาคกลาง), เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์), ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่), แลบอง เหล้ท้อ เหล่บอง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–20 เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนมีนาคม-เมษายน ผลรูปกระสวย มีปีกยาว 3 ปีก ปีกสั้น 2 ปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินร่วนปนกรวดและดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดงทั่วไป ทนแล้ง ทนไฟได้ดีมาก


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:25
ต้นสัก
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์





ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อพันธุ์ไม้สัก
ชื่อสามัญTeak
ชื่อวิทยาศาสตร์Tectona grandis Linn.
วงศ์VERBENACEAE
ชื่ออื่นเคาะเยียโอ (ละว้า-เชียงใหม่), ปายี้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), บีอี ปีฮือ เป้อยี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), สัก (ทั่วไป), เส่บายี้ (กะเหรี่ยง-กำแพงเพชร)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 50 เมตร โตเร็ว ผลัดใบในฤดูร้อน ส่วนที่ยังอ่อนมีขน เปลือกเรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ สีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวมีขนาดใหญ่มาก เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน เนื้อใบสากคาย สีเขียวเข้ม ท้องใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็กๆ สีแดง ดอกเป็นช่อใหญ่ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ออกดอกเดือนมิถุนายน-ตุลาคม ผลเป็นผลสดค่อนข้างกลม มีขนละเอียดหนาแน่น กลีบเลี้ยงขยายตัวหุ้มผลไว้ด้านใน
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:25
ต้นสะเดา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี





ต้นไม้ประจำจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อพันธุ์ไม้สะเดา
ชื่อสามัญNeem Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์Azadirachta indica A. Juss. (varsiamensis Valeton)
วงศ์MELIACEAE
ชื่ออื่นกะเดา (ภาคใต้), จะตัง (ส่วย), สะเดา (ภาคกลาง), สะเลียม (ภาคเหนือ), สะเดาบ้าน (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อยเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักไม่เป็นระเบียบ ดอกสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านดอกติดกันเป็นหลอด ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นผลสดกลมรี ผิวบาง มีเนื้อฉ่ำน้ำ ผลแก่สีเหลือง
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าเบญจพรรณค่อนข้างแล้งและป่าแดง


โดย: Metha    เวลา: 2014-3-23 17:26
ต้นยางนา
ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี






ต้นไม้ประจำจังหวัดอุบลราชธานี
ชื่อพันธุ์ไม้ยางนา
ชื่อสามัญYang
ชื่อวิทยาศาสตร์Dipterocarpus alatus Roxb.
วงศ์DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่นกาตีล (เขมร-ปราจีนบุรี), ขะยาง (ชาวบน-นครราชสีมา), เคาะ (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), จะเตียล (เขมร), ชันนา ยางตัง (ชุมพร), ทองหลัก (ละว้า), ยาง ยางขาว ยางแม่น้ำ ยางหยวก ยางนา (ทั่วไป), ยางกุง (ลาว), ยางควาย (หนองคาย), ยางเนิน (จันทบุรี), ราลอย (ส่วยสุรินทร์), ลอยด์ (โซ่-นครพนม)
ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่สูงถึง 40 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบหนาสีเทา โคนต้นมีพูพอน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอกกว้าง ปลายใบสอบเรียว เนื้อใบหนา ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อสั้น ๆ สีน้ำตาล กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบประสานเหลื่อมกัน ปลายกลีบบิดเวียนตามกันแบบกังหัน เกสรเพศผู้มี 25 อัน รังไข่มี 3 ช่อง ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม ผลเป็นผลแห้งทรงกลม มีครีบตามยาว 5 ครีบ ปีกยาว 2 ปีก
ขยายพันธุ์เพาะเมล็ด
สภาพที่เหมาะสมเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินแทบทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิดป่าดงดิบ และตามที่ต่ำชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำลำธารทั่วไป






ยินดีต้อนรับสู่ Baan Jompra (http://baanjompra.com/webboard/) Powered by Discuz! X3.2